[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 10:39:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นแบบในการศึกษา พิมพ์พระเครื่องมาจากไหน  (อ่าน 1688 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 มีนาคม 2560 19:07:45 »


พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

ต้นแบบในการศึกษา พิมพ์พระเครื่องมาจากไหน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันก่อนผมได้สนทนากับเพื่อนๆ ที่เริ่มสนใจพระเครื่อง และเขาก็มีคำถามและข้อสงสัยที่ดีเกี่ยวกับการพิจารณาพระเครื่องว่าแท้หรือไม่ นำหลักการพิจารณาเรื่องแม่พิมพ์และเนื้อพระมาจากไหน เชื่อถือได้แค่ไหน เป็นคำถามที่ดีครับ และสำหรับท่านที่เริ่มสนใจก็คงจะมีคำถามคล้ายๆ กันนะครับ

เรื่องการพิจารณาพระเครื่องว่าแท้หรือไม่ ก็มีเรื่องพิมพ์ เนื้อหาของพระ และธรรมชาติของพระ ตามที่เคยพูดคุยกันมาแล้ว แต่คำถามนี้ถามถึงเรื่องตัวต้นแบบที่นำมาเป็นหลักพิจารณานั้นถูกต้องแค่ไหน อย่างไร?

เรื่องของหลักการพิจารณาพิมพ์พระเครื่องนั้น ถ้าเป็นพระที่มีการสร้างที่ยังไม่เก่ามากนักก็พอที่จะศึกษาได้จากองค์พระที่เช่ามาจากวัดนั้นๆ ได้เลย  แต่พระเครื่องที่สร้างมานานแล้ว และก็เกิดไม่ทันล่ะเราจะเอาอะไรมาเป็นบรรทัดฐาน เช่น พระเครื่องที่สร้างมาเป็นร้อยๆ ปี อย่างเช่นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ หรือพระเครื่องในยุคเก่าๆ เช่น ในสมัยอยุธยา สุโขทัย เป็นต้น

คำตอบก็คือ พระเครื่องในยุคเก่าๆ เป็นร้อยปีนั้น ความจริงก็มีการเล่นหาสะสมมาก่อนนานแล้ว และเมื่อมีการเล่นหาสะสมก็ย่อมมีการปลอมแปลงเป็นของคู่กันมานานแล้วเช่นกัน

ดังนั้น จึงมีนักนิยมสะสมพระเครื่องพยายามที่จะหาจุดสังเกตพระเครื่องในการพิจารณาว่าแท้หรือไม่มานานแล้วเช่นกัน ในส่วนที่เป็นพระกรุพระเก่าในยุคสมัยต่างๆ ก็มีผู้ที่เข้าไปขุดพบนำพระออกมาขาย และก็มีผู้นิยมพระเครื่องในสมัยนั้นๆ ไปเช่ามา ในบางครั้งเช่นยุคที่มีการเสาะหาพระเครื่องมากๆ เช่น ในสมัยสงครามโลก สงครามอินโดจีน ก็มีการเช่าต่อจากนักขุดที่ปากกรุเลยก็มี นอกจากนี้ก็มีพระเครื่องที่กรมศิลปากรนำพระเครื่องที่เปิดกรุเป็นทางการ (ก่อนปี พ.ศ.2500) และนำพระเครื่องที่ขุดพบเป็นจำนวนมากออกมาให้เช่าบูชาเอง เพื่อนำปัจจัยไปเป็นทุนในการบูรณะโบราณสถานทั่วประเทศ ก็จะมีบันทึกไว้ว่าเป็นพระชื่ออะไร ได้พบที่กรุไหน วัดใด เป็นต้น พระเครื่องเหล่านี้ก็จะมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และมีองค์พระต้นแบบที่ถูกต้องเป็นหลักฐาน และมีองค์พระต้นแบบที่ถูกต้องให้ศึกษาพิมพ์ เนื้อหาของพระ เพื่อการแยกพระแท้และพระปลอม ซึ่งพระปลอมก็มีมานานแล้่วเช่นกัน เพราะผลประโยชน์ในเรื่องมีสนนราคาเป็นค่าตอบแทน ดังนั้น การศึกษาเรื่องพระแท้หรือไม่ก็มีความจำเป็นและสำคัญมานานแล้ว

