[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 08:57:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขุนรองปลัดชู " วีรชนคนกล้า " 400 คน สปาตันเมืองไทย วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง  (อ่าน 1835 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 สิงหาคม 2559 14:33:19 »



วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง (สปาตันเมืองไทย)

ประวัติวัดนี้ไม่ธรรมดาเลยครับ ประมาณว่า เป็น สปาตันเมืองไทย (นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง300) อนุสาวรีย์ "วีรชนคนกล้า" 400คน หยุดทัพพม่า 10,000 คน ก่อนถึงกรุงศรีอยุธยา สามารถต้านไว้ได้ถึงหนึ่งวันหนึ่งคืนในการศึก จนพ่ายแพ้ไปเพราะกำลังคนน้อย หลังจากนั้นจึงมีการสร้างเจดีย์ ไว้เป็นที่รวบรวมดวงวิญญาณของ ชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่เสียชีวิตจำนวน 400 คน



วีรกรรมของกองอาทมาตที่อ่าวหว้าขาว ประจวบคีรีขันข์ พ.ศ.2302

ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยรบกับพม่า มีเหตุการณ์สำคัญที่ประวัติศาสตร์จารึก ไว้เกี่ยวกับกองอาทมาต ก็คือ การต่อสู้ของกองอาสาอาทมาต ชาวบ้านนักรบขมังเวทย์ 400 คน กับกองทัพพม่าที่เดินทัพมา 10,000 คน  น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ  ชาวบ้าน 400 คน จากวิเศษชัยชาญ  อ่างทอง

ที่หาญกล้าไปต่อกร หยุดทัพพม่า 10,000 คน เพื่อปกป้องแผ่นดินไทย รบกันที่หาดหว้าขาว ปัจจุบัน คือ พื้นที่ตำบลอ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อสู้ต้านพม่าไว้ได้เป็นเวลานาน ในที่สุดขาดกำลังคนสนับสนุน จึงพ่ายแพ้ พลีชีพเพื่อชาติทั้งหมดทั้งสิ้น 400 คน!!!

การรบครั้งนั้น หัวหน้ากองอาทมาต ชื่อ "ขุนรองปลัดชู"  ชาวอ่างทอง หากไม่มีวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ก็จะไม่มีวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน เกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมาอย่างเด็ดขาด!!!

มีการสร้างอนุสาวรีย์"วีรชนคนกล้า"ไว้ให้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่ออนุชนรำลึกถึง คุณงามความดี จดจำวีรกรรมไว้เป็นแบบอย่างผู้กล้าหาญ เสียสละ ที่วัดสี่ร้อย ตั้งชื่อถนน ซอยในเขตเทศบาล ตำบลบางรัก อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มาจนทุกวันนี้


เรื่องราวของ วีรกรรม 400

นามของขุนรองปลัดชู กับ กองอาสาอาทมาท ดูเหมือนจะเลือนลางในความทรงจำของคนไทย ทั้งๆ ที่วีรกรรมในการรุกรบกับพม่า นั้นมีมาก่อน ชาวบ้านบางระจัน อาจกล่าวได้ว่า ถ้าไร้ศึกที่อ่าวหว้าขาว ก็อาจไม่มีศึกบางระจัน

ใน พ.ศ. 2294 พระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองพม่า แล้วก็แผ่พระราชอำนาจ รวบหัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งมอญ ไว้ได้หมดสิ้น ครองราชย์ 8 ปี ก็ เป็นเวลาที่ กรุงศรีอยุธยา ผลัดแผ่นดิน เป็นพระเจ้าเอกทัศน์ พม่าเห็นว่าไทย อยู่ในช่วงรอยต่อ มีความวุ่นวาย รวมทั้ง ต้องการลองกำลังหยั่งเชิง ซึ่งพอดีมีเหตุ เรือบรรทุกสินค้าของฝรั่ง ที่ค้าขายในเมืองอังวะ ถูกพายุซัดมาทางตะวันออก แวะมาซ่อมเรือที่มะริด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของตะนาวศรี พม่าก็ขอให้เจ้าเมืองตะนาวศรี ส่งฝรั่ง และ มอญ ที่เป็นกบฎ หนีมา จับตัวส่งไป ทั้งคน และ เรือ

