[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 20:55:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มองความตายใน 3 ศาสนา  (อ่าน 1423 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 19:21:29 »



มองความตายใน 3 ศาสนา

“ความตาย” เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยง

ชีวิตหลังความตายเป็นดังปริศนาที่ทุกคนหาคำตอบ

คำสอนของแต่ละศาสนามีคำตอบที่แตกต่างกันไป


Secret จะพาคุณไปรู้จักกับ ความตาย ในมุมมองของ 3 ศาสนาและพินิจเรื่องความตายที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกคน
 

คติความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของชาวไทยพุทธ



คนไทยส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธมีคติความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดคำสอนในพุทธศาสนากล่าวว่า  มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ รูป(ร่างกาย) และจิต ร่างกายอาจแตกดับไปตามอายุขัย  แต่จิตยังคงวนเวียนไปตามผลกรรมที่ได้กระทำยามมีชีวิต  หากต้องการให้จิตหลุดพ้นจากวัฏจักรอันเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด  ต้องประกอบกรรมดี  ละเว้นจากการทำบาปทั้งปวง  และมุ่งฝึกพัฒนาจิต ละกิเลสซึ่งเป็นเครื่องผูกมัดเหนี่ยวรั้งใจทั้งปวงเพื่อเข้าสู่นิพพาน

คนไทยพุทธจึงเน้นที่การประกอบพิธีกรรมเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเพราะเชื่อว่าจะส่งผลให้วิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติภูมิ  การประกอบพิธีกรรมหลายวันเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยประคองความรู้สึกของญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่ให้คลายความโศกเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักลงได้บ้าง  และทำให้ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงแท้แห่งสังขารอีกด้วย

ตามประเพณีดั้งเดิมนั้น พิธีศพมีขั้นตอนที่ประณีตและซับซ้อนมาก  ต่อมาได้ยกเลิกขั้นตอนบางอย่างลงด้วยปัจจัยด้านเวลาและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ ประเพณีเกี่ยวกับงานศพของชาวไทยพุทธแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. วันถึงแก่กรรม  2. วันตั้งศพบำเพ็ญกุศล  3. วันฌาปนกิจ (วันเผา) 4. วันหลังฌาปนกิจ (วันเก็บอัฐิ)

แต่ละขั้นตอนของพิธีศพล้วนแฝงคติธรรมเพื่อเตือนใจให้ระลึกถึงความตายและพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต เช่นทิศทางการวางศพ  โดยหันศีรษะของศพไปทางทิศตะวันตก  เพราะเชื่อว่าเป็นทิศของคนตาย  ซึ่งแฝงคติธรรมให้พิจารณาว่าการตายคือการเสื่อมสิ้นไป  เหมือนพระอาทิตย์ที่ตกทางทิศตะวันตกเสมอ  นอกจากนี้พิธีกรรมในหลายขั้นตอนยังสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย  เช่น พิธีนำเงินใส่ปากศพ  โดยถือว่าเป็นการมอบทุนทรัพย์ให้ผู้ตายติดตัวไว้ใช้ในการเดินทางสู่โลกหน้า

การตั้งศพบำเพ็ญกุศลอาจกำหนดเป็น 3 วัน  5 วัน  หรือ 7 วัน  แล้วแต่ฐานะของเจ้าภาพ แต่ถ้าเป็นการตายแบบผิดธรรมชาติหรือตายเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็น  อาจตั้งศพบำเพ็ญกุศลเพียงหนึ่งคืน  และประกอบพิธีฌาปนกิจให้เร็วที่สุด การนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรม แม้จะมองดูว่าเป็นการกระทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ  แต่มีคติธรรมที่แฝงอยู่คือการเตือนสติให้ญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่ได้พิจารณามรณานุสติความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร  ให้มีสติกำกับการใช้ชีวิตอยู่ตลอดเวลา  ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต  ทำความดีและสร้างสมบุญกุศลทั้งปวงเพื่อความสุขทั้งยามมีชีวิตและเมื่อละสังขาร

