[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:31:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การภาวนาตามแบบพุทธะ หลวงพ่อพุธ  (อ่าน 4489 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 17:59:55 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

เงาแห่งพุทธะ เริ่มเกิดตั้งแต่ฌานที่ ๑

   ธรรมะ คือคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรายอมรับกัน มีอยู่ ๓ แต่จะขอกล่าวมาตั้งแต่ต้น ซึ่งเกี่ยวกับสรณะที่พึ่งของเรา

   พุทโธ คือพระพุทธเจ้า เป็นชื่อของคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพุทธะ ใครสามารถทำจิตให้สงบ นิ่ง มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นสมาธิขั้นปฐมฌาน มีสติรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีประชุมพร้อมอยู่ที่จิต จิตเลยปลงพร้อมลงด้วยองค์อริยมรรค ๘ ประการ รวมลงเป็นหนึ่งอยู่ที่จิต จิตในขั้นปฐมฌาน ฌานที่หนึ่งเป็นจิตในขั้นทดสอบความสามารถ และเป็นการหยั่งรู้สภาพความจริงของจิต เพราะฌานหนึ่งจิตยังมีอารมณ์ ถ้าเป็นนักบริกรรมภาวนา จิตยังบริกรรมภาวนาอยู่ แต่มีสติรู้พร้อมอยู่ที่จิตในขณะนั้น ถ้าจิตดวงใดพิจารณาธรรมอยู่ ก็ทำหน้าที่พิจารณาอยู่แล้วก็มีสติรู้พร้อมในขณะจิตนั้นๆ แล้วก็มีอาการดูดดื่ม ซึมซาบซึ่งเรียกว่าปีติ เป็นอาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตมีปีติ มีความสุข จิตดวงนี้กลายเป็นธัมมะกาโม เป็นจิตที่ใคร่ในธรรม เพราะจิตได้ดื่มรสพระสัทธรรม อาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม จิตนิ่ง สว่าง แจ่มใส เบิกบาน รู้ตื่นอยู่ที่จิต อันนี้เงาแห่งพุทธะคือคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพุทธะบังเกิดขึ้นในจิตแล้ว


การภาวนาเป็นการรวมธรรมลงสู่ใจ

   ดัง นั้น สมาธิที่เราฝึกฝนอบรมอยู่นี่ เพื่อรวบรวมคุณธรรมที่กระจายอยู่เป็นหมวดๆ กระจายอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มารวมลงที่ใจ ทำไมเราจึงรวมเอาธรรมมาไว้ที่ใจ ธรรมคือหลักปฏิบัติ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา และมรรคมีองค์ ๘ รวมอยู่ที่จิต จิตรู้ ตื่น เบิกบาน นั้นเป็นวาระแรกที่จิตรวมเอาองค์มรรคซึ่งเรียกว่า มรรคสมังคี บังเกิดขึ้นในจิตของผู้ภาวนาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพุทธะ จิตพุทธะบังเกิดขึ้นแล้ว ธรรมชาติ ของจิตพุทธะ จะต้องเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อพุทธะตัวนี้มีพลังแก่กล้าขึ้นและมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จะทำให้จิตของผู้นั้นกลายเป็นผู้มีสติปัญญา รู้แจ้งเห็นจริง รู้ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 18:24:22 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 2
จิตพุทธะน้อมเอาพระปัญญาคุณมาไว้ที่จิต

