[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 13:40:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ (โพธิจรยาวตาร) ศานติเทวะ  (อ่าน 2545 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5070


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 01:14:21 »



ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐผู้เลิศยิ่ง ผู้หาใครเสมอเสมือนมิได้
ขอบูชาพระธรรมเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์นำความสุขมาให้
ขอบูชาพระมหาโพธิสัตว์เจ้าผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมและกรุณาธรรมทั้งปวง
ขอบูชาพระอริยสงฆเจ้าผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ขอบูชาคุณบิดาและมารดาผู้ทรงคุณอันประเสริฐทั้งหมดทั้งสิ้น
ขอบูชาคุณคุรุผู้ประเสริฐ ผู้ประสิทธิประสาทวิชาทั้งทางโลกและทางธรรม
ขอบูชาพระโพธิธรรมทั้งสิบประการอันมี ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี
ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี
และอุเบกขาบารมี
ขอบูชาพระโพธิญานอันเป็นที่สุดแห่งชีวิตนี้

ข้าพเจ้าขออนุญาติต่อคุรุทั้งปวง ขอกราบกรานเหล่าดวงจิตอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในการกระทำในครั้งนี้
โปรดช่วยดลบรรดาลจิตนี้ของข้าพเจ้าให้รู้หนทางอันเป็นไปตามธรรมอันถูกต้องด้วยเทอญ

และเมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใดไม่ถูกต้องด้วยกาย วาจา และใจนี้
ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายได้โปรดแก้ไขและชักนำข้าพเจ้ากลับสู่หนทาง
เพื่อการหลุดพ้นแห่งสรรพสัตว์ด้วยเทอญ



วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ (โพธิจรยาวตาร)  ศานติเทวะ

แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นอังกฤษโดย
เวสนา เอ วอลเลซ และ บี อลัน วอลเลซ

แปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทยและเขียนบทนำโดย
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

มูลนิธิพันดารา 2550



" เหล่าผู้ที่ไม่มีความสุขในโลกนี้ เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก
ความปรารถนาจะได้ความสุขใส่ตัวของเขาเอง
เหล่าผู้ที่มีความสุขในโลกนี้ เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก
ความปรารถนาจะยังความสุขให้แก่ผู้อื่น "

ท่านศานติเทวะ





บทที่หนึ่ง อานิสงส์ของโพธิจิต

โอม ขอนอบน้อมแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาค !

1. ข้าขอนอบน้อมแด่เหล่าพระสุคตเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งพระธรรมกาย
พร้อมทั้งเหล่าพระชินบุตรและพระผู้ควรแก่การบูชาทั้งปวง
ข้าฯจะแสดงซึ่งวิถีแห่งเหล่าพระชินบุตรตามที่แสดงไว้ในพระธรรม

2. ในที่นี้ไม่มีอะไรเลยที่ไม่เคยมีผู้กล่าวไว้แล้ว
และข้าฯก็ไม่มีความชำนาญในการประพันธ์
ดังนั้น ข้าฯจึงไม่มีความห่วงใยประโยชน์ของสัตว์โลกอื่นๆ
และได้แต่งบทเหล่านี้มาเพื่อประโยชน์ของจิตของข้าฯเอง

3. ด้วยเหตุนี้ พลังของศรัทธาของข้าฯจึงเพิ่มพูนขึ้นเพื่อปลูกฝังคุณธรรม
ยิ่งไปกว่านั้นหากมีใครสักคนที่มีลักษณะอาการเหมือนข้าฯ
แล้วมาตรวจสอบบทประพันธ์นี้
บทนี้ก็อาจมีความหมายแก่เขาบ้าง

4. เสรีภาพ (ในการปฏิบัติธรรม) และปัจจัยเอื้ออำนวยต่างๆ
ต่างก็ได้มาได้อย่างยากยิ่ง
และต่างก็มีผลต่อการยังประโยชน์ให้แก่โลกทั้งมวล
สองสิ่งนี้ก็ได้มาแล้ว
หากยังละเลย ไม่ฉกฉวยโอกาสอันดียิ่งนี้เอาไว้
แล้วเมื่อใดเล่าจะเกิดโอกาสเช่นนี้อีก?

5. เช่นเดียวกับแสงฟ้าแลบ ซึ่งยังความสว่างให้บังเกิดในคืนเดือนมืด
แม้เพียงชั่วขณะ
ด้วยอำนาจแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในบางครั้งจิตของมนุษย์ก็น้อมนำไปสู่บุญบารมี
แม้เพียงชั่วขณะเช่นกัน

6. ด้วยเหตุนี้ ธรรมฝ่ายกุศลจึงอ่อนกำลังอยู่ตลอดเวลา
หากกำลังของฝ่ายอกุศลนั้นแรงยิ่งนัก และน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก
ดังนั้น หากปราศจากโพธิจิตเสียแล้ว
จะมีกุศลกรรมใดอีกเล่าที่จะเอาชนะอกุศลกรรมเหล่านี้ได้?

7. พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ซึ่งได้ทรงพิจารณาเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายกัป
ทรงเห็นว่าสิ่งนี้เท่านั้นที่ทำให้ปิติพอกพูนขึ้น
และยังสัตว์โลกอันมีจำนวนสุดจะประมาณให้รอดพ้นจากสังสารวัฏ

8. ผู้ที่ปรารถนาจะเอาชนะทุกข์ทั้งหลายที่อยู่กับสังสารวัฏ
ผู้ที่ปรารถนาจะขจัดปัดเป่าความทุกข์ของเหล่าสัตว์
และผู้ที่ปรารถนาจะรับรสแห่งปิติอันไพศาล
ไม่ควรเลยที่จะละเลิกโพธิจิต

9. ทันใดที่โพธิจิตบังเกิดขึ้น
ณ บัดนั้นผู้ทุกข์ยากที่ถูกจองจำอยู่ในคุกของสังสารวัฏ
ก็เรียกว่าเป็นบุตรธิดาของพระสุคตเจ้า
ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ควรแก่การบูชาทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก

10. เมื่อโพธิจิตปรากฏในสัตว์ที่ยังไม่บริสุทธิ์
สัตว์นั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็นภาพอันหาค่ามิได้ของแก้วมณีของพระชินเจ้า
ด้วยเหตุนี้
จงยึดถือในน้ำอมฤตอันได้แก่โพธิจิตนี้
ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง

11. ผู้นำแต่เพียงผู้เดียวของโลก ผู้ซึ่งจิตของท่านลึกสุดจะประมาณได้
ก็ได้ตรวจสอบคุณค่าของโพธิจิตมาแล้ว
ท่านซึ่งน้อมนำไปในทางที่จะหนีออกจากสภาพความเป็นอยู่พื้นๆในสังสาระ
ก็ควรจะยึดเอาแก้วมณีอันได้แก่โพธิจิตนี้ไว้

12. เช่นเดียวกับต้นกล้วย ที่เหี่ยวตายลงไปเมื่อมีผลออกมา
คุณธรรมอื่นๆทั้งหมดก็เสื่อมถอยลงไปได้
แต่ต้นไม้แห่งพระโพธิจิตออกผลอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีวันเหี่ยวเฉาเสื่อมสลาย หากมีแต่จะเจริญงอกงามขึ้น

13. การปกป้องนี้เป็นการปกป้องผู้ที่มีพลัง
แม้แต่ภายหลังจากที่เขาได้กระทำบาปอันใหญ่หลวง
ด้วยเหตุแห่งการปกป้องของโพธิจิตนี้
แม้ผู้ที่ทำบาปเช่นนี้ก็ยังปราศจากความกลัว
เมื่อเป็นเช่นนี้
เหตุใดสัตว์โลกทั่วไปจึงไม่แสวงหา โพธิจิตเป็นที่พึ่งแห่งตน

