[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:56:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กำลังใจ โดย พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต) วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร จ.ชลบุรี  (อ่าน 27456 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 77.0.3865.120 Chrome 77.0.3865.120


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 ตุลาคม 2562 12:56:39 »




กำลังใจ ๓
โดย พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร  ในพระบรมราชูปถัมภ์
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน


ท่านที่มีความประสงค์จะพิมพ์แจกหนังสือเล่มนี้เป็นธรรมทาน
ท่านสามารถพิมพ์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด
โดยให้ถือตามหลักธรรมที่แสดงไว้ว่าการให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง


คำนำ

พระพุทธศาสนาจะยังคงอยู่คู่กับโลกเราไปอีกนาน หากเรายังคงมีสิ่งแรกที่สำคัญนี้อยู่คือ “ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ ผู้ถ่ายทอด” เป็นผู้สืบทอดพระธรรมวินัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นี้คือ พระอริยสงฆ์สาวกผู้เป็นแบบอย่างที่มีความประพฤติดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดำเนินรอยตามคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาอย่างเคร่งครัด

เมื่อท่านได้ศึกษาพุทธธรรมจนรู้แจ้ง บรรลุธรรมจากการปฏิบัติจริง ก็สามารถเผยแผ่สั่งสอนถ่ายทอดความจริงในวิธีที่เรียบง่าย ชัดเจน ช่วยให้พุทธบริษัททั้งหลายที่พร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ที่จะศึกษาเล่าเรียน มีกำลังศรัทธา เชื่อมั่น จิตรู้ซึ้งในคำสอน นำไปปฏิบัติตามจนรู้หนทางแห่งการดับทุกข์ที่ถูกต้อง

พวกเราคือ “ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด” คือสิ่งที่สองที่จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนานี้ จึงต้องเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดด้วยเช่นกัน โดยนำคำสั่งสอนที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ได้รู้ มากลั่นกรองทบทวนวิเคราะห์ศึกษา ด้วยความมุมานะ อดทนที่จะปฏิบัติตามให้สำเร็จ

ผู้ที่ใฝ่ศึกษาหาทางหลุดพ้น หรือ “ผู้ที่หลงทาง” จะใช้พระธรรมเทศนาเป็นแผนที่เดินทางแห่งชีวิต เป็นเข็มทิศชี้ทางเดินที่ถูกต้อง แสงสว่างแห่งธรรมะจากการที่ผู้ปฏิบัติหมั่นเติมพลังจากการปฏิบัติบูชา ทำสมาธิ บำเพ็ญจิตตภาวนาอย่างไม่หยุดหย่อน จะให้แสงสว่างแก่ปัญญา จิตรู้จักการปล่อยวาง ดำเนินอยู่บนทางสายกลางแห่งชีวิต เพื่อที่จะพบกับหนทางที่สุดแห่งทุกข์ในบั้นปลาย

พวกเราทุกคนมีทั้ง “ผู้รู้” และ “ผู้หลง” ยังยึดมั่นที่จะช่วยเหลือให้กำลังใจแก่กันในการที่จะสร้างแสงสว่างแก่ชีวิต เพื่อผู้หลงจะได้มี “ดวงตาเห็นธรรม” เป็นส่วนช่วยสืบทอดพุทธศาสนาและได้เป็นผู้รู้ในสัจธรรมของชีวิตได้ด้วยตนเองในที่สุด

คณะผู้จัดทำ
พฤษภาคม ๒๕๔๔



กัณฑ์ที่ ๓๒
สุภาษิต
๗ มกราคม ๒๕๔๔

มีสุภาษิตอยู่บทหนึ่งที่ว่า คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง เป็นการเปรียบเทียบระหว่างรูปร่างหน้าตาที่สวยงามกับวาจาที่สวยงาม ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่น่าดึงดูด น่าประทับใจมากกว่ากัน กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่าวาจาที่สวยงามนั้น เป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่ารูปร่างหน้าตาที่สวยงาม เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่ารูปร่างหน้าตาที่สวยงามนั้น เมื่อเห็นครั้งแรกก็เป็นที่ประทับใจ แต่ถ้าได้เห็นบ่อยๆเข้า จะเกิดความเคยชิน เกิดความจำเจ แล้วก็เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาได้ เหมือนกับอาหารที่รับประทาน ชนิดไหนที่เราชอบแต่ถ้าต้องทานซํ้าซากอยู่ทุกๆวัน มันก็เกิดความเบื่อหน่ายได้ แต่ตรงกันข้ามกับวาจาที่สวยงาม ทุกครั้งที่เราฟังเราจะเกิดความประทับใจ ไม่ว่าครั้งแรก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม หรือกี่ครั้งก็ตาม เพราะว่าสิ่งที่พูดนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสิ่งที่น่าฟัง ฟังแล้วก็เกิดความชื่นอก ชื่นใจ สบายใจ

เรื่องของรูปร่างหน้าตานั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เมื่ออายุมากขึ้นหน้าตาที่เคยสวยงามก็จะค่อยๆเสื่อมลง ค่อยๆเหี่ยวลง ผิวหนังก็จะเหี่ยวย่น ผมก็จะกลายเป็นสีขาว รูปร่างที่มีทรวดทรงย่อมหมดไปตามอายุขัย ส่วนวาจานั้นไม่ได้แก่ไปตามวัย ไม่ได้แก่ไปตามเวลา ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไม่ได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ถ้าพูดดีความสวยงามก็จะปรากฏขึ้นเป็นเงาตามตัว ผู้ที่มีวาจาสวยงามจึงเป็นที่ชื่นชมยินดีของผู้ที่ได้ยินได้ฟังตลอดกาล จึงขอให้พวกเราจงรักษาความสวยงามของวาจาให้มากกว่ารักษาความสวยงามของร่างกาย รูปร่างหน้าตาเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติไม่ได้ จะต้องเป็นไปตามกาลตามเวลา จะค่อยๆแก่ลงไปเรื่อยๆ ความสวยงามที่เคยมีในวัยหนุ่มสาวก็จะค่อยๆ หมดไป

วาจาที่สวยงามนั้นไม่ได้เสื่อมไปกับกาลเวลา แต่ขึ้นอยู่กับผู้พูดว่ามีสติหรือเปล่า รู้ว่ากำลังพูดอะไรอยู่หรือเปล่า รู้ว่าเป็นสิ่งที่ควรพูดหรือเปล่า ถ้ามีสติและรู้จักแยกแยะว่าคำพูดที่สวยงามนั้นเป็นอย่างไร ผู้พูดจะสามารถรักษาวาจาที่สวยงามไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว คำพูดที่สวยงามเรียกว่าสุภาษิต ประกอบไปด้วย ๑. สัจจะ ความจริง ๒. สุภาพ อ่อนโยน ๓. มีคุณประโยชน์ มีสาระ ๔. ประกอบไปด้วยความเมตตา ๕. ถูกกาลเทศะ

๑.สัจจะ ความจริง เวลาจะพูดอะไรต้องมีสติพิจารณาก่อน ว่าสิ่งที่จะพูดนั้นเป็นความจริงหรือเปล่า ถ้าไม่เป็นความจริงก็อย่าพูดออกไป ให้นิ่งเสีย หรือปฏิเสธไปด้วยคำสุภาพว่าขอไม่พูดเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องพูดคำเท็จ จะทำให้เราไม่สวยงาม ลดคุณค่าในตัวเราลงไป คุณค่าของคนอยู่ที่คำพูด ดังในนิทานอีสปเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ ครั้งแรกก็ไปหลอกว่ามีหมาป่ามากัดฝูงแกะ พอคนได้ยินก็วิ่งมาช่วย พอรู้ว่าถูกเด็กเลี้ยงแกะหลอกคนที่วิ่งมาช่วยก็เกิดความเสียใจและไม่พอใจ คำพูดของเด็กเลี้ยงแกะต่อไปจึงไม่มีความหมาย ไม่มีคุณค่า ต่อมาเวลามีหมาป่ามาทำร้ายฝูงแกะเขาก็ตะโกนขอความช่วยเหลือ แต่คราวนี้ไม่มีใครเชื่อ ไม่มีใครฟัง ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือ เพราะกลัวจะถูกหลอกอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้เห็นโทษของการพูดปดมดเท็จ

๒.สุภาพ อ่อนโยน คำสุภาพนั้นเวลาใครได้ยินได้ฟังก็เกิดความสบายใจ ตรงกันข้ามกับคำหยาบคาย ใครได้ยินได้ฟังก็ไม่สบายใจ เป็นการส่อให้เห็นถึงนิสัยสันดาน ฐานะตระกูลว่าสูงหรือตํ่า ดีหรือชั่ว ผู้ที่มีวาจาสุภาพเป็นผู้สูงเป็นผู้ประเสริฐ ผู้ที่พูดคำหยาบคายเป็นคนตํ่าทราม เวลาพูดอะไรต้องระวัง อย่าพูดคำหยาบ ให้พูดคำที่สุภาพ

๓.มีคุณประโยชน์ มีสาระ ควรคำนึงทุกครั้งที่จะพูดว่ามีประโยชน์ มีสาระหรือไม่ มีโทษหรือไม่ ถ้ามีโทษก็อย่าไปพูด ถ้ามีคุณมีประโยชน์จึงค่อยพูดออกไป

๔.ประกอบไปด้วยความเมตตา ความเมตตาหมายถึงไมตรีจิต ไม่อาฆาตพยาบาท ไม่เกลียดชัง ไม่โกรธแค้น เวลามีความโกรธอย่าพูดอะไรออกไป เพราะมักจะพูดคำที่ไม่สวยงาม ไม่สุภาพ เวลาที่คนโกรธพูดจะไม่มีใครอยากจะฟัง มีแต่อยากจะเดินหนี

เพราะว่าเป็นคำพูดที่ออกมาจากอารมณ์ที่เคียดแค้น เป็นคำพูดที่ไม่น่าฟัง ทำให้คนฟังมีอารมณ์โกรธแค้นตอบโต้กลับมา การรักษาวาจาที่สวยงามนั้นจึงขึ้นอยู่กับความมีเมตตา ควรเจริญเมตตาอยู่เสมอๆ มองทุกคนว่าเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน มีอะไรก็พูดกันได้ เวลามีความโกรธความเคียดแค้นครอบงำอยู่ อย่าเพิ่งไปพูดกับใคร ให้สงบสติอารมณ์ให้ดีเสียก่อน รอให้จิตใจเป็นปกติ เป็นจิตใจที่มีเหตุมีผลเสียก่อนแล้วจึงค่อยพูดออกไป ถ้าพูดออกไปในขณะที่มีความโกรธ ความเกลียด ความแค้นแล้ว จะเสียคนได้ พูดไปแล้วจะเสียใจภายหลัง ควรจำใส่ใจอยู่เสมอว่า ก่อนพูดเราเป็นนายของคำพูดเรา พูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา

๕. ถูกกาลเทศะ คือรู้จักเวลาที่ควรจะพูดหรือไม่พูด ถ้าพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ หรือเกิดโทษ ก็ควรนิ่งเสีย รอโอกาสที่เหมาะที่ควรแล้วค่อยพูดจะดีกว่า

การรักษาวาจาที่สวยงามจึงต้องมีสติระลึกรู้อยู่เสมอๆ ก่อนจะพูดต้องรู้ว่ากำลังจะพูดอะไร ต้องรู้ว่าขณะนี้มีความโกรธหรือเปล่า ถ้ามีอารมณ์โกรธอารมณ์แค้นอยู่ ก็อย่าเพิ่งพูด ให้หยุดไว้ก่อน รอให้สบายใจแล้วค่อยพูดก็ได้ ไม่ต้องรีบร้อน มีเวลาเยอะแยะไปที่จะพูดกันได้ เวลาพูดด้วยความสบายใจ คนฟังก็ฟังด้วยความสบายใจ ย่อมรับเหตุรับผลได้ เวลาที่พ่อแม่จะสั่งสอนลูกนั้น ขอให้ทำในขณะที่มีความสบายใจ อย่าไปดุ อย่าไปด่าลูกในขณะที่มีความโกรธ เพราะตอนนั้นจะเป็นการเอาแพ้เอาชนะกัน ลูกจะไม่ยอมรับ เพราะรู้ว่ากำลังใช้อารมณ์อยู่ ไม่ได้ใช้เหตุผล สิ่งที่พ่อแม่พูดจะไม่มีนํ้าหนัก เพราะไม่มีเหตุไม่มีผล มีแต่อารมณ์ เวลาสอนจึงต้องสอนด้วยเหตุด้วยผล คำสอนของพ่อแม่จะมีนํ้าหนักต่อเมื่อมีเหตุมีผลและการกระทำของผู้สอนก็ต้องสอดคล้องกับสิ่งที่สอนด้วย

ถ้าไม่อยากให้ลูกสูบบุหรี่ ไม่อยากให้ลูกกินเหล้าเมายา ไม่อยากให้ลูกเที่ยวเตร่ ไม่อยากให้ลูกเล่นการพนัน ตัวเราก็ต้องทำอย่างนั้นด้วย เราต้องไม่สูบบุหรี่ เราต้องไม่เสพสุรา เราต้องไม่เที่ยวเตร่ เราต้องไม่เล่นการพนัน ถ้าเรายังทำสิ่งเหล่านี้อยู่ลูกก็จะไม่เชื่อฟังเรา เพราะว่าสิ่งที่เราต้องการให้เขาทำนั้นตัวเราเองยังทำไม่ได้เลย เมื่อตัวเราเองยังทำไม่ได้แล้วจะให้คนอื่นทำตามคำสอนเราได้อย่างไร มันก็เหมือนกับแม่ปูสอนลูกปู แม่ปูเห็นลูกปูเดินเฉไปเฉมาก็อยากให้ลูกปูเดินตรงๆ จึงสอนลูกว่าอย่าเดินเฉไปเฉมา แต่ตัวแม่เองยังเดินตรงไม่ได้เลย แล้วจะให้ลูกเดินตรงๆได้อย่างไร ถ้าอยากจะให้ลูกดำเนินชีวิตไปในกรอบที่ดีที่งามตามทำนองคลองธรรม พ่อแม่ต้องสอนลูกๆด้วยความเมตตา ด้วยเหตุด้วยผลด้วยความรู้ความฉลาด และทำในสิ่งที่สอน เวลาสอนควรสอนในขณะที่มีอารมณ์ดี ใจสบาย อย่าสอนในขณะที่มีอารมณ์ มีความโกรธ เพราะจะไม่ได้ผล

ถ้าอยากจะเป็นที่รักที่ชื่นชมของบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสามีของเราก็ดี ภรรยาของเราก็ดี ลูกของเราก็ดี มิตรสหายของเราก็ดีนั้น เราต้องเดินตามสุภาษิตที่สอนว่า คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง ไม่ต้องพะวงถึงเรื่องแต่งหน้าแต่งตัว เรื่องเสื้อผ้าอาภรณ์ จะเสียเงินไปเปล่าๆกับสิ่งที่ไม่น่าจะเสีย กับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ถึงแม้จะสวยด้วยรูปร่างหน้าตาเสื้อผ้าอาภรณ์ ถ้าวาจาไม่สวยงามก็ไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้หรอก ไม่มีใครอยากฟังคำหยาบคาย คำพูดปดมดเท็จ คำพูดที่ออกมาจากอารมณ์โกรธแค้นอาฆาตพยาบาทเหล่านี้ ความสวยงามของรูปร่างหน้าตาจะถูกความไม่สวยงามทางวาจาบดบังทำลายไปหมด จงพยายามสร้างความสวยงามที่วาจาเถิด เพราะว่าวาจาไม่เสื่อมไปกับกาลกับเวลา รูปร่างหน้าตามีแต่ที่จะเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ผิวหนังจะเหี่ยวลงไปเรื่อยๆ ทำศัลยกรรมตกแต่งก็ทำได้เพียงครั้งสองครั้งเท่านั้นเอง แต่ใน



n 8
http://www.kammatthana.com/03klj.pdf

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 77.0.3865.120 Chrome 77.0.3865.120


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2562 12:44:06 »




กัณฑ์ที่ ๓๓
วันเด็ก
๑๓ มกราคม ๒๕๔๔

วันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคม ของทุกๆปี ทางการได้กำหนดไว้ให้เป็นวันเด็กแห่งชาติ เพราะเห็นความสำคัญของเด็กว่าต่อไปจะเป็นผู้ปกครองประเทศชาติ เด็กในวันนี้จะต้องเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ก็ต้องอาศัยการอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ดีที่งามตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก โบราณท่านแสดงไว้ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก เด็กๆเมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนแล้ว สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เวลาโตแล้วจะสั่งสอนลำบากเพราะเป็นเหมือนไม้แก่มีความแข็งกระด้าง ถ้าไปดัดมากๆก็อาจจะหักได้ โบราณจึงให้สั่งสอนเด็กตั้งแต่ยังเยาว์วัย

วิธีที่ผู้ใหญ่จะสั่งสอนเด็กนั้น ต้องสั่งสอนด้วยวาจาและการประพฤติตนเป็นตัวอย่าง ถ้าสั่งสอนแต่วาจาอย่างเดียวแต่ความประพฤติกลับเป็นตรงกันข้าม เด็กจะไม่เชื่อฟัง จะไม่ทำตาม เด็กจะดูการประพฤติเป็นหลัก เพราะว่าการพูดการสั่งสอนนั้นพูดไปไม่กี่วันก็ลืมแล้ว แต่การกระทำลืมยาก เวลาเห็นก็จะประทับตาประทับใจไปนาน เวลาสั่งสอนลูกหลานจึงต้องดูตัวเองเสียก่อน ว่าตัวเราเองกระทำในสิ่งที่เราสั่งสอนลูกหลานให้กระทำหรือเปล่า เช่นอยากให้ลูกหลานเป็นเด็กดี ไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งมอมเมาอบายมุขทั้งหลาย เช่นการเสพสุรายาเมา การเล่นการพนัน การเที่ยวเตร่ ความเกียจคร้าน ถ้าเพียงแต่สอนบอกลูกว่าอย่าไปกินเหล้าเมายานะ อย่าไปเล่นการพนันนะ อย่าไปเที่ยวเตร่นะ อย่าเป็นคนเกียจคร้านนะ แต่ผู้สั่งสอนกลับกลายเป็นคนทำเสียเอง เล่นการพนันเสียเอง เสพสุราเสียเอง เที่ยวเตร่เสียเอง เป็นคนเกียจคร้านเสียเอง ถ้าเป็นเช่นนี้จะสั่งสอนไปเท่าไรเด็กก็จะไม่เชื่อไม่ฟัง เพราะว่าเด็กจะดูตัวอย่างจากพ่อแม่ผู้ใหญ่นั่นเอง พ่อแม่ผู้ใหญ่เปรียบเหมือนเป็นแม่พิมพ์ของลูกๆ พ่อแม่เป็นอย่างไรลูกๆมักเป็นอย่างนั้น ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

การสั่งสอนจึงควรสั่งสอนทั้งทางวาจาและการกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง การสั่งสอนทางวาจาก็สำคัญ ต้องคอยบอก คอยอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมจะต้องทำในสิ่งเหล่านี้ ทำไมถึงไม่ให้ทำในสิ่งเหล่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างอธิบายได้ด้วยเหตุด้วยผล การกระทำเป็นเหตุนำมาได้ทั้งความสุขความเจริญ นำมาได้ทั้งความทุกข์และความเสื่อมเสีย ขึ้นอยู่กับว่าการกระทำนั้นกระทำไปในทิศทางใด พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า อบายมุขเป็นทางสู่ความเสื่อมเสีย อบายแปลว่าภพภูมิที่มีแต่ความทุกข์ความยากลำบาก เป็นที่อยู่ของ เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย และสัตว์นรก มุขแปลว่าทวาร ประตู ทางเข้า ผู้ใดที่ไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขก็เป็นผู้เข้าไปสู่อบายภูมิ ไปสู่ความเสื่อมเสียทั้งหลายนั่นเอง

ถ้าปรารถนาจะให้ลูกๆเป็นคนดี ผู้ปกครองต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี อยากจะให้ลูกๆเป็นเด็กที่พูดจาแต่คำสุภาพไม่พูดคำหยาบ เวลาอยู่ต่อหน้าเด็กต้องคอยดูว่าเรากำลังพูดอะไรอยู่ อย่าพูดคำหยาบต่อหน้าเด็ก ควรพูดจาให้สุภาพเรียบร้อย เด็กจะได้เอาไปเป็นตัวอย่าง ถ้าอยากให้ลูกๆเป็นเด็กที่มีสัมมาคารวะ มีความเคารพ มีความกตัญญูกตเวที ผู้ใหญ่ก็ต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง ต้องมีสัมมาคารวะ มีความกตัญญูกตเวทีทดแทนพระคุณของท่านผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย เลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี เมื่อได้สอนและกระทำเป็นตัวอย่างแล้ว ลูกๆก็จะเจริญรอยตาม เมื่อเราเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี มีความเคารพต่อบิดามารดา ต่อผู้หลักผู้ใหญ่ ลูกๆจะมีความเคารพในตัวเรา มีความกตัญญูกตเวที จะเลี้ยงดูเราในยามแก่เฒ่า เพราะผู้ใหญ่ได้ทำเป็นตัวอย่างให้เด็กๆได้เห็น เป็นตัวอย่างที่ประทับใจเด็ก เด็กๆมักชอบทำตามพ่อแม่

ถ้ารักลูก อยากจะให้ลูกเป็นคนดี ต้องพยายามสั่งสอนทั้งทางวาจาและประพฤติตนเป็นตัวอย่าง ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้แล้วเชื่อได้ว่าลูกๆจะเป็นคนดีต่อไป ยกเว้นลูกที่มีกรรมติดตัวมามาก คือในอดีตชาติได้กระทำแต่สิ่งที่ไม่ดีไม่งามจนฝังลึกลงไปในสันดาน ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะลำบากหน่อย จะสั่งสอนอย่างไรก็ไม่สามารถรับไปประพฤติปฏิบัติตามได้ เหมือนกับสาดนํ้าใส่หลังสุนัข สาดไปเท่าไหร่ก็จะสลัดทิ้งหมด ต้องยอมรับเรื่องของวิบากกรรม ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน จะทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

เวลาอยากให้ลูกเป็นคนดี ทำความดีให้เขาเห็นเป็นตัวอย่าง แต่ทำเท่าไร ก็ไม่สามารถที่จะซึมซาบเข้าไปในจิตใจของเขาได้ เพราะจิตใจของเขาหนาทึบไปด้วยโมหะอวิชชา ความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำอยู่อย่างหนาแน่น สั่งสอนอย่างไรก็ไม่เชื่อไม่ฟัง ชอบกระทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วพ่อแม่อย่าไปเสียใจ ให้ทำความเข้าใจว่าได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ลูกเขารับได้เท่าไรก็เป็นเรื่องของเขา เหมือนกับเวลาเอาสิ่งของไปแจก ถ้าผู้รับไม่ยินดีที่จะรับ เราก็ไม่เสียใจ เอาของเก็บไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น หรือเอาไปให้ผู้อื่นก็ได้ เมื่อผู้รับไม่ยินดีจะรับก็ไม่ต้องไปยัดเยียดให้กับเขา ไม่เกิดประโยชน์อะไร

อย่ารักลูกจนเกิดความเศร้าโศกเสียใจ เวลาลูกไม่เป็นไปตามที่เราต้องการให้เป็น เราต้องทำความเข้าใจว่าเป็นกรรมของเขา เราไม่มีอำนาจไปฝืน มันเป็นสิ่งที่อยู่เหนือวิสัยเรา เราแก้ให้เขาไม่ได้ เราต้องทำใจเท่านั้นเอง แต่เราจะคอยดูแลช่วยเหลือเขาเท่าที่เราจะทำได้ เช่นถ้าเขาเกิดตกทุกข์ได้ยาก ไปติดคุกติดตะราง เราก็ไปเยี่ยมไปดูแลเขา ส่งนํ้าส่งอาหารให้กับเขา ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดูแลรักษาพยาบาลเขาไป แต่ไม่ต้องให้เงินให้ทองมากมายเกินความจำเป็น ถ้าเขาไม่รู้จักใช้เงินใช้ทองให้เป็นประโยชน์ เงินทองจะกลายเป็นเครื่องทำลายเขาถ้าเอาไปเล่นการพนัน เอาไปเที่ยวเตร่ เอาไปเสพสุรายาเมา เป็นการเสียเงินเสียทอง ที่เราอุตส่าห์หามาได้ด้วยความยากลำบากไปโดยเปล่าประโยชน์ เวลาที่เขาช่วยตัวเองไม่ได้ เช่นในยามเจ็บไข้ได้ป่วย เลี้ยงดูปากท้องของตัวเองไม่ได้ ก็ต้องเป็นภาระของเราที่จะต้องให้ความเมตตากรุณา ถือว่าเป็นการทำบุญทำกุศล แต่จิตต้องเป็นอุเบกขา ต้องรู้จักปล่อยวาง ต้องยอมรับความจริง ว่าเขาเป็นอย่างนี้ เราทำได้เท่านี้ ถ้าเขาไม่ช่วยตัวเขาเอง ก็ไม่มีใครจะช่วยเขาได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ก็ช่วยเขาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของกรรม

