[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 13:05:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีแห่งปราชญ์แท้ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)  (อ่าน 2578 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 สิงหาคม 2559 16:32:10 »







      "ทุกข์สำหรับเห็น สุขสำหรับเป็น". . . นี่คือแก่นสาระแห่งพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องการมีชีวิต และสิ่งนี้เองที่ปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มชัดในวิถีแห่งปราชญ์ ปราชญ์แท้ๆ ผู้ทำให้ธรรมะปรากฏเป็นรูปธรรมได้ในทุกอิริยาบถ

        เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2481 ณ บ้านเลขที่ 49 ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตลาดเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยหมู่เรือนแถวไม้สองชั้นบุราณ เรียงรายเป็นแนวยาวขนานไปกับแม่น้ำท่าจีน กลางร้านค้าผ้าจีนของ ท่านมหาสำราญ กับ แม่ชุนกี อารยางกูร "เด็กชายประยุทธ์ อารยางกูร" เด็กชายตัวเล็กๆ ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น และนับตั้งแต่นั้นมา เด็กชายขี้โรค ผอมบอบบาง แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศผู้นี้ ก็เติบโตขึ้นมาเพื่อเป็นปราชญ์แท้คนสำคัญแห่งยุคสมัย และปัจจุบันเด็กชายผู้นี้คือ "พระพรหมคุณาภรณ์" (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

        ครอบครัวอารยางกูร เป็นครอบครัวคนชั้นกลาง ทำธุรกิจการค้า แต่ฐานะไม่ได้มั่งคั่ง เพราะมีค่าใช้จ่ายมาก อันเนื่องมาจากท่านมหาสำราญมีลูกหลายคน และให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเรื่องการศึกษาเล่าเรียน พยายามส่งเสียลูกชายให้ได้เรียนสูงๆ ไปตามกำลังความสามารถ นอกเหนือไปจากการอบรมสั่งสอนในครอบครัว ในเรื่องความซื่อตรง ซึ่งท่านเล็งเห็นว่าเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบการค้า ส่วนแม่ชุนกีก็เป็นแม่ที่ดีเธอให้ความยอมรับต่อความคิดของท่านมหาสำราญผู้เป็นสามี ถึงแม้หลายต่อหลายครั้ง ที่ครอบครัวจะต้องประสบปัญหาต่างๆ แต่พื้นฐานของครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกัน ประกอบกับคุณธรรมหลายๆ ข้อที่เด็กๆ ได้รับจากพร่ำสอน อบรม รวมถึงความอดทนเข้มแข็งของบุพการี ทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตนั้นๆ มาได้เสมอ







       เด็กชายประยุทธ์ เติบโตมาด้วยพื้นฐานเป็นคนใจเย็นและใจดี ขยันขันแข็ง อดทน ไม่เคยทะเลาะกับใคร และยังพร้อมกับให้ความสำคัญกับคนอื่นๆ มากกว่าตัวเอง

        สมัยเด็กเด็กชายประยุทธ์จะเป็นเด็กขี้โรค ผอม บอบบาง โดยอายุยังไม่ครบขวบก็ป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร และท้องร่วงอย่างรุนแรง ครั้นพอบรรพชาเป็นสามเณรก็เกิดเป็นไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคปอด รักษาจนหายตอนหลังก็เป็นโรคแพ้อากาศ หายใจไม่สะดวก ต่อมาก็เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากเป็นหูอักเสบหรือ มาสตอยด์ และในช่วงที่เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็เกิดเป็นนิ่วในกรวยไต และความที่ชอบเขียนหนังสือและจริงจังเสมอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อที่แขนเกิดเกร็งและอักเสบอย่างรุนแรง ถึงขนาดยกแขนไม่ได้ ต่อมาหลอดลมอักเสบ ตับไม่ปกติ ลำไส้พับ ไวรัสเข้าตา อักเสบ บวม ต้องปิดตาทั้ง 2 ข้าง อีกทั้งยังป่วยด้วยเส้นเสียงอักเสบ แพทย์สั่งห้ามพูด นอกจากนั้นยังมีอาการผิดปกติของกรามบนและกรามล่างไม่ได้ส่วน ต้องเข้าเฝือกรักษาอยู่นาน

        แม้พระพรหมคุณาภรณ์จะอาพาธบ่อยแต่ท่านจะไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจเท่าไหร่ โดยบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดา  และการเป็นโรคนั่นโรคนี้บ่อยๆ ถือเป็นประสบการณ์ส่วนตัวไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งท่านเคยบอกไว้ว่า ... ถึงแม้ร่างกายเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย ...

