[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 13:28:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “โจนออฟอาร์ก” ไพร่สาวผู้กอบกู้ฝรั่งเศส ถูกเผาทั้งเป็น  (อ่าน 735 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 มิถุนายน 2561 19:34:03 »



ภาพวาดเซนต์โจนออฟอาร์กระหว่างพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ชาลส์ที่ 7
โดย Jean Auguste Dominique Ingres [Public domain], via Wikimedia Commons

“โจนออฟอาร์ก”
ไพร่สาวผู้กอบกู้ฝรั่งเศส ถูกเผาทั้งเป็น


นักบุญโจนออฟอาร์ก (Saint Joan of Arc หรือ Sainte Jeanne d’Arc ในภาษาฝรั่งเศส) เกิดในครอบครัวชาวนาเมื่อปี 1412 ในหมู่บ้านโดมเรมี (Domrémy) ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างการทำสงครามกับอังกฤษในสงครามที่เรียกกันว่า “สงครามร้อยปี”

บัลลังก์ของฝรั่งเศสในขณะนั้นอยู่ระหว่างการแย่งชิงระหว่างมกุฏราชกุมารชาลส์ (Charles ภายหลังคือกษัตริย์ชาลส์ที่ 7) รัชทายาทของกษัตริย์ชาลส์ที่ 6 แห่งราชวงศ์แวลัวส์ (Valois) กับกษัตริย์เฮนรีที่ 6 แห่งแลงคาสเตอร์ (Langcaster) ของอังกฤษ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฟิลิปที่ 3 (Philip the Good) ดยุคแห่งเบอร์กันดีที่ครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ

ทั้งนี้ กษัตริย์เฮนรีที่ 6 อ้างสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาแห่งทรัวส์ หรือ Treaty of Troyes ซึ่งระบุให้มีการอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์เฮนรีที่ 5 พระราชบิดาของพระองค์กับ แคเธอรีนแห่งแวลัวส์ พระธิดาของกษัตริย์ชาลส์ที่ 6 ของฝรั่งเศส และให้กษัตริย์เฮนรีที่ 5 มีสถานะเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากกษัตริย์ชาลส์ที่ 6 แต่การที่กษัตริย์ชาลส์ที่ 6 และกษัตริย์เฮนรีที่ 5 สวรรคตในเวลาไล่เลี่ยกัน และกษัตริย์เฮนรีที่ 6 ของอังกฤษยังอยู่ในวัยแบเบาะ มกุฏราชกุมารชาลส์จึงลุกขึ้นมาอ้างสิทธิสืบบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา

แต่เมื่อกษัตริย์ชาลส์ที่ 6 สวรรคตไปแล้วกว่า 5 ปี มกุฏราชกุมารชาลส์ก็ยังไม่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก เนื่องจากตามราชประเพณี พิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ฝรั่งเศสต้องทำที่เมืองแร็งส์ (Reims) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความยึดครองของศัตรูของพระองค์ ทำให้สถานะในบัลลังก์ของพระองค์ยังไม่มั่นคง

โดมเรมีบ้านเกิดของโจนตั้งอยู่บริเวณชายแดนเขตอำนาจของมกุฏราชกุมารและฝ่ายเบอร์กันดีที่อยู่ข้างอังกฤษ ภายใต้ภาวะที่สั่นคลอนจากความขัดแย้งของสองฝ่าย โจนอ้างว่าเธอได้รับ “เสียงสวรรค์” บอกทางจากนักบุญของชาวคริสต์ 3 ท่านคือ เซนต์ไมเคิล (St. Michael) เซนต์แคเธอรีนแห่งอเล็กซานเดรีย (St. Catherine of Alexandria) และเซนต์มากาเร็ตแห่งแอนติออค (St. Margaret of Antioch) เพื่อช่วยมกุฏราชกุมารชาลส์ได้ขึ้นครองราชย์

