[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 00:54:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฉัตรสุมาลย์ : พระเขี้ยวแก้วผจญภัย  (อ่าน 1312 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 54.0.2840.85 Chrome 54.0.2840.85


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 ธันวาคม 2560 17:04:11 »



เคยพยายามที่จะเขียนเล่าเรื่องการผจญภัยของพระเขี้ยวแก้ว ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2544 ตอนที่ท่านธัมมนันทาไปบวชที่ศรีลังกา

แต่ล้มเหลวค่ะ ข้อมูลซับซ้อนมาก คราวนี้ ได้จังหวะ เพราะไปงานวิสาขะที่ศรีลังกา ได้ข้อมูลมากพอที่จะมาสานเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง

ที่ศรีลังกา ถือว่าพระบรมสารีริกธาตุองค์สำคัญมี 7 องค์ เป็นพระทันตธาตุ (ฟัน) 4 องค์ พระรากขวัญ 2 องค์ และพระเขี้ยวแก้ว ที่มาจากอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4

ที่เมืองไทยนั้นเรามีพระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาโดยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จำนวนมากมาย

นักวิชาการฝรั่งเคยตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าเอาพระธาตุที่ว่านี้ทั้งหมดมากองรวมกัน จะกองใหญ่มาก

แล้วพระพุทธเจ้าสมัยที่มีพระชนม์ชีพอยู่ท่านจะมีร่างกายใหญ่ขนาดไหน ลองนึกดูเถิด

 

พระเขี้ยวแก้วไม่มีอิทธิฤทธิ์แบบนั้นค่ะ ก็เลยต้องผจญภัยหลบหนีซุกซ่อนซับซ้อนมาก

ชาวศรีลังกาเชื่อว่า พระเขี้ยวแก้วนี้พระอรหันต์เขมะได้มาจากเชิงตะกอนที่ถวายพระบรมศพของพระพุทธเจ้า

จากนั้น ท่านได้นำไปถวายแก่พระเจ้าพรหมทัตและพระโอรส คือเจ้าชายกสิราช เพื่อสักการบูชา

ต่อมา พระเจ้าคูหศิวะ พระราชาแห่งแคว้นกลิงคะได้ไป

ตอนแรกท่านไม่ได้นับถือพุทธ พวกฮินดูก็โจมตีท่านว่า ไปไหว้กระดูกคนตาย

จนต่อมาท่านได้รับนับถือพุทธศาสนา ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

ต่อมาพระเจ้าคูหศิวะ ยกพระธิดา คือเจ้าหญิงเหมะมาลา ให้แก่เจ้าชายทันตะ พระโอรสแห่งพระราชาที่ครองเมืองอุชเชนี

นอกจากจะยกพระธิดาให้แล้ว พระเจ้าคูหศิวะเห็นว่า เจ้าชายทันตะ มีศรัทธาในพระเขี้ยวแก้ว จึงมอบหน้าที่ให้เป็น ธาตุรักขทิกาโร เป็นตำแหน่งผู้ดูแลพระเขี้ยวแก้ว

พระนัดดาของพระเจ้าปาณฑุ ยกกองทัพมารุกรานแว่นแคว้นของพระเจ้าคูหศิวะ โดยหวังจะแย่งชิงพระเขี้ยวแก้ว

พระเจ้าคูหศิวะวางแผนที่จะปกป้องพระเขี้ยวแก้วโดยส่งไปพระสหาย คือพระเจ้ามหาเสนาในศรีลังกา โดยให้เจ้าชายทันตะ และพระธิดา คือเจ้าหญิงเหมมาลาเป็นผู้นำไป

ปรากฏว่า พระองค์เองสิ้นพระชนม์จากการสู้รบนั้นเอง

 

เจ้าชายทันตะและเจ้าหญิงเหมะมาลาปลอมพระองค์เดินทางรอนแรมไปยังศรีลังกาตามรับสั่งของพระราชบิดา ทั้งสองพระองค์แต่งกายเป็นพราหมณ์สามัญชน เจ้าหญิงนำพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ในพระเกษาที่มุ่นไว้บนพระเศียร

แต่กว่าจะมาถึงศรีลังกา พระเจ้ามหาเสนาก็สิ้นพระชนม์แล้วเช่นกัน ทั้งสองพระองค์จึงเดินทางมาจนถึงเมฆคีรีวิหารในเมืองหลวงคือ อนุราธปุระ แล้วส่งพระราชสาส์นไปกับพระภิกษุให้ช่วยไปถวายพระเจ้าเมฆวัณณะ เจ้าเมือง

พระเจ้าเมฆวัณณะเสด็จออกมารับพระเขี้ยวแก้วด้วยความศรัทธา แล้วนำไปประดิษฐานที่หอพระธาตุที่สร้างไว้ใกล้พระราชวัง

ทรงให้จัดพิธีให้ประชาชนได้เข้าสักการะตรงจุดที่พระอรหันต์มหินทเถระแสดงธรรมเป็นครั้งแรก