   พระ พุทธเจ้ารู้เอง เห็นเอง ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง เราฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วมาปฏิบัติ ทำจิตให้เกิดมีพุทธะขึ้นในจิต จิตของเราก็กลายเป็นพุทธะ พุทธะมีพลังแก่กล้าขึ้น มีสติเป็นตัวเด่น สามารถที่จะคิดค้นอารมณ์จิตหรือธรรมที่ปรากฏขึ้นในจิต อะไรเกิดขึ้นดับไปภายในจิต จิตรู้ รู้ด้วยความมีสติ อาการที่จิตเกิดมีความรู้ ความคิดอ่านขึ้น สติรู้พร้อมอยู่นั่นเป็นองค์แห่งวิตก วิจาร เป็นองค์ฌานที่หนึ่งและองค์ฌานที่สอง สามารถปฏิวัติจิตให้ไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง รู้อะไรเห็นอะไรพิจารณา แล้วโอปนยิโก น้อมเข้ามาในจิต มารู้อยู่ที่จิต เป็นผู้รู้ดีรู้ชอบ พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบโดยไม่มีใครสั่งสอนพระองค์ พระองค์รู้เอง แต่เราเป็นสาวก เราฟังคำสอน แล้วปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นผู้รู้ดี รู้ชอบตามพระองค์ และกิริยาอาการที่รู้ดีรู้ชอบนั้นเรารู้เองเหมือนกัน ดังนั้นเราจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นชอบได้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้าคือพระปัญญา คุณมาไว้ที่จิต
         
จิตที่มีสติสัมปชัญญะน้อมเอาพระบริสุทธิคุณมาไว้ที่จิต

   ใน ขณะที่จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้พร้อม รู้ชอบอยู่ในขณะนั้น แม้อารมณ์จะเกิดดับอยู่กับจิต จิตปราศจากความยินดียินร้าย ปราศจากความเกลียด ความรัก ความชัง จิตเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม จิตไม่มีอาการแห่งความยินดียินร้าย เป็นจิตที่ปราศจากกิเลส เพราะความยินดีคือกามตัณหา ความยินร้ายคือวิภวตัณหา จิตสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น รู้เห็นแล้วปล่อยวางไป แม้จะมีความดูดดื่มซึมซาบในรสแห่งพระสัทธรรมก็ไม่ได้ยึดเอาไว้ จิตจึงปราศจากภวตัณหา เป็นจิตที่เป็นปกติ บริสุทธิ์ เที่ยงธรรม ดังนั้น เราจึงได้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้าประการที่สองมาไว้ในจิตแล้ว เป็นบริสุทธิคุณ แม้จะชั่วขณะจิตหนึ่งก็ยังดี


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 18:41:00 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 3

จิตที่มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี
น้อมเอาพระมหากรุณาคุณมาไว้ที่จิต

   เมื่อ เรามีคุณภาพแห่งความเป็นพุทธะอยู่ในจิต เราก็ได้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้ามาไว้ในจิตแล้ว ผู้ที่มีคุณธรรมความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในจิต ย่อมเป็นผู้มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี มีเจตนาที่จะงดเว้นความชั่ว ประพฤติดี ทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาดอยู่เสมอ จึงกลายเป็นพระมหากรุณาคุณ

   โดย ธรรมชาติของผู้ที่มีจิตพุทธะปรากฏเด่นชัด ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีจิตเป็นปกติประกอบด้วยคุณธรรม คือ หิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นพลังอินทรีย์พร้อมอยู่ที่จิต ทำให้จิตเด่น สว่างไสว รู้ ตื่น เบิกบานอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่มีจิตเป็นเช่นนั้น เป็นจิตพุทธะ ย่อมงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การข่มเหงรังแกได้โดยเด็ดขาด จึงเป็นจิตที่ประกอบด้วยพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็น้อมเอาคุณธรรมของพระพุทธเจ้า คือพระมหากรุณาคุณ มาไว้ในจิตของเราแล้ว นี่คือคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า




ผู้ที่น้อมเอาคุณธรรมของพระพุทธเจ้ามาไว้ที่จิต
ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