นี่คือเรื่องของการดูแลอบรมสั่งสอนลูกๆหลานๆ ผู้ปกครองต้องเลี้ยงดูจนกว่าลูกหลานจะช่วยเหลือตัวเขาเองได้ ให้วิชาความรู้ ให้เรียนหนังสือเท่าที่เขาสามารถจะเรียนได้ เรียนได้แค่ไหนก็ส่งเขาไป ถ้าเขาเรียนไม่ได้มันก็เป็นกรรมของเขา เขาจะเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทำดีก็จะได้รับผลดีตามมา ทำไม่ดีก็ต้องรับกรรมไป พ่อแม่ต้องรู้จักทำใจให้เป็นอุเบกขา ไปเศร้าโศกเสียใจ ไปทุกข์ ไปกังวลกับเขา มันก็ไม่แก้ปัญหาของเขาได้ การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้


บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.97 Chrome 78.0.3904.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2562 16:24:03 »




กัณฑ์ที่ ๓๔
ทำบุญแผ่นดินไทย
๑๔ มกราคม ๒๕๔๔

วันนี้เป็นวันทำบุญแผ่นดินไทย ทุกๆวันอาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนมกราคมในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๔ มกราคม ทางวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดพิธีทำบุญเพื่อแผ่นดินไทย โดยนิมนต์พระภิกษุจากวัดต่างๆ ในจังหวัดชลบุรีและในจังหวัดระยอง มารับสังฆทานจำนวน ๙๙๙ รูป โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีถวายสังฆทานนี้ เจตนารมณ์เพื่อที่จะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ นักต่อสู้ นักรบชาวไทยทั้งหลาย ที่ได้ช่วยกันรักษาปกป้องแผ่นดินไทยมา ให้เราได้อยู่เป็นอิสระเป็นไทยจนกระทั่งทุกวันนี้ พวกเราทั้งหลายเปรียบเหมือนกับเป็นลูกหลานของท่าน มีความสำนึกในพระคุณของท่านเหล่านี้ จึงได้ร่วมจิตร่วมใจกันมาที่วัดวันนี้เพื่อทำบุญถวายสังฆทาน แล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ให้กับท่านที่ล่วงลับไปแล้ว

การทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ถ้าผู้ล่วงลับไปแล้วไปเกิดในสุคติ คือไปเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม หรือเป็นพระอริยบุคคลก็ดี ท่านจะไม่ได้รับบุญอุทิศของเรา เพราะว่าท่านมีบุญมากกว่าบุญที่เราอุทิศไปให้ท่าน ถ้าท่านทราบท่านจะอนุโมทนาบุญของเรา ส่วนผู้ที่ตายไปแล้วไปสู่นรกไปเป็นอสุรกาย ไปเป็นเดรัจฉาน พวกนี้ก็ไม่ได้รับบุญเหมือนกัน มีอยู่พวกเดียวที่รอรับส่วนบุญของพวกเรา คือพวกเปรต ถ้าเราอุทิศส่วนบุญไปให้เขา เขาก็จะได้รับ แต่ถ้าไม่มีใครรอรับ บุญส่วนนี้จะไปไหน บุญส่วนนี้มันก็กลับมาหาเรา มันยังเป็นของๆเราอยู่ เหมือนกับเวลาที่เราแจกเงินให้คนอื่น แต่ไม่มีใครรับเงินนี้ เงินนี้ก็กลับมาหาเรา

เรื่องการอุทิศส่วนบุญนั้นมีความเป็นมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล คือมีพระเจ้าแผ่นดินอยู่พระองค์หนึ่ง ท่านมีปัญหาในยามคํ่าคืนอยู่คืนหนึ่ง คือไม่ทราบว่ามีเสียงอะไรร้องดังลั่นอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ ทำให้ท่านไม่สามารถบรรทมหลับได้ ท่านก็เลยไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้น ว่าเป็นเพราะเหตุอันใดจึงมีเสียงร้องดังในห้องบรรทมของพระองค์ พระพุทธองค์ทรงกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ว่า ผู้ที่มาส่งเสียงร้องนั้นเป็นดวงวิญญาณของอำมาตย์ของท่านนั่นเอง แต่ไม่ใช่อำมาตย์ในชาตินี้ เป็นในอดีตชาติที่ท่านได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านมีอำมาตย์คอยรับใช้ท่านอยู่คนหนึ่ง ท่านทรงโปรดใช้อมาตย์คนนี้ให้ไปทำบุญแทนท่าน คือท่านจะให้เงินเขาแล้วรับสั่งให้เอาไปซื้อข้าวซื้อของไปทำบุญถวายพระ ทีนี้อำมาตย์คนนี้ยังเป็นคนใจตํ่าอยู่ มีความโลภก็เลยยักยอกเอาเงินบางส่วนไป

เมื่ออำมาตย์คนนี้ตายไปก็ไปเสวยกรรมอยู่ในนรก พอหมดกรรมได้พ้นจากนรกก็มาเป็นเปรต ซึ่งเปรียบเหมือนกับคนที่ถูกขังอยู่ในคุก พอออกมาจากคุกก็ไม่มีงานทำ ไม่มีเงินทอง จึงนึกถึงคนที่เคยรู้จักกัน ก็เลยนึกถึงพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ที่เป็นเจ้านายเก่า จึงมาหาเพื่อที่จะขอส่วนบุญ นี่คือเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเล่าให้พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ฟัง พระเจ้าแผ่นดินจึงทูลถามว่าจะให้ทำอย่างไร พระพุทธเจ้าทรงทูลตอบไปว่า ให้ทำบุญถวายทานให้กับพระภิกษุสงฆ์ แล้วก็กรวดนํ้าอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเปรตตนนี้ไป

นี่ก็คือความเป็นมาของเรื่องการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่บุญอุทิศนั้นเป็นบุญส่วนน้อย อุทิศได้เพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้นเอง สมมุติทำบุญ ๑๐๐ บาท อุทิศได้เพียงบาทเดียว เป็นเพียงค่ารถค่าราเพื่อที่จะได้ไปผุดไปเกิดต่อไปเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นบุญมากมายก่ายกองอะไร ถ้าอยากจะมีบุญมากๆ พระพุทธองค์ทรงสอนให้ทำบุญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะว่าเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยบุญเหล่านี้พาไปสู่สุคติ ไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นอริยบุคคล แต่ถ้าไม่ได้ทำบุญเลยมีแต่ทำบาป ตายไปก็ไปสู่อบาย เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรตเป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก นี่คือเรื่องกรรม ทำอะไรไว้ จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ เพียงแต่ผลของกรรมอาจจะส่งผลช้า ไม่ได้ปรากฏขึ้นในชาตินี้ ก็เลยดูเหมือนว่าทำกรรมอะไรไว้จะไม่มีผลตามมา เลยทำให้ประมาทได้

พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่า จงอย่าประมาทในเรื่องบุญเรื่องกุศล เรื่องบาปเรื่องกรรม และอย่าประมาทในเรื่องกาลเวลา เพราะว่าเวลานั้นเป็นของมีค่า ไหลไปเหมือนกับกระแสนํ้า ไหลไปแล้วไม่ไหลกลับมา ชีวิตของเราก็เหมือนกับกระแสนํ้า จะค่อยๆหมดไปๆ วันหนึ่งผ่านไปชีวิตก็สั้นลงไปเรื่อยๆ ไม่มีใครรู้ว่าชีวิตของตนจะเหลืออยู่อีกกี่วัน สำหรับบางคนอาจจะเหลืออยู่เพียงวันเดียวก็ได้ วันนี้มาทำบุญแล้ว พอกลับไปบ้านหัวใจวายตายไปก็มี พวกเราทุกๆคนก็อยู่ในข่ายเดียวกัน จึงไม่ควรประมาท ควรรีบขวนขวายทำบุญทำกุศลเสียในขณะที่ยังมีโอกาสอยู่

เรื่องบุญเรื่องกุศลนั้นไม่มีใครทำให้เราได้ พ่อแม่ก็ทำให้เราไม่ได้ พระสงฆ์องค์เจ้าครูบาอาจารย์ก็ทำให้เราไม่ได้ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ก็เพียงแต่เป็นผู้สั่งสอน ผู้แนะนำชี้ทางให้กับเรา เราเป็นผู้ดำเนินเดินตาม ถ้าทำตามที่ท่านชี้เราก็จะไปสู่ที่ดีงาม ถ้านั่งอยู่เฉยๆก็จะไม่ไปถึงไหน การทำความดี การทำบุญ ทำกุศล คนอื่นทำให้เราไม่ได้ เราต้องทำเอง พระพุทธองค์จึงสอนให้ทำความดี ละความชั่ว ในขณะที่ยังมีกำลังวังชาอยู่ อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง เพราะว่าพรุ่งนี้อาจจะไม่มีสำหรับเราก็เป็นได้ การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2562 13:05:30 »




กัณฑ์ที่ ๓๕
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔

สถานที่สงบสงัดวิเวกตามป่าตามเขานั้น เป็นสถานที่เหมาะสมกับการเจริญจิตตภาวนา คือการทำจิตให้สงบ ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพความเป็นจริงของโลกที่มาสัมผัสกับจิตผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เรียกว่าโลกธรรม คือเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้ เมื่อจิตได้มาเกิด มาอาศัยร่างกายอันนี้แล้วก็ได้อายตนะภายในทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใช้เป็นเครื่องมือรับกับอายตนะภายนอก คือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ ที่เข้ามาทางทวารเหล่านี้ เมื่อเข้ามาแล้วจิตก็มีความรู้สึกนึกคิดกับสิ่งเหล่านั้น ทำให้เกิดอารมณ์ เกิดความสุขบ้าง เกิดความทุกข์บ้าง เกิดความไม่สุขความไม่ทุกข์บ้างกับสิ่งนั้นๆ สิ่งไหนที่ให้ความสุขก็เกิดตัณหา ความอยากที่จะให้สิ่งนั้นมีอยู่นานๆ ได้สัมผัสกับสิ่งนั้นอยู่เรื่อยๆ สิ่งไหนเป็นของไม่ถูกอกถูกใจก็มีความอยากตรงกันข้าม คืออยากให้สิ่งเหล่านั้นหายไปหมดไปโดยเร็ว ไม่อยากจะเข้าใกล้ ก็เลยทำให้จิตต้องแกว่งไปแกว่งมาเมื่อถูกสิ่งเหล่านั้นมากระทบ ทำให้จิตไม่สงบไม่นิ่ง เมื่อจิตไม่สงบไม่นิ่ง จิตก็มีแต่ความหิว มีแต่ความกระหาย กระทบกันไปกระทบกันมา ส่งเสริมกันไปส่งเสริมกันมา ความไม่สงบทำให้จิตหิว จิตหิวก็ยิ่งทำให้จิตไม่สงบมากขึ้นไป ทำให้เกิดความอยาก ความขวนขวาย ความคิดความปรุงที่จะหาสิ่งต่างๆมาให้จิตนั้นเกิดความอิ่ม เกิดความพอ

ความหลงของจิตที่เรียกว่าโมหะอวิชชา เป็นเหตุทำให้จิตออกไปแสวงหาสิ่งที่ไม่ใช่เป็นความสุขที่แท้จริง คือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสที่จิตชอบจิตปรารถนา แต่ไม่ทราบหรอกว่าได้มาเท่าไรก็ไม่มีความอิ่ม ไม่มีความพอ เพราะว่าความสุขที่แท้จริงของจิตนั้นต้องเกิดจากการสงบระงับความคิดปรุงแต่งต่างๆของจิต แต่จิตจะไม่หยุดความคิดความปรุงแต่งของจิตเอง เพราะมีตัวคอยกระตุ้นให้จิตคอยคิดคอยปรุงอยู่เสมอ เช่นรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสที่ถูกอกถูกใจนั้น จะทำให้จิตมีความอยาก ความขวนขวาย ความกระตือรือร้น ที่จะไปแสวงหานำมารักษาไว้ เมื่อต้องทำสิ่งนั้นจิตก็ต้องทำงาน จิตก็ต้องหมุนไปเรื่อยๆ หมุนไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

แต่ถ้าได้ยินได้ฟังธรรมะคำสั่งสอนของนักปราชญ์อย่างพระพุทธเจ้าแล้ว จะเกิดความเข้าใจว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นไม่ใช่อยู่กับการได้สัมผัส รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆนานา ที่เป็นที่ถูกอกถูกใจ แต่ความสุขที่แท้จริงนั้นเกิดจากความสงบของจิต จิตจะสงบได้จิตต้องอยู่ห่างไกลจาก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆนานา เพราะว่าถ้าได้เห็นสิ่งเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ ก็จะกระตุ้นให้จิตมีความดิ้นรนทะยานอยาก พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติแสวงหาที่สงบสงัดวิเวก เพราะสถานที่สงบสงัดวิเวกจะไม่กระตุ้นให้จิตเกิดความดิ้นรนทะยานอยาก แต่กลับจะช่วยให้จิตนั้นค่อยๆสงบตัวลง เพราะฉะนั้นต้องนำตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้ห่างจาก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ ที่เป็นเครื่องยั่วยวนกวนใจ เช่น ให้แสวงหาที่สงบสงัดตามป่าตามเขา เพราะว่ารูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ตามป่าตามเขานั้นไม่เป็นสิ่งที่คอยกระตุ้นยั่วยวนกวนใจให้เกิดความทะยานอยากตามสิ่งต่างๆ ที่มาสัมผัสกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการทำความสงบจะง่ายกว่าขณะที่อยู่ท่ามกลางรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสที่ยั่วยวนกวนใจทั้งหลาย

ในป่าในเขานั้น รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆก็ดี ไม่ได้เป็นสิ่งยั่วยวนกวนใจให้เกิดตัณหาความทะยานอยาก แต่ภายในใจยังมีตัณหาที่ฝังลึกอยู่ในจิต จะเรียกว่าวิบากก็ได้ คือกิเลสตัณหาที่ได้ถูกสะสมมาเป็นเวลานานหลายภพหลายชาติ ถึงแม้จะไม่ได้เห็นรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ มันก็ยังสามารถกระตุ้นให้จิตมีจินตนาการ ให้คิดไปถึงสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้ การที่จะระงับกิเลสตัณหาเหล่านี้ได้นั้นต้องอาศัยการเจริญจิตตภาวนา คือต้องมีการควบคุมจิต ไม่ปล่อยให้จิตคิดไปตามกำลังของกิเลสตัณหาทั้งหลายที่ยังมีอยู่ภายในจิต ต้องอาศัยสติ สตินี่เป็นเหมือนเบรกที่จะยับยั้งจิตไม่ให้ไปคิดเรื่องราวต่างๆนานาตามจินตนาการของความคิดของกิเลสตัณหาทั้งหลายได้ พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ผู้ปฏิบัติจิตตภาวนาพัฒนาสติเป็นเบื้องต้น

สติแปลว่าความระลึกรู้ ให้ระลึกรู้อยู่ที่ตรงไหน พระพุทธองค์ทรงสอนให้ระลึกอยู่ในปัจจุบัน อยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ อย่าให้จิตไปในอดีต อย่าให้จิตไปที่อนาคต อย่าให้จิตไปที่โน่นที่นั่น ให้ดึงจิตมาอยู่ที่นี่ ที่นี่มีอะไร ก็มีร่างกาย มีเวทนา มีความรู้สึกนึกคิด มีอารมณ์ต่างๆ อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อารมณ์ดีใจ อารมณ์เสียใจ อารมณ์พอใจ อารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์เหล่านี้มีอยู่ภายในจิต อยู่ในปัจจุบัน แล้วก็ยังมีธรรมะต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาในจิต เช่น ความคิดความปรุงต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องบุญเรื่องบาปที่ปรากฏขึ้นมาภายในใจ เหล่านี้คือที่ตั้งของสติ ให้ระลึกรู้อยู่กับสิ่งเหล่านี้ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีสติมองเห็นหรือไม่เท่านั้นเอง

ตัวเราประกอบขึ้นด้วย ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือรูปกับนาม รูปประกอบด้วยร่างกายมีอาการ ๓๒ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น หรือลมหายใจเข้าออก ส่วนนี้เป็นส่วนของรูป ส่วนนามได้แก่เวทนา คือความรู้สึกต่างๆ เช่นสุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ จิต คืออารมณ์ต่างๆ ธรรม คือความคิดปรุงต่างๆเกี่ยวกับเรื่องบาปเรื่องบุญต่างๆ ที่มีอยู่ในใจ พระพุทธองค์จึงสอนให้ผู้ปฏิบัติตั้งสติให้อยู่กับรูปนามเหล่านี้เพราะถ้าอยู่กับสิ่งเหล่านี้แล้วจิตจะไม่ลอยไปไหน จิตจะไม่ไปสร้างอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมา จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตจะน้อมเข้าสู่ความสงบ

ควรควบคุมจิตให้อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่นกำหนดดูลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกขณะ เราหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่วันเกิดมาเราไม่ได้หยุดหายใจเลย แต่จิตของเราหรือสติของเราได้ระลึกรู้อยู่กับลมหายใจของเรามากน้อยสักแค่ไหน แทบจะไม่มีเลย แทบจะไม่รู้เลยว่าเรากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่มีสติควบคุม ปล่อยให้จิตคิดไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็จะออกไปภายนอกสู่เรื่องราวต่างๆ เรื่องราวที่ปรากฏขึ้นตามรูปเสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสนั่นแหละ เป็นเรื่องของบุคคลบ้าง เรื่องงานบ้าง เรื่องการทำมาหากินบ้าง เรื่องการแสวงหาผลประโยชน์บ้าง เรื่องการแสวงหาความสุขบ้าง ด้วยการเที่ยวเตร่ไปตามสถานที่ต่างๆ ออกไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา โมหะ อวิชชา แล้วก็วุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ไปไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งถึงวันตาย ก็วุ่นวายอยู่กับเรื่องเหล่านี้ แต่ก็ไม่เคยพบกับความสุขที่แท้จริงจนกระทั่งวันตาย ตายไปก็ไปเกิดใหม่ แล้วก็ไปทำแบบนี้อีก ซํ้าๆซากๆไม่มีที่สิ้นสุด

ทางที่ถูกควรดำเนินตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน คือให้มีสติดึงใจไว้ให้อยู่กับปัจจุบัน ให้อยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก พยายามควบคุมให้จิตรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก ให้รู้แค่นั้นแหละไม่ต้องไปรู้เรื่องอื่น ในสายตาของชาวโลกก็อาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ดูลมหายใจเข้าออกเท่านั้นมันจะฉลาดขึ้นมาได้อย่างไร มันจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาได้อย่างไร นั่นเป็นความคิด ความเห็นของคนที่มีกิเลสครอบงำจิตใจ เป็นคนคิดที่จะแสวงหาสิ่งต่างๆจากภายนอก เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะไม่เห็นคุณค่าของการดูลมหายใจเข้าออก หารู้ไม่ว่าวิธีการดูลมหายใจเข้าออกนั้น เป็นอุบายวิธีเพื่อที่จะดึงจิตให้เข้าสู่ความสงบ ถ้าจิตสามารถเพ่งรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ส่งจิตใจไปทางไหน ไม่ช้าก็เร็วจิตจะรวมลงเข้าสู่ความสงบ เมื่อจิตรวมลงสู่ความสงบแล้วจิตจะมีความสุข มีความเย็น มีความสบาย จิตตั้งมั่นอยู่นิ่ง ในขณะนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคอยควบคุมจิต เพราะจิตไม่ไปไหน เปรียบเหมือนกับลูกฟุตบอล ในขณะที่มีการเล่นกัน นักเล่นฟุตบอลก็ต้องแย่งกันเตะลูกฟุตบอลเพื่อที่จะเอาลูกฟุตบอลนั้นเข้าไปตุงอยู่ในตาข่าย แต่เมื่อลูกฟุตบอลเข้าไปตุงอยู่ในตาข่ายแล้ว ก็ไม่มีใครไปตามเตะมันอีก ก็ปล่อยให้มันนิ่งอยู่อย่างนั้น ฉันใด จิตก็เหมือนกัน ถ้ายังไม่ได้รวมลงสู่ความสงบ จิตก็จะถูกกิเลสกับธรรมแย่งกัน ถูกสติกับการเผลอสติแย่งกัน ขณะที่มีสติ สติก็จะดึงจิตให้เข้าสู่ตาข่ายของธรรมะ แต่ถ้าถูกกิเลส ความโลภ ความอยากดึงไป มันก็จะพาไปสู่เรื่องราวต่างๆภายนอก ไปสู่ความวุ่นวาย ไปสู่ความทุกข์ แต่ถ้าสติดึงจิตเข้ามาสู่ความสงบได้ ก็ดึงจิตเข้าสู่ความสุข ความอิ่ม ความพอ

นี่คือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติต้องพยายามกระทำ ต้องเข้าใจวิธีการ ต้องรู้จักแสวงหาสถานที่ที่เอื้ออำนวย เช่นตามป่าตามเขาเป็นสถานที่ที่สงบสงัด ไม่มีรูป เสียง กลิ่นต่างๆ ที่จะมาคอยยั่วยวนกวนใจ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปฏิบัติสามารถที่จะบังคับตัวเอง บังคับใจให้อยู่กับสถานที่อย่างนั้นได้หรือไม่ เพราะว่าเมื่อมาอยู่ในสถานที่เหล่านี้แล้ว จะถูกความกดดันจากกิเลสภายในจิตให้ออกไปหิว ออกไปอยากเห็นรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ ที่เคยได้สัมผัสมา แต่เมื่อมาอยู่ในสถานที่ที่จะต้องเห็นรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆที่ไม่ถูกอกถูกใจก็ทนอยู่ไม่ได้ มันก็ต้องพยามยามกดดันให้จิตรู้สึกอึดอัด เกิดความทุกข์ เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความรู้สึกอยากจะออกไปทำอะไรสักอย่าง ถ้าอยากทราบว่าเป็นอย่างไร ท่านผู้ปฏิบัติลองทำดู ลองไปอยู่ตามสถานที่สงบสงัดตามป่าตามเขา เช่นตามวัดป่าวัดเขาต่างๆ ลองดูว่าจะอยู่ได้สักกี่วัน แล้วจะเห็นการต่อสู้ระหว่างกิเลสกับธรรมเกิดขึ้นมาทันที ธรรมะก็คือสติและความเห็นที่ว่าการที่ได้อยู่ในสถานที่สงบสงัดนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อจิตใจ แต่จะสู้กับเล่ห์เพทุบายของกิเลสตัณหาได้หรือเปล่านั้นก็ต้องดูกันต่อไป

เวลาเริ่มต้นปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนจะมีความกระตือรือร้น มีศรัทธามาก แต่เมื่อปฏิบัติไปแล้ว เริ่มถูกความกดดันที่ไม่เคยเจอมาก่อนในจิตที่ทำให้เกิดความทุกข์มาก ก็จะทำให้ไม่สามารถทนอยู่ได้ถ้าไปอยู่เฉยๆ จะอยู่ได้นั้นต้องขยันหมั่นตั้งสติอยู่เสมอ คือพยายามเจริญสติอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งถึงเวลาหลับ พอตื่นขึ้นมาสิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือตั้งสติ ให้บอกกับตัวเองว่าต่อไปนี้เราต้องรู้อยู่ทุกอิริยาบถ รู้อยู่ทุกขณะว่ากำลังทำอะไรอยู่ พอตื่นขึ้นมาจะลุกก็รู้ว่ากำลังจะลุก พอลุกขึ้นมาแล้วก็ต้องรู้ว่าลุกขึ้นมาแล้ว เมื่อกำลังจะยืนจะเดินจะทำอะไรก็ต้องมีสติควบคุมร่างกายนั้นอยู่ตลอดเวลา และต้องคอยมั่นดึงใจไว้ไม่ให้ไปสนใจ ไปคิดกับเรื่องราวต่างๆ นานา ที่ผ่านไปแล้ว เช่นชีวิตนอกวัดเป็นต้น

เมื่อก่อนนี้เวลาอยู่ในบ้านในเมืองมีภารกิจการงาน ทำโน่นทำนี่ สัมผัสสิ่งโน้นสิ่งนี้ แต่ตอนนี้มาอยู่ในสถานที่สงบสงัดตามป่าตามเขาแล้ว ตอนนี้ต้องตัดสิ่งนั้นออกไป อย่าไปคิดถึงมัน เพราะเมื่อคิดถึงมันแล้วจะทำให้อยากกลับไปหาสิ่งเหล่านั้นอีก ซึ่งผิดเจตนารมณ์ที่อุตส่าห์ออกมาปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะให้จิตเข้าสู่ความสงบ ต้องพยายามต่อสู้กับความคิดความอยากต่างๆ ที่จะดึงให้เราออกไปข้างนอก ต้องพยายามผูกดึงจิตไว้ให้อยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับอิริยาบถ ๔ ของร่างกายก็ได้ หรือจะท่องเที่ยวดูอวัยวะต่างๆของร่างกายก็ได้ เช่นดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก หัวใจ ปอด ตับ ไต เป็นต้น ถ้าได้เจริญอยู่เรื่อยๆ พิจารณาอยู่เรื่อยๆ จะทำให้จิตมีความสงบ ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมา ทำให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนั้นว่าเป็นอย่างไร ว่าเป็นสิ่งที่สวยงามหรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สวยงาม เป็นสุภหรือเป็นอสุภ

