[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 07:49:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประชุมพงษาวดาร เรื่อง ตำนานพระโกษฐ (คัดจากหนังสือเก่า พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 6)  (อ่าน 1733 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559 19:44:32 »




. ประชุมพงษาวดาร .

เรื่อง  ตำนานพระโกษฐ
---------✼----------

คำนำ

ฯลฯ

เรื่องตำนานพระโกษฐนั้น เดิมพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ แต่ยังดำรงตำแหน่งเปนสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ทรงค้นพบบาญชีพระนามที่ได้ทรงพระโกษฐทองใหญ่ มีจดไว้ในห้องอาลักษณ มีรายพระนามตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ลงมาจนต้นรัชกาลที่ ๔ กรมพระสมมตฯ ทรงเรียบเรียงเพิ่มเติมต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ ประทานไว้ในหอพระสมุดฯ ข้าพเจ้าเห็นสมควรจะพิมพ์บาญชีนี้ให้รากฎ ด้วยเปนของโจทย์กันอยู่เนืองๆ ว่าพระศพเจ้านายพระองค์ไหนได้ทรงพระโกษฐทองบ้าง  ครั้นเมื่อเอาบาญชีของกรมพระสมมตฯ มาตรวจดู เกิดความคิดขึ้นว่า ควรจะเรียงตำนานพระโกษฐอื่นๆ ขึ้นด้วย พิมพ์รักษาไว้อย่าให้ความรู้ในเรื่องพระโกษฐสูญเสีย ข้าพเจ้าจึงขยายเรื่องเรียบเรียงเปนตำนานพระโกษฐ เมื่อแต่งแล้วส่งไปถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์ ขอให้ทรงช่วยตรวจแก้ไขให้เรียบร้อย ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปตรวจดูโดยทางฝีมือช่าง แล้วทรงแก้ไขเรื่องตำนานพระโกษฐที่ข้าพเจ้าเรียงไป สำเร็จรูปเปนอย่างที่พิมพ์ไว้ในประชุมพงษาวดารเล่มนี้ เรื่องตำนานพระโกษฐ จึงเปนเรื่องที่ได้แต่งด้วยกัน ๓ คน ดังจ่าน่าบอกไว้ในตอนตำนานด้วยประการฉะนี้

ฯลฯ
ดำรงราชานุภาพ. สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๐


ตำนานพระโกษฐ
กรมพระสมมตอมรพันธุ์ กรมพระดำรงราชานุภาพ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์
ช่วยกันทรงสืบสวนเรียบเรียง
--------------------------

พระโกษฐที่ทรงพระบรมศพ แลพระศพเจ้านาย กับโกษฐที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบันดาศักดิ์สูง ซึ่งมีอยู่เวลานี้ รวมเบ็ดเสร็จมี ๑๔ อย่าง เรียงโดยลำดับยศเปนดังนี้
๑ พระโกษฐทองใหญ่
๒ พระโกษฐทองรองทรง นับเสมอพระโกษฐทองใหญ่
๓ พระโกษฐทองเล็ก
๔ พระโกษฐทองน้อย
๕พระโกษฐกุดั่นใหญ่
๖ พระโกษกุดั่นน้อย
๗ พระโกษฐมณฑปใหญ่
๘ พระโกษฐมณฑปน้อย
๙ พระโกษฐไม้สิบสอง
๑๐ พระโกษฐพระองค์เจ้า เดิมเรียกว่าโกษฐลังกา
๑๑ โกษฐราชินิกูล
๑๒ โกษฐเกราะ
๑๓ โกษฐแปดเหลี่ยม
๑๔ โกษฐโถ

ตำนานพระโกษฐทั้งปวงนี้ มีปรากฏในหนังสือพระราชพงษาวดารบ้าง บอกเล่าต่อกันสืบมาบ้าง ต้องสันนิฐานบ้าง มีตำนานดังแสดงต่อไปนี้ เรียงลำดับตามสมัยที่สร้าง