        สำหรับการศึกษา เด็กชายประยุทธ์ เข้าศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนประชาบาลวัดยาง ด้วยความขยันและเป็นเด็กฉลาด แม้ว่าจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง แต่เด็กชายประยุทธ์ก็ใช้เวลาเพียง 3 ปีในการศึกษาจนสำเร็จระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นท่านมหาสำราญก็ได้ก็พาเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ามาศึกษาต่อ โดยเด็กชายประยุทธ์สามารถสอบติดโรงเรียนวัดปทุมคงคาได้ และเข้ามาอาศัยอยู่กับพี่ๆ ที่เข้ากรุงเทพมหานครมาก่อนหน้านี้ ที่วัดพระพิเรนทร์ โดยอยู่ในการดูแลของพระศรีขันธโสภิต เจ้าอาวาส

        เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เรียนหนังสือเก่ง จึงเป็นที่รักของครูและเพื่อนๆ แต่เส้นทางทางโลกของเด็กชายประยุทธ์ เปลี่ยนไปเมื่ออายุได้ 12 ปี ด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยคุกคามอยู่ตลอด โดยเฉพาะโรคท้องเสีย




  . . . วันแรกของการเปิดภาคเรียนขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เด็กชายประยุทธ์กลับบ้านมาก่อนเวลาเลิกเรียน เพราะอาการท้องเสียกำเริบอย่างหนัก ซึ่งประจวบกับที่ท่านมหาสำราญเดินทางมาหาลูกๆ ที่กรุงเทพมหานครพอดี ท่านเห็นอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง จึงสงสารลูก ท่านจึงหารือกับพี่ๆ ของเด็กชายประยุทธ์ ซึ่งมีความเห็นว่า ควรจะให้เด็กชายประยุทธ์บวชเรียนเสีย และกลับไปอยู่บ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเด็กชายประยุทธ์ก็ไม่ได้โต้แย้งอะไร

        . . . นี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตของเด็กชายประยุทธ์ กลายมาเป็นปราชญ์ทางธรรมคนสำคัญแห่งยุคสมัย. . . 

        10 พฤษภาคม 2494 ณ วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เด็กชายประยุทธ์ อารยางกูร  ก็เข้าบวชเป็นสามเณร โดยมีหลวงพ่อวัดบ้านกร่าง พระครูเมธีธรรมสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งตลอด 1 ปีที่วัดบ้านกร่าง นอกเหนือจากการมุมานะเรียนนักธรรมตรีแล้ว สามเณรประยุทธ์ยังให้ความสนใจในการอ่าน โดยค้นเอาเอกสารเก่าๆ สมุดข่อยโบราณ หนังสือธรรมมะ ตลอดจนแบบเรียนภาษาอังกฤษและสารคดีความรู้ต่างๆ  และจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตัวเองเสมอ ทำให้สามเณรประยุทธ์สามารถสอบนักธรรมตรีในปีแรกที่บวชเรียนได้

        จากนั้นก็ได้ไปเรียนนักธรรมโทและบาลี ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง กับหลวงพ่อพระวิกรมมุนี เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถึงแม้ว่าสุขภาพจะไม่ดี แต่สามเณรประยุทธ์ก็ไม่เคยขาดเรียน ไม่เคยหลับในห้องเรียน ทั้งยังทุ่มเทในการเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ทุกครั้งที่ว่าง สามเณรประยุทธ์จะไปขลุกตัวอยู่ที่หอสวดมนต์ เพื่ออ่านหนังสือธรรมะ และจะมีสมุดจดบันทึกเล่มหนึ่ง ที่เส้นบรรทัดค่อนข้างถี่ เอาไว้สำหรับจดสรุปความหรือย่อความ จากเนื้อหาในหนังสือหรือบทเรียนต่างๆ เล่มโตๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือนั้นอีก จากนั้นสามเณรประยุทธ์จึงไปสอบนักธรรมโท พร้อมกับเดินทางเข้ามาศึกษาบาลีต่อที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยมาพำนักที่วัดพระพิเรนทร์เหมือนเดิม





