[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 04:20:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ทุกวันนี้เราทุกข์กับอะไร” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี  (อ่าน 889 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 76.0.3809.132 Chrome 76.0.3809.132


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กันยายน 2562 09:54:10 »

.





“ทุกวันนี้เราทุกข์กับอะไร”

ถ้าเราได้พบกับพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เราจะได้เรียนรู้เรื่องของจิตใจว่าเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าร่างกาย จิตใจนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน” ความสุขอันยิ่งใหญ่อยู่ที่ใจ เช่นเดียวกับความทุกข์อันยิ่งใหญ่ก็อยู่ที่ใจ ร่างกายนี้ไม่ได้เป็นตัวสำคัญ ร่างกายนี้เป็นตัวประกอบหรือเป็นตัวสำรอง เป็นผู้ช่วยไม่ใช่เป็นนายก ผู้ช่วยนายกกับนายกนี้ไม่เหมือนกัน หน้าห้องของนายกกับนายกนี้มีกำลังไม่เหมือนกัน นายกนี้มีกำลังมีอำนาจสั่งการได้เต็มร้อย หน้าห้องหรือเลขาของนายกนี้มีหน้าที่รับใช้นายกอีกที “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจอยู่ตรงนี้ ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ใจเป็นผู้ที่จะสร้างความสุขได้มากกว่าร่างกาย แต่ถ้าเราไม่รู้จักใจ เราไม่รู้จักวิธีสร้างความสุขให้กับใจเราก็จะกลับทำตรงข้ามกัน แทนที่จะสร้างความสุขให้กับใจ เรากลับไปสร้างความทุกข์ให้กับใจโดยไม่รู้สึกตัว

เราทำอย่างไรที่เราเรียกว่าเราสร้างความทุกข์ให้กับใจ ก็การไปดูแลร่างกายมากเกินความจำเป็นนั่นเอง มันจึงทำให้ใจของเราทุกข์กัน ทุกวันนี้เราทุกข์กับอะไร ถ้าไม่ได้ทุกข์กับเรื่องของร่างกาย ทุกข์กับเรื่องการหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ทุกข์กับความแก่ ทุกข์กับความเจ็บ ทุกข์กับความตายของร่างกาย นี่เป็นปัญหาเพราะว่าเราไม่ได้มาดูแลจิตใจนั่นเอง ถ้าเราดูแลจิตใจเป็น จิตใจเราจะไม่ทุกข์กับเรื่องของร่างกายเลย จะไม่ทุกข์กับการเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของร่างกาย จะไม่ทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตายของร่างกาย เพราะใจรู้ว่าอะไรสำคัญกว่าอะไร ใจจะให้ความสำคัญกับใจมากกว่าให้ความสำคัญกับร่างกาย เพราะใจรู้ว่าร่างกายนี้ความสำคัญน้อยกว่าใจ ร่างกายนี้อยู่ไม่นานก็ตาย เลี้ยงดูมันดีขนาดไหนมันก็ตายเหมือนกัน แต่ใจนี้มันไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ใจนี้ไม่มีวันตาย ใจนี้อยู่ไปเรื่อยๆ อยู่แบบสุขหรืออยู่แบบทุกข์เท่านั้นเอง ถ้าไม่รู้จักวิธีดูแลจิตใจก็จะอยู่แบบทุกข์ ถ้ารู้จักวิธีดูแลจิตใจ ใจก็จะอยู่แบบสุขไปตลอด นี่คือสิ่งที่พวกเราจะได้รู้กัน จะได้รู้จักกันได้เรียนรู้กันก็เวลาที่เรามาวัดแล้วมาฟังเทศน์ฟังธรรม มาศึกษาธรรมคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็จะได้รู้ว่านอกจากร่างกายแล้วเรามีจิตใจที่สำคัญกว่าร่างกาย เพราะว่าจิตใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ตาย ส่วนร่างกายนี้เป็นสิ่งที่ต้องตาย ดูแลมันดีขนาดไหนมันก็ดีแค่วันตาย เท่านั้นเอง พอตายแล้ว สิ่งต่างๆ ที่เราหามาเพื่อดูแลร่างกายนี้มันก็หมดความหมายไป แต่สิ่งต่างๆ ที่เราหามาให้กับใจนี้ มันไม่หมดไปกับความตายของร่างกาย มันจะดูแลใจของเราต่อไปได้

ปัจจัย ๔ ของใจนี้จะดูแลใจไปต่อหลังจากที่ร่างกายนี้ตายไปแล้ว แต่ปัจจัย ๔ ของร่างกายนี้จะไม่ดูแลร่างกายต่อหลังจากที่ร่างกายตายไปแล้ว มีปัจจัย ๔ มากน้อยเพียงไรก็กลายเป็นมรดกไป เป็นของทายาทไป มีเงินกี่แสนล้านก็กลายเป็นของทายาทไป มีบ้านใหญ่โตขนาดไหนมีกี่หลังก็กลายเป็นของทายาทไป มีอะไรก็กลายเป็นของคนอื่นไปหมด เอาอะไรไปกับใจไม่ได้เลย สิ่งที่ใจจะเอากับใจไปได้ก็คือปัจจัย ๔ ของใจ เราจึงต้องมาศึกษาเพื่อให้รู้ปัจจัย ๔ ของใจคืออะไรนั่นเอง เพราะว่าถ้าเรารู้แล้วเราหาปัจจัย ๔ มาให้กับจิตใจ จิตใจของเรานี้จะมีแต่ความสุข จะไม่มีความทุกข์ จะมีความสุขมากกว่าความสุขทางร่างกายหลายพันเท่าหลายแสนเท่าเลย นี่คือสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ถ้าเราได้มาเกิดในยุคที่มีพระพุทธศาสนา ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนาจะไม่มีใครรู้เรื่องของใจได้ละเอียดได้ครบถ้วนบริบูรณ์เท่ากับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านี้เป็นผู้ค้นพบการเลี้ยงดูจิตใจให้จิตใจอยู่อย่างสุขที่เรียกว่า “ปรมัง สุขัง” คือบรมสุข ใจได้บรมสุขก็เพราะพระพุทธเจ้าของพวกเรานี้ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้จะไม่มีใครรู้จักสร้างบรมสุขให้แก่จิตใจ คือจะไม่มีใครรู้จักการสร้างนิพพานให้กับจิตใจนั่นเอง “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” (นิพพานเป็นบรมสุขอย่างยิ่ง)


สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สร้างธรรมะให้เป็นที่พึ่งกับใจ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 937 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2562 16:17:35
โดย Maintenence
“อานิสงส์ของความเมตตา” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 980 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2562 17:24:35
โดย Maintenence
“ทำใจให้สงบ” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 858 กระทู้ล่าสุด 07 กันยายน 2562 12:56:44
โดย Maintenence
“กระบวนการของการชำระจิตใจ” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 1041 กระทู้ล่าสุด 08 กันยายน 2562 11:10:15
โดย Maintenence
การทำบุญไม่ได้เป็นการสูญเปล่า พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 904 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2562 09:54:00
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.275 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 11:54:56