[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 09:36:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'เขาดินวนา' เคยเป็นสวนพฤกษศาสตร์ ก่อนที่จะเป็นสวนสัตว์เขาดิน  (อ่าน 1727 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 ตุลาคม 2560 15:53:18 »



ภาพเมื่อคราวที่รัชกาลที่ ๕ ทรงปลูกต้นสักทอง ขึ้นในบริเวณเขาดินวนา ร่วมกับเจ้าชายวังติมา
แห่งเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสยามกับเดนมาร์ก
(ภาพจาก http://www.trueplookpanya.com)

'เขาดินวนา'
เคยเป็นสวนพฤกษศาสตร์ ก่อนที่จะเป็นสวนสัตว์เขาดิน

“เขาดินวนา” ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังสวนดุสิตเดิม อันเป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

เรื่องของเรื่องเริ่มมาจาก หมอหลวงประจำพระองค์ได้กราบบังคมทูลว่า พระบรมมหาราชวัง อันเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับมาแต่เดิมนั้นปลูกสร้างไม่ถูกสุขลักษณะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีตึกบังอยู่โดยรอบ จึงขวางทางลม และในฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัด ซ้ำยังอับชื้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันอยู่เสมอ

แน่นอนว่า ในบรรดาพระมหากษัตริย์ที่ทรงเคยประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และทรงพระประชวรด้วยเหตุดังกล่าว ย่อมหมายรวมถึงรัชกาลที่ ๕ ด้วย

จึงทำให้พระองค์ทรงวางเมกะโปรเจ็กต์ในการสร้างพระราชวังใหม่ให้ถูกสุขลักษณะ พระราชวังที่ว่าคือ “พระราชวังสวนดุสิต

พ.ศ.๒๔๔๑ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดระเนตรพื้นที่ “สวน” และ “ทุ่งนา” บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง ซึ่งก็ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

แล้วพระราชทานชื่อตำบลแห่งนี้ว่า “สวนดุสิต” พร้อมๆ กับที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาขึ้นสำหรับใช้เป็นที่เสด็จประทับแรมชั่วคราว และให้เรียกที่ประทับแรมแห่งนี้ว่า “วังสวนดุสิต”

พระราชวังสวนดุสิตจึงถือกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการสร้างพระราชวังในที่ถูกสุขลักษณะ ตามหลักการแพทย์และสุขอนามัยแบบตะวันตกสมัยใหม่ ซึ่งต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก และโปร่งโล่งสบาย

ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรเลยที่นอกจากพระราชวังแห่งนี้จะมีคำว่า “สวน” นำอยู่ข้างหน้าชื่อของสถานที่แล้ว ภายในเขตพระราชวังแห่งนี้จะมีสวนโน่นนั่นนี่อยู่เต็มไปหมด

แต่ก็ไม่ใช่ว่านึกจะสร้างสวน ก็สร้างกันอย่างตามมีตามเกิด ยิ่งเมื่อเป็นสวนหรืออุทยานภายในพระราชวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สวน” ของพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงมีภูมิประสบการณ์เสด็จเที่ยวชมสวน หรืออุทยานชั้นนำหลากหลายแห่งของโลก อย่างรัชกาลที่ ๕ ด้วยแล้ว

สวนที่ถูกจัดสร้างขึ้นในพระราชวังแห่งใหม่ของพระองค์ ก็ย่อมต้องไม่ธรรมดาแน่

“เขาดินวนา” ก็เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและภูมิหลังอย่างนี้นี่เอง การก่อสร้างพระราชวังและสวนต่างๆ ภายในพระราชวังใหม่แห่งนี้ ทำให้ต้องมีการขุดสระน้ำขนาดใหญ่ ประกอบคูคลองระบายน้ำและถนน แล้วนำดินที่ขุดทำสระน้ำคูคลองต่างๆ ขึ้นมาถมเป็นเนินเขาขึ้นที่กลางน้ำ จนเกิดเป็นเกาะกลางน้ำ

และก็เป็นเจ้าเกาะกลางน้ำที่ก่อขึ้นจากดินที่ถูกขุดขึ้นมานี่แหละครับ ที่คนในยุคโน้นเรียกกันว่า “เขาดิน

ที่น่าสนใจก็คือ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เพาะปลูกพรรณไม้นานาชนิดขึ้น เพื่อทำเป็นสวนพฤกษชาติ ขึ้นในบริเวณเขาดินและปริมณฑลรายรอบ โดยเรียกว่า “วนา” และทรงโปรดเรียกอาณาบริเวณนี้รวมๆ กันว่า “เขาดินวนา” อย่างที่เราคุ้นหูกันในปัจจุบันนั่นเอง

การสร้างสวนพฤกษชาติดังกล่าว รัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับแรงบันดาลใจสำคัญมาจากบรรดาสวนพฤกษศาสตร์ในอารยประเทศ ที่ทรงเคยเสด็จทอดพระเนตรกิจการ “สวนพฤกษศาสตร์” หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Botanic Garden” จากที่ต่างๆ มา

โดยการเสด็จทอดพระเนตรกิจการสวนพฤกษชาติแต่ละครั้ง ทำให้พระองค์ทรงค้นพบว่า นอกจากที่ “สวนพฤกษศาสตร์” เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและให้ความเพลิดเพลินในการเสด็จเยี่ยมชมแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นสถานที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ต่างๆ อีกด้วย