14. ไฟประลัยกัลป์ที่เกิดขึ้นเมื่อเอกภพถึงกาลสิ้นสุด
เผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดฉันใด
ไฟอันได้แก่โพธิจิตนั้น
ก็เผาผลาญอกุศลกรรมทั้งหมดให้มอดไหม้ไปในบัดดลฉันนั้น
พระไมเตรยะพุทธเจ้า
ได้ตรัสเรื่องอานิสงส์อันประมาณไม่ได้ของโพธิจิตนี้ไว้แก่พระสุธนะ

15. กล่าวย่อๆ โพธิจิตมีสองประเภท ได้แก่
จิตที่ตั้งความมุ่งมั่นจะตรัสรู้
กับ
จิตที่กำลังเดินทางสู่การตรัสรู้

16. เช่นเดียวกับผู้ที่มองห็นความแตกต่างระหว่าง
คนที่ตั้งความปรารถนาจะเดินทาง
กับ
ผู้ที่กำลังเดินทางอยู่
บัณฑิตย่อมเห็นความแตกต่างระหว่างโพธิจิตสองแบบนี้

17. แม้ว่าอานิสงส์ของการตั้งความปรารถนาจะตรัสรู้
จะยิ่งใหญ่มหาศาลในสังสารวัฏ
อานิสงส์นี้ยังเทียบไม่ได้กับบุญบารมีอันหลั่งไหลไม่ขาดสาย
อันเกิดจากการลงมือเดินทางไปสู่การตรัสรู้

18. นับตั้งแต่เวลาที่คนผู้หนึ่งตั้งโพธิจิตมั่นคงแน่วแน่มั่นคง
เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์อันมีจำนวนสุดที่จะประมาณ
และจะไม่มีวันเลิกล้มโพธิจิต
นั้นไม่ว่ากรณีใดๆ

19. นับตั้งแต่เวลานั้น
บุญอันยิ่งใหญ่มหาศาลดุจดังท้องฟ้า
ก็จะหลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสาย
แม้ในขณะที่เขาหลับหรือมีจิตไม่เป็นสมาธิ

20. พระตถาคตเองก็ตรัสเรื่องนี้ไว้อย่างมีเหตุผลใน สุพาหุปฤจฉา
เพื่อประโยชน์แก่เหล่าสัตว์ที่โน้มเอียงไปในทางของหีนยาน

21. บุคคลผู้มีจิตใจดี ผู้คิดว่า
"ฉันจะกำจัดโรคปวดหัวให้หมดไปจากสัตว์โลก"
จะได้บุญมหาศาล

22. แล้วบุคคลที่ปรารถนาจะกำจัดความเจ็บปวด
อันไม่มีอะไรมาเปรียบได้ของสัตว์โลกทุกๆตน
และมอบคุณสมบัติที่ดีมากจนหาประมาณมิได้เล่า
จะได้บุญมากเพียงใด?

23. ใครมีแม้แต่มารดาหรือบิดาที่มีจิตเห็นแก่ผู้อื่นเช่นนี้?
ทวยเทพ
ฤาษี
หรือ
พระพรหม
จะมีสิ่งนี้หรือไม่?

24. ถ้าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เคยแม้แต่จะปรารถนาโพธิจิต
แม้แต่เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
เขาจะมีโพธิจิตเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้อย่างไร?

25. แก้วมณีอันล้ำค่า และไม่เคยมีมาก่อนเช่นนี้
ความปรารถนาแก้วนี้เพื่อประโยชน์ของสัตว์อื่นๆ
มิได้เคยบังเกิดในผู้อื่น
แม้แต่เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

26. เราจะวัดปริมาณบุญของแก้วมณีแห่งจิตนี้ได้อย่างไร
อันเป็นเมล็ดพันธุ์ของความปิติสุขในโลก
และเป็นยารักษาโรคทุกข์ของโลก?

27. ถ้าหากการเคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น
ยังมีที่เหนือไปกว่าได้แก่
ความปรารถนาจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่น
แล้วความพยายามที่จะยังสัตว์โลกทั้งมวล
ให้ประสบกับความสุขอันสมบูรณ์สูงสุดเล่า
จะเหนือกว่าทั้งหมดเพียงใด?

28. เหล่าผู้ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์
ต่างก็เร่งรุดวิ่งไปหาทุกข์
ด้วยความปรารถนาจะได้มาซึ่งความสุข
พวกเขาทำลายความสุขของเขาลง
ราวกับเป็นข้าศึก
ด้วยจิตอันเปื้อนด้วยกิเลสของเขาเอง

29. เขาผู้นั้นยังความปิติทั้งหมด
และยังความพอใจให้แก่ผู้ที่หิวกระหายความสุข
เขาก็ยังกำจัดความโศกทั้งหลาย
ที่เกิดแก่ผู้ที่ถูกกิเลสรบกวน
ด้วยหนทางต่างๆ

30. เขากำจัดความเห็นผิดกับกิเลสทั้งมวล
ผู้ใจบุญเช่นนี้หาได้ที่ไหนอีก?
กัลยาณมิตรเช่นนี้จะมีได้อีกหรือ?
บุญอันมหาศาลยิ่งเช่นนี้จะมีที่ไหนอีกเล่า?

31. แม้แต่ผู้ที่ตอบแทนกรรมอันเป็นกุศล
ก็ยังได้คำชื่นชมพอสมควร
แล้วเราจะกล่าวอย่างไรกับ
พระโพธิสัตว์
ที่กรรมอันเป็นกุศลของท่านเกิดมาเองโดยมิได้ร้องขอ?

32. โลกยังยกย่องผู้ที่มอบของให้แก่คนจำนวนหนึ่งว่า
ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
แม้ว่าจะเป็นการให้อาหารธรรมดาๆ และความช่วยเหลือเพียงครึ่งวัน
ซึ่งเป็นการให้ชั่วครั้งคราว
และให้ด้วยจิตอันดูหมิ่นดูแคลน

33.แล้วผู้ที่ให้อยู่ตลอดเวลาแก่สรรพสัตว์อันนับประมาณมิได้
ซึ่งการตอบสนองความต้องการทั้งสิ้นทั้งมวล
และเป็นความต้องการของสัตว์ทั้งหลายจำนวนนับไม่ถ้วน
อันไม่มีที่สิ้นสุดและกว้างใหญ่ไพศาลดุจท้องฟ้านภากาศเล่า?

34. สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้
"ใครที่มีจิตเป็นอกุศลในหัวใจแก่ผู้ที่ยังประโยชน์ให้แก่สัตว์อื่น
ผู้เป็นบุตรธิดาแห่งพระชินเจ้า
เขาผู้นั้นจะต้องทนทรมานในนรกเป็นเวลาหลายต่อหลายกัป
จนกว่าจิตอันเป็นอกุศลนั้นจะหมดไป"

35. แต่หากจิตของผู้นั้นมีความโน้มเอียงไปในทางกุศล
ผู้นั้นก็จะมีผลบุญมากมายเพิ่มพูนยิ่งขึ้นไปอีก
แม้ว่าจะมีอกุศลกรรมอันหนักยิ่งเกิดแก่บุตรธิดาของพระชินเจ้า
บุญบารมีของเขานั้นก็จะยังเกิดขึ้นอยู่เอง

36. ข้าฯขอกราบนมัสการกายของเหล่าูผู้ที่แก้วมณีอันหาค่ามิได้นี้ได้บังเกิดขึ้น
ข้าฯขอยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึก ซึ่งเหล่าผู้ที่เป็นแหล่งที่มาแห่งปิติสุข
ผู้ซึ่งแม้แต่การทำร้ายก็ยังเกิดผลเป็นความสุข

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5070


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 01:15:05 »



บทที่สอง

สารภาพบาป

1. เพื่อรับเอาไว้ซึ่งแก้วมณีแห่งจิตดวงนี้
ข้าฯจะขอถวายเครื่องบูชาแก่เหล่าพระตถาคต
แก่มณีอันไม่มีมลทินอันได้แก่ พระธรรม
และแก่เหล่าพระชินบุตร
ผู้ซึ่งเป็นดุจมหาสมุทรแห่งคุณสมบัติอันล้ำเลิศ

