[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 11:30:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศีรษะพระพิฆเณศ ศีรษะโขนเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา  (อ่าน 1197 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 เมษายน 2561 18:31:55 »


ศีรษะพระพิฆเณศ
ศีรษะโขนเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา
ผู้ขจัดอุปสรรคและบรมครูแห่งนาฏกรรม


ศีรษะพระพิฆเณศ
ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๓ – ๒๔๖๘
ทำด้วยกระดาษ เครื่องประดับทำด้วยโลหะปิดทองประดับกระจก ขนาดสูง ๕๐ เซนติเมตร
กรมโขนหลวงในกรมมหรสพ กระทรวงวังมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร พ.ศ.๒๔๗๒

ลักษณะศีรษะพระพิฆเณศ
ศีรษะโขนพระพิฆเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา ผู้ขจัดอุปสรรคและบรมครูแห่งนาฏกรรมนี้ มีศีรษะเป็นช้าง ใบหน้าสีแดง สวมเครื่องประดับศีรษะ คือ มงกุฎน้ำเต้ากลม หรือ กรัณฑมกุฏสีดำ กระบังหน้ากว้างประกอบต่อกับกรรเจียกจรข้างใบหู แนวเกี้ยว สาแหรกเครื่องประดับตกแต่งด้วยสีทอง มีรูปหัวกะโหลกประดับอยู่ตรงแนวกลาง หน้าผาก และตรงแนวเส้นตัด หรือสาแหรกซ้อนกัน ๓ ชั้น ขนาบด้วยแนวลายเครือเถาว์และกลีบบัวซ้อนกัน ๒ ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นแนวลายรักร้อย ขนาบด้วยแนวลายกระจัง ยอดมงกุฎรูปน้ำเต้ากลม ที่หูประดับตุ้มหูรูปหัวกะโหลกทั้ง ๒ ข้าง

ต้นแบบลักษณะศีรษะโขนพระพิฆเณศ
จากการศึกษาลักษณะของศีรษะพระพิฆเณศ ซึ่งมีการประดับกรัณฑมกุฎด้วยรูปกะโหลกศีรษะตรงส่วนของเกี้ยวและสาแหรกทั้งด้านหน้าด้านข้าง และด้านหลังรวมทั้งกุณฑลก็เป็นรูปกะโหลกศีรษะด้วย ศีรษะโขนพระพิฆเณศลักษณะนี้แสดงอิทธิพลจากอินโดนีเซีย โดยเฉพาะศิลปะชวาภาคกลาง (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๕) ที่พบว่านิยมสลักเทวรูปด้วยศิลาโดยเฉพาะพระพิฆเณศเป็นที่นิยมมาก ในระยะนี้ศิลปะชวารับอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ ซึ่งมีลักษณะประทับนั่งแยกพระชงฆ์หันฝ่าพระบาททั้งสองข้างชิดประกบกัน พระวรกายอวบอ้วน พระอังสาใหญ่




หัวโขนหรือศีรษะโขนฝ่ายพระ เรื่อง รามเกียรติ์
สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
กรมโขนหลวง ในกรมมหรสพ กระทรวงวังมอบให้พิพิธภัณฑ -
สถานแห่งชาติ พระนคร พ.ศ.๒๔๗๒


ศีรษะพระพิฆเณศ ศีรษะโขนสำคัญในกลุ่มศีรษะโขนฝ่ายพระ
เรื่องรามเกียรติ์ที่แสดงลักษณะเครื่องประดับพระเศียรตามแบบ
เศียรพระพิฆเณศ ศิลปะชวาตะวันออก ที่ตกแต่งด้วยรูปกะโหลก
บนมงกุฎ และกุณฑล (ตุ้มหู)


การแต่งกายของพระพิฆเณศ และรามปรศุ หรือรามสูร
ในการแสดงโขน ตอนพระพิฆเณศเสียงา ผู้แสดงเป็นพระพิฆเณศ
สวมศีรษะโขนพระพิฆเณศที่มงกุฎประดับด้วยรูปกะโหลก และผ้าห้อยหน้า
ทั้ง ๓ ผืน ปักลายพิเศษเป็นภาพกะโหลกที่ออกแบบได้สวยงามลงตัว


