[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 10:37:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) : ทดใช้ดำริผิด (มิจฉาสังกัปปะ) ด้วยปัญญาและเมตตา  (อ่าน 1516 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2559 15:38:04 »




ทดใช้ดำริผิด (มิจฉาสังกัปปะ) ด้วยปัญญาและเมตตา

เมื่อพระถังซัมจั๋งพร้อมด้วยสานุศิษย์ได้รับประทับตราหนังสือผ่านเมืองโอเกยก๊กแล้ว จึงทูลลาพระราชามุ่งหน้าสู่ไซทีต่อไป
 
เมื่อเวลามาถึงเดือน ๙ เข้าเดือน ๑๐ จึงบรรลุถึงเขาลักแป๊ะลี้ จั๊บเพ้าพ้อซัว ณ ที่แห่งนี้มีปีศาจทารกผมสามแหยม (กามสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ พยาบาทสังกัปปะ) นาม อั้งฮั้ยยี้ (มิจฉาสังกัปปะ = ดำริผิด) หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า เซี้ยเองใต้อ๋อง เป็นลูกของปีศาจงู้หม้ออ๋อง (อุจเฉททิฏฐิ = ความเห็นว่าขาดสูญ) สหายเก่าของเห้งเจีย เกิดจากเมียหลวง นามนาง ล่อซัว (อัตตกิลมถานุโยค = การบำเพ็ญทุกรกิริยา ความพยายามบรรลุ มรรคผล ด้วยวิธีทรมานตนเอง)
 
ปีศาจทารกอั้งฮั้ยยี้บวชเรียนที่สำนักฮ้วยเอี้ยมซัว สำเร็จทางอัคคีญาน มีนิวาสถานอยู่ในถ้ำฮ้วยหุ่นต๋องที่มีห้วยน้ำไหลเชี่ยวกรากรายล้อมด้วยดงสนแห้ง
 
ปีศาจทารกอั้งฮั้ยยี้ (มิจฉาสังกัปปะ = ดำริผิด) แปลงกายเป็นทารก ๗ ขวบถูกแขวนห้อยต่องแต่งอยู่บนยอดไม้ ร้องอ้อนวอนให้พระถังซัมจั๋งช่วยเห้งเจียรู้ทัน แต่พระถังซัมจั๋งหลงกล สั่งให้เห้งเจียขึ้นไปช่วยปลดลงมา เมื่อขึ้นไปถึงปีศาจทารกอั้งฮั้ยยี้ในร่างแปลงอ้อนวอนขอขี่หลังเห้งเจีย เห้งเจียก็ยอมให้ขี่ สักพักหนึ่งเห็นได้ทีจะจับปีศาจฟาดพื้น แต่ปีศาจมีฤทธิ์กล้ารู้ทัน สู้รบกันชุลมุน ขณะเดียวกันนั้นปีศาจบันดาลให้พายุ พัดหอบพระถังซัมจั๋งไปขังไว้ในถ้ำแล้วหลบหนีไป
 
เห้งเจียไม่เห็นพระถังซัมจั๋ง แสดงอิทธิฤทธิ์เรียกเจ้าป่าเจ้าเขามาสอบถาม จึงรู้ความตามไปหาจนพบถ้ำฮ้วยหุ่นต๋อง เห็นสะพานหินยื่นออกมาข้ามห้วยน้ำ เห้งเจียเดินข้ามสะพานแล้วร้องท้าให้เปิดประตูถ้ำออกมาสู้กัน ปีศาจอั้งฮั้ยยี้ (มิจฉาสังกัปปะ = ดำริผิด) เดือดดาล เข็นเกวียนที่บรรจุด้วยธาตุทั้ง ๕ น้ำ ไฟ ลม ดิน ไม้ กระโดดขึ้นยืนบนเกวียน กำมือทุบจมูกตัวเอง ๒ ที ทันใดนั้นปากของอั้งฮั้ยยี้พ่นเปลวไฟ จมูกพ่นควัน เกวียนมีไฟลุกแดงมีทั้งควันทั้งไฟมืดมิดไปทั่ว เห้งเจียและโป้ยก่ายเห็น ดังนั้นต้องวิ่งหนี
 