การไปร่วมงานศพและการเคารพศพถือเป็นการแสดงความระลึกถึงผู้ล่วงลับ ขอขมาลาโทษและอโหสิกรรมให้แก่กัน วันที่สำคัญที่สุดของประเพณีงานศพคือวันฌาปนกิจหรือวันเผา  เนื่องจากมีขั้นตอนพิธีกรรมมากมาย  และเป็นช่วงเวลาที่ครอบครัว  ญาติมิตร  และเพื่อนฝูงจะได้ส่งผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย  ตามประเพณีจะไม่นิยมเผาศพในวันพระและวันศุกร์

วันหลังฌาปนกิจ ลูกหลานและญาติมิตรของผู้ล่วงลับจะนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีบังสุกุลและเก็บกระดูกหรืออัฐิใส่โกศหรือภาชนะมีฝาปิดตามแต่ฐานะของครอบครัวผู้ล่วงลับ เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัด  บางรายอาจแบ่งอัฐิบางส่วนมาเก็บไว้ที่บ้าน  ส่วนเถ้าถ่านที่เผาศพจะรวบรวมและนำห่อผ้าขาวไปลอยที่แม่น้ำลำคลองหรือทะเล

สมัยก่อนงานศพส่วนใหญ่จัดขึ้นที่บ้านของผู้ล่วงลับ  แต่ปัจจุบันนิยมจัดพิธีบำเพ็ญกุศลที่วัด  เพราะสะดวกทั้งเรื่องสถานที่และการทำพิธีกรรม


อาจารย์จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา


อาจารย์จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมไทย กล่าวถึงคติความเชื่อเรื่อง ความตายของชาวไทยพุทธว่า

“คนไทยพุทธเชื่อว่า  เมื่อตายไปแล้วต้องมีโลกหน้าที่เราเดินทางต่อไปเพราะฉะนั้นครอบครัวและญาติจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลต่าง ๆ ให้ผู้ตาย  โดยเชื่อว่าเขาจะได้ไปสู่สุคติภูมิ  หรืออาจไปเกิดในที่ดี ๆ ไปสวรรค์  แทนที่จะไปเกิดในนรกหรือเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน

“คติความเชื่อเรื่องความตายของชาวไทยพุทธมักแฝงคติธรรมเสมอ เช่นการมัดตราสัง  คือการใช้ด้ายสายสิญจน์ทำเป็นบ่วงมัดศพเป็นสามเปลาะที่คอ  มือและเท้า  ในอดีตยังไม่มีการฉีดน้ำยารักษาศพมิให้เน่าพองอืด  การมัดตราสังจึงเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้ศพที่เก็บไว้หลายวันพองอืดขึ้นจนดันโลงแตก  แต่ถ้าพิจารณาแล้วก็เป็นคติธรรมแฝงให้คิดว่า  บ่วงทั้งสามเปรียบได้กับตัณหา 3 ประการที่เป็นห่วงผูกรั้งมนุษย์ให้ตกอยู่ในวัฏสงสารดังภาษิตโบราณที่ว่า ‘ตัณหารักลูกเหมือนดังเชือกผูกคอ  ตัณหารักเมียเหมือนดังปอผูกศอก  ตัณหารักข้าวของเหมือนดังตอกรัดตีน’ ผู้ใดสามารถสละได้ก็จะพ้นจากทะเลทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด”


จาก http://www.secret-thai.com/article/dharma/8981/20160513/


การจากไปสู่ชีวิตที่เป็นนิรันดร์ของชาวคริสเตียน


คริสตจักรสัมพันธวงศ์

ชาวคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์เชื่อว่าการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้นเพราะชีวิตหลัง ความตาย คือการกลับไปมี“ชีวิตนิรันดร์”  ซึ่งหมายความว่า  เมื่อตายแล้วมนุษย์จะกลับไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าในสวรรค์อันเป็นที่อยู่ถาวร  ซึ่งพระเจ้าได้ทรงเตรียมไว้สำหรับมนุษย์ทุกคนที่เชื่อและวางใจในพระองค์

ตามพระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า  แท้จริงแล้วพระเจ้าไม่ได้สร้างมนุษย์ให้มี ความตาย  แต่มนุษย์คู่แรกทำผิดต่อพระผู้เป็นเจ้า  ดังนั้นพระองค์จึงทำให้มนุษย์ต้องตายเพื่อลงโทษการตายก็คือการขาดจากความสัมพันธ์กับพระเจ้า  แต่ในที่สุดแล้วพระเจ้าก็ทรงส่งพระเยซูคริสต์มาไถ่บาปให้เหล่ามนุษย์  เพื่อให้มนุษย์กลับไปคืนดีกับพระเจ้าอีกครั้ง  การกลับไปคืนดีนี้คือการกลับไปมีสัมพันธภาพกับพระเจ้าแบบถาวร  ซึ่งไม่มีสิ่งใดแยกได้อีกแม้กระทั่งความตายของร่างกาย  ดังนั้นชีวิตนิรันดร์ได้เริ่มต้นขึ้นในชีวิตนี้แล้วทันทีหลังจากเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า

คติความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายของชาวคริสเตียนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตโดยชาวคริสเตียนเชื่อว่าชีวิตบนโลกนี้เป็นเรื่องชั่วคราว  ชีวิตหลังความตายยิ่งใหญ่กว่ามาก  ดังนั้นชาวคริสเตียนจึงใช้ชีวิต  ความสามารถ และวัตถุที่มีอยู่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมให้ได้มากที่สุด

เมื่อชาวคริสเตียนถึงแก่กรรม  จะมีการจัดพิธีศพอย่างเรียบง่าย  เพราะเชื่อว่าการตายเป็นการจากไปเพียงชั่วคราว  และวันหนึ่งทุกคนจะได้เจอกันอีกครั้งในดินแดนของพระเจ้า  พิธีที่สำคัญคือ  “พิธีนมัสการไว้อาลัย”  ซึ่งอาจจัดขึ้นที่โบสถ์เป็นเวลา 3 - 5 วันโดยประมาณตามแต่สะดวก

ระเบียบพิธีศพโดยทั่วไปคล้ายการเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์  ซึ่งประกอบด้วยการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า  การอธิษฐานเพื่อขอพรและการปลอบประโลมใจแก่ครอบครัวผู้วายชนม์  การอ่านพระคัมภีร์  การเทศนาบรรยายธรรม  ซึ่งเน้นเรื่องความหวังหลังความตาย  และเล่าถึงบทเรียนชีวิตของผู้ล่วงลับ (บางครั้งคริสเตียนใช้คำว่า “ล่วงหลับ”คือการไปหลับอยู่กับผู้ที่จากไปก่อน)  เพื่อระลึกถึงคุณความดีและตัวอย่างที่ดีของผู้ที่จากไป

เมื่อครบกำหนดพิธีกรรมไว้อาลัยแล้วสมัยก่อนนิยมฝังศพที่สุสาน  โดยเคลื่อนศพไปยังสถานที่ฝัง  จากนั้นให้สัปเหร่อยกศพลงหลุมศพที่เตรียมไว้  ระหว่างทำพิธีมีการร้องเพลงที่มีเนื้อเพลงเกี่ยวกับความหวังในชีวิตหลังความตาย  จากนั้นผู้ร่วมพิธีจะนำก้อนดินพร้อมดอกไม้ที่เจ้าภาพแจกจ่ายให้ไปวางในหลุมศพ  ปิดฝาหลุมศพ  และอธิษฐานอวยพรญาติพี่น้องที่มาร่วมงาน  เป็นอันจบพิธี