รายละเอียดของผ้าห้อยหน้าทั้ง ๓ ผืน ของเครื่องแต่งกายพระพิฆเณศ


บั้นพระองค์เล็ก มี ๔ กร ทรงถือลูกประคำ งาที่หัก ถ้วยขนมและแส้ มีเครื่องประดับไม่มากนัก แต่ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ มีความนิยมนำรูปกะโหลกศีรษะมาเพิ่มเป็นเครื่องประดับทั้งที่มงกุฎ กุณฑล และรอบบัลลังก์ โดยเฉพาะรูปพระพิฆเณศ ศิลปะชวาตะวันออกที่พบจากบาราเมืองบลิตาร์ ซึ่งมีจารึกระบุปีที่สร้าง พ.ศ.๑๗๘๒ และคล้ายกับพระพิฆเณศที่พบจากจัณฑิ สิงหส่าหรี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายมาจากผู้สำเร็จราชการฮอลันดาที่ปกครองหมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อครั้งเสด็จประพาสหมู่เกาะชวา เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ ลักษณะของพระพิฆเณศองค์นี้ประทับนั่งตามแบบศิลปะคุปตะ คือประทับนั่งแยกพระชงฆ์ ทรงมี ๔ กร พระหัตถ์ขวาบนถือขวาน พระหัตถ์ขวาล่างถือถ้วยทำด้วยกะโหลก พระหัตถ์ซ้ายบนถืออักษมาลา หรือลูกประคำและพระหัตถ์ซ้ายล่างถือถ้วยขนมโมทกะ และใช้งวงหยิบขนมไว้ เครื่องประดับพระเศียรหรือมงกุฎที่มีรูปกะโหลกศีรษะประดับอยู่ รวมถึงกุณฑลก็เป็นรูปกะโหลกด้วยนั้น เป็นข้อสนับสนุนอย่างหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างศีรษะโขนพระพิฆเณศจากแบบศิลปะชวาตะวันออกองค์นี้นั่นเอง

จากการแสดงโขนของกรมศิลปากรตอนพระคเณศเสียงา ผู้แสดงสวมศีรษะโขนพระพิฆเณศนี้ และพบว่าผ้านุ่งของนักแสดงก็ออกแบบเป็นลายรูปกะโหลกศีรษะเช่นกัน ซึ่งเป็นการออกแบบพิเศษโดยเฉพาะสำหรับพระพิฆเณศได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

เรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์ของไทย เช่นตอนกำเนิดสิ่งต่างๆ และตอนทศกัณฐ์เยี่ยมพิภพ ซึ่งกล่าวได้ว่าการศึกษาค้นคว้าของพระองค์เป็นพื้นฐานสำคัญให้แก่พระยาอนุมานราชธน นักวิชาการไทยต่อมาดังปรากฏในหนังสือเรื่อง อุปกรณ์รามเกียรติ์และประชุมเรื่องพระราม วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ของไทยมีหลายสำนวน นับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญ คือ

๑.บทพากย์รามเกียรติ์ครั้งกรุงเก่า ตอนสีดาหายถึงกุมภกรรณล้ม
๒.บทละครรามเกียรติ์ครั้งกรุงเก่า ตอนพระรามประชุมพลถึงองคตสื่อสาร
๓.นิราศสีดาหรือราชาพิลาปคำฉันท์ แต่งในสมัยอยุธยา
๔.บทละครรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี
๕.บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
๖.บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนหนุมานถวายแหวนถึงทศกัณฐ์ล้ม ตอนพระรามเสด็จกลับอโยธยา และตอนพระมงกุฎพระลบ
๗.คำพากย์รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนนางลอย ตอนนาคบาศ ตอนพรหมาสตร์ และตอนเอราวัณ
๘.บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนพระรามเดินดง
๙.บทเบิกโรง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนพระนารายณ์ปราบนนทุก และตอนพระรามเข้าสวนพระพิราพ
๑๐.รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลายตอน เช่น
       ๑.บทเบิกโรง เรื่องดึกดำบรรพ์ ๔ ชุด คือ มหาพลี ฤษีเสี่ยงลูก นรสิงหวตาร และพระคเณศร์เสียงา
       ๒.บทละครดึกดำบรรพ์ หรือ การแสดงโขน ชุดอรชุนกับทศกัณฐ์
       ๓.บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ชุดปราบตาฑะกา และชุดอภิเษกสมรส
       ๔.บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ที่มีคำร้องและคำพากย์อยู่ในชุดเดียวกันทั้งใช้เล่นโขนและละครรวม ๖ ชุด คือ ตอน นางสีดาหาย ตอนพิเภกถูกขับ ตอนจองถนน ตอนประเดิมศึกลงกา ตอนนาคบาศ และตอนพรหมาสตร์
       ๕.บทพากย์บทเจรจา ตอนเผาลงกา ตอนพิธีกุมภนิยาและตอนนางลอย นอกจากนี้ยังมีสำนวนอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องรามเกียรติ์ เช่น สุภาษิตที่ว่าด้วยโคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้องและมีนิทานคำกลอนของภาคอีสาน เรื่อง พระลักษมณ์พระราม รวมถึงโคลงอธิบายภาพเรื่องรามเกียรติ์ จิตรกรรมฝาผนังรอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๔,๙๘๔ ภาพ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๒๔๔ บท