ส่วนเห้งเจียตีลังกาหกคะเมนลิ่วไปเชิญพญาเง่ากวั๊งเล่งอ๋องทั้ง ๔ มาช่วยดับไฟ แต่หาดับได้ไม่
 
เห้งเจียมิกลัวไฟจึงย้อนกลับไปสู้กับอั้งฮั้ยยี้ใหม่ จึงโดนควันพิษ และเปลวไฟติดตัววิ่งกระโจนลงดับไฟในห้วยน้ำ กลับยิ่งร้อนขึ้นอีกหลายสิบเท่า จนล้มสลบลง โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง เห็นดังนั้นตกใจเข้าพยาบาล เห้งเจียฟื้นขึ้นมาร้องเรียกหา “พระอาจารย์” แล้วร้องไห้ เพราะไม่เคยพ่ายแพ้ใคร มาแพ้กับทารกอั้งฮั้ยยี้ (มิจฉาสังกัปปะ = ดำริผิด) เป็นครั้งแรก หนำซ้ำยังไม่มีแรงเหาะไปหาพระโพธิสัตว์กวนอิมอีกด้วย ต้องอาศัยโป้ยก่าย ช่วยเหลือเหาะไปหาพระโพธิสัตว์กวนอิม
 
อั้งฮั้ยยี้รู้เข้าเหาะลิ่วไป แปลงกายเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ดักหน้าโป้ยก่ายระหว่างทาง แล้วหลอกพาโป้ยก่ายเข้าถ้ำจับมัดใส่ถุงผูกไว้บนเพดานถ้ำ ครั้นแล้วอั้งฮั้ยยี้ใช้ให้สมุนเอก ๖ คนคือ หุ้นลี้บู๊ บู๊ลี้หุ้น กิมยู่ฮวย ข่วยยู่ฮอง เฮ้งอั่งเฮง เฮงอั่งเฮ้ง ไปเชิญปีศาจงู้หม้ออ๋องผู้บิดา มากินเลี้ยงเนื้อพระถังซัมจั๋ง
 
เห้งเจียเมื่อมีกำลังคืนมา แปลงกายเป็นแมลงวันบินเข้าไปสืบข่าว เมื่อรู้ความทำการแปลงกายเป็นปีศาจงู้หม้ออ๋อง ไปนั่งดักรอสมุนปีศาจทั้งหก สมุนทั้งหกเข้าใจผิดเชิญปีศาจงู้หม้ออ๋องตัวปลอมเข้าไปในถ้ำของอั้งฮั้ยยี้ แต่อั้งฮั้ยยี้ก็จับพิรุธได้ว่าเห้งเจียแปลงกายมา จึงสู้รบกันโกลาหล เห้งเจียสู้ไปกลัวพิษ ควันไฟ จึงรีบเหาะหนีไปเฝ้าพระโพธิสัตว์กวนอิมนิมนต์ให้มาช่วย
 
พระโพธิสัตว์กวนอิมมาพร้อมกับฮุ้ยไฮ้ศิษย์เอก สั่งให้ฮุ้ยไฮ้เหาะไปยืมอาวุธวิเศษของเจ้าทีกังมา ๓๘ อัน (มงคล ๓๘ = ธรรมซึ่งนำมาซึ่ง ความสุขความเจริญ ๓๘ ประการ) แล้วเอากิ่งหลิวจุ่มน้ำมนต์วิเศษเขียน อักขระลงกลางฝ่ามือของเห้งเจีย คำว่า บี๊ (นันทิ = เคลิบเคลิ้ม เพลินใน เมตตา) เห้งเจียกระโดดออกไปร้องตะโกนท้ารบอยู่พักหนึ่ง อั้งฮั้ยยี้เปิดประตูถ้ำออกมาสู้กัน เห้งเจียยกฝ่ามือขึ้นสู้รบ พระโพธิสัตว์กวนอิมนำอาวุธวิเศษ ทั้ง ๓๘ อันร่ายมนต์แล้วขว้างออกไป กลายเป็นมีด ๓๘ เล่ม เสียบแทงปีศาจอั้งฮั้ยยี้จนล้มลง
 