ปัจจุบันชาวคริสเตียนบางท่านอาจทำพิธีเผาที่คริสตจักรที่มีเตาเผาหรือที่วัดไทยหรือไม่ก็บริจาคศพให้แก่โรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  แล้วแต่ความประสงค์ของผู้เสียชีวิตและครอบครัว  เพราะไม่มีกฎเกณฑ์หรือพิธีกรรมบังคับตายตัวใด ๆ

ตามประเพณีของชาวคริสเตียนนั้นจะมีการรำลึกถึงผู้ล่วงลับและเยี่ยมเยียนสุสานในเทศกาลอีสเตอร์  หรือเทศกาลวันฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูเป็นประจำทุกปี


อาจารย์ภากร  มังกรพันธุ์

อดีตผู้ช่วยศิษยาภิบาลแห่งคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์  กล่าวถึงคติหลังความตายของชาวคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์ว่า

“คริสเตียนเชื่อเรื่องการตายแล้วฟื้นดังนั้นการตายจึงเปรียบเหมือนการเปลี่ยน-แปลงที่อยู่จากที่เก่าไปสู่ที่ใหม่  อาจมีความโศกเศร้าคิดถึงผู้จากไปอยู่บ้าง  แต่ลึก ๆในใจแล้วเรารู้ว่าผู้ที่จากไปมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่คือชีวิตนิรันดร์  ซึ่งในวันหนึ่งเราทุกคนจะได้พบกันอีก  ดังนั้นพิธีศพของชาวคริสเตียนจึงมีบรรยากาศค่อนข้างอบอุ่นมีจุดประสงค์เพื่อให้กำลังใจครอบครัวของผู้ตาย  เพราะชีวิตหลังความตายของเรานั้น มีความหวังอันยิ่งใหญ่อยู่เบื้องหน้าแล้ว”


จาก http://www.secret-thai.com/article/dharma/8981/20160513/2/


โลกแห่งการรอคอยของชาวมุสลิม


“สุสานไทยอิสลาม” ตั้งอยู่ที่ถนนวัดปรก เขตสาทร กรุงเทพฯ

การศรัทธาในโลกหน้า  หรือการฟื้นคืนชีพหลังความตายเพื่อรับการไต่สวนในการกระทำของตน  เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาของชาวมุสลิม  ดังที่ได้ปรากฏในบทสวดมนต์ขอพรบทหนึ่งที่สวดประจำวัน  ซึ่งกล่าวว่าขอให้เขาอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข  ขอให้พ้นจากไฟนรก  แสดงให้เห็นว่าชีวิตหลังความตายหรือที่เรียกกันว่า “ชีวิตในหลุมฝังศพ” เป็นสิ่งที่ชาวมุสลิมตระหนักอยู่เสมอ

ตามความเชื่อทางศาสนาอิสลามนั้นกายของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือกายหยาบหรือร่างกาย  และกายละเอียดหรือจิตวิญญาณ  ส่วนการตายคือการที่กายละเอียดแยกจากกายหยาบ  นั่นหมายถึงว่ากายละเอียดไม่สามารถควบคุมกายหยาบได้อีกแล้ว

เมื่อความตายมาเยือน  หน้าที่ของชาวมุสลิมคือ  การจัดการดูแลกายหยาบของผู้เสียชีวิตให้เรียบร้อย  โดยมีระเบียบปฏิบัติได้แก่  การอาบน้ำทำความสะอาดศพและห่อด้วยผ้าขาว  การสวดวิงวอนอุทิศแด่ผู้วายชนม์  ตามประเพณีแล้วหน้าที่ในสุสานเป็นของผู้ชาย  ส่วนการดูแลศพในเบื้องต้นเป็นหน้าที่เฉพาะเพศเดียวกัน  แต่ถ้าไม่มีบุคคลเพศเดียวกันก็เป็นหน้าที่ของลูก  ภรรยา หรือสามี

