[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 06:37:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถอดความหมายจาก "บทสวดอภิธรรม" ในพระราชพิธี  (อ่าน 1636 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.112 Chrome 49.0.2623.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2559 22:00:43 »




ถอดความหมายจาก "บทสวดอภิธรรม" ในพระราชพิธี

กล่าวกันว่า การได้ฟัง พระอภิธรรม นั้น จะทำให้ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ และยิ่งถ้าได้ทราบความหมายของบทสวดด้วย ก็จะยิ่งเป็นกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไป…หากคุณลองตั้งใจอ่านความหมายของบทสวด คุณจะพบว่า แท้จริงแล้ว บทสวดนี้เป็นบทสวดที่สอดแทรกคำสอนอันลึกซึ้งเกี่ยวกับความตายเอาไว้เพื่อให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้เข้าใจความเป็นจริงของโลกใบนี้

พระสังคิณี

กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
อะกุสะลา ธัมมา,   ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา,   ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลางๆ อยู่,
กะตะเม ธัมมา กุสะลา,   ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
ยัส๎ะมิง สะมะเย,   ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี,
ญาณะสัมปะยุตตัง,    ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
รูปารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางรูปก็ดี,
สัททารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางเสียงก็ดี,
คันธารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางกลิ่นก็ดี,
ระสารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางรสก็ดี,
โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, อารมณ์สัมผัสกายก็ดี,
ธัมมารัมมะนัง วา, อารมณ์นึกคิดทางใจก็ดี,
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, ในสมัยนั้น ผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี,
เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้นธรรมเหล่าใด,
อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกัยและกันเกิดขึ้น,
อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข.



พระวิภังค์

ปัญจักขันธา,   ขันธ์ห้าคือ
รูปักขันโธ,   รูปขันธ์ (รูปกาย, รูปความคิด)
เวทะนากขันโธ,   เวทนาขันธ์ (ความเสวยอารมณ์ทางกายและใจ)
สัญญากขันโธ,   สัญญาขันธ์ (ความจำได้หมายรู้)
สังขารักขันโธ,   สังขารขันธ์ (ความนึกคิดปรุงแต่ง)
วิญญาณักขันโธ,   วิญญาณขันธ์ (ความรู้แจ้งในอารมณ์)
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ,   บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง,    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,   ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,    ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,   หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม,
หีนัง วา ปะณีตัง วา,    เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม,
ยัง ทูเร วา สันติเก วา,   อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา,   ย่นกล่าวร่วมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ,   เรียกว่ารูปขันธ์




พระธาตุกถา

สังคะโห อะสังคะโห,   การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง,    สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง,   สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง,  สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง,   สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สัมปะโยโค วิปปะโยโค,    การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากกัน คือ,
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง,   การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน,
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง,   การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป,
อะสังคะหิตัง,    จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,




พระปุคคลปัญญัตติ

ฉะปัญญัตติโย,  บัญญัติหกประการ, อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,
ขันธะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์ มี 5 ,
อายะตะนะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์), เรียกว่าอายตนะ มี 12,
ธาตุปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ มี 18,
สัจจะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ มี 4, คือ อริยสัจจ์ 4,
อินท๎ริยะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ มี 22,
ปุคคะละปัญญัตติ,   การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ,   บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต,   ผู้พ้นในกาลบางคราว, ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม,   ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม,   ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ,   ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
ปุถุชชะโน โคต๎ระภู,   ผู้เป็นปุถุชน, ผู้คร่อมโคตร,
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต, ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว, ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน,   ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน, ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,
นิยะโต อะนิยะโต,   ผู้เที่ยง, ผู้ไม่เที่ยง,
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต,   ผู้ปฏิบัติอริยมรรค, ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน.   ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์.




พระกถาวัตถุ

ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ,    ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงหรือ,
อามันตา,   ถูกแล้ว,
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ,   ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?
นะ เหวัง วัตตัพเพ,   ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา,    ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม ปราม) เถิด, ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น, คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,




พระยมก

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา,   ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กุสะละมูลา,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา,   อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา,   ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา,   ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา,   อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล เป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมากุสะลา,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล




พระมหาปัฏฐาน

เหตุปัจจะโย,   ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
อารัมมะณะปัจจะโย,   ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
อะธิปะติปัจจะโย,    ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
อะนันตะระปัจจะโย,   ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,
สะมะนันตะระปัจจะโย,   ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
สะหะชาตะปัจจะโย,    ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
อัญญะมัญญะปัจจะโย,   ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
นิสสะยะปัจจะโย,    ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,
อุปะนิสสะยะปัจจะโย,    ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
ปุเรชาตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
ปัจฉาชาตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
อาเสวะนะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,
กัมมะปัจจะโย,   ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
วิปากะปัจจะโย,   ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
อาหาระปัจจะโย,   ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
อินท๎ริยะปัจจะโย,   ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,
ฌานะปัจจะโย,   ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
มัคคะปัจจะโย,   ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
สัมปะยุตตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
วิปปะยุตตะปัจจะโย,   ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
อัตถิปัจจะโย,   ธรรมที่มีปัจจัย,
นัตถิปัจจะโย,   ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
วิคะตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
อะวิคะตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย




นอกจากบทสวดอภิธรรมแล้ว ทุกวันเราจะได้ยินบทสวด ติโรกุฑฑะกัณฑะสตตะคาถา ซึ่งเป็นบทสวด ที่มีใจความสำคัญว่า การเศร้าโศก ร้องไห้ อาลัย ไม่มีความหมายใดต่อผู้ล่วงลับ สิ่งที่ควรทำคือ ทำบุญ ให้ทาน

อะทาสิ เม อะกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะ เม เปตานัง ทักขินัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง,  บุคคลมาระลึกถึงอุปการะอันท่านได้ทำแล้วแก่ตนในกาลก่อนว่า ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา ดังนี้ ก็ควรให้ทักษิณาทาน
นะ หิ รุณณัง วา โสโก วา ยา วัญญา ปะริเทวะนา,  การร้องไห้ก็ดี การเศร้าโศกก็ดี การร้องไห้รำพันอย่างอื่นก็ดี บุคคลไม่ควรทำทีเดียว
นะ ตัง เปตานะมัตถายะ,  เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไป
เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย,  ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น
อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา,  ก็ทักษิณาทานนี้แลอันท่านให้แล้ว
สังฆัม๎หิ สุปะติฏฐิตา,  ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์

ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ,  ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว, ตลอดกาลนานตามฐานะนั้น
โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต,  ญาติธรรมนี้นั้น ท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้ว
เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา,  แลบูชาอันยิ่ง ท่านก็ทำแล้วแก่ญาติทั้งหลาย ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว
พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง,  กำลังแห่งภิกษุทั้งหลายชื่อว่าท่านเพิ่มให้แล้วด้วย
ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ,  บุญไม่น้อย ท่านได้ขวนขวายแล้ว ดังนี้แล.




จาก http://www.secret-thai.com/dhamma-practice/pray/5000/apidham/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.51 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ธันวาคม 2566 17:53:42