2. ดอกไม้ ผลไม้ สมุนไพรมีประมาณเท่าใด
รวมทั้งเพชรนิลจินดาเท่าที่มีอยู่ในโลก
กับน้ำบริสุทธิ์ใสสะอาดอันชื่่นใจ

3. ขุนเขาแห่งแก้วมณี พื้นที่ป่า
และสถานที่อันน่ารื่นรมย์ และสันโดษทั้งปวง
เถาวัลย์ที่ส่องแสงไปด้วยเครื่องประดับอันได้แก่ บุปผชาติ
ต้นไม้อันมีกิ่งโน้มลง
ด้วยน้ำหนักของผลอันหอมหวาน

4. กลิ่นหอมกับเครื่องหอม
ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นไม้มณีจินดา
หนองน้ำอันเต็มไปด้วยบัว
มีห่านป่าส่งเสียงเย้ายวนใจ
ในโลกของทวยเทพ และผู้สถิต ณ สรวงสวรรค์ทั้งหลาย

5. พืชที่ไม่ได้ปลูก พืชที่ปลูกแล้ว
สิ่งอืนๆที่ประัดับประดาพระผู้ควรแก่การบูชา
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้อันไม่มีเจ้าของ
และแผ่ไพศาลทั่วไปยังท้องฟ้านภากาศ

6. ข้าฯระลึกถึงสิ่งเหล่านี้
และถวายแด่พระผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้ทรงปัญญา
พร้อมทั้งบุตรทั้งหลายของพระองค์
ขอให้ท่านผู้ควรค่าแก่เครื่องบูชาอันล้ำค่านี้
ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยคุณอันประเสริฐ
ขอให้ท่านโปรดประทานกรุณาแก่ข้าฯ และรับเครื่องบูชาเหล่านี้

7. ข้าฯผู้ซึ่งปราศจากบุญบารมีและยากจนข้นแค้น
ข้าฯไม่มีสิ่งใดอีกจะถวายแด่พระองค์
ด้วยเหตุนี้
ขอให้พระผู้ทรงเป็นโลกนาถ
ผู้ทรงเป็นห่วงใยสวัสดิภาพของผู้อื่น
ได้โปรดรับสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นเช่นนี้
เพื่อประโยชน์ของข้าฯ ด้วยเทอญ

8. ข้าฯมอบตัวตนของข้าฯทั้งหมดร่างนี้
ให้แก่พระผู้มีชัย
และบุตรทั้งหลายของพระองค์
ท่านผู้ประเสริฐ โปรดรับตัวข้าฯด้วย
ข้าฯ อุทิศร่างกาย และชีวิตของข้าฯ นี้เพื่อรับใช้พระองค์

9. ข้าฯรอดพ้นจากความกลัวที่จะต้องตกอยู่ในสังสารวัฏ
เนื่องด้วยการปกป้องของพระองค์
ข้าฯ จึงขอรับใช้สัตว์โลก
ข้าฯ จะก้าวข้ามความผิดพลาดก่อนๆของข้าฯ
และต่อแต่นี้ไปข้าฯจะไม่ทำบาปกรรมใดอีก

10. ในห้องอาบน้ำอันหอมระรื่น
มีเสาที่เรืองรองไปด้วยเพชรนิลจินดา
พรมเลื่อมพรายไปด้วยมุกจำนวนมาก
พื้นทำด้วยแก้วผลึกใดและส่องแสงแวววาว

11. ในห้องนี้ข้าฯ สรงน้ำให้แก่พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
พร้อมด้วยบุตรของพระองค์
ด้วยคณโฑอันประดับด้วยเพชรพลอย
เต็มไปด้วยน้ำและดอกไม้อันหอมหวนชื่นใจ
รื่นรมย์ไปด้วยเสียงขับร้องและดนตรี

12. ข้าฯเช็ดร่างของท่านทั้งหลายด้วยผ้าอันปราณีต
มีกลิ่นหอม และบริสุทธิ์สะอาด
จากนั้นข้าฯก็ถวายอาภรณ์หลากสี และอบร่ำไปด้วยกลิ่นจรุงใจ

13. ข้าฯประดับร่างของ
พระสมันตภัทระ
อชิตะ
มัญชุโฆษะ
โลเกศวร
และพระโพธิสัตว์อื่นๆ
ด้วยอาภรณือันละเอียดอ่อนบอบบาง อ่อนนุ่ม และเป็นทิพย์
พร้อมด้วยเพชรพลอยอันล้ำค่าที่สุด

14. ด้วยน้ำอบที่ส่งกลิ่นหอมหวนไปยังหนึ่งพันล้านโลก
ข้าฯทาน้ำมันไปที่ร่างของพระผู้เป็นเลิศในหมู่ผู้ทรงปัญญา
ร่างอันผ่องเรืองรองไปด้วยทองเนื้อละเอียดที่ขัดถูอย่างดี

15. ขอฯบูชาพระผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งผู้ทรงปัญญา
ด้วยดอกไม้อันส่งกลิ่นหอมระรื่นน่าพึงพอใจ
อาทิ ดอกมันทารพ ดอกบัวสีน้ำเงิน
พร้อมด้วยมาลัยอันร้อยเรียงอย่างวิจิตร

16. ข้าฯ อบร่ำดอกไม้เหล่านั้นด้วยควันธูปอันส่งกลิ่นรัญจวนใจ
ที่แผ่ซ่านไปทั่ว
ข้าฯจัดงานเลี้ยงฉลองอันประกอบไปด้วย อาหาร และเครื่องดื่มรสเลิศ
แก่ท่านเหล่านี้

17. ข้าฯถวายตะเกียงน้ำมัน
ซึ่งวางเป็นแถวอยู่บนดอกบัวสีทอง
และข้าฯก็โปรยปรายกลีบดอกไม้อันตระหลบไปด้วยกลิ่นน้ำหอม

18. สำหรับผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก
ข้าฯขอมอบพระราชวังจำนวนมหาศาลอันเต็มไปด้วยความสนุกสนาน
และเสียงดนตรีขับร้องบูชา
ส่องสว่างไปด้วยมาลัยมุก
และเพชรพลอยที่ประดับอยู่ที่ประตูทางเข้าทั้งสี่

19. ข้าฯ ตั้งนิมิตถึงฉัตรของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อันงามวิจิตร ประดับแก้วแก้วมณี
ยกขึ้นสูงอยู่บนด้ามทอง รูปทรงงดงาม แพรวพรายไปด้วยมุก

20. หลังจากนั้น
ขอให้เมฆอันน่าชื่นใจลอยขึ้นสูง
ขอให้เมฆแห่งเสียงดนตรียังเหล่าสัตว์ให้เบิกบาน

21. ขอให้บุปผชาติ กับเพชรพลอยตกลงมาเป็นฝน
ลงมาต้องพระรูป
ที่เก็บพระ
และมณีจินดาทั้งหลายของพระธรรมอันประเสริฐ

22. เช่นที่พระมัญชุโฆษะ กับองค์อื่นๆที่บูชาพระชินเจ้า
ข้าฯก็บูชาเหล่าพระตถาคต
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก รวมทั้งบุตรธิดาของพระองค์

23. ข้าฯสรรเสริญมหาสมุทรของคุณธรรมทั้งหลาย
ด้วยบทเพลงอันเป็นทะเลแห่งท่วงทำนอง
ขอให้เมฆแห่งเสียงประสานกลมกลืนนี้
ลอยขึ้นสู่พระชินเจ้า
กับบุตรธิดาของพระองค์ในแบบเดียวกัน

24. ข้าฯกราบกรานพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทั้งในอดีต
ปัจจุบัน
และอนาคต
ข้าฯขอกราบกรานพระธรรมเจ้า กับทั้งพระสงฆ์
นับเป็นจำนวนครั้ง
มากเท่ากับ
ปรมาณูเท่าที่มีอยู่ในพุทธเกษตรทั้งหลาย

25. เช่นเดียวกัน
ข้าฯ นอบน้อมแก่สถานที่บูชา
รวมถึงที่พักพิงของเหล่าพระโพธิสัตว์
ข้าฯกราบบูชาอาจารย์
กับทั้งเหล่าสิทธาทั้งหลาย