การประดับตกแต่งโลงศพเป็นไปอย่างเรียบง่าย  โดยมักคลุมด้วยผ้าประดับลวดลายโองการจากพระคัมภีร์  หรือตกแต่งด้วยดอกไม้หรืออาจใช้ใบไม้ที่เป็นพืชตระกูลมินต์  ซึ่งให้น้ำมันหอมระเหย  เช่น  ใบโหระพา  อันเป็นสัญลักษณ์ของพืชแห่งสรวงสวรรค์  ซึ่งในบทสวดมีคำกล่าวถึงพืชนี้อยู่ด้วย

เมื่อชาวมุสลิมได้รับรู้ข่าวการเสียชีวิตเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยเหลือ  ร่วมแสดงความเสียใจและให้กำลังใจแก่ครอบครัวของผู้วายชนม์  ต้องปฏิบัติตัวอย่างให้เกียรติและให้ความเคารพต่อผู้ตาย  ห้ามพูดวิจารณ์ถึงผู้เสียชีวิตในทางเสื่อมเสีย

พิธีศพของชาวมุสลิมใช้วิธีการฝังเพื่อให้ร่างสลายไปตามธรรมชาติเท่านั้น  โดยปกติแล้วต้องฝังให้เร็วที่สุด  ส่วนสถานที่ฝังศพคือสุสาน  หรือที่เรียกกันว่า “กุโบร์”  ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่พำนักรอคอยที่แรกก่อนเข้าสู่การตัดสินในวันแห่งคำพิพากษา  ตามความเชื่อของศาสนาที่ว่าโลกมีการแตกดับ  หลังจากวันสิ้นโลกจะเป็นวันแห่งการพิพากษา  ซึ่งทุกชีวิตจะถูกปลุกฟื้นเพื่อรับการตัดสินจากพระเจ้าตามสิ่งที่ตนได้กระทำไว้

พิธีฝังศพตามหลักของศาสนาอิสลามที่พบในเมืองไทยมี 2 รูปแบบ  คือ  การฝังทั้งหีบและการฝังโดยไม่ใช้หีบ  การฝังศพที่ไม่ใช้หีบจะต้องมีกระดานไม้ปิดเพื่อไม่ให้ถูกดินกดทับ  การนำศพลงสู่หลุมเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่เป็นชาย  ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ตาย ลงไปรอรับศพในหลุมที่ขุดเตรียมไว้  การฝังศพจะฝังในท่านอนตะแคงส่วนศีรษะและใบหน้าหันไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารกะบะฮ์ที่ตั้งอยู่ในนครเมกกะนั่นเอง

ชาวมุสลิมไม่มีความเชื่อเรื่องการฝังสิ่งของมีค่าใด ๆ ไปในหลุมศพกับผู้ตาย  สิ่งที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าจะติดตัวผู้ตายไปมีเพียง 3อย่างเท่านั้น คือ  หนึ่ง ความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและศาสนกิจที่ตนสั่งสมไว้  สอง วิทยาทานหรือกุศลทาน  และสาม   การมีบุตรที่ดีเพื่อทำหน้าที่ขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าให้แก่ตนหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว


คุณธีรนันท์  ช่วงพิชิต

คุณธีรนันท์  ช่วงพิชิต  นักวิชาการศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรี  อธิบายเรื่องคติความตายของชาวมุสลิมว่า

“ตามพระคัมภีร์กล่าวว่า ‘ทุก ๆ ชีวิตจะต้องลิ้มรสถึงความตาย’  ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วเป็นอมตะ  หลักศรัทธานี้ทำให้ชาวมุสลิมเรียนรู้สัจธรรมของชีวิตผ่านกรอบความตายเสมอดังนั้นเมื่อความตายมาถึง  พี่น้องชาวมุสลิมจึงมีสติ  โดยไม่ร้องไห้คร่ำครวญ  ในพระคัมภีร์กล่าวว่า  ‘แท้จริงเราเป็นสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า  และยังพระองค์ที่เราจะต้องคืนสู่’  เราไม่ได้มีสิทธิ์ในตัวเราเอง  เพราะเราควบคุมความแก่  ความเสื่อม  ความชราไม่ได้  ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา  เป็นเพียงของฝากจากพระผู้เป็นเจ้า  เป็นเพียงสิ่งที่พระเจ้าฝากไว้ให้เราดูแลให้ดีที่สุด