ไทยตอบว่า ฝรั่งมาซ่อมเรือ ส่วนจะมีกบฎมอญมาหรือไม่นั้น หาทราบไม่

พม่าก็ถือ เป็นโอกาส หาเหตุ ส่ง มังระ ราชบุตรองค์ที่สอง กับ มังฆ้องนรธา คุมกำลัง แปดพันคน มาตีทวาย ซึ่งตอนนั้นกำลังแข็งเมืองอยู่

เขาว่า สมัยนั้น การข่าวของ อยุธยาผิดพลาด ….เจ้าเมืองกาญจนบุรี แจ้งว่าพม่าจะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ พระเจ้าเอกทัศน์ ก็มีรับสั่งให้พระยาอภัยราชมนตรี ยกพลหนึ่งหมื่นไป ดักรอสกัด ที่นั่น และให้พระยาพระคลัง ยกพลอีกหนึ่งหมื่นไป เป็นทัพหนุนที่ ราชบุรี

ต่อ มามีข่าวจากเจ้าเมืองกำแพงเพชรว่า พม่าจะส่งมาทางด่านแม่ละเมาอีกทางหนึ่ง ทางกรุงศรีฯ ก็ส่งทัพไปสกัดอีกเช่นกัน

ด้านพม่านั้นเมื่อตีทะวายได้แล้ว ก็ต่อมายังมะริด และ ตะนาวศรี เจ้าเมืองจึงได้มีหนังสือมาแจ้งเมืองหลวง แต่ตอนนั้น กำลังพลส่วนใหญ่ได้ใช้ไปรักษาสองด่าน แรกหมดแล้ว จึงเหลือเพียงกำลังเล็กๆ ที่ยกไปรักษามะริด และ ตะนาวศรี พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดให้ พระยายมราช เป็นแม่ทัพคุมกำลัง สามพัน และ พระยารัตนาธิเบศร์คุมทัพหนุน สองพัน

ในเวลานั้น มีครูฝึกเพลงอาวุธอยู่ในเมืองวิเศษไชยชาญอยู่ผู้หนึ่ง ชื่อ ครูดาบชู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ให้เป็น ปลัดเมือง กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวบ้านจึงเรียนว่าขุนรองปลัดชู

เมื่อท่านทราบข่าว ว่าพม่ายกมาตีมะริด ตะนาวศรี ท่านก็สละตำแหน่ง ปลัดเมืองทันที แล้วนำชายฉกรรจ์ ที่เป็นลูกศิษย์ประมาณ 400 คน เดินทางมายังพระนคร เพื่อทูลขออาสาออกศึกกับพม่า โดยไม่ต้องรอคำสั่ง ย้าย แต่ประการใด


ประตูทางด้านหลังของวัด

ประวัติท่านขุนรองปลัดชู กองอาทมาต และวัดสี่ร้อย

วัดสี่ร้อย ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “ กองอาทมาต ”

พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้สั่งให้ขุนรองปลัดชูคุมกองอาทมาต ไปตั้ง สกัดกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว ตั้งอยู่เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันนี้

พอกองทัพพม่ายกทัพผ่านมา ขุนรองปลัดชูจึงคุม ทหารเข้าโจมตีรบด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอน ถึงแม้ทหารของไทยจะน้อยกว่า แต่ก็ฆ่าฟันพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก การต่อสู้ผ่านไป 1 คืน ถึงเที่ยงวัน รุ่งขึ้นก็ยังไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ เพราะพม่ายกทัพหนุนเข้ามาช่วยอีก

