[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 12:49:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นกการเวก ในตำนานพุทธศาสนา  (อ่าน 10106 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 กันยายน 2559 16:51:06 »



นกการเวกหรือนกปักษาสวรรค์
ภาพจาก : wildkeeper.blogspot.com-

นกการเวก

ข้อมูลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ระบุว่า นกการเวก นกการวิก หรือ นกกรวิก หมายถึงนก ๒ ประเภท

ประเภทแรก เป็นนกในนิยาย เชื่อว่าเป็นนกชนิดเดียวกับนกวายุภักษ์ในป่าหิมพานต์ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากบนเขาชื่อเขากรวิก ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๓ บินได้สูงเหนือเมฆ และมีเสียงร้องที่ไพเราะจับใจ สัตว์หรือมนุษย์ที่ได้ยินเสียงจะเกิดอาการงงงวยลืมกิจกรรมที่กำลังทำอยู่จนหมด ประเทศไทยใช้ตรานกวายุภักษ์เป็นตราประจำกระทรวงการคลัง

ประเภทที่สอง เป็นนกชนิดที่มีตัวตนจริงๆ มีชื่อเรียกว่า ปักษาสวรรค์ (Birds of paradise) จัดอยู่ในวงศ์ Paradisaeidae มีจำนวนทั้งหมด ๔๓ ชนิด ลักษณะลำตัวค่อนข้างอ้วนป้อม มีขนาดเท่านกเอี้ยงจนถึงอีกา ความยาวลำตัวรวมทั้งหางประมาณ ๑๒.๕-๑๐๐ เซนติเมตร ชอบอาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนในที่ราบต่ำจนถึงยอดเขา พบมีจำนวนชนิดมากที่สุดบนเกาะนิวกินีและอีกไม่กี่ชนิดในหมู่เกาะโมลุกกัส และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย

นกการเวกมีทั้งชนิดที่กินผลไม้ ใบไม้ และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร และชนิดที่กินแมลงและสัตว์เล็กๆ อื่นๆ พฤติกรรมการผสมพันธุ์ วางไข่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด พวกที่อยู่เป็นคู่จะช่วยกันทำรังและดูแลลูกในรัง นกตัวผู้มีขนสีสวยกว่านกตัวเมียมาก มักมีนกตัวเมียหลายตัว และนกตัวเมียเป็นผู้ดูแลลูกนกแต่เพียงตัวเดียว รังของนกการเวกก็แตกต่างกันไปตามชนิดเช่นเดียวกัน สร้างรังเป็นรูปถ้วยด้วยใบไม้ ใบเฟิร์น กิ่งไม้ และเถาวัลย์บนง่ามไม้หรือในโพรงไม้ วางไข่ สีครีม สีเทา หรือสีชมพู มีจุดประสีน้ำตาลแดง ครั้งละ ๑-๓ ฟอง ระยะฟักไข่นาน ๑๗-๒๑ วัน ลูกนกจะอยู่ในรังนาน ๑๗-๓๐ วัน

เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีของนกการเวกคือความหลากหลายในการแสดงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของนกตัวผู้ เพื่อให้นกตัวเมียตกลงปลงใจจับคู่อยู่ด้วย บางชนิดใช้การเกาะอยู่กับที่แล้วห้อยหัวลงพร้อมทั้งแพนขนปีกและขนหางที่ยาวกว่าปกติออก แล้วกระพือหรือสั่นไปมาพร้อมกับส่งเสียงร้องไปด้วย บางชนิดลงไปกางปีกและหางบนพื้นดิน

ในอดีตนกการเวกถูกล่าเพื่อเอาขนที่สวยงามไปใช้เป็นเครื่องประดับหมวกของผู้นิยมในทวีปยุโรป ปัจจุบันได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด ยกเว้นการล่าด้วยอาวุธโบราณของชาวพื้นเมือง เพื่อเอาขนไปประดับร่างกายในการทำพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ยังคงมีการลักลอบล่านกการเวกแล้วสตัฟฟ์ส่งออกขายอยู่เนืองๆ นอกจากนี้ พื้นที่ป่าที่อาศัยก็ลดลงไปอีกด้วย เนื่องจากการขยายพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เมือง

ยังมีข้อมูลเรื่องนกการเวกจากวิกิพีเดียว่า นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ แปลว่า นกกินลม เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิก อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง

นอกจากนี้ ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่า เสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวานไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก

ส่วนอาหารของนกการเวก มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวกกินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากจึงหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหาร และตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่าขนนกการเวกเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้

นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงการคลังของไทยมาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีที่มาจากขนหางของนกปักษาสวรรค์จากอินโดนีเซียที่ประดับบนพระมาลา ซึ่งได้มาจากชาวอังกฤษที่ทูลเกล้าฯ ถวายตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่๔ และถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น ก็มีความเชื่อเรื่อง นกการเวกเช่นเดียวกัน ว่าเป็นสัตว์อมตะ ไม่มีวันตาย ทั้งปรากฏในตำนานพุทธศาสนาว่ามีศีรษะเป็นมนุษย์ แต่มีลำตัว ปีก และขนหางเป็นนก คล้ายกับกินรี


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กันยายน 2559 16:52:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.274 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้