26. ข้าฯขอยึดพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ด้วยท่านทรงเป็นแก่นแท้ของการตรัสรู้
ข้าฯขอยึดพระธรรมเจ้า
และพระสงฆ์
อันได้แก่หมู่คณะของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

27. ข้าฯ ประนมมือ
ขอวิงวอนให้พระตถาคตเจ้าทั้งปวงที่สถิตอยู่ในทุกทิศ
กับทั้งเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมไปด้วยความกรุณา

28. ไม่ว่าข้าฯ ซึ่งเป็นสัตว์โง่เขลา
ได้ทำบาปอะไรไว้
หรือได้ยังให้ผู้อื่นทำบาป
ไม่ว่าจะทำในชาตินี้หรือในชาติอื่นๆ
ภายในสังสารวัฏอันไม่มีกำเนิดนี้

29. กับทั้งสิ่งใดที่ข้าฯ ได้พึงพอใจด้วยความหลง
ซึ่งเป็นการทำร้ายข้าฯ เอง
ข้าฯขอสารภาพความผิดทั้งปวงที่ข้าฯ ได้เคยกระทำมา
ข้าฯ ถูกปกคลุมไปด้วยความรู้สึกสำนึกผิด

30. ไม่ว่าจะเป็นความผิดบาปใดๆก็ตาม
ด้วย กาย
วาจา
ใจ
ซึ่งได้ทำจากความไม่เคารพในพระรัตนตรัย
ได้ทำร้ายแม่ทั้งหลาย
พ่อทั้งหลาย
กับพระอาจารย์
และสัตว์โลกอื่นๆทั้งสิ้น

31. ไม่ว่าบาปกรรมใดๆ
ที่ข้าฯคนบาปได้กระทำลงไปด้วยอำนาจกิเลส
ข้าฯขอสารภาพบาปกรรมเหล่านั้น
ต่อเบื้องพระพักตร์พระผู้นำทางทั้งหลาย

32. ข้าฯจะหลีกหนีไปได้อย่างไร?
ขอให้ท่านทรงช่วยข้าฯ อย่างรวดเร็วด้วยเถิด
ขอให้ความตายอย่าได้มาถึงโดยเร็ว
ก่อนที่บาปอกุศลกรรมทั้งหลายนี้จะมลายไป

33. ความตายไม่แยกแยะระหว่าง งานที่ทำเสร็จแล้ว
กับที่ยังไม่เสร็จ
คนเจ้าเล่ห์คนนี้ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจ
จากผู้ที่มีสุขภาพดี หรือผู้เจ็บไข้
เพราะเป็นเหมือนสายฟ้าอันร้อนแรงที่ไม่มีใครคาดเดาได้

34. ข้าฯ ได้ประกอบอกุศลกรรมต่างๆ
ให้แก่ทั้ง มิตร และศัตรู
ข้าฯยังไม่ได้สำนึกถึงข้อนี้;
" ข้าฯจะจากไป ทิ้งทุกสิ่งไว้เบื้องหลัง "

35. ศัตรูของข้าฯ จะไม่เหลืออยู่
มิตรของข้าฯ ก็ไม่เหลืออยู่
ข้าฯ เองก็ไม่เหลืออยู่
ไม่มีอะไรเหลืออยู่

36. ไม่ว่าอะไรที่เคยประสบมา
ก็จะจางไปในความทรงจำ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านไป
จะไม่ได้เห็นอีก
เหมือนกับภาพในความฝัน

37. แม้ว่าในชาตินี้
ข้าฯ จะได้เห็นเพื่อนฝูง ศัตรูตายลงไป
แต่บาปหนักที่เกิดจากพวกเขา
ก็ยังรออยู่ข้างหน้าของข้าฯ

38. ด้วยเหตุนี้
ข้าฯจึงมิได้คำนึงว่า
ข้าฯนี้เองก็อยู่เพียงชั่วครู่
ข้าฯได้ก่อบาปกรรมไว้มากมาย
จากความหลง
ความยึดติด
และ
ความโกรธ

39. ชีวิตล่วงไปไม่หยุดยั้ง
ทั้งกลางวัน
และกลางคืน
ไม่มีทางที่จะเพิ่มขึ้นได้
ข้าฯ จะไม่ตายในตอนนั้นหรือ?

40. แม้ในขณะที่กำลังนอนอยู่บนเตียง
แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ
ข้าฯ เองเพียงคนเดียว
ที่ต้องแบกรับความรู้สึกที่ต้องถูกตัดขาดจากพลังชีวิต

41. สำหรับผู้ที่ถูกฑูตของพระยมราชมาจับกุมตัว
หมู่ญาติกับเพื่อนฝูง จะมีประโยชน์อันใดเล่า?
ในขณะนั้น
มีแต่เพียงบุญเท่านั้นที่ปกป้องเราได้
และข้าฯก็มิได้ทำบุญเอาไว้

42. ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่งทั้งหลาย!
ข้าฯผู้ประมาท
และไม่รู้ถึงโทษของภยันตรายนี้
ข้าฯได้ประกอบกรรมชั่วมากมาย
จากการยึดมั่นถือมั่น
ในชีวิตอันเป็นของชั่วคราวนี้

43. คนผู้หนึ่งนอนระทมอยู่
ในขณะที่ถูกพาตัวไปตัดแขนตัดขา
เขาผู้นั้นปากแห้งด้วยความกระหาย
มีสายตาที่น่าเวทนา
เขามองเห็นโลกต่างออกไป

44. แล้วคนที่ถูกครอบงำด้วยภาพอันน่าสะพรึงกลัวของยมฑูต
ถูกกัดกินด้วยพิษไข้ของความหวาดกลัว
และมีร่างกายเปื้อนอุจจาระ
จะน่าสงสารมากกว่าเพียงใด?

45. ด้วยสายตาอันโศกสลด
ข้าฯมองหาพระผู้เป็นที่พึ่งในทิศทั้งสี่
คนดีที่ไหนหนอ
ที่จะมาเป็นผู้ปกป้องข้าฯ
จากความกลัวอันโหดร้ายนี้

46. ข้าฯมองไม่เห็นผู้ปกป้องนั้นเลยในทั่วทั้งสี่ทิศ
ข้าฯจะทำอย่างไร
ในยามหวาดกลัวอย่างหนักเช่นนี้

47. ขณะนี้ข้าฯมุ่งมั่นหาพระโลกนาถผู้เป็นที่พึ่งของโลก
ซึ่งพลานุุภาพของพระองค์มหาศาลยิ่ง
ข้าฯมุ่งมั่นหาพระผู้มีชัย
ผู้ซึ่งทรงพยายามปกป้องโลก
และกำจัดเสียซึ่งความกลัวทั้งปวง

48. ในทำนองเดียวกัน
ข้าฯมุ่งมั่นหาพระธรรมที่ท่านเหล่านี้สั่งสอน
พระธรรม
อันกำจัดได้ซึ่งควาดกลัวในสังสารวัฏ
และข้าฯก็มุ่งมั่นหาพระสงฆ์
ผู้เป็นโพธิสัตว์อีกด้วย

49. ด้วยร่างอันสั่นเทาด้วยความกลัว
ข้าฯ ขอถวายร่างนี้ให้แก่
พระสมันตภัทร
และด้วยเจตนาของข้าฯ เอง
ข้าฯ ขอมอบถวายร่างกายนี้ให้แก่
พระมัญชุโฆษะ

50. ด้วยความหวาดกลัว
ข้าฯ เรียกหา
ด้วยเสียงอันเต็มไปด้วยความเศร้าโศก
ซึ่งพระอวโลกิตาผู้เป็นที่พึ่ง
ผู้ซึ่งการกระทำของพระองค์เปี่ยมไปด้วยความกรุณา
ข้าฯ วิงวอนให้พระองค์ปกป้องข้าฯ ผู้ทำบาป

51. ด้วยความมุ่งมั่นแสวงหาที่พึ่ง
ข้าฯเรียกหา
พระอากาศครรภ์
พระกษิติครรภ์
และพระผู้ทรงความกรุณาทั้งมวล

52. ข้าฯนอบน้อมแก่
พระวัชรี
ผู้ซึ่งแม้ยมฑูต กับสัตว์โลกที่มุ่งร้ายอื่นๆ
ยังหนีไปทั่วทั้งสี่ทิศ
ด้วยความกลัวเพียงเมื่อมองเห็นท่าน

53. หลังจากที่ได้ละเลยคำแนะนำของพระองค์
ข้าฯ มุ่งกลับมาหาพระองค์ด้วยความหวาดกลัว
เพื่อยึดพระองค์เป็นที่พึ่ง
ขอท่านได้โปรดกำจัดความกลัวของข้าฯ นี้ด้วยเถิด!

