[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 08:28:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย  (อ่าน 7006 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2559 19:51:28 »




.  ประเพณีในสมัยสุโขทัย  .

• นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

วรรณกรรมเรื่องนางนพมาศ สำนวนนี้ ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่มาก เนื่องจากผู้แต่งอ้างว่าแต่งสมัยสุโขทัย จึงจำเป็นต้องค้นคว้าหลักฐานกันต่อไปอีก ความขัดแย้งดังกล่าว คือ สมัยที่แต่ง ผู้แต่งและเนื้อเรื่อง  อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่า แต่งในสมัยสุโขทัย เพราะมีเนื้อเรื่องและท้องเรื่องตอนหนึ่งอ้างถึง สถานที่ต่างๆ ในเมืองสุโขทัย อีกตอนหนึ่งกล่าวถึง พระราชจรรยาของสมเด็จพระร่วงเจ้า และในประวัติของนางนพมาศยังกล่าวอีกว่า นางได้เป็นพระสนมของสมเด็จพระร่วงเจ้า การบรรยายว่าด้วยขนบธรรมเนียมนางสนมในราชสำนัก ทำให้หลายคนเชื่อว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในสมัยสุโขทัยจริงๆ บางคนเชื่อว่ามาแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ ๓) แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงอ้างไว้ในหนังสือ พระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนหลายแห่ง แต่มีบางตอน พรรณนาเรื่องชาติภาษากล่าวถึงมะริกันภาษา ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย นอกจากนั้นยังมีอีกหลายข้อที่ควรนำมาพิจารณา

นางนพมาศ เป็นธิดาของผู้มีบรรดาศักดิ์ผู้หนึ่งในรัชสมัยพระร่วงเจ้า แล้วได้เป็นสนมในพระร่วงเจ้าพระองค์นั้น จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตำแหน่งพระสนมเอก นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี้เองที่เป็นผู้ประพันธ์เรื่องนี้ขึ้นด้วยน้ำมือของนางเอง รวมทั้งการเขียนประวัติของตนเองด้วยอย่างละเอียด เรื่องต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ส่วนมากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะส่อถึงความสามารถ และสติปัญญาอันเฉลียวฉลาดของนางซึ่งควรแก่การเป็นสตรีตัวอย่างได้ผู้หนึ่ง

สำนวนโวหารในเรื่องนางนพมาศ ซึ่งนางนพมาศเป็นผู้แต่งเองนั้น ไม่ควรจะเชื่อเลยว่า เป็นคนครั้งสุโขทัยแต่งขึ้น เพราะเป็นสำนวนโวหารใหม่ๆ เช่นตอนหนึ่งความว่า “สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินต่างประพฤติตามราชประเพณี ย่อมนับถือว่าเป็นราชสัมพันธ์ไมตรีและมิตรไมตรีซึ่งกันและกัน ต่างแต่งทูตานุทูตจำทูลพระราชสาร ส่งเครื่องราชบรรณาการไปมาจำเริญทางพระราชไมตรี เยี่ยมเยียนกันตามกำหนดมิได้ขาดทั้งสองฝ่ายฟ้า โดยน้ำพระทัยไม่มีความรังเกียจว่าต่างชาติต่างภาษา ความสวัสดีจำเริญก็บังเกิดแก่พระมหานคร” ข้อเท่าที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่าเป็นสำนวนใหม่  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า “เป็นหนังสือแต่งในกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง และแต่งในระหว่างรัชกาลที่ ๒ กับที่ ๓ ไม่ก่อนนั้นขึ้นไป และไม่หลังนั้นลงมาเป็นแน่”

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ คนส่วนมากจึงไม่ค่อยจะเชื่อถือข้อความในหนังสือเรื่องนางนพมาศเท่าใดนัก บางท่านก็ว่านางนพมาศนี้หามีตัวจริงไม่ เป็นชื่อที่อ้างสมมุติขึ้นเท่านั้นเอง แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงดำริว่า ในหนังสือเล่มนั้นกล่าวถึงพิธีต่างๆ ประจำเดือน ซึ่งชั้นเดิมคงจะมีเพียง ๙ เดือน คือวันเว้นในพรรษา ๓ เดือน ๙ เดือน ก็นพมาศ นพะแปลว่า เก้า มาศะแปลว่า เดือน หาใช่เป็นชื่อคนไม่

อย่างไรก็ดี ยังมีเหตุผลและหลักฐานอีกหลายประการ ที่พอจะเชื่อได้ว่า นางนพมาศนั้นมีตัวจริง และเป็นผู้ประพันธ์เรื่องนี้จริง ดังนี้
๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้แก่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า หนังสือเรื่องนางนพมาศนี้ แม้ว่าจะเป็นหนังสือที่แต่งใหม่ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ดังมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงพระราชนิพนธ์แทรกลงไปบ้างบางตอนก็ดี แต่ท่านผู้ศึกษาโบราณคดีแต่ก่อนๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นต้น ก็ทรงนับถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ ชะรอยเรื่องเดิมของเขาจะมีอยู่ แต่ฉบับเดิมบกพร่องหรือวิปลาสขาดหายไป คนในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้จึงแต่งขึ้นใหม่โดยตั้งใจจะปฏิสังขรณ์ให้เรียบร้อย แต่ผู้แต่งมิได้ถือเอาความจริงเท็จในพงศาวดารเป็นสำคัญอย่างทุกวันนี้ มุ่งหมายแต่จะให้ไพเราะเพราะพริ้งเท่านั้น เรื่องหนังสือจึงวิปลาสไป

๒.สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรวบรวมหนังสือต่างๆ เพื่อจัดเป็นหอสมุดสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ได้หนังสือเรื่องนางนพมาศนี้จากพระยารัตนบดินทร์ ๑ เล่มสมุดไทย กับฉบับของกรมหลวงวรเสรฐสุดา และกรมสมมตอมรพันธ์ทรงได้มาอีก ๓ เล่ม เมื่อรวมกันเข้าแล้ว ก็ได้พอเต็มเรื่องแต่ต้นจนปลายบริบูรณ์ซึ่งพอจะสันนิษฐานได้ว่า เรื่องเดิมคงจะมีจริง คงจะไม่มีผู้ใดกล้าสมมุติเรื่องขึ้นเองได้ เช่นเรื่องที่เกี่ยวกับพิธีพราหมณ์ เป็นต้น เว้นแต่ถ้อยคำสำนวนซึ่งอาจจะมีผู้ดัดแปลงแก้ไขให้ไพเราะเพราะพริ้ง ดังกระแสพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นแน่

๓.นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เคยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับนางนพมาศไว้ว่า ถ้านางนพมาศมีจริง ก็จะต้องมีตัวอยู่ในราชสำนักของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ อันเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย และหนังสือเรื่องนางนพมาศก็น่าจะได้แต่งขึ้นในสมัยแห่งกษัตริย์พระองค์นั้น

นางนพมาศ ได้เขียนบอกวันเกิดของนางไว้ว่า เกิดเมื่อวันเพ็ญ เดือน ๓ ปีชวด สัปตศก (แต่ศักราชนั้นยังใช้โบราณศักราช  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินยังหาได้ลบศักราช  ตั้งจุลศักราชขึ้นใหม่ไม่ หมายความว่า นางเกิดก่อนลบศักราช)  มารดาของนางชื่อ เรวดี ได้นำนางเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นพระสนม เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๖ ปีมะโรงฉศก ตรงกับจุลศักราช ๗๒๖  นางมีอายุนับตามปีได้ ๑๗ ปี นับตามเดือนได้ ๑๕ ปี ๘ เดือน ๒๔ วัน  เพราะฉะนั้น เมื่อนับถอยหลังไปหาวันเกิดของนางก็จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๗๑๐

บิดามารดาของนางนพมาศอยู่ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชาติเวรามเทศร์ บิดาชื่อโชตรัตน์ มารดาชื่อเรวดี  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงชุบเลี้ยงให้ดำรงตำแหน่งพระมหาปุโรหิต มีนามบรรดาศักดิ์ว่า ออกพระศรีมโหสถ ยศกมเลศครรไลยหงส์มหาพฤฒาจารย์ มีเกียรติยศยิ่งกว่านักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งปวง มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการตกแต่งพระมหานคร มีการทำพระราชพิธี ๑๒ เดือน เป็นต้น เมื่อนางเรวดีจะตั้งครรภ์นั้น ฝันว่าได้เยี่ยมพระบัญชรสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินชมแสงจันทร์จนตกใจตื่น แม้พระศรีมโหสถก็ฝันว่าได้เห็นดอกไม้นานาพันธุ์ แย้มบานเกสรอยู่พรั่งในมิใช่ฤดูกาล และมีกลิ่นหอมระรื่นตระหลบอบอวล ความฝันทั้งสองนี้พยากรณ์ว่า จะได้บุตรเป็นหญิง จะมีวาสนาพรั่งพร้อมไปด้วยสติปัญญาและเกียรติยศ เป็นที่พึ่งแก่วงศ์ญาติทั้งหลาย ครั้นถึงวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด จุลศักราช ๗๑๐ สัมฤทธิศกพุทธศักราช ๑๘๙๑ อันเป็นเวลาที่พ่างพื้นอากาศปราศจากเมฆ พระจันทร์ทรงกลดแสงประภัสสรรัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน นางก็คลอดจากครรภ์มารดา หมู่ญาติมิตรทั้งหลายก็นำสิ่งของทองชนิดต่างๆ มาทำขวัญ ท่านบิดาจึงให้นามว่านพมาศ แล้วอาราธนาพระมหาเถรานุเถระ ๘๐ องค์ มาจำเริญพระพุทธมนต์ในมงคลสูตร รัตนสูตร และพระมหาสมัยสูตรครบ ๗ วัน แล้วอัญเชิญพราหมณาจารย์ผู้ชำนาญในไตรเพทอีก ๖๐ คน มากระทำพิธีชัยมงคลอีก ๓ วัน สมโภชธิดาผู้เกิดใหม่ให้ความสวัสดิมงคล เสร็จแล้วก็ถวายไทยธรรมแก่พระเถระเจ้าด้วยไตรจีวรสมณบริขารกับปิยการทั่วทุกองค์ และสักการะหมู่พราหมณ์ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก ครั้นจำเริญวัย อายุได้ ๗ ปี บิดาก็ให้ศึกษาวิชาต่างๆ เป็นต้นว่า อักษรไทย อักษรสันสกฤต ภาษาบาลี พอแปลได้ เรียนคัมภีร์ไตรเพท แต่งกลบทกลอนกาพย์ โคลง ฉันท์ และลิลิต เรียนตำราโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และตำราพยากรณ์ จนอายุได้ ๑๕ ปี ก็มีความรู้ชำนิชำนาญเฉลียวฉลาดรู้คดีโลก คดีธรรม นับเป็นสตรีนักปราชญ์ได้ผู้หนึ่ง

ฝ่ายหมู่ญาติมิตรทั้งหลายเห็นว่า นางนพมาศเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และปัญญาสมบัติ ก็ชวนกันพูดจาพาสรรเสริญทุกเช้าค่ำ กิตติศัพท์นี้ก็แพร่หลายเล่าลือต่อๆ กันไปจนมีทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่งผูกกลอนสรรเสริญนางนพมาศขึ้นไว้ว่า



พระศรีมโหสถ
ยศ      กมเลศ     ครรไลหงส์
มีธิดา      ประเสริฐ     เฉิดโฉมยง
ชื่ออนงค์      นพมาศ     วิลาศลักษณ์
ละไมละม่อม      พร้อมพริ้ง     ยิ่งนารี
จำเริญศรี      สมบูรณ์     ประยูรศักดิ์
เนื้อเหลือง      เล่ห์ทอง     ผ่องผิวพักตร์
เป็นที่รัก      ดังดวงจิต     บิดรเอย

โฉมนวลนพมาศ
เป็นนักปราชญ์      ฉลาดด้วย     บิดาสอน
ซึ่งกล่าวถ้อย      มธุรส     บทกลอน
ถวายพร      พรรณา     พระพุทธคุณ
สารพัด      จะพึงใจ     ไปครบสิ่ง
เป็นยอดหญิง      ยิ่งธิดา     ทุกหมื่นขุน
แต่ปางก่อน      สร้างกุศล     ผลบุญ
มาเกื้อหนุน      ให้งาม     วิไลเอย

ดวงดอกอุทุมพร
ทั่วนคร      หายาก     ฉันใดไฉน
จะหาสาร      ศรีเสวต     ในแดนไพร
ยากจะได้      ดังประสงค์     ที่จงจินต์
จะหานาง      กัลยาณี     นารี ปราชญ์
ประหนึ่งอนงค์      นพมาศ     อย่าหมายถวิล
จะหาได้      ในท้อง     พระธรนินท์
ก็ด้วยบุญ      เจ้าแผ่นดิน     อย่างเดียว เอย.

อันกลอนทั้งสามบทนี้ บรรดาหญิงชายทั้งหลายต่างก็พากันขับร้องและดีดพิณบรรเลงรับทั่วไปทุกแห่ง ทุกตำบล จนแม้นางพนักงานบำเรอสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็จำได้ จนวันหนึ่งได้ขับเพลงพิณบทนี้บำเรอถวาย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงสดับก็พอพระทัย จึงรับสั่งถามนางบำเรอ นางบำเรอก็กราบบังคมทูลถวายตามความจริงโดยละเอียด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งให้ใช้ท้าวจันทรนาถภักดีผู้เป็นใหญ่ฝ่ายในไปรับนางนพมาศมาเป็นพระสนมอยู่ในพระราชวัง เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ออกพระศรีมโหสถผู้บิดา ท้าวจันทรนาถฯ รับพระราชบัญชาก็มาแจ้งให้ออกพระศรีมโหสถทราบทุกประการ

เมื่อพระศรีมโหสถได้ทราบดังนั้น ก็รู้สึกอาลัยธิดาอย่างยิ่ง แต่ก็ได้ทราบมาแล้วแต่ต้นว่า นางนี้เกิดมาสำหรับผู้มีบุญ จึงยินยอมตามพระราชประสงค์ และจะได้เลือกหาวันอันเป็นมงคล เพื่อนำธิดาขึ้นทูลถวายต่อไป  พระศรีมโหสถได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์และเชิญพราหมณ์มาทำพิธีให้เป็นสวัสดิมงคล แล้วเชิญหมู่ญาติมิตรมาประชุม นางนพมาศก็ทำการเคารพญาติมิตรทั้งหลายนั้น บรรดาญาติมิตรต่างก็พากันอวยพรชัยให้พรแก่นางนพมาศนานาประการ ครั้นแล้วพระศรีมโหสถก็ไต่ถามนางนพมาศ เพื่อจะทดลองความสามารถว่า จะสมควรเข้าไปเป็นบาทบริจาในราชสำนักแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่


โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ธันวาคม 2559 16:23:31 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2559 16:32:27 »



http://www.sookjaipic.com/images_upload/60349452123045_45.jpg
นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย



ข้อต้น พระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามว่า นกเบ็ญจวรรณอันประดับด้วยขนห้าสี เป็นที่งดงาม มีสำนักลำเนาอยู่ในป่าใหญ่ ครั้นมนุษย์ดักนกเบ็ญจวรรณมาได้ก็นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านจนเป็นที่รัก เพราะมีขนสีงดงามถึงห้าสี ก็เจ้าเป็นมนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในพระราชฐาน ยังจะประพฤติตนให้บรรดาคนในพระราชฐานรักใคร่เจ้าได้เช่นนกเบ็ญจวรรณอยู่ละหรือ นางนพมาศก็ตอบว่า นางสามารถจะประพฤติตนให้เป็นที่รักใคร่แก่บุคคลเหล่านั้นได้ โดยสุภาษิต ๕ ประการ เช่นเดียวกับนกเบ็ญจวรรณ ๕ สี คือ