นอกจากนั้นเป็นผลงานของพระบรมวงศานุวงศ์และนักปราชญ์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีนิทานเรื่องย่อยในรามายะณะของวาลมีกิ คือ เรื่องพระศุนหเศป พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องอิลราชคำฉันท์ของพระศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ)

วรรณคดีสำคัญที่ใช้สำหรับการแสดงในราชสำนัก
การแสดงในราชสำนักไทยแต่โบราณมาจะนิยมนำบทวรรณคดีสำคัญมาแสดงนาฏศิลป์ ประเภทโขน คือ เรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งมีที่มาจากมหากาพย์ เรื่อง รามายณะ ของอินเดียที่แต่งโดยฤษีวาลมิกี เป็นภาษาสันสกฤตมีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม คนไทยนิยมวรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีสำคัญของชาติมาแต่สมัยสุโขทัยนั่นคือ พระนามของพระราม ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ เพื่อลงมาปราบทศกัณฐ์ ปรากฏเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย คือ พ่อขุนรามคำแหง และชื่อของพระรามยังเป็นชื่อของถ้ำ ในจังหวัดสุโขทัย คือ ถ้ำพระรามที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑

อย่างไรก็ตามรายละเอียดของเรื่องรามเกียรติ์ไทยมิได้มีเนื้อเรื่องเหมือนกับรามายณะทั้งหมด แต่มีการเพิ่มเติมเรื่องราวจากสำนวนของฉบับอื่นๆ ของอินเดียด้วย เช่น เรื่องของหนุมาน จากวิษณุปุราณะ หรือจากฉบับภาษาฮินดีของตุลสิทาส จากภาษาเบงคลีของแคว้นเบงกอล จากฉบับของแคว้นกลิงคราษฎร์ มาผนวกเข้ากับโครงเรื่องรามายณะของวาลมีกิ

สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบรามายณะฉบับต่างๆ นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอย่างละเอียด และทรงสรุปข้อสันนิษฐานว่า บ่อเกิดรามเกียรติ์ของไทยว่ามาจาก ๓ แหล่ง คือ รามายณะฉบับสันสกฤตน่าจะเป็นฉบับที่ได้มาจากแคว้นเบงกอล เรื่องหนุมานนาฎกะจากวิษณุปุราณะ เป็นบ่อเกิดของ  



พระพิฆเณศศิลาจำหลัก ศิลปะชวาตะวันออก พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม
ประดับตกแต่งด้วยรูปกะโหลก ทรงกุลฑลรูปกะโหลก รวมถึงทรงผ้าลายกะโหลก ประทับนั่ง
บนบัลลังก์รูปกะโหลก ต้นแบบของการสร้างศีรษะโขนและการแต่งกายโขนสำหรับผู้แสดง
เป็นพระพิฆเณศ ผู้สำเร็จราชการฮอลันดา ที่ปกครองชวา อินโดนีเซีย น้อมเกล้าฯ ถวาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสหมู่เกาะชวา
พ.ศ.๒๔๓๙


