[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 17:17:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หมอบกราบในวัฒนธรรมอินเดีย  (อ่าน 2944 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 17:44:27 »



หมอบกราบในวัฒนธรรมอินเดีย

ที่จริง คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยพูดไว้ชัดเจนไม่ต้องพูดอะไรต่อ ว่าการไหว้หรือกราบนั้นเป็นของที่เรารับมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ไม่ใช่ของดั้งเดิมและไม่ได้เอาไว้ไหว้คน เพราะคนสมัยก่อนเวลาเด็กไหว้ยังพูดว่า “ไหว้พระเถอะลูก”

ท่านว่า สมัยก่อนใช้การเอามือป้องหูซึ่งยังมีร่องรอยในประเพณีของหมอลำ-ร้องอยู่ และสรุปว่าการไหว้ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ ดังที่ทำในปัจจุบันนี้ เป็นประเพณีใหม่ไม่น่าเกินร้อยปีนี้เอง

จากบทความของคุณสุจิตต์ ผมจึงลองไปค้นดูว่าการเคารพกราบไหว้ของอินเดียมีแบบไหนอย่างไรบ้าง เผื่อว่าที่เราบอกว่าเรารับรูปแบบมาจากแขก เผลอๆ ปรุงแต่งจนแขกก็จำไม่ได้เสียแล้ว

ในฐานะคุ้นเคยกับคนอินเดีย ผมมักพบว่า เวลาพี่น้องชาวอินเดียพบครูบาอาจารย์ทางศาสนาหรือบิดามารดาของตัวแต่ละคนก็จะแสดงความเคารพต่างกันไปเพราะเขาไม่ถือว่ามีการแสดงออกที่ถูกต้องแบบเดียว ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และที่สำคัญ “ความรู้สึก” เช่นความเคารพรักด้วย

นั่นทำให้การแสดงความเคารพจึงมีโครงสร้างกว้างๆ เช่น ถ้าเคารพมากหรืออีกฝ่ายอาวุโสมากๆ ก็ต้องโน้มตัวมากและสัมพันธ์กับ “เท้า” ของอีกฝ่ายให้มาก  ดังนั้น จะก้มลงเพียงเอามือแตะเท้า ก้มกราบเท้า เอาศีรษะจรดที่เท้า จุมพิตเท้า นอนราบกับพื้นเอามือแตะเท้า กราบแล้วหยิบฝุ่นผงธุลีที่เท้าท่านมาไว้บนศีรษะ ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นการให้ความเคารพอย่างสูงทั้งนั้น

การแสดงความเคารพโดยสัมผัสเท้านี้เรียกว่า “จรณสปรศะ” จรณะแปลว่าเท้า สปรศะแปลว่าสัมผัส

แต่หากอาวุโสใกล้เคียงและคุ้นเคยกัน จะแค่ยกมือประนมที่อก ยกไหว้ที่หน้าผาก ยกไว้ก้มหน้าเล็กน้อย ฯลฯ อ่อนแก่กว่ากันไหว้ก่อนไหว้หลังก็ไม่ผิด

ที่ผมประทับใจคือสิ่งที่ครูของผมและพี่น้องชาวอินเดียทำเสมอ คือหากพบผู้มีความรู้สูงโดยเฉพาะทางศาสนา หรือมีคุณธรรมสูง เขาก็จะแสดงความเคารพทันที โดยไม่สนใจอายุหรือเศรษฐสถานะใดๆ

แม้ในทางปฏิบัติคนอินเดียจะมีการแสดงความเคารพกันอย่างหลากหลาย โดยมีรูปแบบกว้างๆ คือการประนมมือ (ท่านี้เรียกว่า อัญชลีมุทรา) การกราบ การสัมผัสเท้า ซึ่งดูเหมือนว่าไม่ได้มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก แต่ในคัมภีร์โบราณต่างๆ เช่น อปัสตัมพธรรมสูตร มนูธรรมศาสตร์ ฯลฯ ได้พูดถึงรูปแบบและรายละเอียดในการแสดงความเคารพไว้ค่อนข้างมาก เช่น
“อภิวันทนะ” หมายถึงการแสดงความเคารพบุคคลทั่วไป มักประนมมือและแนะนำตัวเองต่อคนนั้น หรือบางกรณีคือการลุกขึ้นยืน

“อุปสังครหะ” คือการใช้มือสัมผัสที่เท้าของครูหรือบุคคลที่เคารพ
“ปรัตยาภิวันทนะ” คือการแสดงความเคารพตอบ โดยมากมักกล่าวว่า “ขอให้มีอายุยืน”
“นมัสการ” คือการประนมมือและกล่าวคำว่า นมัสการ หรือ นมะ แปลว่าขอความนอบน้อมจงมี
“ษัษฐางค” หมายถึงองค์ทั้งหก ได้แก่ การหมอบกราบ ด้วยศีรษะ มือทั้งสอง เท้าทั้งสอง และหน้าอกหรือใจ (บางทีว่าหัวแม่เท้า หัวเข่า มือ คาง จมูก ขมับ) คือท่านอนราบกราบไปกับพื้น ถือว่านี่คือรูปแบบของการแสดงความเคารพสูงสุด โดยประเพณีปฏิบัติมักใช้กับพระเป็นเจ้า นักบวชที่เคารพอย่างสูงและคุรุทางจิตวิญญาณของตนเท่านั้น

