[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 14:56:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต  (อ่าน 1170 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 01:50:05 »

หมวดหมู่: คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร

ตอนนี้ผมเรียบเรียง คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายในจะมีเนื้อหา แบ่งเป็นในแต่ละปริเฉท ซึ่งจะมีบทปริวรรตภาษาสันสกฤตเป็นอักษรไทย 2 แบบ และมีเสียงประกอบให้อ่านตามได้ ส่วนล่างสุดจะเป็นบทแปลครับ เหมาะสำหรับผู้สนใจทั้งคัมภีร์ศาสนา, การออกเสียงภาษาสันสกฤต, และฉันทลักษณ์สันสกฤต
คัมภีร์โพธิจรรยาวตารเป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 8 เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉท มีจํานวนโศลกทั้งสิ้น 913 โศลก ในการประพันธ์ได้ใช้ฉันทลักษณ์11 ชนิด

คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เป็นคัมภีร์สําคัญของพระพุทธศาสนามหายานนิกายมาธยมิก ที่กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ หรือหลักการดําเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งหลักคําสอนอันครอบคลุมแนวความคิดสําคัญทั้ง 3 ด้านของพระพุทธศาสนามหายานคือ แนวความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ แนวความคิดเรื่องปรัชญาศูนยตาและแนวความคิด เรื่องพุทธภักติ อันมีเนื้อหาสาระส่วนใหญ่มุ่งอธิบายถึงหลักการปฏิบัติตนของพระโพธิสัตว์เป็นสําคัญ

ต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลนั้น ได้รับอนุญาตจากผู้แปลคือ พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ

เนื้อหาเพิ่มเติม http://blog.thai-sanscript.com/category/bodhicharyavatara/




โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต

โพธิจรรยาวตารเป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 8 เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอแนะในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งตั้งปณิธานจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้อย่างเต็มที่ เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉท

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต

ในปริเฉทที่ ๑ ท่านศานติเทวะ อธิบาย ความหมายของ โพธิจิต และ อานิสงส์ของโพธิจิต

ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara  แปลโดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์

