[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 11:12:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด  (อ่าน 5858 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 มกราคม 2561 15:14:50 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด

พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในทุกพื้นที่ของประเทศ ทั้งป่าเขาลำเนาไพร ถิ่นทุรกันดารในภูมิภาคต่างๆ พระองค์ทรงพบเห็นทรัพยากรธรรมชาติบางพื้นที่ถูกบุกรุกทำลาย จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้คืนธรรมชาติ เพิ่มความเขียวขจีของพื้นที่ป่าไม้ โดยปลูกป่าให้กลับคืนสภาพเดิม เพื่อบำรุงสภาพดิน ให้ความชุ่มชื้นไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ไม่ว่าจะเป็นป่าบนเขาสูงที่เป็นต้นน้ำลำธาร ป่าที่ราบต่ำ จนถึงป่าชายเลน

“ชื่อ” บุคคล พืช สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ ล้วนมีคุณค่าในการจำแนกและบ่งบอกเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต และเป็นเครื่องบอกความแตกต่างกัน  

ในสมัยโบราณ ผู้ที่ริเริ่มตั้งชื่อพืชสันนิษฐานว่าเป็นพวกหมอ เนื่องจากต้องใช้พืชเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ เมื่อมีพืชจำนวนมากก็จำเป็นต้องทำความรู้จัก เพราะพืชให้ทั้งประโยชน์และให้โทษ พืชบางชนิดมีพิษ เช่น ยางไม้บางชนิดเมื่อถูกผิวหนังทำให้ผิวหนังพุพอง หรือถ้ายางเข้าตาทำให้ตาบอด ด้วยเหตุที่พืชเป็นสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเช่นนี้ มนุษย์จึงมีความจำเป็นต้องทำความรู้จักและบอกความแตกต่างระหว่างพืชชนิดต่างๆ ให้ได้

ชื่อพรรณไม้ปัจจุบันประกอบไปด้วยชื่อพื้นเมือง (Vernacular name) หรือชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน พรรณไม้ชนิดที่พบบ่อยหรือชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลกจะมีชื่อสามัญ(common name) มีพืชอีกจำนวนมหาศาลในโลกที่ไม่มีชื่อสามัญ พืชบางชนิดอาจมีเฉพาะชื่อพื้นเมืองหรือชื่อท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามพืชทุกชนิดต้องมีชื่อพฤกษศาสตร์ (botanical name) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ซึ่งทั้งสองชื่อนี้ใช้แทนในความหมายเดียวกัน และเป็นชื่อสากล ใช้สื่อสารให้เป็นที่เข้าใจกันอย่างถูกต้องตรงกันทั่วโลก  





ต้นไทรย้อยใบแหลม ต้นไม้มงคลประจำกรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : medthai.com

ภาคกลาง

๑. กรุงเทพมหานคร : ต้นไทรย้อยใบแหลม

กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง
วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
               ชื่อไทย : กรุงเทพมหานคร
               ชื่ออังกฤษ : Bangkok
               อักษรย่อ : กทม.
               สถานะ: เมืองหลวงของประเทศไทย
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๑,๕๖๙ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี
               ทิศตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา
               ทิศใต้ จังหวัดสมุทรปราการ และทะเลอ่าวไทย
               ทิศตะวันตก จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม




ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร ต้นไทรย้อยใบแหลม
ไทรย้อยใบแหลม
               ชื่อทั่วไป ไทรย้อยใบแหลม
               ชื่อสามัญ Golden Fig, Weeping Fig
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina Linn.
               วงศ์ MORACEAE
               ชื่ออื่นๆ ไทร, ไทรกระเบื้อง
               ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดียและมาเลเซีย
               ประเภท ไม้ยืนต้น.


รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีรากอากาศห้อยย้อย
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรีบงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง ๒-๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๑ เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบเห็นชัด แต่เส้นแขนงใบไม่ค่อยชัดนัก ขอบใบเรียบ
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็กอยู่ภายในฐานรองดอก ซึ่งโอบล้อมเป็นทรงกลมมองดูคล้ายผล ไม่มีกลีบดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์
               ผล : ทรงกลม ไม่มีก้านผล ผลออกเป็นคู่ติดกันอยู่ตรงซอกใบ ผลมีสีเขียวอ่อน แก่เป็นสีเหลือง

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
               ผล : เป็นอาหารของนก
               ราก : แก้ฝีพุพอง แก้นิ่ว
               รากอากาศ : แก้ขัดเบา ไตพิการ
               เปลือกต้น : สมานแผล ท้องเดิน แก้บวม ทาแผลฟกช้ำ
               ดอก : แก้ท้องเสีย แก้บวม
               ผล : แก้ท้องเสีย แก้ฝีพุพอง
               ยาง : ฆ่าพยาธิ ใส่บาดแผล แก้มะเร็ง





ต้นขานาง ไม้มงคลประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : dhammajak.net

ภาคกลาง

๒. จังหวัดกาญจนบุรี : ต้นขานาง

แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์
สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดกาญจนบุรี
               ชื่อไทย : กาญจนบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Kanchanaburi
               อักษรย่อ : กจ.
               ภาค : ภาคตะวันตก
               เนื้อที่ : ๑๙,๔๘๓ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดตาก และจังหวัดอุทัยธานี
               ทิศตะวันออก จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนครปฐม
               ทิศใต้ จังหวัดราชบุรี
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่า



 
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจบุรี ต้นขานาง
ต้นขานาง
               ชื่อทั่วไป ขานาง
               ชื่อสามัญ Moulmein Lancewood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalium tomentosum Benth.
               วงศ์ FLACOURTIACEAE
               ชื่ออื่นๆ ค่านาง, ช้างเผือกหลวง, เปลือย, ลิงง้อ, ขางนาง, คะนาง, ค่านางโคด, แซพลู้, ปะหง่าง, เปื๋อยคะนาง, เปื๋อยนาง, เปื๋อยค่างไห้
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี
               ประเภท ไม้ยืนต้น


รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีเทาขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรีบงสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง ๕-๑๓ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๒๐ เซนติเมตร ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย
               ดอก : เล็ก สีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง จะออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี
               ผล : มีขนาดเล็ก มีฐานดอกขยายคล้ายปีกติดที่ขั้วผล

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ชอบดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี บริเวณที่เป็นเขาหินปูนที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๓๕๐ เมตร
ประโยชน์ ลำต้น สีน้ำตาลอมเหลือง แข็งและเหนียว ใช้ทำเครื่องเรือน เสา และด้ามเครื่องมือการเกษตร




ต้นนนทรีป่า ไม้มงคลประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : medthai.com

ภาคกลาง
๓. ฉะเชิงเทรา : ต้นนนทรีป่า

แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร
พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อย่างฤๅในป่าสมบูรณ์

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
               ชื่อไทย : ฉะเชิงเทรา
               ชื่ออังกฤษ : Chachoengsao
               อักษรย่อ : ฉช.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๕,๓๕๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก
               ทิศตะวันออก จังหวัดสระแก้ว
               ทิศใต้ จังหวัดชลบุรีและจังหวัดจันทบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร




ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ต้นนนทรีป่า
ต้นนนทรีป่า
               ชื่อทั่วไป นนทรีป่า
               ชื่อสามัญ Copper Pod
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ คางฮุ่ง, คางรุ้ง, ราง, ช้าชม, นนทรี, อะราง, ร้าง, อะล้าง, กว่าเซก, จ๊าขาม
               ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามป่าโปร่งทางภาคเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนกิ่งผลัดใบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทา ลำต้นเปลาตรง ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง โตเร็ว ชอบแดดจัด
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ปลายคู่ เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่งก้าน ใบย่อย ๑๐-๒๒ คู่ ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อย ๖-๑๖ คู่ รูปขอบขนาน กว้าง ๐.๕-๑ เซนติเมตร ยาว ๑-๒.๕ เซนติเมตร ปลายใบมนและเว้าเล็กน้อย โคนใบมนและเบี้ยว
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลงยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร กลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๑.๕ เซนติเมตร เกสรตัวผู้ ๑๐ อัน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
               ผล : เป็นผักแบน กว้าง ๒-๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม สีน้ำตาลแดง เมื่อแก่เป็นสีดำ
               เมล็ด : มี ๔-๘ เมล็ด เรียงตามขวางของฝัก

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง พบมากตามป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออก เป็นพืชโตเร็ว ชอบแดดจัด ปลูกริมทะเลได้
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ลำต้น : ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เครื่องเรือน
               เปลือกของต้น : มีรสฝาด รับประทานเป็นยาขับเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลม




ต้นมะตูม ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาท
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : bloggang.com

ภาคกลาง
๔. ชัยนาท : ต้นมะตูม

หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ
นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชัยนาท
               ชื่อไทย : ชัยนาท
               ชื่ออังกฤษ : Chai Nat
               อักษรย่อ : ชน.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๒,๔๗๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดสิงห์บุรี
               ทิศใต้ จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดสุพรรณบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดอุทัยธานี




ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท ต้นมะตูม
               ชื่อทั่วไป มะตูม
               ชื่อสามัญ Bael Friut Tree, Bengal Quince
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (L.) Corr.
               วงศ์ RUTACEAE
               ชื่ออื่นๆ กระทันตาเถร, ตูม, ตุ่มตัง, พะโนงค์, มะปิน, มะปีส่า
               ถิ่นกำเนิด อินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย พบประปรายตามป่าเบญจพรรณในประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๕-๑๐ เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อยรูปไข่ ๓ ใบ ๒ ใบล่างออกตรงข้ามกัน ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า กว้าง ๓-๖ เซนติเมตร ยาว ๔-๑๒ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบ
               ดอก : มีขนาดเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี
               ผล : เป็นรูปไข่แข็งมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง ๘-๑๐ เซนติเมตร ยาว ๑๒-๑๘ เซนติเมตร เนื้อในสีเหลือง มียางเหนียว
               เมล็ด : รูปรี

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง พบตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ละเอียด สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเมื่อยังสด ใช้ทำตัวเกวียน เพลาเกวียน หวี
               ยางจากผลดิบ : ผสมสีทาแทนกาวได้
               เปลือกของผล : ให้สีเหลือง ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้
               เนื้อในของผล : ทำของหวานและใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะ แก้ท้องเสีย
               ผลสุก : รับประทานเป็นยาระบาย              




ต้นสุพรรณิการ์ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนครนายก

ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : bloggang.com
ภาคกลาง
๕. นครนายก : ต้นสุพรรณิการ์

นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย
รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนครนายก
               ชื่อไทย : นครนายก
               ชื่ออังกฤษ : Nakhon Nayok
               อักษรย่อ : นย.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๒,๑๒๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครราชสีมา
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดปราจีนบุรี
               ทิศใต้ จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดปราจีนบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดปทุมธานี



ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก ต้นสุพรรณิการ์
               ชื่อทั่วไป ต้นสุพรรณิการ์
               ชื่อสามัญ Yellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum religiosum Alston.
               วงศ์ COCHLOSPERMACEAE
               ชื่ออื่นๆ ฝ้ายคำ
               ถิ่นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๕-๑๐ เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว ขอบใบเป็นคลื่น ออกเวียนสลับกัน รูปฝ่ามือ มี ๕ แฉก ปลายใบแฉกแหลม โคนเว้า
               ดอก : สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ทยอยบาน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๘ เซนติเมตร มีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ก่อนจะออกดอกทิ้งใบก่อน
               ผล : เป็นรูปไข่กลับ กว้าง ๒.๕-๓ เซนติเมตร ยาว ๕-๗ เซนติเมตร แตกเป็น ๓-๕ ซีกเมื่อแห้ง
               เมล็ด : สีน้ำตาล มีปุยคล้ายฝ้ายหุ้ม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ชอบดินร่วนซุย และแดดจัด
ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีดอกสวย
               ใบ : ใบอ่อนใช้สระผม
               ดอก : ดอกและใบแห้งเป็นยาบำรุงกำลัง ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์      




ต้นจันทน์หอม ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนครปฐม
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : kapook.com

ภาคกลาง
๖. นครปฐม : ต้นจันทร์หอม

ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น
พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนครปฐม
               ชื่อไทย : นครปฐม
               ชื่ออังกฤษ : Nakhon Pathom
               อักษรย่อ : นฐ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๒,๑๖๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
               ทิศตะวันออก จังหวัดนนทบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร
               ทิศใต้ กรุงเทพมหานคร  จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดราชบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม ต้นจันทร์หอม
               ชื่อทั่วไป จันทร์หอม
               ชื่อสามัญ Kalamet
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei Drumm.
               วงศ์ STERCULIACEAE
               ชื่ออื่นๆ จันทร์, จันทร์ชะมด, จันทร์ขาว, จันทร์พม่า
               ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๔๐๐ เมตร
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร
               เปลือก : ค่อนข้างเรียบ สีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๓-๖ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๔ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ
               ดอก : มีขนาดเล็กสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม
               ผล : รูปกระสวย กว้าง ๐.๕-๐.๗ เซนติเมตร ยาว ๑-๑.๕ เซนติเมตร มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม หนึ่งปีกกว้าง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๒.๕-๓ เซนติเมตร ผลจะแก่ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามดินแถบเขาหินปูน ขึ้นในป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๔๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : กระพี้สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ธูป ดอกไม้จันทน์
               น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ : ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่องสำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
               เนื้อไม้ : ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย




ต้นนนทรีบ้าน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนนทบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : technologychaoban.com

ภาคกลาง
๗. นนทบุรี : ต้นนนทรีบ้าน

พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา
วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนนทบุรี
               ชื่อไทย : นนทบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Nonthaburi
               อักษรย่อ : นบ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๖๒๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี
               ทิศตะวันออก กรุงเทพมหานคร
               ทิศใต้ กรุงเทพมหานคร
               ทิศตะวันตก จังหวัดนครปฐม



ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี ต้นนนทรีบ้าน
               ชื่อทั่วไป ต้นนนทรีบ้าน
               ชื่อสามัญ Copper Pod, Yellow Flame, Yellow Flamboyant
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (pe.) Back.Ex Heyne.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ กระถินป่า, นนทรี, สารเงิน, กระถินแดง
               ถิ่นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตามป่าทั่วไปและชายหาด
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบ สูง ๑๐-๒๕ เมตร เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่ไม่มีขน โตเร็ว ชอบแดดจัด
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ปลายคู่ เรียงเยียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อย ๑๐-๒๒ คู่ มีรูปไข่ยาว ๑.๒-๑.๘ เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเว้าตื้นๆ โคนใบมนและเบี้ยว
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อตั้งรูปเจดีย์ที่ปลายกิ่ง ยาว ๒๐-๔๐ เซนติเมตร กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ ผิวกลีบย่น สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก ๑ เซนติเมตร ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
               ผล : เป็นฝักแบนๆ รูปรี กว้าง ๒-๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๒ เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่สีน้ำตาลดำไม่แตก ผลแก่ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
               เมล็ด : รูปร่างแบน มีจำนวน ๑-๔ เมล็ด เรียงตามความยาวของฝัก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด พบทั่วไปตามป่าชายหาดและป่าเบญจพรรณที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐-๓๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เปลือกต้น : มีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ กล่อมโลหิต แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลม ใช้ต้มกินแก้บิด ท้องร่วง แก้ไข้
               เนื้อไม้ : ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เครื่องเรือน แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลม      




ต้นปาริชาติ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดปทุมธานี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : kapook.com

ภาคกลาง
๘. ปทุมธานี : ต้นปาริชาติ

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ
พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดปทุมธานี
               ชื่อไทย : ปทุมธานี
               ชื่ออังกฤษ : Pathum Thani
               อักษรย่อ : ปท.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๑,๕๒๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรี
               ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา
               ทิศใต้ กรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม และจังหวัดนนทบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี ต้นปาริชาติ
               ชื่อทั่วไป ปาริชาติ
               ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated Tiger’s Claw
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata Linn.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ทองหลางลาย, ทางเผือก, ทองหลางด่าง, ปาริฉัตร, ทองบ้าน, ทองเผือก, มังการา
               ถิ่นกำเนิด พบทั่วไปในเอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๕-๑๐ เมตร แตกกิ่งอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบกลางจะโตกว่า ๒ ใบด้านข้าง
               ดอก : รูปดอกถั่วสีแดงเข้ม ออกรวมกันเป็นช่อยาวประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
               ผล : เป็นฝักยาว ๑๕-๓๐ เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย เป็นไม้กลางแจ้ง พบทั่วไปในเอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น
ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา      

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤษภาคม 2561 16:06:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2561 18:34:22 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด


ต้นเกด ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : bloggang.com

ภาคกลาง
ประจวบคีรีขันธ์ : ต้นเกด

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด
สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
               ชื่อไทย : ประจวบคีรีขันธ์
               ชื่ออังกฤษ : Prachuap Khiri Khan
               อักษรย่อ : ปข.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๖,๓๖๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเพชรบุรี
               ทิศตะวันออก ทะเลอ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดชุมพร
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่า




ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้นเกด
               ชื่อทั่วไป เกด
               ชื่อสามัญ Milkey Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard.
               วงศ์ SAPOTACEAE
               ชื่ออื่นๆ ครินี, ไรนี
               ถิ่นกำเนิด ภูมิภาคเอเชีย ในประเทศไทยพบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง ๒.๕-๖ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ
               ดอก : มีขนาดเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม
               ผล : รูปกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เมื่อสุกจะมีสีเหลืองแสด

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทราย หรือดินปนหิน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง พบทั่วไปในภูมิภาคเอเชีย ในประเทศไทยพบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ
ประโยชน์
               ผลสุก  : รสหวาน รับประทานได้ ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
               เนื้อไม้ : ใช้เป็นสลักแทนตะปูสำหรับติดกระดานกับโครงเรือ




ต้นโพศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : photos.wikimapia.org

ภาคกลาง
๑๐ ปราจีนบุรี : ต้นโพศรีมหาโพธิ์

ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง
ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารดี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดปราจีนบุรี
               ชื่อไทย : ปราจีนบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Prachin Buri
               อักษรย่อ : ปจ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๔,๗๖๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา
               ทิศตะวันออก จังหวัดสระแก้ว
               ทิศใต้ จังหวัดฉะเชิงเทรา
               ทิศตะวันตก จังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา



ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี ต้นโพศรีมหาโพธิ์
               ชื่อทั่วไป โพศรีมหาโพธิ์
               ชื่อสามัญ Bo Tree, Sacred Fig Tree, Pipal Tree, Peepul Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa Linn.
               วงศ์ MORACEAE
               ชื่ออื่นๆ สลี, สลีหลวง, เก้าศรี, ย่อง, ปู, โพ
               ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๓๐  เมตร ทรงพุ่มสวยงามเป็นรูปร่ม แผ่กิ่งก้านกว้าง มียางสีขาว
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหัวใจ ก้านใบยาวประมาณ ๔-๖ เซนติเมตร โคนใบลาดเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมยาว มีขนาดกว้าง ๖-๘ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ยอดอ่อนมีสีครีมอมชมพู
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อ อยู่รวมกันเป็นกระจุก ภายในฐานรองดอกโอบเป็นรูปถ้วยคล้ายผล ดอกมีขนาดเล็กจำนวนมาก แยกเพศ
               ผล : เป็นผลรวม ผลสดทรงกลมเล็ก ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร ออกเป็นคู่ๆ ตรงโคนก้านใบหรือตามข้อ มีสีเขียว เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม มีลักษณะคล้ายผลเดื่อ
               เมล็ด : มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ หรือการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง
ประโยชน์ เป็นไม้สำคัญทางพุทธศาสนา
               ลำต้นอ่อน : ใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคผิวหนัง
               เปลือกต้น : แก้โรคผิวหนัง แก้อักเสบเป็นหนอง แก้ปวดฟัน ไข้จับสั่น      
               ใบและยอดอ่อน : แก้โรคผัวหนัง เป็นยาถ่าย แก้ไข้จับสั่น      
               ผล : เป็นยาระบาย ทำยาชงหรือยาต้มแก้โรคหนองใน      
               เมล็ด : เป็นยาระบาย      




ต้นหมัน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : media.komchadluek.net

ภาคกลาง
๑๑ พระนครศรีอยุธยา : ต้นหมัน

ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
               ชื่อไทย : พระนครศรีอยุธยา
               ชื่ออังกฤษ : Phra Nakhon Si Ayutthaya
               อักษรย่อ : อย.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๒,๕๕๗ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดลพบุรี อ่างทอง และสระบุรี
               ทิศตะวันออก จังหวัดสระบุรี
               ทิศใต้ จังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นหมัน
               ชื่อทั่วไป หมัน
               ชื่อสามัญ Bo Tree, Pipal Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordia cochinchinensis Gagnepain
               วงศ์ BORAGINACEAE
               ชื่ออื่นๆ สะหลี, เก้าศรี, ย่อง
               ถิ่นกำเนิด ป่าชายเลนที่ค่อนข้างแข็ง และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๕ เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทาคล้ำ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร ปลายใบทู่ โคนใบกว้าง
               ดอก : สีขาว
               ผล : ผลสดรูปกลมแป้น มี ๔ สัน เมื่อแก่เปลือกสีชมพู มีของเหลวภายในเหนียวมากห่อหุ้มเมล็ด

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินเลน ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นสูง พบมากในป่าชายเลนที่ดินค่อนข้างแข็ง ฝั่งทะเลอ่าวไทย ตามป่าละเมาะและที่รกร้างตามหมู่บ้าน
ประโยชน์
               ราก : ผสมรากติ้วขน ต้มน้ำดื่มแก้เจ็บหน้าอก
               ใบ : เป็นอาหาร      
               เปลือกต้น : ใช้ทำปอ ใช้ทำหมันตอกยาแนวเรือ      
               เมล็ด : ของเหลวในผลที่ห่อหุ้มเมล็ดเหนียวมากใช้ทำกาว    




ต้นหว้า ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดเพชรบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : nanagarden.com

ภาคกลาง
๑๒ เพชรบุรี : ต้นหว้า

เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ
แดนธรรมะ ทะเลงาม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดเพชรบุรี
               ชื่อไทย : เพชรบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Phetchaburi
               อักษรย่อ : พบ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๖,๒๒๕ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสงคราม
               ทิศตะวันออก ทะเลอ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่า




ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี ต้นหว้า
               ชื่อทั่วไป หว้า
               ชื่อสามัญ Jambolan Plum, Java Plum, Black Plum
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium eumini (L.) Skeels
               วงศ์ MYRTACEAE
               ชื่ออื่นๆ ห้าขี้แพะ
               ถิ่นกำเนิด จากอินเดียจนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๓๕ เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่อยู่ตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง ๓-๗ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๔ เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ
               ดอก : ออกดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลช่วงเดือนธันวาคม-มิถุนายน
               ผล : เป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ เนื้อฉ่ำน้ำ สีม่วงดำ ผิวมัน มีขนาด ๑ เซนติเมตร ผลแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ ขึ้นได้ทั่วไปตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง ๑,๑๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เปลือกต้น : ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
               เนื้อไม้ : ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
               ผลดิบ : แก้ท้องเสีย ผลสุกรับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์ เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วง กินแก้ท้องร่วงและบิด    
               เมล็ด : มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษ    




ต้นโมกมัน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดราชบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : adeq.or.th

ภาคกลาง
๑๓ ราชบุรี : ต้นโมกมัน

คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่
ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดราชบุรี
               ชื่อไทย : ราชบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Ratchaburi
               อักษรย่อ : รบ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๕,๑๙๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดกาญจนบุรี
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงคราม
               ทิศใต้ จังหวัดเพชรบุรี
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่า




ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี ต้นหมัน
               ชื่อทั่วไป ต้นโมกมัน
               ชื่อสามัญ Ivory, Darabela
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.
               วงศ์ APOCYNACEAE
               ชื่ออื่นๆ มากมัน, มักมัน, มูกมัน, โมกน้อย, โมกใหญ่, มูกน้อย, เส่ทือ, แนแก, โมกมันเหลือง
               ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ ๘-๒๐ เมตร ต้นปลายตรง เปลือกสีน้ำตาลหรือเทาอ่อน
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ท้องใบยาว ๗-๑๘ เซนติเมตร
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบดอก ๕ กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีขาวอมเหลือง จนถึงสีม่วงแกมเหลืองหรือสีม่วงแดงเมื่อแก่เต็มที่ เกสรเพศมี ๕ อัน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
               ผล : ผลเป็นฝัก ยาว ๙-๓๕ เซนติเมตร มีร่องระหว่างกลางตามยาวของฝัก เมื่อแก่จะแตกตามแนวร่อง ผิวฝักขรุขระ ผลแก่ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
               เมล็ด : รูปยาวรี ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ ปลิวไปตามลมได้ไกล

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การปักชำรากหรือกิ่ง และการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด พบในป่าเบญจพรรณทั่วไป ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๖๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : สีขาวนวลถึงสีขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดมาก เหนียว ใช้ทำเครื่องกลึง เครื่องเล่นสำหรับเด็ก เครื่องเขียน ตะเกียบ ไม้บุผนังห้อง
               เปลือกต้น : รักษาโรคไต รักษาธาตุให้ปกติ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อรำมะนาด คุดทะราด      
               ยางจากต้น : แก้บิด มูกเลือด      
               ใบ : ขับน้ำเหลือง แก้ท้องมาน  
               ดอก : เป็นยาระบาย      




ต้นพิกุล ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดลพบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : jkhealthworld.com

ภาคกลาง
๑๔ ลพบุรี : ต้นพิกุล

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง
เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดลพบุรี
               ชื่อไทย : ประจวบลพบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Lop Buri
               อักษรย่อ : ลบ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๖,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเพชรบูรณ์
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
               ทิศใต้ จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง
               ทิศตะวันตก จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดสิงห์บุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี ต้นเกด
               ชื่อทั่วไป พิกุล
               ชื่อสามัญ Bullet Wood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi Linn.
               วงศ์ SAPOTACEAE
               ชื่ออื่นๆ แก้ว, ซางดง, กุน, พิกุลป่า, พิกุลเถื่อน
               ถิ่นกำเนิด ประเทศที่มีอากาศร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซีย พบตามป่าทางภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์ ขณะที่ต้นยังเล็ก โตขึ้นเป็นทรงกลมหนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา มีรอยแตกตามยาวของลำต้น
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบมนรูปไข่ กว้าง ๒-๖ เซนติเมตร ยาว ๗-๑๕ เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเป็นคลื่น
               ดอก : เป็นดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง ๘ กลีบ เรียงซ้อนกัน ๒ ชั้น กลีบดอกประมาณ ๒๔ กลีบ เรียงซ้อนกัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
               ผล : รูปไข่ ยาว ๒-๓ เซนติเมตร สีเขียว เมื่อแก่จะมีสีแดงหรือสีแดงอมส้ม เนื้อในผลสีเหลือง รสหวานอมฝาด
               เมล็ด : แบนรี ขนาด ๑.๕ เซนติเมตร เปลือกแข็ง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนต่อสภาพต่างๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย
ประโยชน์  ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา
               ลำต้น  : ใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงเรือเดินทะเล เครื่องมือทางการเกษตร
               ใบ : ฆ่าเชื้อกามโรค แก้หืดหอบ
               เปลือกต้น : ต้มอมกลั้วคอ แก้เหงือกอักเสบ
               เนื้อไม้ : ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า “ขอนดอก” ใช้บำรุงตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์
               ดอก : มีกลิ่นหอมจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ทำยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงไต แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอกใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
               ผลสุก : ใช้รับประทานได้
               เมล็ด : ตำให้ละเอียด ทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนเวลาท้องผูก ขับปัสสาวะ  




ต้นโพทะเล ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : biolib.cz/IMG/GAL/54334.jpg

ภาคกลาง
๑๕ สมุทรปราการ : ต้นโพทะเล

ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ
สงกรานต์พระประแดง ปลาสลัดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสมุทรปราการ
               ชื่อไทย : สมุทรปราการ
               ชื่ออังกฤษ : Samut Prakan
               อักษรย่อ : สป.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๑,๐๐๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ กรุงเทพมหานคร
               ทิศตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทราและอ่าวไทย
               ทิศใต้ อ่าวไทย
               ทิศตะวันตก กรุงเทพมหานครและอ่าวไทย



ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ต้นโพทะเล
               ชื่อทั่วไป โพทะเล
               ชื่อสามัญ Portia Tree, Cork Tree, Tulip Tree, Rosewood of Seychelles, Coast Cotton Tree, Yellow Mallow Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Thespesia populnea (L) Soland. Ex Correa
               วงศ์ MALVACEAE
               ชื่ออื่นๆ ปอกะหมัดไพร, ปอมัดไซ, บากู
               ถิ่นกำเนิด ตามป่าชายเลน พบมากทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๑๐-๑๕  เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ผิวขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ ตลอดลำต้น
               ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ กว้าง ๑๒ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร
               ดอก : ขนาดใหญ่ สีเหลือง ขนาด ๖-๑๐ เซนติเมตร ออกตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
               ผล : โต ขนาด ๔ เซนติเมตร ผิวแข็ง
               เมล็ด : เล็กยาว คล้ายเส้นไหม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ชอบความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการน้ำมาก ขึ้นหลังป่าชายเลน
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : เหนียว แข็ง ทนทาน ไสกบตกแต่งง่าย ขัด ชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน กระดานพื้น ด้ามเครื่องมือ พายแจว
               เปลือกต้น : ใช้ทำดอกหมันเรือ ทำเชือก และสายเบ็ด      
               ใบ : นำมาสกัดทำเป็นยาผงใส่แผลสด แผลเรื้อรัง      
               ผล : เป็นยาระบาย ทำยาชงหรือยาต้มแก้โรคหนองใน      
               ราก : เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ลดไข้ กินเป็นยาบำรุง      




ต้นจิกทะเล ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : ankurnursery.com

ภาคกลาง
๑๖ สมุทรสงคราม : ต้นจิกทะเล

เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.๒
แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสมุทรสงคราม
               ชื่อไทย : สมุทรสงคราม
               ชื่ออังกฤษ : Samut Songkhram
               อักษรย่อ : สส.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๔๑๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร
               ทิศตะวันออก อ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดเพชรบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดราชบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ต้นจิกทะเล
               ชื่อทั่วไป จิกทะเล
               ชื่อสามัญ Putat, Sea Poison Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
               วงศ์ LECYTHIDACEAE
               ชื่ออื่นๆ โดนเล, อามุง, จิกเล
               ถิ่นกำเนิด หาดทรายชายทะเลทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา กว้างประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๕ เซนติเมตร สีเขียวเข้ม
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรเพศผู้สีม่วงแซม บานเวลากลางคืน กลางวันดอกจะโรย เมื่อดอกตูม มีสีขาวคล้ายดอกยี่หุบ เวลาบานจะเห็นเกสรเพศผู้ชัดเจน ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
               ผล : ขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบและแหลมคล้ายลูกดิ่ง

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย หรือดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบขึ้นตามริมชายหาดที่มีดินเลน และขึ้นได้ในที่มีดินเลนแข็ง
ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
               เปลือกต้น : บรรเทาอาการปวดศีรษะ ต้มเป็นยาทาภายนอก
               ราก : ฝนผสมกับน้ำมะนาว ใช้ปิดปากแผลที่ถูกงูกัด      
               ผล : ชงน้ำดื่มแก้ไอ แก้หืด ท้องเสีย      
               เปลือกเมล็ด : ทุบให้แห้ง ตีกับน้ำใส่บ่อใช้เบื่อปลา    




ต้นสัตบรรณ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : puechkaset.com

ภาคกลาง
๑๗ สมุทรสาคร : ต้นสัตบรรณ

เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสมุทรสาคร
               ชื่อไทย : สมุทรสาคร
               ชื่ออังกฤษ : Samut Sakhon
               อักษรย่อ : สค.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๘๗๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดนครปฐม
               ทิศตะวันออก กรุงเทพมหานคร
               ทิศใต้ อ่าวไทย
               ทิศตะวันตก จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดราชบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ต้นสัตบรรณ
               ชื่อทั่วไป สัตบรรณ
               ชื่อสามัญ White Cheesewood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br.
               วงศ์ APOCYNACEAE
               ชื่ออื่นๆ ตีนเป็ด, พญาสัตบรรณ, หัสบรรณ, กะโนะ, จะบัน, ชบา, ตีนเป็ดขาว, บะซา, ปูแล, ปูลา ยางขาว
               ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะโซโลมอน มาเลเซีย ป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๕ เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอ่อนหรือสีเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงกันเป็นวง ๕-๗ ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบ ขอบใบเรียบ
               ดอก : มีขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรืออมขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง
               ผล : เป็นฝักเรียว ยาว ๑๐-๒๐ เซนติเมตร
               เมล็ด : มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดเป็นรูปขนานแบนๆ มีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นปุยติดอยู่ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง เมล็ดแก่ช่วงเดือนมีนาคม
              
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนซุย แสงแดดจัด ขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ ในป่าดิบทางภาคใต้ และทุกภาคของประเทศไทย
 ประโยชน์
               เปลือกต้น : ใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้
               เนื้อไม้ : เนื้อหยาบอ่อนแต่เหนียว ตกแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ รองเท้าไม้ของเล่นสำหรับเด็ก หรือไม้จิ้มฟัน
               ใบ : ใช้พอกดับพิษต่างๆ    
               ยาง : ใช้ทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย    


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2561 14:50:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2561 14:22:34 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด

ภาคกลาง
๑๘ สระแก้ว : ต้นมะขามป้อม

ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย
มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสระแก้ว
               ชื่อไทย : สระแก้ว
               ชื่ออังกฤษ : Sa Kaeo
               อักษรย่อ : สก.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๗,๑๙๕ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา
               ทิศตะวันออก ประเทศกัมพูชา
               ทิศใต้ จังหวัดจันทบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา




ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว ต้นมะขามป้อม
               ชื่อทั่วไป มะขามป้อม
               ชื่อสามัญ Malacca Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
               วงศ์ EUPHORBIACEAE
               ชื่ออื่นๆ กำทวด, กันโตด, มั่งลู่, สันยาส่า
               ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๘-๑๒ เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นปุ่มขรุขระเล็กน้อย มีสีน้ำตาลอมดำ เปลือกแตกเป็นร่องตามยาวของต้น
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ขนาดเล็ก กว้าง ๐.๕ เซนติเมตร ยาว ๑-๑.๕ เซนติเมตร มีรูปไข่ ขอบขนานติดเป็นคู่
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกอยู่ตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕ เซนติเมตร มีสีขาวนวล ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน
               ผล : เป็นผลสด ทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน มีลายเส้นพาดตามยาวของผล ๖ เส้น มีสีเขียวอมเหลือง มีรสเปรี้ยวอมฝาด ออกผลช่วงเดือนมกราคม-เมษายน
               เมล็ด : มีรูปร่างค่อนข้างกลมและมีเสี้ยนเล็กน้อย สีเขียวเข้ม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด ทนแล้งได้ ขึ้นในดินที่มีการระบายน้ำดีในป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ทำเสาอาคารบ้านเรือน ทำเครื่องมือทางการเกษตร ทำฟืนเผาถ่าน
               เปลือกต้น : เปลือกและใบให้สีน้ำตาลแกมเหลือง ใช้ย้อมผ้า แก้บิด บาดแผลเลือดออก
               ใบ : แก้ผื่นคัน น้ำเหลือง
               ปมที่ก้าน : แก้ปวด แก้ไอ    
               ผล : มีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ อมฝาด รับประทานแก้กระหายน้ำ ใช้เป็นยาขับพยาธิ แก้ไอ หรือคั้นเอาน้ำจากเนื้อผลทั้งแห้งและสด ใช้ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ผลแห้งต้มน้ำดื่มแก้ไข้ น้ำคั้นผลสด แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้โรคเลือดออกตามไรฟันเพราะมีวิตามันซีมาก    




ต้นตะแบก ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสระบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : images-na.ssl-images-amazon.com

ภาคกลาง
๑๙ สระบุรี : ต้นตะแบก

พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม
เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊มนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม
เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสระบุรี
               ชื่อไทย : สระบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Sara Buri
               อักษรย่อ : สบ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๓,๕๗๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดลพบุรี
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครราชสีมา
               ทิศใต้ จังหวัดนครนายก
               ทิศตะวันตก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี




ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี ต้นตะแบก
               ชื่อทั่วไป ตะแบก
               ชื่อสามัญ Bungor.
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda Jack
               วงศ์ LYTHRACEAE
               ชื่ออื่นๆ เปื๋อยนา, กระแบก, ตะแบกไข่, เปื๋อยหางค่าง, ตะแบกนา, ตราแบกปรี้, บางอตะมะกอ, บางอยะมู, แบก, เปื๋อยต้อง
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วมตามท้องนา
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๐-๒๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบมีสีนวลหรือสีเทา แตกล่อนเป็นหลุมตื้น ต้นแก่เปลือกจะล่อนเป็นแผ่น
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปหอก ยาว ๑๒-๒๐ เซนติเมตร ขอบใบห่อขึ้น ใบอ่อนสีแดง
               ดอก : ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีขนาด ๒-๒.๕ เซนติเมตร กลีบดอกย่น มี ๖ กลีบ สีม่วงอมชมพู แล้วเปลือกเป็นสีชมพูซีดๆ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์
               ผล : รูปไข่ ผลแก่สีน้ำตาล แตกอ้าเป็น ๕-๖ กลีบ ผลแก่ช่วงเดือนมีนาคม
               เมล็ด : เป็นซีก เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งทางด้านบน ๑ ปีก รูปแบนสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนซุย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง พบตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม ตามท้องนา
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ลำต้น : เนื้อไม้ละเอียด แข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก และทำเครื่องมือทางการเกษตร
               เนื้อไม้ : ใช้เผาถ่าน ทำฟืน  




ต้นมะกล่ำต้น ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสิงห์บุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : bloggang.com
ภาคกลาง
๒๐ สิงห์บุรี : ต้นมะกล่ำต้น

ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน
นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสิงห์บุรี
               ชื่อไทย : สิงห์บุรี
               ชื่ออังกฤษ : Sing Buri
               อักษรย่อ : สห.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๘๒๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดชัยนาทและจังหวัดนครสวรรค์
               ทิศตะวันออก จังหวัดลพบุรี
               ทิศใต้ จังหวัดอ่างทอง
               ทิศตะวันตก จังหวัดชัยนาทและจังหวัดสุพรรณบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี ต้นมะกล่ำต้น
               ชื่อทั่วไป มะกล่ำต้น
               ชื่อสามัญ Red Sandalwood Tree, Coralwood Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina Linn.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ มะกล่ำตาช้าง, มะหัวแดง, มะโหดแดง, มะแค้ก, หมากแค้ก, บนซี, ไพเงินกล่ำ, มะกล่ำตาไก่
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ ๕-๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนมีขนนิ่มสีน้ำตาลปนเทา เปลือกต้นเรียบหรือแตกสะเก็ด
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนง ๒-๖ คู่ ก้านแขนงแต่ละก้านมีใบย่อย ๗-๑๕ คู่ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๐.๖-๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๒-๓.๕ เซนติเมตร ปลายและโคนมน
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อกลมยาว สีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน มีก้านดอกสั้น กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
               ผล : เป็นฝักแบน บิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ
               เมล็ด : เมล็ดสีแดงแบนกลม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ไสกบตกแต่งค่อนข้างยาก ใช้ในการก่อสร้าง เช่น เกวียน
               ใบ : ต้มรับประทานแก้ปวดข้อ แก้ท้องร่วง และแก้บิด
               เมล็ด : บดเป็นผงดับพิษ รักษาแผลที่เกิดจากหนองและฝี
               ใบและเมล็ด : แก้ริดสีดวงทวารหนัก
               ราก : ใช้เป็นสลักแทนตะปูสำหรับติดกระดานกับโครงเรือ




ต้นมะเกลือ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : puechkaset.com

ภาคกลาง
๒๑ สุพรรณบุรี : ต้นมะกลือ

สุพรรณบุรี เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง
รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสุพรรณบุรี
               ชื่อไทย : สุพรรณบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Suphan Buri
               อักษรย่อ : สพ.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๕,๓๕๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ สุพรรณบุรีอยู่ติดกับจังหวัดต่างมากมาย ดังนี้ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกาญจนบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ต้นมะเกลือ
               ชื่อทั่วไป มะเกลือ
               ชื่อสามัญ Ebony Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
               วงศ์ EBENACEAE
               ชื่ออื่นๆ มักเกลือ, มะเกือ, ผีเผา, มะเกีย, เกลือ
               ถิ่นกำเนิด พม่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๘-๒๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนย้อยลง มีขนนุ่มประปราย เปลือกแตกเป็นรอย
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง ๑.๕-๔ เซนติเมตร ยาว ๓-๘ เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวสอบ ก้านใบยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ใบแห้งจะเป็นสีเขียวอมดำ
               ดอก : แยกเพศ แยกต้น ดอกเพศผู้เป็นช่อสั้นๆ ออกตามง่ามใบ มีดอกย่อยประมาณ ๓ ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น ๔ แฉก ยาว ๖-๘ เซนติเมตร ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ๑-๒ มิลลิเมตร กลีบดอกสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวเข้ม ๔ กลีบ มีเกสรตัวผู้เทียม ๘-๑๐ อัน
               ผล : เป็นผลสด ลักษณะกลมเกลี้ยง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วของผล สีเขียว เมื่อแก่จัดสีดำ เมื่อแห้งเปลืองผลจะเปราะ
               เมล็ด : รูปรีแบนด้านหนึ่งคล้ายสามเหลี่ยมฐานมน สีน้ำตาล ยาว ๑ เซนติเมตร จำนวน ๔-๖ เมล็ด

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๕๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เปลือกต้น : ใช้ผสมเครื่องดื่มพื้นเมืองเพื่อกันบูด     
               เนื้อไม้ : กระพี้ออกสีขาว ทิ้งไว้นานออกสีดำ แก่นสีดำ มีน้ำหนักมากที่สุดในบรรดาไม้ที่ขึ้นอยู่ในประเทศไทย แข็งแรงทนทานมาก ใช้ทำเครื่องดนตรี เครื่องเรือน เครื่องใช้อย่างดี     
               ผล : ให้สีดำสำหรับย้อมผ้า ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ให้ผลดีมากที่สุดคือพยาธิปากขอ     
               ราก : ฝนผสมกับน้ำซาวข้าว ดื่มแก้อาเจียนและหน้ามืดเป็นลม     




ต้นมะพลับ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดอ่างทอง
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : kasettambon.com

ภาคกลาง
๒๒ อ่างทอง : ต้นมะพลับ

พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดอ่างทอง
               ชื่อไทย : อ่างทอง
               ชื่ออังกฤษ : Ang Thong
               อักษรย่อ : อท..
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๙๖๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี
               ทิศตะวันออก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
               ทิศใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
               ทิศตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง ต้นมะพลับ
               ชื่อทั่วไป มะพลับ
               ชื่อสามัญ Bo Tree, Sacred Fig Tree, Pipal Tree, Peepul Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.
               วงศ์ EBENACEAE
               ชื่ออื่นๆ พลับ. มะพลับใหญ่, มะกั๊บตอง, มะสู่ลั้ว, มะเขือเถื่อน, ตะโกสวน
               ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบ ประเทศไทย อินเดีย ชวา เกาะเซลีเบส
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๘-๑๕ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาปนดำ เปลือกในสีน้ำตาลปนแดงอ่อน เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๘ เซนติเมตร ปลายแหลมทู่ โคนใบมน
               ดอก : ดอกเล็ก ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้สีขาว กลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ ๔-๕ กลีบ ดอกเพศเมียสีขาวหรือเหลืองอ่อน ขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ กลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ ๔ กลีบ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
               ผล : ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕-๕ เซนติเมตร ผลแก่ชุ่มน้ำ เปลือกหนาแข็ง กลีบจุกผลมีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้าน ภายในมีเมล็ดรูปยาวรี ๔-๕ เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม เป็นผลประมาณเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนซุย แสงแดดจัด น้ำและความชื้นปานกลาง พบตามป่าดิบ ชอบขึ้นบริเวณแหล่งน้ำทั่วๆ ไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๕๐-๔๐๐ เมตร และพบตามชายป่ายละเมาะริมทะเล เรือกสวนทั่วไป
ประโยชน์
               เปลือกต้น : ให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ต้มรับประทานแก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมานแผลและห้ามเลือด
               เนื้อไม้ : ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึง และแกะสลัก     
               ผลดิบ : ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห และอวน     
               ผลแก่ : รับประทานได้   




ต้นสะเดา ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดอุทัยธานี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : 4.bp.blogspot.com

ภาคกลาง
๒๓ อุทัยธานี : ต้นสะเดา

อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดอุทัยธานี
               ชื่อไทย : อุทัยธานี
               ชื่ออังกฤษ : Uthai Thani
               อักษรย่อ : อน.
               ภาค : ภาคกลาง
               เนื้อที่ : ๖,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดนครสวรรค์
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดชัยนาท
               ทิศใต้ หวัดชัยนาท สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก



ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี ต้นสะเดา
               ชื่อทั่วไป สะเดา
               ชื่อสามัญ Neem Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Valeton
               วงศ์ MELIACEAE
               ชื่ออื่นๆ สะเลียม, กะเดา, จะตัง, สะเดาบ้าน
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณค่อนข้างแล้งและป่าแดง
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๘-๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก ยอดอ่อนที่แตกใหม่สีน้ำตาลแดง
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยมี ๗-๙ คู่ รูปไข่กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร ยาว ๔-๗ เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบโค้ง เนื่องจากแผ่นใบ ๒ ด้านมีขนาดไม่เท่ากัน
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อ แตกที่ปลายกิ่งพร้อมใบอ่อน กลีบดอก ๕ กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวนวล เกสรตัวผู้ ๑๐ กัน ออกดอกราวเดือนธันวาคม-มกราคม
               ผล : เป็นผลสด ทรงกลมรี ขนาด ๑-๒ เซนติเมตร เปลือกบาง เนื้อฉ่ำน้ำ เมื่อแก่มีสีเหลือง
               เมล็ด : มีเมล็ดเดียว แข็ง

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ชอบดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง เป็นไม้เบิกน้ำในที่แล้งได้ดี ในประเทศพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าแดงทั่วประเทศ
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน
               เปลือกต้น : ให้สีแดง
               ยาง : ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
               เปลือกของราก : เป็นยาแก้ไข้ ทำให้อาเจียน
               ใบอ่อน : รับประทานได้ และใช้กำจัดแมลง พวกเห็บ หมัด ไร
               ดอกอ่อน : รับประทานได้ เป็นยาบำรุงธาตุ
               ผล : ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ทำยากำจัดศัตรูพืชและเป็นยาฆ่าเชื้อ
               เมล็ด : สารสกัดจากเมล็ดใช้ทำเครื่องสำอาง และใช้กำจัด เห็บ หมัด ไร   


มีต่อ โปรดติดตาม
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2561 14:52:44 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 มีนาคม 2561 13:54:55 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด


ต้นมะหาด ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : karsetindy.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๔ กาฬสินธุ์ : ต้นมะหาด

หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย
ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดกาฬสินธุ์
               ชื่อไทย : กาฬสินธุ์
               ชื่ออังกฤษ : Kalasin
               อักษรย่อ : กส.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๖,๙๔๗ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสกลนคร
               ทิศตะวันออก จังหวัดมุกดาหาร
               ทิศใต้ จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
               ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น




 ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ต้นมะหาด
               ชื่อทั่วไป มะหาด
               ชื่อสามัญ Lok Hat
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb..
               วงศ์ MORACEAE
               ชื่ออื่นๆ หาด, ปาแต, หาดหนุน, กาแย, ตาแปง, ตาแป, มะหาดใบใหญ่
               ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบรูปขอบขนานรูปรีถึงรูปไข่ กว้าง ๕-๒๐ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร ผิวใบมีขนสากทั้งสองด้าน ขอบใบแก่เรียบหรือเป็นคลื่นบางๆ
               ดอก : มีขนาดดอกเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกรวมเป็นแท่งกลมขนาดเล็กตามง่ามใบปลายกิ่ง จะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
               ผล : รูปทรงกลม บุบเบี้ยว ผลสุกสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๑๐ เซนติเมตร เป็นผลช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ ขึ้นประปรายตามป่าดิบทั่วไป
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : หยาบ แข็ง เหนียว ทนทานมาก ใช้ในการก่อสร้างได้ และใช้ทำเครื่องดนตรี
               เปลือกต้น : ทำเชือก
               ราก : ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า ใช้เป็นยาแก้ไข้และยาขับพยาธิ  




ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดขอนแก่น
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : puechkaset.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๕ ขอนแก่น : ต้นกัลปพฤกษ์

พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูณ ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว
เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองรวยมวยโอลิมปิก

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดขอนแก่น
               ชื่อไทย : ขอนแก่น
               ชื่ออังกฤษ : Khon Kaen
               อักษรย่อ : ขก.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๑๐,๘๘๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุดรธานี
               ทิศตะวันออก จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคาม
               ทิศใต้ จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์
               ทิศตะวันตก จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์




ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น ต้นกัลปพฤกษ์
               ชื่อทั่วไป กัลปพฤกษ์
               ชื่อสามัญ Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree.
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ กานล์, เปลือกขม
               ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้ และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง ๕-๑๐ เมตร เปลือกสีเทา กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีขนนุ่ม
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย ๕-๖ คู่ แผ่นใบรูปใบหอกกลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑.๕-๓ เซนติเมตร
               ดอก : เริ่มบานจะมีสีชมพู เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีขาว ออกเป็นช่อยาว ๕-๑๒ เซนติเมตร ตามง่ามใบและกิ่งก้าน ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
               ผล : เป็นฝักรูปทรงกระบอก ยาว ๓๐-๔๐ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒-๒.๕ เซนติเมตร
               เมล็ด : มีจำนวนมาก ประมาณ ๓๐-๕๐ เมล็ด สีน้ำตาลเป็นมัน มีรูปร่างกลมแบนสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในทุกชนิด แสงแดดจัด ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทย
ประโยชน์
               เนื้อในฝัก : ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ได้  
               เปลือกต้น : ทำให้อาเจียน แก้ไข้  
               เมล็ด : ทำให้อาเจียน แก้พิษไข้
               เนื้อไม้และเปลือก : มีสารฝาด ใช้ฟอกหนัง  [/size]



ต้นขี้เหล็กบ้าน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดชัยภูมิ
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เคล็ดลับน่ารู้.com
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๖ ชัยภูมิ : ต้นขี้เหล็กบ้าน