54. แม้แต่ผู้ป่วยที่หวาดกลัวความเจ็บไข้ที่ผ่านมาชั่วคราว
ยังไม่ละเลยคำแนะนำของแพทย์
แล้วผู้ที่ทรมานอยู่ด้วยโรคเป็นจำนวนสี่ร้อยสี่โรคเล่า?

55. ซึ่งโรคเหล่านี้แม้เพียงหนึ่งโรค
ก็สามารถทำลายประชาชนที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีป
และยังไม่อาจหายารักษาได้ในท้องที่ใดๆ

56. หากข้าฯละเลยคำแนะนำของพระผู้ทรงเป็นแพทย์ผู้รู้ทุกสิ่ง
ผู้ซึ่งกำจัดความเจ็บปวดทั้งหมด
ข้าฯจะน่าละอายเพียงใด
ข้าฯผู้ซึ่งหลงผิดอย่างใหญ่หลวง

57. หากข้าฯยังยืนอย่างระมัดระวังแม้อยู่บนผาเล็กๆ
แล้วหากต้องยืนอยู่บนหุบเหวลึกเป็นพันๆโยชน์เล่า?

58. การที่ข้าฯ จะปล่อยตัวตามสบาย คิดว่า
"วันนี้ความตายจะไม่มาเยือน"
เป็นเรื่องไม่เหมาะสม
เวลาที่ข้าฯ ไม่มีตัวตนอยู่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอน

59. ใครเล่าจะให้ความไม่กลัวแก่ข้าฯได้?
ข้าฯ จะหนีไปอย่างไร?
ข้าฯ จะไม่มีตัวตนอยู่?
จิตของข้าฯ จะสุขสบายหรือไม่?

60. สิ่งมีค่าสิ่งใดที่ยังอยู่กับข้าฯ
จากประสบการณ์ครั้งก่อนๆ ซึ่งได้สูญหายไปหมดแล้ว
และเป็นประสบการณ์ที่ข้าฯ เคยหลงระเริงอยู่ในนั้น
จนทำให้ข้าฯ ละเลยคำแนะนำ และคำปรึกษาของอาจารย์?

61. เมื่อข้าฯละทิ้งญาติพี่น้อง
มิตรสหาย
รวมทั้งโลกนี้
ข้าฯจะออกเดินทางไปสถานที่อื่น
เหล่ามิตรและศัตรูยังมีประโยชน์อะไรอีก?

62. ในสถานการณ์นี้
มีแต่เพียงเรื่องเดียวที่ข้าฯเป็นห่วงเป็นใย
ข้าฯจะหลีกหนีจากความทุกข์
ด้วยการเก็บสะสมสิ่งไม่เป็นกุศลได้อย่างไร?

63. ไม่ว่าจะเป็นความผิดบาปอะไร
ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดตามธรรมชาติ
หรือความผิดพลาดจากการห้าม
ซึ่งข้าผู้โง่เขลาได้สั่งสมมา

64. ข้าฯหวาดกลัวต่อความทุกข์
ขอสารภาพทั้งหมดนี้
เมื่อยืนพนมมืออยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระผู้เป็นที่พึ่ง
ก้มศีรษะทำความเคารพอยู่เสมอๆ

65. ขอให้พระผู้นำทางโปรดรับทราบถึงการทำผิดของข้าพระพุทธเจ้า
รวมทั้ง
การละเมิดศีล
และการทำผิดบาป
ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นที่พึ่ง!
ขอให้ข้าฯอย่าได้ทำความผิดเหล่านี้อีกเลย!
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5070


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 01:15:54 »



บทที่สาม

อธิษฐานโพธิจิต

1. ข้าฯ อนุโมทนาในคุณธรรม
ซึ่งช่วยปลดเปลื้องสัตว์โลกให้พ้นจากสังสารวัฏ
ขอให้เหล่าสัตว์ที่ตกอยู่ในความทุกข์นั้น
จงอยู่ในความสุข

2. ข้าฯ ยินดีในการหลุดพ้นของสัตว์โลกทั้งปวงจากสังสารวัฎ
และข้าฯ ก็ยินดีในความเป็นพระโพธิสัตว์
และความเป็นพระพุทธเจ้า
ของพระผู้เป็นที่พึ่งทั้งหลาย

3. ข้าฯ ยินดีในการแสดงโพธิจิต
อันกว้างใหญ่ดุจมหาสมุทร
ของพระพุทธเจ้า
และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งโพธิจิตนั้น
ก็ยังความชุ่มชื่น และประโยชน์ให้แก่สัตว์โลก

4. ด้วยสองมือประนม
ข้าฯ ขอวิงวอนให้พระตถาคตเจ้าในทั่วทุกสารทิศ
ขอได้โปรดทรงจุดประกายไฟแห่งพระธรรม
ให้แก่สัตว์โลก
ที่ตกลงไปยังห้วงทุกข์ด้วยความหลงผิด

5. ด้วยสองมือประนม
ข้าฯ ขอวิงวอนแก่พระชินเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงปรารถนาจะจากไปยังพระนิพพาน
ขอให้ท่านโปรดดำรงอยู่เป็นจำนวนกัปอันประมาณมิได้
และขอให้โลกนี้
ไม่ต้องอยู่ในความมืดมิด

6. ขอให้บุญบารมีที่ข้าฯ ได้สั่งสมมาจากการทำเช่นนี้
จงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย
ออกจากความทุกข์

7. ขอให้ข้าฯ เป็นยา และหมอแก่คนไข้
ขอให้ข้าฯ เป็นพยาบาลของพวกเขา
จนกว่าโรคของพวกเขาจะไม่กลับมาอีก

8. ด้วยสายฝนแห่งอาหาร และเครื่องดื่ม
ขอให้ข้าฯ เอาชนะทุกข์อันได้แก่ ความหิวกระหาย
ขอให้ข้าฯ ได้เป็นอาหาร และเครื่องดื่ม
ในเวลาแห่งความอดอยาก

9. ขอให้ข้าฯ เป็นขุมทรัพย์อันไม่มีที่สิ้นสุดของคนยากจน
ขอให้ข้าฯ อยู่ใกล้ชิดพวกเขา
เพื่อช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ

10. เพื่อประโยชน์แห่งการทำให้สำเร็จซึ่งสวัสดิภาพของสัตว์โลกทั้งปวง
ข้าฯ สละแล้วซึ่งร่างของข้า
รวมทั้งความเพลิดเพลิน
ตลอดจนบุญบารมี
ในอดีต
ปัจจุบัน
และ
อนาคต


11. ข้าฯ อุทิศทุกสิ่งให้แก่พระนิพพาน
และ
ขอให้จิตของข้าฯ แสวงหาพระนิพพาน
หากข้าฯ จะต้องเสียสละสิ่งใด
ก็ขอให้ข้าฯ ได้มอบสิ่งนั้นให้แก่สัตว์โลก

12. เพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก
ข้าฯ ได้ทำให้ร่างกายร่างนี้ปราศจากความยินดี
ขอให้พวกเขาทุบตี
ดูหมิ่นเหยียดหยาม
และห่อหุ้มร่างนี้ด้วยสิ่งปฏิกูล