“และเมื่อเราพูดถึงโลกแห่งการรอคอย  เราหมายถึงดวงวิญญาณ  ไม่ใช่ร่างกาย  และไม่ได้หมายถึงนรกหรือสวรรค์  แต่หมายถึงการที่ดวงวิญญาณรอการตัดสินพร้อมกันในวันหลังจากวันสิ้นโลก  เพื่อชีวิตที่บรมสุขอันเป็นนิรันดร์ในโลกหน้า”



คุณทำเนียบ  แสงเงิน

คุณทำเนียบ  แสงเงิน  กรรมการมูลนิธิเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)  อธิบายถึงหลักศรัทธาเรื่องความตายของศาสนาอิสลามว่า

“หนึ่งในหลักศรัทธาของชาวมุสลิมคือ  เชื่อในวันแห่งการตัดสินเรื่องความตายและชีวิตหลังความตาย  พี่น้องมุสลิมจะให้เกียรติต่อสุสาน  ญาติของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วจะมาเยี่ยมเยียน  เพื่อขอพรให้แก่ผู้ตายพ้นจากความทุกข์ทรมานในหลุมศพ  เมื่อมีชีวิตอยู่เขาได้สวดมนต์ขอพรให้ตัวเอง  แต่หลังเสียชีวิตแล้ว  ลูกหลานจะมาทำหน้าที่ขอพรให้แก่เขา

“การเสียชีวิตของคนคนหนึ่งถือเป็นการเตือนคนที่ยังมีชีวิตให้ตระหนักเรื่องความตายอยู่ตลอดเวลา  เมื่อเราเข้ามาในกุโบร์  หรือได้ยินข่าวการเสียชีวิตของพี่น้องมุสลิม  เราก็จะมาร่วมทำพิธี  สวดมนต์ขอพรให้แก่ผู้เสียชีวิต พร้อมปลอบใจและช่วยเหลือญาติของผู้เสียชีวิต”


แท้จริงแล้ว “ความตาย” เป็นเหมือนบทเรียนที่สอนให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่เตรียมรับมือให้พร้อม  เพราะไม่ช้าไม่นานเราทุกคนก็ต้องเดินทางสู่ความตายเช่นกัน 
 

เรื่อง เชิญพร คงมา, ฐิติพร มาระวัง  ภาพ สรยุทธ พุ่มภักดี

จาก http://www.secret-thai.com/article/dharma/8981/20160513/3/

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 3 3964 กระทู้ล่าสุด 05 มิถุนายน 2553 10:57:37
โดย หมีงงในพงหญ้า
แบ่งปันเรื่องราวดี ๆ สัจจะ ศาสนา ความงดงาม
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
sometime 3 3041 กระทู้ล่าสุด 20 มิถุนายน 2553 16:35:41
โดย sometime
ประวัติมนุษยชาติ และ ศาสนา อ.เสถียน โพธินันทะ
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1201 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 04:52:32
โดย มดเอ๊ก
กฎธรรมชาติแบบโสภณ ตอน ไอน์สไตน์ และ ศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1204 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2559 01:51:00
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - ศาลยกฟ้อง ‘ณัฐพล’ ฟ้องหมิ่นประมาท ‘ไชยันต์’ เหตุติชมโดยสุจริตได้ทำหน้าที่พิทั
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 40 กระทู้ล่าสุด 05 มีนาคม 2567 22:38:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.784 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2566 19:18:26