การคุกเข่าลงก้มกราบเฉยๆ เรียกว่า “ปัญจางคประณาม” (ประณามหมายถึงการเคารพอย่างสูง) คือฝ่ามือ ๒ หัวเข่า ๒ และหน้าผาก (รวมเป็นห้า) แบบเดียวกับเบญจางคประดิษฐ์ในบ้านเรา โดยประเพณีปฏิบัติ ใช้ได้ทั้งกับเทพเจ้า บุคคลที่เคารพ เช่นบิดามารดาและครูอาจารย์

ในมนูธรรมศาสตร์ยังกล่าวว่า เมื่อวรรณะทั้งสี่แสดงความเคารพคือทำอภิวันทนะ (เคารพและแนะนำตัวต่อตัวบุคคลทั่วไป) ให้มีระดับต่างกันคือ พราหมณ์ยกมือไหว้ผู้อื่นในระดับหูของตน  กษัตริย์ยกไหว้ระดับแก้ม ไวศยะระดับเอว และศูทรระดับเท้าของตน

กล่าวอย่างง่ายๆ คือ ยิ่งวรรณะต่ำเท่าใดก็ไหว้ต่ำลงเท่านั้น

น่าสนใจครับที่คัมภีร์ไม่บอกว่าหากผู้ถูกไหว้เป็นใครต้องไหว้แบบไหน แต่กลับบอกว่าผู้ไหว้เป็นใครต้องไหว้แบบไหน ผมคิดว่านี่จึงอาจเปิดโอกาสให้หลังจากได้ “อภิวันทนะ” หรือเคารพและแนะนำตัวกันเป็นครั้งแรกแล้ว ต้องไปคิดต่อเอาเองว่าจะเคารพผู้นั้นในแบบใดมากน้อยแค่ไหน

การแสดงความเคารพในอินเดียจึงหลากหลาย และไม่มีประกวดไหว้งามกราบสวย ชนิดมีกรรมการมาเล็งองศาไหว้ ระดับมือ ฯลฯ อย่างบ้านเรา เพราะมันตีความสำหรับการปฏิบัติได้กว้างขวาง และยืดหยุ่นได้มาก

คัมภีร์มหาภารตะ กล่าวถึงผู้ควรกราบไหว้เป็นนิตย์คือ ครู บิดามารดา และผู้ที่อาวุโสกว่า

ในคัมภีร์อื่นๆ ก็มักกล่าวถึง “ครู” (ทางศาสนา ศิลปวิทยาและจิตวิญญาณ) ว่าเป็นผู้สมควรกราบไหว้มากที่สุด และมักกล่าวถึงการแสดงความเคารพต่อครูมากกว่าบุคคลอื่นๆ ทั้งหมด

ผมยังไม่พบรูปแบบของการแสดงความเคารพต่อผู้ปกครองแว่นแคว้น เช่น จักรพรรดิราชหรือพระราชาในอินเดียโดยเฉพาะดังเช่นที่ปรากฏในวัฒนธรรมไทย อาจเพราะคติโบราณของเรามีความเชื่อถือเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทวราช ซึ่งคตินี้แม้จะมีเค้ามาจากอินเดีย เช่นในมนูธรรมศาสตร์พูดถึงเทวภาวะของกษัตริย์ แต่บางท่านว่าเป็นเพียงอุปมาอุปไมยเท่านั้น

คติเทวราชของเราจึงเป็นผลผลิตของขอมมากกว่าอินเดีย และได้พัฒนาจนเข้มข้นและแตกต่างไปกว่าอินเดียมาก  ที่เรารับเอาธรรมเนียมการเคารพเทพเจ้าแบบแขกมาใช้กับกษัตริย์ของเรามาแต่โบราณ เพื่อเน้นย้ำสภาวะพิเศษศักดิ์สิทธิ์ และในสมัยโบราณอินเดียเป็นศูนย์กลางจักรวาลและเป็น  “สากล”

ไม่ใช้แบบอินเดียก็ไม่ได้เพราะจะไม่ “สากล” ทัดเทียมที่อื่น  แต่เราก็ปรุงแต่งผสมผสานอะไรของเราเองอีกมาก จนสิ่งที่เรารับมาแทบไม่มีเค้าเดิม

ไม่ใช่แค่รูปแบบ แต่โดยความคิดความเชื่อด้วย



ที่มา : คอลัมน์ ผี พราหมณ์ พุทธ โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค็ง หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ หน้า ๘๑ ฉบับที่ ๑๘๗๖ ประจำวันที่ ๒๙ กรกฎาคม - ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.395 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 14:13:04