ด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงเหนื่อยอ่อนแรง ในที่สุดก็ถูกพม่ารุกไล่โจมตีแตกพ่ายยับเยิน แต่ทหารกองอาทมาต มีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า ทหารพม่าจึงไสช้างเข้าเหยียบย่ำทหารกองอาทมาตตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็ถูกไล่ลงทะเลจมน้ำตายไปก็มาก ในที่สุด ขุนรองปลัดชู พร้อมด้วยทหารกองอาทมาตแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน ก็เสียชีวิตด้วย ฝีมือของพม่า

ชาววิเศษไชยชาญ เมื่อทราบข่าวก็โศรกเศร้าเสียใจ จึงได้แต่ภาวนาขอบุญกุศล ที่ได้สร้างสมไว้จงเป็นปัจจัยส่งผลให้ดวง วิญญาณของทหารกล้าได้ไปสู่สุคติ ความเงียบเหงาวังเวงเกิดขึ้น หมดกำลัง ใจในการทำมาหากิน ไม่มีอะไรดีไปกว่าการร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้พลีชีพด้วย การสร้างวัดสี่ร้อย ในปี พ.ศ.2313 ใช้ชื่อสี่ร้อย ตามจำนวนกองอาทมาตสี่ร้อยคน ที่ไม่ได้กลับมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชน รุ่นหลังของชาวเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำให้ระลึกถึง บรรพบุรุษที่พลีชีพ เพื่อปกป้องปฐพีถึงกับเสียชีวิต โดยชื่อว่า วัดสี่ร้อย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนทั่วไป

เจ้าอาวาสในขณะนั้นก็ได้ สร้างเจดีย์ ไว้เป็นที่รวบรวมดวงวิญญาณของ ชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่เสียชีวิตจำนวน 400 คน


ภาพ: เจดีย์ที่เป็นอนุสรณ์ 400ผู้เสียสละ รักษากรุงศรีฯ

หลังจากพม่าผ่านอ่าวหว้าขาวไปได้ ก็ไม่มีเมืองใดขัดขวางพม่า พากันยอมแพ้ทั้งหมด พม่าถึงกรุงศรีอยุธยาโดยง่าย การรบที่อยุธยาทำให้พม่าเสียหายหนัก เกิดปืนใหญ่ระเบิดใส่พระเจ้าอลองพญาบาดเจ็บสาหัส ต้องเลิกทัพ เดินทางกลับพม่า โดยพระเจ้าอลองพญาสวรรคตบริเวณด่านแม่ละเมาในเขตแดนไทย (ปัจจุบันเป็นบริเวณอุทยานแห่งชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก)

สงคราม ครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง เป็นสงครามคนละครั้งกับครั้งนี้ โดยปี 2308 พม่ายกทัพมาใหม่ และสามารถพิชิตอยุธยาสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2310 เกิดวีรกรรมชาวบ้านค่ายบางระจันในศึกครั้งนี้ โดยมีชาวบ้านจากวิเศษชัยชาญไปร่วมรบเช่นกัน ถึงกับมีผู้กล่าวว่า "ถ้าไม่มีวีรกรรมขุนรองปลัดชู ก็คงไม่มีวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน"

ต่อ มาถึงสมัยหลวงพ่อบุญ เป็นเจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย ได้นับถือหลวงพ่อปั้นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาก เมื่อหลวงพ่อปั้นได้มาเยี่ยมชาวสี่ร้อย และปฏิบัติกิจนิมนต์เป็นประจำ หลวงพ่อปั้นเป็นพระภิกษุที่มี ความเมตตาสูง เป็นที่เคารพรักของชาวสี่ร้อยเป็นอย่างมาก ได้เห็นว่าชาวสี่ร้อยมีความเคารพรักท่าน ตลอดจนชาวสี่ร้อยเลื่อมใสใน บวรพุทธศาสนา