   พระ พุทธเจ้าเป็นผู้รู้ดี รู้ชอบด้วยพระองค์เอง เราก็รู้ดี รู้ชอบตามพระองค์ไป พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีพระทัยอันบริสุทธิ์สะอาด มีกายวาจาเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด เราก็เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดตามพระองค์ไป พระพุทธเจ้ามีพระมหากรุณาคุณ เรายึดมั่นในศีลในธรรม ปราศจากการฆ่า เบียดเบียน ข่มเหง รังแก เราก็มีคุณธรรมคือพระมหากรุณาคุณ โอปนยิโก เราได้น้อมเอาคุณธรรมซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า มาไว้ในจิตในใจของเราโดยสมบูรณ์แล้ว ดูซิ! เรามีคุณธรรมเช่นนั้นหรือไม่ เมื่อเรามีคุณธรรมเช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ เราเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอย่างแน่นอน

   การ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าด้วยวาจา แต่ใจยังไม่ถึง คือยังไม่ถึงสภาวะรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี ยังไม่ถึงสภาวะรู้ตื่นเบิกบานที่จิต เราจึงยังไม่ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แท้จริงเป็นแต่เพียงแสดงกิริยาเท่านั้น บัดนี้ เรามาฝึกสมาธิภาวนาน้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้าคือพุทโธมาบริกรรมภาวนาเป็นคู่ ของจิต และทำจิตให้สงบลง มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เราก็ได้คุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพุทธะมาไว้ในจิต เมื่อจิตของเรามีคุณภาพเช่นนี้ เราถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะจิตของเราเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ นี่คือคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า เราภาวนา เราปรารถนา เราต้องการกันที่จุดนี้


บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.151 Chrome 10.0.648.151


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 19:03:50 »

อนุโมทนา อ.ป้าแป๋ม ครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 19:52:18 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 4
จากปริยัติสู่ภาคปฏิบัติ

   ส่วน ธรรมะอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่าสัทธรรมศาสตร์ ปริยัติ ท่านกำลังเรียนปริยัติ เพราะตั้งใจฟังปริยัติคือความรู้ที่เกิดจากฟัง ปริยัติคือความรู้ที่เกิดจากการท่องบ่นสาธยาย ปริยัติคือความรู้ที่เกิดจากการอ่านการเขียนแล้วจดจำเอาได้ เป็นความรู้ทางสัญญา หลักสูตรธรรมะที่เป็นคำสอนที่เราใช้เป็นหลักสูตรแห่งการศึกษาเพื่อเป็นคู่ มือการปฏิบัตินั้นเรียกว่า ปริยัติธรรม

   บัด นี้ เราได้น้อมเอาพระปริยัติธรรมมาปฏิบัติฝึกหัดดัดกาย วาจาและใจของตนเองให้อยู่ในความสงบ กายนั่งอยู่นิ่งๆ นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาวางทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น เราน้อมเอาปริยัติธรรมมาปฏิบัติทำกายให้สงบนิ่ง ทำวาจาให้สงบนิ่งโดยไม่พูด ทำจิตให้จดจ่ออยู่อารมณ์จิต อันเป็นคู่มือแห่งการภาวนา ซึ่งเราจะเอาอารมณ์อันใดก็ได้ อันนี้เรียกว่า ปฏิปัตติสัทธรรม

   
     
ธรรมปฏิบัตินำไปสู่ปฏิเวธธรรม

   เมื่อ เราปฏิบัติ คือบริกรรมภาวนา ทำกายวาจาและใจให้สงบด้วยอารมณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นคู่ของจิต เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิ สมาธิคือปฏิเวธธรรม เป็นผลที่เกิดจากการ ปฏิบัติ ปีติและความสุขเป็นปฏิเวธธรรม เป็นผลเกิดจากการปฏิบัติ จิตดำเนินอยู่ในฌานที่หนึ่ง มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฏิเวธธรรม เป็นผลเกิดจากการปฏิบัติ สติที่มีพลังแก่กล้าสามารถกำหนดตามรู้อารมณ์จิตได้ทันการ รู้เท่าเอาทันในขณะจิตนั้น ไม่หลงอารมณ์จิตของตัวเอง เป็นปฏิเวธธรรม สติปัญญาสามารถกำหนดรู้อารมณ์จิต รู้อนิจจัง ความคิดไม่เที่ยง ทุกขัง ความคิดไม่ทนอยู่กับที่ อนัตตา ความคิดไม่เป็นตัวของตัว มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกขณะจิต อันนี้เป็นปัญญาเห็นชอบเรียกว่าปฏิเวธธรรม ยิ่งกว่านั้น ผลที่พึงได้บรรลุสมาธิวิโมกข์ สมาธิปีติ มรรค ผล นิพพาน ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เรียกว่า ปฏิเวธธรรม

   ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นธรรมะคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 20:34:22 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 5
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่

ธรรมะคำสอนดังที่กล่าวนี้ อาศัยกาย วาจา จิต เป็นผู้ปฏิบัติตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตเป็นใหญ่ จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว มะโนปุพพังคะมา ธัมมา มะโนเสฏฐา มะโนมะยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นสภาพถึงก่อน สำเร็จแล้วแต่ใจ มะนะสาเจ ปะสันเนนะ ภาสะติวา กะโรติวา เมื่อจิตใจผ่องใส การพูดก็ดี การคิดทำก็ดี การคิดก็ดี ย่อมเป็นไปในทางที่สุจริต คือถูกต้องตามระบอบแห่งพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าหากว่าจิตหรือใจตัวนี้เศร้าหมอง ไม่ผ่องแผ้ว การพูด การทำ การคิด ล้วนแต่เป็นไปในทางอกุศลทั้งนั้น

   เพราะ ฉะนั้น การอบรมจิตให้ดำรงอยู่ในขอบข่ายแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ประชุมพร้อมที่จิต มีสติวินโย สติเป็นผู้นำ สติรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี รู้ ตื่น เบิกบาน มีคุณธรรมความเป็นพุทธะบังเกิดขึ้นในจิตพร้อมแล้ว

   
คุณธรรมที่ทำคนให้เป็นสังฆสาวก

   ต่อจากนั้น เจตนาหรือความตั้งใจของนักปฏิบัติทั้งหลาย ก็จะมุ่งตรงต่อการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สุปฏิปันโน จะเป็นผู้ปฏิบัติดีคือปฏิบัติไม่ผิด อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตรงต่อมรรคผลนิพพาน ตรงต่อความพ้นทุกข์ ตรงต่อความบริสุทธิ์สะอาดแห่งจิต มิใช่ปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนกิเลส ญายปฏิปันโน ปฏิบัติอย่างมีเหตุผล ได้พิจารณาไตร่ตรองธรรมะที่เกิดดับอยู่กับจิต รู้ เห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นพระไตรลักษณ์ มาเกิดขึ้นในจิตแล้ว ว่าสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เกิดขึ้นเพราะเหตุ ธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็เพราะเหตุ จะดับไปก็เพราะเหตุดับ

เมื่อมีความรู้เห็นชอบอย่างนี้ ปฏิบัติถูกต้องอย่างนี้ จึงได้ชื่อว่าญายปฏิปันโน ในเมื่อผู้ปฏิบัติโดยเหตุโดยผล ยอมรับเหตุแห่งสุข เหตุแห่งทุกข์ จึงกลายเป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เพราะจิตมุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน อันเป็นความบริสุทธิ์สะอาดแห่งจิต การปฏิบัตินี้มิได้มุ่งอยู่ที่อามิสสินจ้างรางวัลใดๆ การปฏิบัตินี้ไม่ได้ไปเกี่ยงใคร เป็นหน้าที่ของเราที่จะตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เมื่อเป็นเช่นนั้น นี่อย่างไรพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงนี้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติโดยเหตุผล เพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง ปฏิบัติชอบยิ่ง นี่เป็นคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องและแน่นอน

