[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 03:32:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ญาณสังวรธรรม (เทศนาพิเศษ) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  (อ่าน 12319 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2562 11:55:07 »




ญาณสังวรธรรม
เทศนาพิเศษ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-----------------------------------------

โอฆตรณกถา*
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
สทฺธาย ตรติ โอฆํ       อปฺปมาเทน อณฺณวํ
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ ปญฺญาย ปริสุชฺฌตีติ

บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี อนุรูปพระราชกุศล ๕๐ วัน พระราชทานที่ศพ พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ตามทางพระพุทธศาสนา

หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ ได้ทรงมีประวัติราชการอันงดงาม เพราะได้ทรงได้รับความอบรมมาเป็นอันดีตั้งแต่ในเบื้องต้น ทรงสำเร็จการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้วก็ได้ทรงกลับเข้ามารับราชการฉลองพระเดชพระคุณ ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งราชการที่สำคัญทั้งในทางราชการประจำ ทั้งในคณะรัฐบาล มีพระเกียรติปรากฏทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความที่ทรงเจริญด้วยความรู้ความสามารถและหน้าที่ราชการทั้งปวงนำให้ทรงมีพระเกียติประวัติอันดีเช่นนี้ กล่าวได้ว่าเพราะทรงดำรงอยู่ในธรรมะของราชตระกูลเทวกุล ตามพระราชนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการว่า “อย่าเลินเล่อเผลองงหลงใหล มีทั้งอายทั้งกลัวความชั่วช้า รักษามั่นความดีที่สุกใส สงบอย่างผู้เลิศในโลกไซร้ ท่านกล่าวไว้นี้คือ เทวธรรม”  ธรรมะตามพระนิพนธ์นี้ก็เป็นธรรมะในพระพุทธศาสนานั้นเอง จึงกล่าวได้ว่าสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ สืบมาถึงพระโอรสธิดา ได้ทรงมีธรรมะในพระพุทธศาสนา มีศรัทธาเป็นต้น  ฉะนั้น จะถวายวิสัชนายกธรรมะ ๔ ข้อ คือ ศรัทธา ๑ อัปปมาท ๑ วิริยะ ๑ ปัญญา ๑  ตามพระพุทธนิพนธ์ภาษิตบทอุเทศว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ เป็นต้น แปลความว่า ย่อมข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำ) ได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอัณณพ (น้ำลึก) ได้ด้วยอัปปมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ดั่งนี้

ข้อแรก ย่อมข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำ) ได้ด้วยศรัทธา มีอธิบายว่า ศรัทธาได้แก่ ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ในบุคคลที่ควรเชื่อ สิ่งที่ควรเชื่อนั้น คือสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ตามที่ต้องการ ในทางคดีโลกก็เช่นเรื่องที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทางการศึกษา การอาชีพ ทางความประพฤติตน ตลอดถึงเรื่องทั้งปวงที่มีผู้มาบอกกล่าวชักชวนที่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ เรื่องเหล่านี้มีความสำคัญน้อยหรือมาก ตามแต่ที่จะเกิดคุณหรือโทษน้อยหรือมาก เพราะบางเรื่องที่ไม่ควรเชื่อ เมื่อไปเชื่อเข้าก็ให้เกิดโทษได้มากมาย ในทางที่ตรงกันข้ามคือเรื่องที่ควรเชื่อ เมื่อมีความเชื่อในเรื่องเช่นนี้ก็ให้เกิดคุณเป็นอันมาก เช่นความเชื่อที่เป็นเหตุให้เลือกการศึกษาที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความประพฤติตนที่ถูกต้อง ตลอดถึงเรื่องเลือกคบบุคคลที่ถูกต้อง ในทางคดีธรรม เรื่องที่ควรเชื่อนั้นก็ได้แก่ กรรม ผลของกรรม ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในข้อท้ายนี้เป็นศรัทธาในบุคคลที่ควรเชื่ออันจำเป็นจะต้องมี เพราะทุกๆ คนในเบื้องต้นจำเป็นจะต้องมีความเชื่อในบุคคลที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อคำสั่งสอนของมารดาบิดา เชื่อคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เชื่อการปกครองของพระมหากษัตริย์ คือเชื่อฟังกฎหมายบ้านเมือง ตลอดถึงเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ทั้งนี้จะต้องเชื่อความรู้ไม่ดูหมิ่นความรู้ของบุคคลเหล่านี้ เช่นบุตรธิดาเชื่อความรู้ของบิดามารดาไม่หมิ่นความรู้ของท่าน จึงจะทำให้เกิดความเชื่อฟังโอวาทของท่านไม่เห็นว่าท่านเป็นคนล้าสมัยไม่มีความรู้อะไร พิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าทุกๆ คนจำต้องเรียนความรู้ของบุคคลอื่นอยู่เป็นอันมาก ตำรับตำราทั้งหลายที่เล่าเรียนกันก็เป็นความรู้ของคนอื่นทั้งนั้นที่ได้ค้นคว้าเรียบเรียงเอาไว้ ความรู้ที่เป็นของตนเองจริงๆ นั้นหมายถึงว่าที่ตนเองคิดขึ้นมาได้ใหม่จริงๆ น่าจะมีน้อยมาก ฉะนั้นผู้ที่มีสติจึงไม่อวดดีดื้อดึง ย่อมเคารพเชื่อฟังในบุคคลที่ควรเชื่อฟังทั้งหลายดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น ศรัทธาคือความเชื่อที่ถูกต้องย่อมเป็นเหตุให้ข้ามโอฆะคือห้วงน้ำได้ คำว่าโอฆะคือห้วงน้ำนี้โดยตรงหมายถึงห้วงน้ำที่ไหลบ่ามาท่วมบ้านเรือน ดังเช่นในคราวน้ำท่วมหมายถึงอารมณ์วู่วามที่เกิดขึ้นในจิตใจ อันก่อให้เกิดปรารถนาต้องการตลอดถึงความโลภ โกรธ หลง อย่างวู่วาม เป็นเหตุให้เกิดความดื้อดึงไม่เชื่อฟังในสิ่งที่ควรเชื่อในบุคคลที่ควรเชื่อ ห้วงน้ำชนิดนี้สามารถพัดพาบุคคลให้ประสบความวิบัติเป็นอันตรายร้ายแรงยิ่งกว่าห้วงน้ำภายนอก แต่ถ้ามีศรัทธาคือความเชื่อที่ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งที่ควรเชื่อในบุคคลที่ควรเชื่อดังกล่าวแล้ว ย่อมจะเอาชนะห้วงน้ำในจิตใจของตนได้ คือจะไม่ประพฤติไปตามอำนาจของอารมณ์และกิเลสที่วู่วามนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นผู้ข้ามพ้นอันตรายมีความสวัสดี ฉะนั้น จึงได้มีพระพุทธนิพนธ์ตรัสไว้ว่า ย่อมข้ามโอฆะ คือห้วงน้ำได้ด้วยศรัทธา ดั่งนี้

ศรัทธาคือความเชื่อดั่งนี้ย่อมนำให้เกิดสติ อีกอย่างหนึ่งศรัทธาอย่างนั้นจะมีขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยมีสติคือความระลึกและความรู้ตัว สตินี้แหละเป็นความไม่ประมาท คือความไม่มัวเมาเลินเล่อเผลอเพลิน ซึ่งได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้เป็นข้อที่ ๒ ว่าย่อมข้ามอัณณพ (น้ำลึก) ได้ด้วยอัปปมาท คือความไม่ประมาท ความไม่ประมาทคือความไม่มัวเมาเลินเล่อเผลอเพลินดังกล่าว จำต้องประกอบด้วยสติ ท่านจึงอธิบายความไม่ประมาทไว้ว่า คือความไม่อยู่ปราศจากสติ อันสิ่งที่เป็นเหตุทำให้เผลอสติหรือเสียสตินั้นย่อมมีอยู่เป็นอันมาก อันได้แก่อารมณ์คือเรื่องทั้งหลาย อันเป็นเรื่องที่ชวนให้ยินดีตื่นเต้นลุ่มหลง เช่นลาภยศสรรเสริญสุขก็มี อันเป็นเรื่องที่ชวนให้ยินร้ายเสียใจ เช่นความเสื่อมลาภเสื่อมยศนินทาทุกข์ก็มี ทั้งบุคคลสามัญย่อมมีกิเลสต่างๆ ฝังลึกประจำอยู่ในจิตใจ จึงเปรียบได้กับอัณณพ คือน้ำลึกเช่นทะเลหรือมหาสมุทรอันลึกซึ่งมีคลื่นลมจัด ทุกๆ คนย่อมดำเนินชีวิตผ่านกิเลสและอารมณ์ทั้งหลายเหมือนอย่างโดยสารเรือข้ามมหาสมุทรที่ประกอบด้วยคลื่นลมจัด ถ้าเรือเล็กไปหรือประคองลำเรือไม่ดีย่อมจะอับปางเป็นอันตรายในท่ามกลางมหาสมุทร กระแสชีวิตของบุคคลก็ฉันนั้น ถ้าเป็นผู้ประมาทมัวเมาเลินเล่อเผลอเพลินมีสติรักษาตนไม่เพียงพอก็จะต้องประสบวิบัติเป็นอันตราย พระบรมศาสดาตรัสสอนให้ทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถานคือ ๑ ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต ๒ ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต ๓ ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต ๔ ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก อีกอย่างหนึ่ง ๑ ระวังใจไม่ให้กำหนดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๒ ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ๓ ระวังใจไม่ให้หลงใหลในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๔ ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ทั้งนี้ต้องอาศัยความมีสติเป็นเพื่อรักษาตัวอยู่เสมอ จึงไม่สามารถข้ามพ้นอัณณพคือน้ำลึกหมายถึงทะเลแห่งชีวิตซึ่งประกอบด้วยคลื่นลมขึ้นลงสูงต่ำอยู่เสมอ มีความสวัสดีตลอดไปได้ จึงได้มีพระพุทธนิพนธ์ตรัสไว้ว่า ย่อมข้ามอัณณพคือทะเลลึกได้ด้วยความไม่ประมาท ดั่งนี้

ความไม่ประมาทย่อมนำให้เกิดความเพียรเป็นเหตุให้พ้นความทุกข์ได้ จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้เป็นข้อที่ ๓ ว่า ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ความเพียรนั้นหมายถึงความพากเพียรพยายามละการที่ควรละ ประกอบกระทำการที่ควรประกอบกระทำ มีฉันทะคือความพอใจใคร่จะทำ มีวิริยะคือความกล้าที่จะทำ มีจิตตะคือความเอาใจใส่ไม่ทอดธุระในการที่ทำ มีวิมังสาคือความใคร่ครวญพิจารณาในการทำให้รอบคอบถูกต้อง วิริยะคือความเพียรนี้เป็นธรรมะที่ก่อให้เกิดการกระทำขึ้น ความสำเร็จของกิจการทั้งหลายย่อมเกิดจากการกระทำ แต่ทั้งนี้ก็ต้องหมายความว่าต้องเว้นจากการที่ไม่ควรกระทำด้วย เพราะถ้าไปทำการที่ไม่ควรกระทำ ส่วนการที่ควรกระทำกลับไม่ทำย่อมไม่เกิดผลดีแต่กลับเกิดผลร้าย  ฉะนั้น เพื่อควบคุมความหมายให้สมบูรณ์จึงได้มีอธิบายความเพียรเป็น ๒ สถาน (เพียรละและเพียรทำ) ดังกล่าวแล้ว แลพึงเข้าใจว่าในการละนั้นก็ไม่ใช่ของง่ายนัก เช่นเมื่อมีความอยากแรงกล้าจะทำอะไร แม้จะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่ก็ยากที่จะหักห้ามใจได้ ขณะที่โกรธขึ้นมาอยากจะว่าร้ายทำร้ายต่อคนที่โกรธ ก็ยากที่จะห้ามใจได้ เพราะฉะนั้น คนเราจึงต้องทำความชั่ว ความผิดต่างๆ แต่ความดีนั้นกลับยากที่จะกระทำ ความเพียรจึงต้องใช้โดยตรงก็คือเพียรข่มใจตนเองไม่ให้ผลุนผลันทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ และเพียรยกใจตนเองจากความเกียจคร้านให้ทำให้สิ่งที่ควรทำโดยมีศรัทธาและความไม่ประมาทดังกล่าวมาแล้วโดยลำดับนั้นแหละเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน อีกอย่างหนึ่ง พึงทำความเข้าใจว่า ๒ ข้อข้างต้นนั้นมาปรากฏเป็นการกระทำขึ้นในข้อนี้  ฉะนั้น ข้อนี้จึงเป็นข้อสำคัญในด้านการกระทำ ซึ่งมี ๒ ข้อข้างต้นสนับสนุน ถ้าปราศจาก ๒ ข้อข้างต้นเสียแล้ว ความเพียรชอบคือละการที่ควรละทำการที่ควรทำจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ความเพียรควรเร่งรีบทำในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจะมาต่อวันพรุ่งนี้ และว่า ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย ก็เพื่อให้รีบเร่งกระทำความเพียรทันเวลาทันท่วงที ก็จะสามารถล่วงพ้นความทุกข์ประสบความสุขได้โดยลำดับ อันความทุกข์เดือดร้อนต่างๆ ที่เกิดจากการข้ามห้วงน้ำหรือทะเลลึกแห่งชีวิตก็เพราะขาดความเพียรชอบนี้เอง หรือจะกล่าวว่าเพราะขาดศรัทธาในข้อ ๑ ขาดความไม่ประมาทในข้อ ๒ ก็ได้ ทั้ง ๓ ข้อ ย่อมส่องความถึงกัน อีกอย่างหนึ่ง การใช้ความเพียรในทางที่ผิดไม่เรียกว่าความเพียร ในที่นี้ ความเพียรชอบเท่านั้นที่มุ่งหมายในที่นี้เพราะเป็นเหตุให้ล่วงความทุกข์ได้ จึงได้มีพระพุทธนิพนธ์ตรัสไว้ว่า ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ดั่งนี้

อันความเพียรชอบนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือเพียรอบรมปัญญาให้บังเกิดขึ้นเพราะบุคคลจะบรรลุถึงความบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยปัญญา ดังพระพุทธโอวาทข้อที่ ๔ ว่าย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ปัญญาคือความรู้ทั่วถึง สัจจะคือความจริงตามเหตุผล หรือความรู้ทั่วถึงเหตุผลตามความเป็นจริงเกิดขึ้นจาก ๑. สุตะคือการสดับฟังได้แก่การเรียนอาศัยตาหูเป็นต้น ๒. จินตาความพินิจพิจารณา ๓. ภาวนาความอบรมให้มีขึ้น ให้เป็นขึ้น ทุกๆ คนจำเป็นต้องอบรมปัญญาด้วยวิธีดังกล่าว ทั้งในทางคดีโลกทั้งในทางคดีธรรม สำหรับในทางคดีโลกนั้นก็เพื่อประกอบอาชีพละเพื่อประโยชน์ที่ต้องการต่างๆ ส่วนในทางคดีธรรมก็เพื่อรู้จักบาปบุญคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ และเพื่อรู้ในอริยสัจเพื่อกำจัดกิเลสและกองทุกข์ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันเครื่องเศร้าหมองที่ตรงกันข้ามกับความบริสุทธิ์ของบุคคลนั้น ในพระพุทธศาสนาเรียกว่ากิเลส แปลว่าเครื่องเศร้าหมอง กิเลสทางจิตใจเช่นความดิ้นรนปรารถนา ความโลภโกรธหลงอันเป็นอกุศลมูลคือมูลเหตุอกุศลต่างๆ กิเลสทางกรรมดังที่เรียกว่ากรรมกิเลส มีการฆ่าเขาการลักของเขารวมเรียกว่าทุจริตต่างๆ พิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่าเป็นเครื่องเศร้าหมองจริงๆ เพราะบุคคลผู้มีจิตใจประกอบด้วยกิเลสเหล่านี้ทั้งมีกรรมเป็นกรรมกิเลสดังกล่าวย่อมมีจิตใจเศร้าหมอง มีหน้าตาเศร้าหมองไม่ผ่องใส ทั้งเมื่อต้องประสบทุกข์ต่างๆ อันเป็นผลของกิเลสก็ยิ่งเศร้าหมองมากขึ้นอีก วิธีกำจัดเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้เมื่อกล่าวโดยสรุปก็พึงกำจัดได้ด้วยศีลสมาธิและปัญญา เพราะว่าศีลเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบดังจะเรียกว่ากรรมกิเลสก็ได้ เพราะเมื่อมีศีลก็จะเว้นจากกรรมกิเลสทั้งปวงได้ สมาธิเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจ ดังที่เรียกว่านิวรณ์คือเครื่องกั้นจิตไว้ไม่ให้บรรลุความดี ปัญญาเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียดที่นอนจมหมักหมมอยู่ในจิต

อนึ่ง ท่านแสดงว่า ปัญญาเป็นเครื่องละได้เป็นอย่างดี พิจารณาดูก็จะพึงเห็นได้ว่ากิเลสนั้นเกิดขึ้นในจิตเพราะจิตประกอบด้วยโมหะคือความหลง หรืออวิชชาคือความไม่รู้ในสัจธรรม  ฉะนั้น เพื่ออบรมจิตให้เกิดปัญญาคือความรู้จริงขึ้น อวิชชาและโมหะหายไป กิเลสก็จะตกไปจากจิตไม่ตั้งอยู่ได้ เหมือนอย่างการคบคนโกงทรยศด้วยเข้าใจว่าเป็นมิตรแท้ก็ด้วยโมหะคือความหลงเข้าใจผิด เมื่อมีปัญญาคือความรู้จริงขึ้นว่าผู้นี้เป็นเช่นนี้ ก็จะเลิกคบเป็นมิตรแท้ทันที การให้ปัญญาคือความรู้แก่จิตใจจึงเป็นข้อสำคัญในการละเครื่องเศร้าหมองทางจิตใจทั้งปวง ทั้งนี้จะมีขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยการอบรมปัญญาในธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งปฏิบัติอบรมจิตใจตามพระธรรมคำสั่งสอน ก็จะได้ปัญญาเห็นธรรมขึ้นโดยลำดับ เป็นเครื่องละเครื่องเศร้าหมองไปโดยลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะบรรลุถึงความบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองไปโดยลำดับจนถึงบริสุทธิ์สิ้นเชิง จึงได้มีพระพุทธนิพนธ์ตรัสไว้เป็นข้อที่ครบ ๔ ว่า ย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญาดังนี้ แม้การอบรมปัญญาในข้อที่ ๔ นี้ ก็พึงทราบว่าต้องมีธรรมใน ๓ ข้อข้างต้นสนับสนุน คือต้องมีศรัทธามีความไม่ประมาทและมีความเพียร อบรมศีลสมาธิปัญญาให้เกิดขึ้นเป็นมรรคสมังคีคือความพร้อมเพรียงกันแห่งองค์มรรคอันหมายถึงการปฏิบัติร่วมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวและความบรรลุถึงความบริสุทธิ์นั้นก็หมายความว่าเป็นการข้ามโอฆะ คือห้วงน้ำข้ามอัณณพคือทะเลลึก เป็นการล่วงทุกข์ได้ด้วยประการฉะนี้

หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงศ์ เทวกุล ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่างๆ มาด้วยดีโดยลำดับจนถึงที่สุดกล่าวได้ว่าเพราะทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในทางแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีศรัทธาเป็นต้นดังที่ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนามา

ขออำนาจพระราชกุศลทักษิณานุปทานพระราชทานที่ศพหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงศ์ เทวกุล ทั้งนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์วิบากสมบัติสมดังที่ได้มีพระมหากรุณาพระราชทานอุทิศหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงศ์ เทวกุล โดยฐานะนิยม

ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้พระสงฆ์ทั้ง ๔ รูปจะได้รับพระราชทานสวดคาถาธรรมบรรยายโดยสรภัญญะวิธีเพิ่มพูลอัปปมาทธรรมสืบต่อไป

ถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ยุติลง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร


* ทรงแสดงเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ในการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระราชทานที่ศพ พลตรี ม.จ.ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๓
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 06 มกราคม 2563 14:20:20 »




ญาณสังวรธรรม
เทศนาพิเศษ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-----------------------------------------

อัปปมาทกถา*
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ       อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต
ทิฏเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ        โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปญฺฑิโตติ ปวุจฺจตีติฯ

บัดนี้ จักถวายวิสัชชนาพระธรรมเทศนา อนุรูปการบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน ที่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ พร้อมทั้งประยูรญาติ ได้บำเพ็ญอุทิศ คุณท้าววนิดาพิจาริณี ในสัตตมวารนี้ ตามทางพระพุทธศาสนา

คุณท้าววนิดาพิจาริณีนั้นได้เป็นบุพพการินีแห่งบุตรธิดาสืบมาถึงสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ท่านได้บำเพ็ญกณียะตามสมควรแก่ภาวะนั้นๆ มาโดยลำดับจนถึงที่สุด ท่านจึงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูง

อันชีวิตของทุกๆ คนย่อมมีคติธรรมคือเกิดแก่ตายเหมือนกันหมด ต่างแต่บุคคลผู้ประมาทหรือไม่ประมาท คือ บุคคลผู้ประมาทย่อมไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งชีวิตได้ ส่วนผู้ไม่ประมาทย่อมถือเอาประโยชน์ ได้ ตามพระพุทธภาษิตที่ยกขึ้นไว้เป็นบทอุทเทศ ณ เบื้องต้นว่า อุปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ เป็นอาทิ แปลความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมถือเอาประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้าเรียกธีรชนว่าบัณฑิตเพราะบรรลุประโยชน์ ดังนี้

พระพุทธภาษิตนี้ถือเอาใจความได้ว่า จะชื่อว่าบัณฑิตก็ต้องเป็นผู้ไม่ประมาทและถือเอาประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ หรือจะถือเอาประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ก็ต้องเป็นบัณฑิตผู้ไม่ประมาท ความบรรลุประโยชน์เป็นผล ส่วนความเป็นบัณฑิตไม่ประมาทเป็นเหตุ และเมื่อว่าถึงเหตุดังกล่าว จะเป็นบัณฑิตก็ต้องเป็นผู้ไม่ประมาท หรือเมื่อไม่ประมาทก็ชื่อว่าเป็นบัณฑิตได้

คำว่า “บัณฑิต” แปลว่าผู้ดำเนินประโยชน์กิจด้วยปัญญา หมายถึงผู้ที่ใช้ปัญญาทำกิจที่เป็นประโยชน์ต่างๆ เช่น ประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้าดังกล่าว ในพระพุทธภาษิตนี้ จึงหมายถึงผู้ที่มีปัญญา ทั้งความประพฤติดีประกอบกัน ต่างจากคำนี้ที่ใช้ทางการศึกษา ในภาษาไทย คือผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูง เรียกว่า บัณฑิต หมายถึงความรู้อย่างเดียว ส่วนในที่นี้มิได้ใช้ในความหมายดังนั้น แต่ใช้หมายถึงผู้ที่มีปัญญาทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ ความเป็นบัณฑิตจึงมีด้วยผลคือประโยชน์ที่ได้ที่ถึงดังกล่าวนั้น และจะมีปัญญาก็ต้องไม่ประมาท

ความไม่ประมาท คือ ความไม่มัวเมา เลินเล่อ เผลอเพลิน มีสติเป็นเครื่องรักษาตนรักษาจิตใจ ตรงกันข้ามกับความประมาท คือ ความมัวเมา เลินเล่อ เผลอเพลิน ปราศจากสติ คำว่ามัวเมาหมายถึงความมัวเมาทางจิตใจ ความเมาสุราเป็นความเมาทางกาย ส่วนความเมาในอารมณ์คือเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความเมาหรือเป็นเครื่องยั่วให้เกิดความเมา เป็นความเมาทางจิตใจ คำว่าเลินเล่อคือขาดความรอบคอบ เพราะมิได้พินิจพิจารณาโดยรอบคอบ คำว่าเผลอเพลิน คือเผลอสติเผลอปัญญา เพลินยินดีไปในอารมณ์ดังกล่าว เหล่านี้เป็นลักษณะของความประมาททั้งนั้น

ในโลกนี้มีอารมณ์คือเรื่องอันเป็นเครื่องชักนำให้เกิดความประมาทอยู่เป็นอันมาก ที่เป็นภายในก็มีเป็นภายนอกก็มี เช่นวัยอันเจริญงดงาม ความไม่มีโรค และชีวิตที่ดูเหมือนห่างไกลความตาย และสมบัติคือความพร้อมพรั่งด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสสอนให้พิจารณาเนืองๆ ว่า ต้องแก่ เจ็บ ตาย และต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่ชอบใจทั้งสิ้น เพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้รีบเร่งกระทำกรณียะหรือกิจที่ควรทำให้สำเร็จไป ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือเพื่อจะได้ละกรรมที่ชั่วที่ผิด ประกอบกระทำกรรมที่ดีที่ชอบ เพราะทุกๆ คนมีกรรมเป็นของๆ ตน ทำดีจะได้ดีทำชั่วจะได้ชั่ว ตามที่ได้ตรัสสอนให้พิจารณาเนืองๆ ว่ามีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นทายาทรับผลของกรรม ดังนี้เป็นต้น ความพิจารณาเนืองๆ ดังนี้เป็นสติอย่างหนึ่ง เพราะเป็นความระลึกสำนึกได้ถึงสัจจะของชีวิต ของสมบัติ และของกรรม เมื่อมีสติขึ้น ก็จะไม่เกิดความประมาท และได้ปัญญาคือความรู้ในเหตุผลประจักษ์ขึ้น

แต่คนโดยปกติมักจะขาดสติ เกิดความมัวเมาเลินเล่อเผลอเพลินไปเสีย จึงขาดปัญญากลายเป็นคนเขลา มิใช่บัณฑิตตามพระพุทธภาษิตนี้ เพราะอารมณ์ทั้งปวงมีกำลังแรง ที่เข้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบาง ทางกายบ้าง และทางมนะคือใจที่คิดไปบ้าง เพราะเมื่อเห็นรูปต่างๆ ด้วยตา จิตก็หน่วงรูปที่ตาเห็นเป็นอารมณ์ เมื่อได้ยินเสียงต่างๆ ด้วยหู จิตก็หน่วงเสียงที่หูได้ยินเป็นอารมณ์ ดังนี้ เป็นต้น  จะยกตัวอย่างเสียงที่ได้ยินด้วยหูที่น่ายินดีพอใจคือเสียงสรรเสริญ ที่น่ายินร้ายคือเสียงติเตียน อันที่จริงเสียงสรรเสริญหรือติเตียนของบัณฑิตผู้ใคร่ครวญแล้วย่อมเป็นประมาณ ส่วนของพาลชนย่อมไม่เป็นประมาณ

แต่คนโดยมากมักจะสรรเสริญหรือติเตียนกันแบบพาลชน คือไม่ได้มุ่งความถูกต้องเป็นใหญ่ แต่มุ่งประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ เช่นมุ่งที่จะให้ผู้ใหญ่รักใคร่โปรดปราน คือกล่าวยกย่องสรรเสริญดังที่เรียกว่ายกยอ ผู้ที่ถูกยกยอบ่อยๆ ถ้าเผลอสติก็จะเกิดประมาทขึ้น มัวเมาไปในคำยกยอ จึงเผลอปัญญา กลายเป็นคนเขลาไป เพราะความประมาททั้งถ้าปฏิบัติตามคำยกยออีกด้วย ก็ยิ่งเกิดโทษมากขึ้นอีก คำติเตียนเสียอีก เมื่อพิจารณาดูในทางหนึ่งแล้วจะเห็นว่าน่าจะมีโทษน้อยกว่าคำยกย่อง เพราะโดยปกติคำติเตียนเป็นคำที่ไม่ชอบใจใครจึงไม่รับคำนั้น การปฏิบัติตามก็ไม่เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับคำสรรเสริญที่มักจะพอใจรับ หรือแม้ไม่รักก็พอใจฟัง เมื่อเกิดประมาทไปเพราะเสียงเข่นนี้เสียแล้ว ก็จะกลายเป็นคนเขลาไม่ฉลาดจะเป็นบัณฑิตหาได้ไม่ เพราะจะต้องปลิวไปตามลม (ลมปาก) หรือจะต้องเป็นผู้ตกน้ำ (น้ำลาย) บัณฑิตเป็นผู้ไม่ปลิวไปตามลมหรือไม่ตกน้ำดังกล่าว เพราะเป็นผู้ไม่อยู่ปราศจากสติ เสียงทั้งหลายจึงไม่มาเป็นอารมณ์ให้เกิดความประมาท จึงไม่ผลอปัญญาไปในเสียงทั้งหลาย

