[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 19:57:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตรกรรมเล่าเรื่อง - ความหมายจากภาพจิตรกรรมโบสถ์ วิหาร ฯลฯ  (อ่าน 12100 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มีนาคม 2560 20:12:44 »

เรื่องเล่าจาก "จิตรกรรมฝาผนัง" โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพและความสามารถของศิลปินไทย
ที่คิดสร้างสรรผลงานศิลปะอันงดงามฝากไว้กับแผ่นดิน ซึ่งผลงานได้สะท้อน
เหตุการณ์ความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนา และบรรยายวิถีชีวิต
สังคม เหตุการณ์การเมือง และการปกครอง ของชนชาวไทย

จิตรกรรมดังกล่าว จึงนับว่ามีค่าแก่คนปัจจุบันเป็นอย่างมาก ในการศึกษา
ค้นคว้าเหตุการณ์ในอดีต นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่เรามีศิลปิน
มากด้วยทักษะความสามารถ สมควรอนุรักษ์ผลงาน "จิตรกรรมฝาผนัง"
ไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

----------------------------


สมเด็จท้าวอมรินทร์เห็นว่าได้เวลาที่พระนางผุสสดี พระมเหสีจะจุติลงไปเกิดในมนุษย์โลก จึงพาพระนางไปยังสวนนันทวันเพื่อให้รื่นเริง
ไม่ระลึกถึงอะไรพอได้โอกาสก็ตรัสว่า เจ้าจะลงไปเกิดในมนุษย์โลกแล้ว เราจะให้พร ๑๐ ประการ จงรับเอาพร ๑๐ ประการเถิด
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร  อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถเรื่องพระเจ้าสิบชาติ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร  จ.พระนครศรีอยุธยา

เมื่อพระวิปัสสีพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว พระเจ้าพันธุมราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพันธุมดีนคร มีพระราชธิดาสองพระองค์ ราชธิดาทั้งสองนั้นเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเมืองขึ้นส่งดอกไม้ทองและแก่นจันทน์แดงมาถวายเป็นเครื่องบรรณาการ พระองค์ก็พระราชทานดอกไม้ทองแก่ราชธิดาผู้น้อง ส่วนแก่นจันทน์แดงให้แก่ราชธิดาผู้พี่

ผู้น้องก็เอาดอกไม้ทองให้ช่างทำเป็นเครื่องประดับอก แล้วนำไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมตั้งความปรารถนาว่า "เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ดอกไม้ทองนี้จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าทุกชาติ"  

ส่วนราชธิดาผู้พี่นั้นให้บดจันทน์แดงเป็นผง แล้วนำไปถวายพระปัสสีพุทธเจ้า พร้อมกับโปรยปรายไปรอบพระกุฎีที่อาศัยของพระพุทธเจ้าพร้อมกับตั้งความปรารถนาว่า "หากข้าฯ ได้เกิดในชาติใด ขอให้ได้เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้าในอนาคตเถิด"

ทั้งสองได้จุติจากชาตินั้น ผู้น้องได้ไปเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ากิงกิสราช มีเครื่องประดับอกเกิดพร้อมกับปฏิสนธิ เมื่อเจริญวัยได้ฟังธรรมของพระกัสสปพุทธเจ้า ก็สำเร็จอรหันต์นิพพานในสมัยกาลนั้น

ส่วนนางราชธิดาผู้พี่ จุติจากชาตินั้นแล้วก็ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ เป็นมเหสีของท้าวอมรินทราธิราช ทรงพระนามว่าผุสสดี

อยู่มาจนกระทั่งท้าวอมริทน์เห็นว่าได้เวลาที่พระนางจะจุติลงไปเกิดในมนุษย์โลก จึงพาพระนางไปยังสวนนันทวันเพื่อให้รื่นเริง ไม่ระลึกถึงอะไร พอได้โอกาสก็ตรัสว่า เจ้าจะลงไปเกิดในมนุษย์โลกแล้ว เราจะให้พร ๑๐ ประการ จงรับเอาพร ๑๐ ประการเถิด

พระนางก็ได้ทูลขอพร ๑๐ ประการ คือ
๑.ขอให้ไปเกิดในปราสาทพระเจ้าสีวิราช
๒.ขอให้ตาดำขลับดุจตาเนื้อทราย
๓.ขอให้ขนคิ้วดำสนิทดุจสร้อยคอนกยูง
๔.ขอให้ได้นามว่า "ผุสสดี" เช่นเดิม
๕.ขอให้มีโอรสที่ยิ่งใหญ่กว่าพระยาทั้งหลายในสกลชมพูทวีป
๖.เมื่อทรงครรภ์ขอให้ครรภ์ราบเรียบ ไม่โหนกนูนเหมือนครรภ์หญิงทั่วไป
๗.เมื่อยามมีโอรส อย่าให้ถันเลื่อนลดและสีดำผิดไปจากเดิม
๘.ขอให้เกสาดำขลับไม่รู้จักหงอก
๙.ขอให้ผิวกายบริสุทธิ์สะอาด ละเอียดอ่อนนุ่ม ผงธุลีหรือฝุ่นละอองไม่สามารถติดผิวกาย
๑๐.ขอให้เป็นผู้ได้ช่วยชีวิตผู้ที่ต้องพระราชอาญาได้

ซึ่งท้าวเธอก็ประสาทพรให้ดังประสงค์





พระเวสสันดร เป็นเรื่องประวัติของพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ที่มีผู้รู้จักกันมาก เพราะต่อจากชาตินี้แล้ว
ก็มาประสูติเป็น "สิทธัตถกุมาร" แล้วออกบวช ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


พระนางผุสสดีก็จุติลงมาบังเกิดในปราสาทกษัตริย์มัททราช เมื่อประสูติออกมาแล้วพรทั้งปวงก็ปรากฏแก่พระนาง ยังขาด
แต่บางข้อซึ่งพระนางยังไม่เจริญวัยพอที่จะสมปรารถนาในพรนั้นได้ ครั้นพระนางพระชนม์ได้ ๑๖ ปี ก็ได้อภิเษกเป็นมเหสี
ของพระเจ้าสญชัย แห่งกรุงสีพีราช สมเด็จท้าวอมรินทร์รู้ว่าพระผุสสดีอภิเษกแล้ว และเห็นว่าพรทั้ง ๑๐ ประการยังไม่
สมบูรณ์แก่พระนาง  จำจะต้องสงเคราะห์พระนางให้ได้พรบริบูรณ์ จึงพร้อมด้วยเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายพากันไปทูลเชิญ
อาราธนาพระโพธิสัตว์จากดุสิต ให้จุติลงสู่พระครรภ์ของพระนาง

ครั้นต่อมาพระนางได้ทรงพระครรภ์แล้วประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “เวสสันดร” ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนาง
พญาช้างฉัททันต์อันท่องเที่ยวไปในอากาศตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์ จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า
ปัจจัยนาเคนทร์ เป็นช้างเกิดสำหรับบุญของพระเวสสันดร

พระเวสสันดรยินดีในการให้ทานอยู่เป็นเนืองนิตย์ ได้ตั้งโรงทานถึง ๖ แห่งในพระนคร คือที่ประตูเมืองทั้ง ๔ และกลางเมือง
และอีกแห่งหนึ่งคือที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนมายุได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาก็ให้เสวยราชสมบัติ และ
สู่ขอพระมัทรี ตระกูลมาตุลราชวงศ์มาอภิเษกให้เป็นมเหสีของท้าวเธอ ทรงดำรงในทศพิธราชธรรม มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ
ชาลี ราชธิดา ๑ องค์ ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทานบริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ
 


พระเวสสันดรประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แกชาวกลิงราษฎร์ (พระเวสสันดรทรงรินน้ำในคนโทลงที่มือของพราหมณ์
ประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่ชาวกลิงคราษฎร์  : สมัยก่อนโน้น เขาน้ำรินลงที่มือคนรับ เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด)
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดพนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


พระเวสสันดรประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แกชาวกลิงราษฎร์
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร  อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ในวาระหนึ่ง เมืองกลิงครัฐเกิดข้าวยากหมากแพงเ ฟ้าฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล พระเจ้ากาลิงคราช
หมดปัญญาที่จะทำให้ฝนตกได้ แม้ประชาชนจะพากันแห่นางแมวและเซ่นสรวงเทพาอารักษ์ขอให้ฝนตก
ฝนก็ไม่ตกไปได้ พระองค์จึงทรงปรึกษากับบรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตว่าจะทำประการใดดี จึงจะให้ฝนตก
ตามฤดูกาลได้  อำมาตย์ผู้หนึ่งจึงได้ทูลว่า เมืองสีพีเป็นเมืองบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาธัญญาหารทั้งปวง เพราะ
พระเวสสันดรกษัตริย์สีพีได้เสด็จขึ้นคอคชสาร "ปัจจัยนาเคนทร์" เสด็จไปทั่วพระนคร ช้างตัวนี้วิเศษนัก
ไปที่ไหนฝนตกที่นั่น จึงควรไปทูลขอมาให้ได้ เพราะพระเวสสันดรทรงยินดีในการบริจาคทาน หากไปทูลขอ
ก็เห็นจะสำเร็จสมประสงค์  พระเจ้ากาลิงคราชจึงโปรดให้จัดพราหมณ์เดินทางไปยังเมืองสีพี เพื่อจะทูลขอช้าง
ปัจจัยนาเคนทร์  ถึงกรุงสีพีเป็นเวลาที่พระเวสสันดรออกให้มาทานที่หน้าประตูพระราชวัง หมู่พราหมณ์ก็ได้
โอกาสเหมาะทูลขอพระราชทานช้างปํจจัยนาเคนทร์   พระองค์ก็ทรงบริจาคพระยาเศวตปัจจัยนาคกับทั้ง
คชาภรณ์อันมีราคาได้ ๒๔ แสนกหาปณะ ชาวกรุงสัญชัยพากันโกรธแค้น จึงเนรเทศพระเวสสันดรให้ออก
นอกพระนครไป




พระเวสสันดร พาพระนางมัทรีและชาลีกัณหา เดินทางมุ่งหน้าไปยังเขาวงกต
จิตรกรรมฝาผนังวัดเสาธงทอง อ.เมือง จ.ลพบุรี

หลังจากพระเวสสันดรประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ให้แก่ชาวเมืองกลิงครัฐแล้ว ความแห้งแล้งกันดารก็เหือด
หายไปจากแคว้นกาลิงครัฐ ความชุ่มชื้นก็ปรากฏขึ้น เพราะอภินิหารของช้างปัจจัยนาเคนทร์ ช้างคู่บุญของ
พระเวสสันดร กล่าวถึงเมืองสีพี เมื่อชาวเมืองสีพีเห็นพราหมณ์ขับช้างปัจจัยนาเคนทร์ออกจากเมืองไปเช่นนั้น
ก็โกรธเคือง พากันเดินไปชุมนุมกันที่หน้าพระลาน เรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยเนรเทศพระเวสสันดรออกไป
จากเมืองสีพี เพราะหากขืนอยู่ต่อไปประชาชนจะเดือดร้อน เดี๋ยวจะเอาอะไรต่ออะไรไปเที่ยวยกให้ใครต่อใครอีก  
เมื่อประชาชนกลับไปแล้ว พระเจ้ากรุงสญชัยก็ดำรัสสั่งให้ไปบอกพระเวสสันดรว่าประชาชนเขาต้องการให้ขับไล่
เสียจากเมืองเพราะเหตุให้ช้างคู่เมืองไป  

เมื่อพระนางมัทรีได้ทราบข่าวพระภัสดาต้องไปเสียจากเมืองในวันพรุ่งก็อ้อนวอนไม่ขออยู่ จะขอเอาชีวิตและกายนี้
สนองพระคุณจนกว่าจะสิ้นบุญ พระเวสสันดรก็เลยต้องยอมให้นางติดตามไปด้วย ท้าวสญชัยตรัสขอให้พระโอรส
และธิดา คือ ชาลีและกัณหาอยู่ในเมืองเพราะกลัวลำบาก แต่พระมัทรีกลับทูลตอบว่า ถึงจะตกระกำลำบากด้วย
ประการใด ก็จะทนทรมานไปไม่ทิ้งสองพระหน่อเลย  ก็เลยเป็นอันว่า ต้องยอมให้พระมัทรีและชาลีกัณหาติดตาม
ไปด้วย เมื่อพนักงานได้จัดสัตตสดกมหาทาน คือให้ทานสิ่งละ ๗๐๐ เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็ออกเดินทาง
ไปสู่เขาวงกต

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 เมษายน 2563 13:01:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 มีนาคม 2560 20:11:06 »


ชูชกเฒ่าเจ้าเล่ห์หลอกล่อพราหมณ์เจตบุตร ว่า ตนเองเป็นทูตถูกส่งให้มาทูลเชิญพระเวสสันดรกลับไปครองราชสมบัติ
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดพนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ในแคว้นกลิงคราฐ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อชูชก ประกอบด้วยโทษของบุรุษ ๑๘ ประการ ดำเนินชีวิตในทางขอทาน แกขอทานรวบรวมเงินไว้ได้ถึง ๑๐๐ กสาปณ์ แกเกรงว่าเอาเงินไว้กับตัวก็จะเกิดภัย จึงนำไปฝากสหายคนหนึ่งเป็นคนเชื่อถือได้ มีสัจจวาจาน่าเคารพเลื่อมใส แล้วก็ออกเดินทางขอทานต่อไป  ในขณะที่ชูชกกำลังเดินทางไกลไปขอทานอยู่นั้น แกหายไปนาน เพื่อนที่รับฝากเงินก็คิดว่าคงจะล้มตายหายสูญเสียแล้วเป็นแน่ ก็หยิบเอาเงินของตาชูชกไปใช้ทีละเล็กละน้อย จนในที่สุดเงิน ๑๐๐ กสาปณ์ก็หมดไป จนวันหนึ่งตาชูชกนึกขึ้นได้ว่าควรจะกลับไปเอาเงินที่ฝากไว้กับเพื่อนเสียที จึงรีบเร่งไปยังบ้านที่รับฝากไว้เพื่อจะขอคืน เพื่อนที่รับฝากเงินไว้ก็มีไม่มีเงินจะคืนให้ จึงยกลูกสาวชื่อ นางอมิตตดา ให้ตาเฒ่าขอทานไปใช้สอยเป็นการขัดดอกไปก่อน

อมิตตดา อยู่ในโอวาทของบิดามารดา เมื่อท่านทั้งสองยกตนให้แก่เฒ่าชูชก นางก็ไปแต่โดยดีเพราะคิดเสียว่าเป็นการทดแทนพระคุณท่าน  ตาชูชกก็พาอมิตตดาสาวน้อยไปเป็นคู่เรียงเคียงหมอนยังบ้านของแก เรื่องมันน่าจะจบลงด้วยดี ถ้าไม่มีบรรดานารีที่เห็นคนอื่นดีกว่าตนไม่ได้เข้ามาพัวพัน  เรื่องมีอยู่ว่า อมิตตดา นอกจากมีความสวยงามมากแล้ว ยังปรนนิบัติการงานรับใช้ตาเฒ่าชูชกเป็นอย่างดีไม่มีบกพร่อง ทำให้เหล่าภริยาของพราหมณ์เพื่อนบ้านพากันอิจฉาริษยา หาทางกลั่นแกล้งและพูดจาเสียดสี ในทำนองรูปร่างก็สะสวย ไม่น่าจะมาอยู่กับตาแก่ขอทานคราวพ่อที่มีสารรูปน่าสยะแสยง และอะไรต่ออะไรอีกร้อยแปดประการ อย่างที่รู้กันแล้วว่า ผู้หญิงเวลาจะด่าไม่รู้ว่าไปสรรหามาจากไหน ปทานุกรมเล่มใหญ่ๆ อย่าไปเปิดเลย หาไม่พบหรอก

อมิตตดาน้ำตาไหลอาบหน้า กลับขึ้นเรือนเอาแต่ร้องไห้สะอึกสะอื้น  พอดีในขณะนั้น ชูชกกลับจากภารกิจประจำวันคือ ขอทาน นางอมิตตดาก็เล่าให้ตาชูชกฟัง และบอกว่าจะไม่ไปตักน้ำที่ท่าอีกต่อไปเพราะทนไม่ไหวกับเสียงด่าของบรรดายายปากปลาร้าเหล่านั้น ขอให้ชูชกไปซื้อทาสและทาสีมาใช้สอย หากไม่มีเงินพอก็ไปขอชาลี – กัณหา พระราชโอรสและธิดาของพระเวสสันดร ที่ออกไปจำศีลอยู่ที่เขาวงกต



ภาพวาด ชูชก - นางอมิตตดา ฝีมือครูเหม เวชกร

ด้วยความรักนางอมิตตดา แม้จะต้องเดินทางรอนแรมนับเดือน แล้วตามทางเล่ายังเต็มไปด้วยภยันตรายนานาชนิด เพราะเห็นแก่ความรัก ตาเฒ่าจอมขอก็มิได้ย่นย่อ ดั้นด้นเดินทางมุ่งหน้าไปยังเขาวงกต พบใครก็ถามเขาวงกต จนกระทั่งเข้าเขตป่าที่พราหมณ์เจตบุตรรักษา เข้าไปยังไม่ทันเท่าไร เสียงหมูหมาก็เห่าหอนมาแต่ไกล ตะแกก็ปีนขึ้นไปหลบบนต้นไม้ หมาขนาดใหญ่ตะเกียกตะกายจะปืนขึ้นมากัด พราหมณ์เจตบุตรหน้าตาขมึงทึง ท่าทางดุร้าย ผู้เป็นเจ้าของหมาเห็นคนแปลกหน้าก็ยกมือกุมธนูขึ้นเล็งมาที่เฒ่าชูชก ตาเฒ่าเจ้าเล่ห์เห็นดังนั้นก็ควักเอากระบอกใส่น้ำในย่ามออกมาชูขึ้น แล้วหลอกล่อพราหมณ์เจตบุตร ว่า นี่กลักพระราชสาส์น ตนเองเป็นทูต ถูกส่งให้มาทูลเชิญพระเวสสันดร เพราะชาวเมืองหายโกรธพระองค์แล้ว หากพระเวสสันดรตกลงจะได้แต่งกระบวนเกียรติยศออกมารับ ตาเฒ่าชูชกสังวัทธยายจนพราหมณ์เจตบุตรหลงเชื่อว่าเป็นทูตมาทูลเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับไปครองราชสมบัติดังเดิม จึงได้จัดแจงเสบียงกรังมอบให้ตาชูชก พร้อมกับนำทางผ่านป่าบริเวณที่ตนตระเวนรักษา เมื่อถึงแดนป่าใหญ่ก็ชี้ทางให้ตาชูชกผ่านเข้าในป่าใหญ่และจะได้พบกับฤๅษีผู้บำเพ็ญญาณอยู่ แล้วให้ถามทางจากท่านก็จะเดินไปอย่างถูกทาง



