สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
สมเด็จพระบรมาชาธิราชเจ้าซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี
ในสมัยพระองค์มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และได้มีการนำปีนไฟมาด้วย การรบแบบใช้ดาบลดความสำคัญลง มีการแต่ตำราว่าด้วยการรบขึ้น เช่น การจัดกระบวนทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ การเข้าจู่โจม และการตั้งรับ
มีการจัดตั้งกรมสุรัสวดีขึ้น(คือ สัสดี ในปัจจุบัน) กรมสุรัสวดีมีหน้าทำบัญชีหางว่าว แยกประเภทว่าขุนนางผู้ใดมีเลกมนสังกัดจำนวนเท่าใด(เลก หมายถึง ไพร่มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถูปเจดีย์ขึ้น 2 องค์ เพื่อบรรจุ อัฐิสมเด็จพระราชบิดา และบรรจุอัฐิของพระเชษฐา นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นในวัดสุทธาวาสนี้ แล้วหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ (ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพม่าเอาไฟเผาเพื่อลอกเองทองคำ จนองค์พระละลาย ครั้งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2300)
ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองขึ้นเป็นครั้งแรกในคลอกสำโรงกับคลองทัพนางในเมืองพระประแดง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและการเดินเรือระหว่างลำแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองบางปะกง
พ.ศ. 2050 พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่หวังจะแสดงอานุภาพด้วยการขยายอาณาเขต จึงยกทัพลงมาตีกรุงสุโขทัย ชาวเมืองรักษาเมืองไว้อย่างเข้มแข็ง ทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกถอยไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับสั่งให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และตีได้เมืองแพร่
พ.ศ. 2056 เมืองเชียงใหม่ได้ให้หมื่นพิงยียกพมาตีเมืองสุโขทัย และหมื่นมะลายกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร แต่ชาวเมืองก็รักษาเมืองไว้ได้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงยกทัพไปปราบปรามเมืองลำปาง แล้วยกทัพกลับมาและทรงเห็นว่าพระอาทิตยวงศ์พระราชโอรส มีพระชนมายุพอสมควรที่จะรับพระราชภาระของพระองค์ได้แล้ว จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมราชาตำแหน่งพระมหาอุปราช และไปครองเมืองพิษณุโลก
ชาวโปรตุเกสตีเมืองมะละกาได้ ต่อมาชาวโปรตุเกสรู้ว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเอาเมืองคืน จึงแต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ชาวโปรตุเกสจึงได้ค้าขายกับไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสได้นำอารยธรรมมาเผยแพร่เป็นอันมาก ได้นำวิธีใช้ปืนไฟและวิชาทหารแบบยุโรปเข้ามาเผยแพร่ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการทหารไทย และเป็นกำลังในทางสงครามได้อย่างดี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2034 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2074 สิริครองราชย์ได้ 38 ปี รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา
รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร (รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 )
สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเป็นโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เดิมได้รับสถาปนา ให้เป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองเมือง พิษณุโลก เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงให้พระไชยราชาซึ่งเป็นอนุชาต่างมารดาไปครองเมืองพิษณุโลกแทน
ในสมัยพระองค์ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเชียงใหม่ ขณะนั้น กรุงศรีฯได้มีการติดต่อคาขายกับโปรตุเกส และชาวโปรตุเกสได้นำปืนไฟมาใช้ และมีการทำปืนไฟ และสร้างป้อมปราการต่อสู้ปืนไฟ ที่สวรรคโลกสุโขทัย และอยุธยา
ทรงครองราชย์ได้ 4 ปีก็สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ
รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราช
ทรงเป็นโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่4(หน่อพุทธางกูร) เนื่องจากได้ได้มีการตั้งพระมหาอุปราชไว้ดังรัชกาลก่อน เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 สวรรคต จึงได้เชิญ พระรัษฎาธิราชกุมาร อายุ 5 พรรษา ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม พระรัษฎาธิราช
ครองราชย์ได้ 5 เดือนเศษ พระไชยราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอา ยกทัพมาจับไปสำเร็จโทษ สวรรคต
รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช
เมื่อสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราชแล้ว ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงมีโอราส 2 พระองค์ คือ พระยอดฟ้า และ พระศรีสิน ในสมัยของพระองค์พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน ทรงยกทัพหลวงไปตีคืนมา ได้เกณฑ์ชาวโปรตุเกสไปช่วยรบด้วย เมื่อมีชัยชนะ จึงพระราชทานอนุญาต ให้ชาวโปรตุเกสสร้างวัดสอนศาสนาคริสต์ได้แต่นั้นมา
เจ้าครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งขึ้นต่อกรุงศรีฯถูกฆ่าตาย บรรดาหัวเมืองต่างๆไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าเชียงใหม่คนใหม่ จึงได้ขอให้ทางศรีอยุธยา ส่งทัพไปปราบ เมื่อยกทัพไปถึงเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ออกมาขอสวามิภักดิ์
ในสมัยพระองค์ได้มีการปรับปรุงบ้านเมือง และขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าคลองบางกอก
ต่อมาเชียงใหม่เห็นพม่ามีกำลังเข้มแข็ง จึงเอาใจออกห่าง ไปสวามิภักดิ์ต่อพม่า
เมื่อสมเด็จรพระไชยราชาธิราชทรงทราบก็โกรธมาก ได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ ตีลำพูน ตีลำปาง ได้แล้วก็ยกไปล้อมเชียงใหม่ไว้ นางพญามหาเทวีซึ่งครองเชียวใหม่เห็นสู้ไม่ได้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ ทรงยกทัพกลับมากลางทางก็ทรงประชวร ถึงแก่สวรรคต ทรงครองราชย์มา 12 ปี
รัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า