อนึ่ง บัณฑิตไม่ประมาทแล้วย่อมถือเอาประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้า คำว่าประโยชน์หมายถึงสิ่งที่ต้องการที่เกื้อกูลสิ่งที่ให้เกิดความสุข อะไรคือสิ่งดังกล่าว อะไรคือปฏิปทาคือข้อปฏิบัติเพื่อให้ประสบสิ่งเหล่านั้น ทั้งในปัจจุบันและภายหน้า ผู้ที่จะทราบปัญญาที่ตั้งไว้นี้โดยถูกต้อง จะต้องเป็นบัณฑิตผู้ไม่ประมาทดังกล่าวมาข้างต้น ถ้าเป็นพาลชนคนเขลาซึ่งเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมไม่อาจทราบได้โดยถูกต้อง อาจจะมุ่งเพียงผลเฉพาะหน้า ไม่มองออกไปในอนาคตให้เห็นกาลไกลเพียงพอ คนที่ทำทุจริตต่างๆ ก็เพราะมุ่งเพียงผลเฉพาะหน้านั้น เช่น คนที่ทำโจรกรรมก็ด้วยมุ่งทรัพย์ที่ได้จะได้ ถ้าทำโจรกรรมสำเร็จ หรือคนที่ไม่ทำความดีก็เพราะกลัวจะเสียผลที่ตนมีอยู่หรือที่จะพึงได้เช่นเดียวกัน เช่นจะทำการบริจาคก็กลัวเสียทรัพย์ที่ตนมีอยู่ จะรักษาศีลก็เกรงจะขาดผลที่จะพึงได้เพราะทุจริต เพราะเห็นว่าถ้ามัวรักษาสุจริตอยู่ก็ต้องจนเรื่อยไป คนไม่น้อยที่มองผลเฉพาะหน้าดังนี้ และก็ไม่น้อยคนที่เก่งวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เรียกได้ว่าคนเก่งวิชา แต่ก็มองประเมินแค่ผลในปัจจุบัน ผู้ที่มองไกลดังนี้ย่อมไม่นิยมความดี เห็นว่าความดีไม่จำเป็นหรือเห็นว่าความดีเป็นเครื่องขัดขวางความเจริญแห่งผลที่ตนจะพึงได้ เช่นตัวอย่างข้างต้น ก็เลยใช้ความรู้ความเก่งกอบโกยผลในทางทุจริต ความรู้ก็เลยกลายเป็นเครื่องทำลายความดี ดังพระพุทธภาษิตว่า “ความรู้ทำลายส่วนที่ขาว (ความดี) ของคนพาล” แสดงในทางตรงกันข้าม ความรู้ย่อมเป็นเครื่องส่งเสริมส่วนที่ขาวของบัณฑิต เพราะบัณฑิตผู้ไม่ประมาทจะใช้ความรู้และทรัพย์ ยศ บริวาร เป็นต้น ให้เป็นไปในทางบำเพ็ญประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและสืบต่อไปถึงภายหน้า

พึงเห็นนิทัสสนะในทางคดีโลก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าพระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นกาลไกล พระราชกรณียกิจเป็นอันมากบังเกิดผลตั้งแต่ในรัชสมัยนั้นและสืบต่อมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นอนาคตในรัชสมัยของพระองค์ท่าน บุคคลทุกๆ คนย่อมมีอดีตปัจจุบันและอนาคตของตนเอง แม้อดีตจะล่วงไปแล้ว แต่ปัจจุบันก็มาจากอดีต อนาคตก็จะสืบไปจากปัจจุบัน ทุกๆ คนจึงต้องเผชิญชีวิตของตนเองในปัจจุบัน ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นอนาคตของอดีตและจักต้องเผชิญอนาคตอีกนานไกล บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้วเท่านั้นจึงจะถือเอาประโยชน์ทั้งสองคือประโยชน์ปัจจุบันและภายหน้าได้ เพราะจะทราบว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นทางปฏิบัติให้บรรลุถึงประโยชน์ดังกล่าว แสดงตามปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ คือปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ให้ถึงพร้อมด้วยความรักษาทรัพย์เป็นต้นที่หามาได้ ให้มีเพื่อนมิตรที่ดีงาม ให้มีความเป็นอยู่ตามสมควร นี้เรียกว่าประโยชน์ปัจจุบัน และให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ศีล ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อยดีงามปราศจากโทษ จาคะ การเสียสละบริจาค และปัญญาความรู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ นี้เรียกว่าประโยชน์ภายหน้า ข้อปฏิบัติทั้งสองนี้ต้องปฏิบัติไปด้วยกันในปัจจุบัน ประโยชน์ที่ได้จึงจะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันทั้งภายหน้า เช่นถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรในการแสวงหา เป็นต้น ถ้าไม่มีศรัทธาศีลเป็นต้นควบคุม ก็จะแสวงหาในทางที่ผิดได้เพราะมุ่งผลเฉพาะหน้าเท่านั้น ต่อเมื่อมาศรัทธาศีลเป็นต้นควบคุม จึงจะแสวงหาในทางที่ชอบ ประโยชน์ที่ได้ก็จะเป็นประโยชน์แท้มิใช่โทษและจะยั่งยืนต่อไปในอนาคต ดังนี้เป็นต้น เรียก ธีรชนว่าบัณฑิต เพราะบรรลุประโยชน์ด้วยประการฉะนี้

คุณท้าววนิดาพิจาริณี กล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้มีบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้วในกาลก่อน จึงได้ถึงพร้อมด้วยผลที่น่าปรารถนา มีความเป็นผู้มีอายุยืนเป็นต้น และได้มองเห็นความเจริญแห่งบุตรธิดาสืบต่อมาถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีความสุขอยู่ด้วยพรหมวิหารธรรมมีมุทิตาจิตเป็นต้น นับว่าเป็นผู้บรรลุประโยชน์ปัจจุบันและภายหน้ามาเป็นระยะๆ ตามวิสัยแห่งบัณฑิตผู้ไม่มาทด้วยประการฉะนี้

ขออำนาจกุศลทักษิณานุปทานที่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ พร้อมทั้งประยูรญาติได้บำเพ็ญทั้งนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ผลิตวิบากสุขสมบัติแด่คุณท้าววนิดาพิจาริณีโดยฐานนิยม

แสดงพระธรรมเทศนา ยุติด้วยเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร


* ทรงแสดงเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ในการบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน ที่ศาลาปัญณรศภาค ณ วัดเบญจมบพิตร วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๓
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มกราคม 2563 11:25:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 16 มีนาคม 2563 16:38:59 »




ญาณสังวรธรรม
เทศนาพิเศษ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-----------------------------------------

สุทธิมรรคกถา*
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
กมฺมํ วิชฺชา จ ธมฺโม จ       สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ
เอเตน มจฺจา สุชฺฌนฺติ        น โคตฺเตน น ธเนน วาติ


บัดนี้ จักแสดงพระธรรมเทศนา ในสุทธิมรรคกถา ฉลองศรัทธา ประดับปัญญา เพิ่มพูนสัมมาปฏิบัติตามสมควรแก่กุศลทักษิณานุปทาน ที่ มล.ปุ๋ย (นพวงศ์) ชัยนาม ภริยาและบุตร กับน้องและมิตรญาติทั้งหลายได้พร้อมกันเป็นเจ้าภาพ บำเพ็ญในคราวที่จะรับพระราชทานเพลิงศพ นายดิเรก ชัยนาม ตามทางพระพุทธศาสนาด้วยความกตัญญูกตเวทีและด้วยความระลึกถึงคุณความดีของท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ความว่า “เมื่อระลึกถึงอุปการกิจที่ท่านผู้ละไปได้ทำไว้ ก็พึงให้ทักษิณาเพื่อท่านผู้ละไป” ดังนี้

นายดิเรก ชัยนาม เป็นผู้มีเกียรติคุณที่คนรู้จักและนับถือมากผู้หนึ่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ทำงานในตำแหน่งที่สำคัญมามาก และปรากฏว่าเป็นผู้สามารถสมแก่ตำแหน่ง เป็นนักศึกษาที่ไม่หยุดในการศึกษาแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดมา ทั้งไม่หยุดในการแสดงความรู้ให้เป็นวิทยาทานและในการเขียนหนังสือให้เป็นประโยชน์ทางความรู้แก่คนทั้งหลาย เป็นผู้ประพฤติตนดี และวางตนดี ไม่ให้แปดเปื้อนเสียหาย นับว่าเป็นคนดีมีกรรมอันสะอาดได้คนหนึ่ง

นายดิเรก ชัยนาม เป็นบุตรข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่ายตุลาการ ได้ศึกษาสำเร็จวิชาทางกฎหมาย ได้เริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรมตามท่านบิดา ต่อมาได้เข้ารับราชการในตำแหน่งทางการเมืองโดยมาก ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ จนถึงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ได้ไปปฏิบัติราชการและรับราชการในต่างประเทศหลายครั้ง ได้เป็นสมาชิกรัฐสภามาตั้งแต่แรกมีรัฐสภา จนถึงเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งสุดท้ายคือเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสหพันธรัฐเยอรมัน ได้ดำรงตำแหน่งนี้ตราบเท่าถึงเกษียณอายุราชการ นอกจากนี้ยังได้ทำงานด้านมหาวิทยาลัย เป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับเชิญไปบรรยายในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งผู้บรรยายวิชาพิเศษต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มานาน จึงปรากฏว่ามีชีวิตคลุกเคล้าอยู่กับงานด้านมหาวิทยาลัย คู่กันไปกับงานด้านราชการ แม้เมื่ออายุครบเกษียณออกจากราชการแล้ว ก็เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำหนังสือทางวิชาการที่พิมพ์ออกเป็นเล่มแล้วหลายเล่ม มีบทความปาฐกถาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่พิมพ์แล้วและยังมิได้พิมพ์อีกมากเรื่อง

แม้ในทางพระพุทธศาสนา นายดิเรก ชัยนาม ได้รับใช้ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา เช่นเป็นผู้แทนไทยในการประชุมองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกครั้งที่ ๕ ที่กรุงเทพฯ เป็นกรรมการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ และได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวแก่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายครั้ง

นายดิเรก ชัยนาม ปรากฏว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยดี สงเคราะห์บุตรภริยา มิตรสหาย และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ช่วยเอื้อเฟื้อ จึงเป็นผู้ที่มีมิตรสหายมาก เป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรหลายแห่ง เป็นผู้มุ่งที่จะใช้ชีวิตบั้นปลายทำประโยชน์อีกมาก แต่ก็ต้องละไปตามธรรมดาของสังขาร เป็นที่อาลัยเสียดายของคนเป็นอันมาก เพราะเป็นคนรักษาความดีมีกรรมสะอาด อันน่านับถือ มีความรู้ที่จะแสดงออกให้ได้ มีอัธยาศัยสุภาพ มีจิตใจกอบด้วยธรรม คุณความดีที่ใครๆ ได้ทำไว้ย่อมเป็นที่ระลึกถึง และเป็นที่แสดงออกให้ปรากฏจนได้แม้ในปัจจุบัน ดังจะพึงเห็นได้ว่า การศพของท่านได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยยศตามควรแก่ความดีและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ต้นมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ญาติมิตรสหายทั้งหลายก็ได้ช่วยและร่วมบำเพ็ญกุศล ทั้งได้รวบรวมทุนส่งเสริมการศึกษา จะให้ชื่อว่า “ทุน ดิเรก ชัยนาม” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงท่านผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นด้วย

ขณะที่คนผู้เกิดมาต้องการสืบต่ออายุไปไม่มีที่สิ้นสุด มัจจุคือความตายก็มาพรากชีวิตไป ทอดทิ้งร่างกายและทุกๆ สิ่งที่เคยยึดถือเป็นของตนไว้ เว้นไว้แต่กรรมที่ตนเองได้ทำแล้ว ดังที่พระบรมศาสดาตรัสเตือนไว้ (ในโกศลสังยุตต) ความว่า “ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง หรือแม้ของที่หวงแหนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทาส คนทำงาน คนรับใช้ ซึ่งต้องเลี้ยงดู ทั้งหมดอันคนที่จะต้องตายพาไปด้วยมิได้ ต้องทอดทิ้งทั้งหมดไป ส่วนกรรมใดที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ กรรมนั้นแลเป็นของผู้ทำนั้น เขาพากรรมนั้นไป และกรรมนั้นย่อมติดตามผู้นั้นไป เหมือนเงาไม่ละตน”  ฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นของตนจริงก็คือกรรมที่ทุกๆ คนทำแล้ว แต่กรรมนั้นมี ๒ คือ กรรมดี กับกรรมชั่ว ถ้ากรรมดีก็ส่งผลให้เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด ถ้าทำกรรมชั่วก็ส่งผลให้เป็นผู้เศร้าหมองสกปรก  ฉะนั้น จึงได้มีพระพุทธภาษิตแสดงสุทธิมรรค คือ ทางแห่งความบริสุทธิ์สะอาด ยกกรรมขึ้นเป็นข้อแรก กับธรรมเป็นเครื่องประกอบอีกบางข้อ ว่า กมฺมํ วิชฺชา จ ธมฺโม จ เป็นอาทิ แปลความว่า “กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑ ผู้ที่จะต้องตายย่อมหมดจดสะอาดด้วยทางนี้ มิใช่ด้วยโคตร ตระกูล มิใช่ด้วยทรัพย์” ดังนี้