   เมื่อ เราเป็นผู้ปฏิบัติที่ถูกต้องแน่นอน มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ มีปัญญาเห็นชอบ ตั้งใจมั่นชอบ มีคุณสมบัติแห่งความเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริงกลายเป็นผู้นำที่ถูกต้อง อาหุเนยโย จึงเป็นผู้ควรแนะนำพร่ำสอนผู้คนหรือพุทธบริษัท ปาหุเนยโย จึงสมควรแก่การเป็นผู้ให้การต้อนรับพุทธบริษัท ทักขิเณยโย จึงเป็นผู้สมควรให้คำแนะนำพร่ำสอนที่ถูกต้อง อัญชลิกรณีโย เป็นผู้มีมือไม้อ่อนสามารถกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย สหธรรมิกทั้งหลาย ผู้อาวุโสทรงคุณธรรม

ปราศจากทิฏฐิ ความถือตนถือตัว หรือความมีมานะ กระด้าง กายก็เป็น กายอ่อน มุทุ สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน วาจาก็สุภาพ ไพเราะ ใจหรือจิตก็เป็นจิตที่มุทุ อ่อนน้อมถ่อมตน กลายเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน โสวจัสสตา เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ไม่มีบิดพริ้ว เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้า มีพระธรรม มีพระสงฆ์ มีความรักในพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง มีความรักในพระธรรมอย่างมั่นคง มีความรักในพระสงฆ์อย่างมั่นคง มีความเคารพต่อธรรมะคำสั่งสอนอย่างแน่นอน ไม่ละเมิดล่วงเกินระเบียบสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่ เป็นผู้มั่นในศีล เป็นผู้มั่นในธรรม เป็นผู้มีหิริความละอายบาป เป็นผู้มีโอตตัปปะความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ มีการทำในจิตในใจโดยอุบายที่แยบคาย มีสติกำหนดจดจ้องรู้อยู่ที่อารมณ์จิตตลอดเวลา กำหนดหมายรู้ธรรมที่เกิด ดับอยู่ภายในจิต



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 มีนาคม 2554 21:16:16 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 6
ธรรมะเกิดที่จิตของผู้มีความเพียรเพ่งอยู่

   เมื่อ จิตมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก ผู้ที่ตั้งใจจดจ่อเพ่งดูอารมณ์จิตอยู่ตลอดเวลาด้วยความมีสติสัมปชัญญะ โดยธรรมชาติของจิต ถ้ามีอารมณ์สิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก สติย่อมเพิ่มพลังงานขึ้นมา เป็นสติพละ เป็น ๑ ในพละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

   แม้ ว่าการปฏิบัติสมาธิอย่างที่มีปีติมีความสุขยังไม่เกิดขึ้น แต่มีศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในคุณธรรมของพระพุทธเจ้า ในคุณธรรมคำสอน โดยทั่วไปก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติได้ผล มีศรัทธา มีความเพียร มีความตั้งใจ มีความมั่นใจ มีสติปัญญารู้รอบคอบอยู่ที่จิต เมื่อแสดงออกมารู้ที่กาย ที่วาจา การทำด้วยความมีสติ การพูดด้วยความมีสติ การคิดด้วยความมีสติ การทำ การพูด การคิดเป็นอารมณ์จิตเป็นสภาวธรรมที่ปรากฏอยู่กับจิต ในเมื่อจิตดวงใดมีสติสัมปชัญญะเพ่งดูอยู่กับสิ่งเหล่านี้ แม้สิ่งนั้นจะเกิดดับอยู่ไม่หยุดหย่อนก็ตาม แต่มีสติรู้อยู่ในขณะจิตนั้นทุกขณะจิต ยะทาหะเวปาตุภะวันติธัมมา อาตาปิโนฌายะโตพราหมะณัสสะ อะถัสสะกังขาวะปะยันติสัพพา ยะโตปะชานาติสะเหตุธัมมัง ในกาลใดแล ธรรมย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ย่อมรู้ธรรมะตามความเป็นจริง

     
ทำไมจึงภาวนา “พุทโธ”

