[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 09:44:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย “เปียโนสีทอง”  (อ่าน 998 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 ธันวาคม 2561 15:47:33 »




สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร บันทึกเทปพระราชทานพรวันคริสต์มาส ที่พระราชวังบัคกิงแฮม
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2018 (ภาพจาก AFP)


ว่าด้วย “เปียโนสีทอง” และงานศิลป์ในภาพควีนอลิซาเบธพระราชทานพรที่เตะตาทั่วโลก
ที่มา - นิตยสารศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันพฤหัสที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2561

ภาพสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรที่เผยแพร่ในช่วงก่อนหน้าพระราชทานพรในวันคริสต์มาสแสดงให้เห็นถึงเครื่องประดับในห้องหนึ่งของพระราชวังบัคกิงแฮม สิ่งของและเครื่องประดับตกแต่งในห้องเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่คนส่วนใหญ่พูดถึงไม่แพ้สารจากพระราชดำรัส โดยเฉพาะเปียโนสีทองที่ตั้งอยู่มุมขวาสุดของภาพ

ทั่วโลกได้รับชมภาพที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 จะพระราชทานพรเนื่องในวันคริสต์มาส ซึ่งพระราชดำรัสว่าด้วยเรื่องคำสอนของศาสนา และหัวข้อที่พระองค์ตรัสว่าด้วยเรื่องความเคารพก็เป็นที่พูดถึงมากในยุโรป นอกเหนือจากนั้นแล้ว ยังมีประเด็นควันหลงที่ตามมาอีก

หัวข้อที่ชาวไซเบอร์นำมาแลกเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลายคือรายละเอียดในภาพที่เผยแพร่มา องค์ประกอบของห้องเลี้ยงรับรองสีขาวที่ใช้บันทึกภาพนั้นแสดงให้เห็นถึงสิ่งของและเครื่องประดับตกแต่งสีทองเปล่งประกายดึงดูดสายตาหลายชิ้น

สิ่งของชิ้นแรกที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงคือเปียโนสีทองด้านขวามือของภาพ เปียโนหลังนี้เป็นเปียโนเคลือบ(สี)ทองผลิตโดย S & P ERARD และตกแต่งด้วยภาพวาดหลากสีโดย François Rochard (ค.ศ.1798-1858)

เปียโนหลังนี้ถูกสร้างเพื่อถวายแก่ราชวงศ์เมื่อปี ค.ศ.1856 มันถูกผลิตเพื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามี ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าทั้งสองพระองค์ทรงชื่นชอบดนตรี ที่ประทับส่วนพระองค์แทบทุกแห่งของทั้งสองพระองค์มักมีเปียโนอยู่เสมอ ขณะที่เปียโนหลังนี้เดิมทีถูกวางไว้ว่าจะนำไปไว้ที่ห้องสาธารณะซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถและราชวงศ์ใช้รับแขก

เปียโนทำจากไม้หลายชนิด อาทิ มะฮอกกานี ซาตินวู้ด และไพน์ เคลือบ(ชุบ)ทอง (บางสันนิษฐานว่าอาจเป็นสีที่ออกมาเหมือนทองก็เป็นได้) พร้อมลวดลายภายนอกด้วยศิลปะสไตล์ Singerie อันประกอบไปด้วยภาพลิงที่กำลังเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมของมนุษย์

ส่วนผู้ผลิตเปียโนนี้คือสองพี่น้องที่ตั้งชื่อกิจการว่า S & P ERARD กิจการก่อตั้งโดย Sébastien Erard (1752-1831) นักสร้างเปียโนที่เคยย้ายไปปารีสเพื่อประกอบอาชีพผลิตเปียโนให้ชนชั้นสูงชาวฝรั่งเศส และร่วมมือกับน้องคือ Jean-Baptiste Erard กิจการของสองพี่น้องเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในยุคสมัยของพระนาง Marie-Antoinette แต่หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี 1789 กิจการก็ซบเซา พวกเขามาเปิดสาขาในลอนดอนประมาณปี 1790 เริ่มต้นกิจการด้วยการเน้นผลิตฮาร์ปเป็นหลัก

