[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 16:51:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพิมลธรรม (ชอบ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานคร  (อ่าน 674 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2561 13:12:08 »



พระพิมลธรรม(ชอบ)
 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) เป็นราชบัณฑิต สาขาวรรณศิลป์

เป็นพระเถระรูปแรกในสังฆมณฑลที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้

มีนามเดิม ชอบ ชมจันทร์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค.2444 ที่บ้านหัวไผ่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี บิดาชื่อ นายชม มารดาชื่อ นางจันทร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน และพี่น้องต่างมารดาอีก 6 คน

อายุ 8 ขวบ เรียนหนังสือไทยเบื้องต้นที่บ้านคุณยายช้อย แล้วไปต่อที่วัดพลับ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี สอบได้ชั้นมูล 3 และศึกษาจนจบชั้นสูงสุดจึงได้หยุดการเรียน

อายุ 14 ปี บรรพชาที่วัดพลับ โดยมีพระครูพนัสนิคม เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังบวชได้ 2 ปี คุณยายช้อยพาไปฝากเรียนบาลีที่วัดใต้ต้นลาน อ.พนัสนิคม โดยมีพระอธิการกราน เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้เริ่มเปิดบาลีขึ้นใน พ.ศ.2459 โดยอาราธนาพระครูอุดมธรรมวินัย (เงิน) วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม.เป็นครูสอน

ได้เรียนบาลีมูลกัจจายนะ แต่ยังไม่ทันแปลคัมภีร์ ครูก็ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวถนน อ.พนัสนิคม โรงเรียนปิดโดยปริยาย จึงเดินทางไปเรียนบาลีต่อที่กรุงเทพฯ

พ.ศ.2461 ไปอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กทม. เมื่อครั้งสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) สมัยยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลีให้ไปอยู่คณะสลัก

เวลานั้นจำกัดอายุนักเรียนสอบธรรม ถ้าเป็นสามเณรต้องอายุ 19 ปี จึงจะสอบได้ และมีเรียนเพียงชั้นตรีกับชั้นโทเท่านั้น ชั้นเอกยังไม่มี

ท่านเรียนพระปริยัติธรรม (แผนกนักธรรม) ควบคู่กันไป พ.ศ.2462 สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ.2463 สอบได้นักธรรมโท แต่ไม่ได้ต่อนักธรรมเอก เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการเรียนการสอน จากนั้นก็เรียนบาลีไวยากรณ์ต่อ

เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดมหาธาตุ เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2465 สมเด็จพระวันรัต (เฮง) เมื่อดำรงสมณศักดิ์พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระศรีสมโพธิ (ช้อย ฐานทัตโต) เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์ กิตติสาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า อนุจารี

ภายหลังอุปสมบท เป็นทั้งนักศึกษาและครูสอนบาลี กระทั่งสำเร็จเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2489 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชลธารมุนี พ.ศ.2492 เป็นชั้นราชที่ พระราชสุธี พ.ศ.2495 เป็น ชั้นเทพที่ พระเทพเมธี พ.ศ.2499 เป็นชั้นธรรมที่ พระโกศาจารย์

พ.ศ.2530 จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่ "พระพิมลธรรม"

ท่านเป็นผู้บุกเบิกในด้านเผยแผ่ทั้งในและนอกประเทศ นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา และอำนวยการสร้างวัดไทยในอเมริกาหลายวัดจนเจริญรุ่งเรือง อาทิ ลอสแองเจลิส, นครเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด, รัฐยูทาห์, วาวเวก เนเธอแลนด์ และสร้างพระพุทธรูปประจำวัดลอสแองเจลิส, วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำการสอบธรรมสนามหลวงไปเปิดในต่างประเทศ เช่น รัฐกลันตัน และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย

แนวทางการเผยแผ่ของท่าน มุ่งเน้นย้ำให้พระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อชุมชนให้มากที่สุด

และยังมีตำแหน่งหน้าที่การงานสำคัญมากมาย อาทิ กรรมการชำระพระไตรปิฎกแปล, กรรมการตรวจบาลีสนามหลวง, กรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย, เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี, แม่กองธรรมสนามหลวงถึง พ.ศ.2503, เจ้าคณะตรวจการภาค 9, งานตรวจประกวดหนังสือชิงรางวัลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ

ด้านเชิงกวีนิพนธ์ ประพันธ์บทคำกลอนในเชิงวรรณกรรมทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองในทางพุทธศาสนาไว้มากมาย รวมจำนวนมากกว่า 109 เรื่อง เช่น เทวธรรม (พ.ศ.2490) โอวาทสมเด็จ (พ.ศ.2497) ตำนานสวดมนต์ (พ.ศ.2502) งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ.2504) พระคุณของแม่ (พ.ศ.2513) สุญญตาธรรมิกถาร้อยกรอง (พ.ศ.2517) ฯลฯ

รวมทั้งริเริ่มยกฐานะวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ ผลงานวรรณกรรมที่ได้รับพระราชทานรางวัล คือ เรื่อง วุฒิ 4 และ "จักร 4" และหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเรื่อง "ตระกูลอันมั่งคั่ง จะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน 4"

ปัจจุบันผลงานทั้งหมดถูกรวบรวมไว้ที่ หอธรรมราชบัณฑิต วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี และถูกนำไปใช้เป็นข้อคิดเตือนใจพิมพ์ไว้ในหนังสือที่ระลึกงานต่างๆ อย่างแพร่หลาย

วาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านอาพาธเรื้อรัง ก่อนละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2535 เวลา 13.40 น. สิริอายุ 92 ปี พรรษา 70


อริยะโลกที่ 6

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 4377 กระทู้ล่าสุด 07 เมษายน 2557 13:54:37
โดย Kimleng
โลกุตรธรรมกับพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 1 8191 กระทู้ล่าสุด 01 มีนาคม 2560 12:42:59
โดย Kimleng
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1701 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2561 19:13:24
โดย Kimleng
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 709 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2561 13:03:53
โดย ใบบุญ
พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 557 กระทู้ล่าสุด 25 มีนาคม 2563 14:18:40
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.279 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 10 พฤศจิกายน 2566 22:21:39