เรื่องกรรมและผลของกรรมเป็นหลักธรรมข้อสำคัญในพระพุทธศาสนา ถ้าได้ทำความเข้าใจว่าเป็นของจริงในปัจจุบันทันตาเห็น ก็จะเป็นเครื่องช่วยให้พ้นความไม่ดีและความทุกข์ต่างๆ ได้มาก เพราะจะทำให้ประพฤติตนไปในทางแห่งความหมดจดสะอาด พระพุทธเจ้าทรงยกความหมดจดสะอาดขึ้นแสดงเป็นผลแห่งกรรมที่ดีเป็นต้น โดยตรงกันข้าม ความสกปรกเศร้าหมองเป็นผลแห่งกรรมที่ชั่ว บุคคลย่อมมีพื้นปัญญาที่รู้จักบาปบุญคุณโทษดีชั่วถูกผิดอยู่ด้วยกัน และเมื่อหมั่นศึกษาพิจารณาก็จะยิ่งรู้มากขึ้น  ฉะนั้น เมื่อทำอะไรไม่ได้ ก็มักจะรู้ว่าไม่ดี หรือเมื่อทำอะไรดี ก็มักรู้ว่าดี เช่นเดียวกัน และย่อมรู้ถึงคนอื่นๆ ที่ทำดีหรือไม่ดีอย่างไร นอกจากนี้บุคคลยังอาจที่จะงดเว้นไม่ทำกรรมอะไร หรือจะทำกรรมอะไรก็ได้ และก็เป็นการสมควรที่จะงดเว้นกรรมที่ไม่ดี ทำแต่กรรมที่ดี ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่า “ท่านทั้งหลายจงละกรรมที่ชั่วเสีย จงทำกรรมที่ดี ท่านทั้งหลายอาจที่จะละจะทำดังนั้น และเมื่อละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดีแล้ว ก็จะได้รับประโยชน์สุข”  ฉะนั้น ถ้าได้ปฏิบัติตามพระโอวาทนี้ก็จะมีกรรมที่ดีงาม เป็นทางแห่งความหมดจดสะอาดข้อแรก

กรรมของคนนั้นโดยปกติย่อมเนื่องด้วยวิชชา คือความรู้ เพราะจะทำอะไรได้ตามความรู้ จึงต้องมีการศึกษาความรู้ต่างๆ เบื้องต้นก็ต้องศึกษาให้มีความรู้ที่จะใช้ในการประกอบอาชีพหรือที่จะทำกรรม คือการงานที่ประสงค์ และให้มีความรู้จักดีชั่วถูกผิดในกรรมที่ทำ ทั้งให้รู้วิธีที่จะละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดี คือ ให้มีโกศล ความฉลาด ๓ อย่าง ได้แก่ อายโกศล ความฉลาดรู้ในทางเจริญ  อปายโกศล ความฉลาดรู้ในทางเสื่อม  อุปายโกศล ความฉลาดรู้ในอุบาย คือวิธีเข้าถึงความเจริญ

ทางหรือเหตุให้เกิดวิชชา คือ สุต การสดับตรับฟังหรือการเรียน  จินตา การคิด  ภาวนา การอบรมปฏิบัติ  เรื่องพระราชดำริของพระเจ้าปเสนทิโกศล (ในโกศลสังยุตต) เป็นตัวอย่างแห่งการได้ความรู้จากการคิด คือ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดำริว่า “ใครหนอชื่อว่ารักษาตน ใครไม่ชื่อว่ารักษาตน” เมื่อทรงตั้งปัญหาขึ้นดังนี้แล้ว ก็ทรงดำริต่อไปว่า “คนบางพวกที่ประพฤติทุจริตทางกายวาจาใจ แม้จะมีหมู่จาตุรงคเสนารักษาอยู่ ก็ไม่ชื่อว่ารักษาตน เพราะนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ส่วนคนบางพวกที่ประพฤติสุจริตทางกายวาจาใจ แม้จะไม่มีจาตุรงคเสนารักษา ก็ชื่อว่ารักษาตน เพราะข้อนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่ภายนอก  ฉะนั้น จึงชื่อว่ารักษาตนแล้ว”  พระองค์ได้กราบทูลพระดำรินี้แด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับรอง อีกคราวหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงดำริว่า “ใครหนอชื่อว่ารักตน ใครชื่อว่าไม่รักตน” แล้วทรงดำริต่อไปว่า “คนบางพวกที่ประพฤติทุจริตทางกายวาจาใจ แม้จะพูดว่ารักตน ก็ไม่ชื่อว่ารักตน เพราะคนที่ไม่รักกันเป็นศัตรูกันพึงทำความพินาศใดแก่คนที่เป็นศัตรูกัน เขาย่อมทำความพินาศนั้นแก่ตนด้วยตนเอง ส่วนคนบางพวกที่ประพฤติสุจริตทางกายวาจาใจ ถึงไม่พูดว่ารักตน ก็ชื่อว่ารักตน เพราะทำกรรมที่เกื้อกูลแก่ตน เหมือนอย่างคนที่รักกันชอบกันกระทำแก่กัน” พระองค์ได้กราบทูลพระดำรินี้แด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับรอง

พระดำริของพระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ เป็นตัวอย่างของความคิดที่เป็นเหตุให้ได้วิชชา คือ ความรู้ที่ถูกต้องในกรรมประการหนึ่ง ซึ่งเป็นทางแห่งความหมดจดสะอาด เป็นข้อที่ ๒

อันวิชชา คือ ความรู้ทั่วไป ย่อมเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งในทางที่ผิดและทางที่ถูก ผู้มีวิชชาหากขาดธรรม อาจใช้วิชชาก่อกรรมที่ชั่วร้ายได้มากกว่าคนโง่ที่ขาดวิชชา และถ้ามีธรรม ก็อาจใช้วิชชาทำกรรมที่อำนวยประโยชน์ได้อย่างยิ่งเช่นเดียวกัน  ฉะนั้น จึงต้องมีธรรมอีกด้วย ธรรมในที่นี้หมายถึงคุณที่พึงอบรมให้มีประจำจิตใจ เช่น หิริ ความละอายใจต่อบาปทุจริต  โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต  เมตตา กรุณา เป็นต้น ซึ่งตรงกันข้ามกับโทษ เช่นกิเลสในใจ ธรรมเป็นคุณที่จำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดังเช่นพระพุทธภาษิตแปลความว่า “ชุมนุมที่ไม่มีผู้สงบ ไม่ชื่อว่าสภา ผู้ที่พูดเป็นธรรม ไม่ชื่อว่าผู้สงบ  ผู้ที่ละราคะ โทสะ โมหะ จึงจะเป็นผู้สงบ พูดเป็นธรรมได้” ธรรมจึงเป็นทางแห่งความหมดจดสะอาดเป็นข้อที่ ๓

เมื่อจิตใจมีธรรม ความประพฤติทางกายวาจา ก็เป็นสุจริตดีงาม อันเรียกว่า ศีล ซึ่งมีอธิบายกว้างๆ ว่า “เว้นการที่ควรเว้น ประพฤติการที่ควรประพฤติ” ความตั้งใจงดเว้นในแน่วแน่ในข้อห้าม หรือในการที่ควรเว้น เป็นหลักสำคัญในการรักษาหรือปฏิบัติในข้อศีลนี้ เกี่ยวด้วยความสำรวมใจ ความระมัดระวังรักษาช่องทางเกิดแห่งความไม่ดีทั้งหลายเป็นทางปฏิบัติ ศีลเป็นทางแห่งความหมดจดสะอาดเป็นข้อที่ ๔

ทุกๆ ข้อย่อมประมวลลงในอีกข้อหนึ่ง คือ “ชีวิตอันอุดม” คำว่าชีวิตในที่ทั่วไป หมายถึงความดำรงอยู่ของสังขารร่างกาย ซึ่งมีระยะกาลของอายุสั้นบ้างยาวบ้าง แต่ก็มักไม่เกินร้อยปี อีกอย่างหนึ่งเป็นถ้อยคำหมายถึงสาระประโยชน์ที่พึงได้จากชีวิต ดังในที่นี้ ใช้คำว่าชีวิตอันอุดม หมายถึงสาระประโยชน์อย่างสูงสุด อะไรเป็นชีวิตอันอุดมของคน หรือคนจะขึ้นไปสูงได้ถึงเพียงไหน จึงจะชื่อว่าขึ้นไปได้สูงสุด ข้อนี้เป็นข้อสำคัญที่มักจะมีความเห็นต่างๆ กัน และมีการปฏิบัติต่างๆ กันตามความเห็นของแต่ละคน เช่น บ้างก็มีความเห็นทางทรัพย์ บ้างก็มีความเห็นทางยศ แต่ทางพระพุทธศาสนาแสดงทางกรรม คือ การงานที่ทำ ดังที่ปันชีวิตไว้ ๓ ประเภท คือ ทุชชีวิต ชีวิตชั่ว หมายถึงคนที่ใช้ชีวิตประกอบกรรมที่ชั่วร้าย  โมฆชีวิต ชีวิตเปล่า หมายถึงคนที่ไม่ใช้ชีวิตประกอบกรรมที่ชั่วร้าย แต่ก็มิได้ใช้ชีวิตประกอบกรรมที่ดีอะไร ปล่อยกาลเวลาแห่งชีวิตให้ล่วงไปเปล่าปราศจากประโยชน์ สุชีวิต ชีวิตดี คือ ใช้ชีวิตประกอบกรรมที่ดีงาม  ฉะนั้นชีวิตอันสูงสุด ก็คือชีวิตที่ใช้ประกอบกรรมดี อันเป็นสาระประโยชน์ได้มากที่สุด หรือดีที่สุด และกรรมอันจะเป็นกรรมดีที่อำนวยประโยชน์ได้นั้นจะต้องประกอบด้วยวิชชา ความรู้เป็นเครื่องสอดส่อง ธรรมเป็นเครื่องควบคุม ศีลเป็นขอบเขต

รวมสุทธิมรรคคือทางแห่งความหมดจดสะอาด คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล และรวมเข้าข้อชีวิตอันอุดม ด้วยประการฉะนี้

ท่านศาสตราจารย์ นายดิเรก ชัยนาม ชื่อว่าเป็นผู้มีชีวิตอยู่ในระดับสูงผู้หนึ่ง เพราะได้ทำการงาน ประกอบด้วยวิชชา ธรรม และศีล จึงเป็นกรรมที่อำนวยประโยชน์เป็นเกียรติแก่ชื่อและตระกูลของท่านตลอดกาลนาน ดังพระพุทธภาษิตว่า


รูปํ ชีรติ มจฺจานํ     นามโคตฺตํ น ชีรติ

”รูปของผู้จะต้องตายทั้งหลายย่อมสลายไป แต่ชื่อและตระกูลหาสลายไปไม่” และกรรมที่ดีเป็นบุญกุศลย่อมจะติดตามไปอำนวยผลในสัมปรายะ ด้วยประการฉะนี้

ขออำนาจกุศลทักษิณานุปทานที่ท่านเจ้าภาพได้บำเพ็ญอุทิศทั้งปวง จงเป็นผลสัมฤทธิ์อำนวยสุขวิบากแด่ ท่านศาสตราจารย์ นายดิเรก ชัยนาม ตามควรแก่คติภพวิสัย

ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ พระสงฆ์ทั้ง ๔ รูป จะได้สวดคาถาธรรมบรรยายโดยสรภัญญวิธีเพิ่มพูนอัปปมาทธรรมสืบต่อไป

แสดงพระธรรมเทศนา ยุติด้วยเวลา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


* ทรงแสดงเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ในการบำเพ็ญกุศล เป็นเบื้องต้นแห่งการพระราชทานเพลิงศพนายดิเรก ชัยนาม ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ.ว. ณ วัดธาตุทอง วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๐
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 23 มีนาคม 2563 16:01:47 »




ญาณสังวรธรรม
เทศนาพิเศษ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-----------------------------------------

บัณฑิตตกถา*
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ       โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร        ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจตีติ.

บัดนี้ จักถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา สนองพระเดชพระคุณ ประดับพระปัญญาบารมี อนุรูปพระกุศลราศีทักษิณานุปทาน ที่สมเด็จพระราชชนนีบพิตรและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอบพิตร เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงบำเพ็ญอุทิศ หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ตามทางพระพุทธศาสนา ด้วยทรงอนุสรณ์ถึงกรณียกิจทั้งปวงที่หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ได้ทรงปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณในพระองค์มาด้วยดีตราบเท่าถึงชีพิตักษัย ในขณะที่โดยเสด็จปฏิบัติหน้าที่อยู่

หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ  ทรงเจริญด้วยพระชาติวุฒิ เป็นผลแห่งปุพเพกตปุญญตา (ความมีบุญที่ทำแล้วในปางก่อน) และทรงเจริญด้วยพระคุณวุฒิเพราะทรงอาศัยพระชาติวุฒิทรงศึกษาอบรมมาเป็นอันดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้ในทางธรรม ก็ได้เคยทรงอุปสมบทศึกษาอบรมในพระพุทธศาสนาระยะหนึ่ง เมื่อทรงทำงานก็ทรงทำด้วยความรู้ความสามารถ และความซื่อตรง ทรงดำรงพระองค์ไว้ชอบสม่ำเสมอมา ครั้นทรงเข้าปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณ ในสมเด็จพระราชชนนีบพิตร แม้ทรงเจริญด้วยพระวัยวุฒิแล้ว ก็ไม่ทรงย่อท้อ ได้ทรงตั้งพระหฤทัยปฏิบัติกิจการต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ความจงรักภักดี รับสนองพระเดชพระคุณในกิจการทั้งปวงที่ทรงมอบหมายเป็นที่เรียบร้อยตลอดมา เมื่อต้องทรงถึงชีพิตักษัยโดยฉับพลันจึงเป็นที่สลดพระหฤทัย เสด็จมาทรงบำเพ็ญพระกุศลเพื่อทรงอุทิศ ตามนัยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ แปลความว่า “เมื่อระลึกถึงกิจที่ผู้ละไปทำแล้ว ก็พึงให้ทักษิณาเพื่อผู้ละไป” ดังนี้

หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ทรงตั้งพระองค์อยู่ในวุฒิคุณ ที่เป็นประโยชน์อันพึงเห็นได้ประจักษ์ แม้แก่คนทั้งปวงแม้ในปัจจุบัน ทั้งเป็นประโยชน์ที่พึงเห็นว่ายั่งยืน เพราะมีแก่นสาร จึงชื่อว่าได้ทรงปฏิบัติตามแนวทางของบัณฑิตผู้ทรงปัญญาตามพระพุทธภาษิตบทอุทเทศ แปลความว่า “ผู้ทรงปัญญาเรียกว่าบัณฑิต เพราะบรรลุประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ภายหน้า” ดังนี้

คำว่า ประโยชน์ แปลจากคำว่า อรรถะ ได้แก่สิ่งที่ต้องการ ผลที่มุ่งหมาย หรือใช้คำรวมกันว่า ประโยชน์ที่ต้องการ

บุคคลจะทำอะไร ก็ย่อมจะมีจุดต้องการ หรือเรียกว่าผลที่มุ่งหมาย ผลนั้นเมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว อาจจะเป็นคุณก็ได้ อาจจะเป็นโทษก็ได้ แต่ว่าบุคคลผู้ต้องการมุ่งหมายนั้น ก็จะต้องเห็นว่าเป็นคุณเป็นประโยชน์ จึงมุ่งหมาย ไม่เห็นว่าเป็นโทษ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นโทษ เพราะฉะนั้น จึงได้มีบุคคลผู้มุ่งดี ซึ่งให้คำแนะนำตักเตือนว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ ก็เพื่อที่จะให้ได้บรรลุถึงสิ่งที่ต้องการนั้น ที่เป็นสิ่งที่ชอบ และให้ดำเนินไปในสิ่งที่ชอบ อะไรเป็นสิ่งที่ชอบ บุคคลโดยมากซึ่งมีสติปัญญาพอสมควร ก็ย่อมจะทราบกันอยู่ เช่นว่า เมื่อกำลังเล่าเรียนศึกษา ก็ย่อมจะทราบว่าความสำเร็จการศึกษานั่นแหละ เป็นอรรถะ หรือเป็นประโยชน์ที่ต้องการ ในการทำการงาน ความที่ทำการงานได้สำเร็จ ได้รับผลของการงาน ความเจริญขึ้นของการงานที่ทำ ความเจริญขึ้นของผลที่รับ เป็นอรรถะ คือประโยชน์ที่ต้องการ ในด้านของความประพฤติ ความประพฤติเป็นคนดี คือ เว้นจากการกระทำที่ชั่วทราม ประกอบกรรมที่ดี รวมความว่า ความดี ไม่ใช่ความชั่ว ในทางต่างๆ เป็นอรรถะ คือประโยชน์ที่ต้องการ ก็ย่อมจะรู้กันอยู่ว่า อรรถ คือประโยชน์ที่ต้องการดังกล่าวนั้น เป็นอย่างไรบ้าง นี้โดยทั่วไปในเรื่องสามัญธรรมดา แต่ว่า ทำไมบุคคลโดยมาก จึงบรรลุถึงประโยชน์ที่ต้องการนั้นต่างๆ กัน บางคนบรรลุความสำเร็จได้มาก บางคนบรรลุความสำเร็จได้น้อย บางคนไม่ได้บรรลุตามที่ควรจะบรรลุ แม้ในด้านของความดี ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า อะไรเป็นความดีและต้องการความดีอยู่ด้วยกัน ดังมีใครกล่าวหาว่าไม่ดี ก็ยังเกิดความไม่ชอบขึ้นทันที ทั้งที่ไม่ดี แสดงว่า ต้องการดีอยู่ด้วยกัน แล้วทำไมจึงไม่ได้รับความดี หรือไม่มีความดีที่ต้องการตามสมควร ความสงบทางจิตใจก็เช่นเดียวกัน ก็รู้กันอยู่ว่า ความสุขสงบของจิตใจ เป็นอรรถะ ประโยชน์ที่ต้องการมุ่งหมาย แต่ว่าบางทีก็ไม่ได้รับตามสมควร ทั้งนี้เพราะอะไร พิจารณาจับเข้ามาดูที่ตนเอง ในทางพระพุทธศาสนาสมเด็จพระบรมศาสดา ได้ทรงแสดงเหตุผลในเรื่องนี้ไว้บริบูรณ์เพื่อเป็นเครื่องแก้ข้อขัดข้องต่างๆ เพื่อที่จะไม่พรากจากประโยชน์ที่ต้องการ แต่ว่าเหตุผลที่ทรงแสดงนั้น ไม่ได้เป็นมนต์คาถา ที่จะดลบันดาลให้บังเกิดความสำเร็จ เป็นเหตุผลที่บุคคลผู้ฟังต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้บังเกิดความเข้าใจ เพื่อจะนำไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุประโยชน์ตามที่ประสงค์ และก็ต้องตั้งใจปฏิบัติด้วยตนเอง ธรรมะเป็นเครื่องชี้ทางของการปฏิบัติ ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า “อกฺขาตาโร ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้บอก” ผู้ฟังปฏิบัติด้วยตนเองจึงจะได้รับผลตามสมควรแก่ความปฏิบัติ

โดยปริยายหนึ่ง ได้ทรงแสดงถึงวิโมกข์ ที่แปลว่า ความหลุดพ้น วิโมกข์ คือความหลุดพ้นนี้ แม้อย่างสูงจะหมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ซึ่งผู้มุ่งปรมัตถะ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง จะปฏิบัติเพื่อบรรลุ แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ก็หมายถึงความหลุดพ้นจากอุปสรรค เครื่องขัดข้องต่างๆ ที่จะขัดขวางต่อประโยชน์ที่ต้องการ แม้ในชั้นธรรมดาสามัญ  ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยความแล้ว วิโมกข์คือความหลุดพ้นนี้ จึงหมายถึงว่าความที่นำตนไปรอดพ้นจากสิ่งที่เป็นเครื่องขัดขวางต่างๆ  ฉะนั้น ก็ควรทราบว่าเครื่องขัดขวางต่อความสำเร็จซึ่งควรจะปฏิบัตินำตนให้รอดพ้นได้นั้นคืออะไร โดยปริยายหนึ่ง ขั้นแรก ก็ได้แก่ภัยเวรต่างๆ ขั้นที่ ๒ ก็ได้แก่เครื่องกั้น ขั้นที่ ๓ ก็ได้แก่เครื่องผูกของใจ เครื่องติดของใจ หรือยางเหนียว ซึ่งมีอยู่ในจิตใจ

ขั้นแรก ภัยเวรต่างๆ  ภัย แปลว่า สิ่งที่น่ากลัว หรือแปลว่า ความกลัว  เวรก็ได้แก่ความเป็นศัตรูซึ่งมุ่งร้ายต่อกันในระหว่างบุคคล คำว่า ภัยเวรนี้ เป็นคำที่ทราบกัน และเป็นสิ่งที่กลัวไม่ต้องการ  เพราะฉะนั้น จึงมีการหลบป้องกันภัยต่างๆ ซึ่งจะบังเกิดขึ้น แต่ว่า ภัยเวรนี้ มี ๒ อย่าง ภัยเวรภายนอกอย่างหนึ่ง ภัยเวรภายในอย่างหนึ่ง  ภัยเวรภายนอกนั้น ได้แก่ภัยเวรที่มาจากสิ่งหรือบุคคลภายนอก ซึ่งจะมาทำอันตรายหรือมาเป็นเหตุให้บังเกิดอันตรายขึ้นแก่ตน ดังที่ปรากฏอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ภัยเวรภายในได้แก่กรรม คือการงานที่กระทำของตนเอง  โดยมากนั้น มองออกไปกลัวภัยเวรข้างนอก แต่ว่าไม่มองเข้ามากลัวภัยเวรภายในตนเอง ทางธรรมะมุ่งให้มองเข้ามากลัวเวรภัยที่ตนเอง คือว่า กลัวกรรมการงานที่กระทำ อันเป็นส่วนชั่วส่วนผิดที่ตนเอง ที่แหละเป็นตัวภัยเวรภายใน ก็ได้แก่ ปาณาติปาตกรรม กรรมคือการฆ่า อทินนาทานกรรม กรรมคือการลัก และการผิดศีลข้ออื่นๆ ซึ่งเมื่อว่าอย่างสามัญก็มีห้าข้อ ซึ่งท่านเรียกว่าภัยเวรห้า หรือว่า เวรห้า เป็นภัยเวร ก็เพราะเป็นที่ต้องของภัย คือสิ่งที่น่ากลัว เป็นเวร ก็เพราะเป็นเหตุก่อศัตรู ภัยเวรภายในนี้จะเรียกว่าเป็นภัยเวรที่ซ่อนอยู่ก็ได้ เมื่อไม่ดูก็ไม่เห็น ไม่นึกก็ไม่รู้ และก็ไม่กลัว แต่ภัยเวรข้างนอกนั้นปรากฏอยู่ เห็นกันอยู่ และก็พากันกลัว ดังจะพึงเห็นได้ว่า กลัวคนร้าย คนร้ายที่จะมาทำอันตรายร่างกาย คนร้ายที่จะมาลักทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น กลัวคนร้ายข้างนอกแต่ว่าไม่คิดกลัวตนเอง ซึ่งเป็นคนร้าย คือซึ่งจะไปประกอบกรรมก่อความเดือดร้อนให้แก่เขา แม้ไม่ถึงฆ่าถึงลัก แต่ว่าก็ไปเบียดเบียนให้เขาเดือดร้อน ไม่กลัวความเป็นคนร้ายที่ตนเอง หรือไม่กลัวตนเอง ซึ่งเป็นคนร้าย เพราะฉะนั้น การมองเข้ามาดูรู้สึกว่ากรรมที่ไม่ดี ตั้งต้นแต่เกิดเจตนากรรม คือ ความจงใจที่จะกระทำอะไร ก็กำหนดดูเข้ามาให้รู้ว่า นี้เป็นตัวภัย ตัวเวร และตนเองก็จะเริ่มเป็นคนร้ายขึ้นแล้ว ซึ่งน่ากลัวจนบังเกิดความรังเกียจต่อกรรมที่ไม่ดี กลัวต่อกรรมที่ไม่ดีขึ้นที่ตนเอง ความรังเกียจนี้แหละเป็น หิริ ที่แปลกันว่า ความละอายใจ ซึ่งมีลักษณะรังเกียจความไม่ดี ความกลัวอันนี้แหละที่เรียกกันว่า โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะฉะนั้น หิริความละอายใจต่อความชั่ว ความรังเกียจความชั่ว  โอตตะปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่วนี้ จะบังเกิดขึ้นไม่ได้ ในเมื่อยังไม่มองเข้ามาพบภัยเวรที่ตนให้พบคนร้ายที่ตนว่า ตนเป็นคนร้ายหรือเริ่มจะเป็นคนร้ายเข้าแล้ว ต่อเมื่อมองเข้ามาดูให้พบภัยเวรที่ตนดังกล่าวแล้ว จึงจะเกิดหิริ จะเกิดโอตตัปปะ ซึ่งท่านแสดงว่า เป็นโลกบาล คือ ธรรมะที่คุ้มครองโลก โดยตรง ก็คุ้มครองตนเองจากความชั่ว ความผิด เป็นเครื่องยับยั้งตนจากความชั่วความผิด ดีวิเศษยิ่งกว่าเทพยดา โลกบาล ซึ่งอยู่ข้างนอก เพราะเป็นเทพซึ่งอยู่ในจิตใจ ซึ่งจะปรากฏก็ต่อเมื่อมองเข้ามาให้พบตัวภัยตัวเวรที่เป็นภายในและผู้ร้ายในภายในตนเอง จึงจะบังเกิดปรากฏเป็นเทพในจิตใจ อันได้แก่ หิริ โอตตัปปะ แล้วจะเป็นเครื่องคุ้มครองจากความชั่วผิดต่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นวิโมกข์ คือความหลุดพ้น หลุดพ้นจากภัยเวร นำตนให้รอดได้จากภัยเวร เพราะเมื่อรอดพ้นได้จากภัยเวรภายในแล้ว ก็ย่อมให้ผลเป็นเครื่องคุ้มกันตนเอง ไม่ให้ก่อภัยก่อเวรแก่ผู้อื่น และเมื่อมีความไม่ประมาท ก็ย่อมจะรอดพ้นจากภัยเวรภายนอกได้ด้วย เพราะเป็นธรรมานุภาพ อานุภาพของธรรมะ แต่ก็ต้องอาศัยความไม่ประมาท เป็นเครื่องประกอบด้วยกัน

ในขั้นที่สองอันได้แก่เครื่องกั้นนั้น ก็หมายถึงความชอบความชังและความหลง ซึ่งเป็นเครื่องกีดกั้นไว้ไม่ให้ประสบความสำเร็จที่ต้องการ ความชอบ ความชัง ความหลงนั้น สามัญชนก็ย่อมมีอยู่ด้วยกัน แต่ว่า เมื่อมุ่งประโยชน์ ถ้าปล่อยให้บังเกิดความชอบความชังความหลง ในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อความสำเร็จแล้ว ก็ย่อมเป็นเครื่องกีดกั้นความสำเร็จ ความไม่สำเร็จในสิ่งที่ต้องการแม้ในทางคดีโลกที่เป็นสามัญทั่วๆ ไป เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุแล้ว ก็ย่อมจะเห็นว่า บังเกิดจากความชอบ ความชัง ความหลง หรือราคะ โทสะ โมหะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ เป็นไปในสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อความสำเร็จนั้นทั้งสิ้น  ฉะนั้น เมื่อมุ่งความสำเร็จผลที่ต้องการอันใด ถ้าจะให้มีความชอบ ก็ให้ใช้ความชอบให้เป็นไปในประโยชน์ที่ต้องการนั้น ถ้าจะให้ความชัง ก็ให้ชังต่อสิ่งที่จะเป็นเครื่องขัดขวางต่อความสำเร็จนั้น แต่ว่า ความชอบในทางที่ให้บังเกิดความสำเร็จนั้น ถ้าเป็นกิเลส ก็จะเป็นเครื่องขัดขวาง ถ้าเป็นธรรมะ ดังที่ท่านใช้ว่า ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ ความเพียร จิตตะ ความเอาใจใส่ วิมังสา ความใคร่ครวญ ก็ย่อมจะอุดหนุนให้เกิดความสำเร็จ ฉันทะ เป็นต้นนี้ ไม่ใช่เป็นกิเลส แต่ว่าเป็นธรรมะเป็นเครื่องอุดหนุนความสำเร็จให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การที่จะเอาตนรอดพ้นเป็นวิโมกข์ในขั้นนี้ได้ ก็จะต้องทำลายเครื่องกั้น คือความชอบ ความชัง ความหลง ที่เป็นตัวอุปสรรคเสียที่จิตใจ ดำเนินไปในทางปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดความสำเร็จประโยชน์ที่ต้องการต่อไป