ประการที่ ๑ นางจะเจรจาถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ให้เป็นที่รำคาญระคายโสตผู้ใด
ประการที่ ๒ นางจะกระทำตนให้ละมุนละม่อม ไม่เย่อหยิ่งจองหองทั้งจะตกแต่งร่างกายให้สะอาดและสุภาพเรียบร้อย
ประการที่ ๓ นางจะมีน้ำใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่อิจฉาพยาบาทปองร้ายหมายมาตรหรือดูหมิ่นดูแคลนผู้ใด
ประการที่ ๔ ถ้าปรากฏว่าผู้ใดเมตตารักใคร่นางโดยสุจริตใจ นางก็จะรักใคร่มีไมตรีตอบมิให้เกิดการกินแหนงแคลงใจได้
ประการที่ ๕ ถ้าได้เป็นผู้ใดทำความดีความชอบในราชการ และทำถูกต้องขนบธรรมเนียมทั้งคดีโลก คดีธรรม นางก็จะจดจำไว้เป็นเยี่ยงอย่าง แล้วประพฤติตนและปฏิบัติตามสิ่งที่ดีนั้น

ถ้านางกระทำได้อย่างนี้แล้ว ก็จะมีผู้เอ็นดูรักใคร่นาง ขอท่านบิดาอย่าวิตกเลย พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย เมื่อได้ฟังถ้อยคำนางนพมาศดังนั้นแล้ว ก็ชื่นชมยินดีชวนกันสรรเสริญอยู่ทั่วไป

ลำดับที่สอง พระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามต่อไปว่า การที่นางจะเข้าไปอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินนั้น ยังจะสามารถประพฤติตนให้ถูกอัธยาศัยในขัติยะตระกูลอันสูงศักดิ์นั้นได้ละหรือ เฉพาะอย่างยิ่งในองค์พระมหากษัตริย์ เพราะธรรมดาพระมหากษัตริย์นั้นย่อมทรงพระราชอาชญาดุจกองเพลิง มีพระเดชานุภาพดังอสรพิษ ย่อมเป็นภัยแก่ผู้ประมาท นางจะครองตัวให้พ้นภัยละหรือ  อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระอัครมเหสีถึงสองพระองค์และนางพระสนมกำนับอีกเป็นอันมาก ล้วนเป็นคู่แข่งอย่างสำคัญ นางจะกระทำตนให้ทรงพระเมตตาได้อยู่ละหรือ นางนพมาศตอบว่า นางสามารถกระทำได้อยู่ เพราะใจของนางเองนั้น หาคำนึงว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระเมตตานางหรือไม่ แต่นางจะอาศัยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยเหลือให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเมตตานางเอง กล่าวคือ
     ๑.นางจะอาศัยปุพเพกตปุญญตา ซึ่งนางได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนสนับสนุน
     ๒.นางตั้งใจจะประกอบความเพียรอย่างสุดความสามารถ ไม่เกียจคร้านในราชกิจการงานทั้งปวง
     ๓.นางจะใช้สติปัญญาของนาง พิจารณาสิ่งผิดและชอบ แล้วเว้นไม่กระทำสิ่งที่ผิด มุ่งแต่ประพฤติในสิ่งที่ชอบ
     ๔.นางจะใช้ความพินิจพิจารณา สอดส่องให้รู้พระราชอัธยาศัย แล้วจะประพฤติให้ต้องตามน้ำพระทัยทุกประการ มิถือเอาใจตัวเป็นประมาณ
     ๕.จะประพฤติและปฏิบัติการงานโดยสม่ำเสมอ ไม่ทำงานลุ่มๆ ดอนๆ
     ๖.นางจะรักตัวของนางเองยิ่งกว่ารักผู้อื่น
     ๗.นางจะไม่เกรงกลัวผู้ใดยิ่งไปกว่าเจ้านายของนาง
     ๘.นางจะไม่เข้าด้วยกับผู้กระทำผิด
     ๙.จะไม่เพ็ดทูลข้อความใดๆ นางจะกราบทูลแต่ข้อความที่เป็นความจริงเท่านั้น
     ๑๐.นางจะไม่นำพระราชดำริอันใด ที่เป็นความลับออกเปิดเผยเป็นอันขาด
     ๑๑.นางจะวางใจให้มั่นคงต่อกิจการงานทั้งปวง ไม่โลเลและแชเชือน
     ๑๒.นางจะจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิเสื่อมคลาย นางหวังว่า ถ้าได้ประพฤติตนและได้ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวแล้วนี้โดยสมบูรณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเมตตานางเป็นเที่ยงแท้  อนึ่ง นางเป็นคนใหม่เพิ่งจะเข้าไปถวายตัว ยังหารู้ขนบธรรมเนียมสิ่งใดไม่ เพราะฉะนั้น นางจำจะต้องสนใจในการงานเป็นพิเศษ เพื่อให้รอบรู้ในกิจการในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อสามารถปฏิบัติการงานในหน้าที่ให้ลุล่วงไปจนได้ นางจึงจะวางวิธีการของนางไว้ดังนี้

     ๑.ในขั้นต้น นางจะต้องระวังรักษาตัวกลัวต่อความผิด ไม่ทำอะไรวู่วามลงไป
     ๒.จะต้องคอยสังเกตผู้ที่โปรดปรานคุ้นเคยพระราชอัธยาศัย ว่าประพฤติและปฏิบัติอย่างไร จักได้จดจำนำมาปฏิบัติต่อไป
     ๓.เมื่ออยู่นานไป ได้รู้เช่นเห็นช่องในกิจการบ้างแล้ว ก็จะได้พากเพียรเฝ้าแหนมิให้ขาดได้
     ๔.เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรัสใช้การงานแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะกระทำด้วยความตั้งใจให้ดีที่สุด สมพระราชหฤทัยประสงค์ให้จงได้
     ๕.ต่อไปถ้าเห็นว่า ทรงพระเมตตาขึ้นบ้างแล้ว แม้สิ่งใดจะมิทรงรับสั่งใช้แต่สามารถจะกระทำได้ ก็จะกระทำโดยมิได้คิดเหนื่อยยากเลย
     ๖.เมื่อตระหนักแน่แก่ใจว่า ทรงโปรดอย่างใดแล้ว ก็จะได้ชักชวนคนทั้งหลายให้ช่วยกันกระทำในสิ่งที่ชอบพระอัชฌาศัย
     ๗.เมื่อได้กระทำดังนี้แล้ว หากจะไม่ทรงพระเมตตาก็จะไม่น้อยเนื้อต่ำใจอย่างใด จะนึกเพียงว่า เป็นอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แต่ปางก่อนเท่านั้น และจะคงกระทำความดีเช่นนั้นโดยมิเสื่อมคลาย แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่องนกกระต้อยติวิดและเรื่องช้างแสนงอนมาเล่าประกอบด้วย พระศรีมโหสถและญาติมิตรทั้งหลาย ได้ฟังก็มีความยินดีในสติปัญญาของนางเป็นอันมาก และพากันสรรเสริญอำนวยพรอยู่ทั่วกัน

ในสุดท้ายพระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามว่า นางจะคิดสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างไร ให้ตนเองมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดิน นางนพมาศก็ตอบว่า อันจะทำการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าแผ่นดิน จนมีชื่อเสียงเลื่องลือปรากฏนั้น สำหรับสตรีกระทำได้ยากนัก ถ้าเป็นบุรุษอาจจะกระทำได้หลายประการ เช่น ทำการรณรงค์สงคราม ทำกิจการงานพระนคร ในสิ่งที่ยากลำบากให้สำเร็จได้ด้วยดี หรือวินิจฉัยถ้อยความให้เป็นไปโดยยุติธรรม หรือหาของวิเศษอัศจรรย์มาทูลเกล้าฯ ถวาย เหล่านี้เป็นต้น แต่ราชการฝ่ายสตรีก็คือ ราชการในพระราชวัง ซึ่งก็ตกเป็นพระราชภาระของพระอัครมเหสีทั้งสองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ในส่วนตัวของนางก็จะมีแต่ความจงรักภักดี ตั้งใจสนองพระเดชพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวทีอันสะอาดบริสุทธิ์ แม้ในการนั้นหากจำเป็นจะต้องเสียทรัพย์สินส่วนตัวมากเพียงใด หรือแม้แต่จะต้องเสียสละเลือดเนื้อหรือชีวิต ก็เต็มใจอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณโดยมิได้อาลัย  อนึ่ง ในการปฏิบัติตนให้ทรงเมตตานั้น นางปรารถนาที่จะให้ทรงโปรดปรานแต่ในความดีของนางเท่านั้น การที่จะใช้เสน่ห์เล่ห์กลเวทมนต์คาถาและกลมารยาต่างๆ เพื่อให้ทรงเมตตาโปรดปรานนั้น นางจะละเว้นไม่ประพฤติเป็นอันขาด หรือแม้นางจะได้มียศถาบรรดาศักดิ์เพียงใดก็ดี ก็จะยิ่งกระทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จะไม่กำเริบใจว่า ทรงรักใคร่แล้วเล่นตัวหรือกดขี่เหยียดหยามผู้อื่น แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่องนางนกกะเรียนคบนางนกไส้ช่างยุมาประกอบด้วย ในที่สุดนางก็สรุปว่า อันนิทานที่นางยกมากล่าวนี้ ก็เพื่อให้ผู้ฟังจำไปสอนใจตนเองว่า อย่าประพฤติเป็นคนต้นตรงปลายคด และการคบมิตรก็ต้องที่เป็นกัลยาณมิตร นักปราชญ์จึงจะสรรเสริญ อันว่าการคิดถูกและคิดผิด พูดจริงและพูดเท็จ ใจซื่อและใจคด ยั่งยืนและโลเล เรียบร้อยและเล่นตัว สุภาพและดีดดิ้น ปกติและมารยามักตื่นและมักหลับ มีสติและลืมหลง อุตสาหะและเกียจคร้าน ทำดีและทำชั่ว กัลยาณมิตรและบาปมิตร บรรดาของคู่เหล่านี้ นางจะประพฤติอย่างหนึ่งและละเสียอย่างหนึ่งเช่นนี้  นางก็สามารถจะเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดินได้  พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรผู้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นก็แซ่ซร้องสาธุการอยู่ทั่วกัน

ในคืนวันนั้น นางเรวดีผู้มารดาก็ได้ให้โอวาทแก่นางอีกเป็นอันมาก กล่าวคือมิให้ตั้งอยู่ในความประมาท ให้เคารพแก่ผู้ควรเคารพ ให้ประพฤติจริตกิริยาในเวลาเฝ้าแหนหมอบคลานให้เรียบร้อย ให้แต่งกายให้เรียบร้อยงามและสะอาดต้องตาคน ประพฤติตนให้ถูกใจคนทั้งหลาย ฝากตัวแก่เจ้าขุนมูลนาย คอยระวังเวลาราชการอย่าให้ต้องเรียกหรือต้องคอย ต้องหูไวจำคำให้มั่น อย่าถือตัวหยิ่งจองหอง ให้เกรงกลัวอัครมเหสีทั้งสองเป็นต้น นางนพมาศก็รับคำเป็นอันดี


โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2560 12:23:04 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2559 11:49:16 »



ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๘๒๖ ปีมะโมง ฉศก
อันเป็นเวลาที่นางมีอายุนับปีได้ ๑๗ ปี  นับเดือนได้ ๑๕ ปี ๘ เดือน ๒๔ วัน  
นางเรวดีผู้มารดาได้ให้แต่งกายอันประดับด้วยอาภรณ์นานาชนิด มาคำนับลา
บิดาและบรรดาญาติ แล้วขึ้นระแทะไปกับมารดา มีบ่าวไพร่ติดตามไปพอสมควร
เข้าไปในพระราชวังเพื่อเฝ้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพานข้าวตอก
ดอกมะลิ พานข้าวสาร พานเมล็ดพันธุ์ผักกาด พานดอกหญ้าแพรกขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายด้วย และได้ทรงพระกรุณาโปรดให้รับราชการอยู่ในตำแหน่งนางพระสนม
นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ต่อจากนั้น นางนพมาศได้เล่าถึงพระราชพิธีต่างๆ ในราชสำนัก มีลำดับดังนี้คือ

๑.พิธีจองเปรียง  กระทำในเดือน ๑๒ เป็นพิธีตบแต่งโคมชัก โคมแขวน และโคมลอย เพื่อถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้ทรงพระราชสักการะบูชาพระเกศธาตุจุทามณีในชั้นดาวดึงส์ นางนพมาศได้ทำโคมรูปดอกบัวเป็นที่พอพระทัยมาก ถึงกับทรงบัญญัติว่า ในปีต่อๆ ไป ให้ทำโคมรูปดอกบัวตามเยี่ยงอย่างนางนพมาศ เสร็จแล้วก็เสด็จลงเรือขนานทอดพระเนตรโคมไฟ นางนพมาศผู้หนึ่งที่ได้ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งทรงด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเบิกบานพระทัย จึงรับสั่งให้นางนพมาศผูกกลอนให้พวกนางบำเรอขับถวาย นางนพมาศแต่งกลอนถวายมีความว่า


ข้าน้อยนพมาศ
อภิวาท      บาทบงส์     ด้วยจงจิต
ยังนิพนธ์      กลกลอน     อ่อนความคิด
อันชอบผิด      ขอจงโปรด     ซึ่งโทษกรณ์
เป็นบุญตัว      ได้ตาม     เสด็จประพาส
นักขัตฤกษ์      ประชาราษฎร์     สโมสร
สว่างไสว      ไปทั่ว     พระนคร
ทิฆัมพร      ก็แจ่มแจ้ง     แสงจันทร์ เอย.

น่าแสนสำราญจิต
ทั้งสิบทิศ      รุ่งเรือง     ดังเมืองสวรรค์
สงสารแต่      พระสนม     กำนัล
มิได้เห็น      เป็นขวัญ     นัยนา
แม้เสด็จ      ด้วยที่นั่ง     บรรลังก์ขนาน
เวรอยู่งาน      และเจ้าจอม     มาพร้อมหน้า
จะชวนกัน      เกษม     เปรมปรีดา
ขอประทาน      โทษา     ข้าน้อย เอย.