ที่ ๑ โกษฐแปดเหลี่ยม มีอยู่ ๔ โกษฐด้วยกัน แต่โกษฐหนึ่งนั้นเก่ามาก ไม่ทราบตำนานว่าสร้างครั้งไร สังเกตทำนองลวดลายเห็นเปนอย่างเดียวกับช่างครั้งรัชกาลที่ ๑ แต่ฝีมือทำนั้นหยาบมาก ถ้าจะกะเอาว่าสร้างแต่ครั้งกุรงธนบุรี ก็เห็นว่าจะเปนการสมควร ด้วยเหตุข้อ ๑ ยุคนั้นเวลาว่างการทัพศึกมีน้อย งานพระเมตุต้องรีบชิงทำในเวลาว่างอันเปนเวลาสั้น จึงต้องเร่งทำเอาแต่พอให้ใช้ได้ทันงาน จะให้งดงามถึงที่ไม่ได้ ข้อ ๒ โกษฐแปดเหลี่ยมนี้ เปนอย่างเดียวกันกับพระโกษฐกุดั่น อันมีตำนานปรากฏว่าสร้างเปนครั้งแรก ในรัชกาลที่ ๑  โกษฐแปดเหลี่ยมต้องมีอยู่ก่อนแล้ว พระโกษฐกุดั่นทำเอาอย่างจึงจะเปนได้ ซึ่งโกษฐแปดเหลี่ยมจะทำทีหลัง เอาอย่างพระโกษฐกุดั่นนั้นเปนไปไม่ได้ ใช้ประกอบศพที่ต่ำศักดิเปนกรรโชก เข้าใจว่าโกษฐแปดเหลี่ยมนี้เก่าแก่กว่าโกษฐชนิดอื่นหมด ด้วยยอดเปนหลังคา คงเปนแบบแรกที่แปลงมาจากเหมตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ยังอิก ๓ โกษฐนั้น โกษฐหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ว่าสร้างเมื่อไร แต่สังเกตฝีมือเห็นว่าคงทำราวรัชกาลที่ ๓ ฤๅที่ ๔ อิกโกษฐหนึ่งกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทำขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ใช้ประกอบศพหม่อมแม้น ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดชเปนคราวแรก อิกโกษฐหนึ่งกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ขอพระบรมราชานุญาตทำถวายในรัชกาลนี้ ใช้ประกอบศพเจ้าจอมมารดาสังวาลเปนประเดิม

ที่ ๒ โกษฐโถ มีอยู่ ๒ โกษฐ  โกษฐหนึ่งนั้นเก่ามาก ลวดลายแลฝีมือเหมือนกับโกษฐแปดเหลี่ยมใบเก่า เห็นได้ว่าทำรุ่นราวคราวเดียวกัน ไม่ปรากฏตำนานว่าสร้างเมื่อไร ได้ยินแต่กล่าวกันว่าเปนโกษฐเก่าแก่ ใช้มาแต่รัชกาลที่ ๑ แล้ว คำกล่าวเช่นนี้ ประกอบกับฝีมือที่ทำรุ่นเดียวกับโกษฐแปดเหลี่ยม ชักให้น่าเชื่อขึ้นอิก ว่าโกษฐแปดเหลี่ยมแลโกษฐโถทั้งสองอย่างนี้ สร้างแต่ครั้งกรุงธนบุรี ทำไมจึงเรียกโกษฐโถก็เข้าใจไม่ได้ รูปก็เห็นเหมือนโถ ทรงอย่างโกษฐแปดเหลี่ยมนั้นเอง แต่ถากแปลงเปนกลม ยอดแก้เปนทรงมงกุฎเหมือนชฎาลคร คงจะทำทีหลังโกษฐแปดเหลี่ยม แลเห็นจะใช้เปนยศสูงกว่าโกษฐแปดเหลี่ยม ด้วยยอดทรงมงกุฎพาให้เข้าใจไปเช่นนั้น แต่เดี๋ยวนี้ถือว่าต่ำกว่าโกษฐแปดเหลี่ยม ใช้สำหรับพระราชทานพระราชาคณะแลข้าราชการที่มีบันดาศักดิ์ได้รับพระราชทานโกษฐเปนชั้นต้น อิกโกษฐหนึ่งเปนของทำเติมขึ้นใหม่ พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการเปนผู้ทำ โดยรับสั่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๕