รายละเอียดของมงกุฎพระพิฆเณศ และตุ้มหู ที่ประดับด้วยรูปกะโหลก


พระพิฆเณศประทับบนบัลลังก์รูปกะโหลก และผ้าทรงสลักลายภาพกะโหลก


รามเกียรติ์ : เทพเจ้าในกองทัพของพระราม
จากการศึกษารายละเอียดเรื่องรามเกียรติ์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดูมากขึ้น โดยเฉพาะเทพเจ้าที่อวตารหรือแบ่งภาคมาเกิดเพื่อช่วยพระวิษณุหรือพระนารายณ์ซึ่งอวตารมาอุบัติเป็นพระราม เพื่อปราบท้าวราพนาสูรย์หรือทศกัณฐ์ ซึ่งคือ นนทุก อสูรที่มีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาที่จะขึ้นเฝ้าพระอิศวรและได้รับพรจากพระอิศวรให้มีนิ้วเพชรที่หากชี้ผู้ใดผู้นั้นจะตาย นนทุกเกิดความกำเริบทำอันตราย เหล่าเทวดาจนเดือดร้อนไปทั้งสวรรค์ พระอิศวรจึงทรงมีบัญชาให้พระนารายณ์มาปราบ โดยอวตารมาเกิดเป็นพระราม พระลักษมีศักติของพระนารายณ์อุบัติมาเกิดเป็นนางสีดา และนนทุกเกิดเป็นทศกัณฐ์ ดังได้กล่าวแล้ว และเมื่อพระรามต้องเดินทางไปตามหานางสีดาซึ่งถูกทศกัณฐ์ลักพาไปเมืองลงกา และไปพบหนุมาน และวานรอื่นๆ เข้ามาอาสาช่วยพระรามไปรบทศกัณฐ์ ตัวละครสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระราม เมื่อครั้งทรงเป็นพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เช่น อาวุธ เครื่องราชยาน และแม่ทัพนายกอง สิบแปดมงกุฎ ในกองทัพของพระราม ที่สำคัญเป็นเทพเจ้า หรือเทวดาอวตารมา ที่น่าสนใจคือพระพิฆเณศ ซึ่งพบว่าในเรื่องรามเกียรติ์อวตารมาเป็นนิลขัน หนึ่งในเสนาวานรสิบแปดมงกุฎ และยังมีพระพินายอวตารมาเป็นนิลเอกคู่กันด้วย ดังสรุปได้ดังนี้

๑.พระลักษมณ์ เป็นอวตารมาจากสังข์ เครื่องอุปโภคของพระนารายณ์ กับบัลลังก์นาค (พญาอนันตนาคราช) พระแท่นบรรทมของพระนารายณ์ที่สถิต ณ เกษียรสมุทร
๒.พระพรต เป็นอวตารมาจาก จักรอาวุธของพระนารายณ์
๓.พระสัตรุด เป็นอวตารมาจาก คทาอาวุธของพระนารายณ์
๔.นางสีดา เป็นอวตารของพระลักษมี ศักติของพระนารายณ์ สำหรับกองทัพของพระราม กลุ่มที่สำคัญ คือ สิบแปดมงกุฎ ซึ่งเป็นกลุ่มเสนาวานร ๑๘ ตน ล้วนอวตารมาจากเทวดาต่างๆ เพื่อช่วยพระรามไปรบกับทศกัณฐ์ ประกอบด้วย ชาวเมืองขีดขิน ๙ ตน คือ เกยูร โกมุท ไชยามพวาน มลุนทเกสรวิมล ไวยบุตร สัตพลี สุรกานต์ สุรเสน ชาวเมืองชมพู ๖ ตน คือ นิลขัน นิลเอก นิลปานัน นิลปาสัน นิลราช วิสันตราวี และที่ไม่ปรากฏเมืองอีก ๓ ตน คือ กุมิตัน เกสรทมาลา และมายูรเกยูร ดังปรากฏรายละเอียดของสิบแปดมงกุฎแต่ละตน ดังนี้