ได้ฟังกลอนจึงรับสั่งถามว่า ต้องการให้พวกเจ้าจอมหม่อมห้ามมาด้วยนั้น เห็นว่าจะได้ประโยชน์อย่างใด นางก็กราบทูลสนองว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นางเหล่านั้นได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณที่สวยงาม ได้ออกหน้าสักครั้งหนึ่งก็จะชื่นชมยินดีมีความสุขและจะรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอยู่ไม่รู้วาย บรรดาเครื่องอาภรณ์ที่ได้ทรงโปรดพระราชทานไปแล้วนั้น ก็จะได้มีโอกาสตกแต่งกันในครั้งนี้ ได้ทรงฟังดังนั้นก็พอพระทัย

ในคืนต่อมาก็ทรงโปรดให้บรรดานางในได้ตามเสด็จโดยทั่วหน้ากัน และเป็นประเพณีนับแต่นั้นมา

๒.พิธีตรียัมปวายและพิธีตรีปวาย กระทำในเดือน ๑ เป็นนักขัตฤกษ์ ประชุมชายหญิงหน้าเทวสถาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยนางในเสด็จทอดพระเนตรโล้ชิงช้าและราแขนงในตอนบ่าย กับทอดพระเนตรแห่พระอิศวรและพระนารายณ์ในตอนกลางคืน

๓.พิธีบุษยาภิเษก กระทำในเดือน ๒ เป็นพิธีพระโคกินเลี้ยง และมีการชักว่าวหง่าว เสียงว่าวร้องเสนาะทั้งกลางวันและกลางคืน

๔.พิธีธานย์เทาะห์ กระทำกันเดือน ๓ เป็นพิธีขนข้าวเข้าลาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับพลับพลา โปรดให้พวกนางในชักระแทะทอง ระแทะเงิน และระแทะสีต่างๆ เป็นคู่ๆ ๑๐ คู่ ลากฟ่อนข้าวเข้าสู่บริเวณพิธี แล้วมีมหรสพสมโภช

๕.พิธีสัมพัจฉรฉินท์ กระทำกันในเดือน ๔ เรียกว่าพิธีตรุษ เป็นการทำบุญสิ้นปีทางจันทรคติ มีการยิงปืนอาฏานา ๑๐๘

๖.พิธีคเชนทรัศวสนาน กระทำกันในเดือน ๕ ในพิธีนี้มีสิ่งสำคัญ ๓ ประการคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกรับเครื่องราชบรรณาการจากเจ้าเมืองขึ้น และรับดอกไม้ธูปเทียนทอง-เงินจากพระบรมวงศ์ และข้าราชการเศรษฐีคหบดีนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างมีขบวนแห่คเชนทรสนาม ประกอบไปด้วยช้างม้าเป็นขบวน และทหารแต่งกายด้วยเสื้อหมวดสีต่างๆ มี ฆ้อง กลอง แตรสังข์ เดินผ่านหน้าพระที่นั่งถวายให้ทอดพระเนตร อีกอย่างหนึ่งคือ การรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์

๗.พิธีแรกนา กระทำกันในเดือน ๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ทรงม้าพระที่นั่ง ประทับพลับพลาทอดพระเนตรออกญาพหลเทพแรกนา ในเดือนนี้มีพิธีวิสาขบูชาด้วย มีการทำบุญและฟังเทศน์แจกทาน และปล่อยสัตว์

๘.พิธีเคณฑะ กระทำกันในเดือน ๗ เป็นพิธีทิ้งลูกข่างเสี่ยงทาย ถ้าลูกข่างหนุนนอนวันอยู่นาน และมีเสียงดังก็จะเป็นสิริมงคล

๙.พิธีเข้าพรรษา กระทำในเดือน ๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายผ้า และเทียนจำนำพรรษา และถวายเครื่องสักการะพระพุทธปฏิมากร ถวายสมณบริขารแก่พระภิกษุสงฆ์

๑๐.พิธีพิรุณศาสตร์ กระทำในเดือน ๙ เป็นพิธีขอฝน

๑๑.พิธิภัทรบทหรือพิธีกวนข้าวทิพย์ กระทำในเดือน ๑๐ เพราะในเดือน ๑๐ นี้ข้าวออกรวงใหม่ๆ มีกลิ่นหอม จึงเด็ดเอารวงอ่อนมาทำข้าวมธุปายาส หรือข้าวยาคู ถวายพระภิกษุสงฆ์และเลี้ยงพวกพราหมณ์

๑๒.พิธีอาศยุช กระทำในเดือน ๑๑ เป็นพิธีแข่งเรือ เพราะเดือนนี้มีน้ำมาก

นอกจากนี้ นางนพมาศได้กล่าวถึงความประพฤติของนางสนมซึ่งมีทั้งประพฤติดีและชั่วเช่นสามัญชนทั้งหลาย กล่าวถึงพระเกียรติและพระราชจรรยาของสมเด็จพระร่วงเจ้าเป็นกล่าวเฉลิมพระเกียรติด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด กล่าวถึงสถานที่ต่างๆ ในเมืองสุโขทัย ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ในพระราชวังและวัดหน้าพระธาตุ กล่าวถึงตระกูลต่างๆ ว่าฝ่ายทหารมี ๔ ตระกูล ฝ่ายพลเรือนก็มี ๔ ตระกูล และกล่าวถึงความเป็นอยู่ของชาวเมืองตามสมควร ความรู้ในทางโลกได้กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ กล่าวถึงการแบ่งอาณาเขตในชมพูทวีป ส่วนในทางศาสนาได้กล่าวถึงพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์และลัทธิศาสนาอื่นบ้าง





พระราชพิธีจองเปรียง

พระราชพิธีจองเปรียงนี้ เป็นพิธีพราหมณ์ทำ เริ่มในสมัยสุโขทัย เป็นพิธียกโคมตามประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ ตามกำหนดยกโคมนั้น คือ เดือน ๑๒ ถ้าปีใดมีอธิกมาส ให้ยกโคมตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นต้นไป จนถึงวันแรม ๒ ค่ำ จึงเป็นวันลดโคม และถ้าปีใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวันลดโคมลง  อนึ่ง ตามกำหนดโหราศาสตร์ว่า พระอาทิตย์โคจรถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤษภเมื่อใด เป็นวันกำหนดที่จะยกโคม อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อใดเห็นดาวกติกาแต่หัวค่ำจนตลอดรุ่งเมื่อใด เมื่อนั้นเป็นวันกำหนดที่จะยกโคม ในพิธีนี้พราหมณ์เป็นผู้ทำในพระบรมมหาราชวัง คือ พราหมณ์ประชุมกันผูกพรต พระราชครูฯ ต้องกินถั่วกินงาสิบห้าวัน ส่วนพราหมณ์นอกนั้นกิน ๓ วัน เวลาเช้าพราหมณ์ต้องถวายน้ำมหาสังข์ทุกวัน จนถึงวันลดโคมลงเทียนที่จะจุดในวันนั้น ต้องเอามาถวายให้ทรงทาเปรียงเสียก่อน

ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวว่า ถึงพิธีจองเปรียง ซึ่งมีการชักโคมและลอยโคมอันเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทงด้วย แต่จะยกแต่ข้อความเกี่ยวกับพระราชพิธีจองเปรียงส่วนใหญ่ที่ยังถือปฏิบัติมาก่อน จนถึงสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เพิ่มพิธีสงฆ์เข้ามาด้วย ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพิธีนี้ดังนี้

“พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอยทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่างแต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูป และสัณฐานต่างๆ ประกวดกันมาชักมาแขวน เป็นระเบียบร้อยร้อยตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน



พิธีลอยกระทง

พิธีลอยกระทง มีการเข้าใจว่า พิธีลอยกระทงนี้เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยนี้ ผู้ริเริ่มการทำกระทงประดิษฐ์เป็นรูปโคมลอยประดับดอกประทุม คือนางนพมาศนี้เอง วันอันสำคัญนี้เป็นวันพระราชพิธีเดือนสิบสอง อันถือว่าเป็นพระราชพิธีนักขัตฤกษ์ที่ยิ่งใหญ่ประจำปีแห่งราชสำนัก เป็นเวลาที่เสด็จลงประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในเสด็จในเรือพระที่นั่ง ทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์ซึ่งราษฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี นางนพมาศจึงคิดอ่านทำกระทงถวายพระเจ้ารามคำแหงเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ได้ลอยไปตามสายน้ำ และคิดขับร้องขึ้นถวายให้พระเจ้าแผ่นดินทรงดำริจัดเรือพระที่นั่งเทียบขนาดให้ใหญ่กว้างสำหรับสนมฝ่ายในจะได้ตามเสด็จมากๆ ขึ้นกว่าก่อน

ประเพณีลอยกระทง มาจากพระราชพิธีจองเปรียง อันเป็นที่มาของศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์มีพระราชพิธีจองเปรียง เพื่อบูชาพระอิศวร พระพรหม ด้วยการชักโคม บูชาพระนารายณ์ด้วยการลอยโคมทางน้ำ แต่ในสมัยสุโขทัยพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลในอาณาจักร บางทีเลยถือว่าเป็นการบูชาพระบรมพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำก็ย่อมเป็นได้ หรืออาจเป็นการขออภัยต่อแม่พระคงคาในการที่ได้กินได้ใช้น้ำ ซ้ำยังถ่ายมูตคูถลงไปอีกด้วย มีปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์รวมกับพระราชพิธีจองเปรียง คือ “ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ข้าน้อยก็กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง จึงเลือกผกาเกสรต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุท กลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณกงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย ครั้นเวลาพลบค่ำ สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงเสด็จลงพระที่นั่งชลพิมานพร้อมด้วยพระอัครชายา พระบรมวงศ์และพระสนมกำนัลนาง ท้าวชาวชะแม่ทั้งปวง พราหมณ์ก็ถวายเสียงสังข์อันเป็นมงคล ชาวพนักงานก็ชักโคมชัยโคมประทีปบริวารขึ้นพร้อมกัน เพื่อจะให้ทรงพระราชอุทิศสักการะพระจุฬามณี ครั้นถึงโคมของข้าน้อย สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงทอดพระเนตรพลางตรัสชมว่า โคมลอยอย่างนี้งามประหลาด ยังหาเคยมีไม่เป็นโคมของผู้ใดคิดทำ ข้าน้อยก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่าเป็นนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระจันทร์ก็เต็มดวง ปราศจากเมฆหมอกมลทิน อันว่าดอกระมุทนี้มักจะบานรับแสงจันทร์ ผิดกว่าพรรณดอกไม้อื่น ข้าพระองค์ได้ทำโคมลอยดอกกระมุท ซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมหานที อันเป็นที่พระบรมพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ และมีประทีปเปรียงเจือด้วยไขข้อพระโค ถวายในการทรงพระอุทิศครั้งนี้ ด้วยจะให้ถูกต้องสมกับนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญ เดือน ๑๒ พระราชพิธีจองเปรียง โดยพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์

พิธีลอยกระทงจึงเริ่มมีตั้งแต่บัดนั้นมาด้วยประการฉะนี้แล.



พิธีตรียำปวายและพิธีตรีปวาย

ที่มาของพิธีตรียำปวายและพิธีตรีปวาย มาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้าได้สร้างโลกกับพระเป็นเจ้าทั้งสอง คือพระนารายณ์ พระพรหม เสร็จลงแล้ว พระอุมาเทวีก็มีจินตนาไปว่า โลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นมีแผ่นดินน้อยกว่ามหาสมุทรเป็นแน่ อุปมาเหมือนดังดอกจอกน้อยลอยอยู่ในมหาสมุทร ครั้นเมื่อพระองค์มีความคิดอย่างนี้เกิดขึ้น พระองค์ก็มีความสลดพระทัย ที่มนุษย์และสรรพสัตว์ที่พระอิศวรทรงสร้างขึ้นนั้น จะต้องถึงกาลวิบัติ พระองค์จึงไม่ยอมบรรทม ไม่ยอมเสวย จนพระวรกายซูบผอม พระอิศวรทรงทอดพระเนตรเห็นพระอุมาเทวีผิดพระเนตรไปเช่นนั้น พระอิศวรจึงตรัสถามพระอุมาเทวีว่า โลกทั้งสามเป็นประการใด พระอุมาเทวีเมื่อได้ยินพระอิศวรตรัสถามเช่นนั้น พระนางจึงทูลตอบไปดังความคิดแต่หนหลัง พระอิศวรครั้นได้ทราบเรื่อง ความปริวิตกของพระอุมาเทวีแล้วพระองค์ก็ตรัสปลอบพระอุมาเทวี ถึงแม้พระองค์จะตรัสปลอบสักเท่าไรก็ไม่ได้ผล เพราะพระอุมาเทวียังไม่คลายความวิตกนั้นไปได้ ฉะนั้นพระเป็นเจ้าทั้งสองจึงเกิดพนันกันขึ้น คือให้พระยานาคเอาหางเกี่ยวกับต้นพุทราที่ริมแม่น้ำฟากนี้ เอาหัวเกี่ยวต้นพุทราฟากโน้น แล้วให้พระยานาคไกวตัว ครั้นแล้วให้พระอิศวรยืนเท้าเดียวในลักษณะไขว่ห้าง ถ้าโลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นนั้นไม่มั่นคงแน่นหนาแล้ว เมื่อได้รับความกระทบกระเทือนจากการแกว่งไกวของพระยานาค เท้าพระอิศวรที่ยืนไขว่ห้างนั้นจะตก พระอิศวรก็จะแพ้พนัน แต่ถ้าไม่ตก พระอุมาเทวีก็จะแพ้พนัน แต่ครั้นเมื่อพระยานาคแกว่งไกวตัว โลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นนั้นก็มั่นคงถาวรดี เมื่อพระเจ้าทั้งสองตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จไปยังริมแม่น้ำ ตรัสให้พระยานาคแกว่งไกวตัว ครั้นพระยานาคแกว่งไกวตัวแล้ว โลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นไม่สะเทือน พระยานาคดีใจ จึงลงน้ำดำผุดดำว่าย เล่นน้ำพ่นน้ำกันเป็นการใหญ่ ทีนี้จะเปรียบเทียบตำนานกับพิธีดู ก็จะได้รู้ว่า เสาชิงช้าทั้งคู่ สมมุติเป็นต้นพุทรา ขันสาครที่ตั้งอยู่ระหว่างเสาชิงช้า สมมติว่าเป็นแม่น้ำ พวกสาลีวันที่สวมหัวนาคที่ขึ้นโล้ชิงช้านั้น สมมติว่าเป็นพระยานาค พระยายืนชิงช้าที่นั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ (ไม้เบญจมาศนั้น คือไม้โตเท่าเข็ม ปักลงดินสี่เสา ให้สูงต่ำเสมอกัน มีไม้พาดสำหรับนั่งอันหนึ่ง พิงอันหนึ่ง)

พิธีตรียำปวายและพิธีตรีปวาย เป็นพิธีใหญ่ของพราหมณ์ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระอิศวรเสด็จเยี่ยมโลก มีกำหนด ๑๐ วัน มีการแห่พระยายืนชิงช้า ถือว่าเป็นการต้อนรับพระอิศวร มีการรำแขนงประกอบพิธี พิธีนี้กล่าวในหนังสือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า “ครั้นล่วงมาถึงเดือนอ้าย การกำหนดพระราชพิธีตรียำปวายแลพิธีตรีปวาย เป็นการนักขัตฤกษ์ประชุมหมู่ประชาชนชายหญิงยังหน้าพระเทวสถานหลวง บรรดาหมู่ชะแม่นางในทั้งหลาย ก็ตกแต่งกรัชกายไปตามเสด็จสมเด็จพระร่วงเจ้าดูไกวนางกระดาน สาดน้ำรำแขนง และทัศนาชีพ่อพราหมณ์แห่พระอิศวร พระนารายณ์ในเพลาราตรี ณ พระที่นั่งไชยชุมพล เกษมศานต์สำราญใจถ้วนทุกหน เป็นธรรมเนียมพระนคร”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กุมภาพันธ์ 2560 15:36:12 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559 20:04:52 »


ระแทะ ภาพจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พิธีบุษยาภิเษก

เป็นพิธีที่กระทำในเดือน ๒ คือพิธีพระโคกินเลี้ยง และมีการชักว่าวหง่าว เสียงว่าวร้องเสนาะทั้งกลางวันกลางคืน กล่าวในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ดังนี้

“เดือนยี่ ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษกเถลิงพระโคกินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์หมู่นางในก็ได้ดูชุดว่าวหง่าว ฟังสำเนียงเสียงว่าวร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี”



พิธีธานย์เทาะห์

เป็นพิธีขนข้าวเข้าลาน กระทำกันในเดือน ๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับพลับพลา โปรดให้พวกนางในชักระแทะทองระแทะเงิน และระแทะสีต่างๆ เป็นคู่ๆ ๑๐ คู่ ลากฟ่อนข้าวเข้าสู่บริเวณพิธี แล้วมีมหรสพสมโภช กล่าวในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นพระราชพิธี ๑๒ เดือนเช่นกัน คือ

“เดือน ๓ ประชุมชาวพระนครเล่นเป็นการนักขัตฤกษ์ พระราชพิธีธานย์เทาะห์ขนข้าวเข้าลาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ณ พระพลาชัย ให้พระสนมกำนัล นางระบำ นางบำเรอ ที่มีรูปสิริวิลาสเป็นอันงาม แต่งตัวใส่เสื้ออย่างเทศ อย่างมลายู ออกชักระแทะทอง ระแทะเงิน ระแทะสีต่างๆ เป็นคู่ๆ กัน ๑๐ คู่ ลากฟ่อนข้าวเข้าสู่ลานอันแวดวงด้วยราชวัติฉัตรธง มีพิดานห้อยย้อยด้วยพวงบุปผามาลัย และการมหรสพก็เล่นระเบ็งระบำจิริกางแทงเขนนางกะอั้วผัวแทงควาย หกคะเมนไต่ลวดลอดบ่วงรำแพน เสียงฆ้องกลองนี่สนั่นน่าบันเทิงใจ แล้วชาวพนักงานก็นำพระโคอุสุภราชโคกระวินเข้ามาเทียมเกวียน พราหมณ์คณาจารย์ถือประตักเงินอ่านมนต์ขับพระโคให้บ่ายบาทเวียนนวดข้าว ครั้นสำเร็จเป็นสังเขปแล้ว นายนักการพระสุรัสวดีก็สงฟางขนไปกองไว้ในยัญกระลากูณฑ์ จึ่งพระครูพรหมพรตพิธีบูชาสมิทธิพระเพลิงด้วยสุคันธของหอม อ่านอิศวรเวทโหมกุณฑ์บันลือเสียงสังข์สามวาระแล้ว จึ่งเชิญพระเพลิงออกจุดเผาฟางและซังข้าว สมมติว่าคลอกทุ่งเผาป่ากันอุปัทวจัญไร”