ส่วนในขั้นที่สามนั้น อันหมายถึงเครื่องผูกใจ หรือยางเหนียวที่มีอยู่ในใจ ข้อนี้เป็นธรรมะละเอียด ผู้ที่มุ่งปฏิบัติในทางสมาธิและปัญญา จำต้องพิจารณาให้รู้จักยางเหนียว หรือเครื่องผูกที่จิตใจ จึงจะประสพวิโมกข์ ความหลุดพ้น หรือทำใจให้รอดพ้นได้ ในที่นี้ ควรทราบคำ ๓ คำ กามะ คำหนึ่ง ตัณหา คำหนึ่ง กถังกถา อีกคำหนึ่ง  กามะนั้นได้แก่ความใคร่ หรือสิ่งที่ใคร่  ตัณหา ได้ความดิ้นรนทะยานอยาก  กถังกถา ได้แก่ความสงสัย  กามะ ความใคร่ หรือสิ่งที่ใคร่นั้น ดูที่จิตใจ คอยกำหนดในเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น  สังเกตดูก็จะพบว่า จิตอันนี้วิ่งออกรับรูปบ้าง รับเสียงบ้าง รับกลิ่นบ้าง รับรสบ้าง รับโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้องบ้าง และรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่ใจเก็บไว้และนำออกมาคิดนึกไปบ้าง รูปเสียงเป็นต้นนั้นเป็นรูปเสียงในใจ ซึ่งจิตใจวิ่งออกมารับรูปเสียงทางอายตนะและก็นำมาเป็นภพหรือเป็นภาพอยู่ในจิตใจ เหมือนอย่างกล้องถ่ายภาพเอาไว้ ภาพที่ถ่ายไว้นั้นไม่ใช่เป็นตัวจริง ตัวจริงอยู่ข้างนอก แต่ว่าถ่ายติดไว้ในใจ ภาพที่ติดอยู่ในใจนี้แหละ คือกามหรือกามะ พิจารณาดูแล้วก็จะพบว่าเป็นรูปบ้างเป็นเสียงบ้าง เป็นต้น ตัวที่ติดหรือว่าเครื่องติดนั้นแหละคือ ตัณหา ที่เรียกว่า เป็นสิเนหะ แปลว่า ยางเหนียว เมื่อเป็นเช่นนี้ภาพที่ติดอันนั้นก็กามะของใจ ความที่ติดอยู่นั้นก็เป็นตัณหา เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความดิ้นรนไปฟุ้งซ่านไปต่างๆ คือปรุงคิดหรือคิดปรุงไปต่างๆ ตามอำนาจของภาพและความติดอยู่ในใจนั้น ความคิดปรุงหรือความปรุงคิดนั้น ก็เลื่อนไปๆ เป็นอย่างนั้นบ้างเป็นอย่างนี้บ้าง ซึ่งไม่ใช่เป็นจริงอะไร แต่ว่าเป็นความคิดปรุงไปหรือเป็นตัวความคิด อันนี้แหละ เป็นกถังกถา แปลว่า ความสงสัยเคลือบแคลง เพราะเมื่อเป็นความคิดปรุงหรือความปรุงคิดก็แปลว่าไม่แน่ หรือเรียกว่าความหวัง ที่เรียกว่าหวังก็แปลว่าไม่แน่ เมื่อเป็นสิ่งที่ไม่แน่ก็ย่อมมีความสงสัยเคลือบแคลงอยู่ในสิ่งนั้น เป็นอย่างละเอียดบ้างอย่างหยาบบ้าง

เพราะฉะนั้น จิตใจของบุคคลทุกคน จึงตกอยู่ในอำนาจของกามะ คือภาพในใจและความติดอยู่คือตัณหา และความหวัง อันหมายถึงว่า ความที่คิดปรุงไป หรือความปรุงคิด อันระคนอยู่ด้วยความลังเลไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปต่างๆ ต่อเมื่อใช้ปัญญาพิจารณาดูให้รู้ตามความเป็นจริง จิตที่รับอารมณ์ก็ไม่มาเป็นภาพอยู่ในใจ ไม่เป็นกามะอยู่ในใจ ไม่มาเป็นความติดหรือเป็นตัณหาอยู่ในใจ ไม่เป็นความหวังอยู่ในใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงจะเป็นวิโมกข์ ความรอดพ้นได้ วิโมกข์ด้วยอำนาจของสมาธิก็เป็นวิโมกข์ชั่วคราว ในขณะที่อยู่ในสมาธิ จิตก็หลุดพ้น แต่ว่าเมื่อออกจากสมาธิ จิตก็กลับเข้ามาอยู่กับกามะ กับตัณหา และกับกถังกถา ตามเดิม แต่เมื่อปฏิบัติด้วยปัญญาให้เป็นความรู้ที่แท้จริงบังเกิดขึ้น เป็นความรู้แจ่มแจ้งตามความเป็นจริง ไม่ใช่สักแต่ว่าเป็นสัญญา ก็ย่อมจะละลายกิเลสดังกล่าวนี้ออกจากจิตใจได้โดยลำดับ และวิโมกข์ คือความหลุดพ้นทางจิตใจด้วยปัญญาก็เป็นวิโมกข์ที่แน่นอนมั่นคง จนในที่สุดก็เป็นวิโมกข์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า “กามะทั้งหลายไม่มีอยู่ในบุคคลใด ตัณหาความติดความดิ้นรนของบุคคลใดไม่มี บุคคลใดข้ามความคิดปรุง หรือความปรุงคิด เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งเป็นตัวความหวัง ระคนด้วยความลังเลกลับกลอกไม่แน่นอนเสียได้ วิโมกข์ คือ ความหลุดพ้นของบุคคลนั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ วิโมกข์ที่แน่นอน” ด้วยประการฉะนี้

หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ปรากฏว่า ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ในทางไม่เป็นเวรภัยแก่ใคร ในการทรงปฏิบัติการงาน ตลอดมาถึงทรงปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณไม่ทรงยอมให้มีสิ่งใดมากางกั้น หรือผูกขัดขวาง ทรงปฏิบัติด้วยพระหทัยที่มั่นคง มิให้บกพร่องตลอดมาจนถึงที่สุด

สมเด็จพระราชชนนีบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอบพิตร ทรงบำเพ็ญพระกุศลศพ  หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล บัดนี้ ชื่อว่าได้ประทานความยกย่องพระราชวงศ์ผู้ทรงภักดี ด้วยพระเมตตากรุณา ย่อมเป็นที่ซาบซึ้งปิติยินดีแห่งพระชายา บุตรธิดา แห่งหม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล และแห่งพระราชวงศ์ กับชนทั้งปวง

ขออำนาจพระกุศลที่ทรงบำเพ็ญอุทิศนี้ทั้งปวงนี้ จงเป็นผลสมฤทธิ์ แด่หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล โดยฐานะสมดังที่ทรงเจตนาทุกประการ

ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนี้ พระสงฆ์ทั้ง ๔ รูป จะได้รับประทานสวดคาถาธรรมบรรยาย โดยสรภัญญวิธี เพิ่มพูนอัปปมาทธรรมสืบต่อไป  

ถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ยุติด้วยเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

                                                                                ขอถวายพระพร


* ทรงแสดงเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ในการบำเพ็ญพระกุศลศพ หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๑๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2563 16:03:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2563 15:27:31 »




ญาณสังวรธรรม
เทศนาพิเศษ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-----------------------------------------

ติลักขณกถา*
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
 อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ
ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา  สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา  
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา  สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ.


บัดนี้ จักแสดงพระธรรมเทศนา ในติลักขณกถา ฉลองศรัทธา ประดับปัญญา อนุรูปกุศลราศีทักษิณานุปทาน ที่ภริยาและบุตรธิดาเป็นเจ้าภาพ บำเพ็ญอุทิศท่านพลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ ในวันเป็นที่บรรจุศพเพื่อการพระราชทานเพลิงศพในโอกาสต่อไป ตามทางพระพุทธศาสนา

ท่านพลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ ได้เป็นผู้ดำเนินชีวิตในโลกนี้เสร็จสิ้นไปแล้ว ปรากฏว่าได้ใช้ชีวิตประกอบกรณียกิจคือกิจที่ควรทำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและคนอื่นทั้งสองอย่าง ในส่วนเกื้อกูลแก่ตนนั้น เช่นได้ตั้งใจศึกษาและทำงานรับราชการ ตั้งตนขึ้นมาโดยลำดับ ในส่วนเกื้อกูลแก่ผู้อื่นนั้น เช่นเมื่อตั้งครอบครัวขึ้นก็ได้เกื้อกูลแก่ภริยาบุตรธิดา และได้เกื้อกูลแก่ผู้อื่นตามสมควร กล่าวโดยเฉพาะ ได้เป็นผู้สงเคราะห์ภริยาและบุตรธิดา ตามหลักมงคลในพระพุทธศาสนา และในฐานะที่เป็นบิดามารดา ก็ได้สงเคราะห์บุตรธิดา มีเมตตา ความรักใคร่ปรารถนาให้เป็นสุข กรุณา ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ มุทิตา ความพลอยยินดีในความสุขความเจริญ อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง คือปลงใจลงในกรรมในเมื่อสุดที่จะช่วยและไม่ลำเอียง เป็นผู้อบรมสั่งสอนบุตรธิดามาตั้งแต่ต้น จึงอยู่ในฐานะเป็นพรหมเป็นต้นของบุตรธิดา ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร เป็นอาทิ แปลความว่า มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ปชา (ผู้ที่เกิดมา) เรียกว่า เป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุไนย (ผู้ควรบูชา) ของบุตรธิดา ดังนี้ ฝ่ายบุตรธิดา เมื่อระลึกรู้อุปการคุณที่ท่านได้ทำแล้วและได้ประกาศอุปการคุณของท่านให้ปรากฏ คือ ปฏิบัติท่านตอบแทนท่านตามควรแก่สมัย ชื่อว่าเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที เป็นภูมิของสาธุชนคนดี ตามพระพุทธภาษิตว่า ภูมิ เว สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา แปลความว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นภูมิของสาธุชน ดังนี้

ชีวิตนี้เป็นของที่รุกร้นไปหาความดับตั้งแต่พอเกิดขึ้นมา เพราะเป็นสังขาร ซึ่งตกอยู่ในติลักขณะ คือ ไตรลักษณ์ ทางพระพุทธศาสนาสอนให้อบรมปัญญาในไตรลักษณ์ จัดเป็นสิกขาข้อที่ ๓ คือ การศึกษาปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น มี ๓ คือ สีลสิกขา ศึกษาปฏิบัติในศีล  จิตตสิกขา ศึกษาปฏิบัติในจิต คือ สมาธิ และปัญญาสิกขา ศึกษาปฏิบัติในปัญญา  ผู้ปฏิบัติธรรมในศีลและในจิต คือสมาธิ ก็พึงปฏิบัติในปัญญาสิกขา คืออบรมปัญญาให้เกิดในไตรลักษณ์อีกด้วย จึงจะเป็นการปฏิบัติออกจากทุกข์ด้วยประการทั้งปวง การปฏิบัติในสีลสิกขานั้น นำให้ออกจากทุกข์ เพราะภัยเวรที่บุคคลก่อขึ้น เพราะว่าเมื่อปฏิบัติอยู่ในศีล ก็ย่อมเป็นผู้ระงับภัยระงับเวร ส่วนการปฏิบัติในสมาธิหรือจิต เป็นการบำบัดทุกข์ที่เกิดความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะว่าเมื่อปฏิบัติในสมาธิ จิตก็ย่อมสงบตั้งมั่น ความทุกข์ที่จะพึงเกิดเพราะจิตฟุ้งซ่านก็ย่อมสงบไป แต่ว่าก็ยังมีความทุกข์เพราะตัณหาอุปาทานคือความดิ้นรนปรารถนา ความยึดถือ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ตามเป็นจริง  ฉะนั้น จึงมีข้อปฏิบัติต่อไป คือการปฏิบัติอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ดังที่กล่าวแล้ว จึงจะเป็นทางระงับความทุกข์ที่บังเกิดขึ้น เพราะอำนาจตัณหาอุปาทานได้