จากนั้น จึงนำเสด็จไปประดิษฐานที่อภัยคีรีวิหาร มีการเฉลิมฉลองถวายสักการะทุกปี

เมื่อนำพระธาตุพระเขี้ยวแก้วมาถึงศรีลังกาโดยปลอดภัย ส่งถึงพระหัตถ์ของพระราชาในศรีลังกาแล้ว ก็ไม่ได้พูดถึงเจ้าชายทันตะ และเจ้าหญิงเหมมาลาอีก เพราะในเรื่องมุ่งไปที่พระเขี้ยวแก้ว

แต่ทั้งสองพระองค์นี้มาโผล่ในตำนานพระธาตุที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในประเทศไทยด้วยค่ะ ยังมีรูปหล่อของทั้งสองพระองค์ที่อยู่ที่ด้านหน้าองค์พระตุ

 

ในสมัยโปลอนนารุวะ เมืองหลวงแห่งที่สองต่อจากอนุราธปุระ ที่ย้ายออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของอนุราธปุระ มีความเชื่อว่า ผู้ที่มีพระธาตุพระเขี้ยวแก้วไว้ในครอบครอง ผู้นั้นมีสิทธิขึ้นครองราชย์

ความเชื่อเช่นนี้ นี่เองที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อพระเขี้ยวแก้ว เพราะกลายเป็นชนวนสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า

ในประวัติศาสตร์ของศรีลังกา เราจะพบว่ามีการสู้รบกันหลายครั้ง ทั้งในหมู่เจ้าชายสิงหลกันเอง และต่อสู้กับชาวต่างชาติ เพื่อที่จะแย่งชิงพระธาตุพระเขี้ยวแก้วไปครอบครอง

ไม่ใช่เพราะศรัทธาในพระเขี้ยวแก้วสักเท่าใดนัก แต่เพื่อแสวงหาความชอบธรรมที่จะปกครองเกาะลังกานั่นเอง

ในช่วงที่มีการรุกรานจากพวกปาณทยัน กษัตริย์สิงหลต้องนำพระเขี้ยวแก้วหลบไปเพื่อความปลอดภัย

ต่อมาเมื่อกษัตริย์โจฬะที่นับถือศาสนาฮินดูจากอินเดียใต้รุกรานศรีลังกา มีพระภิกษุพาพระเขี้ยวแก้วหลบหนีลงไปทางใต้ของเกาะ

ต่อมาพระเจ้าวิชัยพาหุ ที่ 1 ได้สร้างหอพระธาตุไว้เก็บรักษาพระเขี้ยวแก้ว

มุคลันมหาสถวีระมอบให้กำลังของเวไลกะระดูแลความปลอดภัย แม้กระนั้น นระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 ก็ยังเอาเพชรพลอยของมีค่าที่ชาวเมืองถวายเป็นเครื่องสักการะพระธาตุไป เมื่อเป็นเช่นนี้ พระภิกษุจึงนำพระธาตุไปเมืองโรหนะให้อยู่ในความอารักขาของเจ้าชายแห่งโรหนะเพื่อความปลอดภัย

วิกรมพาหุยกกำลังมาช่วงชิงพระเขี้ยวแก้ว นำกลับไปโปลอนนารุวะ

 

ในประวัติเล่าถึงพระเจ้านิสสันกะมัลละ ที่ทรงมีศรัทธาในพระเขี้ยวแก้วเช่นกัน เมื่อพระเจ้ามาฆะมาโจมตี พระเจ้าวสิสาระ นำพระเขี้ยวแก้วไปเมืองปุสุลปิติยะ ในแคว้นกตมาเล เอาไปซ่อนไว้ในวัด ปัจจุบันเรียกว่า ธาตุกรันทรมะยะ

เมื่อพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ได้รับพระเขี้ยวแก้วไว้ ไม่มีพระประสงค์ที่จะเก็บไว้ในเมือง เพราะจะเป็นเหตุให้ข้าศึกโจมตีได้ จึงสร้างหอพระธาตุไว้บนภูเขาในเมืองเบลิกัล ให้มีทหารเฝ้าอารักขา

ต่อมาพระเจ้าปรกมพาหุที่ 2 ซึ่งเป็นพระโอรส มีศรัทธาในพระธาตุ จึงย้ายพระธาตุมาประดิษฐานในเมือองดัมพะเทนิยะ ซึ่งเป็นเมืองหลวง แล้วสร้างหอพระธาตุไว้ใกล้พระราชวัง เพื่อเสด็จไปสักการะได้สะดวก

เมื่อถูกโจมตีจากอินเดีย จึงย้ายพระธาตุไปเมืองยะปะหุสะ สร้างหอพระธาตุไว้เป็นที่ประดิษฐาน

