[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 11:18:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๓ การเข้าถึงซึ่งโพธิจิต  (อ่าน 1160 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 02:08:00 »

หมวดหมู่: คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร

ตอนนี้ผมเรียบเรียง คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายในจะมีเนื้อหา แบ่งเป็นในแต่ละปริเฉท ซึ่งจะมีบทปริวรรตภาษาสันสกฤตเป็นอักษรไทย 2 แบบ และมีเสียงประกอบให้อ่านตามได้ ส่วนล่างสุดจะเป็นบทแปลครับ เหมาะสำหรับผู้สนใจทั้งคัมภีร์ศาสนา, การออกเสียงภาษาสันสกฤต, และฉันทลักษณ์สันสกฤต

คัมภีร์โพธิจรรยาวตารเป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 8 เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉท มีจํานวนโศลกทั้งสิ้น 913 โศลก ในการประพันธ์ได้ใช้ฉันทลักษณ์11 ชนิด

คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เป็นคัมภีร์สําคัญของพระพุทธศาสนามหายานนิกายมาธยมิก ที่กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ หรือหลักการดําเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งหลักคําสอนอันครอบคลุมแนวความคิดสําคัญทั้ง 3 ด้านของพระพุทธศาสนามหายานคือ แนวความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ แนวความคิดเรื่องปรัชญาศูนยตาและแนวความคิด เรื่องพุทธภักติ อันมีเนื้อหาสาระส่วนใหญ่มุ่งอธิบายถึงหลักการปฏิบัติตนของพระโพธิสัตว์เป็นสําคัญ

ต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลนั้น ได้รับอนุญาตจากผู้แปลคือ พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ

เนื้อหาเพิ่มเติม http://blog.thai-sanscript.com/category/bodhicharyavatara/




โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๓ การเข้าถึงซึ่งโพธิจิต

ในปริเฉทที่ ๓ ท่านศานติเทวะ อธิบาย การอธิษฐานเพื่อเข้าถึงโพธิจิต

ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara  แปลโดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์