13. ขอให้พวกเขาเล่นสนุกกับร่างๆ นี้
ขอให้เขาหัวเราะเยาะ และเย้ยหยันร่างนี้
ทั้งหมดนี้มีความหมายอะไรแก่ข้าฯ
ข้าฯ ได้ให้ร่างนี้แก่พวกเขาไปแล้ว

14. ขอให้พวกเขาทำสิ่งที่น้อมนำไปสู่ความสุข
ใครก็ตามที่ขอความช่วยเหลือจากข้าฯ
ขอให้เขาผู้นั้นไม่ล้มเหลวเลย

15. สำหรับผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากข้าฯ
และมีความคิดขึ้งเคียด
หรือความคิดที่มุ่งร้าย
ขอให้แม้สิ่งนั้นเองเป็นสิ่งนำไปสู่ความสำเร็จ
ตามเป้าประสงค์ทั้งหมดของพวกเขา

16. ขอให้ผู้ที่กล่าวหาข้าฯ อย่างผิดๆ
ผู้ที่ทำร้ายข้าฯ
และผู้ที่เย้ยหยันข้าฯ
จงเป็นผู้ร่วมเดินทางไปสู่การตรัสรู้

17. ขอให้ข้าฯ
เป็นผู้ปกป้องแก่ผู้ไม่มีใครปกป้อง
เป็นผู้นำทางแก่คนเดินทาง
เป็นเรือเล็ก
เป็นสะพาน
กับเป็นเรือใหญ่
แก่ผู้ปรารถนาจะข้ามฝั่ง

18. ขอให้ข้าฯ
เป็นตะเกียงแก่ผู้ที่แสวงหาแสงสว่าง
เป็นเตียงให้แก่ผู้ที่ปรารถนาจะพักผ่อน
และขอให้ข้าฯ
เป็นคนใช้ของสัตว์โลกทั้งปวง
ที่ประสงค์อยากได้คนใช้

19. ขอให้ข้าฯ
เป็นแก้วสารพัดนึก แก่สัตว์โลกทั้งปวง
เป็นคณโฑแห่งความสวัสดี
เป็นมนตร์อันยังผลมาให้
เป็นโอสถวิเศษ
เป็นต้นกัลปพฤกษ์
และ
เป็นแม่วัวที่ให้พรทุกอย่างที่ขอ

20. ผืนดินกับธาตุต่างๆ มีประโยชน์ในทางต่างๆ แก่สัตว์โลกต่างๆ
ที่ดำรงอยู่ในห้วงอากาศอันไม่มีประมาณฉันใด

21. ก็ขอให้ข้าฯ
เป็นแหล่งแห่งชีวิตในทางต่างๆ
ให้แก่สัตว์โลก ที่สถิตย์อยู่ทั่วทั้งอากาศธาตุ
และขอให้เป็นเช่นนี้ไป
จนกว่าสัตว์โลกทั้งหมดจะตรัสรู้ฉันนั้น

22. พระสุคตเจ้าในอดีตกาล
ได้เคยปฏิบัติโพธิจิตมาเช่นใด
ท่านเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาอย่างไร

23. ก็ขอให้ข้าฯ
ได้สร้างพระโพธิจิตเพื่อประโยชน์ของโลกนี้
ทั้งนี้เพื่อให้ข้าฯ
ได้ปฏิบัติแนวทางเหล่านี้อย่างถูกต้องเช่นนั้น

24. เมื่อข้าฯ ได้รับมาซึ่งพระโพธิจิตด้วยวิธีนี้แล้ว
ผู้ฉลาดก็ควรหล่อเลี้ยงโพธิจิตนี้ไว้
เพื่อให้ความปรารถนาทั้งหลายของเขาเป็นจริง

25. ณ เวลานี้
ชีวิตของข้าฯ ออกดอกออกผลแล้ว
การเกิดเป็นมนุษย์ นับได้ว่าเกิดมาได้ดี
ในวันนี้
ข้าฯ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในสกุลของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เวลานี้
ข้าฯ เป็นลูกคนหนึ่งของพระพุทธเจ้า

26. ด้วยเหตุนี้
สิ่งใดก็ตามที่ข้าฯ ทำจะสอดคล้องกับ
สกุลวงศ์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
และจะไม่กลายเป็นรอยเปื้อนอยู่ท่ามกลางสกุลวงศ์อันบริสุทธิ์นี้

27. ชายตาบอดอาจพบแก้วมณีอันล้ำค่า
ท่ามกลางขยะมูลฝอยเช่นใด
โพธิจิตนี้ก็ได้บังเกิดในตัวข้าฯ เช่นนั้น

28.โพธิจิตเป็นเหมือนน้ำอมฤต
ที่ชนะความตายในโลกนี้
เป็นดุจดังขุมทรัพย์
ที่ขจัดความยากจนในโลกนี้

29. เป็นยาวิเศษที่บรรเทาโรคภัยไข้เจ็บในโลกนี้
เป็นร่มไม้ชายคาของสัตว์โลก
ที่เหน็ดเหนื่อยมาจากการเดินทาง
ในเส้นทางของการดำรงชีวิตอยู่ในโลก

30. เป็นสะพานสำหรับนักเดินทางทุกคน
ที่เดินทางข้ามห้วงสังสารวัฏ
เป็นพระจันทร์กำลังขึ้น
ยังความชุ่มฉ่ำที่บรรเทาเบาบางความทุกข์ยากต่างๆในโลกนี้

31. เป็นดวงอาทิตย์อันยิ่งใหญ่
ที่ขับไล่ความมืดแห่งอวิชชาไปจากโลกนี้
เป็นเนยสด
ที่ปั่นมาจากนมแห่งพระธรรม

32. สำหรับกองคาราวานของสัตว์โลก
ที่เดินทางอยู่ภายในสังสารวัฏ
และหิวโหยอาหาร ที่จะนำความสุขมาให้
โพธิจิตเป็นงานเลี้ยงฉลองแห่งความสุข
ที่ยังความพอใจให้แก่สัตว์โลกเหล่านั้นที่เดินทางมาเป็นแขก

33. ในวันนี้
ข้าฯ ได้เชื้อเชิญโลกให้มุ่งสู่
พระพุทธภาวะ
รวมทั้งความสุขชั่วคราวทางโลก
ขอให้
ทวยเทพ
อสูร
และ
สัตว์โลกทั้งหมด
ร่วมยินดี
อนุโมทนา
ไปกับ
พระผู้เป็นที่พึ่งทั้งปวง !
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5070


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 01:17:16 »



บทที่สี่

ป ฏิ บั ติ โ พ ธิ จิ ต


1. ด้วยเหตุนี้
เมื่อรับโพธิจิตเอาไว้แล้ว
บุตรธิดาของพระสุคต
ควรพยายามเอาใจใส่ อย่าให้ละเลยการฝึกฝนนี้

2. แม้ว่าเราจะได้ปฏิญานตนแล้ว
ก็ยังเหมาะสมที่จะพิจารณาซ้ำอีก
ว่าจะปฏิบัติถึงสิ่งที่ได้รับมาอย่างลวก ๆ
หรือว่า ไม่ได้ไตร่ตรองมาอย่างดีแล้วหรือไม่

3. แต่ข้าฯ จะละทิ้งสิ่งที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
จากพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
และบุตรธิดาทั้งหลายของพระองค์
รวมทั้งจากตัวข้าฯ เอง
ซึ่งได้พิจารณาด้วยความสามารถอย่างสูงสุดได้ละหรือ?

4. ในเมื่อข้าฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาแล้ว
หากไม่ปฏิบัติตาม
ข้าฯ จะมีชะตากรรมอย่างไร
เนื่องจากได้หลอกลวงสัตว์โลกทั้งมวล?

5. กล่าวไว้ว่าผู้ที่ตั้งใจจะให้แม้แต่สิ่งเล็กน้อย
แต่ไม่ได้ให้
จะกลายเป็นเปรต

6. แล้วยิ่งไปกว่านั้น
การที่ข้าฯ ได้หลอกลวงโลกทั้งโลก
หลังจากที่ได้เชื้อเชิญสัตว์โลกทั้งหมด
ด้วยเสียงอันดัง และด้วยความจริงใจ
เพื่อให้ได้รับความสุขอันมิมีสิ่งใดเทียบได้เล่า?
ข้าฯ จะได้รับความเป็นอยู่แบบใดกัน?