คนทั่วไปในโลกนี้ส่วนใหญ่จะมองเห็นร่างกายแต่เพียงผิวเผิน คือเห็นแต่อาการห้าอย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่ได้เห็นในลักษณะที่ให้เกิดปัญญา แต่เห็นในลักษณะที่เกิดความลุ่มหลง เช่นเห็นว่าผมสวย เห็นว่าหนังสวย เห็นว่าเล็บสวย ฟันสวยเป็นต้น แทนที่จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เป็นปฏิกูล เป็นสิ่งที่สกปรก เช่นผมก็ต้องคอยสระคอยล้างอยู่เสมอ มิฉะนั้นก็จะมีกลิ่นเหม็นเพราะมีเหงื่อออกมาตามหนังศีรษะ หนังก็ต้องคอยดูแลรักษาต้องคอยอาบนํ้า ถ้าไม่ได้อาบนํ้าสักสองสามวันก็จะส่งกลิ่นเหม็นออกมา ถ้ามองด้วยธรรมะมองด้วยปัญญาแล้ว จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ายินดี ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าลุ่มหลงรักชอบเลย กลับเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย น่าถอยห่าง น่าปล่อยวาง

เคยได้ยินคำว่าขี้ไคลไหม ขี้มูกไหม ของเหล่านี้มันก็ออกมาจากร่างกายของเรา มันไม่ได้มาจากที่ไหน มันเป็นของสกปรก แต่เราไม่เคยพิจารณาอย่างนี้ เพราะขาดปัญญา ขาดการใคร่ครวญ ขาดโยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาด้วยความรอบคอบให้เห็นตามความเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นปฏิกูลเป็นของสกปรก จิตกลับมองในลักษณะลุ่มหลงแล้วเสริมด้วยการปรุงแต่งต่างๆ มีการเสริมสวย แต่งผม แต่งหน้าแต่งเล็บ แม้กระทั่งการแต่งฟัน คือการฟอกฟันให้ขาว ในความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านี้มันไม่สวยไม่งาม ถ้าไม่ได้แปรงฟันสักวันสองวัน กลิ่นปากก็จะเหม็น ถ้าได้พิจารณาอยู่อย่างต่อเนื่องก็จะเข้าใจถึงธรรมชาติที่แท้จริงของร่างกาย แล้วจะเกิดความเบื่อหน่าย ปล่อยวาง คลายความกำหนัดยินดีกับสิ่งเหล่านี้ จิตก็จะเข้าสู่ความสงบ

จิตไม่สงบเพราะถูกราคะตัณหากิเลสทั้งหลายคอยผลักดันให้เกิดความอยาก ความยินดี ความห่วง ความอาลัยกับสิ่งต่างๆ ก็เลยทำให้จิตไม่สงบ แต่ถ้าได้เจริญกายคตาสติปัฏฐาน คือการมีสติอยู่ที่กาย ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของร่างกายว่าเป็นปฏิกูลของสกปรก เป็นอสุภไม่สวยไม่งาม จิตก็จะค่อยๆ คลายความกำหนัดคลายความยินดี เพราะเริ่มเห็นความเป็นจริงของร่างกายว่าเป็นอย่างไร เมื่อเห็นแล้วไม่มีใครจะหลงยึดติดอยู่กับร่างกายนี้ไปหรอก เพราะไม่มีใครชอบสิ่งที่ไม่สวยไม่งาม ดังนั้นความสวยงามของร่างกายจึงไม่มี มันมีเพราะจิตหลงไปต่างหาก เพราะขาดความพิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญานั่นเอง แต่เมื่อได้รับการอบรมด้วยปัญญาอย่างสมํ่าเสมอ จิตจะค่อยๆเกิดความเข้าอกเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของร่างกาย จิตก็จะปล่อยวางร่างกาย จะไม่มีความยินดียินร้ายกับร่างกาย ในเรื่องของความสวยงามหรือไม่สวยงามอีกต่อไป เข้าใจแล้วก็ปล่อยวาง

เมื่อปล่อยวางร่างกายได้แล้ว การที่จะต้องพิจารณาดูความไม่สวยงามของร่างกายนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะการพิจารณานั้นเปรียบเหมือนการรับประทานยาแก้โรคความหลง เมื่อยาได้ทำลายความหลงหมดไปแล้ว จิตตาสว่างขึ้นมา จิตปล่อยวาง จิตไม่ยึดไม่ติด ไม่ยินดียินร้ายกับร่างกายแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอสุภความไม่สวยไม่งาม ปฏิกูลความสกปรกของร่างกายอีกต่อไป เพราะจิตหมดความกำหนัดยินดี ได้ระงับดับราคะตัณหาอย่างแท้จริงแล้ว การพิจารณาร่างกายก็หมดไป เพราะจิตไม่ไขว่คว้าหาร่างกายอีกต่อไป ไม่คิดที่จะหาร่างกายของบุคคลนั้นหรือบุคคลนี้ มาเป็นเครื่องให้ความสุขกับจิตอีกต่อไป เพราะรู้อย่างแท้จริงแล้วว่ามันไม่ใช่เป็นของสวยงามเลย นี่คือการเจริญวิปัสสนา การเจริญปัญญา

การเจริญวิปัสสนาเจริญปัญญาทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง ทำให้ตัดความโลภ ความโกรธ ความหลง อุปาทานได้อย่างถาวร แต่ถ้าใช้การบริกรรมพุทโธ หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อทำให้จิตสงบ จิตจะสงบเป็นระยะๆไป แต่ไม่ได้ตัดความโลภ ความโกรธ ความหลง อุปาทานออกไปจากจิต เวลาถอนออกมาก็จะเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาได้อีก เมื่อไปเห็นรูปที่ชอบ ที่ยินดี ก็จะเกิดการกระตุ้นให้เกิดราคะ เกิดตัณหา เกิดความกำหนัดยินดีขึ้นมา แต่ถ้าใช้วิธีเจริญด้วยวิปัสสนาปัญญา ให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของร่างกายว่าเป็นปฏิกูล เป็นของไม่สวยไม่งามแล้ว จิตจะปล่อยวางร่างกายนี้ จะสงบสงัดจากความยินดียินร้ายกับเรื่องของร่างกาย หมดความใคร่ ความอยากกับร่างกายนี้อย่างถาวร นอกจากการพิจารณาดูอสุภความไม่สวยงาม ปฏิกูลความสกปรกของร่างกายแล้ว ก็ยังต้องพิจารณาดูความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความแตกสลายของร่างกายด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะได้คลายความวิตกเกี่ยวกับความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความตาย ทุกครั้งที่ระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ และความตายนั้น จิตจะมีความรู้สึกหดหู่ ความหดหู่นี้เกิดจากอะไร เกิดจากอวิชชาโมหะความหลง ความหลงที่คิดว่าร่างกายนี้ควรจะอยู่ไปตลอดไม่มีที่สิ้นสุด คือเกิดมาแล้วต้องไม่แก่ ต้องไม่เจ็บ และต้องไม่ตาย แต่หารู้ไม่ว่าความเป็นจริงนั้นมันตรงกันข้ามกัน เป็นธรรมดาของร่างกายนี้ที่เกิดมาแล้ว ต้องมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนให้พิจารณา ให้มองร่างกายในลักษณะนี้ ก็จะคิดอยากให้ร่างกายนี้ต้องไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอยู่เสมอไป ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าทุกคนเกิดมาแล้ว ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายด้วยกัน แต่ไม่ชอบคิดถึงเรื่องเหล่านี้ เพราะถือว่าการคิดถึงเรื่องเหล่านี้เป็นอัปมงคล คิดไปแล้วสร้างความไม่สบายใจให้เกิดขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นนั้น มันเกิดจากโมหะความหลง เกิดจากวิภวตัณหาความกลัว กลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย ซึ่งขัดกับความปรารถนาของจิตที่อยากให้ร่างกายนี้ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นการฝืนธรรมชาติ ฝืนความจริง เป็นต้นเหตุของความทุกข์ ความไม่สบายใจ ทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องของความแก่ ความเจ็บ ความตาย

ผู้ปฏิบัติที่แสวงหาความจริง เพื่อที่จะเอาความจริงนี้มาตัด มาช่วยทำให้จิตหลุดพ้นจากความกลัวสิ่งเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติก็ต้องใจกล้า ต้องไม่กลัวเรื่องการพิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตาย เมื่อเริ่มพิจารณาอาจจะมีความรู้สึกที่ไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยอยากจะคิด แต่ถ้าพิจารณาไปเรื่อยๆ แล้ว ต่อไปจิตจะเริ่มยอมรับ ค่อยๆเกิดความชินกับสิ่งเหล่านี้ และในที่สุดก็จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีเสียอีก เพราะว่าเมื่อจิตยอมรับแล้วจิตจะไม่กลัวสิ่งเหล่านี้ จิตก็จะดับวิภวตัณหาได้ ความไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตายจะถูกขจัดให้หมดสิ้นไปจากจิตจากใจ ด้วยอำนาจของวิปัสสนาปัญญาคือความจริง คนเราฝืนความจริงไปไม่ได้หรอก ความจริงเป็นสิ่งที่ทุกคนในที่สุดต้องยอมรับ อยู่ที่ว่าจะรับช้าหรือรับเร็วเท่านั้นเอง ถ้ารับเร็วแล้วก็สบายเร็ว ถ้ารับช้าก็สบายช้า ถ้าไม่รับไม่อยากรับความเป็นจริงเหล่านี้ก็จะทุกข์ไปไม่มีที่สิ้นสุด ตายจากชาตินี้แล้วไปเกิดใหม่ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ก็ต้องไปกลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตายต่อไปอีกเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้ายอมรับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องกลัว ต้องรังเกียจ ถ้ายอมรับความเป็นจริง ก็จะดับความกลัวความรังเกียจนี้ได้ ดับวิภวตัณหาได้ จิตก็จะไม่ทุกข์กับความ แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป

นี่คือผลที่จะเกิดจากการที่เราพิจารณาร่างกาย ธรรมชาติของร่างกายอยู่อย่างสมํ่าเสมอ อยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ช้าก็เร็วจิตจะปลงได้จะวางได้ พยายามรับความเป็นจริง เมื่อยอมรับความเป็นจริงแล้ว ความแก่ความเจ็บความตายมันก็ยังเหมือนเดิมอีกของร่างกาย มันก็ยังต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย แต่คนที่ยอมรับความเป็นจริงแล้วจะอยู่ไปจนกระทั่งถึงวันแก่ วันเจ็บวันตายโดยไม่มีความทุกข์ใจ สบายใจ ก็อยู่ไปเป็นปกติ แต่เมื่อ ยอมรับแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปคิดอีกต่อไปเรื่องของความแก่ความเจ็บความตาย เพราะเรื่องของความแก่ความเจ็บความตายนั้นมันไม่ได้เป็นปัญหาต่อไปกับจิตใจ ที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้นอยู่เรื่อย ๆ ก็เพื่อที่จะให้จิตเกิดความคุ้นเคย ให้ยอมรับในความเป็นจริงของสภาพของร่างกายอันนี้เท่านั้นเอง เมื่อยอมรับได้แล้ว ปลงได้แล้ว วางได้แล้ว ปัญหามันก็หมดไป ผู้พิจารณาไม่ต้องไปคิดพิจารณาเรื่องเหล่านี้อีกต่อไป เพราะการพิจารณาดังที่ได้แสดงไว้ว่า มันเป็นเหมือนกับยามาแก้โรคความหลง โรคของความกลัว แก้ตัณหานั่นเอง

เมื่อพิจารณาไปจนกระทั่งถึงจุดที่จิตยอมรับความเป็นจริง ยอมรับความแก่ ความเจ็บ ความตาย แล้วมันก็จบกัน ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันก็เป็นเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าคนที่จะได้พิจารณาหรือคนที่ไม่ได้พิจารณา ต่างกันตรงที่ว่าคนที่ได้พิจารณาแล้วปลงได้ วางได้ คนนั้นสบาย อยู่สบาย แก่ก็สบาย เจ็บก็สบาย ตายก็สบาย ไม่เดือดร้อนกับสิ่งเหล่านี้ ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่ยอมรับสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้พิจารณาเรื่องเหล่านี้อยู่อย่างต่อเนื่อง ปล่อยให้มีแต่ความกลัว ความไม่ต้องการ ความรังเกียจในเรื่องของความแก่ ความเจ็บ ความตาย มาครอบงำอยู่ มันก็จะสร้างความทุกข์ใจอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าคิดพิจารณาให้ยอมรับให้ได้ว่า เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ท่องมันอยู่อย่างนั้น คิดมันอยู่อย่างนั้น ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอนจนกว่าจิตจะยอมรับ ยอมปล่อย เมื่อปล่อยแล้วจะเกิดความโล่งอก เบาใจขึ้นมา นี่คือสันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะรู้เองเห็นเอง ขอให้ทำไปตามแนวนี้เถิด พยายามเจริญไปเรื่อยๆ คิดไปเรื่อยๆ เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย มีใครบ้างที่เกิดมาแล้ว ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ให้พิจารณาทั้งกายในและกายนอก

กายในคือกายของเรา กายนอกคือกายของบุคคลอื่น พิจารณาคนใกล้ชิดก่อนก็ได้ เช่นบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย แล้วค่อยพิจารณาไปถึงกายของบุคคลอื่นๆที่เราไม่รู้จัก รวมไปถึงสัตว์เดียรัจฉาน ทั้งหมดนี้เป็นกายเหมือนกันหมด เป็นสิ่งที่เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเหมือนกัน เราไม่ได้ตายคนเดียว เวลาพิจารณาเรื่องกายนี้เราอาจจะคิดว่า โอ๊ยเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายคนเดียว แต่หารู้ไม่ว่าทุกๆคนเป็นเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น ควรพิจารณาทั้งกายในและกายนอก ถ้าคิดพิจารณาแต่กายในอย่างเดียว จะทำให้หลงเผลอไป คิดว่าเราเป็นคนที่จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปคนเดียว ก็สร้างความหดหู่ความทุกข์ใจ ถ้าพิจารณากายนอกอย่างเดียวว่าเขาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ก็จะเกิดความหดหู่ใจ เกิดความเสียดาย อาลัยอาวรณ์ในบุคคลเหล่านั้น แต่ถ้าได้พิจารณากายในและกายนอกสลับกันไปและควบคู่กันไป จะเห็นว่าทุกๆคนที่เกิดมาในโลกนี้ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายด้วยกันหมด อีกร้อยปีคนที่มีชีวิตอยู่ในโลกในวันนี้ก็จะไม่มีเหลืออยู่ในโลกนี้ จะมีแต่ผู้ที่เกิดมาทีหลัง พวกเขาเหล่านั้นก็ต้องเดินตามรอยของผู้ที่มาก่อน คือต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปด้วยกันทั้งนั้น
เรื่องแก่เจ็บตายจึงเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องปกติ การพิจารณานี้ไม่ได้พิจารณาเพื่อสาปแช่งตัวเอง หรือสาปแช่งผู้อื่นให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย แต่มันเป็นยารักษาโรคจิต กินมันเข้าไปเถิด พิจารณามันเข้าไปเถิด พิจารณาอยู่เนืองๆ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้อยู่เนืองๆ คำว่าเนืองๆหมายถึงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ พิจารณาไปจนกระทั่งปล่อยวางนั่นเอง เมื่อปลงได้แล้ว ยอมรับได้แล้ว ปัญหาก็หมดไป จิตจะเย็น จิตจะสบาย ร่างกายจะเป็นอะไรไป ไม่ว่าจะเป็นร่างกายของเราหรือของคนอื่นก็ตาม เราก็จะไม่เดือดร้อนใจ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ ทุกๆ คนในที่สุดก็ต้องพลัดพรากจากกัน ในที่สุดก็ต้องไปคนละทิศคนละทาง

ผู้ที่พิจารณาและปล่อยวางได้เป็นผู้ที่จะไปดี เพราะบุคคลที่สามารถปล่อยวางกายได้นี่ เป็นผู้ที่ได้เข้าสู่อริยมรรค สู่อริยผล เป็นอริยบุคคลคือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีตามลำดับ ท่านเหล่านี้ใช้การพิจารณากายเป็นมรรควิถี ทางดำเนินสู่อริยผลทั้ง ๓ ขั้นนี้ ผู้ที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีนั้น จะต้องพิจารณากายไปตามสัดส่วนต่างๆของธรรม แต่ละลำดับไปจนกระทั่งถึงลำดับสุดท้าย พระโสดาบันได้ละสักกายทิฏฐิ การเห็นว่ามีตัวมีตนอยู่ในร่างกายนี้ ท่านเห็นว่าไม่มีตัวตนในร่างกาย ร่างกายไม่ใช่ตัวตน ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดา ดังที่พระอัญญาโกณฑัณญะได้ทรงอุทานไว้หลังจากได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมอันใดมีการเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา ธรรมอันนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา นั่นก็คือร่างกายนี้เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายไปเป็นธรรมดา นี่เป็นเรื่องที่พระโสดาบันท่านยอมรับ ท่านปลงได้ ท่านเข้าใจแล้วท่านก็ปล่อยวาง เมื่อท่านปล่อยวางแล้วท่านก็เจริญธรรมะขั้นต่อไป คือการพิจารณาให้เห็นอสุภความไม่สวยงาม ความเป็นปฏิกูลของร่างกายนี้ เพื่อจะได้ระงับดับราคะตัณหาความกำหนัดยินดี ในร่างกายนี้

เมื่อได้ทำให้ราคะตัณหาความกำหนัดยินดีเบาบางลงไป ก็จะบรรลุเป็นพระสกิทาคามี ผู้ได้ทำให้กามราคะและปฏิฆะเบาบางลงไป คือละกามราคะและปฏิฆะได้ประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ราคะตัณหานั้นเบาบางลงไป แต่ยังไม่สามารถทำให้มันหมดไปได้ เมื่อได้เจริญธรรมต่อไปเรื่อยๆ พิจารณาเรื่องความเป็นอสุภ ความไม่สวยงาม เรื่องความเป็นปฏิกูลของร่างกายต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดเห็นว่าร่างกายนี้เป็นอสุภไม่สวยงาม เป็นปฏิกูล เป็นสิ่งสกปรก ไม่น่ายินดี ไม่น่ารักใคร่ ก็จะสามารถตัดราคะตัณหาในร่างกายนี้ได้ ถ้าตัดได้แล้วก็จะบรรลุเป็นพระอนาคามี

พระอนาคามีเป็นผู้ที่หมดเยื่อใยต่อเรื่องของร่างกาย ไม่ว่าเรื่องราคะตัณหาก็ดี เรื่องวิภวตัณหา คือความกลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตายก็ดี สิ่งเหล่านี้พระอนาคามีตัดได้หมด ถ้าต้องมรณภาพหรือเสียชีวิตไปก่อน ที่ท่านจะปฏิบัติถึงธรรมขั้นสูงสุด ท่านก็จะไปเกิดบนสวรรค์ชั้นพรหมโลก เรียกว่าสุทธาวาสมีอยู่ ๕ ชั้นด้วยกัน จากนั้นท่านก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในสวรรค์พรหมโลกนั้นต่อไป ท่านจะไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในกามโลกอีกต่อไป กามโลกนั้นเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ยังมีความยินดีในกาม แต่พระอนาคามีนั้นท่านสิ้นแล้วในเรื่องความยินดีในร่างกาย เรื่องราคะตัณหา เรื่องกามราคะ สิ่งนี้ไม่มีในจิตของท่าน ท่านจะเป็นผู้ที่ไม่กลับมาเกิดในกามภพอีกต่อไป

พระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังต้องกลับมาเกิดในกามภพอีก ถ้าเป็นพระโสดาบันก็ยังจะกลับมาเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ถ้าเป็นพระสกิทาคามีก็จะกลับมาเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ถ้าเป็นพระอนาคามีก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเลย ท่านหมดปัญหา หมดความยินดีเกี่ยวกับเรื่องของร่างกายนี้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็ไม่จำเป็นต้องมาเกิดมีร่างกายนี้ เพราะผู้ที่เกิดเพื่อมีร่างกายนี้ ก็เพื่อที่จะอาศัยร่างกายนี้เป็นเครื่องมือในการหากามสุขนั่นเอง คือความสุขที่เกิดจากการเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสความรู้สึก หนาว เย็น ร้อน อุ่น แข็ง นิ่ม อย่างนี้เป็นต้น นี่เรียกว่ากามคุณห้า ผู้ที่ยังมีความยินดีในสิ่งเหล่านี้อยู่ ยังเป็นผู้ที่ยังมีกามราคะ กามตัณหาอยู่

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2562 13:08:38 »




กัณฑ์ที่ ๓๕
เกิด แก่ เจ็บ ตาย (ต่อ)
๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔

พระอริยบุคคลที่ได้พิจารณาร่างกายนี้อย่างถ่องแท้แล้วด้วยอสุภกรรมฐานก็ดี ด้วยปฏิกูลกรรมฐานก็ดี ย่อมมองเห็นร่างกายนี้เป็นสิ่งที่มีแต่ความสกปรกโสโครก เป็นสิ่งที่ไม่สวยงาม เป็นอสุภ เช่นพิจารณาดูคนตาย ดูคนเป็น ว่าเป็นอย่างไร เปรียบเทียบกันดู คนตายก็มีรูปลักษณะหนึ่ง คนเป็นก็มีรูปลักษณะหนึ่ง ทั้งๆที่เป็นคนๆเดียวกัน คนที่ยังเป็นอยู่นี้ ก็เป็นเหมือนกับเป็นผีดิบ ผีที่ยังไม่ตาย ส่วนคนที่ตายก็เป็นผีตายที่ตายไปแล้ว ร่างกายก็จะต้องเน่าเปื่อยไปเรื่อยๆ ความสวยงามต่างๆ ความน่าดูต่างๆ มันก็หมดไป

ถ้าพิจารณาดูสิ่งเหล่านี้อยู่เรื่อยๆแล้ว จิตจะค่อยๆ เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกาย แล้วในที่สุดก็จะเห็นเต็มที่ เมื่อเห็นเต็มที่แล้วก็ไม่มีใครจะทนที่จะไปยินดีกับซากศพนั้นได้ ขณะที่มีลมหายใจอยู่ก็ยังถือว่าเป็นซากศพเดินได้เท่านั้นเอง เมื่อไม่มีลมหายใจแล้วก็เป็นซากศพที่เดินไม่ได้ มีแต่จะสลาย มีแต่จะส่งกลิ่นเหม็นออกมา งานศพก็ไม่มีใครอยากจะไปกัน ทั้งๆที่คนๆนั้นเมื่อยังไม่ตายก็เป็นบุคคลที่ชอบไปหา ไปพบอยู่ แต่พอตายแล้วบุคคลนั้นกลับกลายเป็นอีกอย่างหนึ่งไปเลย แล้วเราทำไมถึงไม่เห็นขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ว่าร่างกายก็เป็นอย่างนี้แหละ จะไปหลงยินดีกับสิ่งนี้ทำไม เพราะอะไรเป็นเหตุให้ไปหลงยินดี เพราะว่าจิตมีโมหะ อวิชชา ความหลงครอบงำจิตอยู่ ทำให้ไม่คิดไม่มองในความเป็นอสุภของร่างกายนั่นเอง ให้มองแต่เรื่องสวยเรื่องงาม ก็เลยทำให้เกิดความยินดี เกิดความกำหนัดความชอบขึ้นมา แต่ถ้าได้เจริญอสุภกรรมฐาน พิจารณาไปเรื่อยๆแล้ว ความจริงของร่างกายก็จะต้องปรากฎขึ้นมาให้เห็น เมื่อเห็นอย่างเต็มที่แล้วอวิชชาโมหะที่เกี่ยวกับร่างกายย่อมถูกทำลายไป เมื่อถูกทำลายไปกามตัณหาก็หมดไป เมื่อหมดไปแล้วความจำเป็นที่ต้องพิจารณาร่างกายนี้ก็หมดไป กายคตาสติปัฏฐานก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

แต่มันยังมีตัณหาอื่นอยู่อีก นี่เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของการปฏิบัติธรรมเท่านั้นเอง เพราะว่าผลของการพิจารณากายได้อย่างสูงสุดก็แค่ขั้นพระอนาคามีเท่านั้นเอง ถ้าจะไปสู่ขั้นพระอรหันต์จะต้องพิจารณานามธรรมต่อไปอีก คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และ จิต นี่เป็นสิ่งที่ยังต้องพิจารณา เพราะว่ากิเลสตัณหายังมีความยึดมั่น ยังหลงติดอยู่กับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และ จิต จะต้องอาศัยวิปัสสนาปัญญาเข้าไปพิจารณาให้เห็นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และ จิตนั้นก็เป็นไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง แปรปรวน เป็นทุกข์ ถ้าไปยึด ไปติด ไปยินดี เป็นอนัตตา ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นธรรมชาติ อาศัยเหตุปัจจัยทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา เหมือนกับฟ้าแลบในท้องฟ้า เวลาฟ้าแลบมีใครไปทำให้ฟ้ามันแลบหรือเปล่า มีบุคคลอยู่ในสายฟ้านั้นหรือเปล่า มันไม่มี มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