เพิ่มเติม http://blog.thai-sanscript.com/benefits_bodhicitta/



โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๓ การเข้าถึงซึ่งโพธิจิต

๑. สรรพสัตว์ทั้งหลายได้ทำการหยุดยั้งความทุกข์ในอบายภูมิไว้ด้วยดีแล้ว ข้าพเจ้าขออนุโมทนาด้วยความบันเทิงยินดีปรีดายิ่งขอความทุกข์ทั้งหลายจงสำเร็จผลเป็นความสุขเถิด
๒. ข้าพเจ้าย่อมอนุโมทนาต่อความหลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งขออนุโมทนาการตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ของสัตว์ผู้ได้รับการช่วยเหลือเหล่านั้น
๓. ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อมหาสมุทร คือ จิตโตตปาท ต่อคุณอันเป็นเหตุนำสุขมาให้แก่ สรรพสัตว์ต่อการบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์และต่อพระผู้สอนทั้งหลาย
๔. ข้าพเจ้าขอน้อมอัญชลีอ้อนวอนขอร้องต่อพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในทิศทั้งมวล ขอพระองค์ทั้งหลายโปรดสร้างธรรมประทีปให้เกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์ผู้ตกอยู่บนกองทุกข์ทั้งปวงเพราะความสับสนหลงตนอยู่
๕. ข้าพเจ้าขอประนมอัญชลีอ้อนวอนพระชินเจ้าผู้ใคร่จะบรรลุพระนิพพานทั้งหลาย ขอพระองค์ทั้งหลายจงดำรงคงมั่นอยู่ตลอดกาลกัลป์ชั่วนิรันดร์เถิด ขอโลกนี้อย่าเป็นโลกแห่งความมืดบอดเสีย
๖. เมื่อได้กระทำการทุกสิ่งสรรพเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้บรรลุถึงคุณงามความดีใด ขอความทุกข์ทั้งมวลของสัตว์ทั้งปวงพึงถูกคุณงามความดีนั้นทำลายให้สิ้นซากด้วยเถิด
๗. ข้าพเจ้าพึงเป็นยารักษาโรค ทั้งขอเป็นเภสัชกรและแพทย์ เป็นผู้คอยปรนนิบัติรับใช้คนเจ็บไข้ได้ป่วยเหล่านั้นจนกระทั่งโรคไม่สามารถกำเริบเกิดขึ้นได้อีก
๘. ขอให้ข้าพเจ้าได้กำจัดความทุกข์ทรมานที่เกิดจากความหิวกระหายอยาก ด้วยเม็ดฝนที่รั่วรดตกเป็นข้าวและน้ำทั้งหลายขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นน้ำดื่มและโภชนาหาร ในเวลาระหว่างกัลป์อันเกิดทุพภิกขภัยขึ้น
๙. ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นขุมทรัพย์ที่ไม่หมดสิ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้ยากจนขัดสนทั้งหลาย และขอให้ข้าพเจ้าพึงดำรงคงอยู่ในที่ใกล้เคียง (พวกเขา) โดยประการที่สามารถจะทำการส่งเสริมช่วยเหลือต่างๆได้
๑๐. ข้าพเจ้านั้นขอสละชีวิตอุทิศกายตนโภคสมบัติและคุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมาตลอดทั้ง ๓ กาล เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่ห่วงหาอาลัยอยาก
๑๑. การสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงนี้คือ พระนิพพาน ทั้งจิตของข้าพเจ้าเองก็แสวงหาต้องการพระนิพพานเช่นกัน ถ้าหากข้าพเจ้าพึงสละทิ้งสิ่งทั้งมวลไซร้ สรรพสิ่งทั้งหมดนั้นย่อมเป็นสิ่งประเสริฐที่ควรให้แก่สัตว์ทั้งหลาย
๑๒. เมื่อข้าพเจ้าได้มอบร่างกายนี้เพื่อความสุขแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว พวกเขาจะทุบตีหรือนินทาว่าร้าย ทั้งจะโปรยเกลี่ยเป็นเศษดินสิ่งไร้ค่าตลอดนิตย์นิรันดร์กาล (ก็ตามเถิด)
๑๓. ขอให้พวกเขาจงหยอกเล่นกับกายของข้าพเจ้า ทั้งขอให้ได้หัวเราะเยอะเย้ยและตลกขบขันข้าพเจ้าได้มอบกายถวายตนแก่พวกเขาแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่ข้าพเจ้าที่จะต้องคิดถึงความทุกข์ทรมาน (อันเกิดจากการกระทำเช่นนั้น) อีกเล่า
๑๔. และขอให้พวกเขาจงกระทำกรรมทั้งหลายอันเป็นสิ่งนำความสุขมาให้แก่พวกเขา ขอความทุกข์ทรมานอย่าพึงมีแก่ใครๆเพราะได้อาศัยข้าพเจ้าในกาลบางคราวด้วยเถิด
๑๕. เมื่อได้พึ่งพาอาศัยข้าพเจ้าแล้ว ขออารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือความโกรธและความเลื่อมใส ศรัทธาพึงเกิดมีแก่พวกเขา และขอความรู้สึกนึกคิดนั้นพึงเป็นเหตุปัจจัยให้สำเร็จประโยชน์ แก่พวกเขาเหล่านั้นทั้งหมดตลอดกาลเป็นนิตย์เถิด
๑๖. ชนเหล่าใดย่อมประทุษร้ายข้าพเจ้า ทั้งพูดจาใส่ร้ายป้ายสีและประพฤติหัวเราะเยอะเย้ย ข้าพเจ้าขอให้เขาเหล่านั้นทั้งหมดพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งการตรัสรู้ภูมิธรรมด้วยเถิด
๑๗. ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นที่พึ่งแก่คนอนาถาขาดแหล่งพึ่งพิงทั้งหลาย และเป็นสารถีผู้ชี้ทางแก่นักเดินทางทั้งหลายทั้งขอให้เป็นเรือเป็นสะพานและเป็นทางผ่านแก่คนผู้ปรารถนาจะข้ามฝั่ง(คือพระนิพพาน) ตลอดไป
๑๘. สำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นประทีปแก่ผู้ปรารถนาแสงสว่างสาดส่องเป็นเตียงตั่งแก่ผู้ปรารถนาจะนั่งนอนและเป็นทาสาบ่าวรับใช้แก่ผู้ปรารถนาทาสรับใช้