   ครู บาอาจารย์ของเราสอนให้ภาวนาพุทโธ ทำไมจึงสอนให้ภาวนาพุทโธ เพราะพุทโธเป็นกิริยาของจิต พุทโธแปลว่า รู้ รู้เป็นกิริยาของจิต ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ปล่อยวางคำพูดว่าพุทโธ จิตไปสงบ นิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน นั่น พุทธะเกิดขึ้นในจิตแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ภาวนาพุทโธ ถ้าเราจะเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์จริงๆ อย่าได้เคลือบแคลงสงสัย หลวงพ่อใหญ่ของเรา คือ ท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์มั่น สอนให้ภาวนาพุทโธอย่างเดียว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ไม่ยอมเชื่อครูบาอาจารย์ กลับไปเชื่อสิ่งเหลวไหล บางทีได้ยินว่า ภาวนาพุทโธ จิตได้แต่สมถะไม่ถึงวิปัสสนา ก็ไปเชื่อคำพูดของคนที่ภาวนาไม่เป็น


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554 08:09:45 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 7
ทำอะไรทำให้จริง อย่าจับจด

   เอ้า! ลองตั้งใจให้มันแน่วแน่ ดูซิว่าอาจารย์ใหญ่ของเราสอนให้ภาวนาพุทโธๆๆๆๆ ตั้งใจ ตัดสินใจให้เด็ดขาด จะลงนรกก็จะไปกับพุทโธ จะขึ้นสวรรค์ก็จะขึ้นกับพุทโธ จะสำเร็จพระนิพพานก็ขอไปกับพุทโธ เป็นก็ขออยู่กับพุทโธ ตายก็ขอไปกับพุทโธ เอาให้มันแน่ลงไป อย่าลังเลสงสัยด้วยประการใดๆ ทั้งนั้น

   ทุกวันนี้ นักภาวนาทั้งหลายที่พากันจับๆ จดๆ จับโน่นวางนี่ ไม่เอาจริงไม่เอาจัง เพราะมีกลุ่มบุคคลที่ภาวนาไม่เป็น ไม่รู้ตามความเป็นจริง ไปเที่ยวล้างสมองคนให้เขวจากหลักความเป็นจริง

         
การภาวนาตามแบบพุทธะ
การภาวนาตามแบบพุทธะ ต้องทำจิตให้รู้ ตื่น เบิกบาน จิตมีอิสระแก่ตัวเอง
ไม่ต้องอาศัยอำนาจใดๆ เข้ามากดขี่ข่มเหงจิต

   การ ภาวนา ถ้าหากอาจารย์ผู้นำแนะให้ภาวนา พุทโธๆๆๆ แล้วนั่งกล่อมจิต ให้ทำจิตอย่างนั้น ให้ทำจิตอย่างนี้ ส่งกระแสไปอย่างนั้น ส่งกระแสไปอย่างนี้ หนักๆ เข้า กล่อมไปกล่อมมาก็เหมือนกันกับพี่เลี้ยงนางนมเขาเห่กล่อมเด็กน้อยให้มันนอนหลับ กล่อมไปกล่อมมามันก็เกิดหลับ เมื่อหลับแล้วมันก็ไปยึดคำพูด เมื่อจิตดวงใดไปยึดคำพูด มันก็เป็นการสะกดจิต หลังจากนั้นเขาจะสั่งให้เป็นไปอย่างไร จิตก็ยอมปฏิบัติตามทุกขณะ สั่งให้ไปดูนรกก็ได้ สั่งให้ไปดูสวรรค์ก็ได้ ทิพย์จักษุ ตาทิพย์ คนภาวนาทุกวันนี้ได้ตาทิพย์ เอาง่ายๆ วิธีภาวนาตาทิพย์ เขียนคาถาพระเจ้าเปิดโลกใส่แผ่นกระดาษเอามาปิดตา ถ้าอยากดูนรก ก็นรกๆๆๆ ถ้าอยากดูสวรรค์ ก็สวรรค์ๆๆๆ พอจิตสว่าง ตาสว่างขึ้นมา มองเห็นนรก มองเห็นสวรรค์ โอ๊ย บ้านนอกเขาเอาไปทำวิชาดูหมอหากิน เต้นขโยงเขยงอยู่ตามบ้านตามช่อง บ่ อด บ่ อยาก ครั้นจะเอากันปานนั้น เอาไหมจะพาทำ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554 08:14:14 »