ครู่เดียวอั้งฮั้ยยี้ลุกขึ้นมาได้อีก พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงหยิบห่วงมงคลของพระพุทธเจ้าขว้างออกไปเป็น ๕ วง เข้ารัดร่างของอั้งฮั้ยยี้ ๕ แห่ง จนปีศาจทารกอั้งฮั้ยยี้ยอมแพ้ เห้งเจียจะฆ่าทิ้ง พระโพธิสัตว์กวนอิมห้ามไว้ แล้วลงโทษให้อั้งฮั้ยยี้เดินก้าวหนึ่ง ยกมือประณมรำลึกถึงพระโพธิสัตว์กวนอิม ทีหนึ่งจนถึงน่ำไฮ้ แล้วให้เป็นสานุศิษย์เฝ้าประตู เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “เสียนใช้ท่งจื้อ”
 
เห้งเจียเข้าไปในถ้ำ ไล่ฆ่าบริวารปีศาจตายหมดสิ้น จากนั้นแก้มัดพระถังซัมจั๋ง โป้ยก่าย แล้วสมทบกับซัวเจ๋งเลี้ยงอาหารเจกันในถ้ำปีศาจ
 
(ปีศาจอั้งฮั้ยยี้ตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก เป็นมิจฉาสังกัปปะกำเนิดมาจาก อุจเฉททิฏฐิ = ความเห็นว่าทุกอย่างขาดสูญ และอัตตะกิลมถานุโยค = ความพยายามบรรลุมรรคผลด้วยวิธีทรมานตนเอง อันมีมูลเหตุมาจากวิภวตัณหา = ความไม่อยากจะมี อยากจะเป็น
 
มิจฉาสังกัปปะ ประกอบด้วยดำริที่ผิด ทั้งสามคือ
 
๑. กามสังกัปปะ - ดำริผิดกรุ่นในกาม ประทุษร้ายตัวเองและผู้อื่น
 
๒. วิหิงสาสังกัปปะ - ดำริผิดกรุ่นไปในการเบียดเบียนประทุษร้ายผู้อื่น
 
๓. พยาบาทสังกัปปะ - ดำริผิดกรุ่นไปในทางมุ่งร้าย ประทุษร้ายตัวเอง
 
มิจฉาสังกัปปะ ทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น เป็นดำริที่เป็นการประทุษร้ายเพื่อบรรเทาพยาบาท(ดำริผิด) กลับกลายเป็นการเพิ่มความพยาบาท ดุจดั่งเห้งเจียโดดลงน้ำ หมายจะดับ กลับยิ่งร้อน การเปลี่ยนให้มิจฉาสังกัปปะ เป็นสัมมาสังกัปปะจำเป็นต้องใช้ ปัญญากับเมตตา จะใช้ ศีลกับเมตตาไม่ได้ ดุจเช่นโป้ยก่ายจะไปพบพระโพธิสัตว์กวนอิม จึงติดกับดักของปีศาจ และสมุนทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะขาดการสำรวมอินทรีย์ เพราะยังเป็นมิจฉาศีลอยู่ ทำให้มิจฉาทิฐิจะเพิ่มขึ้น
 
พระโพธิสัตว์กวนอิมต้องอาศัยอาวุธ ๓๘ อย่าง และห่วงมงคล ๕ ห่วง เพราะว่าจะใช้เพียงเมตตา ทาน อย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้มงคล ๓๘ (ธรรมนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ๓๘ ประการ) ได้แก่
 
๑. การไม่คบคนพาล (อเสวนา จ พาลานํ)
 
๒. การคบบัณฑิต (ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา)
 
๓. บูชาคนที่ควรบูชา (ปูชา จ ปูชนียานํ)
 
๔. อยู่ในถิ่นที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี (ปฏิรูปเทสวาโส จ)
 
๕. ทำความดีไว้ให้พร้อมเสมอ (ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา)
 
๖. ตั้งตนไว้ชอบ (อตฺตสมฺมาปณิธิ จ)
 
๗. เล่าเรียนศึกษาให้มาก (พาหุสจฺจญฺจ)
 
๘. มีความชำนาญในอาชีพของตน (สิปฺปญฺจ)
 
๙. มีระเบียบวินัย ฝึกอบรมตนไว้ดี (วินโย จ สุสิกฺขิโต)
 
๑๐.วาจาสุภาษิต ใช้วาจาพูดในแนวทางที่ดี เพื่อให้เกิดผลดี (สุภาสิตา จ ยา วาจา)
 
