[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 11:40:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: the regulations of social  (อ่าน 3000 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 13:12:43 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>



......ถ่ายภาพประกอบเนื้อหาโดยข้าพเจ้า(บางครั้ง)ภาพชุดนี้เก็บอยู่ที่ตากล้อง DOTCOM.....



การยกย่อง - สรรเสริญเป็นกฏของสังคมซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นธรรมชาติของสังคม ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมไว้เรื่องหนึ่ง คือ โลกธรรม พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนโลกธรรม 8 ประการ




............................โลกธรรมที่มีค่า.....................




คำสรรเสริญที่มีเหตุผลและตรงต่อความเป็นจริงเป็นโลกธรรมที่มีค่า โลกธรรมเช่นนี้ย่อมก่อเกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ชาติแม้เพียงให้เห็นเป็นแบบอย่างของผู้มีเหตุผล โลกธรรมที่มีค่าจะงดงามและทรงประโยชน์ยิ่งนักเมื่อเเป็นอลังการของผู้มี ตาทิตา = ความคงที่ตามที่พระพุทธองค์ตรัส




...............................กัลยาณมิตร....................



พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องมิตร ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมากมายหลยแห่ง เช่น นฑีฆนิกาย ปฎิกวรรค เป็นต้นเป็นเหตุให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนา รู้จักปฏิบัติตนในฐานะเป็นมิตรของมิตร รู้จักอ่านผู้เป็นมิตและเลือกคบมิตร ประการสำคัญคือการปฏิบัติตนให้เป็นกัลยณมิตรที่เป็นกัลยาณมิตร เมื่อรักษาความเป็นกัลยาณมิตรในจิตของตนให้มั่นคงคุณค่าแห่งกัลยณมิตรในจิต ก็จะทำให้เกิดความงดงามในจิตของตนโดยประการต่าง ๆ ความงดงามในจิตของตนไม่มีใครสามารถเลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นการดำรงตนให้เหมาะสมทั้งในส่วนตนและส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับชีวิตทุกคน ทุกเพศ - ทุกวัย ถ้ารู้จักดำรงตนทั้ง 2 อย่างดังกล่าวข้างต้นอย่างมีเหตุผล อย่างรอบครอบโดยไม่ใช้อารณ์ ก็จะนำตนให้ปลอดภัยและปลอดโปร่ง ทั้งจะนำส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไม่ให้ผิดพลาดหรือถ้าผิดก็ผิดน้อยลง


.......................สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ)วัสระเกศวรวิหาร.......................

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2553 16:14:10 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 13:35:34 »



