[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 01:00:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : เฮเกลผิด มาร์กซ์ก็ผิด-ที่แบ่งเป็นชนชั้นจึงผิดตาม  (อ่าน 1744 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2553 08:38:25 »


 

เฮเกลผิด มาร์กซ์ก็ผิด-ที่แบ่งเป็นชนชั้นจึงผิดตาม

ที่จ่าเป็นหัวข้อของบทความของวันนี้มีความหมายหรือแปลตรงๆ ได้ว่ามีอยู่สองประการ คือ หนึ่ง เพราะว่า ซี.เอฟ. เฮเกลผิด คาร์ล มาร์กซ์ ที่เชื่อเฮเกลอย่างยิ่ง เชื่อใน "ไดอะเล็กติก" (ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป) จึงผิดตาม ซึ่งทำให้คำว่า "ชนชั้น" ที่เป็นหัวใจของหนังสือของเขา (Karl Marx : Communist manifesto, 1848) ที่มีชื่อเสียงและเป็นสาเหตุที่ผู้เขียนเชื่อตามไปด้วยตั้งแต่เด็กจนกระทั่งร่วมยี่สิบปีก่อน ประการที่สอง ที่ว่านั้นเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้ผู้เขียนเปลี่ยนแปลง (transformation) โลกทัศน์หรือกระบวนทัศน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกทัศน์ทางสังคม การเปลี่ยนแปลงของคนคนเดียวเมื่อผ่านวัยเด็ก (3-11 ขวบ) ที่จิตใต้สำนึกและพฤติกรรมส่วนใหญ่ราวๆ 80% ได้มีขึ้นแล้ว แน่นอนหากมองโดยผิวเผินและทั่วๆ ไป ย่อมจะไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่หากมองให้ลึกลงไปและอ่านไปคิดไปในมุมกว้าง เชื่อแน่ว่าผู้อ่านคงได้ประโยชน์บางประการ การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางสังคมของผู้ที่ได้ผ่านวัยเด็กไปแล้วนั้น ผู้เขียนคิดว่าไม่ได้เกิดจากจิตใต้สำนึก หากแต่เป็นเรื่องของจิตสำนึกที่ผ่านการบริหารโดยสมอง จิตสำนึกคือประสบการณ์ที่มีใหม่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยบางคนบางนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงยิ่ง รวมทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล เช่น อูยีน วากเนอร์ จอห์น วอน นิวแมน เฮ็นรี สแตปป์ เป็นต้น (process I and process II) กระบวนการทั้งคู่ทั้ง I กับ II เป็นกระบวนการของสมองและที่สมอง โดยกระบวนการที่ I เป็นจากบนลงมาล่าง (from up to down) ซึ่งเป็นไปด้วยกลไกของควอนตัมเม็คคานิกส์ในการเลือกสภาวะความเป็นไปได้ของคลื่น (probability waves) ส่วนกระบวนการที่ II เป็นเรื่องของคลาสสิกคัลหรือนิวโตเนียนฟิสิกส์ ซึ่งทำนายผลที่แน่นอนได้ (determination) ซึ่งเป็นไปจากล่างมาสู่ข้างบนของสมอง (from down to up) ตรงนี้ - ผู้เขียนคิดเอง - ว่ามันอาจเป็นเรื่องของจิตไร้สำนึก (cosmic unconsciousness as consciousness) ซึ่งแสดงว่าจิตอาจจะเป็นสิ่งที่เล็กละเอียดอย่างยิ่ง และเป็นเหมือนกับคลื่นอนุภาค (wave-particles or quaff) คือทั้งสอง จิตกับคลื่นอนุภาคต่างก็เป็นควอนตัมสตัฟฟ์ (quaff) ที่มีคุณสมบัติอาจเหมือนกันทุกประการ แต่จิตละเอียดกว่า
 