พิธีสัมพัจฉรฉินท์

พิธีนี้ ทางพุทธเรียกว่า “ตรุษ” แต่ทางพราหมณ์ เรียกว่า “พิธีสัมพัจฉรฉินท์” อันเป็นพิธีสังเวยบวงสรวงพระเทวรูปทั้งมวล เหตุใดพิธีนี้จึงเป็นพิธีทางพุทธศาสนาด้วย เราอาจตอบได้ว่า การเล่นตรุษสงกรานต์ ซึ่งนับเป็นประเพณีของไทยแต่โบราณกาลมา ซึ่งหมายความถึงเวลาที่ประชาชนกำหนดกันขึ้นเป็นเทศกาล เพื่อทำบุญกุศลเป็นงานส่วนรวมตามที่ตนมีความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องศาสนา และมีการสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อนหย่อนใจควบคู่กันไปด้วย ตามแต่โอกาสที่มีอยู่ คำว่า “ตรุษ” หมายถึง เทศกาลสิ้นปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ส่วนสงกรานต์หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยก่อน อย่างไรก็ดีการเล่นตรุษสงกรานต์ที่ต่อมาภายหลังก็ได้กลายเป็นประเพณีประจำชาติในที่สุด

ตรุษสงกรานต์ “ตรุษ” แปลว่า “ตัด” หรือ “ขาด” คือ ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี หมายถึงวันสิ้นปีที่ผ่านไปแล้ว ตรุษเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยความสวัสดีในรอบปีหนึ่งๆ เรียกว่า ส่งปีเก่า พิธีตรุษนี้เป็นพิธีของพวกอินเดียฝ่ายใต้ เมื่อพวกทมิฬได้ครองเมืองลังกา ได้เอาพิธีตรุษตามลัทธิศาสนาของตนมาทำเป็นประเพณีบ้านเมือง จึงเป็นเหตุให้มีพิธีตรุษขึ้นในลังกาทวีป ต่อมาเมื่อชาวลังกาที่นับถือศาสนาพุทธได้เป็นใหญ่ขึ้นมาในเมืองลังกา ได้คิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขพิธีตรุษให้มาเป็นพิธีทางคติพระพุทธศาสนาคือ เมื่อถึงวันตรุษเขาก็จัดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย เป็นนักขัตฤกษ์ใหญ่ นิมนต์พระสงฆ์มาสวด ๓ วัน คือ วันแรม ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เพื่อขอพรให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข คำสวดทั้งหมดเป็นภาษาลังกา ไทยเราได้ตำราตรุษที่ชาวลังกาคิดแก้ไขนั้นมาทำตาม พิธีตรุษมามีขึ้นในไทย

เมื่อครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ก็ปรากฏว่ามีพิธีนี้ขึ้นแล้ว ดังปรากฏตามที่หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ดังนี้

“ครั้นเดือน ๔ ถึงการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ โลกสมมติเรียกว่าตรุษฝ่ายพุทธศาสตร์ ชาวพนักงานก็ตั้งบาตรน้ำ บาตรทรายจับด้ายมงคลสูตรใส่ลุ้งไว้ในโรงราชพิธีทั้ง ๔ ทิศ พระนครและในพระราชนิเวศน์ จึงอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานอาราธนาพระมหาเถรานุเถร ผลัดเปลี่ยนกันมาจำเริญพระปริตร ในโรงราชพิธีทุกตำบลสิ้นทั้งทิวาราตรีสามวาร และด้ายมงคลสูตรนั้นชาวพนักงานแจกให้พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน เมื่อวันพระมหาเถรเจ้าจำเริญพระอาฏานาฏิยสูตรในราตรี หมู่ทหารยิงปืนใหญ่รอบพระนคร ฝ่ายพราหมณาจารย์ประชุมกันผูกพรตกระทำการพระราชพิธีในพระเทวสถานหลวง ตั้งเครื่องพลีกรรมสังเวยบวงสรวงพระเทวรูปทั้งมวล มีพระปรเมศวรเป็นต้น แล้วก็เปลี่ยนเวรกันอ่านอาคมในทิวาราตรีทั้งสาม...ครั้นเพลาพลบค่ำสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพร้อมด้วยพระราชเทพีและพระบรมวงศา พระสนมกำนัล นางท้าวชะแม่จ่าชา ยังหน้าพระลานด้านประจิมทิศ โรงราชพิธีในอันมีม่านกั้นกำบังสว่างไปด้วยแสงโคมประทีปชวาลา ทรงสถิตในมาฬกดาดเพดานผ้าขาวเป็นพระที่นั่งแล้ว ก็ทรงสมาทานบัญจางคิดศีลพร้อมด้วยหมู่ข้าเฝ้าฝ่ายหน้าฝ่ายใน ต่างสดับฟังพระมหาเถรเจ้าจำเริญพระรัตนสูตร และพระอาฏานาฏิยสูตรโดยสัจเคารพ ชาวพนักงานฝ่ายทหารก็ยิงปืนน้อยใหญ่รอบราชธานี สำหรับขับภูตปิศาจจนสิ้นราษราตรี นับได้ ๑๐๘ คราวปืน ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันสิ้นปี ก็ทรงปรนนิบัติพระมหาเถรเจ้าด้วยของคาวหวานอันประณีต ถวายไตรจีวรบริขารสมณะสิ้นทุกพระองค์ แล้วก็ตั้งกระบวนแห่เป็นปัญจพยุหะ หมู่ทหารแต่งครบมือ ประดับกายใส่เสื้อหมวดสีต่างๆ ถือธงฉานธงชายสรรพศัสตราวุธด้วยเครื่องพระอภิรมย์ และกลองอินทเภรี แตรสังข์มโหระทึกกังสดาลฉาบแฉ่ จึงเชิญพระพุทธปฏิมาขึ้นทรงพระราชยานมีฉัตรกั้นบังพระสูรย์ อาราธนาพระมหาเถรเจ้าทั้งหลายขึ้นสถิตยานราชรถและรถประเทียบเรียบเรียงกระบวนแห่นั้นเป็น ๕ กระบวน ประน้ำพระพุทธมนต์และโรยทรายรอบพระนิเวศน์นั้นกระบวนหนึ่ง รอบพระนครตามท้องสถลมารคนั้น ๔ กระบวน ดูเป็นสง่างามยิ่งนัก เหล่านักเลงก็เล่นมหรสพเอิกเกริกสมโภชบ้านเมือง เป็นการนักขัตฤกษ์ บรรดานิกรประชาราษฎรชายหญิงก็แต่งตัวนุ่งห่มประดับกายอ่าโถง พากันมาเที่ยวดูแห่ดูงาน นมัสการพระในวันสิ้นปีและขึ้นปีใหม่เป็นอันมาก และหมู่พระสนมกำนัลนางในทั้งหลาย ก็ประดับกายด้วยเครื่องสรรพาภรณ์ตามเสด็จสมเด็จพระร่วงเจ้าออกทางท้องฉนวนวัดหน้าพระธาตุ ถวายข้าวบิณฑ์บูชาพระรัตนตรัย แล้วประโคมดุริยางค์ดนตรีขับร้องฟ้อนรำสมโภชพระพุทธปฏิมากรโดยนิยมดังนี้

พูดถึงพิธีต่างๆ ที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาแล้ว พิธีตรุษอยู่ข้างจะเรื่องมากกว่าทุกพิธี ตามที่ปรากฏมาแต่เก่าก่อน เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาสวดอาฏานาฏิสูตรตลอดคืนยังรุ่งในพระบรมมหาราชวัง และผู้ที่เข้าอยู่ในพิธีนี้ต้องสวมมงคลพิสมรและถือกระบองเพชร การที่ให้สวดอาฏานาฏิยสูตรนั้น ประสงค์จะให้เป็นการระงับภัยอันตรายแก่มนุษย์ทั่วพระราชอาณาเขต ตามพระบรมพุทธานุญาต การให้สวมมงคลพิสมรและถือกระบองเพชรนั้น เพื่อให้ทราบว่า ผู้นั้นเข้าอยู่ในพิธีหรือให้แลเห็นว่าส่งอันเป็นมงคลซึ่งเกิดด้วยคุณพระปริตรที่พระสงฆ์สวดนั้น ตั้งอยู่ในตัวผู้นั้นแล้ว แต่กลับมีผู้เข้าใจกันไปว่า การที่พระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยสูตรหรือภาณยักษ์ ภาณพระนั้น เป็นการขู่ตวาดให้ตกใจกลัว แล้วยิงปืนกระหน่ำสำหรับให้ผีวิ่ง จนถึงคนแก่คนเฒ่าต้องหาขมิ้นกับปูนตั้งไว้ตามข้างที่หลับที่นอนในเรือนสำหรับให้ผีญาติพี่น้องและผีเรือนที่ตกใจปืน เที่ยววิ่งจนปากแตกสีข้างหักจะได้หยิบทา แล้วทำต้นไม้ผูกของกินเล็กๆ น้อยๆ มีกระบอกเล็กกรอกน้ำแขวนกับกิ่งไม้ผูกไว้ที่บันไดเรือน เรียกว่า “ข้าวผอกกระบอกน้ำ” สำหรับผีที่วิ่งไปมาจนเหน็ดเหนื่อยเข้าจะได้หยิบกิน ทั้งห้ามไม่ให้ถ่ายอุจาระปัสสาวะลงล่อง ด้วยเข้าใจว่า จะไปเปียกเปื้อนผีที่วิ่งชุลมุนอยู่ตามใต้ถุน บางทีถึงกับร้องไห้สงสารผีที่ตัวรักใคร่ก็มี ในเรื่องสวมมงคลก็กลับถือกันไปว่า ถ้าไม่สวมผีจะวิ่งมาโดนหกล้มหกลุก หรือมาหลอกหลอนเอา จะทำให้ป่วยไข้ไปต่างๆ ถือกันมาจนถึงอย่างนี้จึงเรียกว่าพิธีตรุษเรื่องมากกว่าทุกพิธี แต่เดี๋ยวนี้เรื่องมากอย่างนั้นไม่มีแล้ว จะมากอยู่ก็แต่การทำบุญ การสนุกสนานรื่นเริง การพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งยังนิยมกันอยู่จนบัดนี้

คำว่า “สงกรานต์” แปลตามความหมายของศัพท์แล้ว หมายถึง “การย้ายที่” หรือ “การเคลื่อนที่” คือ เป็นวันที่พระอาทิตย์ได้ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันต้อนรับปีใหม่ มีอยู่ ๓ วันด้วยกัน คือ

๑.วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ
๒.วันเนาว์
๓.วันเถลิงศก

ใน ๓ วันนี้ มักจะตกอยู่ในระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ ของเดือนเมษายนแทบทุกๆ ปี วันที่ ๑๓ นั้น เป็นวันมหาสงกรานต์ ฯ เรื่องของสงกรานต์ ได้มีปรากฏเป็นศิลาจารึกอยู่ที่วัดพระเชตุพนว่า

เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้บ้านนักเลงสุรา นักเลงสุรามีบุตรสองคน มีผิวเนื้อเหมือนทอง วันหนึ่ง นักเลงสุรานั้นเข้าไปกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐีๆ จึงถามว่า เหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทต่อเราผู้มีสมบัติมาก นักเลงสุราจึงตอบว่า ถึงท่านมีสมบัติก็ไม่มีบุตร ตายแล้วสมบัติจะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นประเสริฐกว่า ท่านเศรษฐีมีความละอายจึงบวงสรวงพระอาทิตย์พระจันทร์ ตั้งอธิษฐานขอบุตรถึงสามปี ก็มิได้มีบุตร อยู่มาถึงวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีจึงพาบริวารไปยังต้นไทรอันเป็นที่อยู่แห่งฝูงนกทั้งปวงริมฝั่งน้ำ จึงเอาข้าวสารล้างน้ำเจ็ดครั้งแล้วหุงขึ้นบูชาพระไทร ประโคมพิณพาทย์ตั้งอธิษฐานขอบุตร พระไทรมีความกรุณาจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดแล้วจึงให้ชื่อว่าธรรมบาลกุมาร ปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ที่ใต้ต้นไทรริมฝั่งน้ำนั้น กุมารเจริญขึ้นก็รู้ภาษานก แล้วเรียนไตรเพทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่างๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง

ในขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม และกบิลพรหมองค์หนึ่งว่าเป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบจึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมารสามข้อ สัญญาไว้ว่าถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย  ปัญหานั้นว่า ๑.เช้าราศีอยู่ที่ใด ๒.เที่ยงราศีอยู่ที่ใด ๓.ค่ำ ราศีอยู่แห่งใด ธรรมบาลขอผลัดเจ็ดวัน

ครั้นล่วงไปได้หกวัน ธรรมบาลกุมารก็ยังไม่คิดเห็น จึงนึกว่าพรุ่งนี้จะตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม จำจะหนีไปซุกซ่อนตายเสียดีกว่า จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น  มีนกอินทรีสองตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้นเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่าพรุ่งนี้จะได้อาหารจากแห่งใด  สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสียเพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไร  สามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่ที่ใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด   นางนกถามว่าจะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก  เวลาค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า

ธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้น ก็กลับไปปราสาท ครั้นรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถามปัญหา ธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา  ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าเราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศฝนจะแล้ง  ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง  จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทักษิณารอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธธุลีเขาไกรกาศ บูชาด้วยเครื่องพิมพ์ต่างๆ  พระเวสสุกรรมก็นฤมิตรโรงแล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ ชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุม เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมูนาดลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ ครั้นถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์ นางเทพธิดาเจ็ดองค์จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ปทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวมหาพรหมนั้นเราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ ซึ่งมีชื่อต่างๆ กัน  การที่มีชื่อนางสงกรานต์ต่างๆ กันนั้น เขามีเกณฑ์ดังนี้ ถ้าปีใด วันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษ  ตรงกับวันจันทร์ชื่อ โคราค  ตรงกับวันอังคารชื่อ รากษส  ตรงกับวันพุธชื่อ มัณฑา  ตรงกับวันพฤหัสบดีชื่อ กิริณี  ตรงกับวันศุกร์ชื่อ กิมิทา  ตรงกับวันเสาร์ชื่อ มโหทร  ถ้าวันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอะไร ก็เป็นหน้าที่ของนางที่มีชื่อประจำวันนั้นจะต้องไปทำพิธี เช่น ปี พ.ศ.๒๕๑๖ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๓ เมษายน ก็เป็นหน้าที่ของนางสงกรานต์ชื่อกิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธมือขวาพระขรรค์ มือซ้ายพิณ พาหนะมหิงส์  ในปีนั้น ข้าวน้ำและผลไม้จะอุดมสมบูรณ์ แต่จะมีฝนและพายุจัด จะเกิดเจ็บตายกันมาก