เพิ่มเติม http://blog.thai-sanscript.com/benefits_bodhicitta/



โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต


ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

๑. ข้าพเจ้าครั้นน้อมนมัสการพระสุคตเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมกาย พร้อมทั้งพระสาวกทั้งมวลด้วยความเคารพแล้ว จะขอกล่าวถึงความตั้งมั่นแห่งการเป็นบุตรของพระสุคตเจ้าตามเนื้อความที่นํามาจากคัมภีร์อันได้รวบรวมไว้
๒. ด้วยว่าไม่มีเนื้อความใดๆในงานประพันธ์นี้ที่ไม่เคยกล่าวมาก่อนเลยและข้าพเจ้าเองก็ไม่มีความชํานาญในการร้อยกรองภาษา เหตุนั้น ข้าพเจ้าไม่มีความตั้งใจเพื่อประโยชน์ผู้อื่น(หากแต่)ข้าพเจ้าประพันธ์งานนี้ขึ้นเพื่อให้ความทรงจําตั้งมั่นด้วยดีอยู่ในใจตนเท่านั้น
๓. พลังความเลื่อมใสเพื่อให้กุศลเจริญขึ้น ย่อมสําเร็จแก่ข้าพเจ้าด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าหากผู้อื่นใดมีพื้นฐานความรู้เหมือนข้าพเจ้าได้พบเห็นบทประพันธ์นี้ไซร้ บทประพันธ์นี้ก็ย่อมเกิดประโยชน์แก่เขาบ้าง
๔. โอกาสและบารมีนี้เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งยังเป็นเครื่องให้สําเร็จประโยชน์แก่มนุษย์ที่บุคคลได้ยากยิ่งนัก ถ้าข้าพเจ้าไม่คํานึงถึงประโยชน์ในงานประพันธ์นี้ไซร้ การมาบรรจบกันแห่งโอกาสและบารมีนั้นจักมีแต่ที่ไหนได้อีกเล่า
๕. บางครั้งเพราะพุทธานุภาพ ความคิดคํานึงถึงบุญกุศลทั้งหลายย่อมเกิดแก่สรรพสัตว์เพียงชั่วขณะหนึ่งดั่งสายฟ้าแลบในคืนเดือนมืดที่ถูกบดบังไปด้วยเมฆทึบย่อมส่องแสงให้สว่างได้เพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
๖. ด้วยเหตุนั้น บุญกุศลจึงมีพลังอ่อนแอเป็นนิตย์ ส่วนพลังบาปนั้นยิ่งใหญ่และน่ากลัวเสมอหากไม่พึงมีสัมโพธิจิตแล้วไซร้คุณความดีอะไรอื่นจะเอาชนะพลังบาปนั้นได้อีกเล่า
๗. เพราะพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนีทั้งหลาย ผู้ทรงบําเพ็ญสมาธิบารมีมาหลายกัลป์ ได้ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์นี้เองที่เป็นเหตุยังหมู่ชนให้บรรลุถึงความสุขอันประเสริฐได้โดยง่าย
๘. แม้หมู่ชนทั้งหลายผู้ต้องการจะข้ามสภาวทุกข์หลายร้อยชนิด ประสงค์จะทําลายความพินาศของสรรพสัตว์ให้หมดไป และปรารถนาจะประสบกับความสุขทั้งมวล จึงไม่ควรละโพธิจิตนี้ตลอดกาลทุกเมื่อ
๙. ขณะเมื่อโพธิจิตบังเกิดขึ้นแล้วนี่เองผู้อ่อนแอที่ติดข้องอยู่ในข่ายแห่งภพย่อมถูกร้องเรียกว่าเป็นบุตรของพระสุคตเจ้าทั้งหลาย เขาย่อมถูกมนุษยโลกและเทวโลกเคารพนบน้อมอยู่โดยแท้
๑๐. ท่านทั้งหลายจงยึดเอาสิ่งซึ่งควรค่าอย่างยิ่ง อันชื่อว่าโพธิจิตให้มั่งคง เพราะโพธิจิตนี้สามารถเปลี่ยนร่างที่ไม่สะอาดทั้งหลายให้เป็นร่างแห่งพระพุทธรัตนะอันประมาณค่ามิได้
๑๑. ท่านทั้งหลายผู้ไม่อยู่ปราศจากโลกิยวิสัยเป็นปกติ พึงยึดมั่นในรัตนะคือ โพธิจิต อันพระผู้ทรงเป็นสารถีเอกของโลก ผู้มีปัญญาอันหาประมาณมิได้ ทรงพิจารณาเห็นแล้วว่า มีคุณค่ามากยิ่ง
๑๒. อนึ่งกุศลทั้งปวงอื่นเมื่อให้ผลแล้วก็ย่อมถึงความสิ้นไป เหมือนต้นกล้วยเมื่อให้ผลแล้วย่อมตายไป ฉะนั้น แต่ต้นโพธิจิตนี้ย่อมผลิผลอยู่เนือง ๆ หาถึงความสิ้นไปไม่ และย่อมหลั่งผลอยู่ตลอดเวลา