 
ฟีดดรีช เฮเกล นั้น นักปรัชญาทั้งหลายเชื่อว่าเป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกตะวันตกในศตวรรษที่ 19th โดยเฉพาะหนังสือของเขาที่ชื่อว่า ปรัชญาของประวัติศาสตร์ (Philosophy of History) อันประกอบด้วยอภิปรัชญาหรือเมตาฟิสิกส์ของเฮเกลเอง ซึ่งเชื่อว่าตนได้ค้นพบกฎธรรมชาติของการเกิดของความคิดที่จะกลายเป็นความรู้ที่เขาเรียกว่า "ไดอะเล็กติก" (คำที่เขายืมมาจากพลาโต) ซึ่งประกอบด้วย "เธสิส" (thesis) จะต้องมีธรรมชาติของความเป็นตรงกันข้ามกันเสมอ (โดยธรรมชาติเช่นเดียวกัน) ที่เรียกว่า "แอนตีเธสิส" (antithesis) และทั้งสองฝ่ายก็จะต่อสู้และหักล้างกันจนองค์กรทั้งสอง - เธสิสกับแอนตีเธสิส - หักล้างกันจนความเป็นองค์กรทั้งสองฝ่ายนั้นหมดเกลี้ยง เหลือแต่เศษส่วนที่ประกอบเป็นองค์กรนั้นๆ ซึ่งจะรวมกันเกิดองค์กรใหม่เรียกว่า "ซีนเธสิส" (synthesis) อภิปรัชญาหรือเมตาฟิสิกส์ของเฮเกลที่คิดว่า ประวัติศาสตร์โดยธรรมชาติของประเทศชาติต่างๆ ในโลกเป็นการเขียนขึ้นของคนที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นๆ โดยเน้นเนื้อหาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตของสังคมประเทศชาตินั้น
 
 
เมตาฟิสิกส์ "ไดอะเล็กติก" ของฟีดดริช เฮเกล มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อคาร์ล มาร์กซ์ จนเขายอมรับอย่างศิโรราบ ทั้งนี้ ยกเว้นมาร์กซ์คิดว่าเพราะเฮเกลเป็นนักคิดนักปรัชญา จึงคิดอะไรหรือมีความรู้อะไรมักจะเป็นตามประสบการณ์ที่ไตร่ตรองบนเหตุผลหรือตรรกะของตนเอง ความคิดความรู้ที่นำเสนอสาธารณชนจึงเป็นอภิปรัชญาแทนที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ มาร์กซ์จึงมีความเห็นว่าประวัติศาสตร์ของสังคมและชุมชนของมนุษยชาติ - ไม่ว่าประเทศใดหรือที่ไหนก็ตาม - ประกอบด้วยชนชั้น (classes) ของผู้ที่ไม่มีหรือมีน้อย หรือผู้ที่ใช้แรงงาน ผู้รับใช้บุคคลจำพวกแรกหรือคนอื่นๆ กับผู้ที่มี หรือมีมาก หรือผู้ที่ใช้บุคคลจำพวกแรก ที่แน่นอนย่อมมีบุคคลที่มีชนชั้นหรือวรรณะระหว่างคนสองจำพวกที่กล่าวมานั้น คาร์ล มาร์กซ์ จึงได้
เขียนหนังสือที่เป็นอุดมการณ์ที่โด่งดังยิ่งนั้นขึ้นมา
 
 
ออกัสเต คอมเต เป็นนักจิตวิทยาสังคมที่เป็นผู้คิดว่าสังคมของมนุษย์แยกออกจากมนุษย์แ
ต่ละคน และแยกจากมนุษยชาติโดยรวมไม่ได้ เขาจึงได้ตั้งสาขาวิชา "สังคมวิทยา" ขึ้นมาเพื่อศึกษาสังคมมนุษย์โดยเฉพาะ แต่เขาเข้าใจสังคมในเชิงวิทยาศาสตร์หรือชีววิทยาของชาร์ลส์ ดาร์วิน โดยไม่ได้ศึกษาฟิสิกส์เพียงพอ จึงมองชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ไปในทางชีววิทยา ซึ่งขึ้นกับการสังเกต "สิ่งที่มีชีวิต" อยู่ในขณะนั้นๆ อย่างเป็นระบบ ออกัสเต คอมเต จึงมองวิวัฒนาการของจิตใจของมนุษย์ไปในเชิงชีววิทยาว่าวิทยาศาสตร์มีอยู่แค่นั้น คือขึ้นกับประสบการณ์ของการสังเกตของมนุษย์แค่นั้น ประสบการณ์ของการสังเกตของมนุษย์ก็คือวิทยาศาสตร์ ออกัสเต คอมเต จึงมองสังคมของมนุษย์คือประสบการณ์ที่มองเห็น (สังเกต) ได้ และประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการจิตของมนุษย์ และสังคมซึ่งก็คือวัฒนธรรมจึงจบลงที่วิทยาศาสตร์ (หรือ magic mythic and science จบ) ที่เอาออกัสเต คอมเต มาพูดถึงในที่นี้ก็เพื่อแสดงว่านักจิตวิทยาสังคมหรือนักปรัชญาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์สังคมทั้งหลายควรศึกษาค้นคว้าวิทยาศาสตร์ให้ถึงแก่นแกนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะฟิสิกส์ (และควอนตัมฟิสิกส์หากหลังปี 1927) ทั้งนี้ ก่อนที่นักวิชาการพวกนั้นจะเขียนและตีพิมพ์หนังสือออกมาสู่สาธารณชน เนื่องจากนักวิชาการพวกนั้นมักไม่รู้ว่าอิทธิพลของหนังสือของตัวเองนั้นมีความสำคัญที่สุดต่อสาธารณชนผู้อ่านทั่วไปมากยิ่งนักที่คนทั่วไปจะไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือหรือวารสารด้านวิทยาศาสตร์หนึ่ง อ่านแล้วไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งหนึ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือหรือข้อมูลนั้นๆ เกี่ยวกับมนุษย์หรือสังคมของมนุษย์อีกหนึ่ง ซึ่งเรา-โดยทั่วไปก็รู้อยู่เต็มอกแล้วว่าอะไรๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสังคมของมนุษย์ หรือแม้แต่ใกล้ๆ กับตัวมนุษย์แล้ว มนุษย์เราแทบทุกคนจะมีความรู้สึกว่า เรื่องนั้นน่าสนใจเป็นที่ยิ่ง และมักจะจดจำไปนานนัก แถมเราจะลบมันออกไปจากความทรงจำยากที่สุด เพราะเรามักหลงตัวเอง (anthropocentrism)
 