ส่วนความเป็นมาของเรื่องสงกรานต์ที่มีเกี่ยวกับพุทธศาสนามีเรื่องและความเป็นมาดังต่อไปนี้
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงประทับอยู่ที่พระเชตวนารามมหาวิหาร อันอนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย และได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระสุริยเทพบุตรนั้นได้เสด็จอยู่ในวิมานมีกำหนดนานสักกี่วัน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสตอบว่า พระสุริยเทพนั้นได้เสด็จอยู่ในวิมาน ตามปรกติก็เพียง ๒๙ วันเท่านั้น  เมื่อล่วงเข้าวันที่ ๓๐ คือ ครบเดือนหนึ่งแล้ว พระสุริยเทพบุตรนั้นก็จะย้ายราศีรัศมีขึ้นไปเดินทางเบื้องบน ได้ย้ายราศีออกจากเหลี่ยมยอดเขาพระสุเมรุราช พระรัศมีของพระสุริยเทพบุตรแผดกล้ามากมีความร้อนแรงหนักหนา ทำให้ชาวโลกเรียกกันว่าเป็นวัน “สงกรานต์” ทำให้หมู่มนุษย์เกิดโรคปัจจุบันและมีความเจ็บไข้กันมาก อดอยากเรื่องอาหารการกินที่อยู่หลับนอน แล้วก็ถึงที่ตายลงก็มี บางปีข้าวยากหมากแพง บางปีข้าวปลานาเกลือบริบูรณ์ก็มี บางปีฝนตกในเดือนที่เป็นปฐม น้ำมาแต่ต้นปี ครั้นเมื่อถึงปลายปี น้ำนั้นก็ได้เหือดแห้งไปหมดก็มี บางปีเกิดอัคคีภัยทำให้ไฟไหม้บ้านเมืองก็มี บางปีท้าวพระยาเสนาบดีคิดทรยศต่อองค์พระมหากษัตริย์ และได้ทรงแสดงเหตุต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวกันกับสงกรานต์ แด่พระเจ้าปเสนทิโกศลจบลงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลอีกว่า จะให้มนุษย์นิกรชนทำอย่างไรกันดี จึงจะได้รอดพ้นจากความทุกข์ยากและความเจ็บไข้เป็นต้น

สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มนุษย์ชายหญิงพวกใดเป็นผู้มีความปรารถนาจะให้พ้นทุกข์ภัยอันตรายต่างๆ แล้วไซร้ มนุษย์ทั้งหลายจำพวกนั้นอย่าได้ประมาทในศีลทานการกุศลส่วนสุจริต ทำบุญให้ทานแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศีลธรรมอันดี ให้ทานแก่ยาจกวณิพกคนกำพร้าอนาถา เอาน้ำหอมที่ปรุงมาสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง สรงพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ รดผู้เฒ่าผู้แก่ ปูย่า ตายาย บิดามารดา ครูอุปัชฌาอาจารย์ ท่านเหล่านั้นก็ได้ให้ศีลให้พร เป็นที่เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไปโดยหาที่สุดมิได้ พึงรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ประการจงเป็นนิตย์ สดับตรับฟังพระเทศนาสั่งสอนมีจิตใจกรุณาเอ็นดูต่อสัตว์ ปล่อยนก ปล่อยปลา เต่า เป็นต้น จะได้รับผลานิสงส์ เสวยความสุขความเกษมสำราญเป็นอเนกประการ ทั้งจะเป็นผู้มีอายุเจริญยืนนาน ประกอบไปด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์ กำลังความเพียร เป็นอันมากหนักหนา ทั้งจะเป็นผู้ที่หาโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนมิได้ จะรอดพ้นจากทุกขภัยนานาประการ   เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับคำวิสัชนาพระพุทธองค์แล้วก็ทรงมีพระทัยปีติโสมนัส แล้วก็ทรงถวายบังคมลาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับพระราชฐานของพระองค์ แล้วได้ชักชวนประชาชนชาวเมืองของพระองค์ให้ประพฤติตามที่พระพุทธเจ้าวิสัชนานั้นทุกประการ  

ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้กับพระเจ้าปเสนทิโกศลก็มีมาเพียงนี้”



พิธีคเชนทรัศวสนาน

เป็นพิธีที่กระทำในเดือน ๕ สมัยสุโขทัย ในพิธีนี้มีสิ่งสำคัญ ๓ ประการ คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกรับเครื่องราชบรรณาการจากเจ้าเมืองขึ้น และรับดอกไม้ธูปเทียนทองเงินจากพระบรมวงศ์และข้าราชการเศรษฐีคหบดีนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างมีขบวนแห่คเชนทรสนาม ประกอบไปด้วยขบวนช้างม้า และทหารแต่งกายด้วยเสื้อหมวดสีต่างๆ มีฆ้องกลองแตรสังข์เดินผ่านพระที่นั่งถวายให้ทอดพระเนตร อีกอย่างหนึ่ง คือการรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์

พิธีแรกในพิธีคเชนทรัสวสนาน ในสมัยปัจจุบันไม่สามารถจะไปเปรียบกับพิธีอะไรได้ พิธีที่สอง เปรียบพิธีสวนสนามของทหารในปัจจุบัน ส่วนพิธีที่สามเป็นพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ และแยกออกจากพิธีตอนต้นแต่ในสมัยสุโขทัย และยังถือปฏิบัติกันมา

ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวเกี่ยวกับพิธีนี้ว่า
“เดือน ๕ ถึงการพระราชพิธีสนานใหญ่ ประชุมหมู่มุขมาตยาฝ่ายทหารพ่อเรือท้าวพระยาพระหลวง ผู้รั้งเมืองครองเมืองเอกโทตรีจัตวา และช่วงเมืองกิ่งเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือ บรรดาเป็นเมืองขึ้นออก และเศรษฐีมีทรัพย์ในตระกูลต่างๆ มากราบถวายบังคมสมเด็จพระร่วงเจ้าพร้อมกันต่างถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นต้นว่าดอกไม้เงินทอง สรรพสิ่งของอันประณีตและเป็นแก่นสาร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องราชกกุธภัณฑ์เสด็จออก ณ มุขเด็จพระที่นั่งอินทราภิเษก ชาวพนักงานก็ประโคมแตรสังข์กลองมโหระทึกจึ่งพระศรีมโหสถบิดาข้าน้อยนี้ท่านแต่งกรัชกายตามตำแหน่งยศบรมหงส์ ขึ้นสถิตนั่งเหนือตั่งอันหุ้มด้วยแผ่นเงิน น้อมเศียรศิโรตม์กราบบังคมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเบิกนามท้าวพระยาพระหลวงในกรุงนอกกรุง และเศรษฐีมีชื่อบรรดาถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงกราบใต้พระบาทบงกช แล้วก็รับพระราชปฏิภาณฉลองพระโอษฐ์ โดยข้อพระราชปฏิสันถารปราศรัย เสวกามาตย์ทั้งมวลสิ้นวาระสามคาบ ครั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินขึ้นแล้ว ขณะนั้นชาวพนักงานระเบ็งก็รำขับร้องให้ท้าวพระยาทั้งหลายทอดทัศนาจนสิ้นเพลาเลี้ยงเป็นประเพณี พิธีสนานใหญ่ชาวพระสนมกำนัลต้องร้อยกรอง ร้อยบุปผชาติเป็นรูปสัณฐานต่างๆ ใส่เมี่ยงหมากถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพระราชทานลูกขุนซึ่งมาประชุมกัน การอันนี้ก็เป็นการนางในทั้งปวงกระทำประกวดฝีมือกันทุกครั้ง แต่ก่อนข้าน้อยก็ยังหาเคยกระทำไม่ แต่ทว่าเคยได้เห็นได้ฟังว่าทั้งหลายร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสิงสัตว์จตุบาททวิบาทชาติมัจฉาผลาผล ข้าน้อยจึ่งเลือกพรรณบุปผชาติที่มีสีเหลือง มีดอกการะเกดและดอกกรรณิกาเป็นต้นมา คิดกรองร้อยเป็นรูปพานสองชั้นรองขันแล้วก็ซ้อนประดับดอกไม้สีแดงขาวและสีต่างๆ แก่อ่อนประสานกันเป็นระย้าระบาย จึงแต่งเมี่ยงหมากอบรมด้วยเครื่องหอมใส่ลงในขันมีตาข่ายดอกไม้ปกคลุม ครั้นแล้วก็นำขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกันกับพวงมาลัย พระสนมกำนัลทั้งปวง สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงทอดทัศนาทั่วไป ครั้นทรงเห็นพวงดอกไม้รูปพานขันหมากของข้าน้อยนี้ ก็ชอบพระราชอัชฌาสัย จึ่งดำรัสว่า อันคนดีมีปัญญาแล้วจะกระทำการสิ่งใดก็ถูกต้องเป็นที่จำเริญใจจำเริญตาหมู่ชนชายหญิง อันดอกไม้ร้อยรูปพานขันหมากนี้ ควรจะเป็นแบบอย่างไว้ในแผ่นดินได้ จึงดำรัสสั่งชาวพนักงานให้ยกพานขันหมากไปตั้งให้พระยามหาอุปราชบริโภค และดอกไม้ร้อยรูปต่างๆ ของนางในทั้งหลายนั้น โปรดให้พระราชทานหมู่มุขมนตรีทั้งสองฝ้าย แล้วสมเด็จพระร่วงเจ้าทรงประกาศิตสาปสรรว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า กษัตริย์ก็ดี คหบดีเศรษฐีและตระกูลทั้งหลายก็ดี ทั่วทุกราชธานีนิคมคามสยามภาษา แม้ผู้ใดจะทำการรับแขกเป็นการสนานใหญ่ มีการอาวาหวิวาหมงคลเป็นต้น จะร้อยกรองบุปผชาติใส่เมี่ยงหมากสู่แขก ก็ให้ร้อยกรองเป็นรูปพานขันหมากดังนี้ หรือจะเอาสิ่งใดๆ กระทำใส่เมี่ยงหมากก็ดี ก็จงกระทำเป็นรูปพานมีชั้นสองรองขันให้เรียกนามว่า พานขันหมาก ตราบกัลปวสาน


  เหตุดังนี้พระมหากษัตริย์ธิราชเจ้าสืบๆ กันมา จึงได้มีพานพระขันหมากเป็นพระเครื่องต้น และมีพานขันหมากสำหรับรับแขกบ้านเมือง ฝ่ายตระกูลนรชนชาติประชาชนชายหญิงทั้งหลาย มีคหบดีและเศรษฐีพราหมณาจารย์เป็นต้น ผู้ใดกระทำการอาวาหวิวาหมงคลก็ย่อมตกแต่งเมี่ยงหมากและของบริโภคต่างๆ ใส่พานเตียบนับด้วยสิบด้วยร้อยไปประชุมแขกและบวงสรวงเลี้ยงดูกัน ก็เรียกนามตามราชบริหารสรรสาปว่า กระทำขันหมาก จนเท่าถึงกาลทุกวันนี้ อันว่าข้าน้อยนพมาศคิดกรองร้อยพวงผกาเกศรเป็นรูปพานขันหมาก ต้องพระราชอัชฌาสัยสมเด็จพระร่วงเจ้า ก็ได้รับพระราชทานสักการะรางวัลเป็นอันมาก แล้วก็มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดิน

ครั้นเพลาบ่ายชายแสงในวันนั้น  พระมหาราชครูพราหมณ์พฤติบาศราชบรมหงส์ก็ประชุมหมู่พราหมณ์พฤฒิมาศในสถานพระเทวกรรม์ บันลือเสียงสังข์บูชาธนญชัยบาศบวงสรวงพร้อมด้วยพระยาพระหลวง นายทหารช้างทหารม้า ต่างโปรยปรายข้าวตอกดอกไม้สมิทธิสังเวยพระเทวกรรม์อังกุษาวุธและบ่วงบาศ โดยตำรับพระคชกรรมคเชนทราสนาน ครั้นเพลารุ่งขึ้นเช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พระที่นั่งไชยชุมพล พร้อมด้วยพระอัครชายา พระราชบรมวงศาและพระสนมกำนัลนางท้าวชาวชะแม่ อันงามด้วยตกแต่งกรัชกายนุ่งห่มประกวดกัน หน้าพระที่นั่งก็สะพรั่งพร้อมมาตยาข้าเฝ้านั่งบนร้านม้าห้าชั้น เห็นหลั่นลดตามผู้ใหญ่ผู้น้อย อันว่าประเทียบท้าวพระยาทั้งหลายฝ่ายทหารเรือนต่างแต่งตัวมานั่งเป็นพวกเป็นเหล่ากันตามระวางช่องสีมาหน้าพระกาลศาลหลวง ดาดเพดานผ้าขาวร่มแสงพระอาทิตย์ และวิถีทางท้องสนามในนางเรียงนั้นก็แน่นนันต์ไปด้วยหมู่ราษฎรประชาชายหญิง นุ่งห่มแพรม้วนตกแต่งตามตระกูลของตน ต่างคอยทัศนาขบวนแห่คเชนทรสนาน ฝ่ายพระครูพราหมณ์พฤฒิบาศก็เบิกโขลนทวารเดินขบวนแห่ช้างอันทรงพระเทวกรรม์ นำริ้วมาตามวิถีทองสนามหญ้าหน้าพระที่นั่ง งามทหารเดินแห่ล้วนแต่ใส่เสื้อหมวกสีต่างๆ ถือธงฉานธงชายไม้เส้าส้อมธนูศร เสียงกลองอินทเภรีแตรสังข์ดังเสนาะสนั่น เดียรดาษด้วยกระชิงกลิ้งกลดเครื่องคชาเฉลิมเกียรติ พระยาช้างระวางต้นเดินสนานงามด้วยลักษณะรูป มีเผือกสามตระกูลเนียมสาม ตระกูลสมพงศ์สุประดิษฐ์ดามพะจุม ปราสาทอำนวยกมุทบุษปะทันต์ไอยราทั้งสารทรงพระคชาธารที่นั่งเคนตะพัด ล้วนประดับด้วยเครื่องคชาภรณ์สุพรรณพิจิตรอันนายจำนำประจำขี่คชพลายพังทั้งมวลห่มเสื้อสีแดงแต่งตัวสง่างามอ่าโถง ถือขอเกราะง้าวขอไม้ ขอกละเม็ดขบวนสารซับมันมีช้าง นำช้างแทรกช้างผะชดชาย ให้บำรูสู้งาผัดพาฬล่อแพนถวายหน้าพระที่นั่ง แล้วก็เดินขบวนแห่ม้าระวางต้นมาเป็นขนัดล้วนประดับด้วยเครื่องอาชาสุวรรณวิไลมีจำนำประจำจูงประจำขี่แต่งตัวสะใส่เสื้อสีแดงโพกผ้าขลิบถือทวนทองเกาทัณฑ์แส้หอกซัด บ้างก็ขี่ให้พยศย่าง บ้างก็ขี่ขับควบอันว่าคชสารและอัสดรแต่ละตัวย่อมงามรูปและงามเครื่องแต่งจำเริญตายิ่งนัก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตรขบวนคเชนทรสนานสำราญราชหฤทัยทั้งพระอัครชายาบรมวงศาพระสนมกำนัล ท้าวพระยาข้าเฝ้าชาวประชาราษฎรทั้งหลายต่างเริงรื่นชื่นชมพระบรมโพธิสมภาร เป็นการนักขัตฤกษ์คเชนทรสนานสามทิวาวัน และวันเป็นประถมนั้นเดินพญาช้างและม้าระวางต้น วันคำรบสองเดินช้างม้าระวางวิเศษ วันคำรบสาม เดินช้างม้าระวางเพรียว

ครั้นเวลาตะวันบ่ายชายแสงและราษราตรี ชาวพนักงานก็เล่นเพลงไก่ป่าช้าหงส์และหนังรำ จุดดอกไม้พุ่มพะเนียงพลุระทากระถางเป็นการมหรสพสมโภชพระเทวกรรม์ที่หน้าพระเทวสถานหลวง เป็นธรรมเนียมถ้วนคำรบสามราตรีตามตำรับ

ครั้นถึง ณ วันพระบรมทินกรจรจากมินราศีประเวศขึ้นสู่เมษราศีเถลิงศกขึ้นปีใหม่ แต่บรรดาข้าเฝ้าพระบาททั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ก็ประชุมพร้อมกันรับพระราชทานน้ำพระพัฒน์  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งเจ้าพนักงานโปรดให้พระราชทานเงินประจำปีและพัสตราภรณ์แก่พระราชวงศาท้าวพระยาข้าเฝ้าทั้งสองฝ่ายในกรุงนอกกรุง ตลอดลงไปจนไพร่ประจำซองทั้งพระสนมกำนัลท้าวชาวมะแม่จ่าชา ตามตำแหน่งฐานาศักดิ์ถ้วนทุกหน้า เสร็จการพระราชพิธีสนานใหญ่ดังนี้”