ชัยภูมิ ทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม
ลือนามวีรบุรุษ สุดแดนผ้าไหม พระใหญ่ทวารวดี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชัยภูมิ
               ชื่อไทย : ชัยภูมิ
               ชื่ออังกฤษ : Chaiyaphum
               อักษรย่อ : ชย.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๑๒,๗๗๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดขอนแก่น
               ทิศตะวันออก ขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา
               ทิศใต้ จังหวัดนครราชสีมา
               ทิศตะวันตก เพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ ต้นขี้เหล็กบ้าน
               ชื่อทั่วไป ขี้เหล็กบ้าน
               ชื่อสามัญ Thai Copper Pod
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Lamk.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กใหญ่, ยะหา, ผักจี้ลี้, มะขี้เหละพะโตะ
               ถิ่นกำเนิด พบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าเบญจพรรณชื้น
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๕ เมตร เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ แตกตามยาวเป็นช่อง
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย ๗-๑๐ คู่ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง๑-๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๓-๗ เซนติเมตร ด้านล่างมีขนสั้น
               ดอก : สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว ๒๐-๓๐ เซนติเมตร
               ผล : เป็นฝักแบน สีน้ำตาล กว้าง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๓๐ เซนติเมตร มี ๒๐-๓๐ เมล็ด
               เมล็ด : รูปไข่ มี ๒๐-๓๐ เมล็ด ใน ๑ ฝัก เรียงตามขวางของผล
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง พบขึ้นทั่วไปในทวีปเอเชีย เขตศูนย์สูตร พบทุกภาคในประเทศไทย
ประโยชน์
               ราก : แก้ไข้ แก้ชัก
               ต้น : แก้โรคผิวหนัง เป็นยาระบาย
               เปลือกต้น : แก้ริดสีดวง
               กระพี้ : แก้ไข้ บำรุงโลหิต
               แก่น : แก้กามโรค ขับน้ำคาวปลา
               ใบ : ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้นิ่ว
               ดอก : ช่วยให้นอนหลับ แก้หืด เป็นยาระบาย
               ฝัก : ลดไข้
               ยอด : แก้โรคเบาหวาน
               ด่างไม้ : แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ




ต้นกันเกรา ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนครพนม
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : community.akanek.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๗ นครพนม : ต้นกันเกรา

พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนครพนม
               ชื่อไทย : นครพนม
               ชื่ออังกฤษ : Nakhon Phanom
               อักษรย่อ : นพ.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๕,๕๑๓ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดบึงกาฬ
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศใต้ จังหวัดมุกดาหาร
               ทิศตะวันตก จังหวัดสกลนคร



ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม ต้นกันเกรา
               ชื่อทั่วไป กันเกรา
               ชื่อสามัญ Anon, Tembusu
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea Fragrans Roxb.
               วงศ์ GENTIANACEAE
               ชื่ออื่นๆ มันปลา, ตำเสา, ทำเสา, ตะมุซู, ตำมูซู, ตาเตรา
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำแทบทุกภาคของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๑ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน
               ดอก : สีขาวครีมแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
               ผล : กลมเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖ มิลลิเมตร สีส้มแก่ สีแดงเลือดนก เป็นผลช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
               เมล็ด : มีขนาดเล็ก จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ขึ้นได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้นและตามที่ต่ำที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง      
               แก่น : มีรสฝาด ใช้บำรุงธาตุ แก้แน่นหน้าอก      
               เปลือก : ใช้บำรุงโลหิต แก้ผิวหนังพุพอง      




ต้นสาธร ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนครราชสีมา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : sites.google.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๘ นครราชสีมา : ต้นสาธร

เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนครราชสีมา
               ชื่อไทย : นครราชสีมา
               ชื่ออังกฤษ : Nakhon Ratchasima
               อักษรย่อ : นม.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๒๐,๔๙๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดชัยภูมิและขอนแก่น
               ทิศตะวันออก จังหวัดบุรีรัมย์
               ทิศใต้ จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดชัยภูมิและสระบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา ต้นสาธร
               ชื่อทั่วไป สาธร
               ชื่อสามัญ Papilionaceae
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia leucantha Kurz.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ กระเจ๊าะ, ขะเจ๊าะ, กระพี้เขาควาย, กะเชาะ, ขะแมบ, คำแมบ
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๘-๒๐ เมตร เปลือกสีเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ
               ใบอ่อนและยอดอ่อน : มีขนยาว ใบประกอบแบบขนนก ปลายเดี่ยวเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม ๓-๕ คู่ แผ่นใบย่อยรูปรี กว้าง ๓.๕-๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๒ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน
               ดอก : สีขาว รูปดอกถั่วสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
               ผล : เป็นฝักแบน คล้ายฝักมีด กว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาว ๔-๑๐ เซนติเมตร ฝักแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
               เมล็ด : รูปโล่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๓ เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นมาก พบมากในป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่วๆ ไป
ประโยชน์            
               เนื้อไม้ : ใช้ในการก่อสร้าง และทำเครื่องเรือน




ต้นสิรินธรวัลลี ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดบึงกาฬ
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : bloggang.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๙ บึงกาฬ : ต้นสิรินธรวัลลี

ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง
บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ
เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดบึงกาฬ
               ชื่อไทย : บึงกาฬ
               ชื่ออังกฤษ : Bueng Kan
               อักษรย่อ : บก.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๔,๓๐๕ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดนครพนม
               ทิศใต้ จังหวัดสกลนคร
               ทิศตะวันตก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดหนองคาย



ต้นไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ ต้นสิรินธรวัลลี
               ชื่อทั่วไป สิรินธรวัลลี
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia sirindhorniae K. & S. S. Larsen
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CASALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ สามสิบสองประดง
               ถิ่นกำเนิด พืชถิ่นเดียวของไทย พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบที่จังหวัดหนองคาย ตามชายป่าดิบแล้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว และบริเวณใกล้เคียง ระดับความสูง ๑๕๐-๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล
               ประเภท ไม้เถา เนื้อแข็ง

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้เลื้อย มีมือเกาะ ลำต้นทอดยาวได้ ๑๐-๒๐ เมตร กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น กิ่งแก่เกลี้ยง
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลมหรือหยักเว้าเล็กน้อย หรือแยกผ่าลึกถึงฐานใบ
               ดอก : มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงคล้ายห่อกาบ มีแยกเป็นแฉกตามยาว ๑-๒ แฉก กลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลืองหรือส้มแดง ออกดอกและผลช่วงเดือนสิงหาคม – ธันวาคม
               ผล : เป็นฝักแก่แล้วแตก เมล็ดแบน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ลำต้นและดอก : นำมาตากแห้งแล้วต้มแก้ปวดตามข้อ ตามเส้นเอ็น ถ้านำดอกมาตากแห้งผสมกับน้ำใช้ทารักษาฝีหนอง ใช้บำรุงรักษาระบบประสาท สมอง และการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ป้องกันโรคความดันและโรคเบาหวาน
               รากและต้น : แก้ฝี หนอง แก้ปวดตามข้อ เส้นเอ็น (โรคประดงเส้น) แก้ลมพิษ
               ดอก : ช่วยให้เจริญอาหาร




ต้นกาฬพฤกษ์ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : news.mthai.com
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๐ บุรีรัมย์ : ต้นกาฬพฤกษ์

เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดบุรีรัมย์
               ชื่อไทย : บุรีรัมย์
               ชื่ออังกฤษ : Buri Ram
               อักษรย่อ : บร.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๑๐,๓๒๓ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดสุรินทร์
               ทิศตะวันออก จังหวัดสุรินทร์
               ทิศใต้ จังหวัดสระแก้วและประเทศกัมพูชา
               ทิศตะวันตก จังหวัดนครราชสีมา




ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ต้นกาฬพฤกษ์
               ชื่อทั่วไป กาฬพฤกษ์
               ชื่อสามัญ Pink Shower, Horse Cassia
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia grandis Linn. F.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CASALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ กัลปพฤกษ์
               ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงถึง ๒๐ เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี ๑๐-๒๐ คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง ๑-๒ เซนติเมตร ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน
               ดอก : เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน
               ผล : เป็นฝักรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๔๐ เซนติเมตร
               เมล็ด : มี ๒๐-๔๐ เมล็ด
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งดี ชอบความชื้นน้อย
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ฝักเนื้อใน : ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ  




ต้นพฤกษ์ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดมหาสารคาม
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : i.ebayimg.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๑ มหาสารคาม : ต้นพฤกษ์

พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม
ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดมหาสารคาม
               ชื่อไทย : มหาสารคาม
               ชื่ออังกฤษ : Maha Sarakham
               อักษรย่อ : มค.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๕,๒๙๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์
               ทิศตะวันออก จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ด
               ทิศใต้ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์
               ทิศตะวันตก จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดบุรีรัมย์




ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม ต้นพฤกษ์
               ชื่อทั่วไป พฤกษ์
               ชื่อสามัญ Indian Walnut
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia lebbeck (L.) Benth.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ก้ามปู, ชุงรุ้ง, กะซึก, กาแซ, กาไพ, แกร๊ะ, ก้านฮุ้ง, กรีด, คะโก, จเร, จ๊าขาม, จามจุรี, ซึก, ตุ๊ด, ถ่อนา, ทิตา, พญากะบุก, มะขามโคก, มะรุมป่า, ชุ้งรุ้ง, กระพี้เขาควาย
               ถิ่นกำเนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาลอมเหลือง ขรุขระ เปลือกในสีแสด
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนงออกตรงข้ามกัน ๔-๙ คู่ แผ่นใบย่อยเล็กรูปขอบขนาน เบี้ยว กว้าง ๑-๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๒-๔ เซนติเมตร
               ดอก : มีขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นกลุ่มกลมที่ปลายก้าน ช่อฝักรูปขอบขนานแบนและบาง กว้าง ๒-๕ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร เมื่อแห้งสีฟางข้าว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
               เมล็ด : มี ๔-๑๐ เมล็ด เป็นฝักช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว ขึ้นได้ดีในพื้นที่เสื่อมโทรม
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือทางการเกษตร
               เปลือกต้น : ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง เปลือกมีรสฝาด ใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก  
               เมล็ด : รักษาโรคผิวหนัง  
               ใบ : ใช้ดับพิษร้อน ทำให้เย็น  



ต้นช้างน้าว ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดมุกดาหาร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : medthai.com
ภาคตะวันเฉียงเหนือ
๓๒ มุกดาหาร : ต้นช้างน้าว

หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน
กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดมุกดาหาร
               ชื่อไทย : มุกดาหาร
               ชื่ออังกฤษ : Mukdahan
               อักษรย่อ : มห.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๔,๓๔๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม
               ทิศตะวันออก ประเทศลาว
               ทิศใต้ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
               ทิศตะวันตก จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดกาฬสินธุ์



ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร ต้นช้างน้าว
               ชื่อทั่วไป ช้างน้าว
               ชื่อสามัญ Vietnamese Mickey Mouse plant
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna  integerrima (Lour.) Merr.
               วงศ์ OCHNACEAE
               ชื่ออื่นๆ กระแจะ, ช้างโน้ม, ช้างโหม, กำลังช้างสาร, ขมิ้นพระต้น, ตาลเหลือง, แง่ง, ตานนกกรด, ตาชีบ้าง, ตาลเหลือง, ฝิ่น, โว้โร้
               ถิ่นกำเนิด พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๓-๘ เมตร ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้ม ตาแข็งและแหลม
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง ๔-๗ เซนติเมตร ยาว ๘-๒๐ เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบใบจักถี่
               ดอก : สีเหลือง ออกเป็นช่อสั้นตามกิ่ง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม
               ผล : กลม เมื่อสุกสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร ติดอยู่บนฐานรองดอกสีแดง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ราก : ใช้ขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสีย
               ลำต้น : ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้อาการโรคผิวหนัง ผื่นคัน
               เปลือกต้น : แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤษภาคม 2561 15:20:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 มีนาคม 2561 13:58:38 »


พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด


ต้นกระบาก ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดยโสธร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : media-cdn.tripadvisor.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๓ ยโสธร : ต้นกระบาก

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดยโสธร
               ชื่อไทย : ยโสธร
               ชื่ออังกฤษ : Yasothon
               อักษรย่อ : ยส.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๔,๑๖๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดนครพนม
               ทิศตะวันออก จังหวัดอุบลราชธานี
               ทิศใต้ จังหวัดศรีสะเกษ
               ทิศตะวันตก จังหวัดร้อยเอ็ด



ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร ต้นกระบาก
               ชื่อทั่วไป ต้นกระบาก
               ชื่อสามัญ Mesawa
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Anisoptera costata Korth.
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ กระบากขาว, กระบากโคก, กระบากดำ, กระบากช่อ, ตะบาก, กระบากด้าง, กระบากแดง, ชอวาตาผ่อ, บาก, ประดิก, พนอง, หมีดังว่า
               ถิ่นกำเนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตามยาวของลำต้น เปลือกในสีเหลืองอ่อน เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ   
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หลังใบมีขนสีเหลือง กว้าง ๓-๘ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๖ เซนติเมตร ปลายใบคู่ โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขน
               ดอก : ขนาดเล็ก สีขาวปนเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
               ผล : ทรงกลม ผิวเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร มีปีกยาว ๒ ปีก เป็นผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์      
               เนื้อไม้ : สีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อหยาบ ใช้ทำเป็นไม้แบบ ลังใส่ของ      
               ชัน : ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงา ยาแนวไม้และเรือ      




ต้นกระบก ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์สารานุกรมพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๔ ร้อยเอ็ด : ต้นกระบก

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี
มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดร้อยเอ็ด
               ชื่อไทย : ร้อยเอ็ด
               ชื่ออังกฤษ : Roi Et
               อักษรย่อ : รอ.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๘,๒๙๙ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมุกดาหาร
               ทิศตะวันออก จังหวัดยโสธรและจังหวัดศรีสะเกษ
               ทิศใต้ จังหวัดสุรินทร์
               ทิศตะวันตก จังหวัดมหาสารคาม




ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ต้นกระบก
               ชื่อทั่วไป กระบก
               ชื่อสามัญ Kayu
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex  A.W.Benn.
               วงศ์ IRVIGIACEAE
               ชื่ออื่นๆ จะบก, ตระบก, หมากบก, มื่น, มะลื่น, หมักลื่น, กะบก, จำเมาะ, ชะอัง, บก, มะมื่น, หลักกาย
               ถิ่นกำเนิด ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ บางทีแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง ๒-๙ เซนติเมตร ยาว ๘-๒๐ เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม
               ดอก : ขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
               ผล : กลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว
               เมล็ด : แข็ง เนื้อในมีรสมัน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าดิบแล้งทั่วไป สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๕๐-๓๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้เผาถ่านดี ให้ความร้อนสูง เนื้อไม้เสี้ยนตรง แข็งมาก ไม่ทนในที่แจ้ง ใช้ทำอาหาร สบู่ เทียนไข      
               ผลสุก : เป็นอาหารพวกเก้ง กวาง และนก




ต้นสนสามใบ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดเลย
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : cru.ac.th

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๕ เลย : ต้นสนสามใบ

เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดเลย
               ชื่อไทย : เลย
               ชื่ออังกฤษ : Loei
               อักษรย่อ : ลย.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๑๑,๔๒๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศตะวันออก จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองบัวลำภู
               ทิศใต้ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเพชรบูรณ์
               ทิศตะวันตก จังหวัดพิษณุโลก



ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย ต้นสนสามใบ
               ชื่อทั่วไป สนสามใบ
               ชื่อสามัญ Kesiya Pine, Khasiya Pine
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon
               วงศ์ PINACEAE
               ชื่ออื่นๆ เกี๊ยะเปลือกแดง, เกี๊ยะเปลือกบาง, จ๋วง, สนเขา, เชี้ยงบั้ง, แปก, สนเกี๊ยะ
               ถิ่นกำเนิด ประเทศพม่า
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๔๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อน แตกสะเก็ดขนาดใหญ่ มักมียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแยก
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว ติดเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๓ ใบ รูปเข็ม ยาว ๑๐-๒๕ เซนติเมตร
               ดอก : แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม
               ผล : ออกรวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล กว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ยาว ๘ เซนติเมตร มีเมล็ดจำนวนมาก
               เมล็ด : ขนาดเล็ก มีปีก

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม  ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ขึ้นเป็นกลุ่มบนเขาหรือเนินเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐-๑,๖๐๐ เมตร
ประโยชน์
               ลำต้น : ใช้ในการก่อสร้าง ทำเยื่อกระดาษ
               ยาง : กลั่นเป็นน้ำมันและชัน
               น้ำมัน : ใช้ผสมยาทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย ทำน้ำมันชักเงา
               ชัน : ใช้ผสมยารักษาโรค




ต้นลำดวน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : i.pinimg.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๖ ศรีสะเกษ : ต้นลำดวน

หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี
มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดศรีสะเกษ
               ชื่อไทย : ศรีสะเกษ
               ชื่ออังกฤษ : Si Sa Ket
               อักษรย่อ : ศก.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๘,๘๔๐ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธรและจังหวัดร้อยเอ็ด
               ทิศตะวันออก จังหวัดอุบลราชธานี
               ทิศใต้ ประเทศกัมพูชา
               ทิศตะวันตก จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด




ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ต้นลำดวน
               ชื่อทั่วไป ลำดวน
               ชื่อสามัญ Devil Tree, White Cheesewood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
               วงศ์ ANNONACEAE
               ชื่ออื่นๆ หอมนวล
               ถิ่นกำเนิด พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๑๘-๒๐ เมตร เรือนยอดรูปกรวย ลำต้นเรียบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง ๒.๕-๔ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๑.๕ เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม
               ดอก : สีนวล กลิ่นหอม ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลีบดอกหนา ชั้นนอก ๓ กลีบ แผ่ออก ชั้นใน ๓ กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ออกมากช่วงเดือนตุลาคม
               ผล : สีเขียวอ่อน ยาว ปลายมน โคนผลแหลม สีเรียบเกลี้ยง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ประโยชน์
               ดอก : มีกลิ่นหอม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
               ดอกแห้ง : ปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้อาการเป็นลมวิงเวียน    