ในเดือนพฤษภาคม 1428 โจนในวัย 16 ปี เธอเดินทางจากบ้านเกิดไปยังวูคูเลอร์ (Vaucouleurs) ที่ตั้งของฐานทัพที่ภักดีต่อชาลส์ที่ใกล้ที่สุดเพื่อขอร่วมรบแต่ถูกปฏิเสธ เธอเดินทางไปยังวูคูเลอร์อีกครั้งในเดือนมกราคม 1429 ด้วยบุคคลิกที่แน่วแน่และเปี่ยมด้วยศรัทธาทำให้เธอได้รับการยอมรับจากเหล่าทหารและได้ร่วมเดินทางไปยังชีนง (Chinon) เพื่อเข้าเฝ้าชาลส์

เบื้องต้นชาลส์ทรงลังเลว่าจะให้โจนได้เข้าเฝ้าหรือไม่ แต่เมื่อผ่านไปสองวันชาลส์ยอมให้เธอเข้าเฝ้า โจนจึงได้บอกความตั้งใจกับพระองค์ว่าเธอต้องการออกรบกับอังกฤษ พร้อมสัญญาว่าจะทำให้พระองค์ได้ประกอบพิธีราชาภิเษกที่เมืองแร็งส์ หลังจากนั้นเธอต้องถูกทดสอบและไต่สวนโดยเหล่านักบวช เธออ้างกับเหล่านักบวชว่า เธอจะพิสูจน์ถึงภารกิจที่เธอได้รับจากสวรรค์ในการสู้รบที่ออร์เลอองส์ (Orleans) ที่กำลังถูกโจมตีโดยอังกฤษมานานหลายเดือน และองค์มกุฏราชกุมารน่าจะทรงได้รับคำแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากความพิเศษของเธอในการศึกครั้งนี้

ชาลส์มอบกำลังทหารกองเล็กๆให้กับเธอเพื่อเดินทางไปยังออร์เลอองส์ การมาถึงของเธอพร้อมกับกำลังเสริมและเสบียงช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้กับเหล่าทหารฝรั่งเศส เธอนำทัพออกรบหลายครั้ง ในการรบเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1429 เธอถูกยิงด้วยธนู แต่หลังจากที่เธอทำแผลไม่นานก็รีบกลับสู่สนามรบสร้างแรงกระตุ้นให้กับทหารฝรั่งเศส และทำให้อังกฤษเสียท่า ตัดสินใจถอนทัพออกจากออร์เลอองส์ในวันถัดมา
 
ในช่วง 5 สัปดาห์หลังจากนั้น ทัพฝรั่งเศสได้ชัยชนะเหนือทัพอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 16 กรกฎาคม กองทัพฝรั่งเศสได้เดินทางไปยังแร็งส์ ซึ่งยอมเปิดประตูเมืองเพื่อต้อนรับโจนและชาลส์ และวันถัดมาชาลส์ได้ประกอบพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสตามราชประเพณี

ศึกครั้งสำคัญถัดมาคือความพยายามบุกยึดปารีสในวันที่ 8 กันยายน โจนเรียกร้องชาวเมืองให้ยอมยกเมืองให้กับกษัตริย์ชาลส์ แต่ความพยายามของเธอไม่เป็นผล เธอถูกเล่นงานได้รับบาดเจ็บแต่ยังพยายามกระตุ้นให้ทหารเดินหน้าบุกต่อไป ก่อนเธอต้องยอมล่าถอยและกษัตริย์ชาลส์มีพระบัญชาให้ถอนทัพ

ศึกสุดท้ายของโจนคือการศึกกับฝ่ายเบอร์กันดีในเมืองคองเพียญน์ (Compiègne) ซึ่งเธอสามารถขับไล่ฝ่ายเบอร์กันดีไว้ได้ 2 ครั้ง แต่สุดท้ายเธอก็ถูกฝ่ายเบอร์กันดีจับตัวไว้ได้ในวันที่ 23 พฤษภาคม 1430 ด้วยความช่วยเหลือจากทัพเสริมของอังกฤษ ก่อนถูกขายให้กับอังกฤษด้วยค่าหัว 10,000 ฟรังส์ โดยมีคณะเทววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยปารีสซึ่งเข้าข้างฝ่ายอังกฤษเป็นตัวกลางในการเจรจา ขณะที่กษัตริย์ชาลส์ที่ 7 ก็มิได้พยายามช่วยเหลือเธอแต่อย่างใดเนื่องจากพระองค์กำลังพยายามหาข้อตกลงในการสงบศึกกับฝ่ายเบอร์กันดี