หลวงพ่อปั้นจึงได้ชวนหลวงพ่อบุญ และชาวสี่ร้อยสร้างพระพุทธรูปเพื่อไว้เป็น ที่สักการะบูชาแทนพระเจดีย์ ในขณะนั้นชาวสี่ร้อยมีความเลื่อมใสจึงพากัน ไปนมัสการหลวงพ่อใหญ่วัดป่าเลไลยก์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประจำ เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลาและลำบากในการเดินทางไปนมัสการ จึงได้ตกลงกันสร้างหลวงพ่อใหญ่ขึ้น โดยจำลองแบบมาจาก ปางป่าเลไลยก์ วัดป่าเลย์ไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรีมาประดิษฐาน ณ วัดสี่ร้อย



นับว่าเป็น พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น โดยมีนายวาด นิลมงคล ในสมัยนั้นดำรงตำแหน่งรับราชการเป็นเสมียนตรา เป็นผู้บริหาร จัดการ การก่อสร้าง บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันสละทรัพย์ แก้ว แหวน เงินทอง มีคณะช่างก่อสร้างชื่อนายมาตร สุขมนัส นายผล รัตนเสถียร ใช้เวลาก่อสร้างถึง 16 ปี

ทำการพุทธาภิเษกยกรัศมีเบิกพระเนตร ติดอุณาโลม ในปี พ.ศ. 2475 พร้อม บรรจุวัตถุมงคล หลวงพ่อบุญ มอบให้พระยงค์ เพิ่มพูนและพระใน นำวัตถุมงคลไปบรรจุโดยใช้เชือกผูกหย่อนลงทางพระเศียร พระศอ และยกรัศมีทั้งสามปิด

งานประจำปีของวัดสี่ร้อย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ประชาชนทั่วสารทิศจะมานมัสการหลวงพ่อใหญ่ ขอโชคลาภต่างๆนานา ใครมีทุกข์ร้อนประการใดก็มาบอกเล่าหลวงพ่อใหญ่ และมักมีการแก้บนด้วยพลุและละคร ปัจจุบันนี้วัดสี่ร้อยเป็นหนึ่งในแหล่ง ท่องเที่ยวของจังหวัดอ่างทอง

เรื่องราววีรกรรม400 ของชาวอ่างทอง มีผู้นำมาสร้างเป็นการ์ตูนให้อ่านกัน น่าสนใจมากๆ เรื่อง “400กองอาทมาตประกาศศึก” อภิมหากาพย์ปลุกสำนึกไทยรู้รักสามัคคี ก่อนกรุงแตก ผู้คนต่างหนีตายทั้งนายไพร่ แต่... ใครบางคนลุกขึ้นสู้! เปิดปม 400 นักรบที่ถูกลืมกับวีรกรรมหาญกล้าที่หาดหว้าขาว ถึงคราวชาว ไทยร่วมหวนรำลึก ในไม่ช้าเลือดทหารกล้าจะไหลนองแผ่นดิน

และท่านเจ้าอาวาสเล่าให้เราฟังว่า มัคนกำลังสนใจที่จะนำเรื่อง400 ไปทำเป็นภาพยนตร์อีกด้วยนะครับ







ภาพหนังสือ กองอาทมาท ประกาศศึก (การ์ตูน)
โดย คุณพงษ์พัฒน์ เพชรรัตน์
สำนัก พิมพ์อาทมาท, พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ๒๕๕๐
ที่มา : http://atcloud.com/stories/66013

ที่ตั้ง: อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย บนเส้นทางสายโพธิ์พระยา – ท่าเรือ หรืออ่างทอง – วิเศษชัยชาญ ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12.5 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมือไปตามถนนคันคลองชลประทานอีก 5 กิโลเมตร

จาก http://www.sadoodta.com/info/ วัดสี่ร้อย-จังหวัดอ่างทอง-สปาตันเมืองไทย

https://www.facebook.com/LSS.thailand/posts/1302913713069699

<a href="https://www.youtube.com/v/3XZLYBjj7WU" target="_blank">https://www.youtube.com/v/3XZLYBjj7WU</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/qOUop5tp_TM" target="_blank">https://www.youtube.com/v/qOUop5tp_TM</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.431 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 19:55:51