[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 18:16:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องรางในสยาม  (อ่าน 1639 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 มกราคม 2562 14:26:25 »



เครื่องรางในสยาม

เครื่องรางของขลัง มีความผูกพันกับคติความเชื่อของสังคมไทยมายาวนานมาก โดยเฉพาะสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาเป็นแกนกลาง บรรดาเครื่องรางของขลังต่างๆ นับเป็นส่วนเสริมให้พุทธาคม กฤตยาคม และไสยาคม สามารถเข้ากันได้และเดินไปด้วยกันอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ

อย่างเวลารบทัพจับศึก "พุทธาคม" อาจจะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นการเสริมสร้างกำลังใจ สร้างความฮึกเหิม และความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ล้วนเป็นคติความเชื่อซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยมาแต่ โบร่ำโบราณ ชนิดที่ว่าแยกกันไม่ออกกับชีวิตประจำวันของสังคมทีเดียว

อีกนัยหนึ่ง "เครื่องรางของขลัง" น่าจะเป็น "สัญลักษณ์" หรือ "สิ่งชี้นำ" จะสังเกตว่า ในยุคโบราณเราจะพบเห็นลูกปัดและหินสีฝังรวมอยู่ในหลุมศพ ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นเครื่องชี้นำให้ผู้ตายได้ข้ามภพข้ามชาติไปสู่สุคติตามความเชื่อ โดยเฉพาะประเทศอียิปต์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมหลังความตาย

สำหรับประเทศไทย ก็มีการใช้ "เครื่องราง" เป็นสิ่งชี้นำเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น "ขุนแผน" ในวรรณคดีโบราณ "ขุนช้างขุนแผน" เวลาจะออกรบก็จะต้องเตรียมเครื่องรางพร้อมสรรพ ดังเช่น

"สะเอวคาดราตคตก็สีดำ คล้องประคำตะกรุดทองทั้งสองสาย

ใส่เสื้อยันต์ลงองค์นารายณ์ เข็มขัดขมองพรายคาดกายพลัน

ประจงจับประเจียดประจุพระ โพกศีรษะทะมัดทะแมงดูแข็งขัน

ทั้งพ่อลูกผัดผงที่ลงยันต์ แล้วเสกจันทน์เจิมหน้าสง่างาม"

มักเชื่อกันว่า "เครื่องราง" จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดนิมิต ลางดี ลางร้ายต่างๆ เปรียบเหมือนการเตือนสติให้ระมัดระวังไม่ประมาท จะออกทางไหนซ้ายหรือขวา เครื่องรางก็จะช่วยชี้นำการตัดสินใจ น่าจะคล้ายๆ กับการเสี่ยงทาย

เครื่องรางของขลังโบราณของไทยนั้นมีมากมายหลายชนิด ทั้ง ประคำ ผ้าประเจียด เบี้ยแก้ ยันต์นานาประเภท ปลัดขิก ตะกรุด ลูกอม กะลาตาเดียว เขี้ยวหมูตัน หนังหน้าผากเสือ รักยม กุมารทอง แหวนพิรอด รูปเคารพต่างๆ เช่น รักยม กุมารทอง นางกวัก แม่โพสพ หรือเสือ สิงห์ วัวธนู ลิง หนุมาน และอีกมากมายนับไม่ถ้วน ส่วนกรรมวิธีจัดสร้าง ตลอดจนวิธีอาราธนา หรือ "ใช้" เครื่องรางของขลังของโบราณก็ต้องดูฤกษ์ดูยาม วัสดุอาถรรพ์ กำลังวัน และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเพิ่มความเข้มขลังให้แก่เครื่องรางของขลังนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น "ตะกรุด" ซึ่งสมัยเด็กๆ เรามักจะได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังถึงความศักดิ์สิทธิ์ และนิยมพกพาติดตัวกัน บางท่านก็ออกเสียงเป็น "กะตรุด" โดยส่วนใหญ่จะเน้นด้านคงกระพันชาตรี ที่จริงแล้ว "ตะกรุด" เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในการรบทัพจับศึกเข้าสู่สนามรณรงค์สงคราม ตะกรุดจะติดตัวติดตามแบบไปไหนไปด้วยช่วยกันรบ