ต้นอินทนิลน้ำ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสกลนคร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : pstip.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๗ สกลนคร : ต้นอินทนิลน้ำ

พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร
แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสกลนคร
               ชื่อไทย : สกลนคร
               ชื่ออังกฤษ : Sakon Nakhon
               อักษรย่อ : สน.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๙,๖๐๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดบึงกาฬและจังหวัดหนองคาย
               ทิศตะวันออก จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม
               ทิศใต้ จังหวัดกาฬสินธุ์
               ทิศตะวันตก จังหวัดอุดรธานี



ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร ต้นอินทนิลน้ำ
               ชื่อทั่วไป อินทนิลน้ำ
               ชื่อสามัญ Queen’s Crape Myrtle, Queen’s Flower, Pride of India
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
               วงศ์ LYTHRACEAE
               ชื่ออื่นๆ ตะแบกดำ, ตะแบกอินเดีย, อินทนิล, บาเย, ฉ่วงมู, บางอบะซา, บาเอ บาเย
               ถิ่นกำเนิด ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๐-๒๔ เมตร เรือนยอดทรงกลม แผ่กว้าง เปลือกต้นค่อนข้างเรียบมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวตามต้น โตช้า
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง ๖-๑๐ เซนติเมตร ยาว ๑๑-๒๖ เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งเล็กๆ โคนใบมนหรือกลม แผ่นใบหนา
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกตั้งออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๑๐-๕๐ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กลีบดอกมี ๖ กลีบ มีสีม่วง สีม่วงปนชมพู สีชมพูหรือสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางดอก ๕-๘ เซนติเมตร กลีบดอกบางยับย่น ขอบกลีบดอกย้วย เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง ดอกออกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
               ผล : ผลเป็นรูปไข่เกือบกลม ยาว ๒-๓ เซนติเมตร เปลือกเรียบแข็ง เมื่อแก่แตกตามยาว ๖ พู ผลแก่ออกประมาณช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม
               เมล็ด : มีจำนวนมาก สีน้ำตาล มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นกระจายทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำในป่าเบญจพรรณชื้น และชายป่าดงดิบทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ประโยชน์
               ไม้ : ใช้ทำเสา เครื่องทางการเกษตร
               ใบ : ต้มน้ำกินแก้ปัสสาวะขัด เบาหวาน ใช้ใบอ่อนตากแดดแล้วชงเป็นชาลดความอ้วน    




ต้นมะค่าแต้ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสุรินทร์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : oknation.net

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๘ สุรินทร์ : ต้นมะค่าแต้

สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท
ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสุรินทร์
               ชื่อไทย : สุรินทร์
               ชื่ออังกฤษ : Surin
               อักษรย่อ : สร.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๘,๑๒๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม
               ทิศตะวันออก จังหวัดศรีสะเกษ
               ทิศใต้ ประเทศกัมพูชา
               ทิศตะวันตก จังหวัดบุรีรัมย์



ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ ต้นมะค่าแต้
               ชื่อทั่วไป มะค่าแต้
               ชื่อสามัญ Sepetir.
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Teijsm. & Miq.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ แต้, มะค่าหนาม, มะค่าหยุม, กรอก๊อส, กอเก๊าะ,  ก้าเกาะ, กอกก้อ
               ถิ่นกำเนิด ภูมิภาคอินโดจีนถึงมาเลเซีย ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๐-๒๕ เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ต่ำ
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ๓-๔ คู่ แผ่นใบย่อยรูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง ๓-๘ เซนติเมตร ปลายและโคนมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น
               ดอก : ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
               ผล : เป็นฝักรูปโล่ กว้าง ๔-๙ เซนติเมตร ผิวฝักมีหนามแหลมแข็ง แตกผลแก่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน
               เมล็ด : มี ๑-๓ เมล็ด
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นกระจายในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ค่อนข้างหยาบ แข็งแรง ทนทาน ทนมอดปลวกได้ดี แต่ไสกบตกแต่งยาก ใช้ในการก่อสร้าง และทำเครื่องมือทางการเกษตร ไถคราด และส่วนประกอบของเกวียน
               ฝักและเปลือก : ให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง  




ต้นชิงชัน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดหนองคาย
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : samunpri.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๙ หนองคาย : ต้นชิงชัน

วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดหนองคาย
               ชื่อไทย : หนองคาย
               ชื่ออังกฤษ : Nong Khai
               อักษรย่อ : นค.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๓,๐๒๗ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศตะวันออก จังหวัดบึงกาฬ
               ทิศใต้ จังหวัดสกลนคร และจังหวัดอุดรธานี
               ทิศตะวันตก จังหวัดเลย



ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย ต้นชิงชัน
               ชื่อทั่วไป ชิงชัน
               ชื่อสามัญ Rosewood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
               วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ประดู่ชิงชัน, ดูสะแดน, พยุงแกลบ, กะซิก
               ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ล่อนเป็นแว่นๆ
               ใบ : ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใยย่อย ๑๑-๑๗ ใบ เรียงสลับบนแกนกลาง แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่ปลายคี่ กว้าง ๑-๔ เซนติเมตร ยาว ๔-๘ เซนติเมตร โคนและปลายมน ผิวใบด้านล่างสีจางกว่าด้านบน
               ดอก : เป็นดอกเล็ก สีขาวแกมม่วง ออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
               ผล : เป็นฝักแบนๆ รูปหอก หัวท้ายแหลม กว้าง ๓-๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๗ เซนติเมตร
               เมล็ด : มี ๓ เมล็ด อยู่ในฝักแก่
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม  ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ ชอบขึ้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๕๐๐ เมตร
ประโยชน์
               เนื้อ : แข็ง เหนียว มีความทนทานมาก ใช้ทำเครื่องเรือน ส่วนประกอบเกวียน พานท้ายปืน เครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย ซอ จะเข้ ลูกระนาด กลองโทน รำมะนา กรับ ขาฆ้องวง    




ต้นพะยูง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : dnp.go.th

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๕ หนองบัวลำภู : ต้นพะยูง

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดหนองบัวลำภู
               ชื่อไทย : หนองบัวลำภู
               ชื่ออังกฤษ : Nong Bua Lam Phu
               อักษรย่อ : นภ.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๓,๘๕๙ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดอุดรธานี
               ทิศตะวันออก จังหวัดอุดรธานี
               ทิศใต้ จังหวัดขอนแก่น
               ทิศตะวันตก จังหวัดเลย



ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ต้นพะยูง
               ชื่อทั่วไป พะยูง
               ชื่อสามัญ Siamese Rosewood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre
               วงศ์ LEGUMIONOSAE-PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ขะยูง, แดงจีน, ประดู่เสน, กระยง, กระยูง, ประดู่ตม, ประดูลาย, พะยูงไหม
               ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับบนแกนกลาง ๗-๙ ใบ กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร ยาว ๔-๗ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจาง
               ดอก : ขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
               ผล : เป็นฝัก รูปขอบขนานแบนบาง กว้าง ๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๔-๖ เซนติเมตร เมล็ดมี ๑-๔ เมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม ฝักแก่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด ทนแล้ง ขึ้นได้ในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้นๆทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ละเอียด แข็งแรง ทน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึง แกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด
               ราก : แก้ไขพิษ
               เปลือกต้น : อมแก้ปากเปื่อย    





ต้นรัง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดอุดรธานี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : burmesesal.files.wordpress.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔๑ อุดรธานี : ต้นรัง

กรมหลวงประจักษ์สร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี
ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานี
               ชื่อไทย : อุดรธานี
               ชื่ออังกฤษ : Udon Thani
               อักษรย่อ : อด.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๑๑,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดหนองคาย
               ทิศตะวันออก จังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์
               ทิศใต้ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์
               ทิศตะวันตก จังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู



ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี ต้นรัง
               ชื่อทั่วไป รัง
               ชื่อสามัญ Burmese Sal, Ingyin
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea siamensis Miq.
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ เปา, ฮัง, เปาดอกแดง, เรียง, เรียงพนม, ลักป้าว, แลบอง, เหล่บอง
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๐ เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดหนาๆ ตามความยาวของลำต้น
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ โคนใบเว้า ปลายใบค่อนข้างมน ใบอ่อนที่เพิ่งแตกเป็นสีแดงอ่อนๆ
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ จะออกหลังผลัดใบ กลีบดอกมี ๕ กลีบ ปลายกลีบม้วนซ้อนเข้า ดอกจะร่วงง่ายมาก
               ผล : แข็งเป็นรูปไข่ มีปีกยาวๆ ๓ ปีก เป็นรูปใบพาย ยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร มีปีกสั้น ๒ ปีก ยาว ๒-๔ เซนติเมตร โคนปีกห่อหุ้มผล มีเส้นตามยาวของปีกตั้งแต่ ๗ เส้นขึ้นไป
 การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนกรวดและดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง พบขึ้นมากตามป่าแดงหรือป่าเต็งรังทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ เป็นไม้ที่ทนทานต่อไฟป่า ชอบขึ้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๕๐๐-๑,๐๐๐ เมตร มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : แข็ง ใช้ในการก่อสร้าง ทำส่วนประกอบของยานพาหนะ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร    


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2561 14:06:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 มีนาคม 2561 14:02:17 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด


ต้นยางนา ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : 4.bp.blogspot.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔๒ อุบลราชธานี : ต้นยางนา

อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์
ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดอุบลราชธานี
               ชื่อไทย : อุบลราชธานี
               ชื่ออังกฤษ : Ubon Ratchathani
               อักษรย่อ : อบ.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๑๖,๑๑๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดอำนาจเจริญและประเทศลาว
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศใต้ ประเทศกัมพูชา
               ทิศตะวันตก จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดยโสธร



ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ต้นยางนา
               ชื่อทั่วไป ยางนา
               ชื่อสามัญ Yang
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb.
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ ยาง, ยางขาว, ยางแม่น้ำ, ยางหยวก, ยางกุง, ยางควาย, ยางเนิน, ราลอย, ลอยด์, กาตีล, ขะยาง, เคาะ, จะเตียล, ชันนา, ยางตัง, ทองหลัก
               ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบ และตามที่ต่ำชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร เปลือกหนาเรียบ สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพู
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง ๘-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๓๕ เซนติเมตร หูใบหุ้มยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาล
               ดอก : สีชมพู ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
               ผล : เป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว ๕ ครีบ ปีกยาว ๒ ปีก ปีกสั้น ๓ ปีก เป็นผลช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
 การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม  ดินแทบทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นเป็นหมู่ในป่าดิบและตามที่ราบชุ่มชื้น ใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๖๐๐ เมตร
ประโยชน์
               ลำต้น : ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เมื่ออาบน้ำยาถูกต้องจะทนทานขึ้น
               น้ำมัน : ใช้ทาไม้ยาแนวเรือ ใช้เติมเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน    




ต้นตะเคียนหิน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : qsbg.org & nanagarden.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔๓ อำนาจเจริญ : ต้นตะเคียนหิน

พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา
เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดอำนาจเจริญ
               ชื่อไทย : อำนาจเจริญ
               ชื่ออังกฤษ : Amnat Charoen
               อักษรย่อ : อจ.
               ภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               เนื้อที่ : ๓,๑๖๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดยโสธรและจังหวัดมุกดาหาร
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดอุบลราชธานี
               ทิศใต้ จังหวัดอุบลราชธานี
               ทิศตะวันตก จังหวัดยโสธร



ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ต้นตะเคยนหิน
               ชื่อทั่วไป ตะเคียนหิน
               ชื่อสามัญ Malut, Thakien Hin
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea ferea Laness.
               วงศ์ DIPTEROCAPACEAE
               ชื่ออื่นๆ ตะเคียนทราย, อีแรด, เหลาเตา, ตะเคียนหนู
               ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ลาดเชิงเขาที่มีการระบายน้ำดี
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร เปลือกสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นสะเก็ด โคนต้นมักมีพูพอนต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม กิ่งอ่อนมีขนประปราย
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๓ เซนติเมตร ยาว ๘-๘.๕ เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งหู โคนมน
               ดอก : ขนาดเล็ก สีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม
               ผล : โดยประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร มีปีกยาว ๓ ปีก ผลแก่ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม
 การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินแทบทุกชนิด ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง เป็นพันธุ์ไม้หลักของป่าดิบแล้งที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๔๐๐ เมตร
ประโยชน์
               ไม้ : ใช้ทำเครื่องเรือน ต่อเรือขุด ทนทานและแข็งแรงมากในกลางแจ้ง
               ดอก : ใช้เข้ายาเป็นเกสรร้อยแปด
               ต้มน้ำจากเปลือก : ใช้ล้างแผล ผสมกับเกลืออมป้องกันฟันผุ
               เนื้อไม้ : ใช้เป็นส่วนประกอบทำยารักษาโรค เลือดลมไม่ปกติ แก้กษัย    



มีต่อ โปรดติดตาม
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2561 14:04:21 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2561 19:23:52 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม

ภาคเหนือ
๔๔ กำแพงเพชร : ต้นสีเสียดแก่น

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน
น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดกำแพงเพชร
               ชื่อไทย : กำแพงเพชร
               ชื่ออังกฤษ : KamphaengPhet
               อักษรย่อ : กพ.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๘,๖๐๗ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดตากและจังหวัดสุโขทัย
               ทิศตะวันออก จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร
               ทิศใต้ จังหวัดนครสวรรค์
               ทิศตะวันตก จังหวัดตาก




ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ต้นสีเสียดแก่น
               ชื่อทั่วไป สีเสียดแก่น
               ชื่อสามัญ Catechu Tree.
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE.
               ชื่ออื่นๆ สะเจ, สีเสียด, สีเสียดเหนือ, สีเสียดแก่นเหนือ
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง ๑๕ เมตร เปลือกเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นรูปกรวยต่ำๆ ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งเป็นคู่ทั่วไป
               ใบ : เป็นใบประกอบรูปขนนก ๒ ชั้น มีก้านแขนง ๑๐-๒๐ คู่ ใบย่อยเล็กเรียงกันอยู่หนาแน่นประมาณก้านละ ๓๐-๕๐ คู่
               ดอก : ขนาดเล็ก ออกเป็นชื่อแบบหางกระรอก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ยาวประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม
               ผล : เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล แตกเมื่อแห้ง เป็นผลระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เก็บเมล็ดช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ทนความแห้งแล้ง ขึ้นได้ดีในที่แห้งแล้งและภูเขาหิน
ประโยชน์
               ไม้ : ใช้ทำเสา ตง คาน สะพาน ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร ให้น้ำฝาดชนิด Catechol ใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
               แก่น : เป็นยาสมานแผล แก้โรคท้องร่วง บิด ไข้จับสั่น อมแก้ไอ แก้เสียงแห้ง รักษาแผลของต่อมในลำคอ รักษาเหงือก ลิ้น และฟัน รักษาโรคผิวหนัง ล้างแผลไฟไหม้
               เปลือกต้น : แก้บิด แก้ท้องเดิน ต้มกับน้ำใช้ล้างแผลเปื่อย              




ต้นกาซะลองดำ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดเชียงราย
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : BlogGang.com

ภาคเหนือ
๔๕ เชียงราย : ต้นกาซะลองคำ

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงราย
               ชื่อไทย : เชียงราย
               ชื่ออังกฤษ : Chiang Rai
               อักษรย่อ : ชร.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๑,๖๗๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ ประเทศพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จังหวัดพะเยา และจังหวัดลำปาง
               ทิศใต้ จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่
               ทิศตะวันตก จังหวัดเชียงใหม่ และประเทศพม่า



ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย ต้นกาซะลองคำ
               ชื่อทั่วไป กาซะลองคำ
               ชื่อสามัญ Tree Jasmine
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Redermachera ignea (Kurz) Steenis
               วงศ์ BIGNONIACEAE
               ชื่ออื่นๆ กากี, แคะเป๊าะ, สำเภาหลามต้น, จางจืด, สะเภา, อ้อยช้าง, ปีบทอง
               ถิ่นกำเนิด ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง๖-๒๐ เมตร เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลเทาหรือสีน้ำตาลเข้มเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ด
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ปลายคี่ ใบย่อย ๒-๕ คู่ รูปรีแกมรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก เรียงตรงข้าม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามลำต้นและกิ่ง ๕-๑๐ ดอก ช่อดอกมีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีม่วงแดง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น ๕ แฉก คล้ายรูประฆัง สีเหลืองอมส้มหรือสีส้ม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน
               ผล : เป็นฝักยาว เมื่อแก่จะแตกเป็น ๒ ซีก
               เมล็ด : มีลักษณะแบน มีปีก              
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง และการแยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือของประเทศไทย
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               เปลือกต้น : ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย
               ใบ : ตำคั้นน้ำหรือพอกใช้รักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด      




ต้นทองกวาว ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดเชียงใหม่
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : wonderherbals.com

