[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 09:09:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์  (อ่าน 1379 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 กันยายน 2559 17:53:00 »




อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์

จากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ว่า สเตียรอยด์ (steroid) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex steroids) ส่วนสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้

ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูงและต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

สเตียรอยด์ที่นำมาใช้ทางการแพทย์เพื่อประโยชน์ในการรักษาดังต่อไปนี้

1.ใช้เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมน โดยปกติจะใช้สเตียรอยด์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของต่อมหมวกไต และจากความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

2.ใช้รักษาโรคต่างๆ สเตียรอยด์จะถูกใช้เมื่อใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือโรคนั้นไม่อาจควบคุมด้วยยาอื่น เนื่องจากมีอาการข้างเคียงสูง วัตถุประสงค์ที่นำสเตียรอยด์ไปใช้ก็เพื่อบรรเทาอาการอักเสบและ/หรือกดภูมิคุ้มกันในโรคต่างๆ อาทิ โรคภูมิแพ้ สเตียรอยด์เมื่อใช้ในโรคภูมิแพ้ จะให้ผลดีและรวดเร็วในการควบคุมอาการหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่อง เช่น โรคหืด ไข้หวัดเรื้อรังชนิดแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง การแพ้ยา และโรคผื่นคันตามผิวหนังที่เกิดจากการแพ้

แต่เนื่องจากยามีอันตรายสูง จึงควรเก็บไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และใช้ในระยะเวลาสั้น เช่น เป็นโรคหวัดคัดจมูกเรื้อรังชนิดแพ้อากาศที่ใช้ยาต้านฮีสตามีนไม่ได้ผล หรือเป็นโรคหืด ใช้ยาขยายหลอดลมแล้วไม่ได้ผล

โรคผิวหนัง สเตียรอยด์สามารถลดอาการทางผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ การอักเสบ และโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคันต่างๆ แต่การใช้ยาสเตียรอยด์ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ เป็นเพียงยับยั้งอาการคันและอาการอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา ดังนั้น เมื่อหยุดยาก็จะกลับมาเป็นอีก และอาจมีผลทำให้การติดเชื้อลุกลามได้ เพราะสเตียรอยด์มีผลในการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย

โรคตา สเตียรอยด์ใช้ได้ผลในการรักษาโรคของตาที่เกิดจากอาการแพ้ เช่น อาการเคืองตาเนื่องจากการแพ้สารบางชนิด ไม่ใช่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งแพทย์มักรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตา ดังนั้น จึงห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในกรณีที่ติดเชื้อ และยานี้ไม่มีผลในการรักษาต้อกระจก

นอกจากนี้ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคต้อหินได้

โรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ การรักษาโรคนี้ปกติจะใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก่อน หากมีอาการอักเสบที่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาให้สเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการเฉพาะครั้ง

กรณีที่มีการอักเสบเฉพาะบางข้อ การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ อาจช่วยลดการอักเสบได้ในระยะแรก แต่หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อในข้อร่วมด้วย ห้ามฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าข้อโดยตรงอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม สเตียรอยด์เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายแทบทุกระบบ การใช้สเตียรอยด์อาจนำไปสู่อันตรายมากมายหลายประการ

อย.ระบุว่า สเตียรอยด์เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายแทบทุกระบบ การใช้สเตียรอยด์อาจนำไปสู่อันตรายมากมายหลายประการ ที่สำคัญได้แก่

1.การติดเชื้อ การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว

2.กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งสเตียรอยด์ฮอร์โมนประกอบด้วยอวัยวะ 3 แห่ง คือ ฮัยโปธาลามั (Hypothalamus) ต่อมพิทูอิตารี (Pituitary gland) และ ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ในภาวะที่มีระดับของคอร์ติโซล (Cortisol) ในเลือดสูงจะมีการกระตุ้น จากฮัยโปธาลามัสไปยังต่อมหมวกไตให้ลดการสร้างสเตียรอยด์ ในทางตรงกันข้ามถ้าระดับของคอร์ติโซลต่ำจะมีผลกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้น การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ จะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ได้รับและระยะเวลาในการใช้ยา หากกดการสร้างฮอร์โมนมาก ทำให้เมื่อหยุดใช้ยานี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด

3.แผลในกระเพาะอาหาร สเตียรอยด์มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายยังพบว่ามีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นด้วย การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุหรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน

4.ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง สเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ การใช้ยาขนาดสูงจะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ผู้ใช้มีอาการติดยา นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น

5.กระดูกผุ การใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้กระดูกผุได้ ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกระดูกผุอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคไขกระดูก ควรหลีกเลี่ยงใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

6.ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็ก การให้ยาขนาดสูงในเด็กจึงควรให้ยาแบบวันเว้นวัน เพราะจะทำให้มีฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่า

7.ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ผลของสเตียรอยด์ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือโพแทสเซียมทางปัสสาวะมาก ป้องกันได้โดยให้ลดการกินโซเดียมและกินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงแทน เช่น ส้ม กล้วย ผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำมาก อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้

8.ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานจะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน ซึ่งเมื่อลดขนาดยาลงก็จะมีผลทำให้อาการดีขึ้น และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ

9.ผลต่อตา ยาหยอดตาบางชนิดมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไปนานๆ อาจทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจถึงตาบอดได้

10.ผลต่อผิวหนัง สเตียรอยด์ในรูปของยาทาภายนอก มีผลทำให้ผิวหนังบาง เป็นรอยแตกและมีลักษณะเป็นมัน การใช้สเตียรอยด์ที่สูตรโครงสร้างมีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ ถ้าทาบริเวณใบหน้าอาจทำให้หน้ามีผื่นแดง มีอาการอักเสบของผิวหนังรอบๆ ในบางรายอาจมีสิวเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ

สเตียรอยด์ยังมีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushings Syndrome เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กันยายน 2559 17:56:08 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.29 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 25 สิงหาคม 2566 07:13:25