     ในปีแรกที่มาพำนักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์อีกครั้งของสามเณรประยุทธ์ ก็สอบธรรมเอกได้ สำหรับบาลีนั้นสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2498 จากนั้นสามเณรประยุทธ์ก็มุ่งมั่นเรียนบาลี และสอบได้ประโยคสูงขึ้นทุกปี ต้นปี พ.ศ. 2504 แม่กองบาลีสนามหลวงได้ประกาศรายชื่อพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม  9  ประโยค จำนวน 11 รูป ปรากฏว่า สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร วัดพระพิเรนทร์ สอบได้ลำดับที่  6  ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงสามเณร 3 รูปเท่านั้นที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค (ในวงการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ของคณะสงฆ์ไทย ถือว่าสามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำคัญต่อตนเองและพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เพราะจะต้องเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า มีความจำเป็นเลิศ มีความเข้าใจภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง และจะต้องเขียนหนังสือได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกตัวอักษร จึงจะสอบได้ เขียนผิดแม้แต่ตัวเดียวก็สอบตก หลายท่านจึงบอกว่าเรื่องนี้เป็นบุญวาสนาด้วย)

        หลังจากที่สามเณรประยุทธ์ สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ รับสามเณรประยุทธ์ อารยางกูร เป็นนาคหลวง อุปสมบทเมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า ปยุตฺโต มีความหมายว่า ผู้เพียรประกอบแล้ว

        ต่อมา พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ก็ตัดสินใจสอบเข้าศึกษาต่อในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการเรียนบาลี ซึ่งหันมาใช้วิธีอ่านและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะไม่มีเวลาไปเรียนในชั้นเรียนปกติ และในการศึกษาวิชาสามัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ปรากฏว่าท่านก็มีผลการเรียนดีเยี่ยม จวบจบปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี 2504 และได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำในแผนกเตรียมพุทธศาสตร์ พร้อมกันนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยเป็นกำลังหลักในการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้











      บนวิถีแห่งปราชญ์แท้ พระมหาประยุทธ์ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย ทั้งๆ  ที่ก็มีภาระงานอื่นๆ มากมาย จนสามารถแปลหนังสือแล้วเสร็จออกได้เมื่อ พ.ศ. 2506 ให้ชื่อว่า จารึกอโศก และในปี 2506 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการรูปที่สอง จวบจนปี 2507 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการ ฝ่ายวิชาการ เป็นการทำงานฝ่ายบริหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งท่านก็ทำได้ดี แต่ต่อมาไม่นานท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหันมาทำงานด้านวิชาการอย่างเดียว จนทำให้ท่านเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องในฐานะพระนักวิชาการตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บทบาทของท่านนับวันจะแผ่ขยายออกไปในหมู่ปัญญาชนคนสำคัญทั่วประเทศ

        นอกจากจะแปลหนังสือแล้ว พระมหาประยุทธ์ยังเขียนตำราเรียนธรรมะภาษาอังกฤษขึ้นสองเล่ม และยังขยายฐานต่อยอดด้วยความประสงค์จะให้พระนิสิตรู้คำศัพท์เพิ่มเติม จึงคิดทำ Dictionary of Bhuddhism ซึ่งพัฒนาการต่อมาได้กลายเป็นตำนานการทำงานหนังสืออ้างอิงทางพุทธศาสนาที่สำคัญ และหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุง และขยายความ ซึ่งต่อมากลายเป็นหนังสือที่ถูกกล่าวขานยกย่องในเวลาต่อมาว่า เป็นหนังสืออ้างอิงพุทธศาสนาเล่มสำคัญที่สุด ร่วมสมัย และไม่เคยมีหนังสือเช่นนี้มาก่อน และท่านยังมีผลงานเขียนที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือจำนวนมาก หลายเล่มถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำนับร้อยครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณฯ ยืนยันว่าจะไม่รับค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ต่อการจัดพิมพ์หนังสือของท่าน แต่หากมีผู้มอบถวาย ท่านจะบริจาคต่อไปยังโรงเรียน องค์กรการกุศลต่างๆ การบริจาคนี้รวมไปถึงเงินบริจาคจากการไปเป็นองค์ปาฐกหรือแสดงธรรมตามที่ได้รับนิมนต์ ที่ได้กระทำมาตลอดยาวนานกว่าสี่สิบปี

