[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:38:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "กรม" ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  (อ่าน 924 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 กันยายน 2561 20:16:19 »


กรม


กรม หมายถึง หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ แต่ละกรมมีผู้บังคับบัญชาเพื่อควบคุมคนในกรมให้ทำงานตามระบบระเบียบที่วางไว้  

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรมมี ๒ ประเภท คือ กรมที่เป็นส่วนราชการ หรือ "กรมประจำ"  และกรมเฉลิมพระยศเจ้านาย หรือ "กรมชั่วคราว"

๑.กรมที่เป็นส่วนราชการหรือกรมประจำ คือ กรมที่รวบรวมบรรดาชายฉกรรจ์เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเสนาบดี  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการจัดรูปแบบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็นจตุสดมภ์ มี ๔ กรม แต่ละกรมมีเสนาบดีเป็นผู้ดูแล ขึ้นตรงกับสมุหนายก ดังนี้คือ

กรมเวียง  มีเสนาบดีกรมเมืองหรือกรมเวียง เรียกว่า “นครบาล” เป็นผู้บังคับบัญชาดูแล มีหน้าที่ปกครองความเรียบร้อย รักษาความสงบให้แก่ราษฎร และการให้กรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแก่ราษฎร

กรมวัง เป็นกรมที่ใหญ่ที่สุด มีเสนาบดีกรมวัง เรียกว่า “ธรรมาธิกรณ์” เป็นผู้บังคับบัญชาดูแล มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในราชสำนัก การรักษาความยุติธรรม การพิจารณาคดีความ และแต่งตั้งยกกระบัตรไปประจำตามหัวเมือง  กรมวัง มีกรมที่ขึ้นอยู่ด้วย เช่น กรมมณเฑียร กรมพระตำรวจวังซ้าย กรมพระตำรวจวังขวา กรมสวนหลวง กรมสังฆการี กรมโหร กรมช่างสิบหมู่ กรมเครื่องต้น กรมหมอนวด  ส่วนทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา คอยทำหน้าที่ตรวจราชการทหารทั่วราชอาณาจักร โดยจัดแบ่งการปกครองเป็นกองต่างๆ ได้แก่ กองต่อช้าง กองตำดินปืน กองรักษาตึกดินปืน กองทะลวงฟัน เป็นต้น

กรมคลัง มีเสนาบดีกรมคลัง เรียกว่า ”โกษาธิบดี หรือ เจ้าพระคลัง” เป็นผู้บังคับบัญชาดูแล มีหน้าที่เก็บรับจ่ายเงิน เก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วนอากร การให้กรรมสิทธิ์ที่สวนแก่ราษฎร การจัดการเรื่อยขายสินค้า

กรมนา มีเสนาบดีกรมนา เรียกว่า ”เกษตราธิบดี” เป็นผู้บังคับบัญชาดูแล ทำหน้าที่ออกสิทธิ์ที่นาแก่ประชาชน เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงไว้เป็นเสบียงยามเกิดศึกสงคราม หรือเมื่อเกิดทุพภิกขภัย

กรมวัง กรมคลัง และกรมนา แต่ละกรมมีเสนาบดีเป็นผู้ดูแล ขึ้นตรงกับสมุหนายก

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิรูปการปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเพิ่มกรมขึ้นใหม่จากเดิมที่มี ๖ กรม เป็น ๑๒ กรม คือ กรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ  และเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พงศ.๒๔๓๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมเหล่านั้นเป็นกระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และต่อมาได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเป็นกรม มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงบางกระทรวงใหม่ เช่น กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ  กรมท่า เป็นกระทรวงการต่างประเทศ  

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้น  ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมุรธาธร เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม  เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีเป็นรัฐมนตรี

๒.กรมเฉลิมพระเกียรติเจ้านาย หรือกรมชั่วคราว คือการที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีพระปรีชาสามารถให้ดูแลกรมซึ่งมีคนในสังกัดเพื่อรับใช้ราชการเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระ เรียกว่า “ตั้งกรม” พระบรมวงศานุวงศ์องค์นั้นเรียกว่า “ทรงกรม” มีเจ้ากรมเป็นหัวหน้าบังคับคนในบังคับบัญชา มีปลัดกรมและสมุห์บัญชีเป็นตำแหน่งรองลงมาและเรียกชื่อกรมนั้นๆ ตามอิสริยยศเจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมพระยา และกรมสมเด็จพระ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “เลื่อนกรม” ไปตามลำดับชั้น

อิสริยยศเจ้านายต่างกรมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งใช้เป็นแบบอย่างมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็น ๔ ชั้น คือ