คราวนี้ พวกปาณทยันเข้ามารุกรานจากอินเดีย ได้นำพระธาตุกลับไปอินเดียใต้ ไปถวายแก่พระเจ้ากุลเสขระ

คราวนี้ พระเจ้าปรกมพาหุที่สาม เจรจาขอพระธาตุกลับมาที่โปลอนนารุวะอีกระเจ้าปรกมพาหุที่ 4 สร้างหอพระธาตุถวาย โปรดให้มีพิธีบูชาทุกวันพระ โดยที่พระองค์ก็เสด็จมาร่วมพิธีด้วย โดยมีความเชื่อว่าพระธาตุจะปกปักษ์รักษาทั้งพระราชวังและกษัตริย์ผู้ปกครอง

ปรากฏว่าในรัชสมัยของพระองค์ พระธาตุพระเขี้ยวแก้วก็ยังต้องเดินทางไปที่เมืองกอตเต ต่อมาเป็นเมืองเดลกามุวะ หลบซ่อนเพื่อความปลอดภัย

ในสมัยของพระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ มีพระภิกษุนิกายอัสคิรี นำพระธาตุไปรักษาไว้ที่วัดอุทุมพร เมืองเกวัลกะมะ



ในช่วงที่โปรตุเกสโจมตีแคนดี พระภิกษุก็นำพระธาตุหนีขึ้นไปในเมืองที่มีระดับสูงขึ้นไปในเกาะ หลังจากสมัยของโปรตุเกส พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 นำพระธาตุกลับมาที่เมืองแคนดี และพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 2 ซึ่งเป็นพระโอรส สร้างหอพระธาตุ 3 ชั้นถวาย ในเมืองแคนดี

ในรัชสมัยของพระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ มีการอุปสมบทโดยพระอุบาลีมหาเถระที่เดินทางไปจากไทย ท่านได้เสนอให้มีการจัดงานฉลองแห่พระธาตุ จนกลายเป็นพิธีสำคัญที่สุดของแต่ละปี ในช่วงเดือนกรกฎาคมต่อกับสิงหาคม เรียกงานแห่พระธาตุว่า ทาละดะ เประเหระ

พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์สร้างผอบบรรจุพระเขี้ยวแก้ว มีเพชรประดับที่ยอดผอบ ใส่ซ้อนลงในผอบรวม 7 ชั้น

ที่เราไปไหว้กันที่แคนดี คือเราจะเห็นเพียงผอบชั้นที่ 7 ที่ทำเป็นรูปสถูป มีเครื่องสักการะเป็นสร้อยคอทองคำ สร้อยไข่มุก หลายสิบเส้นทีเดียว

เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองในสมัยของพระเจ้าศรีวิกรมราชสิงห์ พระธาตุก็ยังต้องเสด็จไปจากเมืองกันทะสาเล ไปยังวัลลิเวละ ไปยังเมทะปิติยะ ไปยังอารัตตะนะ และอีกหลายเมือง เพื่อความปลอดภัย

ในที่สุดวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ.1815 ได้นำพระธาตุกลับมาที่เมืองแคนดี

แม้กระนั้น เมื่อเกิดความมาสงบขึ้นใน ค.ศ.1818 พระภิกษุก็พาหนีไปซ่อนที่เมืองมาตะเล แต่อังกฤษนำกลับมาให้อยู่ในความดูแล ดิยะวัฒเน นิลาเม เป็นตำแหน่งผู้ดูแล

ในท้ายที่สุด ค.ศ.1853 อังกฤษทำพิธีมอบพระธาตุให้แก่พระมหาเถระทั้งสองนิกาย คือสยามวงศ์สายมัลวตะ และอัสคีรี

 

ปัจจุบัน พระมหานายกของสายมัลวตะและอัสคีรี จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลพระธาตุพระเขี้ยวแก้วสลับกันคนละปี

ช่วงที่ท่านธัมมนันทาเข้าไปกราบนั้น ท่านมหานายกของอัสคีรีเป็นผู้นำไปถวายสักการะ ท่านเอาดอกพุดสดใส่มือให้ท่านธัมมนันทาได้ถวายแก่พระเขี้ยวแก้วด้วย

เวลาบ้านเมืองประสบภัยแล้ง จะมีการทำพิธีแห่พระธาตุพระเขี้ยวแก้วเพื่อขอฝน เรียกพิธีนี้ ว่า ดาละดะวตุรา เป็นพิธีขอฝนของชาวสิงหลในศรีลังกา

เวลามีแขกเมืองมา รัฐบาลศรีลังกาต้องพาแขกเมืองไปไหว้พระเขี้ยวแก้ว

ในพิธีฉลองวิสาขะปีนี้ก็เช่นกัน ประธานาธิบดีของเนปาลก็มาร่วมงานด้วยอย่างเอิกเกริกทีเดียว

จาก https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_39822

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ฉัตรสุมาลย์ : นัยยะของสัมโภคกาย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1079 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2560 17:21:20
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.349 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 02:55:12