พระยอดฟ้าโอรสองค์โตของพระไชยราชาธิราช ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 11 พรรษา แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทูลเชิญพระราชชนนี คือ พระนางศรีสุดาจันทร์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินแทน ทรงพระนามว่า นางพญาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ไปพัวพันกับ พันบุตรศรีเทพ ซึ่งเป็นพนักงานรักษาหอพระ ทรงให้เลื่อนตำแหน่ง พันบุตรศรีเทพ เป็นขุนชินราช แล้วย้ายเข้ามาอยู่หอพระข้างในและได้ลักลอบเป็นชู้กัน หลังจากนั้นได้เลื่อนให้เป็นขุนวรวงศาธิราช ต่อมาทรงพระครรภ์ จึงเกรงจะปิดเป็นความลับไม่ได้ จึงกำจัดพระยอดฟ้าเสีย โดยการยาพิษลงในอาหาร แล้วยกขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แทน
พระยอดฟ้าครองราชย์ได้ 2 ปี ก็สวรรคต
รัชกาลขุนวรวงศาธิราช ( พันบุตรศรีเทพ )
ขุนวรวงศาเมื่อได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์แล้วได้ตั้งนายชัน ซึ่งเป็นอนุชา เป็นพระมหาอุปราชา และได้จัดเปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองทั้งหลายโดยเอาคนสนิทไปแทน
ต่อมาขุนพิเรนเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ วางแผนกำจัดขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วไปเชิญพระเฑียรราชาซึ่งผนวชอยู่มาปกครองแผ่นดินต่อไป
รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช
ขุนพิเรนเทพขุนอินเทพและขุนนางทั้งปวง ได้ไปอัญเชิญพระเฑียรราชา ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน มาครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จรพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราชเจ้า และทรงได้รับเลี้ยงพระศรีสินไว้
ทรงปูนบำเหน็จ แก่ผู้ทำความชอบทั้งหลาย
แต่งตั้งให้ขุนพิเรนเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ไปครองเมืองพิษณุโลก และยกพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราช ให้เป็นอัครมเหสี ทรงพระนามว่า พระวิสุทธิกษัตรีย์
เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายเนื่องจากพระไชยราชาสวรรคต และได้ตั้งพระยอดฟ้า พระโอรส ขึ้นครองราชย์ แต่ท้าวศรีสุดาจันทน์ ได้คบชู้กับขุนชินราชและฆ่าพระยอดฟ้าตาย และยกขุนชินราชขึ้นครองราชย์แทน พวกข้าราชการทั้งหลายโกรธแค้น จึงวางแผนฆ่าขุนชินราชและท้าวศรีสุดาจันทน์เสีย
ข่าวรู้ไปถึงทางพม่า พม่าจึงยกทัพมาตีไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี เมื่อรู้ว่าบ้านเมืองสงบแล้วก็คิดจะยกทัพกลับแต่ก็เลยมาดูกำลังท่าทีของทางกรุงศรีฯ พม่ายกมาตีสุพรรณบุรี ป่าโมกข์ แล้วตั้งค่ายอยู่ที่ ตำบล ลุมพลี ล้อมกรุงอยู่3วัน ทางไทยก็ยกกำลังทหารป้องกันเมืองได้ พม่ายกทัพกลับ
เมื่อข่าวหงสาวดียกมาตีกรุงศรีฯ พญาละแวกรู้ว่าทางกรุงศรีฯเพิ่งผลัดแผ่นดินใหม่ก็ถือโอกาสเข้ามากวาดต้อนผู้คนแถวปราจีนบุรีไป หลังจากนั้นทางกรุงศรีฯได้จัดแจงซ่อมแซมกำแพงเมืองดดและสร้างวัดชื่อ วัดวังไชย
ศักราช 893 ทำพระราชพิธีประถมกรรม
ศักราช 894 ทรงให้ยกทัพไปตีระแวก พญาละแวกยอมแพ้ ส่งสารมาขออ่อนน้อม และส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย แล้ให้นักพระสุโท นักพระสุทัน มาเป็นข้าพระบาท ทรงให้พญาละแวกกลับไปครองเมืองอย่างเดิม นำนักพระสุโท นักพระสุทันกลับมากรุงศรีฯ แล้วให้
นักพระสุทัน ไปครองเมือง สวรรคโลก
ศักราช 895 ทรงให้แปลงเรือแซเป็นเรือไชยและเรือศรีษะสัตว์ต่างๆ
ศักราช 896 ทำพิธีมัธยมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ที่ตำบล ชัยนาทบุรี