มากไปกว่านั้น รัชกาลที่ ๕ ยังทรงใช้สวนพฤกษศาสตร์ของพระองค์คือ เขาดินวนาแห่งนี้ ในการผูกมิตรกับนานาอารยประเทศ โดยมีกรณีตัวอย่างสำคัญก็คือ การที่พระองค์ทรงปลูกต้นสักทองขึ้นในบริเวณเขาดินวนาร่วมกับเจ้าชายวัลดิมา พระราชโอรสของพระเจ้าคริสเตียนที่ ๘ แห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๓ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสยามกับเดนมาร์ก เป็นต้น (ต้นสักทองอายุร้อยกว่าปีต้นนี้ ปัจจุบันยังสามารถชมดูได้ เพราะปลูกอยู่ที่บริเวณเขาน้ำตก ภายในสวนสัตว์ดุสิตปัจจุบัน)
 
ไม่แปลกอะไรเลยที่รัชกาลที่ ๕ จะทรงเห็นซึ้งถึงคุณประโยชน์ของสวนพฤกษศาสตร์ ในแง่ของวิชาความรู้ต่างๆ เพราะว่าบรรดาสวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ ในอารยประเทศนั้น มักจะถูกใช้เพื่อการศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ควบคู่ไปกับการใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งอันที่จริงแล้วก็นับได้ว่าเป็นเพียงผลพลอยได้อีกด้วย

และจึงไม่แปลกอะไรเลยอีกเช่นกันที่ “สวนพฤกษศาสตร์” มักจะถูกนับเป็น “มิวเซียม” หรือ “พิพิธภัณฑ์” ประเภทหนึ่ง โดยถือเป็นสถานที่จัดแสดง และจัดการความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ต่างๆ นั่นเอง

ในบรรดาสวนพฤกษศาสตร์ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงเคยเสด็จทอดพระเนตรทั้งหมดนั้น สวนพฤกษศาสตร์โบตันนิเกล ที่เมืองบุยเต็นซอร์ก ไม่ห่างจากบัตตาเวีย เมืองหลวงเก่าบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่พระองค์เสด็จประพาสถึง ๒ ครั้งในช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๙ คือวันที่ ๑ และวันที่ ๔ ดูจะมีอิทธิพลต่อการสร้างสวนพฤกษชาติเขาดินวนา ในพระราชวังสวนดุสิตมากที่สุด โดยส่วนหนึ่งอาจจะเป็นสภาพของพืชพรรณ และภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับสยามมากกว่ากลุ่มประเทศยุโรป

อย่างไรก็ตาม เขาดินวนา แต่แรกเริ่มนั้นก็เป็นเพียงสวนพฤกษชาติส่วนพระองค์ และข้าราชบริพารฝ่ายในเท่านั้น ด้วยแน่นอนว่าไพร่ที่ไหน ก็คงไม่อาจจะล่วงล้ำเข้าไปเที่ยวชมสวนในพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินกันได้ง่ายๆ?

ต้องรอมาจนกระทั่งถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ที่ทรงมีพระราชดำริในการทำนุบำรุงเขาดินวนาให้ดี และกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ จึงค่อยมีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจกันได้ด้วย

ต่อมาหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กราบบังคมทูลขอสวนดุสิต มาจัดทำเป็นสวนสาธารณะ เพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

ซึ่งพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมัยนั้นก็ได้ลงนามพระราชทาน ในนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ให้เทศบาลกรุงเทพมหานครรับเอาพื้นที่บริเวณเขาดินวนา สนามเสือป่า และสวนอัมพร มาจัดเป็นสวนสาธารณะได้

เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ทางเทศบาลกรุงเทพมหานครจึงได้ทำการย้ายกวางดาว และสัตว์ชนิดต่างๆ มาจากสวนอัมพร ลิง และจระเข้ มาจากสวนสราญรมย์ เพื่อมาจัดแสดงที่เขาดินวนา

พร้อมกันกับที่ขอให้ทางสำนักพระราชวังจัดส่งช้างหลวงมาให้ประชาชนได้ชมกันในทุกวันอาทิตย์ จนกระทั่งมีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เที่ยวชม และพักผ่อนหย่อนใจโดยสมบูรณ์ ภายใต้ชื่อ “สวนสัตว์ดุสิต” เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ หรือเมื่อเฉียดๆ ๘๐ ปีที่แล้ว เป็นครั้งแรก

จนนับได้ว่าเป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย

น่าเสียดายนะครับที่ตั้งแต่มีการเปิดเขาดินวนาให้เป็นสวนสาธารณะ เรื่อยมาจนกระทั่งเปลี่ยนกลายไปเป็นสวนสัตว์ ก็ไม่ได้มีการให้ความสำคัญกับสถานที่แห่งนี้ในฐานะของ “มิวเซียมต้นไม้” หรือ “สวนพฤกษศาสตร์” แห่งแรกของสยามประเทศไทย เหมือนอย่างวัตถุประสงค์เมื่อแรกสร้าง

เรียกได้ว่า เราได้ “สวนสัตว์” แห่งแรกของประเทศมาก็จริง

แต่ในขณะเดียวกันเราก็จำใจต้องสูญเสีย “สวนพฤกษศาสตร์” แห่งแรกของประเทศไปพร้อมๆ กัน



ที่มา : “เขาดินวนา” ก่อนที่จะเป็นสวนสัตว์ เคยเป็น “มิวเซียมพันธุ์ไม้” สวนพฤกษศาสตร์ โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ หนังสือมติชน สุดสัปดาห์ หน้า ๘๒ ฉบับที่ ๑๙๓๙ ประจำวันที่ ๑๓-๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.333 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 11:15:56