ที่ ๓ พระโกษฐกุดั่น ๒ พระโกษฐ สร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมะแม จุลศักราช ๑๑๖๑ (พ.ศ.๒๓๔๒) ทรงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี แลเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เมื่อทรงพระศพสมเด็จพระพี่นาง เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี แลเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เมื่อทรงพระศพสมเด็จพระพี่นางหุ้มทองคำทั้งสองพระโกษฐ  ตามคำที่ว่ากันว่าพระโกษฐกุดั่นนั้น ชำรุดหายไปเสียองค์หนึ่ง  สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงค้นหาได้มาแต่ตัวพระโกษฐ จึงทรงทำฝาแลฐานใหม่ประกอบเข้า พระโกษฐองค์นี้เรียกว่า “กุดั่นใหญ่” ฝีมือทำซึ่งปรากฏอยู่ที่กาบพระโกษฐนั้นงามอย่างยิ่ง สมกับที่มีตำนานว่าเปนของทำในรัชกาลที่ ๑ อิกองค์หนึ่งเรียกว่า “กุดั่นน้อย” องค์นี้ที่ว่าไม่ได้ชำรุดสูญหาย แต่ดูทำนองลายในกาบไม่ค่อยเทียมทันเสมอกันกับพระโกษฐกุดั่นใหญ่ อันมีตำนานว่าทำพร้อมกัน อาจจะเปนตัวแทนเสียแล้วก็ได้  พระโกษฐทั้งสององค์นี้เกียรติยศใช้ต่างกัน ทุกวันนี้ถือว่าพระโกษกุดั่นใหญ่เกียรติยศสูงกว่าพระโกษกุดั่นน้อย แลพระโกษฐกุดั่นน้อยนี้ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้ทรงสร้างเติมขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๕ อิกองค์ ๑

ที่ ๔ พระโกษฐไม้สิบสอง มีตำนานว่าสร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๑๖๕ (พ.ศ.๒๓๔๖) ทรงพระศพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท  ครั้งนั้นหุ้มทองคำ ในบัดนี้พระโกษฐไม้สิบสองมี ๒ องค์ ว่าเปนของเก่าองค์หนึ่ง เปนของสร้างเติมขึ้นใหม่อิกองค์หนึ่ง แต่ไม่ได้ความว่าสร้างเติมขึ้นเมื่อไร สังเกตดูรูปทรงลวดลายทั้งสององค์ ไม่เห็นสมเปนฝีมือช่างในรัชกาลที่ ๑ สักองค์เดียว

ที่ ๕ พระโกษฐทองใหญ่ สร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๗๐ (พ.ศ.๒๓๕๑) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โปรดให้รื้อทองที่หุ้มพระโกษฐกุดั่น มาทำพระโกษฐทองใหญ่ขึ้นไว้ สำหรับพระบรมศพของพระองค์ เมื่อทำพระโกษฐองค์นี้สำเร็จแล้ว โปรดให้เอาเข้าไปตั้งถวายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  ในปีนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระอาไลยมาก แลจะใคร่ทอดพระเนตรพระโกษฐทองใหญ่ออกพระเมรุตั้งพระเบญจา จึงโปรดให้เชิญพระโกษฐทองใหญ่ไปประกอบพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเปนครั้งแรก จึงเลยเปนประเพณีในรัชกาลต่อมา ที่พระราชทานพระโกษฐทองใหญ่ให้ทรงพระศพอื่นเปนพิเศษ นอกจากพระบรมศพได้  มีบาญชีจดไว้ในห้องพระอาลักษณลงมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ กรมพระสมมตอมรพันธ์พบบาญชีนี้ที่ได้ทรงจดต่อมาจนรัชกาลปัจจุบัน มีอย่างนี้

พระโกษฐทองใหญ่ ทรงพระบรมศพ แลพระศพ
(ตามที่จดไว้เดิมในห้องพระอาลักษณ์)

ในรัชกาลที่ ๑
๑ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ

ในรัชกาลที่ ๒
๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
๓ กรมพระราชวัง ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
๔ สมเด็จพระสังฆราชวัดราชสิทธาราม
๕ กรมหลวงพิทักษมนตรี
๖ กรมหลวงเทพวดี

ในรัชกาลที่ ๓
๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
๘ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์
๙ กรมขุนอิศรานุรักษ์
๑๐ กรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๑ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
๑๒ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์
๑๓ สมเด็จพระศรีสุลาไลย
๑๔ กรมหลวงเทพพลภักดิ์
๑๕ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
๑๖ กรมหมื่นอัปศรสุดาเทพ

ในรัชกาลที่ ๔
๑๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๘ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัศ
๑๙ กรมสมเด็จพระปรมานุชิต
๒๐ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร      เมื่อชัก
๒๑ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร
๒๒ กรมหลวงมหิศวรินทร ฯ         เมื่อชัก
๒๓ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพอย
๒๔ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
(จดหมายห้องพระอาลักษณหมดเท่านี้ ต่อนี้กรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงจด)