ชูชกพราหมณ์ทูลพระเวสสันดร ขอพระราชทานสองกุมาร (ชาลี-กัณหา)
ภาพจิตรกรรมผนังพระอุโบสถ วัดพนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


สองกุมารเมื่อรู้ว่าภัยมาถึงตัว ก็พากันหนีลงไปในสระ  เอาวารีบังองค์ เอาบุษบงบังเกศ
ภาพจิตรกรรมผนังพระอุโบสถ วัดพนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ชูชกพราหมณ์ เดินทางรอนแรมจนเข้าใกล้บริเวณพระอาศรมพระเวสสันดร  คะเนว่า เวลานี้พระนางมัทรีคงจะเสด็จเข้าป่าหามูลผลาผล จึงเข้าไปเฝ้าพระเวสสันดรเพื่อจะทูลขอสองกุมาร (ชาลี-กัณหา) ชักเอาเม่น้ำทั้งห้ามาเปรียบเทียบ  สองกุมารเมื่อรู้ว่าภัยมาถึงตัว ก็พากันหนีลงไปในสระ เอาวารีบังองค์เอาบุษบงบังเกศ  

พระเวสสันดรทรงทราบว่าสองกุมารหนี จึงเสด็จไปตรัสเรียกหาที่สระโบกขรณี ตรัสเปรียบเรื่องสำเภา ชาลีกัณหาก็ขึ้นมากราบพระบาท

พระเวสสันดรพระราชทานสองกุมารให้แก่ชูชกพราหมณ์ฯ
 


pc.600 alf. 28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2561 13:01:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2560 19:10:17 »



ด้วยอานุภาพเทพยดาบันดาลให้นางทั้งหลายสำแดงซึ่งวิปการแห่งตนต่างๆ
จิตรกรรมฝาผนังวัดเสาธงทอง อ.เมือง จ.ลพบุรี

ในพื้นแห่งห้องสิริไสยาสน์แห่งพระมหาสัตว์ บริบูรณ์ไปด้วยอเนกนางขัตติยธิดาอันไสยาอยู่เดียรดาษกอปรด้วยอาการมารยาทปราศจากวิปการ แลนางบางจำพวกก็นอนกลิ้งเกลือกมีเขฬะอันหลั่งไหล บางนางเหล่าก็นอนกรนสำเนียงดังเสียงกา นางบางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์ นางลางพวกก็นอนละเมอเพ้อบ่นจำนรรจาต่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้าอาการวิปลาศ ลางเหล่านางก็นอนมีกายเปลือยปราศจากวัตถาสำแดงที่สัมพาธฐานให้ปรากฏแต่กาลก่อน  ปานประหนึ่งว่าทิพยคัพภาไสยาแห่งสมเด็จจอมอมรินทราธิราช อันดารดาษด้วยคณานางสุรางคอัปสรเทพกัญญาบริจาริกทั้งปวง  ในราตรีวันนั้นด้วยอานุภาพเทพยดาบันดาลให้วิปการปราฏแก่พระมหาบุรุษราช เพื่อจะให้เหนื่อยหน่ายจากปฏิพัทธ โสมนัสเสน่หาในคณานางบริจาริการิกราชนารีทั้งสิ้น  ส่วนพระมหาสัตว์ได้ทอดพระเนตรเห็นซึ่งวิปการแห่งอเนกนางทั้งหลายดังนั้น มีพระทัยสังเวชยิ่งนัก พิจารณาเห็นสังสารโทษเป็นอันมาก ยิ่งมีพระทัยเหนื่อยหน่ายปราศจากยินดีในกามคุณภิยโยภาพยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2561 11:10:35 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2560 17:44:51 »

โปรดติดตามตอนต่อไป

600 al 26
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2561 10:13:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2560 19:21:36 »



มาตุลีเทพบุตรขับไพชยนต์ ราชรถทรงของท้าวสักกะเทวราชมารับพระเจ้าเนมิราชขึ้นสู่สวรรค์
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ เนมิราชชาดก
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร  อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



มาตุลีเทพบุตรขับไพชยนต์ ราชรถทรงของท้าวสักกะเทวราชมารับพระเจ้าเนมิราชขึ้นสู่สวรรค์
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ เนมิราชชาดก
จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม


เนมิราช
ท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ ให้มาตุลีเทพบุตรเป็นสารถี นำไพชยนต์ราชรถ รถทรงของท้าวเธอ
ลงไปเชื้อเชิญพระเจ้าเนมิราช ให้ขึ้นมาบนสรวงสวรรค์ แล้วเทวดาพร้อมทั้งท้าวสักกะเทวราชก็เชื้อเชิญ
ให้พระเจ้าเนมิราชอยู่เสวยสมบัติบนสวรรค์  แต่พระเนมิราชไม่มีความประสงค์ เพราะได้ตั้งมโนปณิธาน
จะสั่งสอนให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติดีประพฤติชอบมากขึ้น เพื่อจะได้ไปเกิดในสวรรค์ จึงได้ลาท้าวสักกะ
ลงมายังเมืองมนุษย์ และได้ทำการสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายให้ประกอบแต่กรรมดี ตราบเท่าสิ้นอายุพระองค์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2560 18:42:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2560 19:18:37 »

ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ สุวรรณสามชาดก
ร่างกายของเราไม่ได้เคลื่อนไหวมาตั้ง ๑๖ ปี จะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ ก็ทรงกายลุกขึ้นลงจากรถ
ทดลองจับเอางอนรถยกขึ้น เป็นความมหัศจรรย์อะไรอย่างนั้น พระเตมีย์ยกรถขึ้นกวัดแกว่งได้



จิตรกรรมฝาผนังวัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก


จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

เตมียชาดก (เตมีใบ้)

เตมิยราชกุมาร หรือพระเตมีย์ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสิกราช กับพระนางจันทาเทวี ครองสมบัติในพระนครพาราณสี
เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น วันหนึ่ง พระราชบิดาได้อุ้มออกไปทรงว่าราชการด้วย  อำมาตย์ได้นำโจรมาให้ทรงวินิจฉัย
๔ คนด้วยกัน พระเจ้ากาสิกราชทรงสั่งให้ลงโทษโจร ๔ คน อย่างทารุณ คือ คน ๑ ให้เฆี่ยนด้วยหนามหวาย คน ๑ ให้จำโซ่ตรวน
ส่งไปคุมขังในคุก คน ๑ ให้เอาหอกทิ่มแทงทรมานให้เจ็บปวดแสนสาหัส คน ๑ ให้เอาหลาวแหลมเสียบไว้ทั้งเป็น พระกุมารทรงเห็น
เหตุนั้นแล้วก็คิดว่า พระราชบิดาของเราทำดังนี้น่ากลัวเหลือเกิน ตายไปแล้วก็จะต้องไปเกิดในนรกแน่นอน ตัวเราเองต่อไปก็จะต้อง
ครอบครองแผ่นดิน ก็จะต้องทำอย่างพระราชบิดา เราก็จะต้องไปเกิดในนรก ทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากการต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  
ขณะนั้น เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาของพระราชกุมารในครั้้งก่อน สิงอยู่ที่เศวตฉัตร ได้กระซิบแนะนำให้พระราชกุมารปฏิบัติตน
๓ ประการคือ ๑.จงทำตนเป็นคนง่อย ๒.จงทำเป็นคนหูหนวก ๓.จงทำเป็นคนใบ้ แล้วพระองค์จะพ้นจากการเป็นพระเจ้าแผ่นดินไปได้

นับแต่นั้นมา พระเตมีย์ก็เริ่มปฏิบัติตนไม่พูดไม่จาอะไรทั้งนั้น เขาอุ้มไปวางไว้ที่ไหนก็นั่งอยู่อย่างนั้นไม่ขยับเขยื้อน ใครจะมาพูด
ก็ทำเป็นไม่ได้ยิน แม้จะถูกทดสอบหลายอย่างหลายประการ แต่หาได้ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไม่ คงเป็นปกติอยู่ จนพระกุมาร
มีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา พวกอำมาตย์ลงความเห็นว่า พระกุมารคงจะเป็นคนกาลกิณีเสียแล้ว ขืนให้อยู่ต่อไปคงจะเกิดภัย
อันตรายแก่พระบิดา แก่สมบัติ และแก่พระมารดา ควรจะเอาออกไปฝังทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบนอกเมือง พระเจ้ากาสิกราชทรง
เห็นด้วย ก็ดำริจะให้เอาไปฝังทิ้งเสีย จึงตรัสสั่งให้นายสุนันทสารถี เอาพระเตมีย์ใส่รถไปฝังเสียที่ป่าช้าผีดิบนอกเมือง นายสุนันท
ขับรถม้า บรรทุกพระกุมารไปจัดการ  ขณะที่นายสารถีกำลังขุดหลุมอยู่ไม่ไกลจากรถนั้น พระเตมีย์ก็คิดว่า ร่างกายของเรา
ไม่ได้เคลื่อนไหวมาตั้ง ๑๖ ปี จะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ ก็ทรงกายลุกขึ้นลงจากรถ ทดลองเดินไปมาอยู่ข้างรถ แล้วก็จับเอา
งอนรถยกขึ้น เป็นความมหัศจรรย์อะไรอย่างนั้น พระเตมีย์ยกรถขึ้นกวัดแกว่างอย่างง่ายดาย ราวกับยกรถตุ๊กตาที่เบาแสนเบา
จึงวางรถลงแล้วเสด็จมาหานายสารถี ทรงเล่าเรื่องให้ฟัง จากนั้นทรงแสดงธรรมแก่นายสารถี ว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว
ผลของการทำดีนำไปสู่สวรรค์ ผลของการทำชั่วนำไปสู่นรก แล้วให้นำความไปทูลพระราชบิดา ซึ่งนายสุนันทสารถีก็ทูลเล่า
ให้พระเจ้ากาสิกราชทราบความจริงตั้งแต่เขานำเอาพระโอรสออกไปขุดหลุมจะฝัง แต่พระโอรสกลับกลายหายจากการเป็น
ง่อยเปลี้ยเสียขา เจรจาได้ ทรงพลกำลังยกรถที่ขี่ออกไปขึ้นกวัดแกว่ง จนกระทั่งตนได้ทราบความจริงว่า ทำไมพระกุมารจึงได้
ทำอย่างนั้น แล้วเขาก็ลงท้ายว่า "ขอเดชะ บัดนี้พระองค์ผนวชอยู่ในราวป่าเบื้องบูรพาทิศของเมืองนี้พระเจ้าข้า" ฯลฯ


600-26
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2561 12:03:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2560 20:16:49 »


ด้วยบุญบารมีแต่ปางบรรพ์ของเจ้ามหาชนก ทำให้ร้อนถึงนางเมฆขลา
ซึ่งเป็นผู้รักษาสมุทร ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่ จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทร
ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ มหาชนก
จิตรกรรมฝาผนังวัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก



นางมณีเมขลา ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทร
จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

มหาชนกชาดก

มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง นามว่า มหาชนก เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา ท้าวเธอมีพระราชโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งนามว่า อริฏฐชนก อีกองค์หนึ่งมีนามว่า โปลชนก พระองค์ได้ทรงตั้งอริฏฐชนกในตำแหน่งอุปราช ต่อมาเมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว อุปราชหรือพระอริฏฐชนกได้ครองแผ่นดินเสวยราชสมบัติแทน และได้ตั้งเจ้าโปลชนกผู้เป็นน้องให้เป็นอุปราช

อำมาตย์ผู้ใกล้ชิดพระเจ้ากรุงมิถิลา กล่าวหาว่าเจ้าอุปราชทรงอำนาจในบ้านเมืองมาก คิดไม่ซื่อต่อพระองค์ จะทำการขบถ

ตามธรรมดาของโลกย่อมมีเช่นนี้ตลอดกาล ผู้ทรงอำนาจกับความหูเบามักจะเป็นของคู่กัน พระเจ้าอริฏฐชนกลืมไปว่าผู้นั้นเป็นน้องของพระองค์ที่คลานตามกันออกมาแท้ๆ ก็หลงเชื่ออำมาตย์ผู้ใกล้ชิด สั่งจับกุมคุมขังพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้ามิได้คิดทรยศต่อพี่ชายเลย แต่กลับถูกจับกุมคุมขังทำโทษหาความผิดมิได้ ถ้าใจของข้าพเจ้าซื่อสัตย์ต่อพี่ชายจริงแล้ว ขอให้โซ่ตรวจขื่อคาตลอดจนประตูคุกจงเปิดให้เห็นประจักษ์เถิด”  พอสิ้นคำอธิษฐานเท่านั้น ด้วยความสัตย์สุจริตของมหาอุปราช บรรดาเครื่องจองจำทั้งหลายก็หลุดออกจากกายของพระองค์ ประตูเรือนจำก็เปิด มหาอุปราชก็เลยหนีออกจากที่นั้นไปซุกซ่อนอยู่ตามชายแดน ภายหลังได้รวบรวมไพร่พลมากพอสมควรแล้ว ก็คิดว่า “เราซื่อสัตย์กับพี่ชายแต่ถูกหาว่าเป็นกบฏถูกจับคุมขัง จนต้องทำสัตยาธิษฐานจึงหลุดพ้นออกมาได้ ต่อไปนี้เราจะต้องทำความชั่วตอบแทนพี่ชายบ้างละ เมื่อตัดสินใจแล้วก็ยกทัพไปประชิดถึงชานพระนคร จึงมีสาส์นส่งเข้าไปท้ารบ ทำให้พระเจ้าอริฏฐชนกต้องตกกระไดพลอยโจน จึงยกพลออกไปต่อสู้กันและพลาดพลั้งถูกเจ้าโปลชนกฟันสิ้นพระชนม์กับคอช้าง

ในขณะนั้นพระอัครมเหสีของพระเจ้าอริฏฐชนกทรงพระครรภ์อยู่ เมื่อทราบข่าวว่าพระสวามีสิ้นพระชนม์ พระเทวีจึงปลอมตัวหนีออกนอกเมืองปะปนไปกับประชาชนพลเมือง โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เมื่อออกไปได้แล้ว พระนางในลักษณะของคนธรรมดาสามัญ ครรภ์ก็แก่ อิดโรยเต็มทีก็เข้าไปพักยังศาลาที่พักแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะถามทางไปเมืองกาลจัมปากจากผู้คนที่ผ่านไปมา

ด้วยบุญญาธิการของทารกในครรภ์ บันดาลให้ร้อนถึงพระอินทร์ ก็ทราบได้ว่าพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในครรภ์ของพระนางจะได้รับความทุกข์ยาก จึงเนรมิตตนเป็นคนชราขับเกวียนผ่านมาทางนั้น แล้วรับพระเทวีขึ้นเกวียนไปจนถึงเมืองกาลจัมปาก  พอใกล้ประตูเมืองด้านทิศตะวันออก พระอินทร์จึงบอกให้นางลงเสียตรงนี้ พระนางก็ลงจากเกวียนไปพักอยู่ที่ศาลาหน้าเมือง อาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่งเดินทางผ่านมาทางนั้น เห็นนางนั่งอยู่ในศาลาน่าตาน่าเอ็นดูก็เกิดความสงสารจึงเข้าไปสอบถามได้ความว่า นางหนีภัยจากข้าศึกมา ญาติพี่น้องก็ไม่มีแถมยังมีท้องเสียด้วย จึงชวนให้ไปพักอยู่กับเขา  พระนางดูลักษณะเห็นว่าเป็นคนดีก็ยอมไปด้วย จวบจนกระทั่งนางได้คลอดบุตรออกมาเป็นชาย มีผิวพรรณงดงาม นางจึงตั้งนามเหมือนปู่ว่า "มหาชนก"

มหาชนกเติบใหญ่ขึ้นมา ไปเล่นกับเด็กทั้งปวงถูกรังแกก็ต่อสู้ เด็กเหล่านั้นสู้ไม่ได้ วิ่งไปบอกพ่อแม่ว่าถูกเด็กลูกไม่มีพ่อทำร้ายเอา เมื่อเด็กๆ พูดกันอยู่บ่อยๆ มหาชนกก็เกิดสงสัย วันหนึ่งสบโอกาสจึงถามมารดา มารดาก็บอกว่าก็ท่านอาจารย์นั่นแหละเป็นบิดาของเจ้า  ครั้งแรกมหาชนกก็เชื่อ แต่เมื่อได้ยินพวกเด็กๆ ยังพูดอยู่เช่นนั้นก็เกิดสงสัย จึงคิดหาอุบายยื่นคำขาดให้มารดาบอกให้ได้ ในที่สุดมารดาก็ยอมเล่าความจริงให้มหาชนกฟังว่า เจ้าเป็นลูกกษัตริย์เมืองมิถิลา บิดาของเจ้าชื่อพระเจ้าอริฏฐชนก ถูกเจ้าอุปราชโปลชนกแย่งราชสมบัติ พ่อเจ้าตายในที่รบ มารดากำลังท้องอยู่ก็หลบหนีซัดเซจนมาอาศัยอยู่กับท่านอาจารย์ ณ ที่นี้