ดังนั้น ฟรีดดริช เฮเกส และคาร์ล มาร์กซ์ ก็เป็นเช่นนั้น รวมถึงเรื่องของชนชั้น (social classes) ซึ่งหนักกว่าชั้นวรรณะของอินเดียโบราณที่มีอยู่จนกระทั่งวันนี้ และผู้เขียนคิดว่าไม่มีทางที่มนุษย์จะกำจัดให้ออกไปจากสังคมโดยรวมได้หมดจริงๆ เพราะว่ามันผิดไปจากธรรมชาติ กอไผ่หรือกอหมากมีต้นที่แคระแกร็นเตี้ยเล็กและต้นที่สูงชันอวบสมบูรณ์ในกอเดียวกัน พระพุทธองค์ถึงกล่าวว่า คนเรามีสูง มีต่ำ มีดำ มีขาว มีจน มีรวย.....เป็นพราหมณ์หรือราชา เป็นคนพาลต่ำช้าหรือเป็นโจร ฯลฯ เป็นเพราะกรรมอย่างเดียว พระพุทธองค์ไม่ได้ถือชั้นวรรณะของมนุษย์ผู้ "ประเสริฐ" กว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ใช่เพราะเกิดมาจากต่างครรภ์มารดาในสังคมเดียวกัน ไม่ใช่เช่นนั้นอย่างแน่นอน แต่เป็นเพราะความประพฤติหรือพฤติกรรมต่างหาก ไล่ต่อไปแล้วก็ขึ้นกับการเลี้ยงดูและพันธุกรรม (nurture กับ nature) คือห้อมล้อมด้วยคนถ่อยคนพาลคนต่ำช้า หรือมีพ่อแม่เป็นโจร มีโคตรเหง้าเป็นโจรที่มีกันคนละเกือบครึ่ง โดยมีสิ่งแวดล้อมในวัยเด็กมากกว่าเล็กน้อย แต่หากไล่ไปจนถึงที่สุดก็เป็นเพราะกรรมเหมือนกัน ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยตัวแทนแบบที่เรามีอยู่เลือกผู้แทน ผู้เขียนจึงเชื่อในวิวัฒนาการทางจิตไปตามสเปกตรัมของจิตเป็นธรรมชาติสำคัญที่สุด ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าเป็นเป้าหมายของจักรวาล หาใช่สสารวัตถุหรือเนื้อเยื่อไม่ อย่าลืมว่าความประพฤติหรือพฤติกรรมของมนุษย์นั้น นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเลยโดยไม่มียกเว้นบอกกับเราตลอดเวลาว่า ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือกำหนดโดยจิตหรือนามทั้งสิ้น ไม่ว่าจิตจะเป็นคนละเรื่องกับสมอง หรือเป็นผลของการทำงานของสมอง (epiphenomenon)
 
ที่ว่าทั้งเฮเกล ทั้งมาร์กซ์ และทั้งชนชั้นที่ผิดนั้น ผิดอย่างไร? ขอชี้แจงดังนี้ :-
 
