[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 10:41:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ชุมชนบ้านบาตร" หนึ่งหัตถศิลป์ที่ยังมีชีวิตแห่งเมืองกรุง  (อ่าน 1322 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559 00:47:36 »


คุณลุงกำลังเชื่อมประสานรอยตะเข็บบาตร

"ชุมชนบ้านบาตร" หนึ่งหัตถศิลป์ที่ยังมีชีวิตแห่งเมืองกรุง

    ในเมืองหลวงของเรานั้น ชื่อของชุมชนหลายๆ แห่งล้วนบ่งบอกถึงอาชีพของคนในชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านบุ บ้านช่างหล่อ บ้านพานถม บ้านตีทอง ฯลฯ ถึงแม้ว่าชื่อชุมชนเหล่านั้น คนในชุมชนจะห่างหายจากการประกอบอาชีพไปก็ตาม แต่ชุมชน "บ้านบาตร" ก็ยังเป็นชุมชนแห่งหนึ่งที่ยังคงมีการอนุรักษ์สืบทอดอาชีพตามชื่อชุมชนอยู่ แม้ในตอนนี้จะเหลือผู้ประกอบอาชีพการทำบาตรอยู่เพียงไม่กี่ราย ฉันจึงขอเดินเยี่ยมชมสัมผัสคุณค่าและลมหายใจของชุมชนที่ยังมีวิถีชีวิตที่บ้านบาตรนี้สักหน่อย
       
     “บ้านบาตร” ชื่อชุมชนบ้านบาตรนั้นมีความเป็นมาตั้งแต่เมื่อการย้ายราชธานีมายังกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการกวาดต้อนประชาชนลงมาตั้งถิ่นฐานที่ราชธานีใหม่ ผู้คนในชุมชนเดิมๆ ที่ถูกต้อนก็ยังคงเกาะกลุ่มกันประกอบอาชีพแบบเดิมที่เคยทำมากันในอดีต รวมไปถึงชุมชนบ้านบาตรนี้ก็เช่นกัน



ป้ากฤษณา แสงไชย เจ้าของร้านหัตถกรรมไทยโบราณประจำชุมชนบ้านบาตร

ชุมชนบ้านบาตรนั้นตั้งอยู่ใกล้กับประตูผี บนถนนบริพัตร ไม่ไกลจากวัดสระเกศฯ หากเดินเข้ามาในชุมชนช่วงกลางวันก็จะได้ยินเสียงตีเหล็กดังแว่วๆ มาแต่ไกลให้ได้ยิน โดยฉันได้พูดคุยกับ ป้ากฤษณา แสงไชย เจ้าของร้านหัตถกรรมไทยโบราณประจำชุมชนบ้านบาตร ได้อธิบายหลักการทำบาตรให้ได้ฟังว่า บาตรนั้นไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่เป็นภาชนะใส่อาหารของพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น ยังนับเป็นหนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร หรือเครื่องใช้สอยที่จำเป็นของสงฆ์ และในพระวินัยยังบอกไว้ว่าพระสงฆ์จะสามารถใช้บาตรดิน และบาตรเหล็กได้เท่านั้น


รูปทรงบาตรแต่ละขั้นตอนการทำ

ส่วนบาตรที่ห้ามใช้คือบาตรทอง เงิน แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก แก้วหุงทองแดง ทองเหลือง ดีบุก สังกะสี และบาตรไม้ แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีบาตรแสตนเลสใช้กันบ้างตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และพระสงฆ์ที่เคร่งมากๆ บางรูปก็จะใช้บาตรที่ทำด้วยมือ ซึ่งมีตะเข็บ 8 ชิ้นด้วยกัน ซึ่งหากเป็นบาตรปั๊มที่ทำจากโรงงานก็จะไม่มีตะเข็บเลย ดังนั้นพระสงฆ์ที่ต้องการบาตรทำมือที่มีตะเข็บจึงต้องมาสั่งทำที่บ้านบาตรนี้
       
       เพราะว่าบาตรของที่นี่นั้นจะตีขึ้นอย่างถูกต้องตามพระวินัยกำหนด คือ ประกอบด้วยโลหะ 8 ชิ้น มีโครงบาตร 1 ฝาข้าง 2 หน้าวัว 4 และขอบบาตร 1 เชื่อมรอยต่อด้วยเหล็กหรือทองแดง แล้วนำไปตีขึ้นรูปทรงกลม แต่ พอตีจนได้รูปทรงตามต้องการแล้ว จึงนำบาตรมารมดำด้วยการเผาไฟ



เสียงทุบบาตรดังกังวานทั่วตรอก

ป้ากฤษณา เล่าให้ฟังถึงขั้นตอนการทำบาตรให้ฟังว่า ขั้นตอนแรกต้องเริ่มจากการทำขอบบาตรก่อน ขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนดว่าบาตรนี้จะมีขนาดและรูปทรงเป็นอย่างไร จากนั้นจึงทำตัวบาตรโดยใช้แผ่นเหล็กรูปกากบาทมาดัดโค้งขึ้นเป็นโครงบาตร และนำไปประกอบกับแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ อีก 4 ชิ้น ที่เรียกว่า "หน้าวัว" หรือ "กลีบบัว" ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้วจะได้บาตรที่มีตะเข็บ 8 ชิ้นพอดี


