[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:32:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "พระมงคลวิเสสกถา"!! พระธรรมเทศนาในพระราชสำนัก...ที่ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ"  (อ่าน 1875 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 ตุลาคม 2559 02:24:07 »



"พระมงคลวิเสสกถา"!! พระธรรมเทศนาในพระราชสำนัก...ที่ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" เทศน์ถวายต่อหน้าพระพักตร์ "ในหลวงรัชกาลที่ ๙"

“พระมงคลวิเสสกถา” เป็นพระธรรมเทศนาสำคัญซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นธรรมเนียมพระราชประเพณีและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  พระสงฆ์ผู้ที่จะรับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนานี้ ส่วนใหญ่จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าจะต้องเป็นสมเด็จพระสังฆราช  นอกเสียจากว่าพระสังฆราชประชวร จึงจะขอพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน  ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

หลักการสำคัญสำหรับพระสงฆ์มหาเถระที่จะยึดถือเป็นหลักในการถวายพระธรรมเทศนาพระมงคลวิเสสกถาคือ  เมื่อถวายพระธรรมเทศนาจะต้องพรรณนาพระราชจรรยาอันวิเศษโสภณที่พระเจ้าแผ่นดินได้ปฏิบัติแล้วเป็นประโยชน์แก่แผ่นดินและปวงประชาราษฎร์  เมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงสดับฟังแล้วก็ทรงพิจารณาอยู่เนือง ๆ  เมื่อพิจารณาอยู่เนือง ๆ แล้ว ทรงตระหนักรู้ถึงประโยชน์และผลดีของพระราชจรรยานั้น ๆ แล้วทรงเกิดพระปีติปราโมทย์ในคุณธรรมความดีนั้น ๆ  และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงเกิดปีติปราโมทย์ตื้นตันใจในผลดีแห่งพระราชจรรยานั้น ๆ แล้วก็จะเป็นเหตุให้พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญปฏิบัติพระราชจรรยานั้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป

นอกจากนี้ พระมงคลวิเสสกถายังมีนัยสำคัญที่ซ่อนเอาไว้ก็คือ เป็นพระธรรมเทศนาที่แยบคาย สอดแทรกด้วยกุศโลบาย เพื่อถวายคำแนะนำแก่พระเจ้าแผ่นดิน

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตรัสว่า

“อันพระเจ้าแผ่นดินย่อมเป็นผู้สูงสุดในมนุษยนิกาย ยากที่จะมีใครกล้าถวายโอวาทได้จังๆ  ถึงอย่างนั้น ผู้หวังประโยชน์ในพระองค์จึงหาช่องทางที่จะถวายด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง  อันการกล่าวพระราชจรรยานั้นเป็นอุบายถวายโอวาทอย่างละเมียด จึงเป็นแบบที่โบราณบัณฑิตได้ใช้มาประการหนึ่ง  เมื่อว่าถึงการพระศาสนาก็เป็นหน้าที่พระธรรมกถึกจะถือโอกาสนั้นๆ ชักประชุมชนตั้งแต่พระมหากษัตริยเจ้าเป็นต้นไป ให้ตั้งอยู่ในกุศลสมาทาน”



สำหรับเนื้อหาและรูปแบบในพระมงคลวิเสสกถาที่ได้ยึดถือเป็นหลักต่อ ๆ กันมาก็คือ เนื้อหาของพระธรรมใน “ทศพิธราชธรรม” โดยจำแนกมาอธิบายต่าง ๆ กันไป  ส่วนรูปแบบนั้น เดิมทีไม่ปรากฏชัดว่าจัดรูปแบบเป็นอย่างไร  แต่เริ่มมีการจัดรูปแบบที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติตามสืบต่อกันมาในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นผู้ทรงริเริ่มขึ้น โดยแบ่งรูปแบบเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้

๑. อัตตหิตสมบัติ  ได้แก่  การพรรณนาพระราชจรรยา พระคุณธรรมที่ได้ทรงยึดถือปฏิบัติและบำเพ็ญ เพื่อยังความแช่มชื่นเฉพาะพระองค์ โดยเป็นคุณธรรมที่เกื้อกูลให้ทรงมีพระราชปณิธานในการประกอบพระราชกรณียกิจอันดีงามนั้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป

๒. ปรหิตปฏิบัติ  ได้แก่  การพรรณนาพระคุณธรรมที่ได้ทรงยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่พสกนิกร

๓. รัฏฐาภิปาลโนบาย  ได้แก่  การพรรณนาพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติแก่ประเทศและพสกนิกร

สำหรับในรัชกาลปัจจุบันนั้น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ทรงมีความผูกพันกับ “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” เพราะทรงเคยเป็น “พระอภิบาล” หรือ “พระพี่เลี้ยง” (ขณะที่ยังดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นเทพ โดยมีชื่อตามสมณศักดิ์คือ “พระโศภณคณาภรณ์”) ในช่วงที่พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ก่อนหน้าที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ จะทรงดำรงตำแหน่งพระสังฆราช (ในช่วงเวลานั้นยังคงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะอยู่) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระญาณสังวรฯ รับพระราชทานถวาย “พระมงคลวิเสสกถา” ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่งในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๕

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระญาณสังวรฯ จึงทรงทำหน้าที่รับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษนี้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นประจำเรื่อยมา  จนเมื่อสุขภาพของสมเด็จฯ ท่านไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ได้รับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนาในพระราชพิธีนี้อีก


ที่มา : หนังสือ “มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ”, วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์.

ติดตามเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับเหล่าพระอริยสงฆ์อีกมากมายได้ในหนังสือ “มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ” โดย “วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์”



สนใจหนังสือสั่งซื้อได้ที่ Line ID: @gppbook
โทรศัพท์. 0 2525 4242 ต่อ 201-203

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/210748/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.27 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 กันยายน 2566 03:34:23