๑๓. ทําไมสัตว์ผู้ไม่รู้ทั้งหลายจึงไม่อาศัยโพธิจิต อันเป็นเหตุที่แม้ใคร ๆ ได้สร้างบาปอันทารุณไว้
จํานวนมากแล้ว ยังสามารถข้ามมหาภัยทั้งปวงได้โดยเร็วพลัน เพราะอาศัยอํานาจความกล้าหาญนั่นเอง
๑๔. โพธิจิตใด ย่อมเผาผลาญบาปจํานวนมากได้โดยพลัน ดั่งไฟในกาลสิ้นยุค พระเมตตรัยผู้ทรงปัญญาได้พร่ำสอนโพธิจิตอันประเสริฐล้ำเหล่านั้นไว้แก่พระสุธนแล้ว
๑๕. กล่าวโดยย่อ โพธิจิตนั้นบุคคลพึงรู้ว่า มีอยู่ ๒ ประการ คือ โพธิประณิธิจิต และโพธิปรัสถานจิตเท่านั้น
๑๖. บัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ถึงความแตกต่างของโพธิประณิธิจิตและโพธิปรัสถานจิตทั้งสองนั้นตามความต้องการเถิด เหมือนบุคคลเข้าใจถึงความต่างกันแห่งผู้ที่ปรารถนาจะไปและผู้ไปฉะนั้น
๑๗. โพธิประณิธิจิตมีผลยิ่งใหญ่แม้ในสังสารวัฎ (ก็จริง) แต่ความมีบุญไม่ขาดสูญไปแห่งโพธิประณิธิจิตนั้นย่อมไม่มีเหมือนโพธิปรัสถานจิตเลย
๑๘. เพราะจิตที่ไม่หวนกลับ จิตนั้นจึงตั้งมั่นด้วยดีอยู่ในความปรารถนาจะหลุดพ้นจากสัตวธาตุ
อันไม่มีที่สิ้นสุดจําเดิมแต่กาลใด
๑๙. นับแต่กาลนั้นมา ขณะเมื่อสัตว์หลับอยู่บ้าง ประมาทอยู่บ้าง สายธารแห่งบุญอันไม่สูญสลายทั้งมวลซึ่งเป็นเหมือนท้องฟ้าย่อมเป็นไปโดยประการต่างๆ
๒๐. พระตถาคตเจ้าได้ตรัสถึงโพธิจิต พร้อมทั้งเหตุเกิดโพธิจิตนั้นไว้ในสุพาหุปฤจฉาสูตรแล้วเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ผู้มีจิตอันน้อมไปในทางเลวทรามด้วยพระองค์เอง
๒๑. ผู้ที่คิดอยู่ว่า ข้าพเจ้าจะทําลายความเจ็บปวดที่ศีรษะของสัตว์ทั้งหลายให้ย่อยยับไป แล้วยึด
มั่นอยู่กับการสั่งสมประโยชน์เกื้อกูลด้วยบุญอันหาประมาณมิได้
๒๒. จะป่ วยกล่าวไปใยถึงความต้องการที่จะกําจัดทุกข์จํานวนมากมายแห่งคนๆหนึ่งและความ
ต้องการจะช่วยเหลือสัตว์ตัวหนึ่งๆให้บรรลุถึงคุณธรรมอันหาประมาณมิได้เล่า
๒๓. ใครจักมีความปรารถนาถึงประโยชน์เช่นนี้เล่า จะเป็นมารดาบิดาหรือ หรือว่าเป็นหมู่เทวดา
และฤษีทั้งหลายหรือจะเป็นพระพรหมทั้งหลายเล่า
๒๔. นั่นเป็นเพียงความปรารถนาภายในใจเพื่อประโยชน์ตนของสรรพสัตว์เท่านั้น และความ
ปรารถนาเช่นนี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแม้ในความฝัน การเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจักมีแต่ที่ใดได้เล่า
๒๕. เพราะเหตุที่ความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ผู้อื่นของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้เพื่อ
ประโยชน์ตนเอง รัตนะอันพิเศษแห่งความบริสุทธิ์นี้ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
๒๖. จักมีบุญแห่งจิตตรัตนะใดอันเป็นเชื้อแห่งความเพลิดเพลินของสัตวโลก และเป็นยาบรรเทา
ทุกข์ของสัตวโลกก็บุคคลจะกําหนดค่าบุญนั้นได้อย่างไร
๒๗. การบูชาพระพุทธเจ้าย่อมสําเร็จได้เพียงเพราะความปรารถนาถึงประโยชน์ (ตน) จะป่วย
กล่าวไปใยถึงความเพียรพยายามเพื่อประโยชน์สุขทั้งมวลของสรรพสัตว์ทั้งหลายอีกเล่า
๒๘. ด้วยความหวังจะสลัดออกจากทุกข์แต่สัตว์ทั้งหลายกลับวิ่งเข้าไปหาความทุกข์ เพราะความหลงด้วยปรารถนาสุขเกินไป พวกเขาจึงได้ทําลายความสุขของตนเสีย ประหนึ่งว่า (ถูก)ศัตรูทําลายอยู่ฉะนั้น
๒๙. เมื่อบุคคลกระหายอยากอยู่ในความสุขถูกความทุกข์เบียดเบียนแล้วโดยประการต่าง ๆ เขา