อาชญากรรมของโจนแม้จะเป็นที่รู้กันว่าคือความผิดต่อกษัตริย์แห่งแลงคาสเตอร์ แต่เธอถูกนำตัวขึ้นพิจารณาต่อศาลศาสนาเนื่องจากบรรดานักเทววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยปารีสยืนยันให้เอาผิดกับเธอฐานประพฤติตนนอกรีตเนื่องจากความเชื่อของเธอมิได้สอดคล้องกับแนวทางของศาสนจักรในขณะนั้น และการที่เธออ้างว่าสามารถสื่อสารกับพระเจ้าได้โดยตรงผ่านนิมิตหรือเสียงจากสวรรค์ย่อมเป็นภัยคุกคามต่อบรรดานักบวช และการเล่นงานเธอยังส่งผลสะเทือนไปถึงกษัตริย์ชาลส์ที่ 7 ซึ่งย่อมถูกมองได้ว่าบัลลังก์ของพระองค์ได้มาด้วยความช่วยเหลือของ “แม่มด”

คณะไต่สวนใช้เวลาอยู่นานเพื่อให้เธอยอมรับสารภาพ ในครั้งที่เธอป่วยหนักเธอขอโอกาสที่จะได้รับสารภาพ แต่คำสารภาพของเธอก็มิได้เป็นการยอมรับต่อการปรักปรำตามข้อกล่าวหา คณะไต่สวนจึงข่มขู่ที่จะทำร้ายเธอ เธอประกาศว่าต่อให้ทรมาณเธอจนตายเธอก็จะไม่ตอบอย่างอื่น และจะขอยืนยันคำเดิม พร้อมกล่าวต่อไปว่าคำให้การใดๆของเธอหลังจากนี้หากเปลี่ยนแปลงไปก็เป็นเพราะถูกบิดเบือนด้วยการใช้กำลังบังคับ คณะไต่สวนจึงตัดสินใจส่งตัวเธอไปพิจารณาต่อในศาลอาณาจักรซึ่งมีอำนาจลงโทษพวกนอกรีตด้วยโทษตายได้

เมื่อได้รู้คำตัดสินว่าเธอจะถูกส่งตัวไปยังศาลอาณาจักร เธอประกาศว่าจะยอมทำทุกอย่างที่ศาสนจักรต้องการ เธอจึงถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต พร้อมคำสั่งให้สวมเสื้อผ้าอย่างผู้หญิงซึ่งเบื้องต้นเธอยอมปฏิบัติตาม แต่สองสามวันถัดมาคณะไต่สวนได้เดินทางมาพบเธอ และพบว่าเธอสวมเครื่องแต่งกายอย่างผู้ชายอีก เธออ้างว่าเซนต์แคเธอรีนและเซนต์มากาเร็ตได้มาพบและตำหนิเธอว่าเธอทรยศด้วยการยอมรับสารภาพต่อศาสนจักร ทำให้ศาลศาสนาตัดสินว่าเธอประพฤตินอกรีตอีกครั้งและตัดสินใจส่งตัวเธอต่อศาลอาณาจักร

ในวันที่ 30 พฤษภาคม 1431 ด้วยวัยเพียง 19 ปี โจนถูกเผาทั้งเป็นด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีต หลังเหตุการณ์นี้กว่า 20 ปี กษัตริย์ชาลส์ที่ 7 ได้สั่งให้รื้อคดีของโจนขึ้นมาสอบสวนใหม่อีกครั้ง และสุดท้ายพระสันตะปาปาคาลิกส์ตุสที่ 3 (Calixtus III) ก็ได้สั่งให้รื้อการพิจารณาคดีตามฎีกาของครอบครัวของโจน คณะไต่สวนซึ่งพิจารณาคดีระหว่างปี 1455-1456 ได้มีคำสั่งยกคำตัดสินเดิมในปี 1431 และในปี 1920 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ได้ประกาศให้โจนเป็นนักบุญแห่งคริสตจักรคาทอลิก


ที่มา - นิตยสารศิลปวัฒนธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 22 กุมภาพันธ์ 2567 23:58:51