ชั้นที่ ๑ กรมพระ เป็นอิสริยยศสำหรับสมเด็จพระพันปีหลวง พระมหาอุปราช และวังหลัง  ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแก้ไขกรมของสมเด็จพระพันปีหลวงเป็นกรมสมเด็จพระ

ชั้นที่ ๒ กรมหลวง เป็นอิสริยยศสำหรับพระมเหสี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งเจ้าฟ้า (ชั้นใหญ่) ทั้งพระองค์ชายและหญิง

ชั้นที่ ๓ กรมขุน เป็นอิสริยยศสำหรับเจ้าฟ้าราชกุมาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งเจ้าฟ้า (ชั้นเล็ก) แล้วจึงเลื่อนเป็นกรมหลวงต่อไป

ชั้นที่ ๔ กรมหมื่น เป็นอิสริยยศสำหรับพระองค์เจ้า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเลื่อนกรมได้ถึงกรมสมเด็จพระ

ตำแหน่งในกรมเจ้านายนั้นจะต่างกันไปตามอิสริยยศของเจ้าทรงกรม เช่น ถ้าเจ้าทรงกรมมีอิสริยยศเป็นกรมพระยา เจ้ากรมมีตำแหน่งและชั้นยศเป็นพระยา  ปลัดกรมเป็นพระ สมุห์บัญชีเป็นหลวง  ถ้าเจ้าทรงกรมมีอิสริยยศเป็นกรมหลวง เจ้ากรมมีตำแหน่งและยศเป็นพระ  ปลัดกรมเป็นขุน  และสมุห์บัญชีเป็นหมื่น ซึ่งตำแหน่งของเจ้ากรมจะบ่งบอกถึงจำนวนมากน้อยของคนในสังกัดกรมได้อย่างดี



กรมหลวงโยธาเทพ
(สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี)

ความเป็นมาของการตั้งกรมเฉลิมพระเกียรติเจ้านายหรือกรมชั่วคราว คงจะเริ่มมาตั้งแต่เมื่อมีการกำหนดศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ตามพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่น เจ้านายที่ดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า ถือศักดินา ๒๐,๐๐๐ เมื่อเป็นเจ้าต่างกรม ถือศักดินา ๕๐,๐๐๐ เป็นต้น แต่ยังไม่ปรากฏว่าในสมัยนี้มีการกำหนดกรมให้พระบรมวงศานุวงศ์

การเรียกพระนามเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นกรมต่างๆ ปรากฏในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรม ๒ กรม คือ กรมหนึ่งมีเจ้าต่างกรมเป็นกรมหลวงโยธาทิพ (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ) อีกกรมหนึ่งมีเจ้าต่างกรมเป็นกรมหลวงโยธาเทพ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี) ในรัชกาลต่อมาจึงถือเป็นธรรมเนียมราชประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสหรือพระราชวงศ์ให้ทรงกรม และมีไพร่พลสังกัดกรม ถ้าเจ้าผู้ทรงกรมนั้นสิ้นพระชนม์ลง กรมนั้นต้องยุบเลิกและให้โยกย้ายคนในสังกัดกรมกรมนั้นไปไว้กรมอื่น ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตั้งกรมพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์องค์ใหม่ต่อไป เจ้าต่างกรมองค์ใหม่ต้องมีชื่อใหม่ ไม่ใช้ชื่อเดิม ยกเว้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลกรมเดียวที่เมื่อตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ หรือพระมหาอุปราชว่างลงให้คนในสังกัดกรมย้ายไปสมทบกับวังหลวง เมื่อมีการแต่งตั้งพระมหาอุปราชขึ้นมาใหม่ จึงให้ย้ายคนในสังกัดกรมพระราชวังบวรฯ ไปรับราชการในกรมนั้นตามเดิม

ราชประเพณีการตั้งเจ้าต่างกรมนี้ยึดถือสืบทอดกันมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า การที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาเจ้านายให้ทรงกรมเป็นการยกย่องเฉลิมพระเกียรติเจ้านายองค์นั้น ไม่ใช่เพื่อให้สะสมไพร่พลไว้เป็นกำลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเพียงการเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ให้ทรงกรมเท่านั้น และคงมีตำแหน่งเจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี ให้ช่วยทำราชการในหลวงและในกรม ไม่ต้องมีการรวบรวมกำลังคนเพื่อสังกัดกรมแต่อย่างใด ชื่อกรมจึงเป็นอิสริยยศและพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น

เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลก็ไม่ได้ยกเลิกราชประเพณีนี้ มาในรัชกาลที่ ๙ ได้มีการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์พระบรมวงศานุวงศ์ขึ้นเป็นกรมหลวง คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


ที่มาข้อมูล : กรม
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง  
จัดพิมพ์ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 10:57:10