ผมขอยกตัวอย่างที่มีคนสนใจมาก คือพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ มีบันทึกไว้หรือไม่ เชื่อได้แค่ไหน? ครับเรื่องพระสมเด็จนั้นก็มีบันทึกไว้เช่นกัน จากท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) ซึ่งท่านบรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2399 และอุปสมบท โดยท่านประคุณสมเด็จฯ มรณภาพท่านเจ้าคุณธรรมถาวรได้ช่วยในการกดพิมพ์พระสมเด็จฯ ด้วยในปี พ.ศ.2409 และจำได้ดีว่าใครเป็นคนแกะแม่พิมพ์ ก็ได้บันทึกไว้โดยละเอียด เราจึงรู้ว่าใครเป็นผู้แกะพิมพ์พระ ผมก็จะไม่กล่าวถึงมากนักนะครับ

ทีนี้ก็รู้ได้อย่างไรว่าพระองค์ไหนเป็นพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้าง? แล้วนำมาเป็นต้นแบบในการศึกษาในระยะเริ่มแรกในสมัยนั้น มีการเสาะหาพระสมเด็จฯ กันมาก เริ่มหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นได้ 1 ปี คือในปี พ.ศ.2416 เกิดโรคระบาด มีบันทึกไว้ว่า เป็นปีระกาป่วงใหญ่ (โรคอหิวาตกโรค) ในสมัยนั้นยารักษาโรคยังไม่ทันสมัย ยาฝรั่งก็หายากและราคาแพงมาก ชาวบ้านในแถบย่านวัดระฆังฯ ที่ได้รับแจกพระไปจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงนำพระสมเด็จฯ ไปแช่น้ำทำน้ำมนต์ดื่มกิน เพื่อพึ่งบารมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ ปรากฏว่าหายป่วยไปทุกราย ข่าวนี้จึงแพร่ออกไป และมีการเสาะหาพระสมเด็จฯ กันมากในปีนั้น และพระปลอมก็เริ่มมีการทำออกมาขายกันตอนนั้นแล้วครับ

เรามาคุยกันต่อเรื่องที่กล่าวไว้ในวันก่อน ว่านำอะไรมาเป็นต้นแบบที่จะศึกษาว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่แท้ ตามที่ยกตัวอย่างถึงหลักการพิจารณาพระสมเด็จฯ นั้น นำมาจากอะไรอย่างไร มีหลักฐานอะไรมารองรับ

การแยกแยะพระสมเด็จฯ ว่าแท้หรือไม่ ใช่หรือไม่ก็ต้องมีมาตั้งแต่สมัยนั้น (ปีระกาป่วงใหญ่ พ.ศ.2416) การศึกษาต้นแบบมาจากไหน ก็ศึกษาจากพระของผู้ที่ได้รับพระสมเด็จฯ มาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งก็มีทั้งชาวบ้านในละแวกวัดระฆังฯ จากเจ้านายวังหลังซึ่งวังอยู่ใกล้กับวัดที่ได้ครอบครองพระไว้ และจากท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) นำพระมาเปรียบเทียบกันหลายๆ องค์ จึงรู้ว่า มีพิมพ์อยู่กี่พิมพ์ เนื้อหาเป็นอย่างไรนำพระแม่พิมพ์เดียวกันมาเปรียบเทียบกันหลายๆ องค์ ก็จึงรู้ได้ว่า แม่พิมพ์เป็นอย่างไร มีจุดตำหนิ จุดสังเกตอย่างไร ธรรมชาติในการสร้างพระที่เกิดขึ้นหลังจากการสร้างเป็นอย่างไร ขั้นตอนนี้ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ในสมัยนั้น

สิ่งเหล่านี้ก็ได้ถูกค้นคว้าเพิ่มเติมจากท่านผู้อาวุโสในสังคมพระเครื่องรุ่นเก่าต่อๆ มาอีก และถ่ายทอดกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยึดถือเป็นมาตรฐานในการพิสูจน์พระแท้หรือไม่ต่อมา และเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง จนมีมาตรฐานมูลค่าเป็นที่รองรับครับ

