[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:43:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปีติแห่งศรัทธา สังฆราชาของประชาชน  (อ่าน 2041 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.274 Chrome 50.0.2661.274


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2560 12:24:32 »



  ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - สร้างความปีติยินดีแก่ปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” โปรดสถาปนา “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร)” ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
       
       ตลอดทั้ง 3 วัน( 13-15 กุมภาพันธ์ 2560) ของการเปิดให้เฝ้าถวายสักการะและแสดงมุทิตาจิต ประชาชนจากทั่วสารทิศเดินทางมาเฝ้าสักการะอย่างเนืองแน่น และไม่เพียงแต่พุทธศาสนิกชนเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงศาสนิกและผู้นำของศาสนาต่างๆ ในราชอาณาจักรไทยอีกด้วย
       
       เรียกว่าเป็น “ปีติแห่งศรัทธา” ที่มีต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช พระองค์นี้ และนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและความปรองดองของคนไทยทั้งชาติอย่างแท้จริง
       
       ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจำนวนมากทยอยเดินทางมาอย่างไม่ขาดสายเป็นขบวนยาวเหยียดตั้งแต่รุ่งเช้าจนล้นพื้นที่รอบพระอุโบสถ เพื่อรอกราบสักการะสมเด็จพระสังฆราช ทำให้ต้องมีการจัดระเบียบการเข้าถวายสักการะ ซึ่งได้กำหนดเวลาไว้ 2 รอบ คือ 09.00 น. -10.30 น. และ 14.00 - 16.00 น. โดยทางวัดได้จัดเตรียมสถานที่และนำเก้าอี้มาจัดวางไว้รอบพระอุโบสถเพื่ออำนวยความสะดวก
       
       แม้ในยามบ่ายที่ระอุอุ่นไปด้วยความร้อนจากแสงแดดที่แผดเผา ก็ไม่สามารถบดบังศรัทธาอันแรงกล้า ไม่ได้ทำให้แต่ละคนย่อท้อ ในทางตรงกันข้ามหัวใจกลับเปี่ยมไปด้วยความสุขที่จะรอและได้เข้าเฝ้ากราบสักการะ เป็นปรากฏการณ์ปีติแห่งศรัทธาอันเป็นที่ประจักษ์ในสายตาของคนทั้งโลก





 รชยาภัสร์ แดงอุไร บอกว่า เดินทางออกจากบ้านย่านลาดพร้าว ตั้งแต่ตี 4 และมีโอกาสเข้ากราบสมเด็จพระสังฆราช ในรอบเช้า รู้สึกมีบุญที่ได้มากราบพระองค์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว พร้อมกันนี้ ตั้งใจปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอีกด้วย
       
       เช่นเดียวกับ มาลัย แสงสุข ซึ่งหลังจากทราบว่าจะเปิดให้กราบสักการะ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเวลา 3 วัน จึงชวนเพื่อนสนิทมากราบพระองค์ ถึงแม้ว่าต้องรอคิวเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในรอบบ่าย 2 แต่มีความยินดีรอเป็นอย่างยิ่ง การเข้ากราบสักการะสมเด็จพระสังฆราช ครั้งนี้รู้สึกปลื้มปีติ มีความสุข เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตแล้ว
       
       ขณะที่ วรารมย์ อยู่ทรง และ จิปภานัท คำแตง เปิดเผยว่า ตั้งใจนำพวงมาลัยมากราบสมเด็จพระสังฆราช ในพระอุโบสถ และรู้สึกดีใจที่ได้รับหนังสือประวัติของพระองค์ที่ศิษยานุศิษย์นำแจกเป็นที่ระลึก
       
       ทั้งนี้ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาทครั้งแรกแก่ประชาชน โดยทรงมอบหลักธรรมให้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อความรุ่งเรืองสืบไปว่า....
       
        “ขออำนวยพรให้กับพุทธศาสนิกชนที่ได้มาประชุมด้วยจิตใจเปี่ยมด้วยกุศล ขออนุโมทนาให้ท่านทั้งหลายที่ได้มากันในวันนี้ เพื่ออำนวยพร แสดงมุทิตาจิตแด่อาตมาในโอกาสได้รับสถาปนา ขออนุโมทนาสาธุการ ขอบใจอุบาสก อุบาสิกาทุกท่านที่มีจิตใจเป็นกุศล ท่านทั้งหลายก็มีธรรมะคือความดี และความงามประจำใจอยู่แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายรักษาความดี ความงามให้คงที่ตลอดไป
       
        "ขอให้เรารักษาจิตใจที่เราเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย ให้คงที่ไว้ อาตมาก็ขออนุโมทนาสาธุการับท่านอีกครั้ง ขอให้ท่านรักษาความดีอันนี้ไว้ หลักที่เราทั้งหลายปฏิบัติมาทุกวันก็ขอให้รักษาไว้ รวบยอดแล้วหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้แสดงให้เรายึดถือปฏิบัติก็มีอยู่ 3 ประการดังที่ท่านทั้งหลายทราบแล้ว ปฏิบัติกันอยู่แล้ว หลักศีล สมาธิ ปัญญา สามอย่างนี่ล่ะ ถ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านทั้งกลายก็จะบอกว่ามันยาก สูงทำไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายได้ทำมันอยู่ประจำอยู่ทุกวันน่ะ
       
