[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:52:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เจ้าจอมมารดาปราง พระสนมใน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  (อ่าน 928 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2561 18:41:36 »



พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ณ ทุ่งสมรภูมิสวางคบุรีวัดคุ้งตะเภา
ภาพจาก : wikimedia.org

เจ้าจอมมารดาปราง  
พระสนมในพระองค์ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”

ที่มาเรื่อง : นิตยสารศิลปวัฒนธรรม

เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง เจ้าจอมองค์หนึ่งในพระเจ้าตากสินมหาราช ชีวิตของเจ้าจอมมารดาองค์นี้น่าที่จะแสดงถึงพระราชอัธยาศัย หรือเข้าใจถึงพระบรมราโชบายด้านการเมืองของพระองค์ประการใดประการหนึ่ง หรืออาจเป็นได้ทั้งสองประการ

เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง เป็นธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หัวหน้าชุมนุมเจ้านครฯ ซึ่งเป็นชุมนุมหนึ่งในห้าชุมนุมที่ตั้งขึ้นครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พ.ศ.๒๓๑๐

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้านครฯ นั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ยอมสวามิภักดิ์ตาม เสด็จเข้ามารับราชการอยู่ ณ กรุงธนบุรี และได้ถวายธิดาเป็นบาทบริจาริกา ๓ องค์ คือ

เจ้าหญิงฉิม โปรดสถาปนาเป็น กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

เจ้าหญิงจวน หรือ ยวน

และธิดาองค์เล็กสุด คือเจ้าหญิงปราง หรือทูลกระหม่อมฟ้า หญิงเล็กของชาวนครศรีธรรมราช

ในครั้งนั้นความสัมพันธ์ระหว่างกรุงธนบุรีกับนครศรีธรรมราชใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างมาก หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพอันสนิทแน่นระหว่าง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) คือการที่โปรดพระราชทานสิทธิพิเศษแก่เจ้าพระยานคร เป็นอย่างมาก เช่นมีพระบรมราชานุญาตให้มีละครหญิงในราชสำนักของเจ้านครฯ ได้ ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง เพราะแต่เดิมมานอกจากในพระราชสำนักแล้ว จะไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้ใดมีละครหญิง

แต่จะเป็นด้วยเหตุที่ว่าเพราะทรงมีความสัมพันธ์สนิทสนมเป็นส่วนพระองค์กับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หรือเป็นเพราะทรงมีพระบรมราโชบายด้านการเมืองที่ลึกซึ้งก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปรางก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน อย่างน่าสนใจที่จะศึกษา ดังนี้

ดังได้กล่าวแล้วว่า เจ้าจอมมารคาเจ้าหญิงปรางเป็นธิดาองค์เล็กของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ซึ่งถวายเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

แม้จะมิได้มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตตอนต้นของเจ้าหญิงปรางไว้ในประวัติศาสตร์ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อมาชวนให้สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกกองทัพไปปราบชุมนุมเจ้านครฯ ขณะนั้นเจ้าหญิงปรางน่าจะอยู่ในวัยรุ่นกำดัด ทรงสิริโฉมงดงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจของทหารเอกคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคนหนึ่ง คือเจ้าพระยาพิชัยราชา

เจ้าพระยาพิชัยราชาผู้นี้เป็นทหารผู้เคยร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ครั้งที่ตีฝ่ากองทัพพม่า มาด้วยกันเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยาและในสงครามอีกหลายครั้ง รวมทั้งคราวปราบชุมนุมเจ้านครฯ ด้วย

เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ยอมแพ้เข้าสวามิภักดิ์ ถวายธิดาสามองค์เป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นั้น ชะรอยเจ้าพระยาพิชัยราชาจะเข้าใจว่าเจ้านครฯ ถวายแต่เจ้าหญิงฉิมเพียงองค์เดียว ส่วนเจ้าหญิงปรางนั้นตามเข้าไปอยู่ด้วยกันกับพี่สาว ในพระราชวัง

ดังนั้น เมื่อเสร็จศึกสงครามแล้ว เจ้าพระยาพิชัยราชาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก ผู้สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก และด้วยเหตุพี่เข้าใจผิดดังกล่าว เจ้าพระยาพิชัยราชาจึงส่งเถ้าแก่มาสู่ขอเจ้าหญิงปราง

เรื่องราวตอนนี้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า “…ในเดือน ๑๒ ปีวอก อัฐศก จศ ๑๑๓๘ (พ.ศ.๒๓๑๙) นั้น เจ้าพระยาพิชัยราชาผู้เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก ลงมารับราชการอยู่ ณ กรุงแต่งผู้เฒ่าผู้แก่เข้าไปขอน้องสาวเจ้าจอมฉิมพระสนมเอกบุตรตรี เจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในพระราชวัง จะมาเลี้ยงเป็นภรรยา”

ในครั้งนั้นพระราชพงศาวดารได้บันทึกปฏิกิริยาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงมีต่อเรื่องนี้ว่า “…ครั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ ดำรัสว่ามันทำบังอาจจะมาเป็นคู่เขยน้องเขยใหญ่กับกูผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน จึงดำรัสสั่งให้เอาตัวเจ้าพระยาพิชัยราชาไปประหารชีวิตเสีย ตัดศีรษะมาเสียบประจานไว้ที่ริมประตูข้างฉนวนลงพระตำหนักแพ อย่าให้ใครเอาเยี่ยงอย่างสืบไปภายหน้า…”