หลักการในการหาจุดสังเกตหรือตำหนิ ท่านผู้อาวุโสหลายๆ ท่านได้สอนผม และให้ไปหาเอาเองแล้วจึงมาถามท่านอีกที เป็นการสอนในสมัยก่อน เพื่อให้เราจดจำเมื่อหาจนหาไม่เจอแล้ว ท่านจึงแนะนำให้อีกครั้ง ขั้นแรกก็ให้แบ่งองค์พระออกเป็น 2 ส่วน โดยแบ่งเป็นซ้ายและขวา ท่านให้หาดูว่า ด้านซ้ายและด้านขวาขององค์พระนั้นเหมือนกันหรือไม่ ต่างกันอย่างไร มีอะไรบ้างให้เป็นจุดสังเกต แล้วจึงมาตอบท่าน ผมก็ลองหาดูก็พบว่า พระทั้งด้านซ้ายและด้านขวานั้นไม่เหมือนกันเลย ตั้งแต่เศียรลงมาจนถึงด้านล่าง มีข้อแตกต่างเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นแก้มซ้าย แก้มขวา บ่าไหล่ หน้าตัดเข่าซ้าย-ขวา ตลอดจนฐานขององค์พระทั้งด้านซ้ายและขวา แล้วก็นำจุดที่หาได้ไปบอกท่าน ท่านก็แนะนำต่อว่า แล้วในส่วนของมิติและ ความลึกตื้นของทั้ง 2 ด้านเป็นอย่างไร ข้อนี้ผมยังไม่ได้สังเกต ก็ต้องไปหามาเพิ่มอีก ท่านก็แนะนำว่า จำไว้ให้ดี ทั้งรูปทรงและมิติเป็นเรื่องสำคัญทั้งสิ้น ด้านข้างของพระ การตัด ด้านหลังของพระเป็นอย่างไร เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องการประกอบการพิจารณาทั้งสิ้น หลังจากนั้นก็มาเป็นเรื่องของเนื้อพระ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสำคัญทั้งสิ้น ในสมัยนั้นผมยังโชคดี ที่ท่านผู้ใหญ่เอ็นดู และยังมีพระแท้มาให้ศึกษา จึงได้เห็นพระแท้ๆ หลายองค์ หลังจากนั้นท่านก็ให้ผมเขียนรูปพระที่ศึกษา ผมก็บอกว่าเขียนรูปไม่เป็นเขียนแล้วไม่สวยแน่ๆ ท่านบอกว่าไม่เป็นไรเขียนมาเถอะ ท่านบอกว่าการที่เราจำได้ว่าอะไรอยู่ตำแหน่งไหนและเป็นอย่างไรก็พอ การที่จำพระได้ต้องหลับตาก็สร้างมโนภาพเป็นรูปพระได้ จึงใช้ได้ แล้วก็เขียนมาให้ดูตามที่เข้าใจโดยที่ไม่ต้องดูองค์พระ ผมก็ลองเขียนดูจนจำได้ ถึงแม้รูปจะไม่สวยก็จะต้องถูกต้องตามจุดต่างๆ และฝึกปฏิบัติมาจนขึ้นใจ และเมื่อท่านมีพระองค์ใหม่ก็จะนำมาให้ดู และถามว่าเป็นพิมพ์อะไรแท้หรือไม่ ตลอดจนมีการเสริมสวยหรือซ่อมหรือไม่

ครับก็นับว่าผมโชคดีที่ผู้ใหญ่ในสมัยนั้นท่านกรุณาสอนให้ และหลักการเหล่านี้สามารถใช้ได้กับทุกพระ คือเราก็ต้องศึกษาพระนั้นๆ ตามหลักการนี้ ก็พอจะสามารถพิจารณาพระนั้นๆ ได้ ให้เหตุผลกับตัวเราเองได้ และต้องหมั่นฝึกฝนไปตลอด เหมือนกับมีดต้องหมั่นลับคมจึงจะใช้ได้ดี

ท่านผู้อ่านที่กำลังศึกษาพระเครื่อง ท่านก็สามารถศึกษาได้เองหรือจากผู้ที่ท่านเชื่อถือ โดยในปัจจุบันก็มีรูปภาพพระเครื่องแท้ๆ อยู่มากมาย ก็ทดลองหารูปพระแท้ๆ ในพิมพ์เดียวกันมาหลายๆ รูปมาเปรียบเทียบกันดู (สำคัญว่าต้องเป็นรูปพระแท้นะครับ) แล้วลองแบ่งรูปเป็นซ้าย-ขวา ค้นคว้าดูครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อีกองค์หนึ่งมาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.307 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 11:48:06