นางนพมาศกล่าวในตอนต้นนั้น ทำให้เราทราบเรื่องเกี่ยวกับประเพณีในสมัยสุโขทัยที่ยังถือปฏิบัติกันมาทุกวันนี้ ก็คือ พานขันหมากที่ใช้สำหรับการแต่งงาน ซึ่งประเพณีแต่งงานก็คงปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ยังถือปฏิบัติกันมาทุกวันนี้ ก็คือ พานขันหมากที่ใช้สำหรับการแต่งงาน ซึ่งประเพณีแต่งงานก็คงปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ซึ่งไว้กล่าวในตอนหลัง ส่วนประเพณีที่ปฏิบัติต่อมาอีกพิธีหนึ่งคือ พิธีถือน้ำพิพัฒน์ นางนพมาศกล่าวว่าถือในวันสงกรานต์ ก็น่าเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง เพราะเหตุผลว่า การถือน้ำพิพัฒน์ในสมัยโบราณมักถือในวันสงกรานต์  

พิธีถือน้ำพิพัฒน์ สมัยปัจจุบันเรียกว่าพิธีศรีสัจจปานกาล หรือพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา คือพิธีสาบานตนของข้าราชการว่าจะไม่คิดทรยศต่อแผ่นดิน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2559 15:03:17 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2559 15:06:03 »


วิถีความเป็นอยู่ของคนไทยชนบท ในสมัยโบราณ
จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองแวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น

พิธีแรกนา

พิธีแรกนา หรือพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปัจจุบันใช้คู่กับพระราชพิธีพืชมงคล แต่พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีของสงฆ์ ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีของพราหมณ์ กล่าวในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ คือ
“ครั้นถึงเดือน ๖ เป็นการนักขัตฤกษ์ในพระราชพิธีไพศาลจรดพระนังคัล จึ่งพระครู พรหมพรตพิธีศรีบรมหงส์ก็ประชุมพราหมณ์ผูกพรตอัญเชิญพระเทวรูปเข้าสู่โรงราชพิธีอันแวดวงด้วยราชวัติฉัตรธง ณ ท้องทุ่งละหาน หลวงหน้าพระตำหนักห้าง ครั้นถึงกำหนดวันอุดมฤกษ์วันอาทิตย์ เป็นวันสำหรับกระทำมงคลการแรกนาขวัญ จึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเครื่องต้นอย่างเทศขัดพระแสงกั้นหยั่น เสด็จทรงพระอัศวราชเป็นพาหนะยาน พร้อมด้วยพระหลวงขุนหมื่นนายทหารม้าประจำขี่อัศดรโดยเสด็จพยุหยาตราขบวนเพชรพวง และพระอัครชายาพระราชวงศาพระสนมกำนัลเลือกแต่ที่ต้องพระราชหฤทัยให้โดยเสด็จล้วนแต่ตกแต่งกรัชกายอย่างนางเขียน ขึ้นรถประเทียบตามไปในขบวนหลัง ครั้นเสด็จถึงพระพลับพลาประทับ ณ ตำหนักห้าง จึ่งดำรัสสั่งออกญาพหลเทพย์ธิบดีให้เข้าสู่โรงราชพิธีถือเอาพัสตราภรณ์เพศกษัตริย์ แต่งกายอย่างลูกหลวงเอกยิ่งด้วยอิสริยยศในวันเดียวนั้น มีชีพ่อพราหมณ์บันลือเสียงสังข์และโปรยข้าวตอกนำหน้า และเมื่อออกจากโรงราชพิธีนั้น ก็แห่ด้วยกระชิงบังสูรย์ ครั้นเข้าสู่มณฑลห้องพระลานที่จะจรดพระนังคัล ชาวพระโคก็นำพระโคอุสุมภราชมาเทียมไถทอง พระครูพรหมพรตพิธีก็มอบยามไถและประตักทองให้ออกญาพหลเทพย์ ออกญาพหลเทพย์กราบถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แล้วก็รับยามไถไม้ประตัก อันว่าออกพระศรีมโหสถยศกมลเลศครรไลหงส์ผู้เป็นบิดาข้าน้อยนี้ ท่านแต่งกรัชกายบริสุทธิ์เศวตพัสตราภรณ์พร้อมเครื่องอัษฎาพรตเป็นพราหมณ์มหาศาลประเสริฐศักดิ์ ถือเอาไถเงินอันเทียมด้วยพระโคเศวตพระพร จึ่งออกพระวัธนะเศรษฐี อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัตินับเข้าในมหาศาล ท่านแต่งกายอย่างคหบดี ถือเอาไถอันหุ้มด้วยผ้ารัตกัมพลแดง เทียมด้วยพระโคกระวินกับทั้งไม้ประตัก พระโหราจารย์ก็ลั่นฆ้องชัยประโคมดุริยางคดนตรี นายจำนำก็จับจูงพระโคอุสุภราชอันเทียมไถเอก ซึ่งออกญาพหลเทพย์ธิบดีถือนั้น บ่ายบาทดำเนินจรดพระนังคัลเวียนซ้ายไปขวา ไถโทออกพระศรีมโหสถดำเนินที่สอง ไถตรีพระวัธนะเศรษฐี ดำเนินที่สามตามกันเป็นลำดับ พร้อมด้วยชีพ่อพราหมณ์ปรายข้าวตอกดอกไม้ บันลือเสียงสังข์ตีไม้บันเฑาะว์นำหน้าไถ ขุนบริบูรณ์ธัญญากับนายนักการนาหลวง แต่งตัวนุ่งผ้าเพลาคาดประคตใส่หมวกสาน ถือกระเช้าโปรยปรายหว่านพืชธัญญาหาร ตามทางไถจรดพระนังคัลถ้วนคำรบสามรอบ อันว่าชาวพนักงานก็เล่นการมหรสพ ระเบ็งระบำ โหม่งครุ่ม หกคะเมน ไต่ลวด ลอดบ่วง รำแพน แทงวิไสยไก่ป่าช้าหงส์รายรอบที่ปริมณฑลกระทำการแรกนาขวัญ เอิกเกริกได้ด้วยหมู่มหาชนชายหญิงพาบุตรนัดดามาทอดทัศนาเล่นสำราญใจ ครั้นเสร็จการไถหว่านแล้วก็ปลดปล่อยพระโคอุสุภราช โคเศวตพระพร โคกระวินออกให้กินเลี้ยงเสี่ยงทายของห้าสิ่ง ถ้าพระโคบริโภคข้าวและถั่วงาหญ้าน้ำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี และมิได้บริโภคก็ดี โหราพราหมณาจารย์ก็ทำนายทายทักว่าธัญญาหารจะได้ผลมิได้ผล น้ำมากน้ำน้อย ตามตำรับไตรเพท ขณะนั้นพระอัครชายาดำรัสสั่งนางพระสนม ให้เชิญเครื่องพระสุพรรณภาชนมธุปายาสขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเสวยแล้วก็ให้ชาวราชมัลเลี้ยงลูกขุนทั้งหลาย ด้วยข้าวมธุปายาสและของคาวตามลำดับ เสร็จการพระราชพิธีจรดพระนังคัลดังนี้

พิธีแรกนาขวัญ หรือพระราชพิธีจรดพระนังคัล จรดพระนังคัล แปลว่าจดไถหรือแรกไถ เป็นพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินไถนาเอง เพื่อตัวอย่างของประชาชน ได้รับมาจากอินเดียในสมัยพระเจ้าสุทโธทนะ สมเด็จพุทธบิดาของพระพุทธเจ้า เริ่มขึ้นในสมัยนั้นและแพร่ขยายมาเป็นพิธีทุกวันนี้ ในปัจจุบันมักใช้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเสมือนตัวแทนของพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ไถ หรือพระยาแรกนาเอง



พิธีวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชานี้ เป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งอีกวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือเป็นวันที่ประสูติจากพระครรภ์ของเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหนครต่อกัน  และเป็นวันตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี  และเป็นวันที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา ซึ่งเป็นดินแดนแห่งชาวมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย

จึงเป็นวันที่ชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้มีความรำลึกถึงพระพุทธคุณ และเป็นผู้มีกตเวทีต่อพระองค์ จึงได้พร้อมใจกันมาบูชาพระพุทธองค์ในวันวิสาขะ การบูชาในสมัยกาลนี้ จัดเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ครบทั้ง ๓ ประการ

การทำวิสาขบูชานี้ ได้มีปรากฏทำกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย จากหลักฐานตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวไว้ดังนี้
“ครั้นถึงวันวิสาขบูชาพุทธศาสน์ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและราชบริรักษ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน ทั้งอาณาประชาราษฎรทั่วทุกนิคมชนบทก็ประดับพระนครและพระราชวังข้างหน้าข้างใน จวนตำแหน่งท้าวพระยาพระหลวงและเศรษฐีชีพราหมณ์ บ้านเรือนโรงร้านพ่วงแพชนประชาชายหญิง ล้วนแต่แขวนโคมประทีปชวาลาสว่างไสว ห้อยย้อยพวงบุปผาชาติประพรมเครื่องสุคันธรส อุทิศบูชาพระรัตนตรัยสิ้นสามทิวาราตรี มหาชนชักชวนกันรักษาพระอุโบสถศีลสดับฟังพระสัทธรรมเทศนาบูชาธรรม บ้างก็ถวายสลากภัตตาหารสังฆทานข้าวบิณฑ์ บ้างก็ยกขึ้นซึ่งธงผ้าบูชาพระสถูปเจดีย์ บ้างก็บริจาคทรัพย์จำแนกแจกทานแก่ยาจกทลิทกคนกำพร้าอนาถาชราพิการ บ้างก็ซื้อถ่ายชีวิตสัตว์จัตุบาทชาติมัจฉาต่างๆ ปลดปล่อยให้ได้ความสุขสบาย อันว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและราชตระกูลก็ทรงศีลบำเพ็ญการพระราชกุศลต่างๆ ในวันวิสาขบูชาพุทธศาสน์เป็นอันมาก เพลาตะวันชายแสงก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยราชสุริยวงศ์นางในออกวัดหน้าพระธาตุราชอารามหลวงวันหนึ่ง ออกวัดราชบุรณะพระพิหารหลวงวันหนึ่ง ออกวัดโลกยสุธาราชาวาสวันหนึ่ง ต่างนมัสการพระรัตนัตยาธิคุณโปรยปรายผกาเกสรสุคันธรสสักการบูชา ถวายประทีปธูปเทียนเวียนแว่นรอบรัตนบัลลังก์ประโคมดุริยางคดนตรีดีดสีตีเป่า สมโภชพระชินศรี พระชินราช พระโลกนาถสัตถารศ โดยมีกมลโสมนัสศรัทธาทุกตัวตน อันพระมหานครสุโขทัยราชธานีถึงวันวิสาขนักขัตฤกษ์ครั้งใดก็สว่างไปด้วยแสงประทีปเทียน ดอกไม้เพลิง แลสล้างสลอนด้วยธงชายธงปฏากไสวไปด้วยพู่พวงดอกไม้กรองร้อยห้อยแขวน หอมตลบไปด้วยกลิ่นสุคันธรสรวยรื่น เสนาะสำเนียงพิณพาทย์ฆ้องกลองทั้งทิวาราตรี มหาชนชายหญิงพากันกระทำกองการกุศล เสมือนจะเผยซึ่งทวารพิมานฟ้าทุกฉ้อชั้น



พิธีเคณฑะ
เป็นพิธีทิ้งลูกข่างเสี่ยงทาย ถ้าลูกข่างหมุนนอนวันอยู่นานและมีเสียงดังก็จะเป็นศิริมงคล เป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์ กล่าวกันว่ามีขึ้นในสมัยสุโขทัย เช่นกัน จากตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงพิธีนี้ดังนี้
“ครั้นถึงเดือน ๗ นักขัตฤกษ์พระราชพิธีเคณฑะ ชาวพนักงานก็ตกแต่งสถานพระสยมภูวนาถ อันเป็นพระเทวสถานให้สะอ้านสะอาด ชาวพระนครก็มาสันติบาตประชุมกัน คอยดูพราหมณาจารย์จะทิ้งข่างเสี่ยงทาย จึ่งพระครูเททางคศาสตร์ราชไตรเพทกับหมู่พราหมณ์ ก็ผูกพรตบูชาสมิทธิพระเป็นเจ้าเป่าสังข์ถวายเสียง แล้วสังเวยบวงสรวงข่างอันกระทำด้วยทองเนาวโลหะใหญ่ประมาณเท่าผลแตงอุลิศ สมมติว่าพรพระสยม สามกำลังบุรุษจึ่งชักสายทิ้งข่างให้หมุนไปได้ อันข่างนั้นเป็นที่เสี่ยงทายตามตำรับไตรเพท ถ้าข่างเสียงเสนาะหมุนนอนวันได้บาทนาฬิกามีแต่ยิ่งมิได้หย่อน ก็กล่าวว่ามงคลประเสริฐนัก พระมหากษัตราธิราชเจ้าจะทรงสุรภาพพระเกียรติยศปรากฏไปในนานาประเทศทั้งปวง สมณชีพราหมณ์คหบดีเศรษฐีและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินสิ้นทั้งพระนคร ขอบขัณฑสีมาอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล จะอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากภัยอันตรายต่างๆ อนึ่งโสด แม้นว่าข่างมิได้นอนวัน ทั้งสำเนียงก็ไม่เสนาะสนั่น อันตรายด้วยเหตุต่างๆ พราหมณาจารย์ทำนายว่า บ้านเมืองจะมิสบายในขวบปีนั้น โดยนิยมดังข้าน้อยกล่าวนี้ ครั้นได้เพลาฤกษ์ พระครูเพทางคศาสตร์ราชไตรเพท ก็ให้นาลิวันนายพนักงานเชิญข่างขึ้นภัทรบิฐ หมู่พราหมณ์ทั้งมวลก็ดำเนินแห่ห้อมออกจากเทวสถานไปยังหน้าพระลานชัยอันแวดวงด้วยรั้วราชวัติเป็นที่ทิ้งข่าง จึ่งเอาสายไหมเบญพรรณยาวสิบสองศอกพันข่างร้อยช่องผัง ตั้งเท้าลงกับนางกระดานอันวางเหนือหลังภูมิภาคปัถพี พระครูพรหมพรตพิธีศรีบรมหงศ์ ก็อ่านอิศวรมนต์กำเนิดข่างสิ้นวาระสามคาบ นาลิวันสามนายชำนาญข่างก็ประจำข่างคอยทิ้ง ครั้นได้ฤกษ์โหราลั่นฆ้องชัยนาลิวันก็ทิ้งข่างวางสาย เสียงข่างดังกันวานเสนาะสนั่นดุจเสียงสังข์ หมุนนอนวันคันไม่สะบัดได้บาทนาฬิกาเศษ ข่างก็สำแดงความจำเริญให้เห็นประจักษ์ถ้วนคำรบสามครั้ง ชีพ่อพราหมณ์และท้าวพระยาบรรดาราษฎร ซึ่งประชุมกันทอดทัศนาข่างหมุนดังนั้น ก็ยินดีปรีดาโห่ร้องเต้นตำ บอกเล่ากันต่อๆ ไปว่า ในปีนี้บ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุข หมู่พราหมณาจารย์ก็เชิญข่างคืนเข้าสู่พระเทวสถาน อันว่าการพระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่างนี้ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมิได้เสด็จออกไปทรงทอดพระเนตรแต่กาลก่อนก็มิได้โปรดให้นางในไปทอดทัศนา ครั้นเมื่อข้าน้อยนี้เข้าไปรับราชการเป็นข้าพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชบรรหารดำรัสว่า ข้าน้อยเป็นชาติเชื้อตระกูลพราหมณ์ จึ่งโปรดให้ไปทอดทัศนาการพระราชพิธีเคณฑะกับพระสนมกำนัลซึ่งเป็นเชื้อพราหมณ์ด้วยกัน และที่นางในไปสถิตดูทิ้งข่างนั้น เรียกชื่อว่าโรงมานพที่พราหมณ์สวดมนต์เสร็จการพระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง ดังนี้