ฉันใด เวทนา สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี มันก็เป็นเหมือนกับฟ้าแลบ มันแลบขึ้นมาแล้วมันก็หายไป สุขแปล๊บแล้วมันก็หายไป ทุกข์แปล๊บแล้วก็หายไป ไม่สุขไม่ทุกข์แปล๊บแล้วก็หายไป สลับผลัดเปลี่ยนกันไป สัญญาความจำก็เช่นกัน เวลาได้ยินเสียงก็เกิดความจำขึ้นมาว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไร เห็นรูปก็เกิดสัญญาความจำขึ้นมาว่ารูปนั้นคือรูปอะไร เสียง กลิ่น รส ก็เช่นกัน นี่เป็นเรื่องของสัญญา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปเหมือนกับฟ้าแลบ วิญญาณรับทราบสิ่งเหล่านี้ก็เช่นกัน เมื่อมีรูปมาสัมผัสกับตา ก็รับทราบว่ามีรูปเกิดขึ้นมาในมโนภาพแล้วก็หายไป เมื่อรูปนั้นผ่านไป หรือหลับตารูปนั้นก็หายไป วิญญาณที่รับทราบรูปนั้นก็หายไปด้วย เมื่อมีรูปใหม่ขึ้นมาแทนที่ มันก็มีวิญญาณตัวอื่นขึ้นมารับทราบแทนต่อเนื่องกันไป เมื่อมีการเกิดดับๆของรูปเหล่านี้ วิญญาณก็เกิดดับๆตามไปด้วย เช่นเดียวกับ เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ สังขารคือความคิดต่างๆในจิตที่คิดเรื่องนั้นแล้วก็คิดเรื่องนี้ คิดขึ้นมาแล้วก็หายไป เท่ากับเกิดดับไปเรื่องหนึ่ง แล้วก็มีเรื่องใหม่เกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป คิดไปก็หายไป เกิดดับ เกิดดับ เรียกว่าสังขารความคิดปรุงแต่ง จิตคืออารมณ์ต่างๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ยินดี ยินร้าย รัก ชัง โลภ โกรธ หลง เป็นต้น

นามธรรมทั้ง ๔ นี้คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอารมณ์ต่างๆในจิต เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้แล้วปล่อยวาง อย่าไปยึดไปติด ถ้าไปยึดไปติดแล้วมันจะทุกข์ เช่นไปติดกับสุขเวทนา พอสุขเวทนานั้นหายไปก็เกิดความไม่พอใจ เกิดความหิวความกระหายที่อยากจะสัมผัสกับสุขเวทนานั้นอีก หรือเมื่อได้สัมผัสกับทุกข์เวทนาแล้วก็ไม่ชอบ เกิดวิภวตัณหาอยากจะหนีจากทุกข์เวทนานี้ไป ก็เกิดทุกข์ขึ้นมาอีก เพราะไม่อยากจะเจอกับทุกขเวทนา ต้องฝึกทำใจให้เป็นกลางๆ คือสุขก็ได้ทุกข์ก็ได้ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ได้ เหมือนกับฟ้าแลบ ใครจะไปห้ามฟ้าแลบได้ ไม่ต้องไปยินดีกับฟ้าแลบ มันจะแลบก็ให้มันแลบไป มันจะไม่แลบก็เรื่องของมัน เวทนาก็เหมือนกัน มันจะสุขก็ให้มันสุขไป มันจะทุกข์ก็ให้มันทุกข์ไป มันจะไม่สุขไม่ทุกข์ก็ปล่อยมันไปตามเรื่องของมัน ไม่ต้องไปยินดีอะไรกับมัน

พยายามพิจารณาปล่อยวางนามธรรมทั้ง ๔ นี้และอารมณ์ต่างๆในจิต พิจารณาปล่อยวางเวทนา ปล่อยวางสัญญา ปล่อยวางสังขาร ปล่อยวางวิญญาณ ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆในจิต รู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ปล่อยวาง ถ้าปล่อยวางไปเรื่อยๆแล้ว ต่อไปสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เป็นปัญหากับจิต จิตก็จะปล่อยวางไปเรื่อยๆ ปล่อยวางไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดความยึดมั่นถือมั่น ก็ถือว่าจิตได้หลุดพ้นจากขันธ์ทั้งห้าและอารมณ์ต่างๆในจิต ตอนต้นได้พิจารณากายแล้วปล่อยวางกาย แล้วมาพิจารณาและปล่อยวางนาม ขันธ์ทั้ง ๔ และอารมณ์ต่างๆในจิต ก็ถือได้ว่าปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ห้าและอารมณ์ต่างๆในจิตนั่นเอง

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระอริยสัจ ๔ ว่า ทุกข์คืออุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้านั่นเอง ผู้ต้องการความพ้นทุกข์จะต้องปล่อยวางอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พิจารณาให้เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปราศจากตัวตน ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้แล้วปล่อยวางได้หมดสิ้น จิตก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในพระอริยสัจ ๔

ทุกข์คือความเกิดแก่เจ็บตาย การได้สัมผัสกับสิ่งที่ไม่ชอบ การพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง ความยึดมั่นในขันธ์ห้า พิจารณาให้รู้ กำหนดให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เหตุที่ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์คือตัณหาความอยาก มีกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา เป็นต้น ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เครื่องมือที่จะใช้ละตัณหาก็คือมรรค มรรคคือการเจริญจิตตภาวนา สมาธิ และปัญญาเป็นตัวหลักโดยมีศีลเป็นเครื่องสนับสนุน รวมกันเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าขยายความออกไปก็เป็นมรรคที่มีองค์แปด เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลาง นี่คือสิ่งที่ต้องเจริญให้มาก ต้องพัฒนาให้มาก ต้องรักษาศีล ต้องเจริญสมาธิ ต้องเจริญวิปัสสนา ตามแนวที่ได้แสดงไว้ คือพิจารณากาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอารมณ์ต่างๆในจิต ให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเห็นว่าเป็นไตรลักษณ์แล้วก็จะปล่อยวาง เพราะไปยึดไปติดกับของไม่เที่ยงไม่ได้ จะบังคับมันได้อย่างไร เหมือนกับฟ้าแลบ บังคับให้มันแลบได้หรือเปล่า เวลามันจะไม่แลบมันก็ไม่แลบ เวลามันจะแลบมันก็แลบ แลบแล้วมันก็หายไป

ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายในตัวเราคือนามกับรูปนั้นก็เช่นกัน กายมันก็เป็นเหมือนกับฟ้าแลบ เดี๋ยวมันก็สูญเดี๋ยวมันก็สลาย กลับคืนสู่ธาตุเดิมคือธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็ผลัดกันเกิด ผลัดกันดับ สลับกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็เปลี่ยนแปลงไป จากสุขเป็นทุกข์ จากทุกข์เป็นไม่สุขไม่ทุกข์ หมุนเวียนกันไปอยู่อย่างนั้น สุดแท้แต่เหตุปัจจัยที่จะมาทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น ใจผู้รู้ไม่สามารถที่จะบังคับมันได้ ใจต้องยอมรับความเป็นจริง ใจต้องยอมต้องปล่อยวางสิ่งเหล่านี้ ไม่ต้องไปยินดียินร้ายกับสิ่งเหล่านี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้มันเป็นไป ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าทำใจอย่างนี้ได้แล้วใจก็จะเข้าสู่ความสงบที่แท้จริง ใจจะไม่มีความวุ่นวายกับสิ่งเหล่านี้ต่อไป มันจะเป็นอย่างไรก็ไม่เดือดร้อน

นี่คือเรื่องของการประพฤติปฏิบัติธรรม เรียกว่าเจริญมรรค มรรคนี่ต้องเจริญให้มาก ในพระอริยสัจ ๔ พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ว่า ทุกข์ต้องกำหนดรู้ สมุทัยต้นเหตุของความทุกข์ต้องละให้ได้ นิโรธความดับทุกข์ต้องทำให้แจ้ง มรรคต้องเจริญให้มาก การที่จะกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้งได้นั้น จะต้องอาศัยการเจริญมรรคให้มากนั่นเอง จะต้องเจริญมรรคให้สมบูรณ์ ถ้ามรรคสมบูรณ์แล้ว ก็เท่ากับได้กำหนดรู้ทุกข์ ได้ละตัณหา ได้ทำนิโรธความดับทุกข์ให้แจ้งนั่นเอง เพราะมรรคจะต้องกำหนดดูความเกิดแก่เจ็บตาย พิจารณาเรื่องความเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา พิจารณาให้เห็นว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อพิจารณาได้อย่างเต็มที่แล้วก็จะปล่อย แล้วก็จะละตัณหาได้ ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เมื่อละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้แล้ว นิโรธความดับทุกข์ก็จะปรากฏขึ้น

เรื่องของพระอริยสัจ ๔ เป็นเรื่องของกิริยา คือผู้ปฏิบัติจะต้องดำเนินตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงดำเนินไปก่อน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ทุกข์ที่ต้องกำหนดรู้ เราได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยที่จะต้องละเราได้ละแล้ว นิโรธที่ต้องทำให้แจ้งเราได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรคที่ต้องเจริญเราได้เจริญแล้ว เมื่อได้กระทำในกิจทั้ง ๔ นี้แล้ว ก็ถือได้ว่าได้บรรลุพระอริยสัจ ๔ ผู้ที่ได้บรรลุพระอริยสัจ ๔ ย่อมเป็นผู้ที่อยู่เหนือความทุกข์ เพราะได้บรรลุถึงนิโรธการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงด้วยการเจริญมรรคนั่นเอง

ชาวพุทธเราจึงต้องเจริญมรรคให้มากนั่นเอง เจริญมรรคด้วยการรักษาศีล ด้วยการบำเพ็ญจิตตภาวนา นั่งสมาธิ กำหนดดูลมหายใจเข้า ออก ทำจิตให้สงบ เมื่อจิตมีความสงบแล้วก็ให้เจริญวิปัสสนา พิจารณาดูร่างกาย พิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตาย ให้เห็นว่าเป็นธรรมดา พิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นปฏิกูล เป็นของสกปรก เป็นอสุภเป็นของไม่สวยไม่งาม พิจารณาดูเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเหมือนกับฟ้าแลบ เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในความควบคุมของใจ ใจควบคุมสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ใจไม่สามารถบังคับให้มีสุขเวทนาไปได้ตลอด ไม่สามารถขับไล่ทุกขเวทนาเมื่อมันเกิดขึ้นให้มันหายไปได้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีเหตุมีปัจจัย บางทีก็เกิดทุกขเวทนาขึ้นมาที่ร่างกาย เวลาเดินไปเตะหินก็เกิดการเจ็บปวดขึ้นมา ใจก็ต้องรับทราบ ใจก็ต้องรับรู้ว่านี่คือเวทนาทางกาย หรือว่าได้ยินเสียงที่คนเขาพูดแล้ว เกิดความไม่พอใจขึ้นมา ก็ต้องยอมรับว่าเราบังคับเสียงนั้นไม่ได้ จะเป็นสรรเสริญหรือนินทา เราต้องยอมรับ แล้วปล่อยวาง รับรู้แล้วปล่อยวาง อย่าไปมีอารมณ์กับมัน อย่าไปมีความยินดียินร้าย เพราะความยินดียินร้ายก็คือตัณหานั่นเอง

ถ้าไม่มีตัณหา ไม่มีความยินดียินร้ายแล้ว เราก็สามารถควบคุมทุกข์ทางด้านจิตใจได้ แต่เราควบคุมคนที่พูดไม่ได้ ควบคุมเสียงไม่ได้ ยังไงๆเสียงมันก็ต้องมาสัมผัสกับหู แต่ใจเราควบคุมได้ ควบคุมด้วยการใช้สติใช้ปัญญา อย่าไปยินดียินร้ายกับเสียง ต้องยอมรับความจริงว่าเราบังคับเสียงนั้นไม่ได้ เมื่อสามารถควบคุมใจไม่ให้ไปยินดียินร้ายได้ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในใจ นี่เป็นเรื่องที่นักปฏิบัติจะต้องพยายามประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างสมํ่าเสมอ และการที่จะปฏิบัติได้อย่างสมํ่าเสมอนั้นก็ต้องมีสถานที่ๆ สงบเงียบ เช่นตามป่าตามเขา พยายามขวนขวายให้มีความยินดีในสถานที่เหล่านี้เถิด สถานที่เหล่านี้เป็นที่เกิดของพระอริยบุคคลทั้งหลาย พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ส่วนใหญ่บรรลุธรรมในป่าในเขาทั้งนั้น น้อยมากที่จะบรรลุในบ้านในเมืองกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ตามป่าตามเขากัน จะประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วก็บรรลุธรรมตามป่าตามเขากันทั้งนั้น แม้ในปัจจุบันนี้พระต่างๆที่เป็นพระสุปฏิปันโน ที่เรามีความศรัทธาเคารพเลื่อมใส ก็มักจะเป็นพระป่าทั้งนั้น ท่านอยู่ตามป่าตามเขา ประพฤติปฏิบัติอยู่ในป่าในเขา แล้วก็บรรลุธรรมในป่าในเขากันทั้งนั้น มีน้อยมากที่จะบรรลุธรรมในบ้านในเมือง แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ วิธีหนึ่งก็คือการดูอัฐิของท่าน ถ้าอัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุก็ถือว่าท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.


ืno.32
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.88 Chrome 79.0.3945.88


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2562 15:14:44 »




กัณฑ์ที่ ๓๖
พระพุทธเจ้า
๒๐ มกราคม ๒๕๔๔

เวลาที่นึกถึงนํ้าตาล เราย่อมนึกถึงความหวาน เวลาที่นึกถึงเกลือ เราย่อมนึกถึงความเค็ม ฉันใดเวลาที่นึกถึงพระพุทธศาสนา เราย่อมนึกถึงพระพุทธเจ้า เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของคู่กัน นํ้าตาลย่อมมีรสหวาน เกลือย่อมมีรสเค็ม พระพุทธศาสนาย่อมมีพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดา ดังนั้นทุกครั้งที่มีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เราจึงตั้งนะโม ๓ จบ นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ แปลความว่า ขอนอบน้อมนมัสการในองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระนามที่ทรงใช้หลังจากที่ได้ทรงตรัสรู้ธรรมในวันเพ็ญเดือน ๖ เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว แต่ก่อนนี้พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกทีเดียวพระองค์ทรงมีพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงออกผนวช พระองค์ทรงได้พระนามใหม่เป็นสมณโคดม หลังจากที่ทรงประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ประมาณ ๖ ปี จึงทรงตรัสรู้ธรรมจากนั้นทรงเรียกพระองค์เองว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

การที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้นั้น มีสาเหตุมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร พระองค์ทรงได้พบเห็นเทวทูต ๔ คือ ๑. คนแก่ ๒. คนเจ็บ ๓. คนตาย ๔. สมณะนักบวช หลังจากที่ได้ทรงเห็นเทวทูตทั้ง ๔ นี้แล้ว พระองค์ทรงได้สติเกิดปัญญาขึ้นมาว่า คนเราทุกคนไม่ว่าจะสูงหรือตํ่า จะเป็น ขอทานหรือพระเจ้าแผ่นดินก็ตาม เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายด้วยกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความแก่ ความเจ็บ ความตายไปได้ เมื่อตายไปแล้ว ของทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลายย่อมหมดไป ไม่สามารถเอาติดตัวไปได้

เมื่อยังมีกิเลสตัณหาอยู่ในจิต ยังมีความอยากอยู่ในใจ ก็ยังต้องไปเกิดใหม่อีก เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นสัจจะของสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิด พระองค์ทรงมีปัญญา มีความเข้าใจในเรื่องนี้ดี ทรงเห็นว่ามีวิธีเดียวเท่านั้นที่จะไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย นั่นก็คือต้องไม่เกิด การที่จะไม่เกิดได้นั้นก็ต้องระงับต้นเหตุของการเกิด คือกิเลสตัณหาทั้งหลายที่มีอยู่ในจิตใจ เมื่อเห็นสมณะนักบวชจึงทรงเกิดศรัทธาอยากจะออกบวชเป็นสมณะเพื่อแสวงหาโมกขธรรม การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในคืนหนึ่งทรงได้ทราบข่าวว่าพระมเหสีได้คลอดพระโอรส พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่าราหุล แปลว่าบ่วง ลูกเป็นบ่วงผูกมัดพ่อแม่ไว้ติดกับลูก พ่อแม่กับลูกย่อมมีความผูกพันต่อกันและกัน พระองค์เปรียบเหมือนกับกวางเนื้อที่ฉลาด เมื่อเห็นนายพรานเอากับดักมาวางไว้ก็จะไม่เข้าไปใกล้กับดักนั้น ฉันใดพระองค์ก็ทรงเห็นว่าพระโอรสก็เป็นเหมือนบ่วง เป็นเหมือนกับดัก จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกจากพระราชวังในคืนนั้นโดยมีมหาดเล็กตามส่งเสด็จ หลังจากได้ทรงปลงพระเกศาและทรงเครื่องของสมณะแล้ว ทรงมอบเครื่องทรงของราชกุมารให้มหาดเล็กนำกลับพระราชวังไป

จากนั้นพระองค์ทรงพยายามศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย แต่ครูบาอาจารย์เหล่านั้นสอนได้แต่ศีลกับสมาธิเท่านั้น ไม่มีใครรู้จักวิชาวิปัสสนาปัญญาที่จะทำให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ ในสมัยนั้นไม่มีใครรู้จักวิชานี้ เมื่อไม่มีใครรู้จักวิชานี้พระองค์ก็เลยต้องศึกษาด้วยพระองค์เอง ลองผิดลองถูก ไปๆมาๆ จนกระทั่งในที่สุดก็พบวิชาวิปัสสนาปัญญาขึ้นมา ทรงค้นพบพระอริยสัจ ๔ สัจธรรมที่นำพาสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นจากการเกิดแก่เจ็บตาย การเวียนว่ายตายเกิด หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ พระหทัยของพระองค์ก็สะอาดหมดจด ปราศจากกามตัณหา ความอยากในกาม ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น ต้นเหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายไปเกิดนั้นเอง ถ้าไม่มีตัณหาทั้ง ๓ นี้แล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะให้ไปเกิดอีกต่อไป เหมือนกับรถยนต์ที่ไม่มีนํ้ามันเหลืออยู่ในถัง รถยนต์ก็ไม่สามารถวิ่งไปไหนได้

พระพุทธองค์ทรงสามารถปฏิบัติตามหลักพระอริยสัจ ๔ ได้ครบถ้วน คือ ๑. ทุกข์ที่จะต้องกำหนดรู้ ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว ๒. สมุทัยที่จะต้องละ ได้ทรงละแล้ว ๓. นิโรธที่จะต้องทำให้แจ้ง ได้ทรงทำให้แจ้งแล้ว ๔. มรรคที่จะต้องเจริญให้มาก ได้ทรงเจริญอย่างสมบูรณ์แล้ว นี่คือภารกิจในพระอริยสัจ ๔ เครื่องมือที่ใช้กำหนดดูทุกข์ ละตัณหา ทำนิโรธให้แจ้ง ก็คือมรรค เมื่อได้เจริญมรรคอย่างเต็มที่แล้ว ย่อมเห็นทุกข์ว่าเป็นเรื่องธรรมดา คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ยอมรับความจริงนี้ได้ คือไม่ฝืน ไม่หนี ไม่ต่อสู้กับความแก่ ไม่ต่อสู้กับความเจ็บ ไม่ต่อสู้กับความตาย และก็ไม่กลัวความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะรู้ว่ากลัวอย่างไร ต่อสู้อย่างไร ก็ไม่สามารถจะเอาชนะความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้ไปได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ปลง เมื่อปลงได้ก็ละตัณหาได้ คือละความไม่อยากแก่ ความไม่อยากเจ็บ ความไม่อยากตายลงได้ เมื่อสามารถละตัณหาได้ ความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย ก็หมดไป นิโรธก็ปรากฏขึ้นมา นั่นก็คือได้นิโรธทำให้แจ้ง

นี่คือกิริยาทั้ง ๔ ในพระอริยสัจ ๔ ที่มีความต่อเนื่องกัน อยู่ที่มรรคเป็นองค์สำคัญ ผู้ใดสามารถเจริญมรรคให้ได้มากๆจนเห็นอย่างชัดแจ้งว่าการแก่ การเจ็บ การตาย เป็นผลที่ตามมาจากการเกิด หนีจากการแก่ การเจ็บ การตาย ไปไม่ได้ ก็ยอมรับการแก่ การเจ็บ การตาย ไม่กลัวการแก่ การเจ็บ การตาย ไม่มีความอยากที่จะหนีการแก่ การเจ็บ การตาย เมื่อยอมรับการแก่ การเจ็บ การตาย ก็เท่ากับได้ละสมุทัยต้นเหตุของความทุกข์ เมื่อละสมุทัยได้แล้ว นิโรธการดับทุกข์ก็ปรากฏขึ้นมา
พระพุทธองค์ทรงอุตส่าห์ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นเวลานานถึง ๖ ปีด้วยกัน ในที่สุดก็ค้นพบพระอริยสัจ ๔ ทรงปฏิบัติกิจในพระอริยสัจ ๔ ได้อย่างครบถ้วน ทรงสามารถตัดตัณหาทั้งสามได้ คือกามตัณหา ความอยากในกาม ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น ถ้าละตัณหาทั้ง ๓ นี้ได้ก็เท่ากับตัดภพชาติได้ เหมือนกับการตัดไฟ ต้องตัดด้วยการนำเอาเชื้อไฟออกจากกองไฟ ถ้ามีฟืนอยู่ในกองไฟ ก็ต้องเอาฟืนออกจากกองไฟ แล้วไฟก็จะค่อยๆดับไป เพราะว่าไม่มีเชื้อที่จะทำให้ไฟลุกต่อไปได้ ภพชาติก็เช่นเดียวกัน จะไม่มีกับผู้ที่ละตัณหาทั้ง ๓ นี้ได้ การที่จะละตัณหาทั้ง ๓ นี้ได้ ก็ต้องอาศัยเครื่องมือก็คือมรรคนั้นเอง มรรคเป็นเครื่องดับไฟ มรรค ที่มีองค์ ๘ เรียกย่อๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา นี่คือมรรค ผู้ที่เจริญมรรคนี้อย่างต่อเนื่อง เท่ากับเป็นผู้กำหนดรู้ทุกข์ เป็นผู้ละตัณหาความอยากทั้ง ๓ เป็นผู้ที่ได้ทำนิโรธการดับทุกข์ให้แจ้งขึ้นมา ผู้ที่สามารถทำกิจทั้ง ๔ นี้ได้ จะเป็นผู้ที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย เพราะทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิด

ผู้บรรลุพระอริยสัจ ๔ ได้ด้วยตนเองโดยไม่มีผู้ใดสั่งสอน เรียกตนเองว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเรียนรู้จากผู้อื่น เช่นนำเอาคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติ ด้วยการทำบุญทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิวิปัสสนาอย่างต่อเนื่องจนจิตหลุดพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง จากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กลายเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา บุคคลนั้นจะไม่เรียกตนเองว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเรียกตนเองว่าเป็นพระอรหันตสาวก สาวกแปลว่าผู้ฟัง ต้องได้ฟังเรื่องพระอริยสัจ ๔ จากผู้อื่น ไม่ได้เรียนรู้พระอริยสัจ ๔ ด้วยตัวเอง แต่รู้จากการได้ยินได้ฟังคำเทศนาของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว ก็เอามาประพฤติปฏิบัติตาม จนกระทั่งชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด ก็กลายเป็นพระอรหันตสาวกขึ้นมา

ในแต่ละพระพุทธศาสนาจะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว นอกนั้นเป็นพระอรหันตสาวก ท่านจะไม่เรียกตนเองว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคำว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายถึงผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเองโดยชอบ เป็นผู้ศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูก จนกระทั่งบรรลุพระอริยสัจ ๔ ขึ้นมา จึงได้เรียกตนเองว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา จะเรียกตนเองว่าพระอรหันตสาวก แต่ความบริสุทธิ์ของจิตใจของพระพุทธเจ้ากับของพระอรหันตสาวกนั้นเท่ากัน ความสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิดก็เท่ากัน ความสิ้นกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงก็เท่ากัน ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย นิพพานของพระพุทธเจ้ากับนิพพานของพระอรหันตสาวกก็เหมือนกัน เพราะนิพพานก็คือการสิ้นกิเลสนั่นเอง สิ้นแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นปรมังสุญญัง เป็นจิตที่สะอาดหมดจด ไม่มีเชื้อแห่งภพชาติเหลืออยู่ในจิต

พระนิพพานมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ไม่มีชีวิตเหลืออยู่แล้ว ตอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น พระพุทธองค์ทรงบรรลุถึงสอุปาทิเสสนิพพาน คือได้บรรลุถึงนิพพานในขณะยังมีชีวิตอยู่ ส่วนตอนที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ทรงเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือนิพพานที่ไม่มีชีวิตเหลืออยู่แล้ว

พระพุทธเจ้าก็มี ๒ ลักษณะเช่นกันคือ ๑. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่ประกาศสั่งสอนธรรมะให้กับสัตว์โลก เหมือนกับพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ พระองค์ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือหลังจากที่ทรงตรัสรู้ธรรมแล้ว ก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ ทรงนำเอาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้มาเผยแผ่ มาสั่งสอนผู้อื่น ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมา ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่หลังจากตรัสรู้แล้วไม่ได้สั่งสอนธรรมะให้กับผู้หนึ่งผู้ใดเลย

นี่คือเรื่องราวความเป็นมาของพระพุทธเจ้า ทุกๆครั้งที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะทำให้เกิดกำลังใจที่จะประกอบคุณงามความดี เกิดกำลังใจที่จะละความชั่วทั้งหลาย เกิดกำลังใจที่จะประพฤติปฏิบัติ ชำระความโลภ ความโกรธ ความหลงให้หมดสิ้นไปจากจิตจากใจ เพื่อการสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้


ืno.37
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.88 Chrome 79.0.3945.88


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2562 13:23:22 »




กัณฑ์ที่ ๓๗
สวากขาตธรรม
๒๑ มกราคม ๒๕๔๔

ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ตั้งแต่วันที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ทรงอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการอบรมสั่งสอนสัตว์โลก พระพุทธองค์ทรงสอนอยู่ทุกๆวันจนได้รับพระฉายาว่า สัตถา เทวะมนุสสานัง เป็นครูของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ในช่วงบ่ายๆพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนบรรดาศรัทธาญาติโยม ในยามคํ่าทรงอบรมสั่งสอนพระเณร ในยามดึกทรงอบรมสั่งสอนเทวดาทั้งหลาย และในตอนเช้าก่อนที่จะเสด็จออกบิณฑบาต ทรงเล็งญาณดูว่าในวันนั้นจะมีบุคคลใดบ้าง ที่มีจิตพร้อมที่จะรับประโยชน์จากพระธรรมคําสอน ถ้ามีพระพุทธองค์ก็จะทรงเสด็จไปโปรดคนๆนั้น นี่คือกิจที่พระพุทธองค์ได้ทรงกระทําอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ๔๕ พรรษา เมื่อใกล้เวลาที่พระพุทธองค์จะทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้มีผู้กราบทูลถาม

พระพุทธเจ้าว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธองค์จะทรงมอบให้ใครเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงตอบว่าธรรมวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ชอบแล้วนั้นแล จะเป็นศาสดาแทนเรา ขอให้พวกเธอทังหลายจงยึดเอา ้ธรรมวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ชอบแล้วนั้นแล เป็นครูเป็นอาจารย์ของพวกเธอต่อไป ทําไมพระพุทธองค์จึงไม่มอบให้กับพระสาวกองค์ใดองค์หนึ่งเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระญาณทรงมองเห็นกาลไกล รู้ว่าบุคคลแต่ละคนนั้นมีอายุไม่ยืนยาวนาน อายุอย่างมากแค่ ๘๐ กว่าปี ก็ต้องถึงแก่การมรณภาพ ถ้ามอบให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องมีการมอบให้กันอยู่ต่อๆไป และบุคคลที่จะมาสืบทอดต่อไปนั้นก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นพระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลสเสมอไป

ส่วนพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ชอบแล้วนั้น เป็นที่รวมของพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ที่จะเห็นธรรมเห็นตถาคตได้ต้องเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่เรียกว่า สุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ไม่ใช่ใครที่ไหนก็คือพระอริยสาวกทั้งหลายนั่นเอง ดังนั้นถ้าผู้ใดได้ศึกษาธรรมะ แล้วประพฤติปฏิบัติตามจนได้บรรลุธรรม มีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา ผู้นั้นย่อมเข้าถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะผู้มีดวงตาเห็นธรรมย่อมเห็นพระพุทธเจ้า ผู้จะเห็นพระพุทธเจ้าได้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสุปฏิปันโน คือพระอริยสงฆ์สาวกนั่นเอง

นี่คือเหตุผลที่พระพุทธองค์ ไม่ทรงมอบความเป็นศาสดาให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพราะศาสดาแทนพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่แล้ว คือพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชอบแล้วเรียกว่า สวากขาโต ภควตาธัมโม เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้อย่างถูกต้องแม่นยํา เป็นความจริงล้วนๆ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนรกก็ดี เรื่องสวรรค์ก็ดี เรื่องบาปก็ดี เรื่องบุญก็ดี เรื่องมรรคผลนิพพานก็ดีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดก็ดีสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริงทั้งนั้น ดังที่พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่า ทําดีย่อมได้ดี ทําชั่วย่อมได้ชั่ว เป็นหลักตายตัว เป็นสัจธรรมความจริงของโลกนี้ ไม่มีใครลบล้างกฎแห่งกรรมนี้ได้

กรรมเป็นเหตุ วิบากเป็นผล เป็นของคู่กัน เหมือนกับความสว่างคู่กับกลางวัน ความมืดคู่กับกลางคืน กลางวันก็สว่าง กลางคืนก็มืด เหตุและผลก็เป็นลักษณะนั้น ทําอะไรไว้แล้วผลก็ต้องตามมา เหมือนลอยเกวียนที่ตามล้อเกวียนไป ฉันใดผลของกรรมก็เช่นกัน เป็นเงาตามตัว นี่เป็นสวากขาตธรรม เป็นคําสอนที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ แล้วก็นํามาสอนพวกเรา ให้กระทําแต่ความดี ละความชั่ว ชําระความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ออกไปจากจิตจากใจ เพราะว่าความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้เป็นต้นเหตุของการกระทําความชั่วทั้งหลาย ผู้จะละความชั่วได้อย่างถาวรจะต้องชําระความโลภ ความโกรธ ความหลงให้หมดสิ้นไปจากจิตจากใจ ถ้ายังชําระไม่หมดก็ยังจะมีเชื้อนําพาไปทําความชั่วได้อีก พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ชําระจิตใจให้สะอาดหมดจด

นอกจากจะเป็นสวากขาตธรรมแล้ว พระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์ยังเป็น อกาลิโก ไม่ขึ้นกับกาลกับเวลา ไม่สูญสลายไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลตามเวลาเหมือนกับสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ เช่นร่างกายของเรานี้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องเสื่อม และในที่สุดก็ต้องตาย ต้องแตกสลายไป เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน หมดไปตามกาลตามเวลา เช่นเดียวกันกับวัตถุสิ่งของต่างๆที่อยู่ในศาลานี้หรือในโลกนี้ เมื่อเวลาผ่านไปทุกสิ่งทุกอย่างก็จะค่อยๆเสื่อมสลายไปหมด แต่พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้านั้นกลับไม่เสื่อมไม่สลายไปตามกาลตามเวลาสิ่งต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มีอานุภาพอย่างไรในสมัยพุทธกาล ในสมัยปัจจุบันนี้อานุภาพของพระธรรมก็ยังมีอยู่เหมือนเดิมไม่สูญสลาย ไม่เสื่อมไป ไม่เหมือนกับยารักษาโรคในสมัยนี้ จะมีสลากกํากับไว้ว่าควรจะบริโภคก่อนวันที่เท่านั้นๆ เพราะว่าบริโภคหลังจากวันที่กําหนดไว้ประสิทธิภาพของยานั้นจะหมดไปจะเสื่อมไป ไม่สามารถใช้รักษาโรคได้ต่อไป ดีไม่ดีอาจจะกลายเป็นยาพิษขึ้นมา แต่พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้านี้เป็นอกาลิโก เป็นสิ่งที่ไม่สูญสลายหมดไป มีอานุภาพอย่างไรในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ในสมัยนี้ก็เป็นเช่นนั้น สามารถนําพาผู้ปฏิบัติตามให้หลุดจากความทุกข์ได้ สามารถนําความสุขมาให้กับผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้นี่เป็นหลักตายตัวของพระธรรมคําสอน

พระพุทธเจ้าจึงได้ฝากพระธรรมคําสอนไว้ให้เป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ พวกเราชาวพุทธจึงควรมีความมั่นใจว่า การมีศรัทธา มีความเชื่อในพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะว่าพระพุทธธรรมนี่แหละเป็นสิ่งที่พึ่งได้ เป็นสิ่งที่นําพาเราไปสู่ที่ดีที่งาม พวกเราเปรียบเหมือนกับคนตาบอด ส่วนพระธรรมคําสอนนั้นเปรียบเหมือนกับแสงสว่างหรือเปรียบเหมือนกับคนตาดี พระธรรมคําสอนจะพาให้เราพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ จะพาเราไปสู่ความสุขความเจริญอย่างแท้จริง

จงน้อมจิตน้อมใจเข้าหาพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าเถิด ให้เชื่ออย่าง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่าพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นความจริงล้วนๆ เป็นความจริง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่มีความเท็จแปลกปลอมอยู่ในพระธรรมคําสอนแม้แต่น้อยนิด สิ่งใดี่พระพุทธองค์ทรงสอน สิ่งนั้นย่อมมีอยู่ เช่นสวรรค์มี นรกมี ทําบุญขึ้นสวรรค์ ทําบาปตกนรก อันนี้เป็นความจริง ทําบุญแล้วจิตใจจะมีความสุข ถ้าทําความชั่ว ไปปล้น ไปจี้ ไปโกงผู้อื่น ได้เงินมาเป็นแสนเป็นล้าน แต่จิตใจไม่มีความสุขเพราะไปทําบาปมานั่นเอง เมื่อทําบาปแล้วผลย่อมเกิดในจิตใจก่อน คือมีความทุกข์ใจ มีความไม่สบายใจ ถ้าตํารวจจับตัวได้ก็ต้องถูกจับเข้าคุกเข้าตะรางไป นี่เป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่ เมื่อตายไปก็จะไปสู่อบาย ไปสู่นรกต่อไป เรื่องผลของการทําความชั่วนี้มีจริง ขออย่าได้มีความเคลือบแคลงสงสัยในคําสอนของพระพุทธองค์แม้แต่น้อยเลย เพราะว่าความเคลือบแคลงสงสัยนี้เป็นกิเลส เป็นเครื่องกีดขวางความเจริญ จึงขอให้ตัดความสงสัยออกไปเสีย แล้วพยายามน้อมใจเข้าสู่พระธรรมคําสอน เข้าหาผู้รู้ธรรมะ เข้าหาพระไตรปิฏกซึ่งเป็นพระธรรมคําสอนที่ได้ถูกจารึกไว้และถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อนําพาไปสู่ความสุขความเจริญอย่างแท้จริง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 มกราคม 2563 13:38:00 »




กัณฑ์ที่ ๓๘
กรรม
๒๘ มกราคม ๒๕๔๔

ทุกๆคนที่เกิดมาในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่ได้กระทํากรรมกัน การกระทํากรรมนี้กระทํากันทุกๆคน จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาก็เริ่มกระทํากรรมกันแล้ว เพราะเหตุใดจึงว่ากระทํากรรมกัน ก็เพราะคําว่ากรรมนี้หมายถึงการกระทํา การกระทําทางกายเรียกว่ากายกรรม การกระทําทางวาจาเรียกว่าวจีกรรม การกระทําทางใจ เรียกว่ามโนกรรม แม้แต่เวลานั่งอยู่เฉยๆ ร่างกายไม่ขยับเขยื้อน ปากไม่พูดอะไร แต่ใจกําลังกระทํากรรมอยู่ ใจยังคิดอยู่ ความนึกคิดของใจเรียกว่ามโนกรรม ตัวมโนกรรมนี้เป็นต้นเหตุของการกระทําทางกายและทางวาจา คือใจจะเป็นผู้สั่งการออกไป กายและวาจาจึงเคลื่อนไหวได้ ใจจึงเป็นต้นเหตุของกรรมทั้งหลาย อย่างวันนี้ญาติโยมมาที่วัดกันก่อนจะพาร่างกายมาถึงที่วัดนี้ได้ใจต้องสั่งการก่อน ใจต้องนึกคิดไว้ก่อนว่าจะไปวัด ไปทําบุญ คิดแล้วก็ใช้วจีกรรมชวนเพื่อนฝูง ถามกันว่าจะไปวัดไหม แล้วก็พากันมา นี่คือการกระทํากรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเราทํากรรมกันอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาหลับ ใจก็ยังทํากรรมอยู่ ความฝันก็เป็นการทํางานของใจเรียกว่ามโนกรรม

กรรมนี้ทําได้ ๓ ทางด้วยกัน ดีชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว กรรมดีเรียกว่ากุศล กุสลาธัมมา กรรมชั่วเรียกว่าอกุศล อกุสลาธัมมา กรรมไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่าอัพยากฤต อัพยากตาธัมมา กุศลเกิดจากความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เมื่อไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ก็รักที่จะทําบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม เป็นกุศล อกุศลเกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อมีความโลภ ความโกรธ ความหลงก็จะทําในสิ่งที่ไม่ดีเช่นฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักทรัพย์ประพฤติผิดประเวณี พูดปดมดเท็จ เสพสุรายาเมา

เมื่อทํากรรมไปแล้วก็มีผลตามมา เรียกว่าวิบาก ทํากรรมไปแล้วก็ต้องมีผลตามมาเพราะกรรมเป็นเหตุ วิบากเป็นผล เมื่อทําอะไรไปแล้วย่อมมีผลตามมา ในอันดับแรกก็คือความรู้สึกในจิตใจ คือความสุขและความทุกข์ถ้าทําความดีจิตใจก็จะมีความสุข ถ้าทําความชั่วทําบาป จิตใจก็จะมีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ อันนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นในจิตใจทันทีอย่างวันนี้มาทําบุญให้ทาน มาฟังเทศน์ฟังธรรมกัน จิตใจสบาย จิตใจเย็นจิตใจมีความสุข จิตใจมีความสงบ แต่ถ้าไปทําอย่างอื่น เช่นไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไปทะเลาะวิวาท ไปทุบตี ไปกลั่นแกล้งกัน ไปโกงกัน ไปลักทรัพย์ จิตใจก็มีความไม่สบายใจ เกิดความทุกข์ใจตามมา

นี่เป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้ทันทีทันใดในปัจจุบันชาตินี้ ในขณะที่กระทํากรรมนั้นๆ อยู่ ส่วนผลอย่างอื่นที่จะตามมาภายหลังนั้นอาจจะเป็นผลที่เกิดขึ้นช้าหรือเร็วต่างกัน เช่น กระทําความดีแล้วก่อนที่คนอื่นจะเห็นความดี ก่อนที่จะได้รับผลตอบแทนจากผู้อื่น ได้เลื่อนเงินเดือน ได้เลื่อนขั้นเลื่อนยศ ได้คําสรรเสริญ อาจจะใช้เวลานาน หรือทําชั่วไปแล้ว อาจจะยังไม่ถูกตํารวจจับเข้าคุกไปทันทีทันใดก็ได้ เพราะว่าผลของกรรมยังไม่ปรากฏขึ้นมา ยังตามมาไม่ถึง ยังตามมาไม่ทัน แต่เมื่อตามมาทันแล้วก็ต้องถูกตํารวจจับเข้าคุกเข้าตะราง ต้องถูกคนอื่นเขาสาปแช่ง อย่างนี้เป็นต้น

ผลของกรรมมีอยู่ ๒ อย่างด้วยกัน คือภายในจิตใจและภายนอกจิตใจ ภายในจิตใจเกิดขึ้นทันทีทันใด ส่วนภายนอกจิตใจอาจจะช้าบ้าง อาจจะเร็วบ้าง การกระทําในอดีตชาติที่เพิ่งเกิดผลขึ้นมาในชาตินี้ก็มี เหตุใดคนที่ทําความดีแล้วกลับรู้สึกว่าไม่ได้รับผลของการกระทําความดีเลย รู้สึกมีแต่สิ่งชั่วร้ายเกิดขึ้นกับตัวเองเสมอ ส่วนนี้ต้องยกให้เป็นวิบากกรรม หรือผลของกรรมที่ได้ทํามาก่อนในอดีตชาติ ผลมันถึงตามมาในชาตินี้ ส่วนความดีที่ได้กระทําในชาตินี้ผลยังตามไม่ถึง ยังไม่ปรากฏก็เลยทําให้คิดว่าทําดีแล้วไม่ได้ดีทําความดีแล้วไม่ได้ผลตอบแทน เห็นคนอื่นเขาทําความชั่วกลับได้ดิบได้ดีกัน นี่เป็นเพราะยังไม่เข้าใจในเรื่องวิบากกรรม การแสดงผลของกรรมนั้นไม่เกิดขึ้นทันทีทันใดเสมอไป แล้วแต่ชนิดของการกระทํา เปรียบเหมือนกับต้นไม้ต่างๆ บางชนิดก็ออกดอกออกผลได้เร็ว บางชนิดก็ต้องใช้เวลานานถึงจะออกดอกออกผล อย่างข้าวนี้ปลูกไป ๓ เดือน ก็ออกรวงแล้ว แต่ถ้าเป็นต้นมะม่วง ต้นส้ม ต้นทุเรียน ก็ต้องใช้เวลาเป็นปีถึงจะเกิดผลขึ้นมา

เมื่อยังไม่เห็นผลที่เกิดจากการกระทําในปัจจุบัน ก็เลยมีความคิดว่ากรรมไม่มีวิบากไม่มี ทําไปแล้วไม่มีผลตามมา ถ้าคิดเช่นนี้แล้วก็เป็นความคิดผิด เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ ซึ่งจะนําไปกระทํากรรมที่ไม่ดี ให้ไปทําความชั่วอยู่เสมอ เมื่อเกิดผลของกรรมชั่วตามมาที่หลังก็จะมีแต่ความทุกข์ความยากลําบาก วิบากกรรมจะตามติดตัวไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เป็นเหตุให้ไปเกิดที่สูง ที่ตํ่า ไปสวรรค์หรือไปนรก ไปสู่สุคติหรือทุคติไปเกิดเป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก หรือไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอริยบุคคล นี่คือผลที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อไปในภพหน้าชาติหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมต่างๆที่กระทํากันในชาตินี้ ถ้าทํากรรมดีไว้มาก ทําบุญทํากุศลไว้มากโอกาสที่จะได้ไปเกิดในสุคติ บนสวรรค์ เป็นเทพ เป็นพรหม เป็นพระอริยบุคคลก็มีมาก แต่ถ้าทําบาปทํากรรมไว้มาก โอกาสที่จะได้ไปเกิดในอบาย ไปเป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก ก็มีมากเช่นเดียวกัน

ถ้าปรารถนาที่จะอยู่ในโลกนี้ด้วยความสุขใจ ตายไปก็ได้ไปสู่สุคติ ก็ขอให้กระทําแต่กรรมดี ทําบุญทํากุศลไว้แต่ถ้าปรารถนาที่จะไปเกิดในอบาย ไปเป็นเปรต เป็นเดรัจฉาน เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก ก็ขอให้หมั่นทําบาป ทํากรรมไว้ แล้วผลของกรรมจะต้องตามมาอย่างแน่นอน เพราะหลักของกรรมนั้นเป็นหลักธรรมชาติ เป็นของจริง จะมีใครเข้าใจในหลักกรรมนี้หรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้มันก็มีอยู่ในตัวของมัน เหมือนกับเกลือที่มีรสเค็ม จะมีใครรู้ว่ามีรสเค็มหรือไม่ก็ตาม เกลือมันก็เค็มอยู่อย่างนั้น นํ้าตาลมันก็หวานอยู่อย่างนั้น ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงให้เกลือมันหวานได้ ให้นํ้าตาลมันเค็มได้ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมชาติของเขา หลักกรรมและวิบากกรรมก็เช่นกัน เป็นหลักธรรมชาติตายตัวไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้

ถ้าเข้าใจในหลักกรรมแล้ว ย่อมขวนขวายกระทําแต่ความดี ระงับความชั่วทั้งหลายพยายามชําระความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นต้นเหตุของบาปกรรมทั้งหลายให้หมดไป ตราบใดยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ในจิตใจ ก็ยังต้องทําบาปกรรมกันอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่ต้องการทําบาปทํากรรมก็ต้องชําระความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ออกไปจากจิตใจให้หมดสิ้นไป ถ้าชําระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ ก็ถึงที่สุดสิ้นแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ถ้ายังไม่หมดสิ้นกิเลสก็ยังต้องไปเกิด ไปเสวยสุขเสวยทุกข์ต่อไป จึงขอให้ดูความโลภความโกรธ ความหลงในจิตใจเป็นหลัก คอยเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา อย่าให้มันเกิดขึ้นมา เวลามันเกิดขึ้นมาก็ทําลายมันเสียด้วยการไม่ทําตาม เวลาโลภก็อย่าโลภตาม เวลาโกรธก็อย่าโกรธตาม เวลาหลงก็อย่าหลงตาม ถ้าทําได้ ต่อไปความโลภ ความโกรธ ความหลงจะน้อยลงไป แล้วในที่สุดก็จะหมดไป กลายเป็นจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ เมื่อจิตสะอาดบริสุทธิ์แล้วก็เป็นปรมังสุขัง เป็นบรมสุข เป็นสุดยอดของความสุข การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.