ส่วนรูปปั้นหินอ่อนที่ตั้งอยู่ด้านหลังเปียโน เป็นรูปปั้นของ Sappho กวีสมัยกรีกโบราณ ฝีมือของ William Theed นักปั้นที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเจ้าชายอัลเบิร์ตนิยมเรียกใช้ ผลงานหลายชิ้นของ Theed จัดแสดงตกแต่งในพระราชวังบัคกิงแฮม

รูปปั้นนี้เชื่อว่าเป็นหนึ่งงานแรกๆ ที่ Theed ได้รับจากราชวงศ์อังกฤษหลังจากที่เขาเดินทางกลับมาจากโรม ในปี ค.ศ.1848 ช่วงเวลานั้นเป็นยุคที่เขามีชื่อเสียงมาก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในช่างปั้นรูปปั้นแนวนีโอคลาสสิกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอีกคนในอังกฤษ

รูปปั้น Sappho สำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อ ค.ศ.1851 ด้วยงบประมาณ 157.10 ปอนด์ รูปปั้นนี้ถูกถวายให้เจ้าชายอัลเบิร์ตสำหรับเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในวันที่ 26 สิงหาคมปีเดียวกัน และจะตั้งไว้ที่ทางเดินชั้นแรกของออสบอร์นเฮาส์ ที่ประทับในฤดูร้อนของทั้งสองพระองค์ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าต่างโปรดงานศิลปะ หลังจากพระนางวิกตอเรียสวรรคต รูปปั้นก็ถูกย้ายมาที่พระราชวังบัคกิงแฮมเมื่อปี 1902

นอกเหนือจากเปียโนและรูปปั้นหินอ่อนแล้ว ในภาพยังมีสิ่งของที่มีความเป็นมาน่าสนใจอีกหลายชิ้น อาทิ ต้นคริสต์มาสด้านข้างเปียโน ซึ่งแดนผู้ดีย่อมทราบดีว่า ธรรมเนียมประดับต้นคริสต์มาสกันในเทศกาลนี้แพร่หลายในหมู่สามัญชนเพราะอิทธิพลจากราชวงศ์นั่นเอง โดยข้อมูลที่คนส่วนใหญ่รับรู้กันคือควีนชาร์ล็อตต์ เจ้าหญิงจากเยอรมนีที่ภายหลังอภิเษกสมรสกับพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระองค์เป็นผู้ทำให้สหราชอาณาจักรรู้จักต้นคริสต์มาส พระองค์นำต้นคริสต์มาสจากเยอรมนีเข้ามาสหราชอาณาจักร และเริ่มประดับต้นไม้ด้วยเทียน ดอกไม้กระดาษ และลูกกวาด ตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษ 1790s

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โศลก ว่าด้วย ฝุ่นบนกระจก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2754 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2553 13:14:41
โดย เงาฝัน
อุรคชาดก ว่าด้วย เปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ
นิทาน - ชาดก
เงาฝัน 1 2555 กระทู้ล่าสุด 19 เมษายน 2555 21:11:31
โดย หมีงงในพงหญ้า
ว่าด้วย... พึงเที่ยวไปผู้เดียว
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
เงาฝัน 0 1500 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2555 19:04:14
โดย เงาฝัน
ว่าด้วย ศิวลึงค์ เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมคนอินเดียถึงบูชาพระศิวะแบบนี้ ?
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
หมีงงในพงหญ้า 0 1573 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2564 21:46:26
โดย หมีงงในพงหญ้า
[ข่าวมาแรง] - ย้อนอ่าน 112WATCH คุยกับ 'เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์' ว่าด้วย ม.112 กับการเลือกต
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 85 กระทู้ล่าสุด 22 สิงหาคม 2566 01:12:32
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.292 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 17:28:11