ต่อจากบาญชีนี้ที่ทราบ
กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ทราบว่าไม่ได้เปลี่ยนลองสี่เหลี่ยม ทรงพระโกษฐมณฑปตลอดงาน
๒๕ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๖ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ

ในรัชกาลที่ ๕
๒๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๘ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท       เมื่อชัก
๒๙ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์        เมื่อชัก
๓๐ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน
๓๑ สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน
๓๒ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
๓๓ กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์
๓๔ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์
๓๕ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
๓๖ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
๓๗ สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงษ์วโรไทย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ

ในรัชกาลปัจจุบัน
๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓๙ กรมหลวงวรเสรฐสุดา
๔๐ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์
                         (จดต่อเมื่อจะลงพิมพ์นี้)
๔๑ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช          เมื่อชัก
๔๒ กรมพระสมมตอมรพันธุ์               เมื่อชัก

ที่ ๖ พระโกษฐพระองค์เจ้า เรียกกันแต่แรกว่าโกษฐลังกา  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์สร้างขึ้น แต่ครั้งยังทรงผนวช เปนลองสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าขาว ยอดเปนฉัตรระบายผ้าขาว เมื่อในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ (ก่อนมีพระโกษฐมณฑปน้อย) ต่อมาพระโกษฐนี้ สำหรับทรงพระศพพระองค์เจ้าวังน่า แลพระองค์เจ้าตั้ง มาถึงในรัชกาลที่ ๕ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ จึงทรงคิดทำประกอบนอกขึ้น ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ทำเติมขึ้นใหม่อิกพระโกษฐหนึ่ง จึงมีอยู่ในเวลานี้ ๒ พระโกษฐด้วยกัน

ที่ ๗ พระโกษฐทองน้อย โปรดให้กรมพระเทเวศร์วัชรินทรสร้างขึ้นตามแบบอย่างพระโกษฐทองใหญ่เมื่อในรัชกาลที่ ๔ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ (พ.ศ.๒๓๙๔) สำหรับทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อผลัดพระโกษฐทองใหญ่ไปแต่งก่อนออกงานพระเมรุ เมื่อทรงพระบรมศพ ฤๅจะตั้งงานพระศพคู่กับพระโกษฐทองใหญ่แล้วหุ้มทองคำ ถ้าใช้งานอื่นไม่หุ้ม กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงจดคราวที่ได้หุ้มทองคำใช้นั้นไว้ มีอยู่ในท้ายบาญชีพระโกษฐทองใหญ่ อย่างนี้

พระโกษฐทองน้อยหุ้มทองชั่วคราว
๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

พระโกษฐทองน้อยนี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ กรุงเทพ) สร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๕ อิกองค์หนึ่ง

ที่ ๘ พระโกษฐมณฑปน้อย โปรดให้สมเด็จเจ้าพระบรมมหาพิไชยญาติสร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ สำหรับทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ ถ้าทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระโกษฐนี้หุ้มทองคำเฉภาะงาน

ที่ ๙ พระโกษฐมณฑปใหญ่ โปรดให้กรมขุนราชสีหวิกรมคิดอย่างสร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ (พ.ศ.๒๔๐๖) เอาแบบมาแต่พระโกษฐมณฑปน้อย ทรงพระศพกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ก่อน ด้วยกรมพระพิทักษ์เทเวศร์พระรูปใหญ่โต พระศพลงลองพระโกษฐสามัญไม่ได้ ต้องทำลองสี่เหลี่ยมขึ้นโดยเฉภาะ  จึงโปรดให้สร้างพระโกษฐมณฑปนี้สำหรับประกอบลองสี่เหลี่ยม พระโกษฐมณฑปใหญ่นี้ ต่อมาสร้างขึ้นอิกองค์หนึ่ง แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่

ที่ ๑๐ โกษฐเกราะ สร้างขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ (พ.ศ.๒๔๐๖) สำหรับศพเจ้าพระยานิกรบดินทร ด้วยท่านอ้วน ศพลงลองสามัญไม่ได้ ต้องทำลองสี่เหลี่ยม จึงโปรดให้ทำโกษฐเกราะขึ้นประกอบ ที่เรียกว่า “โกษฐเกราะ” เพราะลายสลักเปนเกราะรัด

