[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 12:20:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: องค์ดาไลลามะ ทรงยกย่อง สมเด็จพระสังฆราช เปรียบเสมือนพี่ชาย  (อ่าน 1687 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 01:03:46 »



ความทรงจำ!'ทะไลลามะ'เฝ้าพระสังฆราช : สำราญ สมพงษ์ อดีตผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงศึกษาธิการรายงาน(FB-samran sompong)

              ข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อเวลา 19.30น.ของวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2556ที่ผ่านมา   ได้รับความสนใจจากสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำหรับเผยแพร่ไปทั่วโลก พร้อมกับรายงานเพิ่มเติมว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นสหายขององค์ทะไลลามะ ผู้นำจิตวิญญาณของทิเบต โดยทรงยกย่องสมเด็จพระสังฆราชว่าเป็น "พี่ชายของฉัน"

              พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้รายงานในเวลาต่อมาว่า “ขณะนี้อาตมากำลังร่างหนังสือเพื่อแจ้งไปยังองค์ทะไลลามะอย่างเป็นทางการ เนื่องด้วยองค์ทะไลลามะกับสมเด็จพระสังฆราช มีความผูกพันอย่างใกล้ชิด ทุกครั้งที่องค์ทะไลลามะมาเยือนประเทศก็จะต้องมาเฝ้าและสนทนาธรรมกับสมเด็จพระสังฆราช โดยพระองค์ยกย่องสมเด็จพระสังฆราชว่า"เป็นพี่ชายทางธรรม"

              และวันต่อมาพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ เปิดเผยว่า องค์ทะไลลามะได้ส่งสาส์นธรรมสังเวชผ่านเว็บไซต์ http://www.dalailama.com/ แสดงความเสียใจเมื่อทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช มีใจความว่า

              "สหายทางจิตวิญญาณที่รักทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจการพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช  ในระยะเวลาอันสั้นหลังงานฉลองพระชนมายุ 100 พรรษา ในระหว่างที่ข้าพเจ้าสวดภาวนาอุทิศถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจมายังมหาเถรสมาคมและศิษยานุศิษย์นับหลายล้านคนของพระองค์ทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก การจากไปของสมเด็จพระญาณสังวรฯนั้น เราทั้งหลายได้สูญเสียสหายทางธรรมอันวิเศษ"

              พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวต่อว่า สาส์นขององค์ทะไลลามะได้แสดงความชื่นชมอย่างสุดซึ้งต่อวิถีทางที่สมเด็จพระสังฆราชทรงปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบที่มีต่อพระศาสนาได้สมบูรณ์ยิ่งตลอดพระชนม์ชีพอันยาวนานและมีความหมายยิ่ง และยังทรงอุทิศพระองค์ในการสร้างคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างทั่วถึงตลอดมา และจะหาโอกาสส่งผู้แทนมาสวดภาวนาและแสดงความอาลัยต่อประชาชนชาวไทย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพนับถือด้วย

              ทั้งนี้องค์ทะไลลามะเสด็จเยือนประเทศไทยครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2510  และได้เสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหารด้วย ครั้งนั้นทรงปรารภกับสมเด็จพระสังฆราชขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณว่า "อยากศึกษาการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาท"  เจ้าหน้าที่จัดการรับเสด็จจึงได้จัดให้สมเด็จพระสังฆราชถวายคำแนะนำในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาทแก่องค์ทะไลลามะตามพระประสงค์ ณ สำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง

              องค์ทะไลลามะเสด็จเยือนประเทศไทยหลายครั้ง และทุกครั้งได้เสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหารและทรงพบปะสนทนากับสมเด็จพระสังฆราชเสมอ จึงทรงคุ้นเคยกับสมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างดี

              ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 และประทับแรมที่ศาลา 150 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร คำแรกที่องค์ทะไลลามะตรัสทักทายสมเด็จพระสังฆราชเมื่อทรงพบกันในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารก็คือ “พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า” อันแสดงถึงความเคารพรักที่ทรงมีต่อกัน

              และวันที่องค์ทะไลลามะกราบทูลลาสมเด็จพระสังฆราชได้กราบทูลว่า "เวลาเหลือน้อยเต็มที เมื่อวานนี้กระหม่อมมีโอกาสทูลใต้ฝ่าพระบาทเพียงสั้นๆ กระหม่อมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตจะได้เห็นชาวพุทธทิเบตกับชาวพุทธไทยมีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น และคงจะได้มีการประชุมสัมมนาร่วมกันเป็นครั้งคราวด้วย เพื่อให้พระภิกษุไทยกับพระภิกษุทิเบตได้สากัจฉากันในเรื่องพระวินัย เรื่องสมาธิ เรื่องอภิธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากทีเดียวด้วยวิธีดังกล่าวนี้ พวกเราชาวทิเบตก็จะได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างจากขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทยและในทำนองเดียวกันชาวไทยก็จะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากขนบธรรมเนียบประเพณีแบบทิเบต"