.45
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2563 09:32:14 »




กัณฑ์ที่ ๓๙
ปัญญา
๒๘ มกราคม ๒๕๔๔

คนทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีความปรารถนาอยากจะเป็นคนฉลาด เป็นคนมีความรู้มีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ความฉลาดความรู้มีปัญญาไม่ได้เกิดจากความปรารถนาโดยถ่ายเดียว แต่เกิดจากการกระทำของแต่ละคน เกิดจากความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาหาความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทน มีความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา พยายามแสวงหาความรู้จากผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ในที่สุดก็จะเป็นคนฉลาดได้

ความรู้ที่มีในโลกนี้แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม ความรู้ทางโลกได้แก่เรื่องราวต่างๆ ภายนอกตัวเรา เช่นวิชาวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ หรือความรู้อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเรื่องราวภายนอกทั้งหลายเรียกว่าวิชาทางโลก ส่วนวิชาทางธรรมจะเกี่ยวข้องกับความรู้ทั้งสองประเภท คือทั้งเรื่องในตัวเราและเรื่องนอกตัวเรา เรื่องราวอะไรก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตใจ มาสัมผัสกับจิตใจ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเช่นสุขทุกข์เป็นต้น เรียกว่าวิชาทางธรรม

ถึงแม้จะได้ศึกษาวิชาทางโลกมามากมายเพียงไรก็ตาม แต่ความรู้ทางโลกกลับไม่สามารถใช้เป็นเครื่องดับความทุกข์ในจิตใจได้เลย สังเกตดูได้กับคนบางคนที่ได้เรียนสูงๆจนสำเร็จปริญญาตรี โท เอก เวลามีความทุกข์ขึ้นมากลับไม่รู้จักวิธีระงับดับความทุกข์นั้นๆ มักจะใช้วิธีผิดๆ เช่นฆ่าตัวตายเป็นต้น โดยคิดว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นการดับทุกข์ ถ้าหากได้ศึกษาวิชาทางธรรมจะรู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นในจิตใจ ไม่ได้เกิดที่ร่างกาย ทำลายร่างกายไม่ได้ดับทุกข์ในจิตใจไปด้วย จิตใจก็ยังทุกข์อยู่ เพราะว่าร่างกายและจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายเป็นอย่างหนึ่ง จิตใจเป็นอย่างหนึ่ง จิตใจเป็นนาย ร่างกายเป็นบ่าว จิตใจเป็นผู้สั่งการให้ร่างกายไปกระทำสิ่งต่างๆ ให้พูดก็ดี ให้เดินก็ดี จิตใจเป็นผู้สั่งงาน และเป็นผู้รับผล ถ้าทำในสิ่งที่ดีงามก็เกิดความสุขใจ ถ้าทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามก็เกิดความทุกข์ใจ

การที่จะแก้ปัญหาความทุกข์ของจิตใจจึงต้องหาสาเหตุว่า ความทุกข์ของจิตใจเกิดขึ้นมาจากอะไร ร่างกายไม่ใช่ต้นเหตุของความทุกข์ทางจิตใจ หลักธรรมแสดงไว้ว่าความทุกข์ของจิตใจเกิดจากตัณหา ความอยากทั้งหลาย ตัณหามีอยู่ ๓ ประเภท คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กามตัณหาคือความอยากในกาม หมายถึงกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่จิตใจปรารถนาอยากที่จะได้สัมผัสอยู่เสมอๆ ถ้าไม่ได้สัมผัสจะเกิดอาการทุกข์ใจขึ้นมา อย่างเวลาที่อยู่บ้านเฉยๆ จิตใจจะมีความหงุดหงิด มีความกระวนกระวาย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร แต่ถ้าได้ออกไปนอกบ้าน ได้ไปดู ได้ไปฟัง ได้ไปดมกลิ่น ได้ไปลิ้มรส ได้ไปสัมผัสกับอะไรต่างๆ จิตใจจะมีความเบิกบาน มีความสุขใจ เป็นการติดกามสุข มีกามตัณหาเป็นต้นเหตุ ถ้าไม่ได้สัมผัสก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา ต่างกับคนที่ไม่มีความอยากในกาม ไม่มีกามตัณหา สามารถอยู่บ้านได้ อยู่เฉยๆได้ ไม่ต้องดูหนังดูละคร ไม่ต้องฟังเพลงก็มีความสุขได้ เพราะจิตใจไม่มีความอยากในเรื่องกามทั้งหลาย ไม่มีกามตัณหาก็ไม่มีความทุกข์ ถ้ามีกามตัณหาก็ต้องมีความทุกข์
 
วิชาทางธรรมสอนว่า ความสุขความทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ภายนอก ภายนอกนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความทุกข์หรือความสุขขึ้นมาภายในใจ ถ้าใจไม่อยาก ใจก็สุข ถ้าใจอยาก ใจก็ทุกข์ วิชาทางโลกเป็นความรู้ที่ใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพราะว่าร่างกายต้องอาศัยปัจจัย ๔ คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ถ้าขาดปัจจัย ๔ ร่างกายก็อยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องศึกษาวิชาทางโลกเพื่อจะได้มีวิชาไว้ใช้ประกอบสัมมาอาชีพ อาชีพที่สุจริต เพื่อจะได้มีปัจจัย ๔ ไว้เยียวยาดูแลร่างกาย แต่วิชาทางโลกโดยลำพังไม่เพียงพอกับการดูแลรักษาจิตใจ จึงต้องศึกษาวิชาทางธรรมด้วย โดยเข้าหาพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาให้เกิดปัญญา

ปัญญาทางพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ระดับคือ ๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง เช่นการฟังเทศน์ฟังธรรม เรื่องเหตุเรื่องผล เรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องคุณเรื่องโทษ เรื่องนรกเรื่องสวรรค์ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องกรรมเรื่องวิบาก เป็นปัญญาความรู้ เมื่อเกิดความเข้าใจขึ้นมา ก็สามารถใช้แก้ปัญหาระงับดับทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง ๒. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาไตร่ตรอง เช่นเวลาไปทำอะไรไม่ดีมา ไปพูดโกหกหลอกลวง ก็เกิดรู้สึกไม่สบายใจขึ้นมา เลยนั่งคิดว่าวันนี้ไม่สบายใจเพราะอะไร ที่ไม่สบายใจเพราะไปพูดโกหกหลอกลวง เลยเกิดความกังวลว่าจะถูกเขาจับได้ ก็เลยเกิดความไม่สบายใจ เมื่อพิจารณาดูแล้วเห็นว่าการโกหกหลอกลวงเป็นการกระทำที่ไม่ดี เพื่อเป็นการระงับดับความไม่สบายใจ จึงต้องไปสารภาพบาป เมื่อได้สารภาพขออภัยแล้วใจก็สบายเพราะไม่มีความกังวลอีกต่อไป การคิดพิจารณาว่าการกระทำทางกายวาจาใจเป็นเหตุของความสุขความทุกข์ในจิตใจ เรียกว่าจินตามยปัญญา คือคิดไปในทางเหตุทางผล เป็นปัญญาใช้ระงับดับทุกข์ภัยในใจได้ ๓. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติจิตตภาวนา เป็นปัญญาที่ระงับดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ปัญญาระดับนี้ต้องมีความสงบเป็นพื้นฐาน เพราะว่าความสงบเป็นที่ปลง ที่ปล่อยวาง ที่ดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีความสงบ ก็จะไม่สามารถปลงและปล่อยวางได้อย่างสิ้นเชิง

ภาวนามยปัญญาจะต้องเกิดจากการปฏิบัติโดยอาศัยการได้ยินได้ฟังมาก่อน ให้รู้จักว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกที่ผิด อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่ชั่ว เมื่อรู้แล้วก็เอามาสั่งสอนจิตใจด้วยการใคร่ครวญคิดพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เช่นการไปโกหกหลอกลวง ไปคดไปโกงเป็นสิ่งที่ไม่ดี ทำไปแล้วก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา จึงพยายามละเสียด้วยการทำจิตใจให้สงบ ไหว้พระสวดมนต์ บริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ โดยมีสติระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้จิตไปคิดเรื่องอื่น ให้อยู่กับพุทโธ พุทโธ พุทโธ อย่างเดียว ถ้าดูลมหายใจเข้าออก ก็ให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว อย่าไปคิดเรื่องอื่น ถ้าไปคิดเรื่องอื่นจิตจะไม่สงบ นั่งไปนานสักเท่าไรก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมา ผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสติควบคุมใจให้รู้อยู่กับงานที่ทำอยู่เท่านั้น ถ้ากำหนดรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ก็ให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ถ้าใช้คำบริกรรมพุทโธ ก็กำหนดรู้อยู่กับพุทโธ พุทโธ พุทโธ อย่างเดียว อย่าไปคิดเรื่องอื่น ถ้าสามารถทำอย่างนี้ได้แล้ว ไม่ช้าก็เร็ว จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ จิตจะตั้งมั่น ไม่ลอยไปไหน มีความสงบ มีความนิ่ง มีความอิ่ม มีความพอ มีความสุข เมื่อมีความสุขแล้ว  เวลาจิตจะไปทำอะไรในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ จะเห็นความทุกข์ใจเกิดขึ้นมาทันที เมื่อเห็นทุกข์ก็จะละการกระทำที่ไม่ดีนั้นทันที นี่คือการทำงานของภาวนามยปัญญา

เวลาจิตมีความสงบจิตจะไม่ไปก่อกรรมก่อเวรกับใคร เพราะจิตมีความสุข เป็นความสุขที่เหนือความสุขทั้งหลาย เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่มีอยู่ในจิตที่สงบ ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากการได้รับ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นความสุขที่ปนไปด้วยความทุกข์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าพิศวาส ไม่น่าปรารถนา จึงควรตัดความยินดี ความอยากใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ให้หมดไป ด้วยการเจริญจิตตภาวนา จะได้อยู่เย็นเป็นสุข หมดเวรหมดกรรม เพราะไม่ก่อเวรก่อกรรมกับใครอีกต่อไป ดำรงชีวิตอยู่ในศีลในธรรม ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นโดยถ่ายเดียว ดังพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์ให้กับโลกตลอดเวลา ๔๕ พรรษา โดยการประกาศพระศาสนาให้กับสัตว์โลกทั้งหลาย เป็นคุณเป็นประโยชน์ให้กับโลกมาจนถึงทุกวันนี้

นี่คือปัญญาในพระพุทธศาสนา สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เป็นธรรมอันประเสริฐที่ได้รับการสืบทอดกันมายาวนาน ขอให้ทุ่มเทชีวิตจิตใจสร้างปัญญานี้ให้เกิดขึ้นเถิด เพราะปัญญานี่แหละคือสรณะที่แท้จริง เป็นที่พึ่งที่แท้จริง จะพ้นทุกข์ได้ด้วยปัญญา การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้


49
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2563 11:19:35 »




กัณฑ์ที่ ๔๐
มรรค ๘
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

เป็นธรรมเนียมประเพณีของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเวลามาวัด มาที่ศาลาก็ดี มาที่พระอุโบสถก็ดี จะทําความเคารพบูชาพระพุทธรูป พระบรมสารีริกธาตุ พระรัตนตรัย เพราะการบูชาสิ่งที่สมควรแก่การบูชาเป็นมงคลอย่างยิ่ง ดังในพระบาลีที่แสดงไว้ว่า ปูชา จ ปูชณียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง การบูชาพระพุทธองค์ได้ทรงจําแนกไว้สองแบบด้วยกัน คือ ๑.อามิสบูชา ๒.ปฏิบัติบูชา อามิสบูชาคือการบูชาด้วยเครื่องสักการะ เช่นดอกไม้ ธูปเทียน ปฏิบัติบูชาคือการบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติ กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน การบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นการบูชาที่แท้จริง เป็นการบูชาที่เลิศ เพราะผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตรงตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้แล้ว ย่อมประสบแต่ความสุขความเจริญ ความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนา ในการประกาศพระศาสนาให้แก่สัตว์โลก

ผู้ที่ปรารถนาความสุขความเจริญความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จึงควรดําเนินตามแนวทางที่
พระพุทธองค์ทรงวางไว้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ไม่เคร่งจนเกินไปและไม่หย่อนจนเกินไป พอดีๆกับมนุษย์อย่างเราอย่างท่านทั้งหลายสามารถประพฤติปฏิบัติได้แต่ผู้ประพฤติปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยขันติความอดทน วิริยะความขยันหมั่นเพียร ถ้าเป็นคนเกียจคร้านไม่มีความอดทนแล้ว แนวทางนี้จะรู้สึกว่าเป็นแนวทางที่ยากเย็นแสนสาหัส แต่ถ้ามีวิริยะความขยันหมั่นเพียร ขันติความอดทน มัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลางนี้จะไม่เป็นหนทางที่ยากลําบากเลย พวกเราสามารถประพฤติปฏิบัติ แล้วนําความสุขความเจริญที่ปรารถนามาสู่ตัวเราได้อย่างแน่นอนเราจึงควรศึกษาทําความเข้าใจว่ามัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลางนี้มีอะไรบ้าง พระพุทธองค์แสดงไว้ ๘ ประการด้วยกัน เรียกว่ามรรค ๘ ประกอบไปด้วย ๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปโป ความดําริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันโต การกระทําชอบ ๕.สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ ๖.สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ๗.สัมมาสติ สติชอบ ๘.สัมมาสมาธิ การตั้งมั่นของจิตชอบ นี่คือมรรคที่มีองค์ ๘ คําว่า ชอบ แปลว่าถูกต้อง

๑.สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ความเห็นที่ถูกต้อง คือความเห็นว่า การกระทําของเรานั้นไม่ว่าทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี เมื่อทําไปแล้วย่อมมีผลตามมา การกระทํานี้เรียกว่ากรรม ทางกายเรียกว่ากายกรรม ทางวาจาเรียกว่าวจีกรรม ทางใจเรียกว่ามโนกรรม เมื่อทําไปแล้ว พูดไปแล้ว คิดไปแล้ว ย่อมมีผลตามมา ขึ้นอยู่กับการกระทํานั้นๆว่าดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ทําดีเรียกว่าบุญ ผลที่ตามมาคือความสุขความสบายใจ ตายไปก็ไปสู่สุคติทําชั่วเรียกว่าบาป ผลที่ตามมาคือความทุกข์ตายไปก็ไปสู่ทุคติเป็นความเห็นที่ถูกต้อง บาปบุญมีจริง นรกสวรรค์มีจริง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมจริง ผู้มีศรัทธาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคําสอน ก็สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางเดียวกันกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงไปถึงได้

นี่คือความเห็นชอบ คือเห็นว่าสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นของจริง ตรงกันข้ามกับมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เห็นผิดเป็นชอบ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิจะเห็นว่า นรกสวรรค์เป็นเรื่องหลอกลวง เป็นของไม่จริง เกิดมาแล้วตายก็สูญ ไม่มีการเกิดอีก จะทําบุญทํากรรมอะไรไว้ก็ไม่มีการเสวยผลบุญกรรมนั้นๆ นี่คือมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความเห็นทั้งสองนี้ เหมือนกับการเห็นว่าโลกนี้กลมหรือโลกนี้แบน ถ้าเห็นว่าโลกนี้แบนก็เป็นความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเห็นว่าโลกนี้กลม ก็เป็นความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิถูกต้องตามหลักความเป็นจริงนั่นเอง

สิ่งต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นความจริงทั้งนั้น จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม สิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถปฏิเสธได้ เรากับพระพุทธเจ้านั้นต่างกันตรงที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็น แต่พวกเรายังไม่รู้ไม่เห็น เพราะจิตใจของพวกเรายังมืดบอดอยู่ ยังมีอวิชชา มีโมหะ ความหลงครอบงําจิตใจอยู่ เหมือนกับคนที่ถูกเครื่องพันธนาการปิดตาไว้ทําให้เห็นแต่ความมืด เหมือนคนตาดีอยู่ในที่มืด ถึงแม้จะมีสายตาดีแต่ก็ไม่สามารถมองเห็นอะไรในที่มืดได้ การที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ก็เหมือนกับพระพุทธองค์ได้ทรงถอดเครื่องพันธนาการออกจากพระจักขุของพระองค์แล้ว ทําให้พระพุทธองค์สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญอย่างเราอย่างท่าน ที่ยังมีอวิชชาโมหะครอบงําจิตใจอยู่ ไม่สามารถมองเห็นได้ พวกเราจึงไม่เห็นเรื่องบาปบุญคุณโทษ ไม่เห็นเรื่องนรกสวรรค์อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ ถ้าเป็นคนฉลาดก็ควรจะเริ่มต้นด้วยการมีศรัทธาคือเชื่อไว้ก่อน เพราะว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ให้เชื่อเฉยๆท่านให้เอาไปพิสูจน์ เป็นสันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติพึงรู้พึงเห็นได้ขอให้ลองประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านทรงสอนเถิด แล้วสิ่งต่างๆ ที่พระพุทธองค์ทรงรู้ทรงเห็นก็จะเป็นสิ่งที่เรารู้เห็นได้เช่นเดียวกัน นี่คือสัมมาทิฏฐิความเห็นที่ถูกต้อง

๒.สัมมาสังกัปโป ความดําริชอบ คิดในสิ่งที่ดีที่งาม คิดทําความดีทั้งหลายให้ถึงพร้อม ละบาปทั้งหลาย ทําจิตใจให้สะอาดหมดจด ชําระความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้หมดไปจากจิตจากใจ นี่เป็นความคิดที่ถูกต้อง

๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ ๑.ละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ ๒.ละเว้นจากการพูดคําหยาบ ๓.ละเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๔. ละเว้นจากการพูดส่อเสียด พูดส่อเสียดหมายถึงคําพูดที่สร้างความแตกแยกสามัคคี เช่นพูดให้คนที่รักกัน แตกกัน โกรธเกลียดกัน สามีภรรยารักกันดีอยู่ก็พูดยุยงให้เกิดความบาดหมางใจกัน โกรธกัน เกลียดกัน แตกสามัคคีหรือพูดให้คนในสังคม ในครอบครัว ในบ้าน ในเมือง เกิดการแตกสามัคคี พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละเว้นจากการพูดเหล่านี้ ให้ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการพูดคําหยาบ ละเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ละเว้นจากการพูดส่อเสียด นี่คือสัมมาวาจา

๔.สัมมากัมมันโต การกระทําชอบ คือการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ถ้าละเว้นได้ เราก็ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เมื่อไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ความเดือดร้อนก็ไม่มาหาเรา ไม่ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นย่อมไม่ถึงตัวเรา

๕.สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ คือการเลี้ยงชีพที่ถูกต้องด้วยอาชีพสุจริต ไม่สร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่นในการทํามาหากินเลี้ยงชีพ ให้ละเว้นจากอาชีพที่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่นยิงนกตกปลา เลี้ยงสัตว์เพื่อที่จะฆ่าขาย ให้ละเว้นจากการค้าสุรายาเมา ค้ายาพิษ ค้าศาสตราวุธ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ไม่สุจริต ควรละเว้นอาชีพเหล่านี้เสีย อาชีพอื่นยังมีอีกมากมาย เช่นอาชีพครู อาชีพอาจารย์ อาชีพพยาบาล อาชีพหมอ อาชีพที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นเป็นสัมมาอาชีวะ

๖.สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ความเพียรมีทั้งที่ถูกและที่ผิด ที่ผิดก็คือขยันทําความชั่ว เช่น ขยันกินเหล้าเมายา ขยันเที่ยวเตร่ ขยันเล่นการพนัน นี่คือความขยันที่ไม่ถูกต้องความเพียรชอบคือ ๑.เพียรกระทําความดี ๒.เพียรรักษาความดีที่มีอยู่ไม่ให้สูญหายไป ๓.เพียรละการกระทําความชั่ว ๔.เพียรไม่ให้ความชั่วที่ละได้แล้วกลับฟื้นขึ้นมาอีก นี่คือความเพียรชอบ

๗.สัมมาสติ สติชอบ สติคือการระลึกรู้ ให้ระลึกรู้อยู่กับอะไร ก็ให้ระลึกรู้อยู่กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรียกว่าพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ หรือระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก เรียกว่าอานาปานสติ พยายามควบคุมใจไม่ให้ไปคิดปรุงเรื่องราวต่างๆที่จะนําความทุกข์มาสู่ตัวเรา พวกเราไม่ค่อยควบคุมจิตใจกัน ไม่มีสติ ปล่อยให้ใจคิดไปเรื่อยๆ จนเกิดความฟุ้งซ่าน ความเศร้าโศกเสียใจ ถ้าคิดมากๆจะทําให้เสียสติไปได้ เป็นบ้าไปเลยก็มีเพราะไม่มีสติที่ชอบนั่นเอง ไม่รู้จักระลึกในสิ่งที่ดีที่งาม ถ้าระลึกอยู่กับ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือสวดบท อิติปิโส สวากขาโต สุปฏิปันโน อยู่ในใจไปเรื่อยๆ ใจจะร่มเย็นเป็นสุข เพราะบทธรรมเหล่านี้เป็นเหมือนนํ้าเย็นหล่อเลี้ยงจิตใจ ถ้าระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่อย่างสมํ่าเสมอแล้ว จิตใจจะเย็นสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลอยไป ลอยมา ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน เป็นสัมมาสติ

๘.สัมมาสมาธิ การตั้งมั่นของจิตชอบ จิตไม่วอกแวก ไม่ลอยไปลอยมา เป็นจิตที่เหมือนกับหิน ไม่เคลื่อนไหวไปไหน ลมพัดขนาดไหนก็ไม่ไปตามลม ไม่เหมือนกับนุ่น เวลาลมพัดก็จะลอยไปตามลม จิตที่มีสัมมาสมาธิเป็นจิตที่ไม่ลอยไปตามอารมณ์ต่างๆ การที่จะทําจิตนิ่งให้ได้เป็นสมาธิที่ชอบ ต้องระลึกรู้อยู่กับบุญกุศลเช่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก อย่าให้จิตไปคิดเรื่องอื่นๆ ถ้าระลึกรู้อยู่กับธรรมเหล่านี้ไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ช้าก็เร็วจิตจะรวมลงสู่ความสงบเป็นสมาธิ นี่แหละคือสัมมาสมาธิ คือความสงบนิ่งของจิตใจ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สักแต่ว่ารู้เป็นอุเบกขา ปล่อยวาง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งต่างๆ นี่คือสัมมาสมาธิ สมาธิที่ไม่ถูกต้องคือสมาธิที่เมื่อรวมลงไปแล้วไม่อยู่กับที่ กลับไปรู้เรื่องราวต่างๆ เช่น นิมิตต่างๆที่ปรากฏขึ้นมา จากภายในก็ดี จากภายนอกก็ดี เช่นพวกผีเทวดา หรือไปเที่ยวสวรรค์ เที่ยวนรก นี่คือเรื่องของนิมิตที่เกิดขึ้นกับจิตที่ไม่หยุดนิ่ง สมาธิแบบนี้จะเป็นอยู่นานสักเท่าไร เมื่อออกจากสมาธิแล้ว จิตจะไม่มีความหนักแน่น ไม่มีกําลังที่จะไปต่อสู้กับความโลภ ความโกรธ ความหลง กับอารมณ์ต่างๆที่มากระทบกับจิตได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นสมาธิที่นิ่งสงบ ไม่รับรู้เรื่องราวต่างๆ สักแต่ว่ารู้อยู่ตามลําพัง หลังจากที่ออกจากสมาธินั้นแล้ว จิตจะมีความเยือกเย็น มีความสดชื่น มีความเบิกบาน มีความหนักแน่น ไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ต่างๆที่มากระทบ ไม่ว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่อได้สัมผัสก็ไม่เกิดอารมณ์ขึ้นมา ไม่เกิดความยินดียินร้าย ไม่เกิดความ
โลภ ความโกรธ ความหลง นี่แหละคือสมาธิที่ถูกต้อง

นี่คือมรรคที่มีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปโป ความดําริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันโต การกระทําชอบ ๕.สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ ๖.สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ๗.สัมมาสติ สติชอบ ๘.สัมมาสมาธิ การตั้งมั่นของจิตชอบ เป็นทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกําหนดไว้ให้ชาวพุทธที่มีความศรัทธามีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ น้อมเอามาประพฤติปฏิบัติกับกาย วาจาใจ เพื่อความสงบสุข ความสบายใจ ความเป็นสิริมงคล ถ้ายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ตายไปก็จะไปสู่สุคติ การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี


55
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2563 11:22:45 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 มีนาคม 2563 10:22:10 »




กัณฑ์ที่ ๔๑
บารมี ๑๐
กุมภาพันธ์๒๕๔๔

ทําไมคนเราเกิดมาในโลกนี้จึงมีความไม่เสมอภาคกัน มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน เช่นในเรื่องรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ สุขภาพร่างกาย อาการ ๓๒ สติปัญญา ความรู้ ความฉลาด มีความแตกต่างกันในเรื่องอายุ บางคนเกิดมาอยู่ได้ไม่กี่เดือนกี่ปี ก็ต้องถึงแก่กรรมไป ไม่สามารถประคับประคองชีวิตให้อยู่ไปได้ยาวนานจนกระทั่งถึงวัยชรา มีความแตกต่างกันในด้านฐานะ บางคนได้เกิดในครอบครัวที่มีฐานะดี ได้เกิดเป็นโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นลูกของมหาเศรษฐี เป็นลูกของคนจน ความแตกต่างเหล่านี้ทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้ว่า เป็นผลที่เกิดจากการกระทําของแต่ละบุคคลในแต่ละภพละชาติในอดีตที่ยาวนานนับไม่ถ้วน ในแต่ละภพชาตินั้นได้สะสมเหตุที่ทําให้เกิดมามีฐานะความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน เหตุที่ได้สะสมกันมานี้เรียกว่าบุญบารมีถ้าได้สะสมบุญบารมีมามาก ภพชาติที่ตามมาก็จะดีขึ้นสูงขึ้นไปตามลําดับ ดังที่พวกเราได้เป็นอยู่ในขณะนี้ แสดงว่าได้สะสมบุญบารมีมาในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงระดับที่สูงสุดของมนุษย์ ระดับสูงสุดของมนุษย์ในทางโลกคือพระมหาจักรพรรดิ ในทางธรรมคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ทรงประสูติใหม่ๆ โหรหลวงได้เห็นลักษณะของพระพุทธองค์แล้วรู้ว่าพระพุทธองค์นั้นเป็นผู้มีบุญบารมีมาก จึงทํานายอนาคตของพระพุทธองค์ว่า ถ้าอยู่ในทางโลกจะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าออกบวชจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลายปีต่อมาพระพุทธองค์ทรงเลือกเดินทางธรรม ได้ทรงตัดสินพระทัยออกบวช เพราะทรงเห็นว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เป็นสิ่งที่ควรตัดให้ได้ ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ประสบความสําเร็จในวันเพ็ญเดือน ๖ ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ ๓๕ พรรษา ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยบุญบารมีที่พระพุทธองค์ได้ทรงสะสมมาหลายกัปหลายกัลป์ บุญบารมีที่พระพุทธองค์ได้ทรงสะสมไว้มีอยู่ ๑๐ ประการด้วยกัน คือ ๑.ทานบารมี ๒.ศีลบารมี ๓.เนกขัมมบารมี ๔.อธิษฐานบารมี ๕.สัจจบารมี ๖.วิริยะบารมี ๗.ขันติบารมี ๘.เมตตาบารมี ๙.ปัญญาบารมี ๑๐.อุเบกขาบารมี นี่คือบุญบารมีที่พระพุทธองค์ได้ทรงสะสมมาแต่ละภพแต่ละชาติในอดีตอันยาวนาน จนได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ้าปรารถนาความเจริญรุ่งเรือง ปรารถนาภพชาติที่ดี ได้เกิดเป็นคนรํ่ารวย มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม มีผิวพรรณผ่องใส มีสติปัญญาฉลาดแหลมคม มีอาการครบ ๓๒ มีอายุมั่นขวัญยืน มีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ เราควรสะสมบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ซึ่งเป็นเหตุที่จะทําให้สิ่งต่างๆ ที่ปรารถนาเกิดขึ้นมาได้ สิ่งที่ปรารถนาไม่ได้เกิดจากการนั่งอ้อนวอนขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่นขอให้เป็นอย่างนั้นขอให้เป็นอย่างนี้ นี่ไม่ใช่วิสัยที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้ได้สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทําทางกาย วาจา ใจ เท่านั้น ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ควรจะถามตัวเองว่าวันนี้ได้สร้างบุญบารมีหรือยัง ถ้ายังไม่ได้สร้างก็รีบสร้างเสีย อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง เพราะไม่มีใครทราบว่าจะมีโอกาสอยู่ในโลกนี้อีกนานเท่าไร และเมื่อตายจากภพนี้ไปแล้วเราก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกหรือเปล่า จึงไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาทควรที่จะรีบเร่งสะสมบุญบารมีให้มากๆ เพราะว่าบุญบารมีนั้นมีคุณทั้งในปัจจุบันและในอนาคต คือในชาตินี้ถ้าได้สะสมบุญบารมี ชีวิตจะมีแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง สุขกายสบายใจ พบแต่สิ่งที่เป็นสิริมงคล ตายไปก็ไปเกิดภพชาติที่ดีทุกวันทุกเวลาจึงควรตั้งสติเตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าวันหนึ่งๆขอให้ได้สร้างบุญบารมีอย่างต่อเนื่อง