นับแต่นั้นมาเจ้ามหาชนกแม้จะถูกพวกเด็กๆ ว่าลูกไม่มีพ่อก็ไม่มีความโกรธเคือง และพยายามเล่าเรียนวิชาการทุกประเภทเพื่อต้องการจะกลับไปเอาราชสมบัติคืนให้จงได้ จวบจนกระทั่งอายุ ๑๖  ปี เจ้ามหาชนกก็เรียนศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการจบหมด ผิวพรรณของเจ้ามหาชนกผ่องใสเปรียบเหมือนทองคำ ความคิดที่จะเอาสมบัติของพ่อคืนก็มากขึ้น

วันหนึ่งจึงเข้าไปบอกพระมารดาขอเงินทุนซื้อสินค้าบรรทุกสำเภาเตรียมจะไปค้าขาย ณ สุวรรณภูมิกับพวกพ่อค้ามากหน้าหลายตา และเพื่อจะเดินทางไปเอาสมบัติของพ่อกลับคืนมา

ในขณะที่เจ้ามหาชนกลงเรือเพื่อเดินทางไปค้าขายยังสุวรรณภูมินั้น ก็พอดีกับพระเจ้าโปลชนกกำลังประชวรหนักอยู่ในเมืองมิถิลา และเสด็จสวรรคตเพราะโรคาพาธ

หลังจากที่ออกเดินทางเห็นแต่น้ำกับฟ้าแล้ว ประมาณได้สัก ๗ วัน เรือก็ประสบเข้ากับมรสุมอย่างหนัก ผลสุดท้ายเรือที่บรรทุกสินค้าและโดยสารมาก็อัปปางลงท่ามกลางเสียงร้องไห้คร่ำครวญของผู้ที่กลัวตาย  

แต่เจ้ามหาชนกมิได้คร่ำครวญร่ำไรอย่างคนอื่นเขา พยายามที่จะเอาตัวรอด โดยคิดเสียว่าถ้ายังไม่ถึงที่ตายก็ต้องรอดจนได้ จึงจัดแจงกินอาหารที่จะให้อิ่มได้นานวัน นุ่งผ้าชุบน้ำมันเพื่อไม่ให้ผ้าอุ้มน้ำได้ และไปยืนอยู่ข้างเสากระโดง และเมื่อเรือโคลงเคลงจะคว่ำมิคว่ำแหล่อยู่นั้น เจ้ามหาชนกก็ขึ้นไปยอดเสากระโดง พอเรือล่มลงก็โจนจากยอดเสากระโดงไกลห่างจากที่ซึ่งจะถูกเรือจมดูดได้ ว่ากันว่าไปไกลได้ถึง ๑ เส้น กับ ๑๕ วา นับว่าเป็นระยะไกลมาก แต่ก็นับว่าน่าจะเป็นจริง เพราะขณะนั้นยังเกิดมรสุมอยู่ คลื่นใหญ่ยังโยนกระแทกเรืออย่างกับเอาภูเขาทั้งลูกมาทุ่มทับใส่เรือ พอเจ้ามหาชนกโดดลงทะเลก็มิได้ท้อถอย  พยายามกระเสือกกระสนว่ายน้ำเพื่อจะเอาตัวรอดจากความตาย และได้ว่ายน้ำไปให้ไกลที่สุดที่จะไกลได้ กินเวลานานถึง ๗ วัน และในวันที่ ๗ กำหนดได้ว่าเป็นวันอุโบสถก็ยังได้สมาทานโดยอธิษฐานอุโบสถในขณะลอยคออยู่ในทะเลนั้น

ด้วยบุญบารมีแต่ปางบรรพ์ของเจ้ามหาชนกได้ทำให้ร้อนถึงนางเมฆขลา ซึ่งเป็นผู้รักษาสมุทร ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่ จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทรมาไว้ในอุทยานของพระเจ้าโปชนก แล้วนางก็กลับไปที่อยู่ เจ้ามหาชนกก็นอนหลับอยู่ในสวนนั้น
             ฯลฯ



600-26
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2561 11:58:02 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2560 15:08:22 »


สุวรรณสามชาดก
เป็นเรื่องประวัติของพระพุทธเจ้าที่ใกล้จะเป็นพุทธเจ้า เพราะต่อจากสิบชาติแล้ว
ก็มาประสูติเป็น "สิทธัตถกุมาร" แล้วออกบวชสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า



จิตรกรรมพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
สุวรรณสามถูกศรพระยากบิลยักษ์ :  ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ


จิตรกรรมพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
สุวรรณสามถูกศรพระยากบิลยักษ์ :  ภาพชาดกเรื่องพระเจ้าสิบชาติ


จิตรกรรมพระอุโบสถ วัดพนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


จิตรกรรมพระอุโบสถ วัดพนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


จิตรกรรมฝาผนัง สุวรรณสามชาดก วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย


จิตรกรรมฝาผนัง สุวรรณสามชาดก  วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย


พระเจ้ากระบิลยักษ์ พาดาบสผู้เป็นบิดามารดาของสุวรรณสาม
ไปยังศพสุวรรณสามซึ่งถูกพระองค์ยิงด้วยศรจนเสียชีวิต
จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



สุวรรณสามชาดก

ในเมืองพาราณสี มีหมู่บ้านพรานอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำ ชาวบ้านหากินด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คือ เข้าป่าล่าเนื้อ เบื่อปลาต่างๆ เอามาเลี้ยงชีวิต  

ในหมู่บ้านนายพรานนั้น หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองต่างเป็นมิตรสหายที่สนิทชิดชอบกันมาก เพราะต่างก็ข้ามฟากไปทำมาหากินร่วมกันอยู่เสมอ เขาทั้งสองตกลงกันว่า หากใครมีลูก ถ้าอีกคนหนึ่งเป็นลูกชาย อีกคนหนึ่งเป็นลูกหญิง ก็จะให้แต่งงานกัน แต่ถ้าเป็นลูกชายทั้งสองคนหรือแม้จะเป็นลูกหญิงทั้งสองคน ก็จะปลูกฝังให้เป็นสหายเช่นเดียวกัน

ต่อมา ภรรยาของนายบ้านทั้งสองนั้นเกิดท้องขึ้นพร้อมๆ กัน แล้วได้คลอดบุตรออกมา

ภรรยาของอีกบ้านหนึ่งคลอดออกมาเป็นหญิง ให้ชื่อว่า “ปาริกา” ส่วนอีกบ้านหนึ่งคลอดออกมาเป็นชาย ให้ชื่อว่า “ทุกุร” เขาพากันดีใจมากที่หมู่บ้านทั้งสองจะได้กลายมาเป็นหมู่บ้านเดียวกัน แม้จะมีแม่น้ำกั้นกลาง  

แต่ว่าเด็กฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่เกิดมานี้ออกจะมีนิสัยผิดพ่อผิดแม่ไป หามีจิตใจเป็นเช่นพ่อแม่ไม่ กลับมีใจประกอบไปด้วยเมตตากรุณา เห็นใครทำร้ายทำลายสัตว์ก็จะพากันห้ามปราม ถ้าไม่สามารถจะห้ามปรามได้ จิตใจก็พากันเศร้าสลด ว่า เออ! คนเหล่านี้ทำกรรมชั่ว เมื่อตายไปแล้วก็จะตกนรก ไม่มีใครช่วยเขาได้

เมื่อทั้งสองคนได้เติบโตสมควรแก่การมีเหย้าเรือนได้แล้ว  ครอบครัวของทั้งสองฝ่ายก็ได้จัดแจงให้คนทั้งสองได้แต่งงานกัน เมื่อแต่งงานแล้ว คนทั้งสองหาได้มีความสนิทเสน่หาในฐานสามีภรรยากันไม่ เพราะเขาไม่เคยคิดในเรื่องเหล่านี้ คิดแต่ว่าเราทำอย่างไรหนอ จึงจะพ้นไปจากทุกข์เหล่านี้ได้  

แม้บิดามารดาจะให้เขาทั้งสองเรียนรู้วิธีการที่จะสืบสกุล คือให้เป็นพรานเพื่อจะได้เป็นอาชีพเลี้ยงตัวต่อไป เขาก็ปฏิเสธ ไม่อยากทำกรรมฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และได้ขออนุญาตบิดามารดาออกไปจากบ้านเพื่อออกไปสู่ป่าบำเพ็ญพรตต่อไป

วันหนึ่ง พระอินทร์เกิดร้อนใจ ก็เล็งแลทิพย์เนตรลงมาตรวจดูเหตุในมนุษย์โลก ก็เห็นว่าหนุ่มสาวทั้งสองออกเข้าป่าเพื่อบำเพ็ญพรต สมควรจะต้องช่วยเหลือ ถ้าไม่ช่วยเหลือท่านทั้งสองจะลำบากมาก จึงสั่งให้พระวิศณุกรรมไปเนรมิตบรรณศาลาเพื่อให้ท่านทั้งสองได้อาศัย และบอกว่าหากท่านมีความประสงค์จะบำเพ็ญภาวนาก็ขอให้ใช้ศาลานี้ให้เกิดประโยชน์ เมื่อทั้งสองได้เห็นศาลาเช่นนั้นก็ดีใจจึงได้เอาศาลานี้เป็นที่บำเพ็ญพรต

แต่ว่าเรื่องคนทั้งสองยังไม่หมด พระอินทร์ได้สอดส่องทิพย์เนตร ก็เห็นต่อไปว่าทั้งสองจะต้องเสียตาเนื่องด้วยกรรมเก่า และเมื่อเป็นเช่นนั้นการจะหาอาหารมาประทังชีวิตก็จะลำบาก การบำเพ็ญเพียรภาวนาจะไม่บรรลุผลสำเร็จ ควรจะต้องหาใครไว้สักคนหนึ่งเอาไว้คอยช่วยเหลือ  จึงได้เข้าไปหาพระดาบสพร้อมกับบอกว่า เมื่อนางปาริกามีระดู ให้ทุกุรดาบสเอามือลูบท้องของนางปาริกาสามครั้งนางปาริกาก็จะตั้งครรภ์

อะไรๆ มันก็แปลกขึ้นมาได้... เมื่อนางปาริกามีระดู ก็ได้บอกให้ทุกุรดาบสทราบ ทุกุรจึงได้เอามือลูบท้องนางปาริกาสามที และนับแต่นั้นนางปาริกาก็ตั้งครรภ์  เมื่อครบกำหนดก็คลอดออกมาเป็นเด็กผู้ชาย มีรูปพรรณงดงาม ผิวเนื้อประดุจทอง  ดาบสทั้งสองจึงตั้งชื่อให้ว่า “สุวรณสาม

เป็นธรรมดาของพระมหาโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า... สุวรรณสามตั้งแต่เกิดมามีแต่เมตตาจิต เพราะว่าบิดามารดาเป็นคนดีอยู่แล้ว ก็แนะนำสั่งสอนให้เจ้าสุวรรณสามประพฤติดีตลอดมา และสอนให้รู้จักทางทำมาหากิน คือทางที่มีผลไม้ ว่าทางนี้มีผลไม้ ทางนี้จะไปถึงไหน จะกลับมาอาศรมเวลาใด เจ้าสุวรรณสามก็โตขึ้น โตขึ้น  

จนกระทั่งวันหนึ่งซึ่งเป็นเวลาที่ท่านจะประสบอุบัติเหตุตามที่พระอินทร์ได้เคยว่าให้ฟัง  วันนั้นพอออกไปหาผลไม้ เกิดมีลมฝนพัดกระหน่ำ พระดาบสทั้งสองก็หลบเข้าไปอาศัยที่พุ่มไม้ เผอิญมีงูเห่าอยู่ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ จึงบังเอิญให้เจ้างูเห่าตัวนั้นพ่นพิษออกมาเข้าตาของท่านทั้งสองพอดี ท่านทั้งสองก็ตามืดมัวจนกระทั่งมองไม่เห็น ผลที่สุดก็ไปไหนไม่ได้ ผลไม้ก็ออกไปหาไม่ได้  

สุวรรณสามคอยบิดามารดาอยู่ที่บรรณศาลา ถึงเวลาก็ไม่เห็นพ่อแม่กลับมา จึงออกตามหา ก็ไปพบท่านทั้งสองยังนั่งอยู่ใต้ร่มไม้ เมื่อสอบถามได้ความว่าถูกพิษงูร้ายจนกระทั่งเสียตา สุวรรณสามก็พาท่านทั้งสองกลับมาอาศรม และนับแต่นั้นเป็นต้นมา สุวรรณสามก็ออกไปหาผลหมากรากไม้ ตักน้ำตักท่ามาไว้ให้ท่านทั้งสองได้ใช้ สุวรรณสามได้ปรนนิบัติบิดามารดาเป็นอย่างดี บิดามารดาก็ได้รับความสุขขึ้นกว่าแต่ก่อน

กล่าวถึงในเมืองพาราณสี มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ท้าวเธอทรงพระนามว่า “กระบิลยักษ์” พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาชอบในการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นเนืองนิตย์ วันหนึ่งเสด็จออกเข้าป่าหาที่ซุ่มเพื่อยิงสัตว์ เมื่อคอยได้สักครู่ก็พอดีกับ "สุวรรณสาม" ออกมาตักน้ำ มีเนื้อและกวางล้อมกันมาเป็นหมู่ มาถึงฝั่งน้ำก็ลงไปตักเอาน้ำขึ้นมา ท้าวกระบิลยักษ์ทรงดำริว่า "ผู้นี้จะเป็นเทวดาหรือใครแน่หนอ ดูรูปร่างงดงามเสียเหลือเกิน ถ้าเราปรากฏตัวเข้าไปให้เห็นก็คงจะหนีไปเสีย ทำอย่างไรจึงจะรู้ความเล่า แล้วพระองค์ก็คิดขึ้นได้ว่า "อย่าเลยเราต้องเอาศรยิงให้ล้มลงก็จะหนีไปไม่ได้"  พอคิดได้เช่นนั้น พระองค์ก็โก่งศรเขม้นมุ่งยิงเจ้าสุวรรณสามทันที

ลูกศรเหมือนมีวิญญาณ พุ่งเข้าไปเสียบร่างของสุวรรณสามเข้า บรรดาสัตว์ก็พากันแตกตื่นหนีไป

สุวรรณสามพอรู้ว่าถูกศร ก็ปลงหม้อน้ำลงจากบ่าทรุดตัวลงนั่ง ปากก็ร้องถามออกไปว่า “ท่านผู้ใดเป็นคนยิงข้าพเจ้า ได้โปรดออกมาเจรจากันสักหน่อยว่าจะต้องการอะไรจึงมายิงข้าพเจ้า ช้างเขาก็ยิงก็เพื่อเอางา เสือก็เพื่อเอาหนัง ส่วนข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านต้องการอะไร จึงมายิงข้าพเจ้า ขอได้โปรดออกมาเถิด”

พระยากบิลยักษ์ชักเอะใจ “เอ๊ะ แปลก ชายคนนี้ถูกเรายิงยังไม่แสดงอาการโกรธเคืองแม้สักนิด แถมยังเรียกเราออกไปเจรจาเสียอีกด้วยว่าต้องการอะไร”

พระองค์ทรงละอายในพระทัย ก็ออกไปยังที่สุวรรณสามนอนอยู่ พร้อมกับกล่าวว่า “เราเป็นคนยิงเจ้าเอง เจ้าเป็นใครอยู่ในป่านี้ เป็นรุกขเทพหรือ? ส่วนตัวเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ในกรุงพาราณสี ออกมาล่าสัตว์”

“ข้าแต่สมมติเทพ ขอให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว หม่อมฉันเป็นบุตรฤๅษีอยู่ในป่านี้ ออกมาตักน้ำเพื่อจะเอาไปให้บิดามารดาซึ่งตาบอดทั้งคู่ได้อาบกิน"

พระเจ้ากบิลยักษ์ยิ่งคิดยิ่งสลดพระทัย อนิจจา พ่อหนุ่มที่ถูกเรายิง ไม่คิดจะโกรธเราเลยหรือ  เรานี่ทำกรรมหนักเหลือเกิน เพราะความวู่วามของเราวูบเดียว จะล้างชีวิตคนไม่ผิดเสียอีกตั้งหลายคน  จึงกล่าวกับสุวรรณสามว่า “เราผิดไปแล้วที่ยิงเจ้า เจ้าบอกทางไปบรรณศาลาของเจ้าเถิด เราจะทำการเลี้ยงบิดามารดาของเจ้าเอง” สุวรรณสามก็ได้บอกทางไปยังบรรณศาลาให้พระเจ้ากระบิลยักษ์ได้ทราบ พร้อมกับลมหายใจได้แผ่วเบาๆ  

สุวรรณสามตายเสียแล้วเพราะพิษศรของพระเจ้ากรุงพาราณสี

พระเจ้ากบิลยักษ์จับเนื้อต้องตัวดู ก็เห็นว่าสุวรรณสามตายแน่ ก็ตัดสินพระทัยหยิบหม้อน้ำขึ้นแบก สะพายศรไว้กับไหล่ดุ่มเดินไปยังอาศรมของฤๅษีทั้งสอง

พอไปถึงอาศรมเห็นดาบสทั้งสองนั่งอยู่หน้าอาศรม คอยการกลับมาของสุวรรณสามอยู่

ดาบสทั้งสองได้ยินเสียงเท้าก็ทราบว่าไม่ใช่เจ้าสุวรรณสาม จึงเรียกไปว่า “พ่อสาม พ่อพาใครมาด้วย”