พุทธศาสนา(พุทธธรรม)มีฐานะเป็นสังคมศาสตร์ เพราะให้ความรู้ความริงเกี่ยวกับสังคม(Society)กฎสังคม (Social Law) บทบาทของสังคม (Social role) และผลของสังคม (Social result ) เช่น ตัวสังคมพุทธ พุทธบริษัท ชุมชนพุทธ กฎกติกาของสังคมพุทธ บทบาทหน้าที่ของชาวพุทธที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามกฎกติกานั้น ๆ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักศีลธรรมมี ศีล 5 หรือมนุษย์ธรรม 5 ทิศ 6 เป็นต้น . พุทธศาสนา (พุทธธรรม) มีฐานะเป็นมนุษย์ศาสตร์ (Humanities) เพราะให้ความรู้ความจริงเกี่ยวกับตัวมนุษย์ทั้งด้านกายภาพ และจิตภาพ (ด้านร่างกายและจิตใจ) องค์ความรู้ของชีวิตมนุษย์ภายใต้ชื่อว่า ขันธ์ 5 คือ รูปธาตุ (ร่างกาย) มีองค์ประกอบหลัก 4 คือ ดิน น้้า ลม ไฟ และนามธาตุ (จิตใจ) คือ เวทนา (รู้สึก) สัญญา (จ้า) สังขาร (คิด) และวิญญาณ (รู้) และอายตนะ 12 คือ เครื่องมือหรือช่อง
ทางเชื่อมต่อธรรมชาติภายในมนุษย์กับธรรมชาติภายนอก ซึ่งแยกเป็น 2 กลุ่มคืออายตนะภายใน 6 ซึ่งเป็นกลไกส้าคัญที่ตัวมนุษย์ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ และอายตนะภายนอก 6 ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถปฏิสัมพันธ์ได้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และธรรมารมณ์ และที่ส้าคัญสูงสุดคือพุทธธรรมได้ชี้ชัดลงไปว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ และต้องพัฒนาโดยให้พยายามแก้สิ่งเลวร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับตน และกันสื่งเลวร้ายที่ยังไม่เกิดให้อยู่ห่างไกล ในขณะเดียวกันให้พยายามเก็บความดีสิ่งดีทั้งหลายที่เกิดแล้ว และก่อสิ่งดีทั้งหลายให้เกิดเพิ่มเติม (หลักสัมมัปปธาน 4) โดยการให้ฝึกฝนอบรมตนใน 3 ด้าน ผ่านระบบ 3 ระบบ คือ ให้ฝึกให้ฝึกกายด้วยระบบคีล ให้ฝึกจิตด้วยระบบสมาธิ และในฝึกจิตวิญญาณด้วยระบบปัญญา (หลักไตรศึกษาหรือหลักอริยมรรคมรรคมีองค์ 8) เพื่อรู้สภาพของปัญหา (ทุกขุ์) เห็นเหตุปัญหา (สมุทัย) แจ้งใจในจุดหมายปลายทางชีวิต (นิโรธ) และลงมือเดินหรือปฏิบัติตามแนวทางนั้น
(มรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขา) เป็นต้น เพื่อหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 หรือภาวสุข - ทุกข์ที่รบกวนจิต
 หลักพุทธธรรมที่ว่านี้เมื่อกล่าวโดยรวมคือ หลักธรรม หรือ หลักธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติแวดล้อมโดยรวม (Natural environments) สังคม-วัฒนธรรมโดยรวม (สังคม การเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น (Social-cultural environment) และที่เกี่ยวกับตัวมนุษย์เอง (Mankind) ที่ท่านพุทธทาสปราชญ์ชาวพุทธเรียกว่า ธรรมะ 4 ความหมาย คือ
1. ธรรมะ คือ ตัวธรรมชาติเอง (Nature itselt) ได้แก่ตัวสภาพของสิ่งนั้นๆ ทั้งภายในและนอกกาย ใจ มนุษย์ เรียกโดยรวมว่า สภาวธรรม ธรรมะหรือธรรมชาติส่วนนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรู้ (ปริญญาธรรม) คือสิ่งที่เรียกในภาษาธรรม (อริยสัจ 4) ว่า ทุกข์ (Suffering) เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ เป็นสถานการณ์ที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ หรือกระทบต่อความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลักพุทธธรรมระบุว่า
มีเหตุเกิด(สมุทัย)
2. ธรรมะ คือ กฎธรรมชาติ (Law of nature) ได้แก่ สัจธรรม คือ ความจริงที่เป็นตัวควบคุมก้ากับสรรพสิ่งให้ด้ารงอยู่และขับเคลื่อนเปลี่ยน
แปลงไปตามหลักความจริง หรือกฎนั้นๆ มนุษย์ สัตว์ พืช สังคม-วัฒนธรรม และธรรมชาติแวดล้อมที่มนุษย์รู้จัก หรือไม่รู้จัก ล้วนอยู่ภายใต้กฎสัจธรรมดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น ธรรมในความหมายนี้เรียกในภาษาธรรม(อริยสัจ 4 )ว่าสมุทัย (Cuase of suffering) เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเห็น
และหาทางขจัดออกหรือท้าตาม(ปหานธรรม)
3. ธรรมะคือ หน้าที่ หรือบทบาท ธรรมชาติ (Duty of nature) ได้แก่ปฏิบัติธรรม คือสิ่งที่ต้องท้าหรือต้องแสดงบทบาทให้ถูก ให้ตรง ให้สอดคล้องต้องตามกฎธรรมชาติ และกฎมนุษย์ที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ เพราะถ้าท้าผิดหรือแสดงผิด หรือปฏิบัติผิดกฎก็จะก่อผลร้าย
แต่ถ้าปฏิบัติถูกจะก่อผลดี ซึ่งมีให้เห็นทั้งในหมู่ พืช สัตว์ ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์เรียกธรรมะในความหมายนี้ว่า กรรม คือการกระท้า
(Action) ถ้าท้าถูกกฎเรียกว่า กรรมดี คือเป็นการกระท้าที่จะเป็นเหตุเกิดผลดี ถ้าท้าผิดกฎ เรียกกรรมชั่ว คือ เป็นการกระท้าที่จะเป็นเหตุเกิดผลเสีย ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นสิ่งอื่น ธรรมในความหมายนี้เรียกในภาษาธรรม (อริสัจ 4 ) ว่า มรรค เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องท้า ต้องประพฤติปฏิบัติให้ถูก
ให้ตรงตามกฎทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ หรือต้องฝึกจิตวิญญาณให้รู้ ฝึกจิตให้คิด ให้เชื่อ และฝึกกายให้ปฏิบัติให้ถูกให้ต้อง
จึงจะเป็นเหตุเกิดผลดีได้(ภาวนาธรรม)
4. ธรรมะคือ ผลธรรมชาติ (Result of nature)ได้แก่ ปฏิเวธรรม คือสิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติธรรม คือ การกระท้าที่ถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่กล่าวในข้อ 2(สัจธรรม) ธรรมในความหมายนี้เรียกในภาษาธรรม(อริยสัจ 4)ว่า นิโรธ(cessation)ในกรณีของมนุษย์ ธรรมส่วนนี้เป็นสิ่งที่ต้องเข้าถึงหรือท้าให้แจ้ง (สัจฉิกิริยา)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2553 16:04:46 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 13:42:05 »