ศักราช 897 เสด็จไปวังช้าง ตำบล บางละมุง ได้ช้าง 60 เชือก และในเดือน 12 ได้ช้างเผือกที่กาญจนบุรี ชื่อ พระคเชนทโรดม
ญวนยกทัพมาตี ละแวกและพญาละแวกเสียชีวิต ทรงให้ นักพระสุทันซึ่งไปครองสวรรคโลก ยกทัพไปช่วย
ศักราช 898 พญาสวรรคโลกแพ้ญวนและเสียชีวิต
ศักราช 899 เกิดเพลิงไหม้ในราชวังในเดือน 3 ทำการพระราชพิธี อาจาริยาภิเษก ในเดือน 7 เสด็จไปวังช้าง ตำบล โครกพระ ได้ช้าง 60 เชือก
ศักราช 902 เสด็จไปวังช้าง ตำบล วัดกระได ได้ช้าง 50 เชือก
ศักราช 904 เสด็จไปวังช้าง ตำบล ไทรน้อย ได้ช้าง 70 เชือก
ศักราช 905 พม่ายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีฯ ไพร่พล 3 แสนให้พระมหาอุปราชาเป็นกองหน้า พระเจ้าแปรเป็นเกียกกาย พญาพสิมเป็นกองหลัง พระเจ้าหงสาวดีเป็นจอมทัพ ทรงช้างพลายมงคลปราบทวีป ยกมาทางเมาะตะมะ ทางกาญจนบุรีส่งข่าวมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้สั่งการให้ พระมหาธรรมราชา ซึ่งอยู่ทางพิษณุโลก ยกทัพมาช่วย ให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายที่ลุมพลีรับศึก พระมหานาคสึกออกมา เกณฑ์ผู้คนช่วยขุดคูนอกค่าย กับทัพเรือ เรียกว่าคลองมหานาค
ทัพพม่ายกข้ามกาญจนบุรีมาถึงอยุธยาตั้งค่ายหลวงที่ตำบลบ้านใหม่ มะขามหย่อง ทัพพญาพระสิมตั้งค่ายที่ ตำบล ทุ่งประชด
วันรุ่งขึ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกทัพออกไปดูกำลังข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงช้างต้นพลายจักรรัตน์ พระสุริโยทัยแต่งองค์เป็นพญามหาอุปราช ทรงช้างพลายสุริยกษัตริย์
พระราเมศวรทรงช้างพลายมงคลจักรพาส พระมหินทริราชทรงช้างพลายพิมานจักรพรรดิ
พม่าก็โจมตีไทยอย่างหนัก ทางกรุงศรีฯได้ตั้งรับไว้ รอทัพพิษณุโลกมาช่วย
พระมหาธรรมราชาได้จัดกำลังทัพมาช่วยอยุธยา ยกมาตั้งทัพที่ชัยนาท
พม่ายกมาตีไทย มาจนเสบียงอาหารเริ่มขาดแคลน และใกล้จะถึงฤดูฝน จำเป็นจะต้องยกทัพกลับ พม่าวางแผนจะยกไปทางกำแพงเพชร ออกด่านแม่ละเมา ซึ่งจะต้องไปปะทะกับทัพพระมหาธรรมราชา ก็เกรงว่ากรุงศรีจะยกทัพมาตีท้ายกระหนาบ ก็เลยจัดทัพออกมาตั้งรับทั้งกองหน้าและกองหลัง โดยให้พระมหาอุปราชา รั้งท้ายคอยสู้กับทัพกรุงศรีฯ
ทางกรุงศรีฯเมื่อรู้ว่าพม่าถอยทัพไปก็จัดส่งกำลงไปตีทัพโดย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช อาสาไป
พม่ายกทัพกลับไป มาถึงอินทรบุรี พม่าเข้ายึดค่ายไว้ได้ ทหารไทยซึ่งหนีมาได้เข้าทูลต่อพระมหาธรรมราชาว่า พม่ายกทัพมามากมายเห็นเกินกำลังจะต่อสู้ได้ ก็ให้ทหารกระจายกำลังออกดักซุ่มโจมตี
พระราเมศวรและพระมหินทรายกทัพมาใกล้ถึงที่ทัพพระมหาธรรมราชาอยู่ก็จะเข้าโจมตี แต่ถูกพม่าซ้อนกล พระเจ้าลูกเธอทั้งสองถูกจับไป
ทหารซึ่งแตกทัพไป ได้ไปกราบทูลต่อพระมหาจักรพรรดิก็ทรงให้แต่งสารไปเจริญพระราชไมตรี ขอให้ปล่อยโอรสทั้งสองกลับ
พม่ายอมปล่อยโอรสทั้งสองแต่ขอช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปไปแลก
เมื่อนำช้างทั้ง 2 ไปส่งแก่พม่า ปรากฏว่าควาญช้างไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องส่งคืน
พม่ายกทัพกลับทางกำแพงเพชรออกด่านแม่ละเมาะ
เมื่อถวายพระเพลิงสมเด็จพระสุริโยทัยแล้วพระมหาธรรมราชาทูลลากลับไปพิษณุโลก ส่วนที่พระราชเพลิงศพได้พระราชทานนามว่า วัดศพสวรรดิ์ แล้วทรงจัดเขตเมืองใหม่ให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันข้าศึก