โปรดติดตามตอนต่อไป
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 มกราคม 2560 12:25:56 »

http://www.sookjaipic.com/images_upload/60349452123045_45.jpg
นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย


พิธีเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษานี้ ในบาลีมีชื่อเรียกสองอย่าง คือ เข้าพรรษาเรียกว่า วสฺสูปวาส จำพรรษาเรียกว่า วสฺสาวาส กำหนด ๓ เดือน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงกลางเดือน ๑๑ ซึ่งระยะนี้เป็นฤดูฝน

การเข้าพรรษานี้ เป็นพิธีหนึ่งที่นับเนื่องอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมของพวกเราชาวไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น เมื่อถึงวันเช่นนี้ พุทธศาสนิกชน จึงต่างประชุมบำเพ็ญกุศลกันในวัดหรือตามสถานที่ซึ่งจัดขึ้นเพื่อการพิธีทางศาสนาโดยเฉพาะ

เหตุที่จะเกิดให้มีการเข้าพรรษานี้ ก็เนื่องด้วยประเพณีของชาวมัธยมประเทศโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนต้องงดการไปต่างเมืองชั่วคราว เช่นผู้ที่เคยไปเที่ยวมาจากเมืองโน้นไปเมืองนี้ พ่อค้าเที่ยวค้าข้าวก็มี ผู้ที่วางตัวเป็นนักบวชไม่มีห่วงใยเที่ยวไปเที่ยวมาอยู่เช่นพวกเดียรถียร์และปริพพาชกถือลัทธิต่างๆ ก็ดี เมื่อถึงฤดูฝน ณ ที่ใด ต้องหยุดพัก ณ ที่นั้นตลอด ๓ เดือน เมื่อออกเดินทางต่อไปก็ต่อหมดฤดูฝนแล้ว ที่เป็นดังนี้เพราะทางเดินเป็นหล่มไปมาไม่สะดวก นอกจากนี้ยังจะถูกน้ำป่าไหลท่วมอีกด้วย ถึงแม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเสด็จจาริกไปมาอยู่ในเมืองต่างๆ มิได้ประทับอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นประจำ เมื่อถึงฤดูฝนพระองค์ก็หยุดประทับในเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นประจำ เมื่อถึงฤดูฝนพระองค์ก็หยุดประทับในเมืองใดเมืองหนึ่งเหมือนคนอื่นๆ ตอนแรกพระยังมีน้อย ถึงฤดูฝนท่านก็หยุดจาริกตามลำพังของท่านเอง เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประพฤติอยู่ ไม่ต้องตั้งธรรมเนียมขึ้นและไม่มีเหตุอันใดที่พระพุทธองค์จะทรงบัญญัติให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา การก็สงบมาจนกระทั่งมีภิกษุมากขึ้น วันหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ มีพระพวกนึ่งเรียกว่า ฉัพพัคคีย์มี ๖ รูปด้วยกันไม่รู้จักกาล แม้ในฤดูฝนก็ยังจาริกไปมา เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าหญ้าระบัดสัตว์เล็กๆ จนผู้คนพากันติเตียนว่า แม้พวกเดียรถีย์ ปริพพาชกก็ยังหยุด ที่สุดนกยังรู้ทำรังบนยอดไม้เพื่อหลบหนีฝน แต่พระสมณศากยบุตรทำไมมาเที่ยวอยู่ทั้ง ๓ ฤดู เหยียบหญ้าและต้นไม้ที่เป็นของเป็นอยู่ ทำสัตว์ทั้งหลายให้ตายเป็นอันมาก ความทราบถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมไว้ว่า เมื่อถึงฤดูฝนให้ภิกษุจำพรรษา คืออยู่ประจำที่ในฤดูฝนในที่แห่งเดียวตลอดฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงกลางเดือน ๑๑ เรียกว่า เข้าพรรษา  ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดมีการเข้าพรรษาสืบมาจนทุกวันนี้ เมื่อได้ทราบถึงเหตุผลของการเข้าพรรษาแล้ว ก็ควรจะทราบหน้าพุทธศาสนิกชนจะพึงปฏิบัติในวันเช่นนี้ต่อไป ซึ่งแยกเป็นพิธีสงฆ์ พิธีหลวง พิธีราษฎร์

พิธีสงฆ์ ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา พระท่านจัดทำความสะอาดเสนาสนะที่ชำรุดก็ซ่อมแซมให้มั่นคง ที่สกปรกมีหยักเยื่อหยากไย่ ก็จัดการปัดความชำระให้สะอาด ที่ต้องทำเสนาสนะให้สะอาดก่อน ก็เพื่อจะได้บำเพ็ญสมณกิจในวันเข้าพรรษาได้เต็มที่ พอถึงวันเข้าพรรษาวันแรก ท่านก็ประชุมพร้อมกันในโบสถ์ ไว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว กล่าวคำอธิษฐานพรรษา คือทำตั้งใจที่จะอยู่ตลอดฤดูฝนในวัดของท่าน ใจความของคำอธิษฐานนั้นมีว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในวัดนี้ตลอด ๓ เดือน กล่าว ๓ ครั้ง เสร็จแล้วพระผู้น้อยก็กล่าวคำขอขมาพระผู้ใหญ่ เป็นใจความว่าขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินไปในทางกาย วาจา ใจ เพราะ ประมาท  แล้วพระผู้ใหญ่ก็กล่าวตอบเป็นใจความว่า อดโทษให้ เป็นอันต่างฝ่ายต่างให้อภัยกันในความล่วงเกินที่ได้ทำมาแล้วก็จะสำรวมระวังต่อไป เป็นเสร็จพิธีใจวันนั้น ต่อแต่นั้นไปพระท่านก็จะมีดอกไม้ธูปเทียนไปตามวัดต่างๆ เพื่อขอขมาพระที่ท่านเคารพนับถือต่อไป เมื่อเสร็จพิธีเหล่านี้แล้ว ท่านก็เริ่มบำเพ็ญกิจวัตร เป็นต้น ว่า ศึกษาพระธรรมวินัย ให้โอวาทและอื่นๆ อันเป็นกิจของสมณะต่อไป นี้เป็นพิธีสงฆ์

พิธีหลวง เนื่องในวันนี้ได้มีพิธีทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จึงปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ดังนี้ “ครั้นถึงเดือน ๗ นักขัตฤกษ์บูชาใหญ่ การพระราชพิธีอาสาธมาสพระวรบุตรพุทธชิโนรสในพระศาสนา จะจำพรรษาเป็นมหาสันนิบาตทุกพระอาราม ฝ่ายพราหมณาจารย์ก็จะเข้าพรตสมาทานศีล บริโภคกระยาบวชบูชากูณฑ์พิธีกึ่งเดือน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงดำรัสสั่งนายนักการให้จัดแจงตกแต่งเสนาสนะทุกพระอารามหลวง แล้วก็ทรงถวายบริขารสมณะเป็นต้นว่าเตียงตั่ง ที่นั่งนอนเสื่อสาดลาดปูเป็นสังฆทาน และผ้าวรรษาบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมากรม พระปริยัติธรรมสิ้นไตรมาส ถวายธูปเทียนชวาลาน้ำมันตามไส้ประทีป แก่พระภิกษุสงฆ์บรรดาจำพระวรรษาในพระอารามหลวง ทั้งในกรุงนอกกรุงทั่วถึงกันตามลำดับ ประการหนึ่งทรงพระราชอุทิศเครื่องกระยาเสวยพลีกรรมเทวรูปในพระอารามหลวง ทั้งในกรุงนอกกรุงทั่วถึงกันตามลำดับประการหนึ่ง ทรงพระราชอุทิศเครื่องกระยาเสวยสังเวยพลีกรรมพระเทวรูป ในพระเทวสถานทุกสถาน ทั้งสักการหมู่พราหมณาจารย์ซึ่งจำพรต อ่านอิศวรเวทเพทางคศาสตร์บูชาพระเป็นเจ้าด้วยเศวตพัสตราภรณ์ และเครื่องกระยาบวชทั้งประทีปธูปเทียนวิเลปนะให้บูชากูณฑ์ โดยทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาไสยศาสตร์เจือกัน  ประเพณีนิยมอันนี้ก็ยังได้ปฏิบัติกันอยู่จนบัดนี้ เรียกว่า พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเข้าพรรษา”

พิธีราษฎร์ เนื่องในวันเข้าพรรษา ราษฎรผู้นับถือพระพุทธศาสนา ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย เช่น ในครั้งกรุงสุโขทัย ได้ปรากฏตามที่นางนพมาศกล่าวไว้ว่า “อันว่ามหาชนชายหญิงในตระกูลทั้งหลาย ก็ชักชวนกันทำกองการกุศลต่างๆ บรรดาผู้ไดได้สถาปนาพระอารามไว้ในพระศาสนา ก็บอกกล่าวป่าวบุญในหมู่ญาติและมิตรช่วยกันตกแต่งเสนาสนะถวายพระภิกษุสงฆ์ทั่วกันทุกพระอาราม และประชุมกันเป็นพวกเป็นเหล่าตามวงศ์ญาติและมิตรต่างตกแต่งกรัชกายประกวดกัน แห่เทียนจำนำพระวรรษาของตนๆ ไปทางบกทางเรือบ้าง เสียงพิณพาทย์ฆ้องกลองสนั่นไปทุกแห่งตำบล เอิกเกริกด้วยประชาชนคนแห่ดู ทั้งทางบกทางน้ำเป็นมหานักขัตฤกษ์ ในวันพระราชพิธีอาษาฒมาสบูชาใหญ่ ครั้นถึงอาอาวอารามของผู้ใดก็เลี้ยงดูกัน แล้วเชิญเทียนประทีปจำนำพระวรรษาเข้าตั้งในอุโบสถพิหาร จุดตามบูชาพระรัตนตรัยสิ้นไตรมาส สามเดือนทุกๆ อารามราษฎร ครั้น ณ วันกาฬปักษ์เอกดิถี เพลาตะวันชายแสงพระพุทธชิโนรส ก็สันติบาตประชุมกันเข้าพระวรรษา ณ พระอุโบสถทั่วทุกพระอาราม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกวัดหน้าพระธาตุ พร้อมด้วยพระอัครชายาและพระบรมวงศา พระสนมกำนัลชนทั้งหลายในตระกูลต่างๆ มีขัตติยตระกูลและพราหมณ์ตระกูล คหบดีตระกูลเป็นต้น ซึ่งมีประสาทศรัทธาเชื่อถือพระพุทธศาสนา ต่างชักประทีปบริวารทั้งบุตรหลานญาติและมิตรออกไปสโมสรสันติบาตพร้อมเพรียงกัน ณ พระอารามใหญ่น้อยทั่วทุกแห่งทุกตำบล อุทิศถวายอุทสาฎกและปัจจัยการถวายพระภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วถึงกัน แล้วมหาชนชายหญิงต่างตั้งปัญจางคประดิษฐสมาทานอุโบสถศีล อันมีองค์แปด ในสำนักพระมหาเถรทั้งหลาย บ้างก็ออกวจีเภทว่า ข้าพเจ้าจะรักษาอุโบสถ เป็นปาฏิหาริยะปักขอุโบสถสิ้นวสันตฤดูสี่เดือน บ้างก็สมาทานเป็นเตมาสิกนิพัทธอุโบสถ คือรักษาศีลในพระพรรษาสิ้นไตรมาสสามเดือน บ้างก็สมาทานเป็นเอกมาสิกพัทธอุโบสถ คือรักษาศีลตั้งแต่เพ็ญเดือน ๑๑ ไปจนถึงเดือน ๑๒ เสมอทุกวัน บ้างก็สมาทานเป็นอัฑฒมาสิกนิพัทธอุโบสถ คือรักษาศีลเสมอทุกวันในวันนศุกลปักษ์กาฬปักษ์กึ่งเดือน บ้างก็รักษาแต่ปกติ อุโบสถเดือนละแปดวันพระ บ้างก็สมาทานเป็นปฏิชาคระอุโบสถ มีวันรับวันส่งเดือนหนึ่ง รักษาศีลสิบเก้าวัน ทั้งสดับฟังพระธรรมกถึกสำแดงธรรมเทศนา และพระภิกษุสงฆ์สาธยายพระปริตรในที่นั้นๆ เสมอเป็นนิจทุกวันมิได้ขาดตราบเท่าสิ้นไตรมาสสามเดือนโดยนิยมดังนี้ อันว่าพระราชพิธีอาษาฒมาสบูชาใหญ่ ข้าน้อยได้คิดกระทำพนมดอกไม้ทองและกอโกสุมปทุมทองอันวิจิตตรด้วยวาดเขียน นำขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงสักการบูชาพระรัตนตรัยบ้าง พระเทวรูปบ้าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พึงพอพระอัชฌาสัยจึ่งดำรัสชมข้าน้อยว่าเป็นคนฉลาดคิด โปรดพระราชทานสักการรางวัลเป็นอันมาก แต่นั้นมามหาชนชายหญิงทั่วทั้งพระนครก็ถือเป็นแบบอย่าง ต่างกระทำพนมดอกไม้และกอปทุมชาติมีพรรณต่างๆ บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีอาษฒมาสมากขึ้นทุกปี ฝ่ายนางในทั้งหลายก็ถืออย่างกระทำพนมดอกไม้ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานรางวัลตามฝีมือและปัญญาด้วยกันเป็นอันมาก จึ่งพระบาทสมเด็จพระร่วงเจ้าแผ่นดินมีพระราชบริหารสาปสรรว่าเบื้องหน้าแต่นี้ไป ชนชายหญิงในพระราชอาณาเขตประเทศสยามภาษา บรรดาเป็นสัมมาทิฐิให้กระทำพนมดอกไม้กอบัวบูชาพระรัตนตรัย ในพระราชพิธีอาษฒมาส ให้เรียกนามพนมดอกไม้ว่า พนมพระวรรษา อย่ารู้สาบสูญเท่ากับปาวสาน ข้าน้อยนพมาสก็ถือมีชื่อเสียงว่า เป็นคนฉลาดปรากฏอยู่ในนามแผ่นดินได้อีกอย่างหนึ่ง เสร็จการพระราชพิธีอาษฒมาสบูชาใหญ่ ดังนี้ฯ..