การภาวนาตามแบบพุทธะ ตอน 8

ถ้าทำแบบนั้นเดี๋ยวจะเป็นแบบอะไร เจ้าพ่อยางโชน เจ้าพ่อยางโชนมา ทำพิธีอยู่นี่ พอทำพิธีปราบมารขึ้นมา ซัดมีดอยู่ใบหูรูปหลวงพ่อสิงห์ ทีนี้พอทำลงไปแล้ว เจ้าพ่อยางโชนมาประทับคนที่เป็นร่างทรง นอนลงไป นอนหลับไม่ตื่น ผู้กำกับการแสดงว่า เออ เดี๋ยวท่านก็ฟื้น เดี๋ยวท่านก็ฟื้น วันหนึ่งก็ไม่ฟื้น สองวันก็ไม่ฟื้น ทีนี้ชาวบ้านเขาสงสัย ก็เลยไปเชิญหมอมาดู พอหมอมาดู เอ้ามันเหม็นแล้ว มันตายแล้ว มันจะฟื้นได้ยังไง ลงผลสุดท้ายเอาไปเผาวัดสะแก นั่น เพราะฉะนั้น ถ้าเราภาวนาแล้ว จิตของเรานี่มันคล้ายๆ กับว่ามีอำนาจอะไรมาบีบบังคับ

   ถ้า ภาวนาที่ถูกต้อง จิตเป็นไปโดยถูกต้องนี่ กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ออกจากที่นั่งสมาธิมาแล้วก็ยังเบาสบายอยู่นี่ ทีนี้ถ้าหากว่าเราภาวนาแล้วจิตสว่าง เอ้า พอมองเห็นภาพนิมิตต่างๆ อย่างสมมติว่าเราภาวนาอยากเห็นพระพุทธเจ้า เอ้า ให้น้อมนึกพุทโธๆๆๆ นึกว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาหาเรา เพราะความอยากรู้อยากเห็น พอจิตสงบมันก็เกิดเป็นมโนภาพขึ้นมา ทีนี้พอเกิดมโนภาพขึ้นมา ถ้าผู้นำบอกว่าเห็นหรือยังๆ เห็นแล้วๆ เอ้า อาราธนาพระพุทธเจ้าเข้ามาสู่จิตสู่ใจของเรา พอน้อมจิตเอาเท่านั้นแหละ สมาธิที่กำลังมีอยู่ มีความสงบ มีความสว่าง มีปีติ มีความสุขนี่ พอภาพนิมิตเข้ามาหาตัวปั๊บ มันก็เกิดหนักหน่วงไปทั่วร่างกาย หัวใจเหมือนกับถูกบีบ เป็นการทรง เพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิด บางทีพวกกรุงเทพฯ เขาภาวนา เขาว่า พอภาวนาลงไป โอ๊ย วิญญาณนี่ทำไมมันหลายแท้ มันรบกวนอยู่บ่อยๆ วิญญาณนั่นแหละคือผีหลอก จิตของตัวเองแสดงมโนภาพขึ้นมาเป็นผีหลอกตัวเอง ถ้าใครภาวนาจิตยังไม่มองเห็นความตายของตัวเอง ร่างกายของตัวเองไม่เน่าให้ตัวเองดู ไม่เห็นความตายของตัวเอง ยังไม่หายสงสัย

   
   


Credit by : http://www.palungdham.com/luangpoput/chapter12.htm
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
คำค้น: ธรรมเทศนา ธรรมโอวาท 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.35 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 19:40:54