๑๙. ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นแก้วจินดามณีสีสวยสด เป็นหม้อประเสริฐเลิศวิเศษ เป็นเวทมนตร์ทรงพลังอันศักดิ์สิทธ์ และเป็นยาสากลคงความยิ่งใหญ่ ขอให้เป็นต้นกัลปพฤกษ์และแม่โคนมคงความอุดมสมบูรณ์แก่สัตว์ทั้งหลาย
๒๐. เช่นเดียวกับธาตุทั้งหลายมีปฐวีธาตุเป็นต้นได้บังเกิดเป็นเครื่องบริโภคใช้สอยชนิดต่าง ๆของเหล่าสัตว์อันหาประมาณมิได้ที่อาศัยอยู่ในสากลจักรวาลทั้งสิ้น
๒๑. ดังนั้น ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นอุปกรณ์เครื่องค้ำจุนสนับสนุนหมู่สัตว์ผู้ดำรงชีพอาศัยอยู่ในอากาศธาตุทั้งมวลตราบจนสรรพสัตว์ทั้งหลายจะไม่พึงไว้เนื้อเชื่อใจ (ข้าพเจ้า)
๒๒. เหมือนดั่งที่พระสุคตเจ้าในกาลเก่าก่อนทั้งหลาย ได้ทรงยึดมั่นถือเอาซึ่งโพธิจิตไว้แล้ว ในขณะเดียวกัน ขอให้สัตว์เหล่านั้นพึงยึดมั่นปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระโพธิสัตว์โดยสม่ำเสมอเถิด
๒๓. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าย่อมต้องเสริมสร้างโพธิจิตให้เกิดขึ้นเพื่อความสงบสุขของสัตว์โลกและด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าควรจะศึกษาปฏิบัติซึ่งหลักคำสอนเหล่านั้น ตามคำพร่ำสอนอย่างสมบูรณ์
๒๔. เมื่อยึดมั่นโพธิจิตอยู่อย่างนี้แล้ว ผู้มีปัญญาพึงศรัทธาเลื่อมใสเพื่อประโยชน์แห่งความสุขความเจริญเขาพึงยินดีมีความคิดอย่างนี้อีกว่า
๒๕. วันนี้ การถือกำเนิดเกิดเป็นคนขึ้นของข้าพเจ้า ย่อมมีผลสมบูรณ์ ความเป็นมนุษย์ของข้าพเจ้าก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมประเสริฐล้ำ ข้าพเจ้าได้ถือกำเนิดในสกุลวงศ์ของพระพุทธเจ้าแล้วข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นพุทธบุตรอย่างแท้จริง
๒๖. นับแต่นี้ไป ข้าพเจ้าพึงประพฤติตัวตามกฎธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับวงศ์ตระกูลของตน ให้เป็นดุจเดียวกับที่ความเศร้าหมองด่างพร้อยไม่พึงเกิดมีแก่สกุลวงศ์อันปราศจากมลทินฉะนั้น
๒๗. โพธิจิตนี้ได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับคนตาบอดพึงได้รับแก้วมณีจากกองหยากเยื่อฉะนั้น
๒๘. ยา (คือโพธิจิต) นี้ได้เกิดขึ้นแล้วเพื่อทำลายมฤตยูแห่งสัตว์โลกให้พินาศไป เป็นขุมทรัพย์อันไม่เสื่อมสลายที่สามารถบรรเทาเบาบางความยากจนขัดสนของสัตว์โลกให้หมดไป
๒๙. โพธิจิตนี้เป็นเภสัชอันประเสริฐเลิศล้ำ ที่สามารถขจัดความเจ็บปวดรวดร้าวของสัตว์โลกให้ลดน้อยลง เป็นพฤกษาสำหรับพักผ่อนหย่อนจิตของสัตว์โลกที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จากการเดินทางตามมรรถวิถีชีวิตตน
๓๐. เพราะได้ผ่านข้ามพ้นความทนทุกข์ยากแสนลำบาก โพธิจิตนี้จึงเป็นสะพานสากลแห่งคนเดินทางทั้งปวง เป็นพระจันทร์อันส่องสว่างขึ้นกลางดวงจิต ซึ่งสามารถบรรเทาลดละสรรพกิเลสอันเร่าร้อนของสัตว์โลก
๓๑. เป็นพระอาทิตย์ดวงยิ่งใหญ่ที่กำจัดความมืดมิดคิดชั่วมั่วอวิชชาแห่งสัตว์โลกทั้งหลาย เป็นเนยเหลวอันใหม่สดที่กระเพื่อมขึ้นจากการปั่นบดน้ำนมคือพระสัทธรรม
๓๒. สมาคมแห่งความสุขนี้ ที่ได้สร้างความพอใจใคร่อยากแก่เหล่าสัตว์ผู้มาถึงทั้งปวง ได้จัดตั้งตระเตรียมไว้แล้วแก่ผู้ปรารถนาต้องการสุขและโภคสมบัติ หรือแก่ปวงชนคนสัญจรที่ท่องเที่ยวไปตามมรรควิถีชีวิตตน
๓๓. วันนี้ ข้าพเจ้าขอร้องเชื้อเชิญสัตว์โลกทั้งหลาย ให้บรรลุถึงซึ่งความเป็นพระสุคตเจ้าและซึ่งความสุขสำราญ อนึ่ง ขอให้เทวดาและอสูรทั้งหลายจงได้เพลิดเพลินยินดีปรีดา ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้ทรงคุ้ม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 สิงหาคม 2559 18:18:46 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ (โพธิจรยาวตาร) ศานติเทวะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 2541 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:17:16
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1170 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:50:05
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๒ การแสดงบาป
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1022 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:59:49
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๔ ความไม่ประมาทในโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1104 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 02:15:00
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๕ การรักษาซึ่งสัมปชัญญะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1264 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2559 18:19:27
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.37 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 06:54:48