ที่ ๑๑ โกษฐราชินิกูล โปรดให้กรมขุนราชสีหวิกรม สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๘ (พ.ศ.๒๔๐๙) พระราชทานให้ประกอบศพพระยามนตรีสุริยวงษ์ (ชุ่ม บุนนาค) ก่อนผู้อื่น

ที่ ๑๒ พระโกษฐทองเล็ก โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๔๙ (พ.ศ.๒๔๓๐) ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เปนที่แรก แล้วได้ใช้ทรงพระศพเจ้านายต่อมา มีบาญชีกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงจดไว้ ในท้ายบาญชีพระโกษฐทองใหญ่อย่างนี้

พระโกษฐทองเล็ก
๑ สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
๒ สมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพชรรุตม์ธำรง
๓ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี
๔ กรมขุนสุพรรณภาควดี
๕ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

ที่ ๑๓ พระโกษฐทองรองทรง โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีชวด รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓) พระโกษฐองค์นี้ นับเหมือนกับพระโกษฐทองใหญ่ สำหรับใช้แทนที่พระโกษฐทองน้อย เวลาที่จะต้องหุ้มทองคำ เพื่อจะไม่ให้ต้องหุ้มเข้าแลรื้อออกบ่อยๆ มีบาญชีคราวที่ได้ใช้ทรงพระบรมศพแลพระศพกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงจดไว้ในท้ายบาญชีพระโกษฐทองใหญ่อย่างนี้

พระโกษฐทองรองทรง
ในรัชกาลที่ ๕

๑ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์
๓ สมเด็จเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ

ในรัชกาลปัจจุบัน
๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาแต่งพระโกษฐทองใหญ่
๕ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค
๖ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกย์ลักษณวดี

ยังมีเครื่องประดับสำหรับพระโกษฐอิก เช่นพระโกษฐทองใหญ่ มีดอกไม้เพ็ชร เปนพุ่มเข้าบิณฑ์ ดอกไม้ไหว เฟื่อง ดอกไม้เอว ของเหล่านี้ประดับครบทุกอย่างแต่พระบรมศพ ถ้าพระราชทานให้ทรงพระศพเจ้านาย โดยปรกติไม่มีเครื่องประดับ ถ้าพระราชทานเครื่องประดับด้วย มีเปนชั้นๆ กัน ชั้นต้นประดับพุ่มเข้าบิณฑ์กับเฟื่อง ชั้นสูงรองแต่พระบรมศพ ประดับดอกไม้เอวด้วยอิกอย่างหนึ่ง พระโกษฐเจ้านายก็มีเครื่องประดับคือยอดพุ่มเข้าบิณฑ์แลเฟื่อง ต่อที่ทรงบันดาศักดิสูง จึงใช้เครื่องประดับ ถ้าพระราชทานให้ทรงศพเจ้านายชั้นต่ำลงมา ฤๅขุนนาง ไม่ใช้เครื่องประดับ


คัดโดยคงพยัญชนะและตัวสะกดเดิม
จาก
: หนังสือประชุมพงษาวดารภาคที่ ๘
เรื่อง ตำนานพระโกษฐ
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ณ ถนนรองเมือง
ปีมเสง พ.ศ.๒๔๖๐

(พิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เริ่มแต่การเกิดแห่งสากยวงศ์ จนถึงออกผนวช (๒๑ เรื่อง) « 1 2 »
พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 20 18012 กระทู้ล่าสุด 15 ธันวาคม 2552 21:40:52
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
แนะนำหนังสือน่าอ่านครับ เรื่อง สิ่งที่ควรอธิษฐาน
สุขใจ หนังสือแนะนำ
ปู่ซ่า....นะเออ 12 7827 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2553 13:54:39
โดย ปู่ซ่า....นะเออ
นิทานธรรม เรื่อง พ่อนก
นิทาน - ชาดก
หมีงงในพงหญ้า 9 8298 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2553 23:16:06
โดย หมีงงในพงหญ้า
นิทานกลอนธรรมะ เรื่อง เศรษฐีขี้เหล้า
สุขใจ ใต้เงาไม้
เงาฝัน 0 4955 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2553 13:17:37
โดย เงาฝัน
นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง พ่อ-ลูก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 3532 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2553 20:44:50
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.572 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 09 กรกฎาคม 2566 15:52:34