ข้อแรก คิดว่าเฮเกลผิดในเรื่องเวลา เฮเกลก็เช่นคนในยุคนั้นที่มองอะไรๆ เป็นเส้นตรงตามลูกศรแห่งเวลา (arrow of time) ทฤษฎี "ไดอะเล็กติก" ก็เป็นเช่นนั้น ในขณะที่ความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้น ปรากฏการณ์ของจักรวาลเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง แต่เป็นวัฏจักร "ก้นหอย" (non-linear science) ข้อสอง ผิดที่เรื่องขององค์กร มันไม่มี "เธสิส" "แอนตีเธสิส" และ "ซีนเธสิส" แบบที่เฮเกลคิด มันต้องมีตัวดึงดูด (attractor) และทางสองแพร่งก่อนความล่มสลายขององค์กรเก่า ถึงจะมีองค์กรใหม่ปรากฏ (emergent) ขึ้นมา และมันไม่มีการรวมกัน (synthesis) หรอก มีแต่มากกว่า เอบวกบีไม่เท่ากับเอบี
 
ข้อสาม ความเป็นองค์รวมซ้ำซ้อนองค์รวมไปเรื่อยๆ ฯลฯ เฮเกลไม่ได้พูดถึง อิมมานูเอล คานท์ ที่แม้จะก่อนกว่า แต่ก็ร่วมสมัยกับเฮเกล กับความเป็นองค์รวมหรือทั้งหมด (holism) ของคานท์ การมองชีวิต "การเป็นไปเช่นนั้นของมันเอง" (autopoesis) อันเป็นหัวใจของปรัชญาของคานท์ ซึ่งสำหรับผู้เขียน ที่กล่าวมานั้นขัดแย้งกับความคิดของเฮเกลเองที่บอกว่าความจริงที่แท้จริงคือจิตที่สมบูรณ์ (absolute mind หรือจิตหนึ่งหรือจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล) เฮเกลจึงผิดที่เขาตั้งทฤษฎีไดอะเล็กติกขึ้นมา แต่กลับไม่รวมความจริงที่แท้จริงหรือจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล - C.G.Jung ไว้ในทฤษฎีไดอะเล็กติกของเขา
 
และคาร์ส มาร์กซ์ ยิ่งผิดเข้าไปอีกฐานเชื่อเฮเกลและไดอะเล็กติกอย่างศิโรราบ จริงอยู่มาร์กซ์ได้เปลี่ยนชาติประเทศเป็นชนชั้นของสังคม ทั้งยังได้สร้างลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นมา (ประกอบด้วย 3 ทฤษฎีย่อย แต่มีทฤษฎีไดอะเล็กติกสำคัญที่สุด) ผู้เขียนรู้สึกเหมือนกับที่ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล รู้สึก ที่มาร์กซ์ เฮเกล กับไดอะเล็กติกที่ไม่รวมจิตและองค์รวมไว้ด้วย ผู้เขียนจึงรู้สึกเสียใจยิ่งนักที่เชื่อคาร์ล มาร์กซ์ มานานร่วม 30 ปี แถมเชื่อในวัยทำงานเสียด้วย จนกระทั่งมีวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ ควอนตัมเม็คคานิกส์ ทฤษฎีเคออส ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่ไม่เดินเป็นเส้นตรง ฯลฯ เกิดขึ้น และได้ติดตามอย่างใกล้ชิดมานานจริงๆ
 
ชนชั้นวรรณะทางสังคม (classes) นั้น ไม่ว่าศักดินา ชนชั้นกรรมาชีพ หรืออำมาตย์ หรือทาส ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโฮโมอีเรคตัสในอดีตมาแล้ว ทั้งปัจจุบันและอนาคตเราจะต้องไม่ผิดอีก เช่น อเมริกา ยุโรป กับที่เราตั้งใจผิดและปรารถนาผิดๆ เช่น สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยตัวแทน ความเท่าเทียมกันที่ตาเห็น ดังที่พระพุทธองค์กล่าว วรรณะไม่เป็นธรรมหากมองแต่กายที่เห็น แต่ไม่มองที่พฤติกรรมที่ควบคุมด้วยจิตที่ไม่เห็น นั่นคือวิวัฒนาการทางจิตที่สำคัญกว่ากาย.
 
 
http://www.thaipost.net/sunday/250410/21266

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2466 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2744 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2553 08:52:02
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2054 กระทู้ล่าสุด 05 เมษายน 2553 08:47:42
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ทฤษฎีรวมแรงทั้งหมดกับพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1996 กระทู้ล่าสุด 18 เมษายน 2553 17:16:25
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์กับโลกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2050 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 08:42:23
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.379 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 23 กุมภาพันธ์ 2567 17:56:43