        “อาตมาขอมอบภาษิตนี้ให้ท่านทั้งหลายไปปฏิบัติดู ภาษิตนั้นเป็นภาษาบาลี 'ธรรมา สัพเพสัง สังฆภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา' ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ยังความเจริญวัฒนาถาวรให้สำเร็จ คำนี้ใช้ได้ทุกกาลเวลาทุกรัชสมัย"

       
       ทั้งนี้ “สัพเพสัง สังฆภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา” เป็นภาษิตธรรมภาษาบาลี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีความหมายว่า ความพร้อมเพรียงแห่งชน ผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญวัฒนาถาวรให้สำเร็จ ซึ่งตรงกับช่วงที่ต่างชาติเข้ามาล่าเมืองขึ้น
       
       จากนั้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางนราพร จันทร์โอชา ภริยา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าเฝ้าถวายสักการะ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ราชาแห่งหมู่สงฆ์ผู้ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัทอย่างแท้จริง
       
       โอกาสเดียวกันนี้ สมเด็จพระสังฆราช มีพระดำรัสต่อนายกรัฐมนตรีโดย พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี น้อมรับพระดำรัส ความว่า จะมีสติในการทำงาน ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท และจะตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข พร้อมทั้งกล่าวถวายพระพรให้สมเด็จพระสังฆราช มีพระพลานามัยแข็งแรง
       
       และไม่เพียงแต่พุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่มีศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช พระองค์นี้ หากแต่ผู้แทนองค์กรแห่งศาสนาคริสต์และอิสลามในประเทศไทย ต่างก็เดินทางมาเฝ้าถวายสักการะเช่นเดียวกัน เริ่มจาก พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่เดินทางมาเฝ้าในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จากนั้นในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 นายประสาน ศรีเจริญ รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี ในฐานะผู้แทนจุฬาราชมนตรี ได้ถวายสารพร้อมแจกันดอกไม้ในโอกาสที่ได้ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช










 ทั้งนี้ นายประสาน กล่าวภายหลังเฝ้าถวายสักการะว่า ในฐานะผู้แทนจุฬาราชมนตรีและพี่น้องมุสลิมแห่งประเทศไทย ได้มาแสดงความปีติยินดีที่พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒๐ ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีงาม โดยพระองค์มีพระดำรัสว่าเราเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน มีอะไรก็ต้องปรึกษาหารือกัน ที่สำคัญ สมเด็จพระสังฆราช ตรัสว่า ที่ผ่านมาอาจมีผู้ไม่หวังดี ทำให้เราเข้าใจแตกต่างกัน พระองค์จึงทรงย้ำว่าหากเรายังยึดตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ก็จะไม่เกิดความแตกแยก
       
       พระดำรัสของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ที่มีต่อผู้แทนพี่น้องมุสลิมในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นพระดำรัสที่ลึกซึ้งและมีความหมายต่อสถานการณ์ความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง
       
       ขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงย้ำถึงภาษิต “สัพเพสัง สังฆภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา” อีกครั้งว่า “ภาษิตนี้แปลว่าความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้น ถือเป็นเครื่องเตือนใจ ขอให้พวกเราทุกท่านได้ยึดความสามัคคีไว้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีความแตกแยก ช่วยกันคิดพัฒนาตัวเอง ส่วนรวม ให้เกิดความรุ่งเรืองทางวัตถุและจิตใจ โดยเรื่องจิตใจต้องสอนใจตัวเองได้ ก็จะเจริญก้าวหน้า”
       
       อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ใหม่ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระราชโองการสถาปนา “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)” เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็น “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใจความว่า
       
        “บัดนี้เป็นที่ประจักษ์ว่าสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็นผู้เจริญยิ่งด้วยพรรษายุกาล รัตตัญญูมหาสถาวีรธรรม ยินดีในเนกขัมมปฏิบัติ ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ เป็นอจลพรหมจริยาภิรัต ดำรงมั่นในไตรสิกขามิได้เสื่อมถอย มีจริยาการสำรวมเรียบร้อย ไม่หวั่นไหวต่อโลกามิส เป็นคุรฐานียบัณฑิต ผู้มีกิตติประวัติอันผ่องแผ้ว สงเคราะห์พุทธบริษัท ปกครองคณะสงฆ์ เป็นอุปัธยาจารย์ของมหาชนมากมาย มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายไพศาล
       
        เป็นที่เคารพสักกรานแห่งมวลพุทธศาสนิก บริษัททั่วสังฆมณฑล ตลอดจนประชาราษฎร์ทั่วไป สมควรจะได้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑล เพื่อเป็นศรีศุภมงคลแห่งพระบวรพุทธศาสนาสืบไป
       
        จึงมีพระราชโองการโปรดสถาปนา สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จสถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพฯ เป็นประธานในสังฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร”

       
       ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนับเป็นปีติแห่งศรัทธาใน “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(อัมพร อมฺพโร)” อันนำมาซึ่งความสุขของประชาชนชาวไทยในทุกเชื้อชาติและศาสนาอย่างแท้จริง

จาก http://astv.mobi/AU9mQeZ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.376 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 02:48:55