        ในห้วงเวลานี้เองที่พระมหาประยุทธ์มีกิจนิมนต์มากมายมหาศาล ต้องไปแสดงปาฐากถาตามสถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหัวข้อต่างๆ รวมทั้งรับนิมนต์ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนา ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงสามครั้ง อีกทั้งยังมีแขกมาพบท่านที่กุฏิโดยตรงแทบทุกวันไม่ได้ขาด แม้ในยามเจ็บป่วย แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกใดๆ หากแต่ต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันงาม ตอบปัญหาข้อซักถามอย่างละเอียดลออทุกแง่มุม แขกบางท่านใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะกราบนมัสการลากลับก็ล่วงเข้า 5 ทุ่ม 2 ยาม โดยหารู้ไม่ว่าท่านอาพาธ และหลังจากแขกกลับไปแล้ว ท่านก็ยังต้องทำงานต่อจนดึกดื่น บางครั้งงานเร่งก็ทำถึงรุ่งเช้า จนลูกศิษย์เกรงว่าสุขภาพจะทรุดลงกว่าเดิม จึงถามท่านว่า เหตุใดท่านเจ้าคุณฯ ไม่บอกไปว่ามีงานเร่งอยู่ หรือกำลังอาพาธ ให้กลับไปก่อน ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ มักจะกล่าวว่า "ทำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นพระต้องมีปฏิสันถาร"

        ตลอดระยะเวลายาวนานแห่งการทำงานหนัก เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนในที่สุดองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ถวายรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2537 และในปีถัดมา สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ได้ถวายตำแหน่งตรีปิฎกกาจารย์ อันหมายถึง อาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทั้งหมด ที่มีผู้ถวายแด่ท่านเจ้าคุณฯ ในระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมกับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต ที่ท่านสำเร็จมาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับรวมแล้วมีมากถึง 16 ใบ แต่ท่านเจ้าคุณฯ มิได้คิดว่ารางวัลที่เชิดชูเกียรติสำคัญนัก เพราะท่านระลึกเสมอว่า . . .

        "ไม่ว่าจะมอบถวายรางวัลนี้แด่ท่านหรือไม่ ก็มิได้ทำให้พระเป็นอะไรขึ้นมา นอกจากความเป็นพระ รางวัลที่แท้จริงนั้น มิได้อยู่ที่การได้มอบให้อะไรที่เราเรียกว่าเป็นรางวัลรูปธรรม รางวัลที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชน สังคม และมนุษย์โดยทั่วไป มีความร่มเย็นเป็นสุข"






        ปฏิปทาจริยาวัตรอันงาม สงบเย็น แห่งท่านเจ้าคุณฯ นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย เป็นเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น ตั้งแต่ยังเป็นพระมหาประยุทธ์ จวบจนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ จากชั้นสามัญ เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม มาโดยลำดับ กระทั่งปี 2547 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ "พระพรหมคุณาภรณ์" แล้วก็ตาม ท่าก็ยังให้เกียรติผู้อื่นอย่างไม่เลือกวรรณะ การศึกษา ไม่เคยแสดงท่าท่าเป็นผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้ง ในยามที่นักวิชาการมาสนทนากับท่าน ท่านมักเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด รับฟังทัศนะคติของผู้อื่นด้วยความเมตตา ไม่เคยทำให้คู่สนทนารู้สึกเสียหน้า หรือแสดงภูมิใดๆ ข่มผู้สนทนาให้รู้สึกว่าตนเองรู้น้อย

        ทั้งทางด้านวัตรปฏิบัตินั้น ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไม่เคยรบกวนผู้อื่นเลย ทุกวันนี้ท่านยังซักเครื่องอัฐบริขารของท่านเองอยู่ แม้ในช่วงหลังจะมีพระบางรูปช่วยเหลือท่านที่กุฏิ ด้วยเป็นห่วงสุขภาพและวัยที่เพิ่มขึ้น แต่ท่านมักจะบอกกับพระรูปนั้นอยู่เสมอว่า "ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมทำเองได้"

        อย่างเวลาฉันท่านจะมีแค่ปิ่นโตเถาเล็กๆ ไม่มีการจัดสำรับหรูหรา เพราะท่านไม่อยากให้ญาติโยมลำบาก อีกทั้งท่านเจ้าคุณฯ ยังห่มจีวรสีสดที่ตัดเย็บจากผ้าธรรมดาทั่วๆ ไป สวมรองเท้าแตะยาง และเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่าในกุฏิของท่านจะไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ เลย จะมีก็แต่เพียงวิทยุ ที่ท่านใช้เปิดฟังข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมบางตัวที่สำคัญกับการทำงานเผยแพร่ของท่าน หรือหากมีสิ่งของใดๆ เสีย ท่านก็จะลงมือซ่อมแซมเอง ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา วิทยุ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ จึงเป็นที่รู้กันดีว่างานอดิเรกของท่านคือ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้นั่นเอง