7. มีแต่พระผู้ทรงสัพพัญญุตญานเท่านั้น
ที่ทรงทราบถึงเส้นทางแห่งกรรม อันไม่สามารถหยั่งถึงได้
อันเป็นเส้นทางของผู้ที่พระองค์ทรงช่วยให้รอดพ้น
แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้น
จะละทิ้งโพธิจิต

8. ด้้วยเหตุนี้
สำหรับพระโพธิสัตว์แล้ว
การละทิ้งโพธิจิต
เป็นการตกต่ำที่หนักหน่วงที่สุด
เนื่องด้วยว่าหาก พระโพธิสัตว์ละทิ้งเช่นนี้แล้ว
เขาจะทำร้ายสวัสดิภาพของสัตว์โลกทั้งปง

9. หากบางคนหน่วงเหนี่ยว คุณธรรมของพระโพธิสัตว์
ไว้แม้เพียงชั่วขณะ
เขาเหล่านั้นจะไม่รู้จัก
จุดจบของความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ มากมาย
ด้วยเหตุที่ว่า
เขาได้ลดสวัสดิภาพของสัตว์โลก

10. ผู้ที่กำจัดความสุขของสัตว์โลกแม้เพียงหนึ่งเดียว
ก็จะถูกทำลายไป
แล้วที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ
ผู้ที่กำจัดความสุขของสัตว์โลกทั้งหลายที่อยู่ทั่วไปทั้งท้องฟ้าเล่า
จะเป็นฉันใด?

11. ดังนั้น
ด้วยอำนาจของการตกต่ำ
และ
อำนาจของโพธิจิต
ผู้ที่หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ
จึงมีความล่าช้าในการบรรลุถึงภูมิของพระโพธิสัตว์

12. ด้วยเหตุนี้
ข้าฯ จึงปฏิบัติตามคำมั่นของข้าฯ
ด้วยความเคารพ
หากข้าฯ ไม่มีความพยายามในตอนนี้
ข้าฯ จะตกลงไปสู่อบายภูมิ
ต่ำลงๆ ไปเรื่อยๆ

13. พระพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วนได้ผ่านไปแล้ว
ต่างก็แสวงหาสัตว์โลก
แต่ด้วยความผิดบาปของข้าฯ
ข้าฯ จึงมิได้มายังดินแดนของสัตว์เหล่านี้
เพื่อช่วยเหลือพวกเขา

14. หากข้าฯ เป็นเช่นที่เป็นอยู่นี้
ข้าฯ จะลงมาสู่ภพชาติอันเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
มีโรคภัยไข้เจ็บ
ความตาย
การตัดแขนขา
การถูกทำลายล้าง
เป็นอาทิ

15. แล้วเมื่อใดเล่าที่ข้าฯ จะได้พบ
พระตถาคตเจ้า
ผู้ซึ่งปรากฏพระองค์ขึ้นมายากมากเหลือเกิน
เมื่อใดข้าฯ จะได้พบ
กับศรัทธา
การเกิดเป็นมนุษย์
ความสามารถในการปฏิบัติธรรม

16. รวมทั้งสุขภาพ
การกินอยู่ประจำวัน
และการปราศจากศัตรู?
ชีวิตเป็นของชั่วครู่ชั่วยาม
และเป็นมายา
ร่างกายนี้ก็เป็นของยืมมา

17. ด้วยความประพฤติเช่นนี้ของข้าฯ
ข้าฯ จะไม่ได้ร่างเป็นมนุษย์อีก
เมื่อไม่ได้ร่างเป็นมนุษย์
ก็จะมีแต่ความเลวร้าย
แล้วจะได้รับพรได้อย่างไร?

18. หากข้าฯ ไม่ปฏิบัติธรรมในขณะที่ข้าฯ ยังทำได้
ข้าฯ จะทำอย่างไร
เมื่อข้าฯต้องงงงันไปด้วยความทุกข์ทรมานของสังสารวัฏ?

19. สำหรับผู้ที่มิได้ประพฤติธรรม
แต่หากทำบาปแม้กระทั่งคำพูดว่า
" สุคติภูมิ "
ก็จะสูญหายไปเป็นพันล้านกัป

20. ดังนั้น
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ได้มายากอย่างยิ่งยวด
เช่นเดียวกับเต่าที่โผล่หัวขึ้นมาสอดอยู่กลางแอก
ที่ล่องลอยอยู่กลางมหาสมุทรอันกว้างใหญ่

21. คนผู้หนึ่งทนทรมานอยู่ในอวิจีมหานรก
ด้วยผลของความชั่ว ที่ทำไปเพียงแม้หนึ่งชั่ววูบ
แล้วจะพูดถึงภพภูมิอันเป็นสุคติได้อย่างไร
ในเมื่อบาปกรรมได้สะสมมาตั้งแต่กาลเวลาอันไม่มีจุดกำเนิด?

22. เมื่อได้ประสบแต่ความชั่วร้าย
ก็จะยังไม่หลุดพ้น
ดังนั้น
เมื่อประสบแต่สิ่งเหล่านี้
ก็จะทำแต่ความชั่วเพิ่มมากขึ้น

23. เมื่อข้าฯ ได้มีเวลาว่างเช่นนี้
หากข้าฯ ไม่ปฏิบัติธรรม
ก็จะไม่มีความปลิ้นปล้อนตลบแตลงอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว
และจะไม่มีการหลอกลวงอะไรที่ยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว

24. หากข้าฯ รับรู้สิ่งเหล่านี้
แต่หากยังจมอยู่ในความเกียจคร้าน
ด้วยอำนาจความหลง
เมื่อข้าฯ ถูกบัญชาโดยฑูตของพระยมราช
ข้าฯ ก็จะอยู่อย่างทนทุกข์ทรมานมหาศาล

25. ไฟนรกอันสุดที่จะทนทาน
จะเผาไหม้ร่างของข้าฯ เป็นกัปกัลป์
หลังจากนั้น
ไฟแห่งการรู้สึกสำนึกผิด
ก็จะทรมานจิตอันปราศจากการฝึกของข้าฯ
เป็นเวลายาวนาน

26. ด้วยเหตุบางประการ
ข้าฯ ได้มาแล้วซึ่งสถานะอันประเสริฐ
ซึ่งได้มายากยิ่ง
และแม้ว่าข้าฯ จะรู้เรื่องนี้
ข้าฯ ก็ยังถูกพากลับไปยังนรกขุมเดิมๆ

27.ข้าฯ ไม่มีเจตนาในเรื่องนี้
ราวกับว่าข้าฯ ถูกมนต์สะกดของแม่มด
ข้าฯ ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สะกดตัวข้าฯ
หรือว่าใครอาศัยอยู่ในตัวข้าฯ

28. ศัตรูเช่น ตัณหา กับ โทสะ
ไม่มีแขนขา หรืออาวุธอื่นใด
ศัตรูเหล่านี้มิได้กล้าหาญ หรือฉลาดเฉลียว
เมื่อเป็นเช่นนี้
ศัตรูนี้
จองจำข้าฯ เป็นทาสได้อย่างไร?