ความเอื้อเฟื้อเป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นทางจิตใจมีลักษณะต่าง ๆ เมื่อมีเปี่ยมล้นอยู่ในใจแล้วแสดงออกมาจากทางการกระทำและการพูด เป็นการกระทำที่เอื้อเฟื้อและการพูดที่เอื้อเฟื้อเป็นคุณธรรมที่เข้าใจง่ายแต่ผู้ที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อที่เกิดจากใจจริง ๆ นั้นหาได้ยาก จึงต้องระวังความเอื้อเฟื้อปลอมซึ่งมีอยู่มาก โบราณจึงมีคำเป็นคติเตือนใจว่า(หน้าเนื้อ - ใจเสือ) แม้จะมีคุณธรรมคือความเอื้อเฟื้ออยู่ในใจก็ต้องแสดงออกแก่ผู้ที่
เห็นคุณค่า ดังภาษิตที่ว่า แม้จะให้แผ่นดินทั้งโลกนี้ก็ไม่ทำให้คนอตัญญู คือ ไม่รู้จักพระคุณพอใจยินดีได้แต่การสร้างความเอื้อเฟื้อให้มีอยู่ในใจก็
ยังมีความสำคัญอยู่นั่นเอง เพราะอย่างน้อยก็ทำให้จิตใจของตนเองชุ่มชื่น อิ่มเอิบ เหมือนกับคนอิ่มเอิบใจในทาน - ศีล เป็นต้น



................................ความเสียสละ........................


ความเสียสละเป็นพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพุทธจริยาที่ทรงสร้างสมจนถึงว่าระแห่งการตรัสรู้
จุดหมายสูงสุดของความเสียสละในพระพุทธศาสนาคือ การเสียสละเพื่อบรรลุนนิพานความเสียสละจึงก้าวสูงขึ้นไปโดยลำดับ ความเสียสละทุกระดับล้วนมีความสำคัญ เช่นความเสียสละเพื่อรักษาแผ่นดินถ้าไม่มีผู้เสียสละเพื่อแผ่นดินชาติไทยคงไม่มีแล้ว ความเสียสละเพื่อสถาบัน ความเสียสละ
เพื่อหน้าที่การงาน ความเสียสละเพื่อสนองงาน ล้วนมีความสำคัญและยังมีผู้มีความเสียสละเพื่อประเทศชาติบ้านเมือง - โลก - สังคม และศาสนา
จึงยังคงอยู่ได้ความเสียสละโดยทางหนึ่งเป็นการลดความเห็นแก่ตัว จนถึงขั้นไม่มีความเห็นแก่ตัว




.....................สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ)วัสระเกศวรวิหาร.....................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2553 16:15:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 14:07:31 »



...........................สัจกวีชาวพุทธกับการหยุดวิกฤตโลก.........................


