[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 19:29:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เลียะพะ! ความร้าวฉานไทย-จีน กลับสนิทเป็นเนื้อเดียวเมื่อสองพระองค์เสด็จสำเพ็ง!!  (อ่าน 1489 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 สิงหาคม 2559 20:18:07 »


สองพระองค์เสด็จสำเพ็งในปี ๒๔๘๙

 เมื่อตอนที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง คำจีนที่ว่า “เลียะพะ” ซึ่งแปลว่า “จับและตี” หมายถึงการกลุ้มรุมทำร้าย เป็นคำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทย คนไทยที่เข้าไปเดินในย่านคนจีน เมื่อได้ยินเสียงคนร้องขึ้นว่า “เลียะพะ!” ก็ต้องวิ่งกันทันที มิฉะนั้นก็จะโดนเลียะพะ
       
       ทั้งนี้เกิดจากคนจีนมีความโกรธแค้นญี่ปุ่นอย่างมาก และหลายคนก็โกรธแค้นมาถึงรัฐบาลไทยที่ร่วมรบกับญี่ปุ่น ประกอบกับได้รับการยุยงจากหน่วยใต้ดินของก๊กมินตั๋งในไทย ว่าจีนเป็น ๑ ใน ๕ ชาติมหาอำนาจที่ชนะสงครามในครั้งนี้ จอมพลเจียงไคเช็คกำลังจะส่งทหารเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย ทำให้คนจีนกลุ่มหนึ่งฮึกเหิม โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ขุ่นเคืองการปฏิบัติของตำรวจไทย หวังจะได้แก้แค้น แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งทหารอังกฤษเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย ส่วนทหารก๊กมินตั๋งปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในอินโดจีนเท่านั้น ทำให้คนกลุ่มนี้ผิดหวังอย่างมาก
       
       ในคืนวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๘๘ เป็นเทศกาลไหว้พระจันทร์ ผู้คนไปเที่ยวเตร่แถวเยาวราชกันแน่น ราว ๒ ทุ่มได้มีทหารอังกฤษกลุ่มหนึ่งไปนั่งกินเหล้าในร้านแห่งหนึ่ง แสดงอาการสนุกสนานกันเต็มที่ เอาธงชาติจีนขึ้นมาโบก จึงมีคนมายืนมุ่งดูกันแน่นถนน เผอิญรถสามเฉี่ยวชนคนจีนคนหนึ่งเข้า จึงเกิดมีปากเสียงทะเลาะกัน คนจีนกลุ่มหนึ่งได้กลุ้มรุมทำร้ายคนขี่สามล้อซึ่งเป็นคนไทย ตำรวจเข้าระงับเหตุก็ถูกรุมทำร้ายด้วย สถานีตำรวจพลับพลาไชยได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธไป ๑ คันรถ เกลี้ยกล่อมให้ฝูงชนสลายตัว แต่ไม่มีใครเชื่อฟังและยังโยนประทัดเข้าใส่ ตำรวจจึงยิงปืนขึ้นฟ้าแล้วถอยกลับโรงพัก ทางรัฐบาลได้ส่งทหาร ตำรวจ และยุวชนทหารซึ่งมีบทบาทสำคัญตอนสงครามไปรักษาการณ์ ใช้รถถังวิ่งตรวจไปตามถนนเยาวราช เจริญกรุง จนถึงหัวลำโพง ฝ่ายที่ก่อจลาจลได้แอบอยู่ในตึกแถวข้างถนนยิงลงมา เกิดการยิงตอบโต้กัน จนร้านค้าทั้งย่านต้องปิดหมด
       