ไตรลักษณ์นั้น แปลว่า ลักษณะ ๔ อย่าง  ลักษณะ แปลว่า เครื่องกำหนด ไตรลักษณ์จึงแปลว่าเครื่องกำหนด ๓ อย่าง เครื่องกำหนดนี้เป็นเครื่องกำหนดแห่งอะไร ก็คือเป็นเครื่องกำหนดสังขารทั้งปวง คำว่าสังขารได้แก่สิ่งผสมปรุงแต่ง บรรดาสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งหลายได้ชื่อว่าสังขารทั้งนั้น โดยย่อก็มี ๒ อย่าง คือ อุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีผู้ครอง  อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีผู้ครอง สังขารที่มีผู้ครองอันเรียกว่า อุปาทินนกสังขารนั้น ก็ได้แก่ร่างกายของมนุษย์และของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายซึ่งมีจิตใจครอง และโดยปกติก็มีตัณหาครองอยู่เพราะประกอบด้วยตัณหา อุปาทาน ยึดถือในสังขารของตนๆ อยู่ ส่วนสังขารที่ไม่ผู้ครอง อันเรียกว่า อนุปาทินนกสังขาร ก็ได้แก่สิ่งทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ตลอดจนถึงบ้านเรือน วัตถุหรือสิ่งของทั้งหลายที่บุคคลเป็นผู้ปรุงแต่งก่อสร้างขึ้น เหล่านี้เรียกว่าสังขาร คือเป็นสิ่งผสมทั้งนั้น เพราะว่า จะเป็นสังขารอย่างใดก็ตาม จะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ มาประชุมปรุงแต่งขึ้นตามเหตุปัจจัยนั้นๆ และท่านก็บัญญัติเรียกสิ่งที่มาประชุมปรุงแต่งขึ้นว่าธาตุ ธาตุนั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ก็แสดงว่ามี ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และต่อมาก็เติมอากาศธาตุ คือช่องว่าง ธาตุ ๔ หรือธาตุ ๕ เหล่านี้มาประชุมปรุงแต่งขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย ดังกล่าวมานั้น ก็แหละธาตุที่กล่าวนั้นก็มุ่งถึงสิ่งที่มีคุณลักษณะสำหรับเป็นเครื่องกำหนด รวบรวมสิ่งทั้งหลายที่มีลักษณะอย่างเดียวกันเข้าด้วยกัน ดังเช่นสิ่งที่มีลักษณะเข้มแข็งก็รวมเรียกว่าปฐวีธาตุ ธาตุดิน สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ ก็รวมเรียกว่าอาโปธาตุ ธาตุน้ำ สิ่งที่มีลักษณะอบอุ่นก็รวมเรียกว่าเตโชธาตุ ธาตุไฟ สิ่งที่มีลักษณะพัดไหว ก็รวมเรียกว่าวาโยธาตุ ธาตุลม สิ่งที่มีลักษณะเป็นช่องว่าง ก็รวมเรียกว่าอากาศธาตุ ธาตุอากาศ มุ่งถึงคุณลักษณะเป็นที่รวบรวมสิ่งทั้งหลายเข้าด้วยกัน ดังกล่าวมานี้ จึงเรียกว่าธาตุ และเมื่อพิจารณาลงไปอีก บรรดาสิ่งที่เรียกว่าธาตุเหล่านั้นก็ยังเป็นสังขารสิ่งที่ผสมปรุงแต่งอยู่นั่นเอง ยังแยกออกไปได้อีกไม่มีที่สิ้นสุด

เพราะฉะนั้น เมื่อจะแยกให้ละเอียด ก็จะเป็นสังขารไปหมดโดยลำดับ จึงได้แสดงสรุปเสียทีหนึ่งว่าสิ่งที่มีลักษณะอย่างนั้นๆ เรียกว่าธาตุนั้นๆ และเมื่อธาตุนั้นๆ มาประชุมปรุงแต่งกันขึ้นก็เรียกว่าสังขาร คือส่วนผสมปรุงแต่ง นี้เป็นความปรุงแต่งทางวัตถุ ส่วนความผสมปรุงแต่งทางจิตใจนั้น ความคิดปรุง หรือความปรุงคิดที่ปรากฏเป็นเจตนากรรม ก็เรียกว่าสังขารเหมือนกัน เพราะว่าจะต้องมีเรื่องที่คิด จะต้องมีตัวความคิดมาประกอบกันเข้า และจะต้องมีคิดจับโน้นจับนี่มาคิดรวมกันเข้าปรุงเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น ถ้าเป็นส่วนดีก็เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร คือเป็นบุญ ถ้าเป็นส่วนชั่วเรียกว่า อปุญญาภิสังขาร คือเป็นบาป ถ้าเป็นกลางๆ ก็เรียกว่าอเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว อันได้แก่สมาธิ ก็เป็นสังขารอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น แม้การปรุงคิดหรือการคิดปรุง จับโน่นจับนี่มาคิดเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ ในทางดีบ้าง ในทางไม่มีดีบ้าง ก็เรียกว่าสังขาร เป็นสังขารทางจิตใจอีกส่วนหนึ่ง บรรดาสิ่งที่ผสมปรุงแต่งที่เรียกว่าสังขารดังกล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไป เป็นต้นว่า ร่างกายของทุกๆ คนที่นั่งอยู่นี้ก็เป็นสังขาร เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีผู้ครอง คือมีจิตใจและมีตัณหาอุปาทาน ความปรารถนายึดถือครองเป็นเจ้าของอยู่ด้วยกัน และภายนอกร่างกายนี้ออกไป จะเป็นร่างกายของบุคคลอื่น สัตว์อื่น ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นอุปาทินนกสังขารทั้งนั้น และสิ่งทั้งหลายนอกจากนี้ที่ตามองเห็นเป็นรูปต่างๆ ที่หูได้ยินเป็นเสียงต่างๆ ที่จมูกได้กลิ่นเป็นกลิ่นต่างๆ ที่ลิ้นได้ลิ้มรสเป็นรสต่างๆ ที่กายได้ถูกต้องเป็นโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้องต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสังขารทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น บรรดาสิ่งที่เป็นวิสัยของตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจคือหมายถึง มนะ ที่รับอารมณ์คือเรื่องของรูปเสียงเป็นต้นเหล่านั้น ก็รวมเรียกว่าเป็นสังขารทั้งสิ้น บรรดาสังขารเหล่านี้มีลักษณะคือเครื่องกำหนดของตนๆ โดยเฉพาะส่วนหนึ่ง และมีเครื่องกำหนดซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปอีกส่วนหนึ่ง และลักษณะที่เป็นเครื่องกำหนดโดยเฉพาะนั้น เช่นว่า ลักษณะรูปร่างหน้าตา สูง ต่ำ ดำ ขาว ถ้าเป็นวัตถุ ก็คือลักษณะสั้นยาว หรือมีรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้เป็นต้น แต่ละสิ่งแต่ละประการย่อมมีลักษณะเฉพาะตนๆ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลจึงกำหนดได้ดังเช่นว่า เมื่อเห็นกันและกัน ก็กำหนดกันได้ว่าเป็นคนนั้นเป็นคนนี้ เป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ เพราะเหตุอะไร? เพราะเหตุว่า แต่ละคนแต่ละสิ่งก็ย่อมมีลักษณะเป็นเครื่องกำหนดเฉพาะตนๆ ทั้งนั้น อีกอย่างหนึ่งเป็นลักษณะที่เป็นทั่วไป คือสามัญลักษณะ เป็นเครื่องกำหนดที่ทั่วไปของสัตว์สังขารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสังขารของคน ของสัตว์ดิรัจฉาน ซึ่งเป็นอุปาทินนะ หรือว่าจะเป็นสังขารที่ไม่มีผู้ครอง จะเป็นภูเขาต้นไม้ เป็นบ้านเรือนเป็นวัตถุสิ่งนั้นสิ่งนี้ซึ่งเป็นอนุปาทินนะ หรือว่าจะเป็นสังขารทางจิตใจ อะไรทั้งหมดทั้งนั้น ก็มีลักษณะที่เป็นเครื่องกำหนดทั่วไป ตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ ๓ ประการ คืออนิจจลักษณะ ลักษณะที่กำหนดว่าไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ คือลักษณะที่กำหนดว่าเป็นทุกข์ อนัตตลักษณะ ลักษณะที่กำหนดว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน รวมเป็น ๓ ลักษณะ เรียกว่า ไตรลักษณ์ นี้เป็นลักษณะที่เป็นเครื่องกำหนดโดยทั่วไปแห่งสังขารทั้งปวง  ลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่มีขึ้นและประจำอยู่แก่สังขารทั้งปวงเอง และก็เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงกำหนดให้รู้ได้ ถ้าไม่เป็นลักษณะที่มีประจำแก่สังขารทั้งปวงที่ปรากฏอยู่แล้ว ใครๆ ก็กำหนดให้รู้ไม่ได้ ก็แหละลักษณะที่เป็นเครื่องกำหนดสังขารทั้งปวง ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นวิสัยของปัญญา คือการพิจารณาให้รู้ตามเป็นจริง แต่โดยที่แท้ก็เป็นวิสัยตาหูอยู่ด้วยเหมือนกัน คือว่า ตาก็เคยได้เห็น หูก็เคยได้ยินถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความเป็นอนัตตาของสังขารทั้งหลาย กล่าวคือ ทุกๆ คน ก็ย่อมเคยเห็นความเกิด ความแก่ ความตาย ถ้าเป็นวัตถุก็ย่อมจะเคยเห็นความประดิษฐ์ขึ้น หรือว่าความแตกสลายไป

สำหรับบุคคลทั่วไป ก็ย่อมเคยเห็นความแตกความดับของบุคคลอื่น แต่ว่าเมื่อจะพิจารณาน้อมเข้ามาให้รู้ถึงความเกิดความแก่ความตายของตนเองนั้น บางทีเป็นการยาก โดยมากมักจะเคยเห็นเป็นส่วนอดีตบ้าง เป็นส่วนอนาคตบ้าง คือเห็นว่าเกิดก็เกิดมาแล้ว ตายก็อยู่ข้างหน้า แต่ว่าบัดนี้ยังเป็นอยู่ ยังมีอยู่และก็รู้สึกเหมือนไม่เกิด เหมือนไม่ตาย เพราะรู้สึกเหมือนอย่างว่าจะมีชีวิตอยู่เรื่อยไป ก็มักจะรู้สึกเหมือนอย่างนี้ เพราะอะไร? ก็เพราะยังมีตัณหา คือความดิ้นรนปรารถนา และอุปาทาน ความยึดถือ ฉะนั้น แม้รูปที่ตาเห็น เสียงที่หูได้ยิน จะรายงานให้ทราบถึงไตรลักษณ์ของสังขารทั้งปวง แต่ว่าจิตใจก็ยังไม่ยอมรับ เพราะฉะนั้น จึงเป็นวิสัยของปัญญาที่จะพิจารณาให้รู้ตามความเป็นจริง มิใช่ว่าให้รู้เกินความเป็นจริง หรือว่าให้รู้ต่ำว่าความเป็นจริง แต่ว่าให้รู้เท่าความเป็นจริง คือว่าความจริงมีอยู่เท่าใด ก็ให้รู้ทันเท่าความเป็นจริงนั้น ในการที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ความจริงนั้น ก็ต้องพิจารณาให้รู้เสียก่อนว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นอย่างไร? สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์เป็นอย่างไร? ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นอย่างไร? ตามพระพุทธภาษิตที่ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้น อันแปลความว่า

“พระตถาคต จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือความตั้งขึ้นแห่งธรรม ความกำหนดแน่แห่งธรรม ก็ดำรงอยู่ คือสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา แต่ว่า พระตถาคตได้อุบัติขึ้นในโลก ได้ทรงตรัสรู้ธรรมฐิติ ธรรมนิยามนั้นแล้ว ก็ทรงแสดงเปิดเผยให้รู้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้”

ข้อแรก สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง คำว่า ไม่เที่ยงนั้นก็มีความหมายตรงตัวอยู่แล้ว คือว่า ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน ที่ว่าไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนนั้น เพราะอะไร? ก็เพราะว่า สังขารทุกๆ อย่างนั้นเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป ไม่มีสังขารอันไหนที่บังเกิดขึ้นแล้วก็เที่ยงยั่งยืน ไม่มีดับ ต่างกันกันก็แต่ว่า จะตั้งอยู่นานหรือเร็วกว่ากันเท่านั้น ในที่สุดดับเหมือนกันหมด และในการที่ไม่เที่ยงคือไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนนั้น ก็มีความไม่เที่ยงอยู่เสมอไป ไม่ใช่ว่าจะหยุดเที่ยงยั่งยืนอยู่ชั่วครู่ชั่วขณะ ดังเช่นสังขารที่ประกอบด้วยชีวิตของบุคคลทุกๆ คน มีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นแล้วก็มีความไม่เที่ยงคือมีความเปลี่ยนแปลงเรื่อยไปโดยลำดับไม่หยุดยั้ง เหมือนอย่างน้ำที่ไหลเรื่อยไปโดยลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตของบุคคลจึงได้เลื่อนไปๆ ทุกขณะวินาที โดยไม่หยุดยั้ง และก็เลื่อนไปหาความดับในที่สุด เพราะฉะนั้น พิจารณาดูแล้วก็จะรู้สึกว่า เมื่อเป็นสังขารขึ้นแล้ว คือว่าเมื่อเกิดมีขึ้น ความมีขึ้นนั้นก็กลับเป็นความไม่มีไป แต่ว่าสำหรับเมื่อชีวิตยังมีอยู่นี้ ก็ยังมีสันตติคือความสืบต่อกันไป เช่นว่าเมื่อเกิดมาเป็นเด็กเล็กแล้วก็เลื่อนไปเป็นเด็กใหญ่ ความเป็นเด็กเล็กนั้นก็หายไป แต่มีความเป็นเด็กใหญ่ขึ้นแทนที่ หายไปและเกิดขึ้นเลื่อนไปโดยลำดับ จนถึงความตาย ขาดสันตติคือความสืบต่ออีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตร่างกายอันนี้ก็กลายเป็นศพ เหลือแต่อัฐิ และในที่สุดอัฐินั้นก็จะสลายหายไปหมด ก็เป็นอันว่าไม่มี เดิมก็ไม่มี และในที่สุดก็กลับกลายเป็นไม่มี เพราะฉะนั้น ความที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ของชีวิตร่างกายของทุกๆ คน เป็นเหมือนของที่ยืมเขามา คือว่ากรรมให้ยืมมา เมื่อสิ้นกรรมแล้ว ก็แปลว่าต้องใช้คืนไปแก่ธรรมดา ลักษณะดังที่กล่าวมานี้เป็นอนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นเครื่องกำหนดหมายว่าไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เป็นลักษณะที่หนึ่ง