๑.ทานบารมีคือการให้ มีอยู่ ๔ ชนิด ๑.วัตถุทาน คือการให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เช่นข้าวของเงินทอง อาหารคาวหวาน จตุปัจจัยไทยทาน จีวรเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ๒.วิทยาทาน คือการให้วิชาความรู้แก่ผู้อื่น ถ้าเป็นครูอาจารย์สอนหนังสือที่โรงเรียนแล้วได้รับเงินเดือน ไม่ถือว่าเป็นวิทยาทาน แต่ถ้าสอนโดยไม่เรียกค่าตอบแทนจึงจะถือว่าเป็นวิทยาทาน ๓.อภัยทาน คือการให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคืองบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้กับเรา ไม่อาฆาตพยาบาท ๔.ธรรมทาน คือการให้ธรรมะ ธรรมะคือพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า ความถูกต้องดีงาม คําสอนเกี่ยวกับ
เรื่องบาปบุญคุณโทษ เรื่องนรกสวรรค์ เช่นการพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นการให้ที่ชนะการให้ทั้งปวง เพราะเป็นการให้แสงสว่างแก่ชีวิต ทําให้ชีวิตที่มีแสงสว่างแห่งธรรมนําพาไป ดําเนินไปด้วยความราบรื่นดีงาม มีแต่ความสุข
ความเจริญ

๒.ศีลบารมีคือการละเว้นจากการกระทําบาป ด้วยการรักษาศีล มีศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ จะรักษามากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกําลังศรัทธาสติปัญญา ถ้ารักษาไม่ได้ทั้ง ๕ ข้อ รักษาได้ข้อเดียวก็ยังดีจะรักษาข้อหนึ่งข้อใดก่อนก็ได้ ศีล ๕ ประกอบไปด้วย ๑.ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ๒.ละเว้นจากการลักทรัพย์ ๓.ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ๔.ละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ ๕. ละเว้นจากการเสพสุรายาเมา รักษาเท่าที่จะรักษาได้ จากน้อยไปหามาก รักษาไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะเกิดความเคยชิน แล้วของยากก็จะกลายเป็นของง่าย

๓.เนกขัมมบารมีคือการออกจากกามสุข ความสุขจากกามคุณทั้ง  ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้รับจากการไปเที่ยวเตร่ดูหนังดูละคร แสงสีเสียง งานเลี้ยงงานสังคมเนื่องในโอกาสต่างๆ การบันเทิงชนิดต่างๆ เป็นการแสวงหาความสุขทางโลกีย์ สิ่งเหล่านี้พระพุทธองค์ทรงชี้บอกว่าเป็นเหมือนยาเสพติด ถ้าได้เสพสิ่งเหล่านี้แล้วจะติดอกติดใจ เวลาอยากแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการทุรนทุราย เกิดความหงุดหงิด เกิดความไม่สบายใจ เกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าละได้จะมีแต่ความสบายใจ อยู่เป็นสุข

พระพุทธองค์ทรงสอนให้หาความสุขที่มีอยู่ในตัวเรา เรียกว่า สันติสุข คือความสุขที่เกิดจากการทําจิตใจให้สงบ เช่นการไหว้พระสวดมนต์ นั่งทําสมาธิบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ ให้ใจรู้อยู่กับ พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก แล้วจิตใจจะค่อยๆ สงบลงจนกระทั่งสงบนิ่งเป็นสมาธิ เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิแล้ว จิตจะมีความสุข มีความอิ่ม มีปีติ มีความสุข เป็นความสุขที่เลิศกว่าความสุขที่ได้จากการไปเที่ยวเตร่ กินเหล้าเมายา ดูหนังดูละคร ซึ่งเป็นความสุขประเดี๋ยวประด๋าว ไม่ได้ให้ความอิ่มความพอกลับให้เกิดความอยากเพิ่มขึ้นมาอีก เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ทําให้ติด แต่ความสุขทางจิตใจเป็นความสุขที่มีอยู่ในตัวแล้ว เกิดจากความสงบของจิต เป็นความสุขที่เหนือความสุขทั้งหลาย ไม่ต้องเสียเงินเสียทอง อยู่ที่ไหนก็สามารถทําให้เกิดขึ้นได้การทําจิตให้เกิดความสงบเรียกว่าเนกขัมมบารมี เป็นการออกจากกามสุขสู่สันติสุข

๔.อธิษฐานบารมี การอธิษฐานไม่ได้หมายถึงการขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่หมายถึงการตั้งใจ เช่นญาติโยมตั้งใจไว้ว่าวันนี้จะมาทําบุญที่วัด นี่คืออธิษฐานการตั้งจิตตั้งใจ ถ้าไม่มีการตั้งใจแล้วชีวิตก็เปรียบเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ ลอยไปตามกระแสนํ้า ไปตามกระแสลม ไม่สามารถนําพาชีวิตไปสู่จุดหมายปลายทางที่ดีที่งามได้แต่ถ้ามีการอธิษฐานเช่นตั้งใจว่า ต่อไปนี้จะทําแต่คุณงามความดี จะสะสมแต่บุญบารมี นี่เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ให้กับชีวิต แล้วก็ดําเนินไปตามวิถีทางนั้น ผลที่ปรารถนาก็จะปรากฏขึ้นมา นี่คือความหมายของการอธิษฐาน คือการตั้งใจ

๕.สัจจบารมี คือความจริงใจ การเอาจริงเอาจัง ลองได้ตั้งใจไว้ว่าจะทําอะไรแล้วจะต้องทําให้ได้เช่นตั้งใจไว้ว่าพรุ่งนี้จะมาวัดก็ต้องมาให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตามยกเว้นเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ว่าพอมีเพื่อนฝูงชวนออกไปเที่ยวกลับบ้านดึกนอนตื่นสาย เลยไม่ได้มาวัดตามที่ได้ตั้งใจไว้ นี่เป็นเพราะไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจ แต่ถ้ามีสัจจะ เวลาตั้งใจจะทําอะไรก็ต้องทําให้ได้ นี่คือลักษณะของการมีสัจจบารมี เหมือนกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ในขณะที่นั่งบําเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้ พระองค์ได้ทรงตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ว่า ถ้าตราบใดที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธองค์จะไม่ลุกจากที่ประทับนั้นไปถึงแม้ร่างกายจะเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เลือดในกายจะเหือดแห้งไปก็ตาม ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสรู้ธรรมพระพุทธองค์จะไม่ลุกจากที่ประทับนั้นเป็นอันขาด นี่คือสัจจบารมี อธิษฐานบารมีและสัจจบารมีมักจะไปด้วยกัน ถ้ามีบารมีทั้ง ๒ นี้แล้ว ไม่ว่าจะทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะกลายเป็นของง่ายไปหมด เช่นอยากจะเลิกสูบบุหรี่เลิกเหล้า ถ้ามีสัจจะอธิษฐานแล้วจะสามารถเลิกได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจ เวลาตั้งจิตอธิษฐานตอนขึ้นปีใหม่ว่าปีนี้จะทําแต่สิ่งที่ดี เช่นไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวเตร่ แต่ทําไปได้เพียงวันสองวัน อาทิตย์สองอาทิตย์ หรือเดือนสองเดือน แล้วก็จะกลับไปประพฤติตามแบบเดิมๆ เป็นเพราะขาดอธิษฐานบารมีและสัจจบารมีนั่นเอง

๖.วิริยะบารมี คือความขยันหมั่นเพียร หลังจากที่ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้แล้วสิ่งที่จะต้องทําต่อไปก็คือความพากเพียรบากบั่น กระทําในกิจที่ได้ตั้งใจเอาไว้ เช่นตั้งใจจะมาวัดในวันนี้ก็ต้องมาให้ได้ ฝนจะตก แดดจะออก จะมืดฟ้ามัวดิน จะเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างไร ถ้ายังลุกขึ้นมาได้ก็ต้องมาให้ได้ นี่คือความพากเพียร ผู้มีความพากเพียรย่อมประสบความสําเร็จในชีวิต ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสําเร็จย่อมอยู่ที่นั่น ปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใดถ้าไม่มีความขยันหมั่นเพียร มีแต่ความเกียจคร้าน จะไม่มีทางได้พบกับความสําเร็จในสิ่งนั้นๆ เลย

๗.ขันติบารมี คือความอดทน การทําความดีเหมือนกับการปีนขึ้นเขา ถ้าไม่มีความอดทนจะปีนขึ้นเขาไม่ไหว แต่ถ้ามีความอดทนก็จะสามารถขึ้นเขาได้อย่างสบาย การทําความดีถ้าไม่อดทนจะเกิดความท้อแท้ เช่นวันนี้เวลาตื่นนอนขึ้นมาเห็นว่าอากาศเย็นสบายดี สู้นอนต่อดีกว่าไม่อยากลุกขึ้นมาเพราะไม่มีความอดทน ถ้ามีความอดทน พอถึงเวลาก็จะลุกขึ้นมาเลย จะง่วงขนาดไหนก็ต้องฝืนมัน ถ้ามีบารมีทั้ง ๔ คือสัจจบารมี อธิษฐานบารมี ขันติบารมี วิระยะบารมี จะทําอะไรไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมย่อมประสบกับความสําเร็จอย่างแน่นอน

๘.เมตตาบารมี คือการมีไมตรีจิต ไม่เบียดเบียนกัน ไม่จองเวรจองกรรมกัน ให้อภัยกัน เพราะการอยู่ในโลกนี้จะต้องเจอกับคนหลากหลายชนิด มีความคิดความเห็น ความประพฤติที่แตกต่างกัน ย่อมมีการกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา ถ้าไม่มีเมตตาไว้ ควบคุมความโลภโกรธหลง ชีวิตจะมีแต่ความวุ่นวาย จะมีแต่เรื่องราวกับคนนั้นคนนี้ คนเราต่างมีความต้องการเหมือนๆกัน จึงเกิดการแก่งแย่งชิงดีกัน เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่ถ้ามีความเมตตาก็จะไม่ไปแก่งแย่งชิงดีกับใคร ใครต้องการอะไรก็ให้เขาไป ไม่สร้างศัตรูกับใคร ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ไม่มีเรื่องมีราวกับใคร ด้วยการไม่ไปเบียดเบียน ด้วยการให้อภัย ดังในบทเมตตาที่ว่า สัพเพ สัตตา อเวรา โหนตุขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรกันเถิด สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันเถิด สัพเพ สัตตา อนีฆา โหนตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลยเถิด สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุขรักษาตนเถิด นี่คือเมตตาบารมี

๙.ปัญญาบารมี คือความฉลาด ใช้เหตุใช้ผล ไม่ใช้อารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุมีผลเวลามีใครมาทําให้ไม่สบายใจ ต้องใช้เหตุใช้ผลถามว่าเราไปห้ามเขาได้หรือเปล่า เราไปบังคับเขาได้หรือเปล่า สิ่งต่างๆที่เขาทําไปนั้นเราห้ามเขาไม่ได้หรอก แต่สิ่งที่เราห้ามได้ก็คือจิตใจของเราเอง เวลาโกรธใจของเราจะมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความไม่สบายใจ ถ้าปล่อยเขาไปตามเรื่องของเขา เราก็จะสบายใจ สิ่งที่เราห้ามได้ก็คือใจเรา ห้ามความโกรธได้เราก็สบายใจ นี่คือปัญญา การใช้เหตุผลแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี

๑๐.อุเบกขาบารมี คือการวางเฉย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้อยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนเราเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย จะรักกันขนาดไหนก็ตาม เมื่อถึงเวลาต้องพลัดพรากจากกัน ก็ต้องจากกัน ถึงเวลาแก่ก็ต้องแก่ ถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่มีใครบังคับได้ จะรักกันขนาดไหนก็ไม่สามารถห้ามสิ่งเหล่านี้ได้พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มีอุเบกขา ให้วางเฉย ปล่อยวาง ให้ยอมรับตามสภาพความเป็นจริง ใช้ปัญญาพิจารณาตามเหตุตามผล ให้เห็นสภาพของโลกนี้ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆ เรา ถ้ารู้จักปล่อยวาง รู้จักปลง จะไม่มีความทุกข์ แต่ถ้าไม่รู้จักปล่อยวาง มีแต่อุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ก็จะมีแต่ความทุกข์ เช่นอยากจะรวย แต่ไม่รวย จะทําอย่างไร ถ้าไม่ยอมรับความจริงว่าจน ก็จะมีแต่ความทุกข์แต่ถ้ายอมรับความจริง ถือว่ายาก ดี มี จน เป็นเรื่องธรรมดา รวยได้ก็จนได้จนได้ก็รวยได้ ก็ยังมีความสุขได้ ถ้าคิดอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ มีอุเบกขา ถ้ามีอุเบกขาก็จะมีแต่ความสบายใจ ไม่มีความทุกข์ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดก็สามารถรับได้ เช่นพรุ่งนี้ต้องไปเข้าคุกเข้าตะรางก็ไม่เป็นไร อยู่ในคุกก็ได้อยู่ในคุกก็มีข้าวฟรีกิน ไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้าน มองอย่างนี้ก็มีความสุข แต่ถ้ามองว่าไม่ได้นะ อยู่ในคุกในตะรางไม่ได้ จะเป็นจะตายเอา ก็เท่ากับไปสร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ การที่จะมีอุเบกขาได้ต้องมีปัญญา คือยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ชีวิตเป็นอย่างไร ก็ยอมรับแต่ไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะต้องเป็นอย่างนี้ไปตลอด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่ว่าดีหรือชั่ว จงพยายามทําความดีด้วยการสะสมบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เอาไว้เถิด แล้วบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้แหละจะช่วยพาให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดแก่เจ็บตายอีกต่อไป การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี.


61
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.132 Chrome 80.0.3987.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 19 มีนาคม 2563 15:43:35 »




กัณฑ์ที่ ๔๒
มาฆบูชา
๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา ความหมายของคํามาฆบูชาคือการบูชาเนื่องในวันมาฆะ มาฆะเป็นชื่อเดือนในสมัยพุทธกาล อย่างในสมัยปัจจุบันนี้เราเรียกชื่อเดือนต่างๆว่า มกราคมกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน แต่ในสมัยพุทธกาลเรียกอีกอย่างหนึ่ง เช่นเดือน ๓ เรียกว่า มาฆะ เดือน ๖ วิสาขะ เดือน ๘ อาสาฬหะ นี่เป็นชื่อของเดือนในสมัยพุทธกาลเรียกกันมาอย่างนี้ ในสมัยพุทธกาลได้มีเหตุการณ์อันมหัศจรรย์ปรากฏขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๓ วันมาฆปุณมี มีพระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูป เป็นผู้สิ้นกิเลสแล้วทั้งหมด เป็นผู้ที่ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นผู้ที่ได้บรรลุถึงพระนิพพานแล้ว ได้มาประชุมกันเพื่อจะเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยที่ไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน เป็นพระที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บวชให้ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา จงมาเป็นภิกษุเถิด

ในบ่ายวันนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระโอวาทเรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ แก่พระอรหันต์ทั้ง ๑๒๕๐ รูป เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ได้มาตรัสรู้ในโลกนี้จะสอนเหมือนๆกันคือ ๑.สัพพปาปัสส อกรณัง การไม่กระทําบาปทั้งปวง ๒.กุสลัสสูปสัมปทา การทําความดีให้ถึงพร้อม ๓.สจิตตปริโยทปนัง การชําระจิตใจให้สะอาดหมดจด ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เอตังพุทธานสาสนังนี่คือคําสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์จึงสอนอย่างนี้ เพราะนี่คือเหตุที่จะนํามาซึ่งความสุข

ความเจริญอย่างแท้จริงวามเจริญรุ่งเรืองที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ความเจริญของวัตถุ ไม่ได้อยู่ที่ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง รถรา ข้าวของทั้งหลายว่ามีมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเครื่องวัดความเจริญ ความสุขความทุกข์ที่มีอยู่ในจิตใจต่างหากที่เป็นเครื่องวัดความเจริญและความเสื่อม ถ้าจิตใจมีความสงบ มีความเย็น มีความสุข มีความสบาย นี่แหละคือความเจริญ แต่ถ้าจิตใจไม่สงบ ไม่มีความเย็น ไม่มีความสุข ไม่มีความสบาย จิตใจจะมีแต่ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเหตุของการเบียดเบียนกัน อย่างที่ได้ยินได้ฟังตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์วิทยุโทรทัศน์มีการฆ่ากัน มีการข่มขืนกัน มีการทําร้ายกัน มีการโกงกัน นี่ไม่ใช่ความเจริญ ถึงแม้จะมีวัตถุข้าวของมากมาย มีตึกรามบ้านช่องที่สูงๆ มีรถรามากมายก็ตาม แต่สังคมไม่มีความสงบสุขเพราะจิตใจของคนที่อยู่ในสังคมนั้นมีความเสื่อม ด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อมีความโลก ความโกรธ ความหลงมากๆ ก็จะนําไปสู่การกระทําผิดศีลธรรม เบียดเบียนต่อกันและกัน สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่สังคม

จึงอย่าหลงประเด็นโดยคิดว่าความเจริญอยู่ที่วัตถุข้าวของเงินทอง เพราะวัตถุข้าวของเงินทองเมื่อมีเกินความจําเป็นแล้วไม่ได้ช่วยดับความทุกข์ในจิตใจเลย เพราะเหตุของความทุกข์เกิดจากความโลภโกรธหลง ถ้าอยากจะมีความสุขใจ ไม่มีความทุกข์ใจ ก็ต้องยึดแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ คือละการทําบาปทั้งปวง ทําความดีทั้งหลายให้ถึงพร้อม และชําระจิตใจให้สะอาดหมดจด ชําระกิเลสในจิตใจให้หมดไป ถ้าทําได้ความสุขความเจริญรุ่งเรืองจะเป็นผลตามมาอย่างแน่นอน ดังที่พระพุทธองค์ และพระอรหันต์สาวกทั้งหลายได้ปฏิบัติกัน ท่านมีแต่ความสุขความเจริญในจิตใจ ท่านจึงไม่มีความจําเป็นจะต้องมีข้าวของเงินทองอะไร เพราะข้าวของเงินทองไม่ได้สร้างความสุขให้แก่จิตใจเลย ความสุขที่แท้จริงเกิดจากความสงบของจิตใจ

ในวันมาฆบูชานี้ จึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ น้อมจิตน้อมใจมาที่วัดเพื่อทําพิธีบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา การบูชานี้พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้อยู่สองวิธีด้วยกัน คืออามิสบูชาและปฏิบัติบูชา อามิสบูชาคือการบูชาด้วยเครื่องสักการะ เช่นดอกไม้ธูปเทียน ดังที่ท่านได้มากระทํากันในศาลาแห่งนี้ ด้วยการกราบพระ จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ เรียกว่าอามิสบูชา เป็นการบูชาอย่างหนึ่ง การบูชาที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นการบูชาที่เลิศที่ประเสริฐ เป็นการบูชาที่จะนําความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตจิตใจ คือการบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในธรรม เรียกว่าปฏิบัติบูชา

ปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่าปฏิบัติบูชา ก็คือการปฏิบัติตามพระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์นั่นเอง มีสามหัวข้อใหญ่ๆ คือ ๑.ละบาปทั้งปวง  ๒. ทําความดีทั้งหลายให้ถึงพร้อม ๓.ทําจิตใจให้สะอาด ถ้าทําตามคําสอนนี้ ถือว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ถือว่าได้นําความสิริมงคลให้แก่ชีวิต ธรรมที่ระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และได้นํามาสอนนี่แหละคือเคล็ดลับของความสุขของชีวิต อย่ามัวไปติดอยู่กับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เพราะสิ่งเหล่านี้พระพุทธองค์ทรงสอนว่าไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เป็นความทุกข์ เพราะลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนี้จะต้องมีการเสื่อม มีการหมดไป มีการสูญสลายไป โดยธรรมชาติแล้วเป็นของไม่เที่ยง เป็นของที่ไม่ใช่ของของเราอย่างแท้จริง สักวันหนึ่งจะต้องหมดไป แต่สิ่งที่เป็นสมบัติที่แท้จริงของเรา ที่อยู่กับเราไปตลอด ก็คือความสงบสุขที่เกิดจากคุณงามความดีที่เราได้สร้างไว้ภายในจิตใจ ความสงบสุขที่เกิดจากการชําระความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละ จะเป็นสิ่งที่อยู่กับเราไปตลอด อนันตกาล

ถ้าชําระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในจิตใจให้หมดสิ้นไปแล้ว ก็จะบรรลุถึงพระนิพพานคุณลักษณะของพระนิพพานนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้สองนัย คือ นิพพานัง ปรมัง สุขัง และ นิพพานัง ปรมัง สุญญัง สุดยอดของความสุขคือพระนิพพาน สุดยอดของความว่างก็คือพระนิพพาน คําว่าว่างนี้หมายถึงว่างจากความทุกข์ ว่างจากความเศร้าโศกเสียใจ ว่างจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ว่างจากกิเลสตัณหาทั้งหลายนั่นเอง ถ้าปรารถนาความสุขความเจริญ ความเป็นสิริมงคล ก็ขอให้น้อมเอาพระธรรมคําสอนที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ใน วันมาฆปุณมีเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วมาปฏิบัติ คือให้ละบาปทั้งหลายเสีย ให้ทําความดีทั้งหลายให้ถึงพร้อม และชําระจิตใจให้สะอาดหมดจดเมื่อได้กระทําสิ่งเหล่านี้แล้ว ถือว่าได้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ให้ความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้


64
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 เมษายน 2563 10:43:19 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.163 Chrome 80.0.3987.163


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 10 เมษายน 2563 11:09:43 »




กัณฑ์ที่ ๔๓
การทําพระนิพพานให้แจ้ง
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

มีธรรมอยู่บทหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนใช้สวดเป็นประจําทุกๆวันคือ เราทั้งหลายมีกรรม  เป็นของๆ ตน จะทํากรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นกรรมนี้ก็ หมายถึงการกระทําทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีการกระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาหลับ เวลาหลับแม้จะไม่ได้พูดไม่ได้ขยับตัวแต่ก็ยังฝันได้ใจยังทํางานอยู่ การทํางานของใจเรียกว่ามโนกรรม การทํางานของกายเรียกว่ากายกรรม ทํางานของวาจา เรียกว่าวจีกรรม กรรมนี้ทําได้สามทางด้วยกัน ทําดีเรียกว่ากุศล ทําชั่วเรียกว่าอกุศล ทํา ไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่าอัพยกฤต นี่คือกรรมที่ทํากันอย่างต่อเนื่องทุกๆวัน ทุกๆเวลา ทางกาย วาจา ใจ เมื่อทําไปแล้วก็มีวิบาก คือผลของกรรมตามมา ทําดีก็มีความสุขใจ ตายไปก็ไปสวรรค์ทําชั่วก็มีความทุกข์ใจ ตายไปก็ไปนรก นี่คือวิบากผลของกรรม

กรรมดีหมายถึงการกระทําทาง กาย วาจา ใจ ที่เป็นประโยชน์ปราศจากโทษ กับตัวเราก็ ดีกับผู้อื่นก็ดีหรือทั้งกับตัวเราและผู้อื่นก็ดีเรียกว่า กรรมดี เป็นบุญ เป็นกุศล กรรม ชั่วหมายถึงการกระทําทาง กาย วาจา ใจ ที่เป็นโทษปราศจากคุณ กับตัวเราก็ดี กับผู้อื่น ก็ดี หรือทั้งกับตัวเราและผู้อื่นก็ดี เรียกว่ากรรมชั่ว เป็นบาป เป็นอกุศล วิบากคือผลที่ ตามมา มีสุข มีทุกข์ มากน้อยสลับกันไป ดังที่กําลังสัมผัสกันอยู่ ไม่เท่าเทียมกัน เพราะ ต่างกรรม ต่างวาระกัน บางวันตื่นขึ้นมามีความรู้สึกสดชื่นเบิกบาน มีความสุขมีความ สบายใจ แต่บางวันตื่นขึ้นมากลับมีความหงุดหงิดใจ มีความไม่สบายใจ นี่คือวิบากผล ของกรรมที่กระทํามาในอดีต จะเป็นเมื่อคืนนี้ เมื่อวานนี้ อาทิตย์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือ ปีที่แล้ว ก็สุดแท้แต่ การกระทําทั้งหมดนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ผู้กระทํากรรม จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม ไม่ช้าก็เร็ว