29. ศัตรูเหล่านี้
ปักหลักอยู่ในจิตใจของข้าฯ
ทำลายข้าฯ
แต่ขณะเดียวกันก็
ทำให้ตนเองตั้งมั่นยิ่งขึ้น
แต่แม้กระนั้น
ข้าฯ ก็ยังไม่โกรธเกรี้ยว
กับความอดทนต่อสถานการณ์อันน่าละอายและไม่บังควรนี้

30. ถ้าหากว่า เทพกับมนุษย์ทั้งปวง
เป็นศัตรูของข้าฯ
แม้กระนั้นทั้งหมดนี้ก็ยังไม่อาจนำพาข้าฯ
ไปยังอวิจีมหานรกได้

31. เมื่อพานพบกับศัตรูนี้
มันก็เผาทำลาย
แม้กระทั่งเถ้าของเขาพระสุเมรุ
เครื่องเศร้าหมองในจิต อันเป็นศัตรูผู้ทรงพลัง
ได้โยนทั้งหมดนี้ให้แก่ข้าฯ

32. เนื่องจากความมีอายุยืนยาวของศัตรูใดก็ไม่ยืนยาว
ปราศจากกำเนิด
และ
ปราศจากจุดจบ
เช่นศัตรูทั้งหลายของข้าฯ
อันได้แก่
กิเลส
เครื่องเศร้าหมองต่างๆ

33. ทุกๆ คน
จะตั้งอยู่ในเส้นทางอันหมดจดงดงาม
เมื่อเปี่ยมไปด้วยความกรุณา
แต่เมื่อยกย่อง กิเลส เครื่องเศร้าหมองเหล่านี้
ก็จะนำพาความทุกข์มาให้อีกมากมาย

34. ข้าฯ จะยินดีเพลิดเพลินในสังสารวัฏได้อย่างไร
ในเมื่อศัตรูถาวร ผู้มีอายุยืนยาวเหล่านี้
ผู้ซึ่งเป็นสาเหตุเพียงประการเดียว
ของกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากของอกุศลกรรม
ได้ดำรงอยู่อย่างปราศจากความกลัวในหัวใจของข้าฯ

35. ข้าฯ จะมีความสุขอยู่ได้อย่างไร
หากผู้คุมคุกแห่งสังสารวัฏ
ผู้เป็นฆาตกร
และคนฆ่าสัตว์ในนรก กับสถานที่แบบเดียวกัน
ยังคงอยู่ในกรงขังแห่งตัณหา ภายในบ้านอันได้แก่ หัวใจของข้าฯ?

36. ด้วยเหตุนี้
ตราบเท่าที่ศัตรูเหล่านี้
ยังไม่ถูกทำลายลงไปต่อหน้าต่อตาของข้าฯ
ข้าฯ จะไม่เลิกล้มภารกิจนี้
ผู้ที่หยิ่งผยองด้วยความทะนงตน
ผู้ที่เกรี้ยวกราดกับใครก็ตามที่มาดูหมิ่นแม้เพียงน้อยนิด
จะไม่นอนหลับจนกว่า จะได้ฆ่าศัตรูนั้น

37. ท่ามกลางการสู้รบ
เหล่าผู้ที่ได้รับบาดแผลจากคมหอก และลูกธนูจำนวนนับไม่ถ้วน
ผู้ซึ่งพร้อมจะฆ่าผู้ที่อยู่ในความมืด
และผู้ที่ทนทุกข์อยู่กับความตาย
จะไม่หันหลังจนกว่าจะทำงานสำเร็จแล้ว

38. แล้วจะเป็นอะไรเล่า
ในเมื่อข้าฯ กระตือรือล้นจะทำลายศัตรูตามธรรมชาติ
อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งมวลมาตลอดกาลนาน?
วันนี้
แม้ว่าข้าฯ จะมีศัตรูมากมายเป็นร้อย
เหตุใดข้าฯ จึงเหน็ดเหนื่อย และเศร้าหมอง

39. หากพวกเขามีรอยแผลเป็นจากศัตรูโดยไม่มีเหตุผล
ราวกับแผลนั้นเป็นเครื่องประดับ
แล้วเหตุใดความทุกข์เหล่านี้
จึงมายุ่งเกี่ยวกับข้าฯ
ในขณะที่ข้าฯ ได้ตั้งใจมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย?

40. หากชาวประมง
คนถูกเนรเทศ
ชาวนา
และคนอื่นๆ
ซึ่งจิตของพวกเขา จดจ่ออยู่กับการทำมาหากิน
หากคนเหล่านี้อาจต้านทานศัตรู
อันได้แก่ ความร้อนหนาวได้
แล้วเหตุใดเล่า
ข้าฯ จึงไม่ทนทาน เพื่อประโยชน์ของโลกนี้?

41.เมื่อข้าฯ ได้ตั้งปณิธาน
จะปลดปล่อยสัตว์ทั้งหลายในอากาศธาตุทั่วทั้งสิบทิศ
จากทุกข์ทางใจ
ข้าฯ ไม่ได้แม้กระทั่งปลดปล่อยตนเองจากทุกข์ทางใจนี้

42. ข้าฯ ไม่รู้ขีดจำกัดของข้าฯ เอง
ข้าฯ พูดในขณะนั้น ราวกับว่าข้าได้เสียสติไป
ด้วยเหตุนี้
ข้าฯ จะไม่มีวันหันหลังให้แก่
การทำลายล้างกิเลส เครื่องเศร้าหมอง

43. ข้าฯ จะเหนียวแน่นในเรื่องนี้
และจะตั้งมั่นอยู่กับการแก้แค้น
ข้าฯ จะก่อสงคราม
เว้นแต่กับกิเลส ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดกิเลส

44. ขอให้ไส้พุงของข้าฯ ไหลออกมา
ขอให้หัวของข้าฯ หลุดออกมา
แต่ข้าฯ จะไม่มีวันก้มหัวให้แก่ ศัตรูทั้งหลายของข้าฯ
อันได้แก่ กิเลส

45. แม้ว่าได้ถูกขับไล่ไปแล้ว
แต่ศัตรูผู้หนึ่งก็ยังได้ที่อยู่ กับผู้ติดตามในต่างประเทศ
ซึ่งเขาสามารถเดินทางกลับมาจากที่นั่นด้วยพลังแข็งแรง
แต่สำหรับศัตรู
อันได้แก่กิเลสแล้ว
จะไม่มีที่พักพิงนี้

46. เมื่อกิเลสทั้งหมดที่อยู่ในใจของข้าฯ
ถูกขับไล่ไปหมดแล้ว
กิเลสนั้น จะไปไหนได้อีก?
แล้วจะพำนักอยู่ที่ใด กับพยายามทำลายข้าฯ อยู่ที่ใด?
ข้าฯ มีจิตใจอ่อนล้า
ข้าฯ เป็นผู้ขาดความเพียร
กิเลสในใจเป็นของแบบบาง และอาจเอาชนะได้ด้วย
ตาแห่งปัญญา

47. กิเลสไม่ได้อยู่ในรูป
ไม่ได้อยู่ในอายตนะ
ไม่ได้อยู่ในช่องว่างระหว่างกลาง
หรือในที่แห่งใดเลย
แต่เมื่อเป็นเช่นนี้
กิเลสอยู่ ณ ที่ใด
และทำให้โลกทั้งโลกปั่นป่วนไปหมดได้อย่างไร?
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงมายาเท่านั้น
ขอให้เธอปลดปล่อยหัวใจที่หวาดกลัว
และปลูกฝังความเพียร
เพื่อให้ได้ปัญญา
เธอจะทรมานตนเองในนรกไปทำไมโดยปราศจากเหตุผล?

48. หลังจากได้ครุ่นคิดคำนึงเช่นนี้แล้ว
ข้าฯ จะพยายามนำเอาคำสอนเหล่านี้ไปใช้ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วนี้
ผู้ที่อาจได้รับการเยียวยาให้หายจากโรค
จะหวนกลับคืนมามีสุขภาพดีได้อย่างไร?
หากเขาละเลยคำแนะนำของแพทย์?

ตัวอย่างบางส่วน ที่เหลือ ก็ ไปหาอ่าน เอง นะจ๊ะ เล่มนี้แหละ ทำบุญ ที่มูลนิธิ พันดารา ครับ สาธุ

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โพธิสัตตวจรรยาวตาร โดย อาจารย์ ศานติเทวะ(Santideva)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 4 5365 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 21:07:12
โดย มดเอ๊ก
โพธิสัตตวจรรยาวตาร โดย อาจารย์ ศานติเทวะ ( Santideva )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 2125 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 00:21:35
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1171 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:50:05
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๒ การแสดงบาป
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1022 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:59:49
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๓ การเข้าถึงซึ่งโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1161 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 02:08:00
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.491 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 16:17:24