พระเจ้ากบิลยักษ์พอได้เห็น ก็ทราบว่าบิดามารดาของสุวรรณสาม จึงเดินเข้าไปใกล้ วางหม้อน้ำลง พร้อมกับเล่าให้ดาบสทั้งสองฟังว่า สุวรรณสามได้ตายไปเสียแล้ว เพราะความไม่เข้าใจของพระองค์เอง

ดาบสทั้งสองก็เศร้าโศก และขอให้พาไปที่ศพของเจ้าสุวรรณสามซึ่งพระเจ้ากระบิลยักษ์ก็รับพาไป เมื่อไปถึงสถานที่ศพเจ้าสุวรรณสามนอนอยู่ ดาบสทั้งสองก็เข้าไปลูบคลำศพสุวรรณสาม เผอิญมารดาไปคลำถูกอก เห็นว่ายังอุ่นอยู่ ก็คิดว่าสุวรรณสามยังไม่ตาย จึงตั้งจิตอธิษฐาน แม้นางเทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาของสุวรรณสามในชาติปางก่อน ซึ่งก็มาด้วย และได้อธิษฐานพร้อมกัน บิดาของเจ้าสุวรรณสามก็พลอยอธิษฐานด้วย

ด้วยแรงอธิษฐาน ก็ได้บันดาลให้สุวรรณสามกลับฟื้นคืนสติขึ้นมา ได้ถามไถ่ทราบความตลอด ทั้งหมดก็ได้พากันกลับไปยังสถานที่อยู่ของตน  โดยพระเจ้ากบิลยักษ์ก็ได้เลิกการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และสุวรรณสามกับดาบสก็ได้อยู่กันด้วยความเป็นสุข


600 al 28 TH Dan Vi Vek
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2560 15:26:55 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2560 19:55:36 »


ปุณณยักษ์จับพระวิธูรจะฟาดกับภูเขาให้ถึงแก่ความตาย เพื่อจะนำหัวใจพระวิธูร
ไปถวายนางวิมลา มเหสีท้าววรุณนาค เพื่อแลกกับนางวิรันทดี อันเป็นที่รัก
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

วิธูรบัณฑิตชาดก

เบื้องต้นได้แสดงโทษของการเล่นพนัน เหตุแห่งหายนะ คือความเสื่อมในทุกๆ ทาง และส่งผลไม่ดีแก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพ

พระเจ้าธนญชัยโกรพ ครองสมบัติอยู่ในอินทปัตถ์นคร แคว้นกุรุราฐ  มีวิธูรบัณฑิตเป็นอมาตย์ใกล้ชิดและเป็นผู้สั่งสอนอรรถธรรม เป็นเครื่องบำรุงปัญญา แต่ก็ยังปรากฏว่าพระองค์ชอบเล่นสกามาก  การทอดสกาของพระเจ้าโกรพไม่มีผู้ใดจะเอาชนะได้ เพราะนางเทพธิดาตนหนึ่งได้พิทักษ์รักษาท้าวเธออยู่คอยกลับลูกสกาที่ทอดให้ได้แต้มดีโดยคนอื่นไม่รู้ไม่เห็นเลย และก็เพราะการทอดสกานี่แหละเป็นเหตุให้ท้าวเธอต้องสูญเสียแก้วประจำเมืองคือวิธูรบัณฑิตไป

เมื่อถึงวันอุโบสถ ท้าวเธอก็สละราชสมบัติออกไปรักษาอุโบสถอยู่ในพระราชอุทยาน พระอินทร์ พญานาค และพญาครุฑ ก็มารักษาอุโบสถอยู่ด้วยกัน  เพราะวาสนาเคยคบค้าชอบพอกันมาก่อน ต่างก็นั่งสนทนาปราศรัยกัน จึงมีปัญญาเกิดขึ้นในระหว่างทั้งสี่ ว่า ต่างคนต่างก็ละเคหะสถานออกมาถืออุโบสถอย่างนี้ ศีลของใครจะประเสริฐกว่ากัน ต่างคนก็ต่างสรรเสริญศีลของกันและกัน ยังไม่ยอมให้ของใครดีกว่า

ขณะนั้นเอง ท้าวอมรินทราธิราชจึงตรัสถามพระเจ้าโกรพขึ้นว่า ในแว่นแคว้นนี้มีผู้ใดเป็นนักปราชญ์บ้างหรือ  พระเจ้าโกรพก็ตอบว่า วิธูรบัณฑิต เป็นปราชญ์เป็นผู้รอบรู้ในอรรถธรรม

เมื่อเห็นพร้อมกันอย่างนั้นก็พากันไปยังสำนักของวิธูรบัณฑิต  วิธูรบัณฑิตเมื่อรู้ความตลอดแล้วก็ตัดสินว่าคุณธรรมทั้ง ๔ นั้นเสมอกัน มิได้มีใครสูงต่ำกว่ากัน  

ทั้ง ๔ เมื่อได้สดับก็เกิดโสมนัสปีติยินดี ท้าวอมรินทร์บูชาด้วยผ้าวิเศษทุกุลพัสตร์ พญาครุฑบูชาด้วยดอกไม้ทอง พญานาคบูชาด้วยแก้วที่คล้องอยู่ที่พระศอ พระเจ้าโกรพทรงบูชาด้วยโคนมหนึ่งพันตัว แล้วต่างก็กลับไปยังสถานของตน

พญานาคพอกลับไปถึงบาดาล  วิมลามเหสีเห็นแก้วที่ห้อยคอพญานาคหายไปก็ถามขึ้น พญานาคก็ตอบว่าได้บูชาธรรมที่วิธูรบัณฑิตแสดงไปเสียแล้ว  วิมลามเหสีก็อยากจะสดับธรรมบ้าง แต่เห็นว่าตนจะขึ้นไปฟังธรรมก็ไม่ได้ เห็นจะต้องใช้กลอุบาย  ดังนั้น  นางจึงแกล้งทำเป็นป่วยไม่สบาย เมื่อท้าววรุณนาคราชมาถามก็แกล้งทำเป็นอิดเอื้อน และแกล้งตอบอย่างเสียไม่ได้ว่า การป่วยไข้ครั้งนี้ ถ้าไม่ได้หัวใจวิธูรบัณฑิตมาแล้วเห็นจะไม่มีชีวิตต่อไป แต่ว่าต้องได้มาโดยชอบธรรมคือเจ้าตัวยินดีจะให้ด้วย

พญานาคราชก็กลัดกลุ้มกินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมผิดปกติไป จนอิรันทดีผู้ราชธิดาได้ความว่ามารดาอยากได้หัวใจวิธูรบัณฑิต จึงทูลอาสาไปนำหัวใจวิธูรบัณฑิตมาให้พระมารดาให้ได้ แล้วก็แทรกน้ำขึ้นมายังมนุษย์โลก เหาะไปยังเขากาลาคีรีอันสูงถึง ๖๐ โยชน์ ครั้นแล้วก็ตบแต่ชะง่อนหินแห่งหนึ่งด้วยพวงดอกไม้หลายหลาก และตนเองประดับประดาด้วยเครื่องแต่งตัวอย่างงดงาม ยืนฟ้อนรำขับร้องพรรณนาถึงความงามของนางและความปรารถนาที่จะได้ดวงใจของวิธูรบัณฑิต ผิว่าผู้ใดทำให้สำเร็จความประสงค์ของนางได้ นางจะมอบตัวนางให้เป็นคู่ครองของผู้นั้น

ในขณะนั้นเอง ยักษ์เสนาบดีของท้าวกุเวร อันมีนามว่าปุณณกะ เหาะผ่านมาทางนั้น พอได้ยินเสียงนางก็รู้สึกไพเราะจับจิตเหลือเกิน ใคร่อยากได้นางเป็นคู่ครองจึงเข้าไปขันอาสาจะไปหัวใจวิธูรบัณฑิตมาให้นาง

แล้วแลเห็นกลอุบายอย่างหนึ่ง เพราะรู้ว่าพระเจ้าโกรพทรงติดสกางอมแงม ถ้าใครไปเล่นก็มีหวังจะแพ้ เพราะพระองค์ทอดแต้มลูกบาศก์ได้ยังกับฝีมือพลิก  ปุณณกยักษ์เห็นทางจะเอาชนะพระเจ้าโกรพได้ง่ายๆ  ดังนั้นจึงไปเอาแก้วมณีชื่อมโนหร เมื่อได้แล้วก็ควบม้าตรงไปยังอินทปัตถ์นคร  ครั้นถึงจึงตรงเข้าไปเฝ้ากล่าวท้าพนันสกา โดยเอาแก้วมโนหรและม้าที่วิ่งเร็วกว่าลมพัดเป็นเดิมพัน แล้วก็ขับควบม้าออกไปบนกำแพงพระนคร สักครู่ก็แลไม่เห็นตัวม้าและคนขี่เห็นแต่สีแดงพาดเป็นเดียวกันตลอดรอบพระนคร เมื่อขับขี่พอสมควรแล้วก็ลงจากหลังม้า บอกให้ม้ากระโดดไปในสระม้าก็วิ่งไปแม้น้ำก็ไม่กระเพื่อม บอกให้วิ่งแสดงตัวเบา ม้าก็โดดลงไปบนใบบัวยืนนิ่งอยู่บนใบบัวก็ไม่จมน้ำ  แล้วก็นำแก้วมโนหรออกมา แสงสว่างก็รุ่งเรืองพราวพรายไปทั้งบริเวณ  กล่าวเชื้อเชิญให้พระเจ้าโกรพทอดพระเนตร และว่าทรงนึกจะดูอะไรก็โปรดนึกแล้วทอดพระเนตรจะเห็นจริง

เมื่อพระเจ้าโกรพนึกทอดพระเนตรแล้วแลดูไปก็เห็นจริงตามคำปุณณกยักษ์ว่า แม้จะดูในนรกสวรรค์ก็เห็นได้ดังนึก ใคร่ปรารถนาแก้วมโนหรและม้าวิเศษ จึงรับคำท้าพนันโดยจะยกราชสมบัติและแผ่นดินทั้งปวงให้แก่ปุณณกยักษ์ ยกเว้นพระองค์  เศวตฉัตร และอัครมเหสี หากพระองค์แพ้พนัน  แล้วก็สั่งให้จัดที่ ท้าวเธอก็เริ่มขับมนต์สรรเสริญมารดาและขอให้นางผู้เป็นอารักขเทพมาช่วยพลิกบาศสกาให้มีแต้มดี มีชัยชนะแก่ปุณณกยักษ์ แล้วก็ทอดไป   ด้วยอภินิหารของแก้วมโนหรและอานุภาพของปุณณกยักษ์ ซึ่งเป็นถึงยักษ์เสนาบดีมีมหิทธานุภาพมากมาย นางเทพธิดานั้นก็ตกใจกลัว จึงหลบหนีออกไปจากสถานที่นั้น ทำให้พระเจ้าโกรพไม่สามารถจะรับลูกบาศก์ไว้ได้ต้องปล่อยให้ตกพื้น เป็นอันว่าท้าวเธอแพ้โดยที่จะต้องมอบราชสมบัติพร้อมทั้งประเทศให้แก่ปุณณกยักษ์

ปุณณกยักษ์ก็เรียกร้องค่าเดิมพัน โดยจะขอเพียงวิฑูรบัณฑิตคนเดียวเท่านั้น พระเจ้าโกรพจำต้องมอบวิฑูรบัณฑิตให้ตามประสงค์ แต่ขอให้วิธูรบัณฑิตแสดงธรรมให้ฟังเป็นครั้งสุดท้าย แล้ววิธูรบัณฑิตก็เดินทางไปกับปุณณกยักษ์  

ปุณณกยักษ์ต้องการจะได้หัวใจวิธูรบัณฑิตอย่างเดียวเท่านั้น จึงหาทางทำให้วิธูรบัณฑิตตายให้ได้ตนจะได้เอาหัวใจไปถวายพญาวรุณนาคราช มิฉะนั้นความรักที่มีต่อนางอิรันทดีก็จะไม่สำเร็จ แต่จะฆ่าวิธูรบัณฑิตด้วยมือตนเองมิได้  ก็ขึ้นม้าให้วิธูรบัณฑิตจับหางม้าแล้วขับม้าไปในภูเขาเพื่อจะให้พระวิธูรกระทบกระแทกกับภูเขาจะได้ตายไป แต่จะควบม้าแทรกไปในอะไรก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็แหวกเป็นช่องไม่กระทบกายวิธูรบัณฑิต  ปุณณกยักษ์จะทำอย่างไรเพื่อให้วิธูรบัณฑิตตายก็ไม่สำเร็จ เพราะอำนาจศีลสัตย์ที่วิธูรบัณฑิตรักษา

ความคิดของปุณณกยักษ์ที่จะทำให้วิธูรบัณฑิตตายเองนั้นมิได้เป็นอันตรายแก่พระวิธูรได้เลย  จึงคิดจะจับวิธูรฟาดกับภูเขาให้ถึงแก่ความตายด้วยมือตนเองละ

พระวิธูรคิดว่า มาณพนี้ช่างโหดเหี้ยมเหลือประมาณ ดูมีความต้องการจะฆ่าเราเสียจริงๆ จำเราจะต้องถามดูให้รู้เหตุ จึงถามเป็นลำดับไป จนรู้ความว่าเพราะปุณณกยักษ์อยากได้นางอิรันทดี ธิดาของพญาวรุณนาคราช  แต่นางว่าถ้าใครรับอาสาไปเอาหัวใจวิธูรบัณฑิตมาถวายพระวิมลาชนนีของนางได้ นางยินดีมอบกายและใจให้กับผู้นั้น

วิธูรบัณฑิตก็คาดคะเนความได้ตลอดว่าเพราะนางวิมลาต้องการจะได้สดับธรรมจากเรา ซึ่งพญาวรุณนาคราชก็นึกไม่ถึงว่านางอยากจะฟังธรรมกลับคิดว่านางอยากจะได้หัวใจเรา ธรรมดานักปราชญ์คำสั่งสอนนั่นแหละเป็นหัวใจละ เราต้องสั่งสอนปุณณกยักษ์ให้เสื่อมความร้ายกาจ

แล้วก็จัดแจงที่นั่งอันสมควร แสดงธรรมให้ปุณณยักษ์ฟัง  ปุณณกยักษ์ฟังธรรมแล้วก็สลดใจ ละอายตนเอง เพราะตนประพฤติผิดมาตลอด เป็นถึงยักษ์เสนาบดีและหลานของท้าวเวสสุวัณ มาหลงงมงายกับผู้หญิงถึงกับคิดฆ่าผู้อื่น ผิดวิสัยชายเสียจริง จึงคืนชีวิตให้วิธูรบัณฑิตและจะพาไปส่งกลับเมืองอินทปัตถ์นคร  แต่วิธูรบัณฑิตขอให้พาลงไปเมืองบาดาลเพื่อแสดงธรรมสั่งสอนนางวิมลา มเหสีพญาวรุณนาคเสียก่อน แล้วค่อยพากลับ

พระวิมลาได้สดับธรรมสมความตั้งใจก็เกิดปีติยินดีให้เจ้าปุณณกยักษ์พาไปส่งพระเจ้าโกรพ พร้อมกับพระราชทานนางอิรันทดีให้ปุณณกยักษ์พาไปด้วย  ปุณณกยักษ์ก็พานางอิรันทดีกับวิธูรบัณฑิตขึ้นมายังมนุสโลก ส่งวิธูรบัณฑิตลงหน้าโรงธรรมศาลา แล้วก็พานางอิรันทดีไปยังเทวโลก

พระเจ้าโกรพได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิธูรกลับมาก็ดีพระทัย ถามรู้ความตลอดแล้วก็เกิดปรีดาปราโมทย์ จึงรับสั่งให้มีการฉลองวิธูรบัณฑิตเป็นเวลานานถึง ๑ เดือน  

และนับแต่นั้นมาบ้านเมืองก็อยู่สุขสบายตลอดมา พระราชาก็เลิกการพนันได้เด็ดขาด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ธันวาคม 2560 20:03:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 มกราคม 2561 14:19:33 »


มโหสถเงือดเงื้ออาวุธ ทำทีจะพิฆาตพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งแคว้นกัปปิลรัฐ

จิตรกรรมฝาผนังวัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก


ทัพของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต แห่งอุตรปัญจาล มาถึงมิถิลานคร แล้วก็สั่งให้ล้อมพระนครไว้แน่นหนา
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

มโหสถชาดก
ปัญญาบารมี

ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ปกครองกรุงมิถิลา ทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ ๔ คนคือ เสณกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ

ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาด ว่า ในสี่มุมของพระลาน มีกองไฟใหญ่ลุกขึ้นรุ่งโรจน์โชตนาการอยู่มุมละกอง และตรงกลางพระลานมีกองไฟเล็กนิดเดียว ค่อยๆ โตขึ้นๆ จนใหญ่กว่ากองไฟทั้ง ๔ นั้น และสว่างจ้าไปหมดทั้งบริเวณ สามารถจะมองเห็นแม้แต่สิ่งเล็กๆ ได้ ประชาชนพากันเอาดอกไม้ธูปเทียนมาบูชากองไฟนั้น และเที่ยวเดินไปมาอยู่ในระหว่างกองไฟนั้น โดยไม่รู้สึกว่าจะร้อนเลย

ถึงเวลาเสด็จออกขุนนางจึงตรัสกับบัณฑิตประจำราชสำนักทั้ง ๔ คนให้ทำนายพระสุบิน  

ชั่วครู่ เสณกะบัณฑิต ก็กราบทูลจอมวิเทหรัฐว่า จะมีบัณฑิตคนที่ ๕ เกิดขึ้นในแว่นแคว้นของพระองค์ และบัณฑิตนั้นจะมีสติปัญญาแก้ไขความเดือดร้อนแก่ประชากรทุกถ้วนหน้า จะมีวาสนาบารมี สติปัญญารุ่งโรจน์กว่าพวกข้าพระพุทธเจ้าอีกเหลือล้น

ขณะเดียวกันในหมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของศิริวัฒกเศรษฐี  

ล่วงกาลผ่านไป ๑๑ เดือน มโหสถบัณฑิตคลอดจากครรภ์มารดา ในเวลาคลอดมือถือแท่งยาออกมาด้วยแท่งหนึ่ง เศรษฐีผู้บิดาปวดศีรษะมานานถึง ๗ ปี ใช้ยานี้รักษาก็หาย ประชาชนทราบข่าวก็พากันมาขอยาวิเศษเพื่อรักษา โรคภัยไข้เจ็บก็หายเป็นปลิดทิ้ง

เพราะมียารักษาประชาชนนี่เอง เวลาตั้งชื่อจึงได้ขนานนามว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาขนานใหญ่อันวิเศษอนันตคุณ

เมื่อล่วง ๗ ปีไป (มโหสถมีอายุได้ ๗ ปี) พระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกขึ้นได้ถึงสุบินนิมิตของพระองค์ และคำพยากรณ์ของบัณฑิตประจำราชสำนักทั้ง ๔ ท่าน ว่าจะมีบัณฑิตคนที่ ๕ มาเกิดในราชอาณาจักรของพระองค์ ก็ได้ส่งอำมาตย์ออกไปตรวจดูทั้ง ๔ ทิศของมิถิลานคร ว่าจะมีผู้ใดมีลักษณะที่จะเป็นบัณฑิตตามนิมิตของพระองค์ได้  

อำมาตย์ ๔ คน ต่างก็แยกย้ายไปกันคนละทิศ คนหนึ่งไปทิศตะวันออก คนหนึ่งไปทิศตะวันตก คนหนึ่งไปทิศเหนือ และอีกคนหนึ่งไปทิศใต้  คนที่ไปทางทิศอื่นนอกจากทิศตะวันออก ไม่พบอะไรที่เป็นเครื่องส่อให้เห็นว่าจะมีนักปราชญ์เกิดขึ้น  ส่วนคนที่ไปทางทิศตะวันออก เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านของศิริวัฒกะเศรษฐีผู้บิดาของมโหสถก็ได้เห็นศาลาที่เจ้ามโหสถทำไว้ตลอดจนได้ฟังกิตติศัพท์ของเจ้ามโหสถ จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่าพบบัณฑิตคนที่ ๕ แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้โดยอ้างว่าขอให้พระองค์ทรงพิจารณาต่อไปอีกสักหน่อย อย่าเพ่อด่วนตกลงพระทัย รอดูต่อไปว่า มโหสถจะมีสติปัญญาสติปัญญาเฉลียวฉลาดสูงถึงขั้นบัณฑิตจริงหรือไม่

เป็นอันว่า พระเจ้าวิเทหราชยังไม่ทรงรับมโหสถมา แต่ได้ส่งราชบุรุษออกไปคอยสืบเหตุการณ์ พฤติการณ์ เพื่อพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารอย่างใกล้ชิด ว่าเหมาะสมจะเป็นบัณฑิตคนที่ ๕ หรือไม่

มีปัญหา มีข้อพิพาทย์ทดสอบเชาวน์ปัญญาของมโหสถกุมารถึง ๑๙ ข้อ อาทิ ข้อพิพาทเรื่องเมีย เรื่องลูก เรื่องเครื่องประดับ เรื่องเนื้อ เรื่องไก่ เรื่องรถ เรื่องสระ เรื่องแก้วมณี ฯลฯ   แต่มโหสถกุมารก็สามารถแก้ปัญหาได้ทุกครั้งไป พระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็นพระราชโอรสบุญธรรม พร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต

ในแคว้นกัปปิลรัฐ มีเมืองใหญ่คือเมืองอุตรปัญจาล พระเจ้าจุลนีพรหมทัต เป็นผู้ครองเมือง มีรี้พลมากมาย หมายจะตีเอากรุงมิถิลา แต่ด้วยเชิงปัญญาอันเลิศล้นของมโหสถบัณฑิตก็ยับยั้งไว้ได้สำเร็จ ศึกสงครามระหว่างอุตรปัญจาลกับมิถิลาก็เป็นอันหมดสิ้นกันไป

พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตื่นใจในความสามารถของมโหสถมาก ถึงกับชวนให้มโหสถไปอยู่ที่ราชสำนักของพระองค์ แต่มโหสถมิใช่คนข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย จึงไม่รับ ต่อเมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์เมื่อไรจึงจะไปอยู่รับใช้ทันที


600-28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2561 12:18:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 มกราคม 2561 14:53:40 »

ภูริทัตชาดก เป็นเรื่องการบำเพ็ญความดีของพระพุทธเจ้า
ในเรื่องของความอดทน เพื่อเป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติต่อไป



พราหมณ์ร่ายมนต์อารัมพายเข้าไปจับพระภูริทัตซึ่งบำเพ็ญเพียรอยู่บนจอมปลวก
เพื่อจะนำไปแสดงหาเงินตามที่ต่างๆ  
จิตรกรรมฝาผนังวัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ภูริทัตชาดก


สมัยเมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี พระองค์มีพระโอรสองค์หนึ่งและทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอุปราช ภายหลังเกรงว่าอุปราชจะแย่งราชสมบัติ จึงรับสั่งให้ออกไปท่องเที่ยวยังตามที่ต่างๆ พร้อมกับรับส่งว่า “ถ้าพ่อสิ้นแล้วเมื่อไรเจ้าจงกลับมาครองราชสมบัติเถิด”    

พระราชโอรสก็ค่อนข้างจะมักน้อย จึงได้ออกท่องเที่ยวไปตามป่าตามเขาตามใจปรารถนา ตราบจนกระทั่งพบบรรณศาลาแห่งหนึ่ง อยู่ระหว่างภูเขาและติดกับริมฝั่งแม่น้ำยมนา และเห็นว่าเป็นสถานที่ดีมีความวิเวก จึงตกลงใจพักอยู่ ณ บรรณศาลานั้น

นางนาคตนหนึ่งปราศจากสามี เห็นคนอื่นเขามีคู่เคล้าเคลียทนอยู่ไม่ได้ จึงจำแลงกายเป็นมนุษย์หนีขึ้นมาท่องเที่ยวเสียในเมืองมนุษย์ ก็มาพบเข้ากับพระราชกุมาร ทั้งสองพอใจซึ่งกันและกันก็ได้เสียกันแล้วก็ได้อยู่ร่วมกันมาจนกระทั่งนางตั้งครรภ์ ได้คลอดโอรสองค์หนึ่งให้ชื่อว่า สาครพรหมทัต และต่อมาภายหลังก็ได้คลอดพระธิดาอีกองค์หนึ่งให้ชื่อว่า สมุทธชา

พระเจ้าพรหมทัตเสด็จสรรคต พวกขุนนางปรึกษากันเรื่องจะเสี่ยงราชรถ เพราะเหตุที่ไม่ทราบว่าพระราชโอรสของพระเจ้าพรหมทัตอยู่ที่ไหน แต่มีพรานไพรผู้หนึ่งเคยท่องเที่ยวไปพบพระราชโอรส ได้บอกกับอำมาตย์ราชบริพารเหล่านั้นให้ทราบ และรับอาสาพาอมาตย์ราชบริพารเหล่านั้นไปยังอาศรมของพระราชกุมารกับนางนาค  เมื่อพระราชกุมารได้ทราบว่าพระราชบิดาสรรคตแล้ว จึงรับอัญเชิญกลับไปขึ้นครองราชย์สมบัติ แล้วตรัสชวนพระมเหสีคือ นางนาค ให้เข้าไปอยู่ในเมืองด้วยกัน แต่นางนาคนั้นกล่าวว่า “หม่อมฉันเป็นนาคยากที่จะอยู่กับคนได้ เพราะโกรธขึ้งขึ้นมาก็จะพ่นพิษทำลายคนเหล่านั้นเสีย ขอพระองค์จงเสด็จไปเถิด พร้อมกับพาโอรสธิดาของหม่อมฉันไปด้วย ส่วนหม่อมฉันขอทูลลากลับไปอยู่เมืองนาคตามเดิม”

พระกุมารจะชวนด้วยประการใดนางก็ไม่ยินยอม จึงเสด็จกลับพระนครพร้อมกับโอรสและธิดา ซึ่งต้องขุดไม้เป็นรูปเรือใส่น้ำให้เต็มให้ทั้งสองเล่นมาตลอดทาง จนกระทั่งถึงเมืองพารารณสี มิฉะนั้นโอรสธิดาจะต้องตายเพราะวิสัยนาคจะขาดน้ำเสียมิได้

อยู่มาวันหนึ่งขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ เกิดตกใจกลัวเต่าตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไปทิ้งที่วังน้ำวน เต่าจมลงไปถึงเมืองบาดาล ถูกพวกนาคจับไว้ได้ เต่าเจ้าเล่ห์ก็ออกอุบายบอกแก่นาคว่า  "เราชื่อ เจตจูณ  มาเฝ้าจอมนาค คือ ท้าวธตรฐ เราเป็นราชทูตของพระเจ้าพรหมทัต พระราชาของเราจะถวายพระธิดาผู้ทรงโฉมให้แก่จอมบาดาล เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นไมตรีกัน เพราะในชมพูทวีปทั้งสิ้นพระเจ้าพรหมทัตของฉันก็ได้ผูกเป็นมิตรสหายกันหมดแล้ว"

ท้าวธตรฐก็เชื่อ จึงส่งเสนานาค ๔ ตนไปพร้อมกับเต่าเจตจูณนั้น  

พอใกล้จะถึงเมือง เจ้าเต่าก็หาโอกาสจะหนีจึงบอกกับเสนานาคทั้ง ๔ ว่า “เราจะต้องเข้าไปในวัง พระราชกุมารและกุมารีต่างจะมาขอรากบัว หัวบัว เพราะฉะนั้นเราจะต้องไปหาให้เธอ” แล้วก็ลงไปในสระและแอบซ่อนตัวเสีย  พวกนาคเหล่านั้นคอยอยู่เป็นนานไม่เห็นมาก็คิดว่าเต่าคงไปสู่สำนักพระเจ้าพรหมทัตแล้ว ก็เดินทางไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต เมื่อไปถึงก็ทูลเล่าเรื่องราว มาเพื่อจะตกลงขอพระธิดาของพระเจ้าพรหมทัตไปเป็นเอกอัครมเหสีท้าวธตรฐ

พระเจ้าพรหมทัตเอะใจ มันอะไรกันแน่ จอมนาคราชมาขอลูกสาว มันจะเป็นไปได้อย่างไร จึงรับสั่งว่า "เจ้านายของท่านเป็นนาคมิใช่มนุษย์ และลูกสาวฉันเป็นมนุษย์ มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธุ์กัน จะสมสู่อยู่ด้วยกันนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้"

เหล่านาคได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูลพระเจ้าจอมบาดาล ซึ่งแม้จะโกรธก็ยังระงับไว้ เพียงแต่สั่งว่า “นาคทั้งแผ่นดินที่มีฤทธานุภาพ จงไปในเมืองพาราณสีในราตรีนี้ แต่อย่าทำใครให้ตาย”  

เพียงเท่านั้น รุ่งขึ้นเช้าเสียงอึกทึกครึกโครมก็ได้เกิดขึ้นทุกแห่งหน ไม่เว้นแม้ในพระราชวังของพระเจ้าพรหมทัต  

นาคขึ้นไปเมืองมนุษย์ งูเล็กบ้างใหญ่บ้างเที่ยวแผ่พังพานแสดงอิทธิฤทธิ์อำนาจตามที่ต่างๆ แม้พระเจ้าพรหมทัตเอง นับแต่ลืมตาขึ้นมาก็พบกับราชทูตทั้ง ๔ ตน อันมีสภาพเป็นพญานาคควงขนดไว้รอบปราสาท แผ่พังพานอยู่แทบจะเหนือเศียร แต่มิได้ทำอันตรายแก่ผู้ใด ชาวเมืองพากันเกรงกลัวนาคจนไม่เป็นอันทำมาหากิน  เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ พระเจ้าพรหมทัตก็จำยอมต้องออกพระโอษฐ์ยอมถวายพระนางสมุทรชาแก่ท้าวธตรฐ   ท้าวธตรฐอภิเษกพระนางสมุทธชาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี และทรงเกรงว่าพระนางสมุทธชาจะตกใจกลัว จึงบังคับสั่งบรรดานาคทั้งหมดมิให้แสดงรูปนาคให้ปรากฏแก่พระนาง  นับแต่นั้น พระนางก็ร่วมสโมสรอยู่กับท้าวธตรฐจนมีโอรสถึง ๔ องค์ องค์ที่ ๑ ชื่อ สุทัศนะ องค์ที่ ๒ ชื่อ ทัต  องค์ที่ ๓ ชื่อ สุโภค องค์ที่ ๔ ชื่อ อริฏฐะ  พระนางก็ยังไม่เคยรู้เลยว่าที่นั่นเป็นเมืองบาดาล เพราะบรรดานาคทั้งหลายต่างแปลงกายเป็นคนเมื่ออยู่ในสายพระเนตรของพระนาง

วันหนึ่ง อริฏฐะ ซึ่งเป็นโอรสองค์สุดท้ายของท้าวธตรฐ ได้ฟังพี่เลี้ยงเสี้ยมสอนว่า พระมารดาของเธอเป็นมนุษย์ไม่ใช่นาค  อริฏฐะอยากจะทราบความจริง เวลากินนมเลยแสดงอาการข้างล่างเป็นหางนาค นางสมุทรชาเห็นลูกกลายเป็นงูก็ตกพระทัยผลักอริฏฐะตกจากตักลงไป เล็บของพระนางเผอิญไปทิ่มตาอริฏฐะถึงกับแตกไปข้างหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมานางจึงรู้ว่าได้ลงมาอยู่เมืองนาค

ท้าวธตรฐต้องไปเฝ้าท้าววิรูปักข์ซึ่งเป็นมหาราช กำหนด ๑๕ วันครั้งหนึ่ง  โอรสองค์ที่ ๒ หรือ ทัต ก็ได้ไปพร้อมกับพระบิดาด้วย และได้แก้ปัญหาในที่ประชุมได้ ได้รับสรรเสริญว่าเป็นคนมีปัญญา นับแต่นั้นมาจึงได้นามว่า ภูริทัต คือ ผู้เรืองปัญญา

ภูริทัตได้เห็นสมบัติของท้าวมหาราชและสมบัติของพระอินทร์ ก็ปรารถนา แต่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉานทำอย่างไรก็คงไม่ได้ จึงคิดจะรักษาอุโบสถศีล เพื่อแสวงผลเลิศในภายหน้า จึงดำริจะรักษาอุโบสถในแดนมนุษย์ แต่ถูกพระมารดาห้ามปรามก็เลยไปรักษาอุโบสถอยู่ในพระราชอุทยาน แต่อยู่ๆ ไปก็รำคาญสนมกำนัลในที่ยังไปเฝ้าแหนอยู่มิได้ขาด เลยไม่บอกให้ใครๆ รู้ หนีขึ้นไปรักษาอุโบสถอยู่ที่จอมปลวกริมฝั่งแม่น้ำยมนา ตั้งความปรารถนาจะสละชีวิตร่างกายของตนให้แก่ผู้ต้องการ

ยังมีนายพรานป่า ๒ คนพ่อลูก พ่อชื่อ เนสาท  ลูกชื่อ โสมทัต ทั้งสองออกเที่ยวล่าสัตว์ เผอิญได้พบภูริทัตกำลังจำศีล และในคืนนั้นเอง ๒ พ่อลูกก็ได้เห็นนางนาคบริวารสาวๆ ขับกล่อมบูชาศีลพระภูริทัตอยู่  จึงเข้าไป พวกนางนาคเหล่านั้นตกใจก็เลยหนีหมดเหลือแต่ภูริทัตผู้เดียว  สอบถามรู้ว่าเป็นโอรสของราชาแห่งนาค  

ภูริทัตเห็นว่าเนสาทเป็นพราน จะไปเอาหมองูมาทำอันตรายตน จึงเชิญพรานพ่อลูกไปเสวยสุขอยู่ในนาคพิภพด้วย

แต่เพราะคนทั้งสองมีวาสนาน้อยไม่อาจจะเสวยสุข ลงไปอยู่เมืองนาคไม่ได้นานก็ขอกลับขึ้นไปเมืองมนุษย์ตามเดิม ภูริทัตก็อำนวยความสะดวกทุกประการและได้มอบสมบัติให้เป็นอันมากอีกด้วย เมื่อคนทั้งสองขึ้นไปมนุษย์โลกได้แล้ว สมบัติที่ได้มาก็อันตรธานหายไปสิ้น และนับแต่นั้นพรานทั้งสองก็เข้าป่าล่าสัตว์ต่อไปเช่นเดิม  

คราวครั้งนั้นมีพญาครุฑตนหนึ่งอาศัยอยู่ในวิมานฉิมพลีแถบใกล้มหาสมุทร บินลงมาจับนาคได้ตัวหนึ่งแล้วพาบินไป นาคนั้นกลัวตาย ก็เอาหางกระหวัดต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอันเป็นที่จงกรมของฤๅษีองค์หนึ่งติดไปด้วย  ครุฑพาไปจนถึงที่เคยกินก็กินนาคเสีย ต้นไทรก็เลยตกลงไปยังพื้นข้างล่างดังสนั่น ครุฑจึงคิดว่าเราจะบาปหรือไม่ จึงแปลงกายเป็นหนุ่มน้อยเข้าไปหาฤๅษี ถามว่าจะเป็นบาปหรือไม่ พระฤๅษีว่าไม่บาปเพราะไม่มีเจตนา ก็ดีใจแล้วถวายแก้วให้ฤๅษีไว้ดวงหนึ่ง พร้อมกับมนต์ชื่ออาลัมพายและยาทิพย์ ซึ่งงูจะต้องกลัวและอยู่ในอำนาจ  พระฤๅษีแม้จะไม่อยากได้ก็ต้องรับไว้ เพราะครุฑยัดเยียดให้รับ