ภาคเหนือ
๔๖ เชียงใหม่ : ต้นทองกวาว

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงใหม่
               ชื่อไทย : เชียงใหม่
               ชื่ออังกฤษ : Chiang Mai
               อักษรย่อ : ชม.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๒๐,๑๐๗ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ ประเทศพม่า
               ทิศตะวันออก จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง
               ทิศใต้ ประเทศพม่า
               ทิศตะวันตก จังหวัดแม่ฮ่องสอน




ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ต้นทองกวาว
               ชื่อทั่วไป ทองกวาว
               ชื่อสามัญ Flame of the Forest, Bastard Teak, Bengal Kinotree, Kino Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma Kuntze.
               วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE.
               ชื่ออื่นๆ กวาว, ก๋าว, จอมทอง, จ้า, จาน, ทองธรรมชาติ, ทองพรหมชาติ, ทองต้น
               ถิ่นกำเนิด ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้า หรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๘-๑๕ เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้นๆ
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อย ยอดรูปไข่กลับ ปลายมนโคนสอบ ส่วนอีก ๒ ใบ รูปไข่ค่อนข้างกว้าง โคนเบี้ยว
               ดอก : ดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีเหลืองถึงสีแดงแสด ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ยาว ๒-๑๕ เซนติเมตร กลีบดอก ๕ กลีบ ยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม
               ผล : ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด ขึ้นตามที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนภาคอื่นขึ้นกระจัดกระจาย ยกเว้นภาคใต้
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีสีสวย
               เปลือกต้น : ใช้ทำเชือกและกระดาษ
               ยาง : แก้ท้องร่วง
               ใบ : ตำพอกฝีและสิว ถอนพิษแก้ปวด ท้องขึ้น ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลัง
               เมล็ด : ใช้ขับพยาธิตัวกลม บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว ทาแก้คันและแสบร้อน              




ต้นแดง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดตาก
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Medthai.com

ภาคเหนือ
๔๗ ตาก : ต้นแดง

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดตาก
               ชื่อไทย : ตาก
               ชื่ออังกฤษ : Tak
               อักษรย่อ : ตก.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๖,๔๐๗ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง
               ทิศตะวันออก จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี
               ทิศใต้ จังหวัดกาญจนบุรี
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่า



ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก ต้นแดง
               ชื่อทั่วไป ไม้แดง
               ชื่อสามัญ Iron Wood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia xylocarpa var. kerrii (Craib & Hutch.) l.Nielsen
               วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSACEAE
               ชื่ออื่นๆ กร้อม, ไคว, คว้าย, จะลาน, ตะกร้อม, สะกรอม, ผ้าน
               ถิ่นกำเนิด เป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งทั่วๆ ไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๕ เมตร เนื้อไม้สีส้ม เปลือกไม้สีเทาปนเขียวถึงสีน้ำตาลแดง              
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกประมาณ ๔-๕ คู่ ห่างๆ ใบย่อยรูปหอก ปลายแหลมเนื้อบาง
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ทรงกลมสีเหลือง
               ผล : เป็นฝักแบบรูปขนาน แข็ง เมล็ด ๖-๑๐ เมล็ดต่อฝัก

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป สภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ ชอบแสงแดด
ประโยชน์
               ดอก : รสขม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ    
               แก่น : ขับฟอกบำรุงเลือด
               เปลือกต้น : รสฝาด สมาน ขับฟอก และบำรุงเลือด




ต้นเสลา ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนครสวรรค์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Phitsanulok Hotnews.com

ภาคเหนือ
๔๘ นครสวรรค์ : ต้นเสลา

เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนครสวรรค์
               ชื่อไทย : นครสวรรค์
               ชื่ออังกฤษ : Nakhon Sawan
               อักษรย่อ : นว.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๙,๕๙๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร
               ทิศตะวันออก จังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี
               ทิศใต้ จังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาทและอุทัยธานี
               ทิศตะวันตก จังหวัดตาก




ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ต้นเสลา
               ชื่อทั่วไป เสลา (อินทรชิต)
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstrormia loudonii Teijsm. & Binn.
               วงศ์ LYTHRACEAE.
               ชื่ออื่นๆ เกรียบ, ตะเกรียบ, ตะแบกขน, เสลาใบใหญ่
               ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอกหนาทึบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม เป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองหน้า
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี ๖ กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น สีขาวม่วง สีม่วงอมแดง กลีบดอกบานยับย่น ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม
               ผล : กลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกเป็น ๕-๖ พู เมล็ดมีจำนวนมาก มีกลีบเปลือกต้นสีเทาเข้มเกือบดำ ผิวขรุขระ มีรอยแตกเป็นทางยาว กิ่งโน้มลงต่ำ โตช้า

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เป็นฝักแบบรูปขนาน แข็ง ๖-๑๐ เมล็ดต่อฝัก ถ้าปลูกในพื้นที่ริมรั้วข้างบ้าน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย ๒-๕ เมตร หากปลูกเป็นแถวริมถนน ควรห่างไม่น้อยกว่า ๘ เมตร หลุมปลูกควรลึกและกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐-๑๐ เซนติเมตร
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนซุย แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีสีสวย
               เนื้อไม้ : นำมาเป็นไม้แกะสลัก




ต้นกำลังเสือโคร่ง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดน่าน
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์

ภาคเหนือ
๔๙ น่าน : ต้นกำลังเสือโคร่ง

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์
แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดน่าน
               ชื่อไทย : น่าน
               ชื่ออังกฤษ : Nan
               อักษรย่อ : นน.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๑,๔๗๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศใต้ หวัดอุตรดิตถ์
               ทิศตะวันตก จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่



ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน ต้นกำลังเสือโคร่ง
               ชื่อทั่วไป กำลังพญาเสือโคร่ง
               ชื่อสามัญ Birch
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Betula alnoides Buch. – Ham. ex G.Don
               วงศ์ BETULACEAE
               ชื่ออื่นๆ กำลังพญาเสือโคร่ง, กำลังเสือโคร่ง
               ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐-๓๕  เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ
               ยอด : ก่อนก้านใบและช่อดอกจะมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม หูใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม
               ใบ : เป็นรูปไข่แกมรูปหอก เนื้อในบางคล้ายกระดาษ ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อยาวแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ดอกย่อย ไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ เซนติเมตร กลีบรองดอกเป็นรูปโล่ ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ เซนติเมตร ด้านนอกมีขน รังไข่แบน ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม              
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ประโยชน์
               ฝักแก่ : เนื้อในสีน้ำตาลดำ รสหวาน เอียน ใช้เป็นยาถ่ายและยาระบายได้ เพราะในเนื้อมีสารแอนทราควิโนนอยู่หลายชนิด วิธีการใช้ โดยนำเนื้อในฝักแก่สีน้ำตาลดำประมาณ ๒ หัวแม่มือ น้ำหนัก ๔-๕ กรัม ต้มกับน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งเดียวหมดก่อนนอน หรือเช้ามืดก่อนรับประทานอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกประจำ สตรีมีครรภ์ก็ใช้ได้      




ต้นสารภี ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพะเยา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : kapook.com

ภาคเหนือ
๕๐ พะเยา : ต้นสารภี

กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง
บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดพะเยา
               ชื่อไทย : พะเยา
               ชื่ออังกฤษ : Phayao
               อักษรย่อ : พย.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๖,๓๓๕ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเชียงราย
               ทิศตะวันออก จังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำปาง
               ทิศใต้ จังหวัดแพร่
               ทิศตะวันตก จังหวัดน่านและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชาว




ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา ต้นสารภี
               ชื่อทั่วไป สารภี
               ชื่อสามัญ Salapee
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis (Miq.) T.Anderson.
               วงศ์ GUTTIFERAE.
               ชื่ออื่นๆ ทรพี, สร้อยพี, สารภี, สารภีแนน
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบในประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด แตกกิ่งจำนวนมาก
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง ๓-๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๔ เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา เหนียวและด้าน  สีเขียวเข้ม (คล้ายใบกระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า) เส้นใบขนาน (แต่เห็นได้ชัดเท่าใบกระทิง)
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ออกตามลำต้นและกิ่ง กลีบเลี้ยง ๒ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ รูปไข่ กว้าง ๐.๕ เซนติเมตร เริ่มบานเป็นสีขาว ใกล้โรยเป็นสีเหลือง เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก สีเหลืองเข้ม ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอมแรงตอนค่ำถึงเช้า แล้วร่วง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
               ผล : รูปกระสวย ยาว ๒-๓ เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง เนื้อนุ่ม เป็นฝักแบน รูปขนาน แข็ง ๖-๑๐ เมล็ดต่อฝัก
               เมล็ด : มี ๑ เมล็ดใน ๑ ผล

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ดอก : ใช้ทำเครื่องหอม บุหงา
               ผล : เมื่อผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน แต่ถ้ายางถูกลมจะมีรสขม เวลารับประทานต้องใช้นิ้วบีบลูกปลิ้นเข้าปากเลยจึงจะมีรสหวาน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 พฤษภาคม 2561 08:47:43 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2561 13:45:19 »


ต้นบุนนาค ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพิจิตร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Pantip.com

ภาคเหนือ
๕๑ พิจิตร : ต้นบุนนาค

ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ
ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดพิจิตร
               ชื่อไทย : พิจิตร
               ชื่ออังกฤษ : Phichit
               อักษรย่อ : พจ.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๔,๓๕๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดพิษณุโลก
               ทิศตะวันออก จังหวัดเพชรบูรณ์
               ทิศใต้ จังหวัดนครสวรรค์
               ทิศตะวันตก จังหวัดกำแพงเพชร



ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร ต้นบุนนาค
               ชื่อทั่วไป บุนนาค
               ชื่อสามัญ Iron Wood, Ceylon Iron Wood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea Linn.
               วงศ์ GUTTIFERAE
               ชื่ออื่นๆ นาคบุตร, ปะนาคอ,สารภีดอย, ก๊าก่อ, ก้ำก่อ
               ถิ่นกำเนิด ทุกภาคของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง  ๑๕-๒๕  เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์ต่ำ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปไข่ ขอบใบเรียบ ท้องใบสีขาวนวล
               ดอก : เป็นดอกเดี่ยว สีขาวนวล กลีบดอกมี ๕ กลีบ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
               ผล : เป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง เป็นผลช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ขึ้นประปรายในป่าดิบชื้นทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐๐-๗๐๐ เมตร
ประโยชน์
               ราก : แก้ลมในลำไส้
               เปลือก : ใช้กระจายหนอง
               กระพี้ : แก้เสมหะในลำคอ
               ไม้ : เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้างเสารอด ต่อเรือ ทำพานท้ายและรางปืน ด้ามร่ม
               ใบ : พอกแผลสด
               ดอก : บำรุงโลหิต ระงับกลิ่นตัว ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดทน
               เมล็ด : น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดใช้จุดตะเกียง และทำเครื่องสำอาง




ต้นปีบ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพิษณุโลก
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : NanaGarden.com

ภาคเหนือ
๕๒ พิษณุโลก : ต้นปีบ

พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ
หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดพิษณุโลก
               ชื่อไทย : พิษณุโลก
               ชื่ออังกฤษ : Phisnulok
               อักษรย่อ : พล.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๐,๘๑๕ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศตะวันออก จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย
               ทิศใต้ จังหวัดพิจิตร
               ทิศตะวันตก จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร



ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ต้นปีบ
               ชื่อทั่วไป ปีบ
               ชื่อสามัญ Cork Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn. F.
               วงศ์ BIGNONIACEAE
               ชื่ออื่นๆ กาซะลอง, กาดสะลอง, เต็กตองโพ่
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย
               ประเภท พืชใบเลี้ยงคู่ ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๒๕  เมตร เปลือกต้นสีเทา ขรุขระ
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้า
               ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาว เป็นหลอดยาว ปลายแยก ๕ แฉก
               ผล : เป็นฝักแบน แก่จะแตก เมล็ดมีปีก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น
ประโยชน์                
               ดอก : แห้งมวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด
               ราก : บำรุงปอด แก้หอบ
               ยอดอ่อน : ต้มเป็นผัก จิ้มน้ำพริก




ต้นมะขาม ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Pantip.com

ภาคเหนือ
๕๓ เพชรบูรณ์ : ต้นมะขาม

เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดเพชรบูรณ์
               ชื่อไทย : เพชรบูรณ์
               ชื่ออังกฤษ : Phetchabun
               อักษรย่อ : พช.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๒,๖๘๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเลย
               ทิศตะวันออก จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิ
               ทิศใต้ จังหวัดลพบุรี
               ทิศตะวันตก จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์



ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ต้นมะขาม
               ชื่อทั่วไป มะขาม
               ชื่อสามัญ Tamarind, Indian Date  
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
               วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ขาม, ตะลูบ, ม่องโคล้ง, มอดเล, หมากแกง, อำเปียล, ส่ามอเกว
               ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน
               ประเภท พืชใบเลี้ยงคู่ ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา
               ใบ : เป็นใบประกอบ ใบเล็ก ออกตามกิ่งก้านเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขนาน ใบมน
               ดอก : ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กๆ กลีบดอกสีเหลือง ตรงกลางมีจุดประสีแดง
               ผล : เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา
               เมล็ด : เป็นสีน้ำตาลเกรียม

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง และการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ประโยชน์
               เมล็ด : ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย
               ใบ : ขับเสมหะ
               แก่นของลำต้น : ขับโลหิต
               เนื้อของผล : เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ
               ส่วนที่เป็นผัก : ได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักมะขามอ่อน รับประทานกับน้ำพริก ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ใส่แกงต้มโคล้งกับปลากรอบ หรือต้มยำ




ต้นยมหิน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดแพร่
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : fca16mr.com

ภาคเหนือ
๕๔ แพร่ : ต้นยมหิน

หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดแพร่
               ชื่อไทย : แพร่
               ชื่ออังกฤษ : Phrae
               อักษรย่อ : พร.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๖,๕๓๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดพะเยาและน่าน
               ทิศตะวันออก จังหวัดน่าน
               ทิศใต้ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดสุโขทัย
               ทิศตะวันตก จังหวัดลำปาง



ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่ ต้นยมหิน
               ชื่อทั่วไป ยมหิน
               ชื่อสามัญ Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Chukrasia velutina Roem.
               วงศ์ MELIACEAE
               ชื่ออื่นๆ โค้โย่ง, ช้ากะเดา, ยมขาว, ยมหิน, มะเฟืองต้น, สะเดาช้าง, สะเดาหิน, ริ้งบ้าง, รี, เสียดค่าย
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวย เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ
               ใบ : เป็นใบประกอบ ออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง
               ดอก : ออกดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
               ผล : กลมรี แข็ง สีน้ำตาลอมม่วง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา ขื่อ ทำเครื่องมือ เครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือ




ต้นกระพี้จั่น ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : bansuanporpeang.com

ภาคเหนือ
๕๕ แม่ฮ่องสอน : ต้นกระพี้จั่น

หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
               ชื่อไทย : แม่ฮ่องสอน
               ชื่ออังกฤษ : Mae Hong Son
               อักษรย่อ : มส.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๒,๖๘๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ ประเทศพม่า
               ทิศตะวันออก จังหวัดเชียงใหม่
               ทิศใต้ จังหวัดตาก
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่า



ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้นกระพี้จั่น
               ชื่อทั่วไป กระพี้จั่น              
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia brandisiana Kurz.
               วงศ์ LEGUMINOSAE–PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ จั่น, ปี้จั่น
               ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๘-๒๐ เมตร เปลือกสีเทา
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบ เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง
               ดอก : รูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
               ผล : เป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำราก
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี
ประโยชน์
               ไม้ : ทำเยื่อกระดาษ ด้ามเครื่องมือ ของเล่นเด็ก ทำดอกไม้ประดิษฐ์




ต้นขะจาว ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดลำปาง
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : samunpri..com

ภาคเหนือ
๕๖ ลำปาง : ต้นขะจาว

ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดลำปาง
               ชื่อไทย : ลำปาง
               ชื่ออังกฤษ : Lampang
               อักษรย่อ : ลป.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๑๒,๕๓๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพะเยา
               ทิศตะวันออก จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่และสุโขทัย
               ทิศใต้ จังหวัดสุโขทัยและตาก
               ทิศตะวันตก จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและตาก



ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง ต้นขะจาว
               ชื่อทั่วไป ขะจาว
               ชื่อสามัญ Indian Elm
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch.
               วงศ์ ULMACEAE
               ชื่ออื่นๆ กระเจา, กระเชา, กะเซาะ, กระเช้า, กาจอ, กาซาว, เจง, ซะเจา, พูคาว, มหาเหนียว, และฮ้างค้าว
               ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงถึง ๒๕ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็กๆ สีขาว มองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่ม ทรงรูปไข่กว้าง ค่อนข้างทึบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อมๆ กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๔ เซนติเมตร โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีขนคลุม
               ดอก : ขนาดเล็ก ออกรวมกันเป็นกระจุกตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม
               ผล : รูปโล่ แบน กว้างยาวประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย ๒ อัน ติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
               เมล็ด : มีลักษณะแบน มีปีก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย
ประโยชน์                
               ไม้ : ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในร่ม ทำเครื่องมือทางการเกษตร พานท้ายปืน
               เปลือก : ทำยารักษาเรื้อนของสุนัข กันตัวไร และเป็นยาแก้ปวดตามข้อ




ต้นจามจุรี ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดลำพูน
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : sites.google..com (พรรณไม้ในโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม)

