[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 11:53:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร  (อ่าน 1306 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 ธันวาคม 2560 12:08:48 »




พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร

พระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ขนาดกว้าง 5 ศอก 4 นิ้ว สูง 7 ศอก วัสดุสำริดลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ

สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช พระศรีศาสดา และพระเหลือ เดิมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ.2372 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธชินสีห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปี 2350 ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนาม พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลก และพระพุทธรูปอีก 2 องค์ คือ พระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา

พ.ศ.2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในชื่อ “ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา” ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิง จึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา หล่อในปีพุทธศักราช 1498 และพระพุทธชินราช หล่อขึ้นในปีพุทธศักราช 1500 (หย่อนอยู่ 7 วัน)





พ.ศ.2523 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงแต่งตำนานการสร้างพระพุทธชินราช ขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง ชื่อ “พงษาวดารเหนือ : เป็นลิลิตเรื่องนิทานพระร่วง แลนิทานพระเจ้าธรรมไตรปิฎก นิทานพระชินศรี พระชินราช พระศาสดา” มีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือ และพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 4 แต่เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระพุทธชินราชเข้าไปด้วย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระดำริว่า พระพุทธชินสีห์ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลป์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยระคนกับพุทธศิลป์เชียงแสน แต่มีพัฒนาการไปกว่าพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม และช่างผู้สร้างพระพุทธชินสีห์ กับ พระพุทธชินราช นั้น เป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดา เป็นช่างอื่น จากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ที่ปรากฏ แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง 3 องค์หรือไม่นั้น ไม่ทราบแน่ชัด

และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการสร้างแล้วทรงคาดว่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ น่าจะสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ในปีพุทธศักราช 1900 ประทานเหตุผลว่า “พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏพระเกียรติในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแค่พระองค์เดียวคือพระมหาธรรมราชาลิไท…พระมหาธรรมราชานี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก”

แรกเชิญมาถึงวัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินสีห์ประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวช ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ อยู่เบื้องหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เมื่อ พ.ศ.2380 ทรงติดทองกะไหล่พระรัศมี ฝังพระเนตรและฝังเพชรที่พระอุณาโลมใหม่ พร้อมทั้งปิดทององค์พระพุทธรูป

และเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ในปี 2394 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แผ่แผ่นทองคำลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิม ถวายฉัตรตาด 9 ชั้น ถวายผ้าทรงสะพักตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อฐานสำริดปิดทองใหม่

ใต้ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 ซึ่งเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร กระทั่งวันที่ 29 ตุลาคม 2560 บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ขอพร พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 8089 กระทู้ล่าสุด 07 พฤษภาคม 2557 15:15:45
โดย Kimleng
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 2164 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2559 19:21:17
โดย ใบบุญ
พระราชรัตนมงคล (มนตรี อภิมันติโก) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1024 กระทู้ล่าสุด 11 ธันวาคม 2561 15:39:46
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 681 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2562 17:09:30
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1172 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2562 16:03:41
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.261 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 09:27:40