กลุ่มเสนาวานรพวกสิบแปดมงกุฎ
๑.นิลขัน คือ พระพิเนตรหรือพระพิเนก ซึ่งคือ พระพิฆเณศ เทวกุมารโอรสพระอิศวร พระพักตร์เป็นช้าง แบ่งภาคมาอุบัติ อยู่ในกลุ่มของพญาวานรพวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองชมพู กายสีหงส์ดินหรือสีแดงเข้ม คุมทหาร ๕ สมุทรร่วมกับนิลราชไปช่วยพระราม ทำสงครามรบกับทศกัณฐ์ครั้งแรก ซึ่งสุครีพเป็นแม่ทัพ จัดทัพในรูปอินทรีพยุหบาตร นิลขันเป็นตาอินทรีเปรียบดุจขุนพลแก้วคู่กับนิลเอก
๒.นิลเอก คือ พระพินาย ภาคหนึ่งของพระพิฆเณศแบ่งภาคมาเกิดในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองชมพู สีทองแดงหรือสำริด คุมพล ๑๐ สมุทร คู่กับนิลนนท์มาช่วยพระรามทำสงครามรบกับทศกัณฐ์ เดิมนามวินายก เป็นเทวกุมารโอรสพระอิศวร พระพักตร์เป็นช้าง เคยเป็นนายกองปีกขวาของกองทัพพระอิศวรเพื่อปราบตรีปุรัม
๓.นิลปานัน คือ พระราหู อุบัติมาเกิดอยู่ในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ คุมพล ๗ สมุทร ร่วมกับขุนนิลไปช่วยพระรามทำสงคราม
๔.นิลปาสัน คือ พระศุกร์ อุบัติลงมาเกิดอยู่ในกลุ่มเสนาวานรพวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองชมพู ทำหน้าที่เป็นเกียกกายในกองทัพสุครีพรบกับกุมภกรรณ
๕.นิลพานรหรือ วิมล หรือ พิมล คือ พระเสาร์ แบ่งภาคลงมาเกิด ในกลุ่มเสนาวานร
พวกสิบแปดมงกุฎตอนพระรามรบกับทศกัณฐ์ครั้งแรก สุครีพจัดทัพในรูปอินทรีพยุหบาตรนิลพานรจัดอยู่เป็นเท้าขวา
๖.นิลราช คือ พระสมุทร แบ่งภาคมาเกิดอยู่ในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองชมพู คุมพล ๕ สมุทร ร่วมกับนิลขันมาช่วยพระรามจองถนนข้ามไปลงกา
๗.นิลนน หรือ นิลนนท์ คือ พระเพลิงอุบัติมาเกิด อยู่ในกลุ่มพญาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองชมพูคุมพล ๑๐ สมุทรร่วมกับนิลเอกไปช่วยพระรามทำสงครามเพื่อปราบเหล่ามาร เป็นกองหน้าให้สุครีพเมื่อรบกับกุมภกรรณหลังเสร็จศึกลงกาได้บำเหน็จเป็นอุปราชเมืองชมพู คราวพระพรตทำศึกกับท้าวจักรวรรดิ เมืองมลิวัน นิลนนท์เป็นทูตไปสื่อสาร ท้าวจักรวรรดิไม่ยอมไปเฝ้า นิลนนท์แสดงเดชแกว่งพระขรรค์เป็นเพลิงเผาผลาญทั้งเมืองและหักยอดปราสาทไปถวายพระพรต
๘.มายูร คืออวตารของ พระวิรูปักษ์ ท้าวโลกบาลประจำทิศตะวันตก มาอุบัติในกลุ่มเสนาวานรสิบแปดมงกุฎ สีม่วงอ่อน
๙.มาลุนทเกสร หรือมาลุน คือ พระพฤหัสบดี แบ่งภาคมาอุบัติในกลุ่มเสนาวานรเมืองขีดขินที่มี ๗ ตน นำรี้พล ๓๐ สมุทรไปช่วยพระรามทำสงครามรบกับทศกัณฐ์
๑๐.วิสันตราวี คือ พระอังคาร แบ่งภาคมาเกิดในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองชมพูเป็นแม่กองคุมรี้พล ๕๐ สมุทร พร้อมกับขุนนน และโชติมุกข์มาช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์
๑๑.ไวยบุตร คือ พระวรุณ หรือ พระพิรุณ อุบัติลงมาเกิดในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎชาวเมืองขีดขิน คุมกำลัง ๑๐ สมุทรมาช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์
๑๒.สัตพลี คือ พระจันทร์ อุบัติลงมาเกิดในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองขีดขิน ตำแหน่งอาลักษณ์ทำรายชื่อผู้ทำความดีความชอบหรือทำความผิดในการทัพภายหลังเสร็จศึกแล้ว
๑๓.สุรกานต์ คือ พระมหาชัย อุบัติมาเกิดในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองขีดขิน เป็นเสนาผู้หนึ่งใน ๗ ตนที่คุมกองทัพ ๓๐ สมุทร มาช่วยพระราม เมื่อเสร็จศึกลงกาได้ครองเมืองโรมคัล
๑๔.สุรเสน เป็นอวตารของพระพุธ มาอุบัติในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ ชาวเมืองขีดขิน เป็นเสนาผู้หนึ่งใน ๗ ตน ที่คุมกองทัพ ๓๐ สมุทร ไปช่วยพระราม เมื่อเสร็จศึกลงกาแล้วได้ครองเมืองอัศดงค์ของสัทธาสูร
๑๕.กุมิตัน เป็นอวตารของพระเกตุเทวดานพเคราะห์มาเกิดในกลุ่มเสนาวานรพวกสิบแปดมงกุฎ เพื่อช่วยพระรามหรือพระนารายณ์อวตารรบกับทศกัณฐ์
๑๖.เกศราเกยูร หรือ เกยูร เป็นอวตารของพระวิรุฬหก เจ้าแห่งกุมกัณฑ์ ท้าวโลกบาลประจำทิศใต้ เพื่อช่วยพระรามรบกับทศกัณฐ์
๑๗.โกมุท เป็นอวตารของพระหิมพานต์ มาเกิดในกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎมาช่วยพระรามรบกับทศกัณฐ์เป็นผู้ฆ่าไวยกาสูร เมื่อเสร็จศึกลงกา พระรามทรงตั้งให้เป็นมหาเสนาฝ่ายซ้ายของเมืองขีดขินคู่กับไชยามพวานเสนาฝ่ายขวา
๑๘.ไชยามพวาน เสนาวานรพวกสิบแปดมงกุฎ เป็นมหาเสนาฝ่ายขวาเมืองขีดขิน อาสาเป็นผู้ถือธงชัยเมื่อพระรามให้ยกทัพไปรบศึกลงกาด้วยอ้างว่าพระอิศวรประสาทพรให้เชิญธงชัยนำทัพเพราะมีชื่อเป็นมงคล