ถึงแม้ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาจะถูกประหารชีวิตไปแล้ว แต่เรื่องราวของเจ้าหญิงปรางก็มิได้ยุติเป็นปกติ เพราะในปลายปีนั้นเอง เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ขณะดำรงตำแหน่งพระอุปราชเมืองนครศรีธรรมราช เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณตามเสด็จไปราชการทัพ รบชนะศึกหลายครั้งเป็นที่โปรดปราน ได้เข้ามาถวายข้อราชการ ณ กรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบว่าเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นม่าย ภรรยาคือเจ้าหญิงนวล ธิดาองค์โตของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ออกโอษฐ์พระราชทานเจ้าหญิงปรางให้เป็นภรรยาแทน

ในพระราชพงศาวดารบันทึกประวัติศาสตร์ตอนนี้ไว้ว่า “…เนื่องจากทรงสงสารด้วยภรรยาตาย…” และแม้ท้าวนางฝ่ายในจะทูลเตือน ว่า “นางนั้นขาดระดูอยู่” แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็มิได้ทรงเปลี่ยนพระทัย กลับดำรัสว่า “ได้ออกปากให้เขาแล้วก็พาไปเถิด”

ด้วยเหตุนี้ เจ้าหญิงปรางซึ่งขณะนั้นทรงอยู่ในตำแหน่งเจ้าจอม และทรงครรภ์ได้ ๒ เดือน จำต้องเสด็จไปอยู่นครศรีธรรมราชตามพระราชประสงค์ของพระราชสวามี

หลักฐานเอกสารเรื่อง “อธิบายเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)” ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า “…เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงอย่างกิตติมศักดิ์อยู่จนตลอดอายุ…”

การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรับสั่งประหารชีวิต เจ้าพระยาพิชัยราชา ผู้สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก กรณีแต่งเถ้าแก่ไปสู่ขอเจ้าหญิงปราง แต่กลับพระราชทานเจ้าหญิงปรางซึ่งทรงครรภ์ได้สองเดือนแก่เจ้าอุปราช (พัฒน์) นั้นเป็นเรื่องที่แปลกและน่าที่จะศึกษาค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับพระราชดำริของพระองค์

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมี พระราชวิจารณ์เหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “…อยู่มาเมื่อปลายแผ่นดินตาก ชายาเจ้าอุปราชเมืองนครตาย ด้วยความโปรดปรานอย่างตึงตังอย่างไร หรือเพราะความคิดของเจ้ากรุงธนบุรีที่จะปลูกฝังลูกให้ได้ครอบครองเมืองอื่น ๆ กว้างขวางออกไปแนวเดียวกันกับให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ออกไปครองเมืองเขมรนั้น จึงได้พระราชทานบุตรหญิงเจ้านครซึ่งเป็นน้องเจ้าจอมมารดาฉิม มารดาพระพงศ์นรินทร์ให้ออกไปเป็นชายา…”

เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง เสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองนครศรีธรรมราชอย่างแม่เมือง จนประสูติพระราชบุตรพระนามเจ้าน้อย ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เจ้าน้อยผู้นี้คือพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เอกสารอธิบายเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) กล่าวว่า “…ความที่ว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น แม้ฝรั่งทางเมืองเกาะหมากก็รู้ ได้เขียนหนังสือพิมพ์ไว้ แต่ในรัชกาลที่สาม…”

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าน้อยกับพระราชโอรสพระราชธิดาองค์อื่นๆ ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า “…เจ้าพระยานครผู้นี้มีอำนาจวาสนามากกว่าเจ้าพระยานครทุกคน เป็นเรื่องที่เขาเล่ากระซิบกันเป็นการเปิดเผย และพวกบุตรหลาน เจ้ากรุงธนบุรีก็นับถือว่าเป็นพี่น้อง เหตุฉะนั้นจึงนับเกี่ยวข้องกันใน เชื้อวงศ์เจ้ากรุงธนบุรีกับพวกนครศรีธรรมราช…”

ด้วยเหตุที่กรุงธนบุรีมีสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชเช่นนี้ จึงมีผู้เล่าลือและเชื่อกันว่าเมื่อเกิดเหตุจลาจลปลายกรุงธนบุรี และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก โปรดให้สำเร็จโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น มีผู้ช่วยเหลือให้พระองค์ได้เสด็จหนีไปนครศรีธรรมราช โดยทรงผนวชซ่อนองค์อยู่ในถ้ำวัดเขาขุนพนม ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะ

กล่าวกันว่าปัจจุบัน ยังมีหลักฐานและร่องรอยปรากฏให้เห็น เช่น อาคารที่ประทับ และด้านหน้าถ้ำยังปรากฏร่องรอยของกำแพงก่ออิฐถือปูนประดับใบเสมาทำนองเดียวกับกำแพงเมือง และซากป้อมซึ่งมีช่องคล้ายที่ตั้งปืนใหญ่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผู้พบหลักฐานเอกสารยืนยันคำเล่าลือและความเชื่อดังกล่าว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คำบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รัชกาลที่5
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
sithiphong 7 37596 กระทู้ล่าสุด 07 มิถุนายน 2553 11:07:52
โดย เงาฝัน
โคลงพงศาวดาร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 2 1206 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2564 20:32:30
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.404 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 23:17:00