[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:18:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 28 คุณค่าของเพกา พืชพื้นบ้าน ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก เป็นทั้งอาหารและยา  (อ่าน 1439 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 สิงหาคม 2559 10:11:31 »



เพกา(ลิ้นฟ้า) มีสรรคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆของต้นเพกาตั้งแต่ ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร “เพกาทั้ง 5”

สรรพคุณของเพกา

    1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่างๆในร่างกาย

    2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย และช่วยชะลอวัย

    3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา

    4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้

    5. เป็นยาบำรุงธาตุ



    6. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,ใบ)

    7. เป็นส่วนประกอบยาช่วยรักษาโรคเบาหวาน

    8. การรับประทานฝักเพาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้

    9. ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับเลือดดับพิษในโลหิต

    10. การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ร้อนใน

เพกาฝัก



    11. ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้เพื่อลม ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ

    12. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อนๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝัก อ่อน,เมล็ด)

เพกาปิ้ง



   13. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้ม นำน้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    14. ช่วยแก้อาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์

    15. ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก) ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก

    16. ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด

เพกาจิ้มน้ำพริก



    17. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น) ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น,ราก)ช่วยรักษาท้องร่วง

    18. ช่วยขับลมในลำไส้ ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง ช่วยในการขับผายลม

เพกายำ



      19. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น) ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ

      20. ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น  ช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบๆบริเวณที่เป็นฝี ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น

เพกาไข่ทอด



    21. ใช้เป็นยาแก้พิษหมาบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด

    22. ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้ เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น

    23. เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อ

    24. แก้โรคไส้เลื่อน  ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา รากเขยตาย หญ้าตีนนก นำมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วนะไปละลายกับน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด นำมาทาลูกอัณฑะ ให้ทาขึ้นอย่าทาลง

แกงกะทิเพกา



    25. ช่วยแก้โรคมานน้ำ หรือภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องจำนวนมาก เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น

    26. ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

    27. ประโยชน์เพกาฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก

    28. ประโยชน์ของเพกา เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ซึ่งให้สีเขียวอ่อน

เปลือกเพกา ย้อมสีผ้า



สิ่งที่ควรระวัง

หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก !

สารเคมีที่พบในเพกา

ราก มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols

แก่น มี Prunetin, B- sitosterols

ใบ มี Aloe emodin

เปลือก มี Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein

อ้างอิงจาก : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.247 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กุมภาพันธ์ 2567 15:05:35