มีพราหมณ์ผู้หนึ่งตกยากเป็นหนี้สินมากจนไม่มีจะใช้จึงคิดจะไปซุกซ่อนตายเสียในป่า จึงเดินทางเข้าป่าไปจนกระทั่งถึงข้างอาศรมของฤๅษีนั้น เห็นว่าไกลจากบ้านเมืองผู้คนจึงแวะเข้าไปอาศัยอยู่และกระทำปฏิบัติฤๅษีนั้นตามสมควร  ฤๅษีจึงได้บอกมนต์และยาทิพย์ให้แก่เขา  เมื่อเรียนมนต์อาลัมพายได้แล้วจึงลาฤๅษีออกเดินทาง และเผอิญผ่านมาทางริมฝั่งน้ำยมนาซึ่งภูริทัตจำศีลอยู่

คืนวันนั้น นางนาคพากันมาขับกล่อมให้ภูริทัตเพลิดเพลิน เมื่อสว่างแล้วจึงพากันไปเล่นอยู่ที่หาดทราย เอาแก้ววิเศษมาวางไว้หว่างกลาง ขณะกำลังเล่นอยู่นั้น พราหมณ์ก็เดินท่องมนต์ผ่านมา นางนาคเหล่านั้นตกใจจึงพากันทิ้งแก้ว หลบหนีกลับไปยังบาดาล พราหมณ์เห็นแก้วมณีวางอยู่จึงหยิบมาถือแล้วเดินเรื่อยไป จนกระทั่งมาพบพรานพ่อลูกซึ่งเคยไปอยู่เมืองบาดาลมาแล้ว  พอพรานเห็นแก้วก็จำได้ว่าเป็นของภูริทัตให้มาแต่ตนทำตกพื้น แก้วดวงนี้เลยอันตรธานไป จึงพากันไปขอแก้ว พราหมณ์ก็ยินดีจะให้ แต่ขอให้บอกที่อยู่พญานาค เพื่อจะได้ทดลองมนต์ พรานก็พาไปจนถึงที่ภูริทัตจำศีลอยู่ที่จอมปลวก จึงชี้บอกแล้วขอดวงแก้ว พราหมณ์จึงยื่นแก้วให้กับพราน แต่เขารับไว้ไม่แน่น แก้วตกลงถึงพื้นเลยหายไปเสีย  เขาก็เลยอดทั้งแก้วและได้เนรคุณต่อผู้มีพระคุณของตนอีกด้วย

พอพรานพาพราหมณ์เข้าไปถึง ภูริทัตเห็นแล้วจำพราหมณ์ได้ ว่าเป็นคนที่เคยนำไปไว้เมืองบาดาลและขอกลับมาอยู่มนุษย์โลก จะบรรพชาอุปสมบท แต่ก็หาทำไม่ กลับพาหมองูมาทำอันราย และหมองูนั้นถ้าตนจะทำอันตรายก็จะขาดศีล จึงคิดตกลงใจยอมสละชีวิต ตามแต่เขาจะทำ  

พราหมณ์ก็กินยางูแล้วร่ายมนต์เข้าไปจับภูริทัตดึงลงมาจากจอมปลวก แล้วงัดปากกรอกยาทำให้หมดกำลังไป และทำทารุณอีกต่างๆ จนมีเลือดไหลออกทั้งทางปากและจมูก แล้วเขาก็ตัดเถาวัลย์มาสานกระโปรงใส่ภูริทัต เพื่อจะไปแสดงหาเงินตามที่ต่างๆ  มาถึงสถานชุมชนก็จัดแจงป่าวประกาศให้ผู้คนมาดูแล้วบังคับภูริทัตให้แผ่พังพาน ๓ ชั้น ๗ชั้น ทำให้ใหญ่ให้เล็กตามประสงค์เก็บเงินจากผู้ดู  

ทางเมืองนาค เมื่อพวกนางนาคขึ้นมาไม่พบพระภูริทัตก็นำความไปบอก และพระนางสมุทรชาก็บังเกิดสุบินว่ามีคนมาตัดแขนเบื้องขวาของพระนางออกไป อันประกอบกับได้ข่าวว่าภูริทัตหายไป  สุทัศนะผู้พี่ภูริทัตก็รับอาสาออกติดตามพร้อมๆ กับน้องๆ คือ สุโภค และอริฏฐะ และเห็นว่าน้องๆ เป็นผู้มีโทโสร้าย เกรงว่าจะไปพบภูริทัตในเมืองมนุษย์เข้าจะเกิดเดือดร้อนภายหลัง เมื่อไม่พอใจขึ้นมาก็จะพ่นพิษเผาผลาญตามนิคมชนบทพินาศหมด จึงส่งสุโภคไปยังป่าหิมพานต์ ให้อริฏฐะไปยังเทวโลก ส่วนสุทัศนะเองไปสู่มนุษย์ พร้อมกับนาคผู้น้องชื่อว่า อัจจะมุขี ช่วยกันค้นหาภูริทัต

การเล่นงูของพราหมณ์อาลัมพายได้แพร่สะพัดไปจนทราบถึงพระเจ้าสาครพรหมทัต ซึ่งเป็นพระเจ้าลุงของภูริทัต อันครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงพระประสงค์จะทอดพระเนตร จึงรับสั่งให้พาเข้าไปแสดงให้ดู  เมื่อถึงพลับพลา พราหมณ์ก็ให้ยกเอากระโปรงแก้วมาเปิดออก แล้วเรียกให้ภูริทัตออกมา  ภูริทัตออกมาพ้นกระโปรงก็ชะเง้อดูไปรอบๆ  การดูไปรอบๆ ของนาคนั้นด้วยเหตุสองประการคือ เพื่อดูพญาครุฑ ถ้าเห็นก็จะได้หนีทัน ไม่เป็นอันตราย ๑  และถ้าเห็นญาติของตนเองก็เกิดละอายไม่อาจจะแสดงได้ ๑  เมื่อภูริทัตมองไปรอบๆ ก็พบสุทัศนะ ซึ่งแปลงเพศเป็นฤๅษีติดตามมา ก็เลื้อยช้าๆ ตรงเข้าไป มาถึงตรงหน้าสุทัศนะก็ซบศีรษะลงไปบนเท้าของฤๅษี ร้องไห้สักครู่แล้วเลื้อยกลับเข้ากระโปรงไม่ยอมแสดง

พราหมณ์เห็นงูของตนเลื้อยไปซบศีรษะบนเท้าของฤๅษีก็คิดว่าคงจะไปกัดเข้าแล้ว จึงตรงเข้าไปเพื่อจะปลอบใจฤๅษี โดยบอกว่า “ท่านผู้เจริญ งูพิษร้ายของข้าพเจ้าตัวนี้คงจะกัดท่านเข้าแล้ว ข้าพเจ้าจะรักษาให้ เพราะข้าพเจ้าเป็นหมองู”

สุทัศนะตอบว่า "งูตัวนั้นน่ะรึมีพิษ ท่านโกหกหลอกลวงประชาชน งูตัวนี้ไม่มีพิษ ยังบอกว่ามีพิษ เรานี่แหละหมองูผู้วิเศษละ"

พราหมณ์หาว่าสุทัศนะ ดูหมิ่นว่าตนเอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า "เขียดตัวน้อยของเรานั้นยังมีพิษมากกว่านาคของท่านเสียอีก เพียงแต่ท่านถูกพิษเพียงเล็กน้อย ท่านจะต้องถึงแก่ความตายทันที"

พราหมณ์กล่าวว่าหากจะให้สู้กัน ก็ต้องมีเดิมพันจึงจะสมควร สุทัศนะจึงทูลขอพระราชาพาราณสีให้เป็นผู้ประกันให้ตน พระราชาก็ทรงยอมตกลง สุทัศนะก็เรียกนางอัจจะมุขี ซึ่งแปลงกายเป็นเขียดน้อยอาศัยอยู่บนชฎา โดยแบมือร้องเรียก  นางอัจจะมุขีก็โดดลงมาบนฝ่ามือ แล้วคายพิษไว้บนมือสุทัศนะหน่อยหนึ่งแล้วโดดขึ้นไปอาศัยอยู่บนชฎาอีก

สุทัศนะทูลพระเจ้าสาครพรหมทัต ว่า “พิษที่อยู่ในมือข้าพเจ้านี้ร้ายแรงเหลือที่จะกล่าว ขอเดชะ หากอาตมภาพจะทิ้งพิษนี้บนแผ่นดินแล้วไซร้ ภายในเมืองนี้ข้าวกล้าจะวิบัติ รุกขชาติทั้งหลายจะตายสิ้น  ถ้าทิ้งลงน้ำ บรรดาสัตว์น้ำทั้งหลายจะตายหมด  ถ้าสาดขึ้นไปบนอากาศก็จะทำให้ฝนแล้งไปถึง ๗ ปี”

พระราชาตรัสถาม “แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่มีความวิบัติ”
 
“พระองค์จงตรัสสั่งให้ขุดหลุมลึกและใหญ่สัก ๓ หลุม หลุมที่ ๑ ใสยาสมุนไพรทุกชนิดลงไปให้เต็ม  หลุมที่ ๒ ใส่มูลโคลงไปให้เต็ม  หลุมที่ ๓ ใส่ยาทิพย์ให้เต็ม "

พระเจ้าสาครพรหมทัตก็ตรัสสั่งให้ทำดังนั้น  สุทัศนะจึงเอาพิษนาคนั้นใส่ในหลุมที่ ๑ ก็เป็นไฟเผาไหม้ยาทั้งปวงนั้นจนกระทั่งหมดแล้วลามไปหลุมที่ ๒ ไหม้มูลโคหมด แล้วลามไปไหม้หลุมที่ ๓ ที่ใส่ยาทิพย์แล้วจึงดับ

พราหมณ์ซึ่งไม่ยอมเชื่อได้ยืนดูอยู่ใกล้หลุมที่ ๓ จึงถูกไอไฟรนร้อนถึงถลอกปอกเปิกกลายเป็นขี้เรื้อนด่างเป็นดวงๆ โดดออกไปห่าง พลางร้องว่าเราจะปล่อยนาคละ

ภูริทัตพอได้ยินพราหมณ์บอกว่าปล่อยก็ออกจากกระโปรงแก้ว แล้วกลายร่างเป็นมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าสาครพรหมทัตพร้อมกับสุทัศนะและนางอัจจะมุขี ซึ่งก็กลายเป็นคนเข้าไปเฝ้าด้วยกัน

เมื่อเข้าไปสุทัศนะจึงบอกว่าพวกตนเป็นหลานอันเกิดจากท้าวธตรฐกับพระนางสมุทธชา ซึ่งเป็นน้องสาวของพระเจ้าสาครพรหมทัตเอง พร้อมกับลากลับไปและว่าจะพามารดามาเยี่ยมในภายหลัง แล้วก็แทรกแผ่นดินกลับบาดาลไป

ในเรื่องนี้เราได้อะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันบ้าง คำตอบก็คือว่าเราได้ “ขันติ” คือความอดทน คือความอดทนตอนที่พราหมณ์มาทำร้ายจับเอาภูริทัตไปทรมานทรกรรมจนแทบจะทนไม่ได้ หากเป็นนาคอื่นก็อาจจะพ่นพิษเอาตายไปก็ได้ และให้เห็นโทษของการเนรคุณผู้มีพระคุณ ซึ่งนายพรานสองพ่อลูกได้ทำให้พระภูริทัตถูกจับเพราะอยากได้แก้วเท่านั้นเอง เรื่องนี้ก็ถึงที่สุดเพียงเท่านี้.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2561 16:21:11 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 มกราคม 2561 16:28:30 »


จันทกุมารชาดก
คติที่ควรจะได้ในเรื่องนี้ คือ ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
ความอาฆาตพยาบาท ทำให้คนเป็นคนเลว



ด้วยสัจจาธิษฐานของ พระจันทาเทวี ชายาของพระจันทกุมาร ทำให้พระอินทร์
ต้องเหาะมาช่วยพระจันทกุมารทันที มือถือค้อนเหล็กลุกเป็นไฟ พอเหาะมาถึงบริเวณพิธี
ก็ทำลายราชวัติฉัตรธงในบริเวณพิธีพังระเนระนาด
จิตรกรรมฝาผนังวัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

จันทกุมารชาดก

สมัยเมื่อพระเจ้าเอกราชครองราชย์สมบัติอยู่ในปุบผวดีนคร  ท้าวเธอมีพระมเหสี พระนามว่า โคตะมี และมีราชโอรสนามว่า จันทกุมาร  มีปุโรหิต ชื่อ กัณฑหาลพราหมณ์

กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนโลภ เมื่อได้ยศโดยพระเจ้าเอกราชมอบอำนาจให้พิพากษาคดีต่างๆ ก็ชอบจะกินสินบน  เป็นเรื่องเลื่องลือกระฉ่อนไปหมดในสมัยนั้น ไม่มีใครสามารถจัดการได้ หากใครร้องจะต้องถูกจับฐานบ่อนทำลายสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ เลยประชาชนทั้งหลายต้องนิ่งเงียบปล่อยให้เถือตามใจชอบ

วันหนึ่ง กัณฑหาลพราหมณ์ตัดสินคดีอย่างที่เคยมาแล้ว คือให้คนที่เอาสินบนมาให้ชนะไป ผู้แพ้ก็ได้แต่ก้มหน้าออกจากศาลไปนั่งร้องไห้อยู่ข้างถนนหนทาง  พอดีพระมหาอุปราชจันทกุมาร เสด็จผ่านมาเห็นเข้า สงสัยจึงเรียกไปตรัสถาม ชายผู้นั้นก็เล่าความให้ฟังตั้งแต่ต้นจนสุดท้ายถูกบังคับให้แพ้จนตลอดเรื่อง  พระราชกุมารฟังดูแล้วรู้สึกว่าเป็นการอยุติธรรมมากเกินไป จึงเสด็จไปยังศาลพร้อมกับเรียกเอาเรื่องนั้นออกมาดู  ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ก็หยิบมาให้อย่างเสียไม่ได้  พระจันทกุมารก็เรียกโจทก์จำเลยมาสอบสวนทวนพยานกันเสียใหม่ แม้ตาพราหมณ์แกจะไม่ชอบก็ต้องนิ่ง เพราะอำนาจมหาอุปราชเค้นคอแกอยู่เลยได้แต่นั่งทำตาปริบๆ ฟังเรื่อยไป

เมื่อไต่สวนได้ความแน่นอนแล้ว พระจันทกุมารก็ตัดสินให้ฝ่ายถูกเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายผิดเป็นฝ่ายแพ้ กลับตรงกันข้ามกับคำตัดสินที่ตัดสินมาแล้ว

ประชาชนพลเมืองที่ถูกกัณฑหาลพราหมณ์กดไว้ก็พากันดีใจสรรเสริญพระจันทกุมารเป็นการใหญ่ ศาลเกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาแล้ว  พระเจ้าเอกราชได้ทรงสดับเสียงโห่ร้องก็สอบถามดูได้ความว่าพระจันทกุมารมหาอุปราชตัดสินความยุติธรรมให้ราษฎรพอใจ จึงไชโยโห่ร้องให้ศีลให้พรพระจันทกุมาร

พระเจ้าเอกราชก็รับสั่งให้พระจันทกุมารตัดสินคดีของพลเมืองแทนกัณฑหาลพราหมณ์สืบไป สร้างความเคียดแค้นให้แก่กัณฑหาลพราหมณ์ แต่ก็จำต้องนิ่งรอโอกาสต่อไป

ประชนชนได้รับความยุติธรรมกันอย่างเสมอหน้าเสมอตา เรื่องมันก็ควรจะจบกันเพียงนี้ แต่เผอิญเกิดเรื่องใหม่ขึ้นทำให้ลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงเป็นถึงตายกัน

วันหนึ่ง พระเจ้าเอกราชเสด็จบรรทม และทรงพระสุบินว่าได้ขึ้นไปเที่ยวบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติของพระอินทร์อันล้วนเป็นทิพย์ทั้งนั้น นางฟ้านางสวรรค์ก็ล้วนแต่สวยงาม พอเห็นก็ใคร่จะได้  รุ่งขึ้นออกท้องพระโรงพอเห็นกัณฑหาลพราหมณ์ ปุโรหิตคนโปรด ก็ตรัสเล่าพระสุบินให้ฟัง และยังตรัสว่า “ทำยังไงถึงจะได้สมบัติเหล่านั้นบ้าง”

ตาพราหมณ์พอได้ฟังพระเจ้าอยู่หัวตรัสเล่าพระสุบินเช่นนั้น ใจก็คิด “จันทกุมารเคยเล่นงานเราเจ็บแสบนัก ทุบหม้อข้าวเรา ทีนี้จะได้เห็นกันละ”  จึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ พระสุบินของพระองค์เป็นลางสังหรณ์ว่าพระองค์จะได้สมบัติเหล่านั้น แต่พระองค์ต้องเสียสละของรักกระทำบูชายัญ จึงจะมีผลมาก ได้รับสมบัติทิพย์”
“ของที่รัก!” พระเจ้าเอกราชรำพึง
“ก็พระมเหสี บุตรธิดา ช้างแก้ว ม้าแก้ว พระเจ้าค่ะ”
“ถ้าอย่างนั้นเห็นจะพอได้”

กัณฑหาลพราหมณ์จึงทูลให้ทราบว่า จะต้องใช้เลือดในลำคอของมเหสี โอรสธิดา ช้างม้า และเศรษฐีประจำพระนคร มาทำการบูชายัญจึงจะเห็นผล

อนิจจา ทศพิธราชธรรมสำหรับพระเจ้าเอกราชผู้งมงายหามีไม่ หวังแต่สมบัติทิพย์ก็เชื่อถือถ้อยคำของตาพราหมณ์เจ้าเล่ห์  รับสั่งให้ตาพราหมณ์จัดการเรื่องบูชายัญโดยด่วน