โลกวันนี้มีวิกฤตติดระดับ
ต่างยอมรับในปัญหาอย่างหน้าใส
เรื่องโลกร้อนเรื่องเศรษฐกิจติดเนื้อใน
อีกเรื่องใหญ่คือการเมืองเรื่องสาคัญ
เราชาวพุทธจุดดีมีอยู่มาก
ไม่ลาบากในอารมณ์มีคมขา
พุทธธรรมคือศาสตร์ปราชญ์แนะนา
ให้จดจาเนื้อในไปด้วยกัน
ให้เรียนรู้หลักธรรมน้อมนาจิต
เข้าใกล้ชิดปัญญาพาสุขสันต์
ใช้ปัญญาเป็นอาวุธรุดโรมรัน
เข้าฟาดฟันตัวปัญหาให้มะลายอันสุข-ทุกข์ น้อยใหญ่ใจมนุษย์
คือตัวจุดสาคัญต้องมั่นหมาย
แก้ไขได้ด้วยปัญญาพาใจกาย
เข้าสู่สายแห่งธรรมพระสัมมา
ให้รู้ธรรม เห็นธรรม น้อมนาจิต
พาชีวิตสู่ธรรมนาหรรษา
ผลแห่งธรรมจะก่อเกิดเปิดชีวา
มุ่งเข้าหาแดนสุขสันต์นิรันดร
ธรรมชาติ คือ ธรรมจาใส่จิต
เกิดวิกฤตต้องใช้ธรรมคาพระสอน
เป็นเครื่องมือแก้ไขไม่อาวรณ์
ทุกขั้นตอนใช้ธรรมมีอาไพ
เศรษฐกิจก็คือธรรมนามาคิด
เกิดวิกฤตต้องใช้ธรรมนาสดใส
เป็นเครื่องมือกอบกู้อยู่ที่ใจ
ผลยิ่งใหญ่เกิดได้เพราะใช้ธรรม
การเมืองก็คือธรรมค้าจุนโลก
เกิดทุกข์โศกเศร้าใจไร้สุขสันต์
ความขัดแย้งแซงหน้าพาชีวัน
เข้าโรมรันเผาผลาญประจานตน
ไม่รู้แพ้รู้ชนะ ตามพระสอน
ไม่อาทรในชีวีมีสับสน
ความรู้แตก ความติดต่างระหว่างตน
ก่อเกิดผลความขัดแย้งทิ่มแทงกัน
เหตุขาดรู้ ขาดเห็น ความเป็นจริง
เห็นแต่สิ่งลวงตาจึงพาฝัน
ใคร่อานาจ ขาดธรรม นาชีวัน
จนตัวปัญญาหายสลายลง
เสรีภาพ คือ ปัญญาเรื่องน่ารู้
ไทยทุกผู้ต้องเข้าใจไม่ไหลหลง
สมานภาพ คือ ความคิดจิตบรรจง
เข้าสู่วงความดี มีสุขใจ
ภรดรภาพ คือ ความรักสลักจิต
ต้องพินิจให้รู้ดูเงื่อนไข
เป็นข้อธรรมนาคนให้พ้นภัย
โลกก้าวไกลห่างวิกฤตชีวิตงาม
ลุกขึ้นเถิดเพื่อนมนุษย์ผู้สุดยอด
มาช่วยถอดความดี มิวาบหวาม
พุทธธรรมของดีแท้แม้ทุกยาม
โลกงดงามก็เพราะธรรมชื่นฉ่าเอย...............................


บทกวีโดย...................สุภาคย์ อินทองคง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2553 14:17:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 15:32:02 »





สาธุ สาธุ สาธุค่ะ น้อง"บางครั้ง"


บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 16:03:03 »





รัก รัก รัก


http://img49.imageshack.us/img49/6030/135029.jpg
the regulations of social

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ น้อง"บางครั้ง"


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.442 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มิถุนายน 2566 00:15:55