       รุ่งขึ้นวันที่ ๒๑ การจลาจลได้กระจายออกไปตามย่านที่มีคนจีนอยู่ เช่น เจริญกรุง บางรัก หัวลำโพง และบางลำพู มีโปสเตอร์เป็นภาษาจีนติดอยู่หลายแห่ง ปลุกปั่นคนจีนให้ทำร้ายคนไทย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก๊กมินตั๋งในไทย และมีคนเข้าพักในโรงแรมย่านเยาวราชมากผิดปกติ มีข่าวลือว่าคืนนี้จะมีการก่อจลาจลขั้นรุนแรง ทางราชการได้เตรียมรับมืออย่างเต็มที่ จนราว ๒ ทุ่มเสียงปืนก็ดังไปทั่ว มีบาดเจ็บล้มตายกันหลายคน และมีกลุ่มอันธพาลเข้าผสมโรงบุกเข้าปล้นร้านค้าคนจีนย่านเยาวราช กวาดทรัพย์สินไปได้มาก
       
       รุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๒๒ ทหารตำรวจได้จู่โจมเข้าเคลียร์พื้นที่ที่มีการปะทะ จับกุมผู้ต้องสงสัยไปได้หลายคน แต่ก็ยังมีการยิงตอบโต้เป็นระยะ จนตกบ่ายเสียงปืนจึงค่อยหายไป
       
       ในวันที่ ๒๓ “สมาคมคังเจี้ยน” ซึ่งเป็นองค์กรของก๊กมินตั๋งในไทย ได้ปิดประกาศเรียกร้องให้คนจีนปิดตลาด ซึ่งผู้ค้าต่างปฏิบัติตามเพราะกลัวการคุกคาม แต่เจ้าของตลาดเก่าเยาวราชได้ระดมแม่ค้าพ่อค้าจากที่อื่นมาขายแทน และส่งคนเข้าคุ้มครองคนขาย ผู้คนในย่านนั้นจึงมีที่จับจ่ายกับข้าวได้
       
       ในวันเดียวกันนี้สหสมาคมต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้พี่น้องไทย-จีนช่วยกันถนอมไมตรีที่มีมาช้านาน อย่าหลงกลผู้ไม่หวังดียุแหย่ให้เกิดความแตกร้าวขึ้นในชาติ รัฐบาลได้จัดตั้งกองกำลังรักษาความมั่นคงไทย-จีนขึ้น มี พล.ร.ต.สังวร สุวรรณชีพ เป็นหัวหน้า และรักษาความสงบข้ามไปปี จนในวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๔๘๙ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้เซ็นสัญญาสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน กับนายหลีเทียะเจิง เอกอัครราชทูตจีน กองกำลังผสมนี้จึงเลิกไปตามเสียง “เลียะพะ!” ด้วย
       
       ต่อมาในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๙ เวลา ๐๙.๐๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเยี่ยมสำเพ็ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทอย่างช้าๆ ไปบนพรมที่บรรดาพ่อค้าจัดปูลาดไปตลอดความยาวของถนนสำเพ็ง และประดับด้วยซุ้มดอกไม้ ธงทิว แพรผ้า หน้าร้านค้าต่างตั้งโต๊ะมุกเครื่องบูชา และเฝ้ารับเสด็จตลอดเส้นทางพระราชดำเนิน ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่รอเข้าเฝ้าตามทางเป็นระยะ และเสด็จฯเข้าประทับในบางร้าน สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงเป็นช่างภาพกิตติมศักดิ์ ทรงเปิดโอกาสให้ชาวจีนได้เข้าเฝ้าแทบละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิด ทรงรับของที่ระลึกด้วยพระหัตถ์จากร้านหนึ่งไปยังอีกร้านหนึ่ง ทรงใช้เวลาเสด็จเยี่ยมสำเพ็งครั้งนี้ถึง ๔ ชั่วโมง จากนั้นได้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่สมาคมไทย-จีน ถนนสาทร ตามคำกราบบังคมทูลของบรรดาพ่อค้าจีน และทอดพระเนตรการละเล่นต่างๆก่อนเสด็จกลับ ยังความปลาบปลื้มปีติยินดีแก่ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นล้นพ้น
       
       จากนั้นความสัมพันธ์ของคนในชาติก็สนิทเป็นเนื้อเดียวกันดังเดิม






จาก http://astv.mobi/A38tGhv

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.243 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มกราคม 2567 08:13:20