ภาคเหนือ
๕๗ลำพูน : ต้นจามจุรี

พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดลำพูน
               ชื่อไทย : ลำพูน
               ชื่ออังกฤษ : Lamphun
               อักษรย่อ : ลพ.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๔,๕๐๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
               ทิศตะวันออก จังหวัดลำปาง
               ทิศใต้ จังหวัดลำปางและจังหวัดตาก
               ทิศตะวันตก จังหวัดเชียงใหม่



ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน ต้นจามจุรี
               ชื่อทั่วไป จามจุรี
               ชื่อสามัญ Rain Tree, Indian Walnut, Monkey Pod
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq.) Merr.
               วงศ์ LEGUMINOSAE
               ชื่ออื่นๆ ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู, ฉำฉา, ตุ๊ดตู่, ลัง, สารสา, สำสา, เส่คุ, เส่ดู่
               ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้เขตร้อน
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ กิ่งมีขนาดใหญ่ เปลือกแตกเป็นร่องตามยาว กิ่งอ่อนมีขนประปราย
               ใบ : เป็นใบย่อยรูปไข่ รูปรี ปลายมน โคนเบี้ยว ขอบเรียบ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม
               ดอก : ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อตั้งขึ้น ฝักรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์
               เมล็ด : เรียงเป็นแถวตามความยาวของฝัก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ประโยชน์
               เปลือก : แก้โรคในปาก ในคอ เหงือกบวม หรือปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วง ห้ามโลหิตตกใน
               ใบ : แก้กระหายน้ำ แก้ท้องเสีย ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
               เมล็ด : แก้กลากเกลื้อนและโรคเรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
               ทั้งต้น : แก้กระหายน้ำ พอกฝี แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้หนองใน แก้บิด แก้ฝีอักเสบ




ต้นมะค่าโมง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสุโขทัย
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์ สมุนไพรดอทคอม

ภาคเหนือ
๕๘ สุโขทัย : ต้นมะค่าโมง

มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสุโขทัย
               ชื่อไทย : สุโขทัย
               ชื่ออังกฤษ : Sukhothai
               อักษรย่อ : สท.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๖,๕๙๖ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดแพร่และจังหวัดอุตรดิตถ์
               ทิศตะวันออก จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์
               ทิศใต้ จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิษณุโลก
               ทิศตะวันตก จังหวัดตากจังหวัดลำปาง



ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย ต้นมะค่าโมง
               ชื่อทั่วไป มะค่าโมง
               ชื่อสามัญ Makha Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib.
               วงศ์ LEGUMINOSAE- CAESALPINIOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ เขง, เบง, ปิ้น
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่ ๓๐ เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้า
               ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว ๔ กลีบ กลีบดอกสีชมพู ๑ กลีบ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
               ผล : เป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด
ประโยชน์
               ลำต้น : ที่เป็นปุ่มจะมีรสเบื่อเมา ใช้ในการถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริดสีดวงทวาร
               เนื้อไม้ : ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
               เปลือกต้น : นำมาผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้ อย่างละครึ่งกำมือ ทำเป็นยาประคบแก้ฟกช้ำ ปวดบวม
               เมล็ด : เนื้อในเมล็ดอ่อนกินได้




ต้นสัก ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Medthai.com

ภาคเหนือ
๕๙ อุตรดิตถ์ : ต้นสัก

เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดอุตรดิตถ์
               ชื่อไทย : อุตรดิตถ์
               ชื่ออังกฤษ : Uttaradit
               อักษรย่อ : อต.
               ภาค : เหนือ
               เนื้อที่ : ๗,๘๓๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
               ทิศตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               ทิศใต้ จังหวัดพิษณุโลก
               ทิศตะวันตก จังหวัดสุโขทัย



ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ต้นสัก
               ชื่อทั่วไป สัก
               ชื่อสามัญ Teak
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis Linn.F.
               วงศ์ VERBENACEAE
               ชื่ออื่นๆ เคาะเยียโอ, ปายี้, บีอี ปีฮือ เป้อยี, สัก, เส่บายี้
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนขนาดใหญ่ กิ่งมัน ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ผิวเรียบ หรือแตกเป็นร่อง สูงถึง ๕๐  เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆ สีแดง
               ดอก : เป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
               ผล : เป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ ภายในมี ๑-๓ เมล็ด
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สภาพที่เหมาะสม ดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : สวยงาม ทนทาน ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ล้อเกวียน ประตูหน้าต่าง พานท้าย ราวปืน ทำไม้อัด
               ใบอ่อน : ให้สีแดง ใช้ย้อมกระดาษ หรือย้อมผ้า
               ใบ : แก้โรคเบาหวาน
               ดอก : ขับปัสสาวะ
               เปลือก : สมานแผล
               แก่น : ขับพยาธิ บำรุงโลหิต แก้ไอ ขับลม แก้บวม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 พฤษภาคม 2561 13:51:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2561 15:32:58 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด


ต้นทุ้งฟ้า ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดกระบี่
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์สารานุกรมพืช

ภาคใต้
๖๐ กระบี่ : ต้นทุ่งฟ้า

กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดกระบี่
               ชื่อไทย : กระบี่
               ชื่ออังกฤษ : Krabi
               อักษรย่อ : กบ.
               ภาค : ภาคใต้
               เนื้อที่ : ๔,๗๐๙ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง
               ทิศใต้ จังหวัดตรังและทะเลอันดามัน
               ทิศตะวันตก จังหวัดพังงาและทะเลอันดามัน




ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่ ต้นทุ้งฟ้า
               ชื่อทั่วไป ทุ่งฟ้า
               ชื่อสามัญ Devil-tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macrophylla Wall. ex G. Don.
    วงศ์ APOCYNACEAE
               ชื่ออื่นๆ พวงพร้าว, ทุ่งฟ้าไก่, ตีนเทียน, กระทุ้งฟ้าไห้, ทุ้งฟ้าไก่, ทุ้งฟ้า
               ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๕ เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดค่อนข้างสูงโปร่ง เปลือกต้นสีขาวอมเทาหรือสีเทาอ่อน มีรูระบายอากาศทั่วไป
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่แกมรูปใบหอกกลับ กว้าง ๓-๑๐.๒ เซนติเมตร ยาว ๕.๕-๒๘ เซนติเมตร ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว
               ดอก : สีขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ตามปลายกิ่ง ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
               ผล : เป็นฝัก เมื่อแก่แตกบิดเป็นเกลียว เมล็ดเล็ก มีพู่สีขาว ปลิวได้
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตในสภาพดินลึก ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นมาก ขึ้นประปรายในป่าดิบและบนพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางทางภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์
               ไม้ : ใช้ทำกระดานพื้น ฝา เครื่องเรือน และเครื่องใช้เบาๆ ลักษณะเนื้อไม้คล้ายไม้ตีนเป็ด
               ราก : ใช้ผสมยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำหนัด ขับระดู รักษาบาดแผล แก้ไข แก้ไขป่า




ต้นมะเดื่อชุมพร ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดชุมพร
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Medthai.com

ภาคใต้
๖๑ ชุมพร : ต้นมะเดื่อชุมพร
ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชุมพร
               ชื่อไทย : ชุมพร
               ชื่ออังกฤษ : Chumphon
               อักษรย่อ : ชพ.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๖,๐๑๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
               ทิศตะวันออก ติดกับทะเลอ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ทิศตะวันตก จังหวัดระนองและประเทศพม่า




ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร ต้นมะเดื่อชุมพร
               ชื่อทั่วไป มะเดื่อชุมพร
               ชื่อสามัญ Cluster fig, Goolar (Gular),  Fig.
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa L.
               วงศ์ MORACEAE
               ชื่ออื่นๆ มะเดื่อ, มะเดื่อชุมพร, กูแซ, เดื่อเกลี้ยง, เดื่อน้ำ
               ถิ่นกำเนิด ในประเทศศรีลังกา เอเชียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง ๖-๒๐ เมตร กิ่งอ่อน มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ ต่อมาจะหลุดร่วง
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึงกลม ก้านใบยาว ๑๐.๕ เซนติเมตร
               ดอก : ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุก
               ผล : รูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงสีม่วง
 การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนและมีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำได้ดี
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
               ผล : รับประทานได้ มีรสฝาดเย็น แก้ท้องร่วง และสมานบาดแผล              




ต้นศรีตรัง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดตรัง
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : treegardenshop.lnwshop.com
ภาคใต้
๖๒ ตรัง : ต้นศรีตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา
เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดตรัง
               ชื่อไทย : ตรัง
               ชื่ออังกฤษ : Trang
               อักษรย่อ : ตง.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๔,๙๑๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
               ทิศตะวันออก จังหวัดพัทลุง
               ทิศใต้ จังหวัดสตูลและทะเลอันดามัน
               ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอันดามันและจังหวัดกระบี่



ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง ต้นศรีตรัง
               ชื่อทั่วไป ศรีตรัง
               ชื่อสามัญ Green Ebony
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda filicifolia (Anderson) D.Don.
               วงศ์ BIGNONIACEAE
               ชื่ออื่นๆ แคฝอย
               ถิ่นกำเนิด ไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๔-๑๐ เมตร เรือนยอดโปร่ง
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยเล็กมาก
               ดอก : สีม่วง ออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง กลีบดอก ๕ กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ทิ้งใบก่อนออกดอก
               ผล : เป็นฝักแบน กว้าง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น ๒ ซีก เมล็ดมีปีก
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง




ต้นแซะ ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : plantsofasia.com

ภาคใต้
๖๓ นครศรีธรรมราช : ต้นแซะ

เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม
เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
               ชื่อไทย : นครศรีธรรมราช
               ชื่ออังกฤษ : Nakhon Si Thammarat
               อักษรย่อ : นศ.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๙,๙๔๓ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ทิศตะวันออก ทะเลอ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดตรัง พัทลุง และจังหวัดสงขลา
               ทิศตะวันตก จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่



ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้นแซะ
               ชื่อทั่วไป แซะ
               ชื่อสามัญ Tulang Daing, Purple Millettia
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Callerya atropurpurea (Wall.) A.M. Schot
               วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ กระแซะ, พุงหมู, กะแซะ, ยีนิเก๊ะ, แซะ
               ถิ่นกำเนิด พบตามชายป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด ล่อนเป็นแผ่น
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายเดี่ยว ใบย่อยออกตรงกันข้าม ๓-๕ คู่ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง ๓-๘ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๘ เซนติเมตร
               ดอก : รูปดอกถั่ว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน
               ผล : เป็นฝัก กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร เมล็ดมี ๑-๓ เมล็ด สีน้ำตาล กลมรี กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร ผลแก่หลังจากออกดอกประมาณ ๒ เดือน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐-๕๐ เมตร
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป  แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะเนื้อไม้เป็นที่ชอบของมดและแมลง โดยมากมักใช้ทำฟืนและถ่าน
               ยอดอ่อน : นิยมรับประทานเป็นผักสด      




ต้นตะเคียนชันตาแมว ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดนราธิวาส
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์สารานุกรมพืช

ภาคใต้
๖๔ นราธิวาส : ต้นตะเคียนชันตาแมว

ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดนราธิวาส
               ชื่อไทย : นราธิวาส
               ชื่ออังกฤษ : Narathiwat
               อักษรย่อ : นธ.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๔,๔๗๕ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดปัตตานี
               ทิศตะวันออก ทะเลอ่าวไทย
               ทิศใต้ ประเทศมาเลเซีย
               ทิศตะวันตก จังหวัดยะลา



ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส ต้นตะเคียนชันตาแมว
               ชื่อทั่วไป ตะเคียนชันตาแมว
               ชื่อสามัญ Chingal
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Neobalanocarpus heimii (King) P.S. Ashton
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ ตะเคียนชัน, จีงามาส
               ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบ พบมากที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓๐-๔๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ล่อนเป็นสะเก็ด มีชันสีขาว
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปดาบ กว้าง ๒-๔ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๕ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ
               ดอก : สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
               ผล : เป็นรูปขอบขนานปลายโค้ง กว้าง ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๗ เซนติเมตร มีกลีบเป็นกระทง ๕ พู หุ้มแนบอยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ ของผล              
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง จะขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบ
ประโยชน์            
               เนื้อไม้ : ทนทาน แข็งแรง ใช้ในการก่อสร้าง ทำเรือสำเภาเดินทะเล เสากระโดงเรือ ชัน มีราคาสูง ใช้ผสมน้ำมันทาไม้และน้ำมันชักเงา




ต้นตะเคียนทอง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดปัตตานี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Medthai.com

ภาคใต้
๖๕ ปัตตานี : ต้นตะเคียนทอง

เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดปัตตานี
               ชื่อไทย : ปัตตานี
               ชื่ออังกฤษ : Pattani
               อักษรย่อ : ปน.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๑,๙๔๐ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ อ่าวไทย
               ทิศตะวันออก อ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส
               ทิศตะวันตก จังหวัดสงขลา



ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี ต้นตะเคียนทอง
               ชื่อทั่วไป ตะเคียนทอง
               ชื่อสามัญIron wood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ โกกี้, แคน, จะเคียน, ตะเคียนใหญ่, กะกี้, จูเค้, โซเก, ตะเคียนทอง, ไพร
               ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน
               ประเภท ไม้เถา เนื้อแข็ง

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เรียงสลับ แกมรูปหอกหรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จดกัน
               ดอก : ขนาดเล็ก สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
               ผล : รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีกยาว ๒ ปีก ปีกสั้น ๓ ปีก ผลแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ขึ้นตามที่ราบลุ่มและชุ่มชื้นทั่วทุกภาค ในช่วงที่ต้นยังไม่โตจะไม่ชอบแสงแดดจัด
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : มีความทนทาน ทนปลวกได้ดี ไสกบตกแต่งและชักเงาได้ดี ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ใช้ทำเครื่องเรือน สะพาน ทำเรือ วงกบประตูหน้าต่าง ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ทำน้ำมันชักเงา




ต้นเทพทาโร ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพังงา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : th.wikipedia.org
ภาคใต้
๖๖ พังงา : ต้นเทพทาโร

แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดพังงา
               ชื่อไทย : พังงา
               ชื่ออังกฤษ : Phangnga
               อักษรย่อ : พง.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๔,๑๗๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดระนอง
               ทิศตะวันออก จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่
               ทิศใต้ จังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน
               ทิศตะวันตก ทะเลอันดามัน



]
ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา ต้นเทพทาโร
               ชื่อทั่วไป เทพทาโร
               ชื่อสามัญ Citronella Laurel
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm
               วงศ์ Lauraceae
               ชื่ออื่นๆ จะไคหอม, จะไคต้น, จวงหอม, พลูต้นขาว, มือแดกะมางิง
               ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อนจนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อน เกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว ๗-๒๐ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร
               ดอก : สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง
               ผล : ขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๗ เซนติเมตร สีเขียว              
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นในป่าดิบบนเขาทั่วประเทศ พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               เนื้อไม้ : มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียง ทำตู้ หีบใส่เสื้อผ้า กันมอดและแมลงอื่นๆ ใช้เป็นยาสมุนไพร
               เปลือก : เป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาว ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ  




ต้นพะยอม ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดพัทลุง
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : halsat.com

ภาคใต้
๖๗ พัทลุง : ต้นพะยอม

เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดพัทลุง
               ชื่อไทย : พัทลุง
               ชื่ออังกฤษ : Phatthalung
               อักษรย่อ : พท.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๓,๔๒๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา
               ทิศตะวันออก ทะเลสาบสงขลา
               ทิศใต้ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล
               ทิศตะวันตก จังหวัดตรัง




ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง ต้นพะยอม
               ชื่อทั่วไป พะยอม
               ชื่อสามัญ White meranti
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ กะยอม, ขะยอม, ขะยอมดง, พะยอมดง, แคน, เชียง, เซี่ยว, พะยอม, พะยอมทอง, ยางหยวก
               ถิ่นกำเนิด พบตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ตลอดจนป่าดิบแล้งทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบระยะสั้น สูง ๑๕-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือสีเทา แตกเป็นร่องตามยาวของลำต้น
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน มนรีแคบ ปลายมน ใบแก่บางสีเขียวเข้ม กิ่งก้านสีน้ำตาลเข้ม
               ดอก : ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่งจำนวนมาก กลีบดอกบิดเป็นเกลียวเชื่อมกันที่ฐาน สีขาว กลิ่นหอม
               ผล : มีปีกยาว ๓ ปีก ปีกแคบปลายแหลม เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลแก่ ปีกสั้น ๒ ปีก คล้ายผลยาง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : มีลักษณะคล้ายไม้ตะเคียนทอง ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องเรือน
               เปลือก : มีรสฝาด ใช้เป็นยาสมานลำไส้  
               ยาง : ชันไม้ผสมน้ำมันทาไม้และยาแนวเรือ  
               ดอก : นำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ลม บำรุงหัวใจ  




ต้นประดู่บ้าน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดภูเก็ต
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : 604 2558 jaraporn.com
ภาคใต้
๖๘ ภูเก็ต : ต้นประดู่บ้าน

ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ต
               ชื่อไทย : ภูเก็ต
               ชื่ออังกฤษ : Phuket
               อักษรย่อ : ภก.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๕๔๓ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะอยู่ในทะเล ไม่มีแผ่นดินเป็นอาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ -
               ทิศตะวันออก -
               ทิศใต้ -
               ทิศตะวันตก -



ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต ต้นประดู่บ้าน
               ชื่อทั่วไป ประดู่บ้าน
               ชื่อสามัญ Burmese Rosewood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus  Willd.
               วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ประดู่กิ่งอ่อน, สะโน, อังสนา, ดู่บ้าน, ประดู่ลาย, ประดู่ไทย
               ถิ่นกำเนิด มาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่างเบงกอล
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร เรือนยอดรูปกลมหรือรูปร่มทึบ ปลายกิ่งจะห้อยย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดทั่วไป เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับกัน ๔-๑๐ ใบ
               ดอก : สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อยาว ๒๐-๓๐ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
               ผล : รูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม พบในป่าดิบภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป สามารถปลูกได้ทั่วไป ต้องการน้ำปานกลาง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องเรือน เครื่องดนตรี
               เปลือก : ให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า
               แก่น : ให้สีแดงคล้ำ
               ใบและดอก : ทำให้ฝีสุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน ใช้สระผม




ต้นโสกเหลือง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดยะลา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : YouTube

ภาคใต้
๖๙ ยะลา : ต้นโสกเหลือง

ยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดยะลา
               ชื่อไทย : ยะลา
               ชื่ออังกฤษ : Yala
               อักษรย่อ : ยล.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๔,๕๒๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี
               ทิศตะวันออก จังหวัดนราธิวาสและประเทศมาเลเซีย
               ทิศใต้ ประเทศมาเลเซีย
               ทิศตะวันตก จังหวัดสงขลาและประเทศมาเลเซีย



ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา ต้นโสกเหลือง
               ชื่อทั่วไป โสกเหลือง (ศรียะลา)
               ชื่อสามัญ Yellow Saraca
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca thaipingensis cantley ex Prain
               วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIACEAE
               ชื่ออื่นๆ โสกเหลือง, โสกป่า, โสกใหญ่, โสกน้ำ
               ถิ่นกำเนิด ริมลำธารในป่าดิบเชิงเขา
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลม ทึบ โตช้า เปลือกเรียบ   
               ใบ : ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย ๔-๘ คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่หรือรูปใบหอก แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๓-๙ เซนติเมตร ยาว ๗-๓๒ เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม
               ดอก : เป็นช่อตามปลายกิ่งและลำต้น สีเหลือง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน
               ผล : เป็นฝักแบน ปลายฝักโค้งทั้งสองด้าน กว้าง ๓.๕-๘ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๔๐ เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วน ชอบน้ำและความชื้นสูง ใกล้ลำห้วย ตามริมธารในป่าดิบหรือตามไหล่เขา
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกสวยงาม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤษภาคม 2561 16:02:59 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5430


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2561 15:39:44 »

พรรณไม้มงคลประจำจังหวัด


ต้นอบเชย ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดระนอง
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Medthai.com

ภาคใต้
๗๐ ระนอง : ต้นอบเชย

คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดระนอง
               ชื่อไทย : ระนอง
               ชื่ออังกฤษ : Ranong
               อักษรย่อ : รน.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๓,๒๙๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดชุมพรและประเทศพม่า
               ทิศตะวันออก จังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ทิศใต้ จังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ทิศตะวันตก ประเทศพม่าและทะเลอันดามัน



ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง ต้นอบเชย
               ชื่อทั่วไป อบเชย
               ชื่อสามัญ Cinnamon
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet
               วงศ์ LAURACEAE
               ชื่ออื่นๆ ขนุนมะแวง, เชียกใหญ่, จวงดง, บริเวง, ฝนแสนห่า, มุลแว้ง พะแว, โมง, หอม, ระแวง,    มหาปราบ, มหาปราบตัวผู้, แลงแวง, อบเชย เฉียด
               ถิ่นกำเนิด ป่าดิบทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำ ทึบ เปลือกเรียบสีเทาแก่หรือสีเทาปนน้ำตาล
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หนาแข็งและกรอบ สีเส้นใบออกจากโคนใบ ๓ เส้น
               ดอก : ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโตตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
               ผล : ขนาดเล็กรูปไข่กลับ มีเมล็ดเดียว              
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เนื้อหยาบแข็ง ค่อนข้างเหนียว ใช้ในการแกะสลักทำหีบใส่ของที่ป้องกันแมลง เครื่องเรือน ไม้บุผนังที่สวยงาม      
               รากและใบ : ต้มให้หญิงที่คลอดใหม่รับประทาน และรักษาไข้
               เปลือก : มีรสหวานหอม ใช้เข้ายานัตถุ์แก้ปวดศีรษะ เข้ายาบำรุงกำลัง แก้จุกแน่น ลงท้อง บำรุงหัวใจ ใช้ปรุงเครื่องแกงเป็นเครื่องเทศ




ต้นสะเดาเทียม ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสงขลา
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์คมชัดลึก

ภาคใต้
๗๑ สะเดาเทียม : ต้นสะเดาเทียม

นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสงขลา
               ชื่อไทย : สะเดาเทียม
               ชื่ออังกฤษ : Songkhla
               อักษรย่อ : สข.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๗,๓๙๔ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
               ทิศตะวันออก อ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และประเทศมาเลเซีย
               ทิศตะวันตก จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล



ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา ต้นสะเดาเทียม
               ชื่อทั่วไป สะเดาเทียม
               ชื่อสามัญ Marrango Tree
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Azardirachta excelsa (Jack) Jacobs
               วงศ์ MELIACEAE
               ชื่ออื่นๆ สะเดาช้าง, ไม้เทียม, สะเดาใบใหญ่
               ถิ่นกำเนิด ตามเรือกสวนไร่นาแถบภาคใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓๐-๔๐ เมตร ลำเปลือกเรียบเมื่ออ่อน เมื่อแก่เปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ๒๐-๖๐ เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยเยื้องสลับกันเล็กน้อย จำนวน ๗-๑๑ คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร ยาว ๕-๘ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน
               ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
               ผล : ทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรง มีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม  พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา
ประโยชน์ เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน
               เนื้อไม้ : ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก
               ดอกอ่อน : ใช้รับประทานได้
               เมล็ด : นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง
               เปลือก : ต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง




ต้นกระซิก ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสตูล
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์ ๑๐๘ พรรณไม้ไทย

ภาคใต้
๗๒ สตูล : ต้นกระซิก

สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสตูล
               ชื่อไทย : สตูล
               ชื่ออังกฤษ : Satun
               อักษรย่อ : สต.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๒,๔๗๙ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดตรังและจังหวัดพัทลุง
               ทิศตะวันออก หวัดสงขลา
               ทิศใต้ ประเทศมาเลเซีย
               ทิศตะวันตก ทะเลอันดามัน



ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล ต้นกระซิก
               ชื่อทั่วไป กระซิก
               ชื่อสามัญ Black Wood
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia parviflora Roxb.
               วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ ครี้, สรี้, ซิก
               ถิ่นกำเนิด ป่าโปร่งในที่ลุ่มที่และตามชายห้วยทางภาคใต้ของประเทศ
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น บางครั้งรอเลื้อย ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับกันบนก้านใบ
               ดอก : ขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
               ผล : เป็นฝักแบน ขอบฝักบางคล้ายมีด
               เมล็ด : รูปไตเรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม  ขึ้นอยู่ตามป่าโปร่งในที่ลุ่มที่ตามชายห้วยทางภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องกลึง แกะสลัก เครื่องดนตรี ลักษณะคล้ายไม้ชิงชัน น้ำมันจากเนื้อไม้ ใช้รักษาแผลเรื้อรัง
               เนื้อไม้ : ใช้เป็นยาแก้ไข้
               แก่นและราก : มีกลิ่นหอมใช้ทำธูป    




ต้นเคี่ยม ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : pstip.com

ภาคใต้
๗๓ สุราษฎร์ธานี : ต้นเคี่ยม

เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ชื่อไทย : สุราษฎร์ธานี
               ชื่ออังกฤษ : Surat Thani
               อักษรย่อ : สฎ.
               ภาค : ใต้
               เนื้อที่ : ๒๓,๘๙๑ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร
               ทิศตะวันออก จังหวัดนครศรีธรรมราชและอ่าวไทย
               ทิศใต้ จังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
               ทิศตะวันตก พังงา



ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้นเคี่ยม
               ชื่อทั่วไป เคี่ยม
               ชื่อสามัญ Resak Tembage.
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium melanoxylon (Hook.f) Pierre
               วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
               ชื่ออื่นๆ เคี่ยม, เคี่ยมขาว, เคี่ยมดำ, เคี่ยมแดง
               ถิ่นกำเนิด ที่ป่าดงดิบแถบภาคใต้ของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีมากในป่าดิบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี ๒ ชนิด คือ เคี่ยมดำและเคี่ยมขาว เคี่ยมดำเปลือกหนาและเข้มกว่าเคี่ยมขาว ต้นเปลากลม เรือนยอดเป็นพุ่มคล้ายพุ่มสน มีกิ่งใบทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีรอยแต้มสีเทาและเหลือง แตกเป็นร่องตามยาว มีต่อมระบายอากาศ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน โคนใบมน ปลายสอบเรียว หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบมีขนเป็นกระจุกๆ สีน้ำตาล ดอกเล็กสีขาว ออกตามง่ามใบ ปลายกิ่งเป็นช่อยาว กลิ่นหอม
               ผล : กลมขนาดเล็กสีน้ำตาล มีขนเหมือนกำมะหยี่ มีปีก ๕ ปีก ยาว ๒ ปีก สั้น ๓ ปีก รองรับผล
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  ดินทุกชนิด แสงแดดปานกลาง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : ไม้เคี่ยมเนื้อละเอียด แข็ง เหนียวหนักและทนทาน จึงใช้ไม้เคี่ยมต่างสายพาน รองหนุนเสาเรือนเพื่อลากเรือนทั้งหลังในการย้ายบ้าน หรือทำเลื่อนในการชักพระ นอกจากนี้ใช้ไม้เคี่ยมทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาหลักผูกเทียบเรือ ทำสะพานท่าเรือ ทำสะพานทอดขนานไปกับลำน้ำ
               เปลือกไม้เคี่ยม : นำมาตัดเป็นชิ้นๆ ขนาดประมาณ ๑x๒ นิ้ว ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใส่กระบอกตาลรองรับน้ำหวานจากต้นตาลเพื่อใช้รสฝาดรักษาน้ำตาลไม่ให้บูดก่อนนำมาเคี่ยว หรือใช้ใส่น้ำตาลเมา นอกจากนี้เปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้านสำหรับห้ามเลือดบาดแผลสด
               ชันจากไม้เคี่ยม : เป็นยาสมานแผล และแก้ท้องร่วง
               ยอด ราก ดอก ลำต้น : ใช้ตำพอกแผล แก้ฟก บวม เน่าเปื่อย หรือใช้ผสมกับเปลือกหว้า อมบ้วนปาก แก้ปากเปื่อย    




ต้นจัน ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดจันทบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Pantip.com

ภาคตะวันออก
๗๔ จันทบุรี : ต้นจัน

น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร
สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดจันทบุรี
               ชื่อไทย : จันทบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Chanthaburi
               อักษรย่อ : จบ.
               ภาค : ภาคตะวันออก
               เนื้อที่ : ๖,๓๓๘ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี
               ทิศตะวันออก จังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา
               ทิศใต้ ทะเลอ่าวไทย
               ทิศตะวันตก จังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี ต้นจัน
               ชื่อทั่วไป จัน
               ชื่อสามัญ Chingal
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros decandra Lour.
               วงศ์ EBENACEAE
               ชื่ออื่นๆ จันอิน, จันโอ, จันขาว, จันลูกหอม
               ถิ่นกำเนิด ทุกภาคของประเทศไทย
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หรือรูปกระสวยต่ำๆ ทึบ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๓ เซนติเมตร ยาว ๗-๑๐ เซนติเมตร
               ดอก : ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อยาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
               ผล : เป็นผลสด มี ๒ ลักษณะ คือ ทรงกลมแป้นเรียกว่า “ลูกจัน” และทรงกลมเรียกว่า “ลูกอิน” เมื่อสุกสีเหลืองมีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้งในที่ชุ่มชื้นทั่วไป
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
               ผล : รับประทานได้
               แก่น : ผสมกับสมุนไพรอื่นต้มดื่มแก้ไข้  




ต้นประดู่ป่า ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดชลบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : My.iD - Dek-D.com

ภาคตะวันออก
๗๕ ชลบุรี : ต้นประดู่ป่า

ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชลบุรี
               ชื่อไทย : ชลบุรี
               ชื่ออังกฤษ : Chon Buri
               อักษรย่อ : ชบ.
               ภาค : ภาคตะวันออก
               เนื้อที่ : ๔,๓๖๓ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
               ทิศตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง
               ทิศใต้ จังหวัดระยอง
               ทิศตะวันตก อ่าวไทย



ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี ต้นประดู่ป่า
               ชื่อทั่วไป ประดู่ป่า
               ชื่อสามัญ Burmese Ebony
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
               วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
               ชื่ออื่นๆ จิด๊อก, ดู่, ประดู่เสน, ฉะนอง, ประดู่ป่า, ตะเลอ, เตอะเลอ, ประดู่
               ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ แตกสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
               ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใยย่อยเรียงสลับแบบแกน ๔-๑๐ ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๕ เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
               ดอก : สีเหลือง กลิ่นหอม ยาว ๑๐-๒๐ เซนติเมตร ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
               ผล : รูปโล่ แผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน ตรงกลางนูน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๗ เซนติเมตร และมีขนปกคลุมทั่วไป ผลแก่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การเสียบยอด การทาบกิ่ง และการตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  ดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๖๐๐ เมตร ยกเว้นภาคใต้ เป็นไม้เบิกนำชนิดหนึ่ง
ประโยชน์
               เนื้อไม้ : สีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรงทนทาน ใช้ทำเสาพื้น ต่อเรือ เครื่องเรือนที่สวยงาม เครื่องดนตรี เช่น ซอ ลูกและรางระนาด เปียโน
               เปลือก : ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
               แก่น : ให้สีแดงคล้ำ ใช้ย้อมผ้า




ต้นหูกวาง ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดตราด
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : เว็บไซต์พืชเกษตรดอทคอม

ภาคตะวันออก
๗๖ตราด : ต้นหูกวาง

เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน
หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา

-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดตราด
               ชื่อไทย : ตราด
               ชื่ออังกฤษ : Trat
               อักษรย่อ : ตร.
               ภาค : ภาคตะวันออก
               เนื้อที่ : ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ ประเทศกัมพูชาและจังหวัดจันทบุรี
               ทิศตะวันออก ประเทศกัมพูชา
               ทิศใต้ อ่าวไทย
               ทิศตะวันตก จังหวัดจันทบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด ต้นหูกวาง
               ชื่อทั่วไป หูกวาง
               ชื่อสามัญ Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa Linn.
               วงศ์ COMBRETACEAE
               ชื่ออื่นๆ โคน, ดัดมือ, ตัดมือ, ตาปัง, ตาแปห์, หลุมปัง
               ถิ่นกำเนิด ป่าชายหาด ขึ้นกระจายตามโขดหินริมทะเล
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง ๘-๒๐ เมตร เปลือกเรียบแตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง ๘-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๑๒-๒๕ เซนติเมตร
               ดอก : ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
               ผล : รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง ๒-๕ เซนติเมตร ยาว ๓-๗ เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทรายและขึ้นได้ทั่วไป
ประโยชน์
               เปลือกและผล : มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก
               เมล็ดในผล : รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์




ต้นสารภีทะเล ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดระยอง
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : YouTube

ภาคตะวันออก
๗๗ ระยอง : ต้นสารภีทะเล

ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก
-----------------------------------------

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดระยอง
               ชื่อไทย : ระยอง
               ชื่ออังกฤษ : Rayong
               อักษรย่อ : รย.
               ภาค : ภาคตะวันออก
               เนื้อที่ : ๓,๕๕๒ ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
               ทิศเหนือ จังหวัดชลบุรี
               ทิศตะวันออก จังหวัดจันทบุรี
               ทิศใต้ อ่าวไทย
               ทิศตะวันตก จังหวัดชลบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง ต้นสารภีทะเล
               ชื่อทั่วไป สารภีทะเล
               ชื่อสามัญ Alexandrian laurel
               ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophyllum inophyllum Linn.
               วงศ์ GUTTIFERAE
               ชื่ออื่นๆ กระทิง, ทิง, เนาวกาน, สารภีแนน, กากะทิง
               ถิ่นกำเนิด ชายทะเล
               ประเภท ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ
               ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๕-๑๒ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ เปลือกสีน้ำตาลเทา
               ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง ๔.๕-๘ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๕ เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบ เส้นใบชิด ขนานกัน
               ดอก : สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม
               ผล : เป็นผลสดทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
 การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขึ้นตามชายทะเล และปลูกได้ทั่วไป
ประโยชน์
               ไม้ : ใช้ก่อสร้าง
               ดอก : ปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ
               น้ำมันสกัดจากเมล็ด : ใช้ทาแก้ปวดข้อ ทำเครื่องสำอาง ปลูกเป็นไม้ประดับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤษภาคม 2561 15:45:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.942 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 22:31:45