๑๑. บำรุงบิดามารดา (มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ)
 
๑๒. การสงเคราะห์บุตร (ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห)
 
๑๓. การสงเคราะห์ภรรยา (ปุตฺตสงฺคห)
 
๑๔. การงานไม่คั่งค้าง (อนากุลา จ กมฺมนฺตา)
 
๑๕. รู้จักให้ เผื่อแผ่แบ่งปัน (ทานญฺจ)
 
๑๖. ประพฤติธรรม (ธมฺมจริยา)
 
๑๗. สงเคราะห์ญาติ (ญาตกานญฺจ สงฺคโห)
 
๑๘. ทำการงานที่ไม่มีโทษ (อนวชฺชานิ กมฺมานิ)
 
๑๙. เว้นจากความชั่ว (อารตี วิรตี ปาปา)
 
๒๐. เว้นจากการดื่มน้ำเมา (มชฺชปานา จ สญฺญโม)
 
๒๑. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย (อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ )
 
๒๒. การเคารพ (คารโว จ )
 
๒๓. ความสุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน (นิวาโต จ )
 
๒๔. ความสันโดษ (สนฺตุฏฺฐี จ)
 
๒๕. มีความกตัญญู (กตญฺญุตา)
 
๒๖. ฟังธรรมตามกาล (กาเลน ธมฺมสฺสวนํ)
 
๒๗. มีความอดทน (ขนฺตี)
 
๒๘. เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย (โสวจสฺสตา)
 
๒๙. พบเห็นสมณะ (สมณานญฺจ ทสฺสนํ)
 
๓๐. สนทนาธรรมตามกาล (กาเลน ธมฺมสากจฺฉา)
 
๓๑. มีความเพียรในการละกิเลส (ตโป จ)
 
๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์ ควบคุมตนในทางเพศ (พฺรหฺม จริยญฺจ)
 
๓๓. เข้าใจความจริงของชีวิต (อริยสจฺจน ทสฺสนํ)
 
๓๔. ทำพระนิพพานให้แจ้ง(นิพฺพาน สจฺฉิกิริยา จ)
 
๓๕. ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว (โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ)
 
๓๖. จิตไร้เศร้า (อโสกํ)
 
๓๗. จิตปราศจากธุลี (วิรชํ)
 
๓๘. จิตเกษม (เขมํ)
 
และ ห่วงมงคล ๕ ห่วง คือ ความว่าง ๕ อาการ ทดใช้ดำริผิดไปในทางเมตตา คือ
 
ว่าง จาก สัตตา(สพฺเพ สัตตา) ว่างจากสัตว์ทั้งหลาย
 
ว่าง จาก ปาณา (สพฺเพ ปาณา) ว่างจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
 
ว่าง จาก ภูตา (สพฺเพ ภูตา) ว่างจากผู้ที่เกิดแล้ว
 
ว่าง จาก ปุคคลา(สพฺเพ ปุคคลา) ว่างจากบุคคล
 
ว่าง จาก อตฺตา (สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา) ว่างจากความ มีตัวตน
 
ให้ละซึ่งการเสพย์สัญชาติญาณสัตว์ ดำริก็จะอยู่ในสัมมาทิฏฐิ คือ การที่ศิษย์และอาจารย์กินอาหารเจ)




จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=14

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1

สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11745.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) อารัมภบท
เอกสารธรรม
มดเอ๊ก 0 1410 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2559 15:17:56
โดย มดเอ๊ก
ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) : พรานป่าช่วยให้พบศิษย์เอก
เอกสารธรรม
มดเอ๊ก 0 1164 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2559 15:21:20
โดย มดเอ๊ก
ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) : ศีลที่เกิดจากปัญญา
เอกสารธรรม
มดเอ๊ก 0 1293 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2559 15:27:39
โดย มดเอ๊ก
ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) : มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
เอกสารธรรม
มดเอ๊ก 0 1280 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2559 15:29:18
โดย มดเอ๊ก
ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) : อนันตริกะสมาธิที่เกิดจากปัญญา
เอกสารธรรม
มดเอ๊ก 0 1314 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2559 15:32:32
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.363 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 มีนาคม 2567 22:43:40