              สมเด็จพระสังฆราชได้แสดงพระทัศนะเห็นด้วยกับข้อเสนอขององค์ทะไลลามะในครั้งนั้น

              และเมื่อต้นปี2556 พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ได้เปิดเผยถึงการร่วมสนทนาธรรม "พระพุทธศาสนาหลังพุทธชยันตี 2600 ปี" กับองค์ทะไลลามะ พร้อมผู้แทนคณะสงฆ์ทิเบต ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียว่า "องค์ทะไลลามะยินดีต้อนรับพระสงฆ์ นักวิชาการ และอาจารย์มหาวิทยาลัยจากประเทศไทย ที่จะไปศึกษาที่สถาบันกลางเพื่อทิเบตศึกษาขั้นสูง หรือที่รู้จักกันในนามว่า มหาวิทยาลัยกลางเพื่อทิเบตศึกษา ที่เมืองสารนาถ ประเทศอินเดีย" ทั้งนี้คงเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างอันดีระหว่างสมเด็จพระสังฆราชกับองค์ทะไลลามะนั้นเอง

              การเยือนประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2536 ขององค์ทะไลลามะนี้เอง ผู้เขียนได้มีประสบการณ์โดยตรง เนื่องจากขณะนั้นเป็นผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงศึกษาธิการ ได้แจ้งจากหัวหน้าให้ไปทำข่าวสังเกตบรรยากาศ ก็งงๆเหมือนกันว่าทำไมหัวหน้าถึงใช้ให้ไปทำหน้าที่นี้ทั้งๆไม่สามารถฟังภาษาอังกฤษได้เข้าใจ หรือเป็นเพราะเราเคยเป็นคนวัดมาก่อนก็เป็นได้

              เหตุการณ์ที่ได้สัมผัสกับองค์ทะไลลามะโดยตรงนั้นก็คือตอนที่ประทับแรมที่ศาลา 150 ปี ได้เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษ์ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ก็มุ่งไปที่ความขัดแย้งระหว่างทิเบตกับจีน แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นก็อยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำหนักเพ็ชรนั้นได้ใช้เป็นสถานที่ประชุมมหาเถรสมาคม เวลาที่มีประเด็นข่าวและเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมก็จะเดินทางไปทำข่าวเสมอ


              นอกจากนี้ทุกๆปีของวันที่ 3 ตุลาคมเป็นวันประสูติของสมเด็จพระสังฆราช ทางวัดบวรฯก็จะมีการจัดงาน ก็ได้มีโอ
กาสเดินทางทำไปข่าว หลังจากนั้นก็จะได้รับแจกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ แต่ที่ขึ้นชื่อเห็นจะเป็นพระพิมพ์ไพรีพินาศ แม้นว่าตอนนั้นจะไม่ค่อยนิยมพระเครื่องเท่าใดนัก แต่เมื่อเห็นพิมพ์แล้วถือว่าสวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งซุ้มเรือนแก้ว ได้เก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ไม่ได้นำออกมาแก้จนแต่อย่างใด คงเป็นเพราะประสบการณ์เกี่ยวกับพระเครื่องวัดบวรฯนี้เองทำให้สนใจศึกษาพุทธศิลป์ ลายไทย ลายกนกในเวลาต่อไป

              ความจริงแล้วผู้เขียนได้ติดตามศาสนกิจของสมเด็จพระสังฆราชเสมอมา ตั้งแต่สมัยอยู่ในเพศสมณะได้ศึกษาระดับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เอกปรัชญา ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อปี2529 เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ยังได้รับประทานปริญญาบัตรจากพระองค์

              จากความทรงจำดังกล่าวทำให้มีความรู้สึกว่าสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระรูปหนึ่งที่มีไม่มากนัก สามารถนำมารำลึกเป็นสังฆานุสสติได้อย่างสนิทใจ

จาก http://www.komchadluek.net/news/detail/171722

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11741.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“สมเด็จพระสังฆราช” ประทานพระโอวาทวันวิสาขบูชา
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sithiphong 1 2076 กระทู้ล่าสุด 30 พฤษภาคม 2553 05:09:04
โดย เงาฝัน
Kundun-คุนดุน องค์ดาไลลามะ ผู้กำกับรางวัลออสการ์ Martin Scorsese
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 4 14313 กระทู้ล่าสุด 10 มกราคม 2554 19:37:21
โดย หมีงงในพงหญ้า
องค์ดาไลลามะ เสด็จสวนโมกขพลาราม พบ ท่านพุทธทาสภิกขุ พ.ศ.2515
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1840 กระทู้ล่าสุด 31 กรกฎาคม 2559 13:01:41
โดย มดเอ๊ก
สมเด็จพระสังฆราช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 2193 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2559 23:07:48
โดย มดเอ๊ก
วู้ดดี้ สนทนาธรรมครั้งพิเศษกับ องค์ดาไลลามะ หนึ่งในบุคคลสำคัญของโลก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 2520 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2559 11:02:55
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.323 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 08 เมษายน 2567 19:54:58