พึงทําความยินดีต่อความสุขทั้งปวงและตัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งมวลจากการถูกบีบคั้นนั้น
๓๐. บุคคลที่ได้กําจัดความหลงให้หมดไปแล้ว จักหาผู้ที่เสมอกับคนดีนี้ได้จากไหน จักหามิตร
เช่นนี้ได้จากที่ใดหรือจะมีบุญเช่นนี้แต่ที่ไหนได้อีกเล่า
๓๑. ผู้ใดตอบแทนคุณความดีซึ่งบุคคลอื่นได้ทําไว้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมได้รับการสรรเสริญก่อนจะป่วยกล่าวไปใยถึงพระโพธิสัตว์อีกเล่าผู้ซึ่งถูกใครๆกล่าวขานอยู่ว่า เป็นผู้บําเพ็ญความดีโดยไม่มีผู้ร้องขอ
๓๒. ผู้ให้การเลี้ยงดูแก่คน ๒ – ๓ คน ยังถูกชนทั้งหลายบูชาอยู่ว่า ได้บําเพ็ญกุศลแล้ว แม้ว่าจะ
เลี้ยงดูด้วยอาหารธรรมดาเพียงเล็กน้อยที่พอจะยังชีวิตให้ดําเนินอยู่ได้เพียงชั่วครึ่งวันก็ตาม
๓๓. จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ปรารถนาความเสื่อมและความเจริญแห่งพระตถาคตเจ้า ผู้ซึ่งได้
บําเพ็ญมโนรถทั้งปวงให้บริบูรณ์แล้วแก่สรรพสัตว์อันหาประมาณมิได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
๓๔. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ก็ผู้ใดได้สร้างความชั่วไว้ภายในใจตนแก่บุตรของพระชินเจ้า ผู้ซึ่งเป็นเจาแหงการสักการบูชา เขาผูนั้นยอมตกนรกนานหลายกัลป นับเทาจํานวนที่ เกิดความคิดชั่วขึ้นนั่นแล
๓๕. เมื่อใจของผู้ใดเกิดความเลื่อมใสขึ้น ลําดับนั้นผลอันยิ่งยวดก็ย่อมสงเคราะห์ผู้นั้น แม้การทํา
บาปจะมีพลังมากก็จริงแต่ (การบําเพ็ญ) คุณความดีไว้ในพระชินบุตรทั้งหลายก็ย่อมไม่ไร้ผล (เช่นกัน)
๓๖. ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสรีระทั้งหลายของเหล่าพระชินบุตร ผู้มีจิตตรัตนะอันประเสริฐได้
บังเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าภัยอันตรายซึ่งเกี่ยวพันอยู่กับความสุข จักมีในพระชินบุตรเหล่าใด
ข้าพเจ้าขอถึงพระชินบุตรผู้เป็นแหล่งเกิดแห่งความสุขเหล่านั้นว่าเป็นที่พึ่งที่อาศัย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ (โพธิจรยาวตาร) ศานติเทวะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 2541 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:17:16
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๒ การแสดงบาป
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1022 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:59:49
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๓ การเข้าถึงซึ่งโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1159 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 02:08:00
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๔ ความไม่ประมาทในโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1104 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 02:15:00
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๕ การรักษาซึ่งสัมปชัญญะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1264 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2559 18:19:27
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.414 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 06:36:48