สรุป
จากการอวตารของเทพเจ้ามาอุบัติเป็นกลุ่มเสนาวานร พวกสิบแปดมงกุฎ พบว่าพระพิฆเณศทรงอวตารมาอุบัติถึง ๒ องค์ โดยในเรื่องรามเกียรติ์มีนามว่า พิเนกหรือพิเนตรและพินาย และเมื่อนำวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์มาแสดงนาฏกรรมประเภทโขน กรมมหรสพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จึงได้สร้างศีรษะโขนพระพิฆเณศขึ้น เพื่อนำมาแสดงโขนตอนที่นิยม คือ พระพิฆเณศเสียงา โดยใช้รูปแบบพระพิฆเณศจากลักษณะประติมานวิทยาพระพิฆเณศตามรูปแบบศิลปะชวาตะวันออกจากจัณฑิสาหรี ที่มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ เครื่องประดับของพระพิฆเณศมีรูปกะโหลกประดับทั้งที่มงกุฎกุณฑล ผ้าทรง และฐานบัลลังก์ที่ประทับ และศีรษะโขนนี้ก็เป็นศีรษะพระพิฆเณศที่มีศิราภรณ์หรือมงกุฎ ที่ประดับรูปกะโหลก กุณฑล (ตุ้มหู) ก็เป็นรูปกะโหลก และเมื่อนำมาแต่งเป็นตัวละครโขน ผ้าทรงมีผ้าห้อยหน้า ๓ ผืน ก็ออกแบบลายเป็นรูปกะโหลกด้วยจึงเป็นที่น่าสนใจ ปัจจุบันศีรษะโขนพระพิฆเณศ ศีรษะนี้ เก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๔

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2561 18:34:58 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.596 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 นาทีที่แล้ว