        ท่านเจ้าคุณฯ เป็นผู้สมถะอย่างยิ่ง มักน้อย หลีกเลี่ยงสิ่งของฟุ่มเฟือยทุกชนิด สมดังที่ท่านมักแสดงธรรมในเรื่องความสันโดษในวัตถุ แต่ไม่ถือสันโดษในกุศลธรรม และสิ่งที่เห็นได้เกือบทุกพื้นที่ภายในกุฏิของท่านเจ้าคุณฯ คือ หนังสือและชั้นเก็บหนังสือ จึงเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ง่าย และการไม่รบกวนใคร

        ตลอดชีวิตของพระมหาประยุทธ์ แม้จะเผชิญเรื่องราวต่างๆ มากมายแต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่ศิษย์หรือคนใกล้ชิดจะพบว่าท่านกำลังโกรธเคือง หงุดหงิด รำคาญใจ แม้แต่อาการเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ก็ไม่อาจทำให้ท่านแสดงอาการใดๆ ออกมาให้เห็น ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ กล่าวว่า "อาตมาเป็นประเภทหนักเหตุผล พิจารณาที่เหตุ และผล ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ทุกข์เป็นสิ่งเรารู้ทันแล้วก็หาทางแก้ เราจะก้าวไปสู่จุดหมาย คือมีความสุขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสุขที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นเพราะทุกข์น้อยลง จนกระทั่งไม่มีทุกข์เหลือเลย เพราะอาตมามีความคิดนี้อยู่ในใจตลอดเวลา คือทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ มีอุปสรรคอะไรก็ต้องพยายามเอาชนะให้ได้ แล้วเวลาทำอะไรก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด" ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านใจสงบเย็นปกติสม่ำเสมอ

        และในที่สุดหลังจากจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์มายาวนานร่วม 40 พรรษา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของท่าน ทำให้สุขภาพเสื่อมทรุด ท่านจึงต้องย้ายไปพักฟื้นฟูสุขภาพอยู่ในที่ศาลากลางสระ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ที่ญาติโยมสร้างถวายถึง 3 ปี ในห้วงเวลานั้นหลายคนอาสาพาท่านไปดูที่ดินใหม่ ที่จะถวายให้ใช้สร้างวัด กระทั่งมาพบที่ดิน 11 ไร่ ด้านหลังพุทธมณฑล ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ดี สงบร่มรื่น และเหมาะสมที่จะเป็นสัปปายะ สำหรับการพำนักอาศัยของท่านในบั้นปลาย ญาติโยมจึงบริจาคซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดขึ้น จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีชื่อว่า "วัดญาณเวศกวัน" หมายความว่า ป่าแห่งความรู้ หรือป่าของผู้เข้าสู่ญาณ

        การถือกำเนิดแห่งปราชญ์แท้ๆ แม้เพียงสักคนในท่ามกลางยุคสมัยอันแห้งแล้งประหลาดพิกลเช่นนี้ จักก่อให้เกิดความหวังใหม่ๆ ในความเข้าใจในทางสติปัญญาขึ้น ในชุมชนชาวพุทธ และโดยเฉพาะคณะสงฆ์

จาก http://hilight.kapook.com/view/32133

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11602.0.html

จากสารคดีธรรม ชุด สองพุทธบุตร ธรรมประทีป แห่งสยาม

เพิ่มเติม อีกมากมาย https://www.youtube.com/playlist?list=PLADE6569A48151F23

<a href="https://www.youtube.com/v/DyYEWmk1A_k" target="_blank">https://www.youtube.com/v/DyYEWmk1A_k</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความจริงแห่งชีวิต โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ ปยุตฺโต
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 2320 กระทู้ล่าสุด 02 พฤษภาคม 2554 09:17:49
โดย 時々๛कभी कभी๛
ทำไมเทวดาอยากเกิดเป็นมนุษย์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ธรรมะจากพระอาจารย์
หมีงงในพงหญ้า 0 2310 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2555 14:11:33
โดย หมีงงในพงหญ้า
พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Kimleng 2 4146 กระทู้ล่าสุด 04 พฤษภาคม 2558 12:26:39
โดย Kimleng
ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
เกร็ดศาสนา
Kimleng 3 4580 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2558 15:53:54
โดย Kimleng
ภัยแห่งพระพุทธศาสนา โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1545 กระทู้ล่าสุด 04 สิงหาคม 2559 17:47:01
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.686 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กุมภาพันธ์ 2567 09:34:47