โปรดติดตามตอนต่อไป
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2560 16:21:49 »



http://www.sookjaipic.com/images_upload/60349452123045_45.jpg
นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย


พิธีพิรุณศาสตร์

พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ นี้ แต่ก่อนนี้คงมีแต่พิธีพราหมณ์อย่างเดียว ครั้นต่อมาได้เกิดพิธีสงฆ์ คือทำรวมกันขึ้น ในสมัยปัจจุบันพระราชพิธีไม่มีแล้ว เพราะอาจถือว่าเป็นพิธีไม่ค่อยน่าดู แต่อย่างไรก็ตาม บางชนบทก็ยังมีพิธีนี้อยู่ เรียกว่า ประเพณีแห่นางแมว

ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีนี้ว่า เป็นประเพณีของพราหมณ์อ่านพระเวทขอฝนจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและพระมหาพิฆเณศวร์ ตลอดจนเทวดาทั้งหลาย กล่าวไว้ดังนี้ คือ
“ครั้นถึงเดือน ๙ พราหมณาจารย์ก็พร้อมกันกระทำการพระราชพิธีพรุณศาสตร์ตั้งเกยสี่เกยที่ลานหน้าพระเทวสถานหลวง ประดับด้วยฉัตรธง อันกระทำด้วยหญ้าคา หญ้าตีนนก อ่างทองสัตโลหะสี่อ่าง อ่างหนึ่งเต็มไปด้วยเปลือกปลูกชาติสาลีมีพรรณสองคือ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว สามอ่างนั้นใส่มูลดินอันเจือด้วยโคมัย ปลูกถั่วงาอ่างหนึ่ง ปลูกม่วงพร้าวอ่างหนึ่ง ปลูกหญ้าแพรกอ่างหนึ่ง หญ้าละมานอ่างหนึ่ง ลงยันต์พรุณศาสตร์ปักกลางอ่างๆ ละคน ตั้งไว้บนนางกระดานแป้นปักตรงหน้าเกย ครั้นถึงวันกำหนดฤกษ์ หมู่พราหมณ์ทั้งหลายมีพระครูพรมพรตพิธีศรีบรมหงส์เป็นประธาน ต่างน้อมปัญจางค์บวงสรวงสังเวยพระเจ้าตั้งสัตยาธิษฐาน ขอให้ฝนตกชุกชุมทั่วทุกอาณานิคมเขตขอบขัณฑสีมา กรุงพระมหานครสุโขทัยราชธานีบุรีรัตน์ให้ชุ่มแช่ชาติสาลีอันมีพรรณต่างๆ ซึ่งเป็นของเลี้ยงชีพชนประชาชนชายหญิง สมณพราหมณาจารย์ทั่วทั้งแผ่นดินจงบริบูรณ์ด้วยเมล็ดรวง ปราศจากด้วงแมลง ด้วยอำนาจวัสสวลาหกและพรพระสยม อนึ่งโสตอันว่าลดาชาติทั้งหลายมีถั่วงาเป็นต้น ขอจงบริบูรณ์ด้วยพืชผลให้ล้นเหลือ จะได้เป็นเครื่องกระยาบวชบำบวงสรวง อนึ่งเล่าพรรณรุกชาติต่างๆ มีม่วงพร้าวเป็นต้น ขอจงบริบูรณ์ด้วยดอกดวงพวงผล จะได้เป็นอาหารแห่งหมู่มนุษยนิกรทั้งผอง ประการหนึ่งตฤณชาติต่างพรรณอันเขียวขจิตงามด้วยยอดและใบ มีหญ้าแพรก หญ้าละมานเป็นต้น สำหรับเป็นภักษาหารช้างม้า โคกระบือ ขอจงงอกงามตามชายหนองคลองน้ำไหล ด้วยอำนาจวัสสวลาหกให้บริบูรณ์ ครั้นกล่าวคำอธิษฐานแล้ว จึ่งพราหมณาจารย์ทั้งสี่ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระเวทเพทางคศาสตร์แต่งกายสยายมวยผม นุ่งอุทกสาฎกถือเอาธงปฏากสีมอดุจเมฆมืดฝน อันรายยันต์พรุณศาสตร์ตามขอบข้างละสี่คู่ ซึ่งปักบูชาไว้คนละคันโดยสัจเคารพพระครูพรมพรตพิธีเป่าสังข์ดำเนินนำหน้าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย ก็แห่ห้อมออกจากพระเทวสถานไปยังเกย ขึ้นสถิตยืนอยู่บนเกย เกยละคนต่างอ่านโองการประกาศแก่วัสสลาหกตามตำรับอิศวรเวทขอฝน สิ้นวาระสามดาบ โบกธงธวัชกวัดแกว่งบริกรรมอิศวรเวทขอฝน สิ้นวาระสามคาบ โบกธงธวัชกวัดแกว่งบริกรรมอิศวรเวทขอฝน ตามตำรับไตรเพท สิ้นวาระสามคาบแล้วก็ลงจากเกยคืนเข้าสู่พระเทวสถาน พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้พระมนต์พรุณศาสตร์ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นยืนบนเกย โบกธงร่ายเวทขอฝนวันละสองเพลา คือ เช้าและเย็นถ้วนคำรบสามทิวาในวันนักขัตฤกษ์ อันว่าการพระราชพิธีพรุณศาสตร์นี้ ข้าน้อยมีอายุ ๗ ขวบปลาย ได้ตามพระศรีมโหสถผู้เป็นบิดาไปทอดทัศนาครั้งหนึ่ง จึ่งจำไว้ได้ฯ”

ถ้าจะสังเกตให้ดี จากข้อความดังกล่าว เราจะเห็นว่าพิธีในสมัยสุโขทัย ไม่มีการปั้นรูปบุรุษกับสตรีเปลือยกาย ตามแบบฉบับจริงของพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ หรืออาจเป็น นางนพมาศผู้เขียนอายุยังน้อยและไม่ทราบถึงความสำคัญในการปั้นรูปเปลือยจึงไม่ได้นำมากล่าว หรืออาจนางเป็นสตรีผู้ดีพร้อมและไม่กล้าเอ่ยคำหยาบช้าเกี่ยวกับรูปปั้นเปลือย อันเป็นวิสัยของสตรีทั่วไปก็เป็นไปได้ตามข้อสันนิษฐานของผู้รายงานก็มีแต่เพียงสำหรับพระราชพิธีนี้


พิธีกวนข้าวทิพ

พิธีกวนข้าวทิพ ในสมัยปัจจุบันเรียกว่า พิธีสารทไทย ซึ่งส่วนมากเป็นวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ พิธีนี้เป็นการทำบุญในฤดูที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม เพื่อจะให้เป็นสิริมงคลในนา อีกอย่างหนึ่งเขาทำเพื่อเซ่นบุรพชน คือ บิดา ปู่ ทวด ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อพิธีนี้ตกเข้ามาเมืองไทย ก็พลอยประพฤติตามพิธีของพราหมณ์ไปด้วย ผู้ที่เคยถือศาสนาพราหมณ์ เมื่อเคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ครั้นกลับมาถือพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อนาบุญวิเศษยิ่งกว่าพราหมณ์ เมื่อถึงกำหนดที่ตนเคยทำบุญก็ไม่ละเลยเสีย จึงได้จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ครั้นกลับมาถือพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อนาบุญวิเศษยิ่งกว่าพราหมณ์ เมื่อถึงกำหนดที่ตนเคยทำบุญก็ไม่ละเลยเสีย จึงได้จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำกับพราหมณ์ ดังนั้น พิธีพราหมณ์จึงได้ระคนปนอยู่ในพุทธศาสนา กล่าวในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ดังนี้
“ครั้นถึงเดือน ๑๐ ถึงการพระราชพิธีภัทรบทเป็นนักขัตฤกษ์ มหาชนกระทำมธุปายาสทาน และจะเด็ดรวงข้าวสาลีเป็นปฐมเก็บเกี่ยว ชีพ่อพราหมณ์ทั้งปวงก็เริ่มการพลีกรรมสรวงสังเวยพระไพสพ ตั้งปัญจมหาสาครเต็มด้วยน้ำในพระเทวสถาน อบรมน้ำด้วยเครื่องสุคนธชาติและบุปผชาติให้มีกลิ่นหอมเป็นอันดีแล้วจึ่งเชิญพระเทวรูป ๑๖ ปางลงโสรจสรง อ่านพระเวทเผยศิวาลัย เพื่อจะให้บำบัดอุปัทวะจัญไรภัยพยาธิทุกข์โทษต่างๆ อันว่าหมู่พราหมณ์บรรดาซึ่งได้เล่าเรียนไตรเพท ย่อมถือลัทธิว่าเดือน ๑๐ เป็นปฐมครรภสาลี มหาชนจะเก็บเกี่ยวมากระทำมธุปายาสยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เพื่อจะให้มงคลแก่ข้าวในนา อันเมล็ดรวงข้าวนี้เป็นปางพระไพสพ แม้ชาติพราหมณ์ผู้ใดยังมิได้ลอยบาปจะพึงบริโภคมธุปายาสและยาคูอันบุคคลกระทำด้วยปฐมครรภชาติสาลี ก็บังเกิดทุกข์โทษอุปัทวะจัญไรแก่ตน ทั้งปราศจากความสวัสดิมงคลแก่นรชาติทั้งหลาย เหตุดังนั้นพราหมณาจารย์ผู้รู้เพทางคศาสตร์ จึงกระทำพิธีภัทรบทลอยบาป ฝ่ายข้างพุทธศาสนาพระราชพิธีภัทรบทนี้ เป็นสมัยหมู่มหาชนกระทำมธุปยาสยาคู อังคาสพระภิกษุสงฆ์และเลี้ยงพราหมณ์ ทั้งบูชาพระรัตนตรัยพรรณผ้ากระทำเป็นธงแล้ว และอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้แก่ญาติอันไปสู่ปรโลกเป็นปรมัตตูปชีวีเปรต และนักขัตฤกษ์พระราชพิธีภัทรบทนี้ พุทธศาสน์ไสยศาสตร์เจือกันโดยโบราณราช ครั้นถึง ณ วันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ แรมค่ำหนึ่ง หมู่พราหมณาจารย์ผู้ซึ่งจะลอยบาป มีพระศรีมโหสถบิดาข้าน้อยนี้เป็นต้น ต่างถือสังข์บ้าง กลดสัมฤทธิ์บ้าง มายังพระเทวสถานบูชาพระเป็นเจ้าแล้ว จึ่งเชิญปัญจมหานทีในขันสาครซึ่งสมมติว่าเป็นน้ำล้างบาปใส่สังข์ใส่กลด แล้วนำลงไปยังท่าน้ำพร้อมด้วยบริวารยศ แหงนหน้าดูดวงพระอาทิตย์อันส่องแสง แม้เห็นบริสุทธิ์ปราศจากเมฆหมอก จึงเอาเป็นฤกษ์ที่จะต้องลอยบาป บางคนกระทำในเพลาราตรี เอาบริสุทธิ์แห่งดวงจันทร์เป็นฤกษ์ พราหมณ์ทั้งหลายนั่งห้อยเท้าเหยียบสายน้ำไหล อ่านอิศวรอาคมสิ้นวาระสามคาบแล้ว จึงรินวารีในสังข์ในกลดลงในลำคงคา แล้วก็จุ่มกายสยายมวยผม อาบน้ำดำเกล้าชำระขัดสีกรัชกายให้ปราศจากเหงื่อไคล บริสุทธิ์สบายทั้งกายจิตเป็นอันดีแล้วจึงยืนยันฝั่งน้ำผลัดอุทกสาฏฟทั้งนุ่งห่มออกจากกาย วางเหนือแพหยวกบ้าง วางเหนือเฟือยสวะบ้าง ขอนไม้บ้าง ไสเสือกให้ลอยไปตามกระแสน้ำไหล ซ้ำร่ายพระเวทลอยบาปบอกบริสุทธิ์ต่อพระคงคา แล้วก็กลับคืนยังเคหฐานแห่งตน อันพิธีลอยบาปนี้ทำได้แต่ในสามวัน วันเป็นประถมนั้น พราหมณมหาศาลตระกูลยิ่งด้วยทรัพย์สมบัติศฤงคารบริวารยศลงลอย วันเป็นคำรบสองนั้นหมู่พราหมณาจารย์ผู้ชำนาญเพทางคศาสตร์อาคมลงลอย วันเป็นคำรบสามนั้น พราหมณ์ภิกขาจารซึ่งประพฤติวัตรปรนนิบัติต่างๆ ลอย ฝ่ายพุทธศาสตร์ราชบุรุษชาวพนักงานก็ตกแต่งโรงราชพิธีในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงและภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นายนักการละหานหลวงก็เก็บเกี่ยวครรภสาลีและรวงข้าว มาตากตำเป็นข้าวเม่าข้าวตอก ส่งต่อมนเพียรบาลวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำขีรารสมาส่งตุดเดียวกัน ครั้นถึงวันรับพระราชพิธีภัทรบท คือวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เพลาเช้าเป็นวันธรรมดาฤกษ์ จึงสมเด็จพระอัครชายาทั้งสองพระองค์ทรงประดับพระบวรอินทรีย์ด้วยเครื่องขัตติยอาภรณ์ เสด็จยังโรงราชพิธีพร้อมด้วยประเทียบลูกขุน ทรงสถิตสุวรรณบัลลังก์กั้นเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ดำรัสสั่งให้จ่าชาชาวเวรเครื่องทั้งมวล ตกแต่งมธุปายาสปรุงปนคนระเจือล้วนแต่ของโอชารส มีขัณฑสกรและน้ำผึ้ง น้ำอ้อยน้ำตาลทธินมสดเป็นต้น ใส่ลงในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง จึงให้สาวสำอางกวนมธุปยาสเป็นฤกษ์โดยสังเขป ชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ฆ้องกลองเป่าเล่นการมหรสพ ระเบ็งระบำล้วนแต่นารี ครั้นกวนมธุปายาสสำเร็จแล้วก็กวนข้าวยาคู เอาถั่วงาระคนปนครรภสาลีที่แย้มยอดเจือด้วยขีรารสขัณฑสกรน้ำตาลกรวด ให้โอชารสสำเร็จเป็นอันดี ในเพลาเช้าวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เป็นประถมภัทรบทนี้ จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าพระราชดำเนินออกวัดหน้าพระธาตุพร้อมด้วยราชสุริยวงศ์ และพระสนมกำนัลนางท้าวชาวชะแม่ โดยเสด็จทรงอังคาสพระมหาเถรานุเถระด้วยมธุปายาสยาคูขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตสำเร็จแล้ว จึงทรงบูชาพระรัตนตรัยด้วยธงพรรณพัสตร์สีต่างๆ อันชาวช่างฉลุฉลักเป็นรูปจิตรกรรมลดากรรมถวาย ทั้งสมณบริขารและคิลานเภสัชเป็นบริวารทานทั่วไปแก่พระภิกษุสามเณร แล้วก็ทรงสิโณทกอุทิศส่วนพระกุศล ส่งไปยังพระบรมญาติทั้งปลายในปรโลก อันว่านางในทั้งปวงต่างคนต่างถวายทานด้วยมธุปายาสยาคูธงปฎาก พวงบุปผามาลัย ตั้งจิตแผ่ส่วนกุศลไปให้แก่หมู่ญาติซึ่งมรณะ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในนักขัตฤกษ์พระราชพิธีภัทรบทถ้วนสามทิวาวันโดยนิยมดังกล่าวนี้แล้ว จึงโปรดให้ประชุมพราหมณาจารย์มากกว่าร้อย ณ พระเทวสถานหลวง ดำรัสสั่งชาวพนักงานให้เลี้ยงพราหมณ์ด้วยมธุปายาสยาคูต่อไปสิ้นคำรบสามวันทั้งพระราชทานคู่ผ้าสาฎกทั่วทุกตัวพราหมณ์ อันหมู่พระสนมกำนัลซึ่งถือไสยศาสตร์ด้วยนั้น ก็สักการระหมู่พราหมณ์ด้วยมธุปายาสยาคู ผ้านุ่งห่มเพื่อจะให้เป็นมงคลแต่ตัว  อนึ่งโสด มหาชนชายหญิงมีขัตติยตระกูลเป็นต้น บรรดาซึ่งเป็นสัมมาทฤษฐินับถือพระรัตนตรัยนั้น ที่มีไร่ละหานต่างก็เกี่ยวกับรวงข้าวมาตากตำกระทำเป็นมธุปายาสยาคู เจือด้วยน้ำนมสดอังคาสพระภิกขุสงฆ์เอิกเกริกไปทุกบ้านทุกเรือน บ้างก็ยกธงผ้าแพรขึ้นบูชาพระสถูปเจดีย์ บ้างก็อัญเชิญพราหมณ์มาเลี้ยงด้วยปายาส ถึงว่าชาติตระกูลพราหมณ์ ถ้าผู้ใดถือพุทธศาสน์ด้วยก็ตกแต่งมธุปายาสยาคูอังคาสพระภิกษุสงฆ์ ทั้งยกธงบูชาพระรัตนตรัยและเลี้ยงพราหมณ์ ตั้งแต่วันภัทรบทจนบรรจบสิ้นเดือน ชนประชาชายหญิงชาวพระนครทุกตระกูลกระทำกองการกุศลด้วยมธุปายาสยาคูติดต่อกันไปมิได้ขาดวันเป็นที่บันเทิงเริงรื่น ต่างคนต่างอุทิศส่วนกุศลผลบุญของตนซึ่งได้กระทำด้วยน้ำจิตโสมนัสศรัทธาไปให้แก่โบราณญาติกาทั้งหลาย อันจุติไปกำเนิดในภพต่างๆ มีปรทัตตูปชีวีเปรตนั้นเป็นต้น”

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.718 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 12:31:29