ข่าวว่าพระเจ้าเอกราชจะฆ่ามเหสี โอรสธิดา ช้างแก้ว ม้าแก้ว และเศรษฐีประจำเมืองอีก ๔ คนบูชายัญ เพื่อหวังจะได้สมบัติอย่างพระอินทร์ ได้แพร่สะพัดไปทั่วเมืองปุบผวดี  แม้พระจันทกุมารจะเข้าไปทัดทานอย่างไรก็ไร้ผล

กัณฑหาลพราหมณ์ไปจัดการให้คนขุดหลุมเพื่อการบูชายัญนอกเมือง เมื่อการจวนจะสำเร็จ พระเจ้าเอกราชเกิดใจอ่อน ทนการอ้อนวอนของโอรสธิดามิได้ จะให้เลิกการบูชายัญ ตาพราหมณ์ก็มาทัดทานไว้ โดยอาการเช่นนี้หลายพักหลายครา สุดท้ายตาพราหมณ์เห็นว่ายิ่งรอช้าไปพระจันทกุมารอาจไม่ตายก็ได้ เพราะพระทัยของพระเจ้าเอกราชไม่สู้แน่นอนนัก จึงได้รีบเร่งให้ขุดหลุมและจัดบริเวณพิธีให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้ประหารเสียเร็วๆ

เมื่อบริเวณพิธีเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ก็สั่งให้นำคนและสัตว์ที่จับไว้นั้นออกนอกประตูพระนครไป พร้อมกับปิดประตูห้ามคนในออกคนนอกเข้า เพราะกลัวประชาชนจะติดตามไปทำลายพิธี เพราะคนอย่างมหาอุปราชและเศรษฐีย่อมจะมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมากมาย

พอถึงโรงพิธีคนแรกที่จะต้องสังเวย คือ พระจันทกุมาร  ตาพราหมณ์ก็นำไปนั่งข้างปากหลุม เตรียมถาดที่จะรองเลือดไว้เรียบร้อย ตนเองก็ตระเตรียมดาบไว้  พระจันทกุมารตอนนี้วางใจเป็นอุเบกขาแล้วแต่เวรแต่กรรม

แต่ พระจันทาเทวี ผู้ชายาของพระจันทกุมาร ซึ่งได้ตามวิงวอนพระราชบิดาขอให้ยกโทษให้พระจันทกุมาร คือเอาตัวพระนางเองบูชายัญแทนก็ไม่สำเร็จ จึงตั้งสัจจาธิษฐาน คือตั้งความสัตย์ว่า “ขอเทพยดาทั้งหลายจงเป็นพยาน ด้วยความสัตย์ของข้า กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนคิดคนมิชอบต่อราชการแผ่นดิน ไม่มีศีลธรรม แกล้งจะทำลายล้างผู้อื่น  ด้วยความสัตย์นี้ ขอให้กัณฑหาลพราหมณ์จงพินาศไป และขอให้พระจันทกุมาร สวามีแห่งข้าจงได้รอดชีวิตด้วยเถิด”

ด้วยสัจจาธิษฐานของนาง ทำให้อาสนะพระอินทร์นั่งไม่สบาย “ทิพอาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กระด้างดังศิลาประหลาดใจ จะมีเหตุแม่นมั่นในแดนดิน อมรินทร์เร่งคิดสงสัย จึงสอดส่องทิพเนตรดูเหตุภัย ก็แจ้งใจในนาง... พระจันทา

พระอินทร์จึงต้องเหาะลอยระเห็จมาช่วยทันที มือถือค้อนเหล็กลุกเป็นไฟ พอเหาะมาถึงบริเวณพิธีก็ร้องตวาดลงมาว่า “ไอ้พระยาอาธรรม์ ไม่เคยมีเยี่ยงอย่างจากไหนที่สั่งสอนว่าฆ่าคนได้สมบัติทิพย์และจะได้ไปสวรรค์ ทศพิธราชธรรมสำหรับกษัตริย์ละเลิกหรืออย่างไร ถ้าหากจะขืนทำพิธีบูชายัญให้ได้ เราจะตีเศียรท่านให้ย่อยยับเป็นจุณไป” ว่าแล้วก็ทำลายราชวัติฉัตรธงในบริเวณพิธีพังระเนระนาดไปเสียด้วย

ในขณะนั้นเอง ประชาชนก็ฮือกันเข้าไปจับตัวกัณฑหาลพราหมณ์เจ้าพิธีซึ่งกำลังตกตะลึงอยู่ ลากออกมาประชาทัณฑ์ ร่างแหลกเหลวแทบดูไม่ได้  เมื่อพราหมณ์ตายแล้ว ความโกรธแค้นของประชาชนยังไม่หยุดเพียงนั้น ยังบุกเข้าไปจะนำพระเจ้าเอกราชมาลงทัณฑ์เสียอีก

พระจันทกุมารต้องโดดเข้าไปกอดพระชนกเอาไว้ไม่ให้คนทำร้าย

“เราไม่ต้องการคนโหดร้ายทารุณ ฆ่ากระทั่งลูกเมียเพื่ออยากได้สมบัติ ออกไป ออกไป!” เสียงประชาชนโห่ร้องขับไล่พระเจ้าเอกราช ไปอยู่บ้านคนจัณฑาล ซึ่งในสมัยนั้นเทียบได้กับหมู่บ้านคนขอทานในสมัยนี้ แล้วได้ทำการอภิเษกพระจันทกุมารให้ครองราชสมบัติในปุบผวดีนคร

เมื่อพระเจ้าจันทกุมารเสด็จประพาสอุทยาน ก็เสด็จไปเยี่ยมพระบิดาเสมอ ได้รับพรจากพระเจ้าเอกราชขอให้สมบูรณ์พูนสุข ชนมายุยืนนาน ก็ได้เสวยราชสมบัติอยู่ในทศพิธราชธรรม ตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์.


จิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระเจ้าสิบชาติ ตามหัวข้อนี้
ควรจะเริ่มต้นจาก เตมีย์ใบ้ชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก
เนมีราชชาดก มโหสถชาดก ภูริทัตชาดก จันกุมารชาดก นารทชาดก
วิธูรชาดก และเวสสันดรชาดก

แต่ในการโพสท์นั้น เมื่อพบภาพที่มีอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดเรื่องใดก่อน ก็สืบค้นเรื่องราว
ประกอบภาพลงเผยแพร่  เมื่อครบแล้วจะจัดเรียงให้เป็นระบบเพื่อความถูกต้องต่อไปค่ะ

600-28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2561 17:47:52 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 20 มกราคม 2561 19:22:10 »



จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาอย่างนี้อยู่เนืองๆ
       ๑.ชราธัมมตา  ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
       ๒.พยาธิธัมมตา  ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้
       ๓.มรณธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
       ๔.ปิยวินาภาวตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
       ๕.มมัสสกตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น



ผู้โพสท์ตีความผิดพลาดประการใด ขอความกรุณาทักท้วงกันด้วยค่ะ
600-2/8
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2561 09:50:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 24 มกราคม 2561 20:28:05 »


พรหมนารถชาดกเป็นชาติที่ ๘ ในจำนวนสิบชาติ
ในชาตินี้ได้สั่งสอนให้พระเจ้าแผ่นดินดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้อง  
สิ่งที่ได้ในเรื่องนี้คือ สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
สิ่งที่ควรกำหนดคือ อย่าถือว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว เพราะผลดีผลชั่วย่อมมีอยู่


พระนารทมหาพรหม แปลงมาณพหนุ่มน้อย นุ่งห่มผ้าด้วยทอง หาบทองเท่าลูกฟัก
มาลอยอยู่ ณ ท่ามกลางอากาศเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช เพื่อขจัดทิฏฐิความเห็นผิด
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร  อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


นารทพรหม แปลงเพศเป็นมาณพหนุ่มน้อย หาบทองเท่าลูกฟัก
มาลอยอยู่ ณ ท่ามกลางอากาศเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

นารทชาดก

เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าอังคติราชเสวยราชสมบัติอยู่ในมิถิลานคร ในแคว้นวิเทหรัฐ  ท้าวเธอเสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม ทรงมีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา ผู้ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นอยู่ในศีลธรรม ทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป

พระราชามีอำมาตย์ผู้ใหญ่อยู่ ๓ คน คนหนึ่งชื่อวิชัย คนหนึ่งชื่อสุมานะ และอีกคนหนึ่งชื่ออลาตะ

ในปีหนึ่ง เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือนสิบสอง พระจันทร์เต็มดวง น้ำก็เปี่ยมตลิ่ง พรรณผักน้ำ เป็นต้นว่าสายบัว ก็ชูดอกสะพรั่ง แลดูเป็นเครื่องเจริญตาเจริญใจ  พระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมหรสพเอิกเกริกทั่วพระนคร

ส่วนพระองค์เสด็จประพาสในพระนคร แล้วกลางคืนก็เสด็จออก ตรัสถามอำมาตย์ว่า “วันนี้เป็นวันดี เราควรจะทำอะไรดี?”

อลาตะ อำมาตย์ผู้เป็นนักรบ ก็คิดแต่จะออกรบ จึงกราบทูลขึ้นว่า “กระหม่อมฉันเห็นว่าในฤดูกาลนี้เป็นที่น่ารื่นรมย์ ควรจะจัดทัพตระเวนตีเมืองเล็กเมืองน้อยไว้ในพระราชอำนาจ”

ทรงหันไปยิ้มพร้อมกับตรัสว่า “ก็ดีอยู่ แต่เรายังไม่นึกอยากจะทำ มีใครเห็นว่าว่าควรจะทำอะไรดีอีกไหม?”

สุมานะอำมาตย์ จึงกราบทูลว่า “กระหม่อมฉันเห็นว่า ควรจะตกแต่งมัชบานในพระราชอุทยาน จัดงานราตรี มีมโหรีขับกล่อม มีสนมกำนัลฟ้อนรำเฉลิมฉลองเทศกาล พระเจ้าค่ะ”

พระเจ้าอังคติราชก็ตรัสว่า “ก็ดีอยู่ แต่เรายังไม่ชอบใจ  ใครจะว่ายังไงอีกล่ะ?”

วิชัยอำมาตย์ เห็นว่า พระทัยของพระเจ้าอังคติราช ไม่ทะเยอทะยานและมิใคร่ในกามคุณ ควรเราจะชักชวนในทางสงบเถิดจึงจะดี จึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ กระหม่อมฉันเห็นว่า ในราตรีกาลอันแสนจะเบิกบานนี้ หากเสด็จไปสู่สำนักของนักปราชญ์ สนทนาปราศรัยสดับธรรมก็จะดีพระเจ้าค่ะ”

พระเจ้าอังคติราชทรงพอพระทัยทันที จึงสั่งให้จัดพลเสด็จไปยังสำนักของคุณาชีวกซึ่งเป็นชีเปลือย  เมื่อถึงก็เข้าไปถวายนมัสการ พอมีโอกาสก็ตรัสขึ้นว่า “พระมหากษัตริย์ควรจะประพฤติอย่างไรในประชาชนพลเมือง ข้าราชบริพาร พระชนกชนนี อัครมเหสี และโอรสธิดา ยามตายไปแล้วจึงจะไปสู่สุคติ และคนที่ตายไปตกนรกเพราะอะไร?”

คุณาชีวกไม่รู้ว่าจะทูลตอบอย่างไรดี แต่ก็ทูลลัทธิของตนขึ้นว่า “มหาบพิตร สุจริต ทุจริต จะมีผลอะไรก็หามิได้ บุญก็ไม่มี บาปก็ไม่มี มหาบพิตรให้ทานก็เสียของไปเปล่า ไม่ได้อะไรตอบแทน  สวรรค์นรกไม่มี บิดามารดาไม่มี ครูอาจารย์ไม่มี  เพราะเป็นเพียงธาตุ ๗ อย่างประชุมกันเท่านั้น  ธาตุ ๗ อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ ชีวิต  เมื่อธาตุทั้ง ๗ มาประชุมกันก็จะแยกสลายออกจากกันเท่านั้น คนจะต้องวนเวียนอยู่ก็เพียง ๗๔ กัลปไม่เกินไปได้ จะทำดีทำชั่วอย่างไร ก็หมดที่ ๘๔ กัลปเท่านั้น

ขณะนั้นเอง อลาตะเสนาบดีผู้ระลึกชาติได้ก็กล่าวสมอ้างคุณาชีวกว่า “จริงอย่างท่านอาจารย์ว่า เมื่อชาติก่อนข้าพเจ้าเป็นคนฆ่าโคไม่รู้ว่ากี่ร้อยกี่พันตัว ตายจากชาตินั้นก็มาเกิดในตระกูลเสนาบดี ได้เสวยสุขจนกระทั่งบัดนี้ ผลบาปต้องไม่มี นรกต้องไม่มีแน่ๆ”

ความจริงนั้นอลาตะเสนาบดี เกิดในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้บูชาพระเจดีย์ด้วยพวงอังกาบพวงหนึ่ง ตายจากชาตินั้นแล้วได้ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ จนมาเกิดเป็นเสนาบดี เพราะอานิสงส์ได้บูชาพระเจดีย์ แต่เพราะอลาตะระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว จึงทำให้นึกว่าตนฆ่าสัตว์มากมายแต่กลับได้เสวยสุข เข้าทำนองทำชั่วได้ดี

เวลานั้น มีบุรุษยากจนคนหนึ่งชื่อ วิชกะ ได้ฟังคำของอลาตะเสนาบดี แล้วอดใจไม่อยู่ ถึงกับน้ำตาไหลออกมานองหน้า พระเจ้าอังคติราชเห็นเข้าก็ให้ประหลาดพระทัย จึงตรัสถามว่า “ท่านร้องไห้ทำไม?”

“ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าระลึกชาติได้ว่า เมื่อชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นเศรษฐี มีจิตใจเป็นบุญ ทำทานแก่สมณชีพราหมณ์และยาจกวณิพกตลอดมา แต่เมื่อตายแล้วแทนที่จะได้ไปสวรรค์ กลับต้องมาเกิดในตระกูลจัณฑาลได้รับความลำบากยากเข็ญอยู่ในบัดนี้ เพราะฉะนั้นที่ท่านอลาตะกล่าวว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผล เป็นความจริงอย่างแน่นอน”  

แต่ความจริงแล้ว ก่อนชาติที่เขาระลึกได้นั้น เขาเกิดมาเป็นคนเลี้ยงโค บังเอิญพบพระหลงทาง ท่านก็เข้ามาถามหนทาง เพราะเขากำลังขุ่นใจเรื่องตามโคไม่พบ จึงตวาดไปว่า “พระขี้ข้าอะไร เซ้าซี้น่ารำคาญ” เพราะกรรมนี้เอง จึงทำให้เข้าเกิดในตระกูลจัณฑาล

พระเจ้าอังคริราชได้ทรงฟังถ้อยคำของวิชกะ ก็เห็นไปตามคำอลาตะและคุณาชีวกทันที ถึงกับตรัสกับวิชกะว่า เราเคยทำความดี ปกครองประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม แต่ไม่เห็นผลจะบังเกิดดีอย่างไร ตั้งแต่นี้เราจะหาความสุขส่วนตัว

เมื่อตรัสดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับพระราชวังทันที และนับแต่นั้นก็ปล่อยพระองค์ให้ตกอยู่ในกามสุข เพลิดเพลินกับสุรานารีดนตรีอบายมุขไปตามเรื่อง ราชกิจน้อยใหญ่มอบให้เป็นธุระของอำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้ง ๓ คือ วิชัย สุนามะ และอลาตะโดยเด็ดขาด ศาลาโรงทานที่เคยตั้งให้ทานก็ตรัสให้เลิกเสียทั้งหมด

ถึงวันพระ พระราชธิดารุจา เคยขึ้นเฝ้าและเคยได้รับเงินพระราชทานไปแจกจ่ายแก่สมณชีพราหมณ์และผู้ยากจน เมื่อขึ้นไปเฝ้าตอนจะกลับก็ได้รับพระราชทานมา ๑๐๐๐ ตามที่เคยให้ แต่จิตใจที่จะสละให้ทานไม่มีเลย

ความประพฤติของพระเจ้าอังคติราช อันเป็นมิจฉาทิฏฐิได้แพร่สะพัดไปทุกมุมเมือง พระราชธิดาเล่าก็ให้อัดอั้นตันพระทัย “ทำไมหนอพระราชบิดาจะสนทนากับผู้ใดทำไมไม่เลือกคน จึงได้รับคำสั่งสอนอันตรงกันข้ามเช่นนี้ เราเองก็รำลึกชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ ทำอย่างไรจึงจะแก้พระบิดาจากทิฏฐิอันเห็นผิดเช่นนี้ได้”

พระราชธิดารุจาจึงตกลงใจจะแก้ทิฏฐิของพระราชบิดา เมื่อถึงวันกำหนดขึ้นเฝ้า ก็พร้อมด้วยหญิงบริวารแต่งกายหลากหลายชนิดพากันขึ้นไปเฝ้า พระเจ้าอังคติราชก็โสมนัส ตรัสสนทนากับพระราชธิดาเป็นอันดี เมื่อได้โอกาสจึงได้ทูลว่า “ข้าแต่พระราชบิดา ตัวคุณาชีวกที่พระบิดาไปสนทนาก็ปฏิบัติตนไม่น่านับถือ ถือเปลือยแต่ก็ยังกินอาหาร ไหนว่าบุญไม่มี บาปไม่มี แกจะบำเพ็ญเช่นนั้นเพื่ออะไร ยังอยากให้คนเคารพบูชา พระบิดาโปรดละทิฏฐิผิดนั้นเสียเถิด อลาตะและวิชกะนั้นระลึกชาติได้เพียงชาติเดียวเท่านั้น กระหม่อมฉันเองรำลึกได้ถึง ๑๔ ชาติ  ก่อนหม่อมฉันจะลงมาบังเกิดเป็นบุตรีของพระองค์ กระหม่อมฉันได้บังเกิดเป็นมเหสีแห่งชวนะเทพบุตร เพียงแต่ชวนะเทพบุตรไปเอาดอกไม้มาเพื่อประดับร่างกายกระหม่อมฉันๆ ก็จุติลงมาบังเกิดในเมืองมนุษย์เสียแล้ว ชั่วพริบตาเดียวจริงๆ  เมื่อข้าพระองค์จุติจากชาตินี้แล้วจะได้ละเพศเทพธิดากลายเป็นเทพบุตรมีศักดานุภาพมาก ขอพระองค์อย่าได้เชื่อคนลวงทั้งหลาย โปรดปฏิบัติพระองค์ตามทศพิธราชธรรมตายเคยเถิด”

พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับก็ชื่นชมยินดีในพระดำรัสของพระธิดา แต่ก็ยังคงปฏิบัติเช่นเคย เคยมั่วสุมอยู่กับพวกสนมกำนัลอย่างไรก็ยังคงปฏิบัติเช่นนั้นไม่ทรงละเลิกและก็ไม่ได้ต่อว่าพระธิดาอีกเลย

พระราชธิดาเห็นว่าตนพูดอย่างไรก็ไม่สามารถโน้มน้าวพระทัยของพระราชบิดาให้ละความเห็นผิดได้ จึงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ถ้าว่าคุณของพระบิดายังมีอยู่ ขอให้สมณพราหมณ์ผู้ทรงคุณธรรมมาช่วยกำจัดทิฏฐิของพระบิดาข้าพเจ้าด้วยคำสัตย์นี้ด้วย”

เมื่อพระราชธิดาตั้งสัตย์ดังนั้น ก็ร้อนขึ้นไปบนสรวงสวรรค์ แต่ก็ไม่ใช่พระอินทร์ดอกนะ กลายเป็นมหาพรหมไป

พระนารทมหาพรหม ได้ทราบสัจจาอธิษฐานของพระราชธิดารุจาจึงจัดแจงแปลงเพศเป็นมาณพหนุ่มน้อย นุ่งห่มผ้าไปด้วยทอง หาบทองเท่าลูกฟักมาลอยอยู่ ณ  ท่ามกลางอากาศเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช

พอเห็นมีคนเหาะได้ พระเจ้าอังคติราชก็หวั่นไหว ไม่สามารถจะประทับอยู่บนราชบัลลังก์ได้ เพราะทรงเกรงกลัวมาก ต้องเสด็จลงมาอยู่กับพื้นดิน พลางดำรัสถามว่า”ท่านผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ท่านมาจากไหน และจะต้องการอะไร”

นารทมหาพรหมจึงตอบว่า “อังคติราช ข้าพเจ้ามีนามว่า นารท คนรู้จักโดยโครตว่า กัสสปโคตร และข้าพเจ้ามาจากสวรรค์”

พอได้ฟังว่ามาจากสวรรค์ ท้าวเธอก็ดำริขึ้นว่า “ไหนคุณาชีวกว่าปรโลกไม่มี แล้วท่านนารทมาจากโลกอื่น ทำไมท่านพระนารทมีร่างกายและเครื่องนุ่งห่มงดงาม และมีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะอาศัยอะไรจึงเป็นเช่นนี้ได้"

“ข้าแต่พระเจ้าอังคติราช การที่ข้าพเจ้ามีร่างกายและเครื่องนุ่งห่มงดงาม ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ ก็เพราะข้าพเจ้าได้ทำคุณงามความดีไว้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวปด และไม่ดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุให้เสียสติ จึงได้สมบัติและมีมหิทธิฤทธิ์เช่นนี้”

แม้พระนารทจะบอกความจริง แต่พระเจ้าอังคติราชหาเชื่อถือไม่ กลับแย้งไปว่า “ข้าแต่ท่าน ได้ยินว่าสรรค์มี นรกมี เทวบุตรมี เทพธิดามี โลกนี้มี โลกหน้ามี จะมีจริงหรือประการใด เมื่อท่านว่าโลกหน้ามี ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าของยืมเงินท่านสัก ๑๐๐๐ เถิด ชาติหน้าจึงจะใช้ให้

“ไม่ได้ เพราะท่านเป็นคนไม่มีศีลธรรม ประพฤติแต่ความชั่ว ชาติหน้าท่านอาจไปเกิดในนรก ข้าพเจ้าไม่อยากจะลงไปทวงเงินจากท่าน เพราะร้อนเหลือประมาณ และท่านก็ไม่สามารถจะออกจากนรกเพื่อนำเงินมาคืนข้าพเจ้าได้ แต่ถ้าท่านปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมประพฤติปฏิบัติแต่ในทางดี อย่าว่าแต่ ๑๐๐๐ มากกว่านี้ข้าพเจ้าก็ให้ได้ ถ้าพระองค์ยังขืนปฏิบัติตนอยู่เช่นนี้แล้ว เป็นแน่ที่พระองค์จะต้องลงไปสู่นรก อันมีเครื่องหมายทรมานหลายอย่างหลายประการ  แล้วพระนารทก็เล่าถึงการลงทัณฑ์สัตว์นรกในนรกภูมิทุกชั้นทุกขุม ให้พระเจ้าอังคติราชสดับ ทำให้พระเจ้าอังคติราชเกิดกลัวภัยในขุมนรก เชื่อว่าโลกนี้มีโลกหน้ามี ผลบุญมี ผลบาปมี บิดามี มารดามี

พระนารทจึงสอนให้พระเจ้าอังคติราชตั้งตนอยู่ในศีล ๕  ดำเนินราโชบายตามทศพิธราชธรรม และนับแต่นั้น ประชาชนพลเมืองทั้งหลายก็อยู่เย็นเป็นสุข เพราะพระเจ้าแผ่นดินแผ่เมตตาไปในพสกนิกร ตราบกระทั่งสิ้นพระชนมายุ.


600-28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2561 20:33:59 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2561 12:23:37 »



จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดธรรมจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

พระบรมโพธิสัตว์ เสด็จนิวัตตนาการสู่สาลวันป่าไม้รัง อันรุ่งเรืองดารดาษด้วยบุปผาชาติชูชื่น เสาวรสคนธขจร
มีอยู่แทบริมฝั่งเนรัญชรนทีธาร ในกาลนั้น มีมหาพราหมณ์ผู้หนึ่ง มีนาม “โสตถิยพราหมณ์” ถือซึ่งหญ้าคา
๘ กำ ดำเนินสวนทางมา พอพบพระมหาบุรุษราชเจ้า ก็นำเอาหญ้าคาทั้ง ๘ กำนั้นน้อมเข้ามาถวายในระหว่าง
มรรคา สมเด็จพระมหาสัตว์ก็ทรงรับหญ้าคาทั้ง ๘ กำนั้น แล้วก็เสด็จไปถึงที่โพธิพฤกษ์ ทรงกระทำประทักษิณ
อสัตถพฤกษ์ แล้วเสด็จไปในทิศทักษิณแห่งโพธิพฤกษ์ ผันพระพักตร์ไปอุดรทิศ หยุดยืนประดิษฐาน  
ทรงพระจินตนาการ เพื่อจะทอดลงซึ่งหญ้า ๘ กำ กระทำเป็นรัตนบัลลังก์


600-28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กุมภาพันธ์ 2561 12:25:08 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2561 19:38:45 »


จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทธาวาส อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

เมื่อพระบรมโพธิสัตว์สละราชสมบัติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ พระกมลหมายมุ่งพระปรมาภิสมโพธิเป็นเบื้องหน้า  
สมเด็จพระมหาบุรุษก็เสด็จขึ้นทรงสถิตบนหลังพญาม้ากัณฐกะ ดุรงคราชพาหนะพระที่นั่งออกจากพระนคร
มิได้อาลัยในจักรพรรดิราชสมบัติอันจะมาถึงเงื้อมพระหัตถ์  ในราตรีเดียวนั้นก็บรรลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา จึงเสด็จ
ลงจากหลังม้าพระที่นั่ง  ทรงสถิตเหนือกองทรายอันขาวดุจแผ่นเงิน  แล้วตรัสกับนายฉันนะ ว่า “ท่านจงนำเอา
เครื่องประดับกับม้ากัณฐกะกลับไปพระนครเถิด เราจะบรรพชาในที่นี้”  แล้วก็เปลื้องอาภรณ์ออกจากพระวรกาย
เอาชายพระภูษาห่อเข้าแล้วส่งให้นายฉันนะ  พระทัยปรารถนาจะบรรพชา  จึงดำริว่า เกศาของเราไม่สมควรแก่
เพศบุคคลผู้อื่นที่จะตัดพระเกศาพระโพธิสัตว์  ควรที่เราจะตัดโมฬีแห่งตนเองด้วยพระขรรค์   ในขณะนั้นรัตน-
ขรรคาวุธอันเป็นทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศปรากฏในที่เฉพาะพระพักตร์ จึงทรงจับพระขรรค์แก้วด้วยพระหัตถ์
ขวา พระหัตถ์ซ้ายจับพระเกศโมลี ก็ทรงตัดพระเกศีด้วยพระขรรค์ และพระเกศก็ปรากฏยาวประมาณ ๒ องคุลี
ม้วนกลมเป็นทักษิณาวัฏทุกๆ เส้นทั่วทั้งพระอุตมังคศิโรตม์ (ศีรษะ)  แลตั้งอยู่กำหนดเท่านั้นจนตราบเท่า
ปรินิพพาน จะได้วัฒนาการขึ้นมาอีกก็หามิได้ ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2561 08:37:11 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2561 14:20:00 »


เมื่อราคะ โทสะ โมหะ และสรรพกิเลสบาปธรรมทั้งหลาย มีมานะแลทิฏฐิเป็นต้น
ดับสูญสิ้นแล้วก็ได้ชื่อว่าหฤทัยทุกข์นั้นดับสูญอันตรธานสิ้น   เราก็จะประพฤติ
จะแสวงหาพระปรินิพพาน ควรจะสละเสียซึ่งฆราวาส ออกบรรพชาและแสวงหา
พระปรินิพพานในวันนี้



จิตรกรรมพระอุโบสถวัดเขียน ต.ศาลเจ้า อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

วันนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์มีพระทัยยินดียิ่งนัก ในพระปัญญาเป็นปราชญ์อันประเสริฐ ปราศจาก
อาลัยในเบญจกามคุณ  มิได้ยินดีในฟ้อนขับแห่งนางทั้งหลาย นางขัตติยกัญญาทั้งหลายเจรจาแก่กัน
ว่า "เราขับรำบำเรอพระองค์ก็บรรทมหลับแล้ว จะฟ้อนขับสืบไปอีกให้ลำบากกายไยเล่า"  ปรึกษาเห็น
พร้อมกันแล้ว  ก็ชวนกันเอนกายไสยาสน์อยู่เดียรดาษ ด้วยอานุภาพเทพบันดาลแก่พระมหาบุรุษราช
เพื่อจะให้หน่ายจากปฏิพัทธโสมนัสเสน่หาในคณานางบริจาริกราชนารี ทำให้นางทั้งหลายกอปรด้วย
อาการ บางนางมีเขฬะอันหลั่งไหล บางนางก็นอนกรนสำเนียงดังเสียงกา นางบางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์
นางบางพวกก็นอนละเมอเพ้อบ่นจำนรรจาต่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้า อาการวิปลาศ บางนางก็นอน
มีกายเปลือยปราศจากวัตถาสำแดงที่สัมพาธฐานให้ปรากฏ   ส่วนพระมหาสัตว์ได้ทอดพระเนตรเห็น
อาการซึ่งวิปการแห่งเหล่านางทั้งหลายดังนั้น มีพระทัยสลดสังเวชยิ่งนัก พิจารณาเห็นสังสารโทษเป็น
อันมาก ยิ่งมีพระทัยเหนื่อยหน่ายปราศจากยินดีในกามคุณยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน  จึงเสด็จจากพระแท่น
ที่สิริไสยาสน์ บทจรมาสู่ใกล้พระทวารปราสาท  ดำรัสสั่งให้นายฉันนะ ไปผูกม้ากัณฐกะอัศวราช
พระกมลหมายสละสมบัติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์

๖๐๐-๒๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2561 14:22:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 14 เมษายน 2563 17:14:53 »



"พระพุทธเจ้าและพระสาวก บิณฑบาตโปรดสัตว์"  
จิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

"การบิณฑบาต" เป็นกิจที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพระภิกษุ พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญและทรงปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน

คำว่า บิณฑบาต มักมีผู้เขียนผิดเป็น บิณฑบาตร อาจจะเนื่องมาจากเข้าใจว่าคำนี้เกี่ยวข้องกับ บาตร ที่ภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร

บิณฑบาต เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลีว่า ปิณฺฑปาต ความหมายของ บิณฑบาต มีอธิบายไว้ในหนังสือ รู้ รัก ภาษาไทย เล่ม ๔ ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า ปิณฺฑะ แปลว่า ก้อน ก้อนกลมๆ หรือข้าวที่ปั้นเป็นก้อนสำหรับทำทาน ส่วน ปาต แปลว่า การตก ดังนั้น ปิณฺฑปาต จึงแปลว่า การตกของข้าวที่ปั้นไว้เป็นก้อนกลมๆ ลงบนภาชนะที่รองรับ

ในภาษาไทย คำว่า บิณฑบาต มี ๒ ความหมาย ความหมายแรกใช้เหมือนภาษาบาลี คือ บิณฑบาต เป็นกิจกรรมที่ภิกษุหรือสามเณรอุ้มหรือสะพายบาตรแล้วเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อขอรับอาหารจากคนทั่วไปในยามเช้า ส่วนอีกความหมายหนึ่งเป็นความหมายเฉพาะในภาษาไทย หมายถึง ขอให้เห็นแก่พระศาสนา งดเว้นการทะเลาะเบาะแว้ง หรือการกระทำรุนแรงต่อผู้อื่น

การออกบิณฑบาต หรือเรียกว่า "การโปรดสัตว์" ของพระภิกษุ เป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และพระวินัย ๒๒๗ มีสิกขาบทว่าด้วยเรื่องของ “บาตร” ให้ภิกษุนำไปปฏิบัติขณะครองเพศบรรพชิต เพื่อความสำรวมระวังรักษาตนให้อยู่ในกรอบของสีลสังวร เพื่อความมั่นคงยืนยาวในพระพุทธศาสนาด้วย

จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสู่ประเทศสยาม ในปี ค.ศ.๑๖๘๗ และ ๑๖๘๖ เขียนโดย บาทหลวง เดอ ชัวซีย์ แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร บันทึกเล่าถึงการเดินทางสู่ราชอาณาจักรสยาม ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  จดหมายเหตุรายวันฉบับนี้ เผยให้เห็นถึงพระสงฆ์ในสังคมสมัยในกรุงศรีอยุธยา ว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ของชาวสยาม พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้มีพระธรรมวินัยหรือศีลสิกขาบทซึ่งพวกท่านปฏิบัติอนุวัตน์ตามได้ดีพอสมควร อาการภายนอกเป็นผู้สงบเสงียม และดำเนินชีวิตอย่างมีระเบียบ เมื่อแสดงธรรมเทศนา ก็กระตุ้นเตือนอุบาสกอุบาสิกาให้ทำบุญและให้ทำทานแก่พระสงฆ์องคเจ้า. พวกภิกษุสงฆ์ไม่มีทุนทรัพย์ ไม่มีรายได้ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการภิกษาจารเท่านั้น. ทุกๆ เวลาเช้าท่านจะไปปรากฎตัวที่หน้าประตูบ้านหรือเรือที่ท่านรู้จักโดยไม่พูดจาว่ากระไร ถือตาลปัตรบังไว้มิให้แลไปปะผู้หญิงยิงเรือ. ท่านจะรออยู่ เมื่อเห็นว่าเขากำลังเตรียมถวายอาหารบิณฑบาต  มิฉะนั้นท่านก็จะย้ายไปเสียทางอื่น จนกว่าท่านจะพบว่าได้ปลาอาหารเพียงพอที่จะเลี้ยงตน.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 เมษายน 2563 19:15:09 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 15 เมษายน 2563 13:04:12 »





จิตรกรรมฝาผนังวัดยางทวง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม

วันเถลิงศก
วันที่ ๑๕ เมษายน เป็น “วันเถลิงศก” เป็นวันที่เริ่มต้นศักราชใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลของตนและครอบครัว
ผู้คนส่วนใหญ่จะเข้าวัดสรงน้ำพระ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ และเดินทางไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เนื่องใน
โอกาสของวัน “เริ่มปีใหม่” เป็นประเพณีที่สร้างความรัก ความอบอุ่นให้กับครอบครัวและสังคมประเทศชาติมายาวนาน

ขอขอบคุณภาพ/ข้อมูล : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 15 เมษายน 2563 15:04:15 »


จิตรกรรมฝาผนังวิหาร วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

"รถ" ของเล่นเด็กไทยโบราณ  ประดิษฐ์จากวัสดุไม้ ได้แก่ แผ่นไม้กลมเจาะรูตรงกลางเป็นล้อรถ
เหลาไม้ให้กลมเสียบในรูเป็นแกนกลาง (ให้แกนหลวมๆ) ใช้ไม้ยาวขนาดพอที่จะพาดไหล่หรือจับได้ถนัดมือ
สมมติเป็นอุปกรณ์บังคับล้อ ตอกไม้ยาวติดตรึงกับแกนไม้ทั้งสองด้าน เวลาเล่นให้วิ่งให้ไปข้างหน้า ของเล่น
ชนิดนี้ช่วยส่งเสริมสุขภาพเด็กๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการออกกำลังกาย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.581 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มีนาคม 2567 03:02:08