ลักษณะที่สอง ทุกขลักษณะคือลักษณะที่เป็นเครื่องกำหนดหมายว่าเป็นทุกข์ คำว่าทุกข์นั้นเข้าใจกันว่าคือความไม่สบายกายไม่สบายใจ แต่ว่า สำหรับทุกข์ในที่นี้ไม่ได้มีความหมายแคบเพียงเท่านั้น แต่ว่ามีความหมายกว้างกว่านั้น คือว่าทุกข์มีความหมายว่าทนอยู่ไม่ได้ ทนยาก โดยความก็คือทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดที่ทนอยู่ไม่ได้ อยู่คงที่ไม่ได้ สิ่งนั้นก็ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เรียกว่าเป็นทุกข์ดังกล่าวนี้ จึงมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา สิ่งที่เป็นทุกข์ทนยาก ทนอยู่ไม่ได้ ก็คือสิ่งที่มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา นี้แหละเป็นทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นทุกข์ อิงอยู่กับอนิจจลักษณะ กล่าวคือเมื่อจะกำหนดทุกขลักษณะ ต้องกำหนดดูที่สังขารเป็นตอนๆ ไปว่า ทนอยู่คงที่ได้หรือไม่? เช่น กำหนดดูในบัดนี้ ร่างกายของตนในบัดนี้ ความคิดของตนในบัดนี้ ทนอยู่คงที่ลักษณะหนึ่งได้หรือไม่? เช่นกำหนดดูในบัดนี้ ร่างกายของตนในบัดนี้ ความคิดของตนในบัดนี้ ทนอยู่คงที่ลักษณะหนึ่งได้หรือไม่? อย่างชีวิตในวินาทีนี้จะให้คงที่ว่า จงหยุดอยู่ อย่าเพิ่งก้าวไปข้างหน้าสักหนึ่งวินาที จะเป็นไปได้หรือไม่ ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงของสังขารก็เช่นเดียวกัน จะให้หยุดอยู่เพียงวินาทีเดียวได้หรือไม่ ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงของสังขารก็เช่นเดียวกัน จะให้หยุดอยู่เพียงวินาทีเดียวได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาดูแล้วก็จะรู้สึกว่าไม่มีหยุด ชีวิตก็ดำเนินล้ำหน้าไปทุกทีอยู่หยุดไม่ได้ ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงของสังขารก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้สักขณะเดียว จึงเป็นทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นทุกข์ ทุกขลักษณะนี้ ดังได้กล่าวแล้วว่าอิงอยู่กับอนิจจลักษณะ เครื่องกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น ในที่บางแห่งจึงแสดงแต่อนิจจลักษณะ กับอนัตตลักษณะ ไม่แสดงทุกขลักษณะไว้ เพราะว่าสรุปเข้าในอนิจจลักษณะแล้ว ดังบทที่สวดว่า รูปํ อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง เวทนา อนิจฺจา สญฺญา อนิจฺจา สงฺขารา อนิจฺจา วิญฺญาณํ อนิจฺจํ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง แล้วก็ไป รูปํ อนตฺตา เวทนา อนตฺตา สญฺญา อนตฺตา สงฺขารา อนตฺตา วิญฺญาณํ อนตฺตา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ข้ามทุกข์ไปเสีย ก็เพราะว่าทุกลักษณะนั้นรวมอยู่กับลักษณะที่หนึ่ง

ส่วนลักษณะที่สาม คืออนัตตลักษณะ อนัตตลักษณะเป็นเครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตาไม่ใช่ตน ในที่นี้ ในบาลีแสดงว่า ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา ทำไมจึงแสดงยกธรรมะ เพราะท่านกล่าวว่า อนัตตานั้นมีแก่ทั้งสังขารและวิสังขาร สังขารก็ได้แก่ สิ่งผสมปรุงแต่งดังกล่าวมาแล้ว ก็เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน วิสังขารคือสิ่งที่ไม่ใช่สังขารอันหมายถึงตัวธาตุแท้ และโดยตรงก็หมายถึงนิพพานธรรม นี้เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน จะกล่าวถึงสังขารก่อน สังขารเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตนนั้น ก็พึงกำหนดดูตามที่ท่านแนะไว้ คือว่าไม่เป็นไปในอำนาจ คือสิ่งที่เป็นอนัตตาคือตัวตนนั้น ควรเป็นไปในอำนาจของตนคือบังคับได้ แต่ว่าสังขารทั้งหลายนี้บังคับไม่ได้ หมายความว่า เมื่อเกิดมาแล้วจะบังคับว่าไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ดังนี้หาได้ไม่ สังขารก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดา จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นการขัดแย้งกับอนัตตา คือความเป็นตัวตนดังกล่าว เมื่อขัดแย้งกับอนัตตาดังนี้ จึงเป็นของที่ว่างเปล่า เป็นของที่ไม่มีเจ้าของ เป็นของที่ว่างเปล่านั้น ก็คือว่าโดยที่แท้เป็นของที่ว่างเปล่าจากอนัตตา คือตัวตน เป็นของที่ว่างเปล่าโดยแท้จริง ไม่มีเจ้าของโดยแท้จริง ส่วนที่บุคคลไปยึดถือนั้นก็ด้วยอำนาจตัณหาอุปาทานของตนเท่านั้น แต่ก็ยึดถืออยู่ได้ชั่วครั้งชั่วคราว บางทีสังขารที่ยึดถือนั้นก็แตกสลายหลุดมือไปก่อน หรือบางทีผู้ยึดถือนั้นก็แตกสลายไปก่อน

เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยแท้จริงแล้ว จึงเป็นของที่ว่างเปล่า เป็นของที่ไม่มีเจ้าของโดยแท้จริง เพราะว่าต้องเป็นไปตามคติธรรมดา แต่ว่าบุคคลมีตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยาก มีอุปาทาน ความยึดถืออยู่ในสังขารทั้งหลายว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เมื่อมีความยึดถืออยู่ดังนี้ ตัวความยึดถือนั้นเอง จึงเป็นตัวอัตตา เป็นตัวตน ซึ่งเป็นแต่เพียงความยึดถือไว้เท่านั้น แต่สังขารทั้งหลายนั้นหาเป็นอัตตาคือตัวตนดังที่ยึดถือนั้นไม่ เพราะอะไร ก็เพราะไม่เป็นไปในอำนาจดังที่กล่าวมาแล้ว นี้เป็นอนัตตลักษณะ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตาอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งนั้น ก็มาพิจารณาดู จับเอาความเห็นอัตตาคือตัวตนของตนขึ้นมาแยก กล่าวคือทุกๆ คนย่อมมีความรู้สึกว่า เรามีเราเป็น คือว่า มีอัตตา ตัวตนอยู่และอัตตา ตัวตนนั้นอยู่ที่ไหน พิจารณาดูในเบื้องต้นก็จะเห็นว่าอยู่ที่สังขารนี้เอง คราวนี้ ก็ยกสังขารขึ้นมาแยกออกเป็นส่วนๆ คือว่าแยกธาตุออกไปก็จะพบแต่ธาตุเท่านั้น ความยึดถือก็จะเลื่อนไปอยู่ธาตุ ก็จับเอาธาตุขึ้นมาแยกพิจารณาอีกว่า นั่นก็สักแต่ว่าธาตุ และธาตุนี้ก็แยกออกไปได้อีก เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่อัตตาคือตัวตน เมื่อพิจารณาไปๆ ก็จะพบว่า อัตตาคือตัวตนนั้นอยู่ที่ตัณหาความคือความดิ้นรนทะยานอยาก และอยู่ที่อุปาทานคือความยึดถือนั่นเอง มีตัณหาอุปาทานแผ่ไปในที่ใด อัตตาตัวตนก็แผ่ไปในที่นั้น ตัณหาอุปาทานเล็กโตเท่าไร อัตตาตัวตนก็เล็กโตเท่านั้น ตัณหาอุปาทานใหญ่โตมาก อัตตาตัวตนก็ย่อมใหญ่โตมาก ครอบคลุมออกไปทั้งหมด เพราะฉะนั้น ภาวะที่เรียกว่าอัตตาคือตัวตนนั้นจึงเท่ากับเป็นเงาของตัณหาอุปาทานซึ่งแผ่ออกไปในสังขารทั้งหลาย เมื่อพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นได้ว่า ความเป็นอัตตาตัวตนนั้น อยู่ที่ตัณหาอุปาทาน อันบังเกิดขึ้นจากอวิชชา คือความไม่รู้ตามความเป็นจริง แต่เมื่อมาพิจารณาจับให้เห็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ ดังกล่าวมาแล้วโดยแจ่มชัดขึ้น ปัญญาก็ย่อมจะบังเกิดแจ่มชัดขึ้นโดยลำดับ เป็นเหตุให้เกิดนิพพิทา ความหน่ายในสังขารทั้งหลาย เมื่อเกิดนิพพิทาความหน่ายในสังขารทั้งหลายขึ้นเท่าใด วิราคะ คือคลายติด คลายยินดี จนถึงความสิ้นยินดี ความสิ้นติดในสังขารทั้งหลายก็มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อวิราคะ มีมากขึ้นเท่าใด ความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ก็มีมากขึ้นเท่านั้น

เพราะฉะนั้น การอบรมปัญญาให้บังเกิดขึ้นในไตรลักษณ์ จึงเป็นทางที่จะผ่อนคลายตัณหาอุปาทานให้ลดน้อยถอยลง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นการผ่อนปรนทุกข์ให้ลดน้อยถอยลงได้โดยลำดับ และปัญญาดังที่กล่าวมานี้และผลที่จะบังเกิดขึ้นกับปัญญา เช่น นิพพิทา ความหน่าย วิราคะ ความสิ้นติด วิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ก็ล้วนเป็นธรรมะที่เป็นเหตุและผลที่บังเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นอัตตาตัวตนของใคร เมื่อบรรลุถึงนิพพานซึ่งเป็นที่สุด นิพพานนั้นก็ไม่ใช่เป็นอัตตาคือตัวตนของใคร เพราะฉะนั้น วิสังขาร ธรรมมิใช่สังขารอันได้แก่ธาตุแท้ คือ นิพพาน ก็เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตน ธรรมะทั้งหลายนอกจากนี้เป็นต้นว่าโพชฌงค์ มรรค ตลอดถึงจิตเป็นต้นก็เหมือนกัน ก็เป็นธรรมเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งๆ ในเบื้องต้นก็อาจจะยึดถือว่าเป็นอัตตาคือตัวตน ในเวลาปฏิบัติ แต่เมื่อจะพ้นจากชั้นหนึ่งๆ ขึ้นไปแล้ว จะมัวยึดถือชั้นนั้นว่าเป็นอัตตาคือตัวตนอยู่ก็เลื่อนขึ้นไปไม่ได้ เหมือนอย่างว่า เรียนชั้นประถมสอง สอบชั้นประถมสองได้แล้ว จะยึดถือชั้นประถมสองอยู่ ก็จะเลื่อนขึ้นไปประถมสามไม่ได้ การปฏิบัติธรรมะก็เหมือนกัน เมื่อปฏิบัติได้ชั้นหนึ่งแล้ว จะยังยึดถืออยู่ว่าเป็นเราเป็นตัวตนของเราอยู่ในชั้นนั้นแล้ว ก็เลื่อนไปไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นอนัตตาในชั้นนั้น จึงจะเลื่อนชั้นสูงขึ้นไปได้ เมื่อจะเลื่อนไปก็ปล่อย แล้วก็ไปยึดในชั้นสูงขึ้นไป แล้วก็ปล่อยไปโดยลำดับจนถึงที่สุด เพราะฉะนั้น ทั้งสังขาร ทั้งวิสังขาร เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตน ท่านจึงแสดงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน ด้วยประการฉะนี้

ไตรลักษณ์ ลักษณะ ๓ ของสังขารทั้งปวง หรือสามัญลักษณะ สามัญลักษณะที่ทั่วไปได้แก่สังขารทั้งหลายทั้งปวง โดยที่แสดงมาโดยปริยายนี้ เป็นวิสัยของปัญญาที่จะพิจารณาให้รู้แจ่มแจ้งตามความเป็นจริง การอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ชื่อว่า เป็นการปฏิบัติในปัญญาสิกขา เป็นการผ่อนปรนกิเลสคือตัณหาอุปาทาน เป็นทางผ่อนปรนความทุกข์ให้ลดน้อยถอยลง เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ จึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อผ่อนปรนกิเลสและกองทุกข์ ย่อมจะเป็นผู้ประสพความเบาบางแห่งกิเลสและกองทุกข์ ตามสมควรแก่ปัญญาที่เกิดขึ้นตามสมควรแก่การปฏิบัติ มีอรรถาธิบายดังแสดงมาด้วยประการฉะนี้

ท่านพลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ ได้เป็นผู้ใช้ชีวิตประกอบกรณียะต่างๆ เกื้อกูลตนและผู้อื่นทั้งสองอย่าง ในฐานะเป็นพุทธศาสนิกชนก็ได้ประพฤติธรรมและบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนาตามโอกาสนั้นๆ แม้ชีวิตจะต้องเป็นไปในไตรลักษณ์ดังแสดงมา แต่ก็ได้ถือเอาสาระแห่งชีวิตไว้ได้ กรณียะส่วนที่เป็นบุญกุศล ก็ย่อมจะเป็นที่พึ่งสำหรับตนสืบไป ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ แปลความว่า บุญเป็นที่พึงของชนทั้งหลายในปรโลกด้วยประการฉะนี้

ขออำนาจกุศลราศีทักษิณานุปทาน ที่ภริยาและบุตรธิดาบำเพ็ญอุทิศทั้งปวงนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ผลิตวิบากสุขสมบัติ แด่ท่านพลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ สมตามเจตนาอุทิศโดยฐานนิยม

แสดงพระธรรมเทศนา ในติลักขณกถา ยุติด้วยเวลา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้


* ทรงแสดงเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ในงานบรรจุศพ พลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ  ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๑

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤษภาคม 2563 15:33:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อานาปานสติ 4.2 ขั้นธัมมานุปัสสนา นัย ๒ โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1630 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:03:36
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 4.1 ขั้นธัมมานุปัสสนา นัย ๑ โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1642 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:05:55
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 3 ขั้นจิตตานุปัสสนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1523 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:12:40
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 2 ขั้นเวทนานุปัสสนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1460 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:14:45
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 1 ขั้นกายานุปัสสนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1677 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:16:36
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.347 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 09 กุมภาพันธ์ 2567 07:26:27