"ตะกรุด" โดยทั่วไปมักจะหมายถึง การนำโลหะแผ่นบางๆ อาจจะเป็นทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะธาตุผสมอื่นๆ มาลงอักขระเลขยันต์โดยโบราณาจารย์ ซึ่งจะใช้เหล็กจารเขียนพระคาถาผูกขึ้นเป็นมงคล ก่อนที่จะม้วนให้เป็นแท่งกลมโดยมีช่องว่างตรงแกนกลางสำหรับร้อยเชือกติดตัว หรืออาจจะถักด้วยเชือก หญ้า หรือด้ายมงคล แล้วนำไปจุ่มหรือชุบรัก ก่อนร้อยเชือก ตามกรรมวิธีของแต่ละคณาจารย์


พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2562 12:23:01 »




ท้าวเวสสุวัณ
รุ่นลาภผลพูนทวี หลวงพ่อหนุนวัดพุทธโมกพลาราม


พระครูวิชัยสารคุณ หรือที่ชาวบ้าน ทั่วไปรู้จักกันในนาม "หลวงพ่อหนุน สุวิชโย" วัดพุทธโมกพลาราม อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งที่ชาวเมืองสกลนครให้ความเลื่อมใสและศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 65 ปี พรรษา 38 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพุทธโมกพลาราม และเจ้าคณะตำบลนาแก้ว

เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปี มะโรง วันที่ 6 มิ.ย. 2495 ที่บ้านเลขที่ 37 หมู่ 2 บ.นาเดื่อ ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร

อุปสมบท เมื่ออายุ 27 ปี ตรงกับวันที่ 25 มี.ค. 2552 ที่พัทธสีมาวัดหนองหญ้าปล้อง ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมี พระครูประภาสวชิรธรรม วัดหนองหญ้าปล้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหมี วัดหนองหญ้าปล้อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุวิชโย

หลังอุปสมบท ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

หลังจากนั้นท่านย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดนาเดื่อ ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาเดื่อ พ.ศ.2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลนาแก้ว พ.ศ.2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูวิชัยสารคุณ

พ.ศ.2549 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธโมกพลาราม

ทั้งนี้ คณะศิษย์วัดพุทธโมกพลาราม ขออนุญาตหลวงพ่อหนุน ให้จัดสร้าง "รูปหล่อลอยองค์ ท้าวเวสสุวัณ รุ่นลาภผลพูนทวี" เพื่อหารายได้สมทบทุนโครงการจัดสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อหนุน ขนาดเท่าองค์จริง ที่วัดพุทธโมกพลาราม จ.สกลนคร

ท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นเทพหรือยักษ์ที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธและพราหมณ์ มีผู้นิยมกราบไหว้กันมาก ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธกล่าวไว้ในพระสูตรที่ชื่อว่า "อาฏานาฏิยะ" ว่า ท้าวกุเวรเป็นหนึ่งในท้าวจตุมหาราชผู้ครองสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา (สวรรค์ฉกามาวจร ชั้นที่ 1)

ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ นั้นยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง "ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร" หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ ชื่ออื่นๆ คือ "อิจฉาวสุ" หมายถึง "ความมั่งมีได้ตามใจ" ชื่อ ยักษ์ราชอันหมายถึง "เจ้าแห่งยักษ์" หรือชื่อ มยุราช หมายถึง "เป็นเจ้าแห่งกินนร" ชื่อรากษเสนทร์ หมายถึง "ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส" ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า "ท้าวกุเรปัน"

จากคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณนั้น ท่านเป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่องค์หนึ่งที่มีหน้าที่ "คอยพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา"

รูปร่างหน้าตาของ ท้าวเวสสุวรรณ จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่

ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูรรากษส และภูตผีปีศาจ คนโบราณจึงมักทำรูปท้าวเวสสุวัณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวนเด็กเล็ก และนิยมทำผ้ายันต์รูปท้าว เวสสุวัณ (ท้าวเวสสุวัณ) หรือจำหลักเป็นด้ามของมีดหมอที่สัปเหร่อใช้กำราบวิญญาณ เป็นความเชื่อว่ามีดหมอจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณสามารถปราบผีได้


ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.225 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 09:34:45