ตะไบบาตรให้รูปทรงเรียบร้อย

  จากขั้นตอนการประกอบบาตร ก็มาถึงขั้นประสานรอยตะเข็บด้วยการเป่าแล่น ซึ่งวิธีในสมัยโบราณจะใช้ผงทองแดงและน้ำประสานทองประสานรอยต่อ แต่ในปัจจุบันใช้ความร้อนเพื่อทำให้เหล็กประสานกัน เรียบร้อยแล้วนำบาตรไปเผาให้เนื้อเหล็กประสานกัน เรียกว่า "แล่นบาตร" ก่อนที่จะนำมาตีบนกะล่อน หรือท่อนเหล็กที่มีหัวกลมมนเพื่อยุบมุมยุบเหลี่ยม รวมทั้งตีให้รอยตะเข็บที่ยังขรุขระนั้นเรียบเสมอกัน แค่นั้นยังไม่เสร็จต้องนำไป "ตีลาย" บนทั่งไม้เพื่อให้ได้รูปทรง แล้วยังต้องนำไปเจียรและตะไบให้เรียบร้อยเป็นขั้นสุดท้าย แต่ยังไม่ท้ายสุด เพราะต้องเอาบาตรไปบ่มหรือรมควันเพื่อไม่ให้ขึ้นสนิม และทำให้เกิดเป็นสีสันต่างๆ


การทำบาตรเป็นวิถีของชุมชนมาแต่ดั้งเดิม

ฟังดูแล้ววิธีการทำหลายขั้นหลายตอนไม่ใช่ง่ายๆ บาตรลูกหนึ่งนั้นต้องใช้เวลาราวประมาณอาทิตย์หนึ่งถึงจะเสร็จ แต่ก็ไม่ได้ทำเองทุกขั้นตอน เพราะในแต่ละส่วนของการทำบาตรก็จะจ้างให้คนในชุมชนที่ถนัดในการทำบาตรส่วนไหนก็จะเป็นคนทำแทนเพื่อให้ได้บาตรที่มีคุณภาพ
       
       นั่นทำให้ฉันสังเกตเห็นตลอดทางเดินเข้ามาในตรอกบ้านบาตร จะมีอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการตีบาตรตั้งอยุ่ตามบ้านนั้น นั่นก็คือ กะล่อน ลักษณะเป็นเสาเหล็กฝังลงในดิน ปักหัวหมุดเหล็กทรงกลมไว้รองรับก้นบาตรเวลาตี เหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่าชุมชนแห่งนี้ตีบาตรกันจริงๆ



ตีลาย เพื่อให้ได้รูปทรง

ในกรุงเทพ จึงไม่มีที่ไหนที่จะเป็นสุดยอดของการทำบาตรเท่ากับที่ชุมชนบ้านบาตรแห่งนี้อีกแล้ว แต่บาตรพระที่ทำด้วยมืออย่างประณีตในวันนี้กลับถูกบาตรปั๊มจากโรงงานที่ผลิตได้มาก รวดเร็ว และราคาถูกกว่าแย่งตลาดไป จึงทำให้หัตถกรรมทำบาตรพระในชุมชนลดลงเหลือเพียงแค่เป็นของที่ระลึก และรับทำตามจำนวนที่มีผู้มาสั่งเท่านั้น


บาตรที่กำลังถูกเผา


คุณป้ามีหน้าที่ในการเผาบาตร

แต่บาตรของชุมชนบ้านบาตรก็ยังถือเป็นสินค้าคุณภาพ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปเข้าหูนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่ง ที่นี่จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเข้ามาชมบ่อย และก็มักจะซื้อบาตรพระขนาดเล็กๆ ติดไม้ติดมือไปเป็นของที่ระลึก แต่ก็น่าแปลกใจว่า ชาวต่างชาติบางคนก็เลือกเป็น โดยการลูบดูตะเข็บข้างในก้นบาตรว่าเรียบหรือขรุขระอย่างไรบ้าง บางคนก็ใช้วิธีใช้ไม้เคาะฟังเสียง เพราะบาตรทำมือนี้เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงกังวานเหมือนเสียงระฆัง บาตรแต่ละลูกก็จะมีเสียงไพเราะไม่เหมือนกัน บางคนก็เคาะดูว่าบาตรลูกไหนให้เสียงเพราะที่สุด แล้วก็ซื้อใบนั้นไป


เผาบาตรเพื่อให้เนื้อเหล็กประสานกัน

แม้ชุมชนบ้านบาตรในวันนี้จะยังเหลือครอบครัวที่ทำบาตรไม่กี่รายเท่านั้น แต่เสียงตีบาตรก็ยังคงดังกังวานอยู่ในชุมชน ทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมายังรู้สึกว่า ชุมชนบ้านบาตรนี้เป็นชุมชนที่มีชีวิตอยู่ มิได้เหลือแต่เพียงชื่อเหมือนกับชุมชนอื่นๆ อีกหลายๆ แห่งในเมืองหลวงแห่งนี้


บาตรที่ขายเป็นที่ระลึกของชุมชน

      ชุมชนบ้านบาตร กลุ่มอนุรักษ์ไทยและภูมิปัญญาไทย(ชุมชนบ้านบาตร) ตั้งอยู่ ซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมือง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทร.08-6104-9639 ,09-9224-7864
       
        การเดินทาง ไปยังชุมชนบ้านบาตร จากเสาชิงช้าเดินไปตามถนนบำรุงเมืองมุ่งหน้าไปทางแยกสำราญราษฎร์ เมื่อข้ามสะพานสมมติอมรมารคให้เลี้ยวขวาเข้าไปในถนนบริพัตร เดินไปประมาณเกือบกลางซอยจะเห็นซอยบ้านบาตรอยู่ทางซ้ายมือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมาชมอยู่ที่เวลา11.00-15.00 เนื่องจากชาวชุมชนจะกำลังทำบาตรกันพอดี



จาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000098494

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.342 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 มีนาคม 2567 07:16:38