ศักราช 906 พระศริสิน(น้องพระยอดฟ้า) ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่วัด ราชประดิษฐาน คิดกบฎ จับได้แต่ไม่ได้ประหาร ให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมิราช จะให้บวชแต่ พระศรีสินหนีไปชุมนุมไพร่พลที่ ตำบล ม่วงมดแดง แล้วยกมาเข้ายึดพระราชวัง พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพาทหารต่อสู้ พระศรีสินตาย
ศักราช 907 เสด็จไปวังช้าง ตำบล ไทรน้อย ได้ช้างเผือกชื่อ พระรัตนากาศ
ศักราช 908 ไปวังช้าง ตำบลป่าเพชรบุรี ได้ช้างเผือก ชื่อ พระแก้วทรงบาท ต่อมาได้ช้างเผือกแม่ลูก ที่ตำบล ป่ามหาโพธิ์
ศักราช 909 ได้ช้างเผือกที่ทะเลชุบศร ชื่อ พระบรมไกรสร ต่อมาได้ช้างเผือกที่ตำบล ป่าน้ำทรง ชื่อ พระสุริยกุญชร
กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมากมีช้างเผือกถึง 7 เชือก พ่อค้าต่างชาติมาค้าขายจำนวนมาก จนได้รับถวายพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก
พม่าถือโอกาสให้ทูตส่งสารมาขอช้างเผือก 2 เชือก หากไม่ให้จะยกทัพมาตี
ทางไทยไม่ยอมให้ พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงให้ยกทัพมาตีอยุธยา โดยยกมามากกว่าครั้งก่อนถึง 3 เท่า
ศักราช 910 พม่ายกทัพใหญ่มา พระเจ้าหงสาวดีเป็นจอมทัพ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย ยกทัพมาทางเมาะตะมะ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลโคก
พระมหาธรรมราชาส่งคนไปแจ้งกรุงศรีให้ยกมาช่วย พม่าส่งสารเข้าไปให้พระมหาธรรมราชาออกมาเจรจากับพระมหาธรรมราชา เห็นทัพพม่ามากมาย ก็รู้ว่าสู้ไม่ได้ยอมออกไปสวามิภักดิ์ พม่าให้พระมหาธรรมราชายกทัพตามมา
ทัพกรุงศรีซึ่งยกทัพไปช่วยแต่ได้ข่าวว่าหัวเมืองทางเหนือได้ไปเข้ากับพม่าแล้วก็ถอยทัพกลับ
ทัพพม่ามาล้อมกรุงศรีไว้ พระมหาจักรพรรดิ์ รู้ว่าทัพพม่ายกมาครั้งนี้มากกว่าครั้งก่อน ก็ให้รักษาเมืองไว้ ไม่ได้ยกทัพออกไปต่อสู้ด้วย พม่าก็ส่งสารมาท้ารบ หาไม่ก็ให้ออกมาเจรจาสงบศึก
พระมหาจักรพรรดิ์ ออกไปเจรจาสงบศึกกับพม่าที่วัดพระเมรุราชิการาม พม่าเรียกร้องเอาช้างเผือกเป็น 4 เชือก และขอเอาพระราเมศวรไปพม่าด้วย และขอให้พญาจักรีและ
พระสมุทรสงครามไปด้วย ไทยเสียช้าง 4 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระบรมไกรสร
พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาท
พญาตานี ซึ่งยกทัพมาช่วยกลับคิดเป็นกบฎ พระมหาจักรพรรด์หนีไปเกาะพราห์ม ทหารตีชาวตานี กลับไป
ศักราช 912 พระเจ้ากรุงสรีสัตนาคนหุตได้แต่งทูตมาขอพระเทพกษัตริย์ไปเพื่ออภิเษกด้วย ทรงเห็นเป็นการผูกไมตรีจึงพระราชทานให้
เจ้าเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แต่งทูตมารับพระเทยกษัตริย์ตรีแต่ทรงพระประชวรหนักจึงได้ยกพระแก้วฟ้าไปแทน
พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายส่งคืนพระแก้วฟ้าโดยขอพระราชทานพระเทพกษัตริย์ตรีอย่างเดิม
เมื่อทรงหายประชวรแล้ว ก็ทรงให้จับขบวนส่งพระเทพกษัตริย์ตรีไป
พระมหาธรรมราชาแจ้งข่าวเรื่องนี้ไปยังพม่า พม่าส่งคนมาแย่งพระเทพกษัตริย์ตรีไป พระเจ้าศรีสัตนาคนหุตโกรธแค้นมากจะยกทัพมาตีพิษณุโลก แต่พระมหาจักรพรรดิ์ห้ามไว้