กรรมที่มีโทษมากที่สุด เป็นบาปมากที่สุด เรียกว่าอนันตริยกรรมมีอยู่ ๕ ชนิดคือ ๑.มาตุฆาต การฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาตการฆ่าบิดา ๓.อรหันตฆาต การฆ่าพระ อรหันต์ ๔.โลหิตุปบาท การกระทําให้พระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕.สังฆเภท การ ทําให้สงฆ์แตกแยก แตกความสามัคคี อนันตริยกรรมทั้ง ๕ นี้ เป็นกรรมหนัก เพราะบุคคลที่ถูกกระทําเป็นบุคคลที่มีคุณมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงกับผู้กระทํา เช่นบิดา มารดามีพระคุณกับลูกมาก เป็นผู้ให้กําเนิดและเป็นผู้เลี้ยงดูลูก ที่ลูกเกิดมาอยู่ในโลกได้ ทุกวันนี้ก็เพราะมีบิดามารดาเป็นผู้ให้กําเนิด เป็นผู้ให้การเลี้ยงดู พระคุณของท่านมีมาก จนลูกไม่สามารถจะชดใช้ได้หมด ต่อให้เลี้ยงดูท่านอย่างดีตลอดอายุขัยของท่าน พระคุณของท่านก็ชดใช้ไม่หมด การฆ่าบิดามารดาจึงเป็นกรรมหนัก เป็นอนันตริยกรรม ต้องไปชดใช้กรรมในนรกเป็นเวลาอันยาวนาน

โทษของการฆ่ามนุษย์มีไม่เท่ากัน ฆ่าคนอื่นโทษไม่หนักเท่ากับการฆ่าบิดามารดา เพราะ คนอื่นไม่มีบุญคุณเหมือนบิดามารดา โทษจะหนักไม่หนักขึ้นอยู่กับบุคคลที่ถูกทําร้าย ว่า บุคคลคนนั้นมีพระคุณกับผู้กระทํามากน้อยเพียงใด ถ้ามีพระคุณมากโทษก็มาก อย่าง พระพุทธเจ้าไม่ต้องไปฆ่าท่าน เพียงแต่ทําให้ท่านห้อพระโลหิตก็เป็นอนันตริยกรรมแล้ว เท่ากับฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทําให้สงฆ์แตกแยก เพราะพระพุทธเจ้ามีพระคุณ อย่างใหญ่หลวงกับสัตว์โลกทั้งปวง นี่คือสิ่งที่ควรศึกษาสําเหนียกไว้ให้ดี ตั้งสติไว้ให้มั่น อย่าให้อารมณ์ที่ไม่ดีมาฉุดกระชากลากให้ไปกระทําอนันตริยกรรมทั้ง ๕ นี้ เพราะเมื่อกระทําไปแล้วไฟนรกจะเผาจิตใจไปอีกนานแสนนาน

แล้วการทําบุญอันใดเล่าที่ได้บุญมากได้กุศลมาก มีการถามกันอยู่เสมอว่าทําบุญอะไรถึงจะได้บุญมาก ถึงจะได้กุศลมาก ถ้าศึกษาในพระมงคลสูตร จะเห็นว่า นิพพานสัจฉ กิริยา จ เอตัมมังคลมุตตมัง การทําพระนิพพานให้แจ้ง เป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะการทําพระนิพพานให้แจ้งหมายถึงการชําระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความโลภ ความ โกรธ ความหลง เมื่อจิตบริสุทธิ์ แล้วก็ไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไป เมื่อไม่เกิดก็ไม่ทุกข์เพราะ ทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิด ผู้ไม่เกิดย่อมไม่มีทุกข์กับความ แก่ เจ็บ ตาย ตราบใดที่ยังต้องกลับมาเกิดอีก ไม่ว่าจะเป็นภพของเทวดาอินทร์พรหมที่มีความสุขมากมายขนาดไหนก็ตาม แต่เป็นความสุขที่ไม่จิรังยั่งยืน ต้องเสื่อมไปตามกาลเวลา เมื่อหมดไปก็ต้องกลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์เดรัจฉานอีก แล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอีก การกระทําพระนิพพานให้แจ้งจึงเป็นการทําบุญที่ได้บุญมากที่สุด

ทําอย่างไรจึงจะทําพระนิพพานให้แจ้งได้ การจะทําพระนิพพานให้แจ้งได้ต้องละอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ เบญจขันธ์คืออะไร คือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปคือร่างกาย เวทนาคือความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี สัญญาคือการจําได้หมายรู้ เช่นจําได้ว่าเมื่อวานนี้ไปทําอะไรมา จําได้ว่าคนนั้นชื่ออะไร จําได้ว่ารูปร่างอย่างนี้เป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย สังขารในที่นี้ไม่ได้หมายถึงร่างกาย แต่หมายถึงความคิดปรุงแต่งของจิตใจ ก่อนจะทําอะไรลงไปทางกายหรือทางวาจา สังขารต้องคิดปรุงก่อน คิดไปในทางที่ดีก็มีความสุข เป็นบุญเป็นกุศล เป็นมรรค เครื่องดับทุกข์อย่างวันนี้คิดว่าจะมาวัดเพื่อที่จะมาทําบุญ มาฟังเทศน์ เป็นบุญเป็นกุศล เพราะทําแล้วใจมีความสุข ถ้าคิดไปในทางชั่ว เช่นไปยิงนกตกปลา ไปเล่นการพนัน ไปกินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดปัญหาต่างๆตามมา เวลาเมาแล้วขับรถก็เกิด อุบัติเหตุทําให้เสียชีวิตหรือร่างกายพิกลพิการ เป็นบาปเป็นกรรม เป็นสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์

วิญญาณในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิญญาณที่ออกจากร่างกายไป ร่างกายเมื่อตายไปแล้ว จิตจะออกจากร่างไปเรียกว่าดวงวิญญาณ ส่วนวิญญาณในขันธ์ ๕ นี้หมายถึงการรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่มาสัมผัสกับตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วมีการรับรู้ที่ใจ เช่น เวลามีรูปมาสัมผัสกับตา จักษุวิญญาณก็จะรับรู้รูปนั้น แล้วสัญญาก็แปลความหมายว่า รูปที่ได้เห็นนั้นเป็นรูปใคร เป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นพ่อ หรือเป็นแม่ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าชอบรูปนั้นก็เกิดสุขเวทนา สังขารก็จะปรุงอยากอยู่กับรูปนั้นไปนานๆ ถ้าไม่ชอบ รูปนั้นก็เกิดทุกขเวทนา สังขารก็จะปรุงอยากหนีให้ไกลจากรูปนั้น

นี่คือการทํางานของขันธ์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่ไม่มีตัวตน เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่เที่ยง ถ้าไปยึดไปติดก็เป็นทุกข์เช่นร่างกายเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องสลายกลับไปสู่ธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เกิดๆ ดับๆอยู่ทุกขณะ เวทนาเปลี่ยนไปเรื่อย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวไม่สุขไม่ทุกข์ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดให้ดับ เวลาได้ยินเสียงพูด สรรเสริญเยินยอก็เกิดความสุขขึ้นมา พอเป็นเสียงนินทาว่ากล่าวตําหนิติเตียนก็เกิด ความทุกข์ขึ้นมา เกิดแล้วก็ดับไป สลับกันไปสลับกันมา เป็นเหมือนกับหิ่งห้อย เคยเห็นแสงหิ่งห้อยในเวลากลางคืนไหม แสงหิ่งห้อยมันจะติดๆดับๆ สลับกันไป นามขันธ์ทั้ง ๔ ก็เหมือนกันเกิดๆดับๆ เวทนา สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็สลับกันไป สัญญาจําได้หมายรู้ ในเรื่องนี้ ในเรื่องนั้นสลับกันไปเรื่อยๆ วิญญาณก็รับรู้รูปแล้วก็ดับไป รับรู้เสียงแล้วก็ดับ ไป รับรู้กลิ่นแล้วก็ดับไป รับรู้รสแล้วก็ดับไป รับรู้ ร้อน เย็น อ่อน แข็ง ที่มาสัมผัสแล้วก็ดับไป

สิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นสภาวธรรม ไม่มีตัวตน เวลาสุขก็ไม่ใช่เราสุข เวลาทุกข์ก็ไม่ใช่เราทุกข์ แต่เป็นสักแต่ว่าสุข สักแต่ว่าทุกข์ เป็นธรรมชาติพระพุทธองค์ทรง สอนไม่ให้ไปหลงไปยึดไปติดว่าเป็นเรา เป็นของๆเรา แต่เป็นอนัตตา สัพเพธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เหมือนแดด ลม ฝน ฟ้า มีตัวตนในแดด ในลม ในฝน ในฟ้าหรือเปล่า มีตัวตนในต้นเทียน ในแสงเทียนหรือเปล่า ฉันใดขันธ์ ๕ ก็ฉันนั้น ต้นเทียนเปรียบเหมือนรูปขันธ์ ส่วนแสงเทียนเปรียบเหมือนนามขันธ์ทั้ง ๔ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสภาวธรรม มีเหตุมีปัจจัยที่ทําให้เป็นไป เมื่อเหตุปัจจัยหมดไปก็สลายไป เหมือนกับต้นเทียนเมื่อจุดแล้วไฟย่อมกลืนต้นเทียนนั้นไปจนหมด แสงเทียนกับความร้อนก็หมดไปด้วยกัน

เมื่อร่างกายนี้แตกดับสลายไป ใจก็จะไปปฏิสนธิไปเกิดใหม่ จะสูงจะตํ่า ขึ้นอยู่ที่กรรม เพราะมีกรรมเป็นของของตน จะทํากรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลของกรรมนั้น เมื่อถึงเวลากรรมก็คิดบัญชีเหมือนกับเปิดบัญชีไว้ในธนาคาร มีทั้งเงินฝากและ เงินกู้เมื่อถึงเวลาก็ต้องคิดบัญชีกัน เวลาตายไปเป็นเวลาปิดบัญชี บวก ลบ คูณ หาร แล้ว ก็ส่งไปเกิดยังที่สูงที่ตํ่า อาจจะไปสวรรค์ อาจจะไปนรก อาจจะไปเป็นเทวดา อาจจะไปเป็นเดรัจฉาน อาจจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่กระทํากันไว้ พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่า ถ้าอยากจะสร้างความสุขให้กับตัวเองก็จงพยายามละอุปาทานในขันธ์ห้าเสีย ละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าไปยึด อย่าไปติด พยายามมองขันธ์ห้าให้เหมือนกับต้นเทียน เวลากราบพระให้คิดว่าร่างกายธาตุขันธ์นี้เปรียบเหมือนกับต้นเทียนต้นหนึ่ง มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วในที่สุดก็ดับไป ถ้าปล่อยวางจิตก็จะสบาย จิตก็จะสงบ จิตก็จะเย็น

ยกตัวอย่างเรื่องการปล่อยวางให้ฟังเรื่องหนึ่ง มีพระสองรูป รูปหนึ่งเป็นอาจารย์ เป็นหลวงพ่อ อีกรูปหนึ่งเป็นพระหนุ่ม ทั้งสองรูปกําลังจะเดินกลับวัดที่อยู่ในป่า จะต้องข้าม ลําห้วยอยู่ลําห้วยหนึ่ง ในขณะนั้นเป็นหน้าฝน ลําห้วยนั้นมีนํ้าไหลเชี่ยวกราก มีหญิงชราคนหนึ่งนั่งอยู่ข้างลําห้วย หลวงพ่อเลยถามว่าโยมนั่งทําอะไร โยมบอกว่าอยากจะข้ามลําห้วยกลับบ้าน แต่กระแสนํ้าไหลเชี่ยวเหลือเกินกลัวจะถูกนํ้าพัดจมนํ้าตาย หลวงพ่อก็เลยบอกว่าไม่เป็นไรหรอกเดี๋ยวหลวงพ่อจะช่วย เสร็จแล้วท่านก็ช่วยอุ้มหญิงชรานั้นขึ้นมา แล้วอุ้มพาข้ามลําห้วยนั้นไป เมื่อถึงฝั่งแล้วหลวงพ่อท่านก็วางหญิงชรานั้นลงแล้วหลวงพ่อกับพระหนุ่มก็เดินกลับวัดไป พระหนุ่มท่านศึกษาพระธรรมวินัยมาอย่างเคร่งครัด เกิดความวิตกห่วงใยขึ้นมาว่า หลวงพ่อทําไมถึงมาทําอย่างนี้ เพราะว่าพระวินัยได้ห้ามไม่ให้พระถูกตัวสีกา ไม่ให้สัมผัสตัวผู้หญิง ก็เลยมีความไม่สบายใจ พอกลับถึงวัดก็เลยถามหลวงพ่อว่าทําไมเมื่อกี้นี้หลวงพ่อถึงไปอุ้มผู้หญิงคนนั้นผิดพระวินัยมิใช่หรือ หลวงพ่อตอบว่าท่านยังแบกหญิงคนนั้นอยู่อีกหรือ เราปล่อยวางเธอไว้ที่ลําห้วยตั้งนานแล้ว ท่านยังแบกเธออยู่อีกหรือ นี่คือเรื่องของการปล่อยวาง เรื่องมันเกิดตั้งแต่เมื่อเช้านี้แล้วยังจะมานั่งบ่นหาอะไรอยู่ อย่างเมื่อเช้ามีคนมาพูดว่าวันนี้หน้าตาไม่สวยเลย ก็มาคิดว่าไปแต่งหน้าดีไหม ไปอาบนํ้าดีไหม หรือคิดไปร้อยแปด นี่แหละคือการหาความทุกข์ให้กับตัวเอง คิดไปแล้วก็ไม่มี ความสุขไม่มีความสบายใจ เพราะว่าไปยึดติดกับสังขารความคิดปรุงแต่ง ทั้งๆที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโมสุโข สังขารทังหลายเป็นของไม่เที่ยงหนอ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป การปล่อยวางสังขารเป็นสุขอย่างยิ่งหนอ สังขารในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสังขารร่างกาย แต่หมายถึงสังขารความคิดปรุงแต่ง

อดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอน การปล่อยวางก็คือการรู้เท่าอดีต รู้ทันอนาคต ปัจจุบันก็ไม่ยึดไม่ติด ให้ขันธ์ห้าเป็นไปตามสภาพของเขา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เมื่อถึงเวลาก็ต้องแยกสลายไป ดินกลับคืนสู่ดิน นํ้ากลับคืนสู่นํ้า ลมกลับคืนสู่ลม ไฟกลับคืนสู่ไฟ การปล่อยวางต้องปล่อยวางด้วยปัญญา ต้องรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ต้องรู้ว่าสิ่งไหนอยู่ในวิสัย สิ่งไหนไม่ได้อยู่ในวิสัย สิ่งไหนไม่อยู่ในวิสัย ก็ต้องปล่อยวาง เพราะทําอะไรไม่ได้ แต่สิ่งไหนอยู่ในวิสัย ทําได้ก็ทําไป แก้ได้ก็แก้ไป ไม่ใช่ปล่อยวางทั้งหมด อย่างกุฏิรั่ว หลังคารั่ว ก็ปล่อยวาง ปล่อยให้นํ้าหยดท่วมบ้าน ไม่คิดจะทําอะไร ปล่อยวางเกินไป เป็นความเกียจคร้านเสียมากกว่า ต้องมีเหตุมีผลกับการปล่อยวาง

การทําพระนิพพานให้แจ้ง คือการทําให้จิตใจมีความสุข ปราศจากความทุกข์ด้วยการตัด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัดอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ภายในจิตใจ จะทําได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรมคําสอน แล้วนํามาประพฤติปฏิบัติด้วpศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิปัญญา เครื่องมือที่ทําพระนิพพานให้แจ้ง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้

70
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.138 Chrome 81.0.4044.138


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2563 14:07:42 »




กัณฑ์ที่ ๔๔
พุทธคุณ
๑๗ กุมภาพันธ์๒๕๔๔

ประเพณีอันดีงามที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกครั้งเมื่อมาวัด คือการไหว้พระด้วยการจุดธูปเทียน แล้วก็กราบสามครั้ง เป็นการนําความเป็นสิริมงคลมาให้กับชีวิต ดังในพระบาลีที่แสดงไว้ว่า ปูชา จ ปูชนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง การได้บูชาบุคคลสมควรแก่การบูชา เป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง บุคคลที่ควรแก่การบูชาก็คือพระพุทธเจ้า การบูชาพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้อยู่สองลักษณะด้วยกัน คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา อามิส บูชาคือการบูชาด้วยเครื่องสักการบูชา ด้วยดอกไม้ธูปเทียน ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ พระพุทธองค์ทรงยกย่องการปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาที่เลิศที่สุด

การบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติบูชา คือการเจริญพุทธานุสติ การระลึกถึงพระคุณ อันประเสริฐของพระพุทธเจ้า มีอยู่ ๙ ประการด้วยกัน การระลึกถึงพระพุทธคุณอย่างต่อเนื่อง จะทําให้จิตใจมีความยินดี มีความรัก มีความชอบ ที่จะคิดแต่สิ่งที่ดีที่งาม ที่จะทําแต่สิ่งที่ดีที่งามและจะพูดแต่สิ่งที่ดีที่งาม เมื่อคิดดี ทําดี พูดดี ผลที่จะตามมาย่อมเป็นความสุขความเจริญ เพราะเหตุและผลเป็นของต่อเนื่องกัน เป็นสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ เช่นแสงสว่างเกิดจากพระอาทิตย์ ถ้าไม่มีพระอาทิตย์ก็จะมีแต่ความมืด ฉันใด ความสุขความเจริญก็เป็นผลที่เกิดจากการคิดดี พูดดี ทําดี ทุกๆครั้งที่กราบพระจึงควร เจริญพุทธานุสติคือพระพุทธคุณอันประเสริฐทั้ง ๙ ประการ คือ ๑.อรหัง พระอรหันต์ ผู้สิ้นกิเลส ๒.สัมมาสัมพุทโธ ผู้ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ๓.วิชชา จรณะ สัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ๔.สุคโต เป็นผู้ไปดีแล้ว ๕.โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก ๖ อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า ๗.สัตถา เทว มนุสสานัง เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ๘.พุทโธ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ๙.ภควา ผู้มีโชค

 ๑.อรหัง พระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลส คือผู้ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ในจิตใจ บรรลุถึงพระนิพพานแดนเกษมสันต์ เป็นปรมังสุขัง สุดยอดของความสุข คือพระนิพพาน ไม่ต้องมาเกิดอีกต่อไป เมื่อไม่เกิดก็ไม่มีการแก่ การเจ็บ การตาย ตราบใดยัง เกิดอยู่ ตราบนั้นก็ยังมีการแก่ การเจ็บ การตาย ตามมาเสมอ ผู้ไม่ปรารถนาความทุกข์ จึงต้องเป็นผู้ไม่เกิด เพราะว่าทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิดนั่นเอง ตราบใดที่ยังมีการเกิดอยู่ ตราบนั้นย่อมมีการแก่ การเจ็บ การตายตามมาเป็นธรรมดา เป็นเหมือนเงาตามตัว

 ๒.สัมมาสัมพุทโธ คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ธรรมบรรลุเป็นพระ อรหันต์ด้วยตนเอง ไม่มีครูบาอาจารย์คอยสั่งสอน เป็นผู้ศึกษาหาวิถีทางที่จะทําให้จิตใจสะอาดหมดจด ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยตนเอง ไม่มีใครสอน ไม่มีใครแนะวิธีเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระอรหันตสาวกคือผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ โดยอาศัยการสั่งสอนจากผู้อื่น คือจากพระพุทธเจ้าหรือจากพระธรรมคําสอน สาวก แปลว่าผู้ฟัง ผู้ได้ยินได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้า แล้วก็เอามาประพฤติปฏิบัติจนบรรลุเป็นพระอรหันต์

๓.วิชชา จรณะ สัมปันโน คือผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชาที่วิเศษที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะบรรลุได้ เช่น ๑.การระลึกชาติได้ ๒.รู้การเกิดการดับของสัตว์ทั้งหลาย ๓.รู้การสิ้นของอาสวะทั้งหลาย ๔.รู้จิตใจของผู้อื่น รู้ความคิดของผู้อื่น เช่นในขณะที่ญาติโยมกําลังคิดอะไรอยู่ บุคคลที่มีวิชาวิเศษนี้ก็จะอ่านความคิดของญาติโยมได้ ๕.ตาทิพย์ สามารถเห็นรูปทิพย์ต่างๆ เช่นบรรดาทวยเทพทั้งหลายที่คนธรรมดาสามัญมองไม่เห็น ๖.หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ที่คนธรรมดาสามัญไม่ได้ยินกัน คือเสียงของเทวดาทั้งหลาย ๗.รู้ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๘.อิทธิฤทธิ์ ดําดิน เหาะเหินเดินอากาศ จรณะคือ ความประพฤติที่ดีงาม มีศีล มีธรรม

๔.สุคโต เป็นผู้ไปดีแล้ว ไปที่ปลอดภัย ไปที่ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความแก่ ไม่มีความเจ็บ ไม่มีความตาย คือพระนิพพานนั่นเอง

๕.โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก คือผู้รู้โลกธรรม ๘ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เป็นธรรมที่สัตว์โลกทั้งหลายจะต้องประสบกัน ผู้รู้แจ้งโลกย่อมไม่ ยึดไม่ติดกับธรรมเหล่านี้ เพราะรู้ว่าธรรมเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง มีความเจริญกับความ เสื่อมควบคู่กันไป พวกที่ยังไม่รู้แจ้งโลก ย่อมหลงติดอยู่กับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เมื่อเกิดการเสื่อมลาภ เสื่อมยศ มีนินทา มีทุกข์ตามมา ย่อมทําใจไม่ได้ เมื่อทําใจไม่ได้ก็มีความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ผู้รู้แจ้งในโลกธรรม ๘ ย่อมไม่ยึดไม่ติดในธรรมเหล่านี้ เมื่อไม่ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เวลาเกิดการเสื่อมลาภ เสื่อม ยศ นินทา ทุกข์ขึ้นมา ก็ไม่เดือดร้อน ไม่ทุกข์ ไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ ไม่เสียดายในสิ่งเหล่านี้ มีก็มีไป ไม่มีก็ไม่เดือดร้อน นี่คือลักษณะของผู้ที่รู้แจ้งในโลกนี้ เป็นโลกวิทู ไม่ยึดไม่ติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เมื่อไม่ยึด ไม่ติด ก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งเหล่านี้

๖.อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า พระพุทธองค์ทรง สามารถฝึกมหาโจรให้กลายเป็นพระอรหันต์ได้ เช่นองคุลิมาล เป็นมหาโจร ฆ่าคนให้ครบหนึ่งพันคนแล้วเอานิ้วมือของคนที่ถูกฆ่าตายมาร้อยเป็นพวงมาลัย เพราะอาจารย์สั่งสอนว่าถ้าอยากจะได้วิชาวิเศษ จะต้องฆ่าคนให้ครบ ๑๐๐๐ คน องคุลิมาลได้ฆ่าคนมาแล้ว ๙๙๙ คน ขาดอยู่เพียงคนเดียวก็จะได้วิชาวิเศษจากอาจารย์เมื่อมาพบพระพุทธองค์ก็เลยพยายามจะฆ่าให้ได้ แต่พยายามไล่พระพุทธองค์เท่าไรก็ไล่ไม่ทัน ยิ่งวิ่งเร็วขนาดไหนพระพุทธเจ้าก็วิ่งเร็วกว่า องคุลิมาลวิ่งไล่ตามไม่ทันจึงร้องให้พระพุทธองค์ให้ทรงหยุดเถิด ข้าพเจ้าตามท่านไม่ทัน พระพุทธองค์ทรงตอบองคุลิมาลว่าเราได้หยุดแล้ว เธอต่างหากที่ยังไม่ได้หยุด องคุลิมาลก็แปลกใจ จึงทูลถามพระพุทธองค์ว่าได้หยุดอย่างไร ข้าพเจ้าพยายามวิ่งตามพระพุทธองค์แทบเป็นแทบตายก็ยังวิ่งตามไม่ทัน พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบไปว่า เราได้หยุดแล้วจากความโลภ ความโกรธ ความหลง พอพระพุทธองค์ทรงตรัสอย่างนี้ องคุลิมาลก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกตัวขึ้นมาว่าตัวเองกําลังหลง เพราะการที่จะเป็นผู้วิเศษนั้นไม่ได้เกิดจากการฆ่าฟันกัน การฆ่าฟันกันไม่ใช่บุญไม่ใช่ กุศล เมื่อได้ฟังว่าพระพุทธองค์ทรงหยุดแล้ว จากความโลภ ความโกรธ ความหลง องคุลิมาลจึงได้สติ ก็เลยขอพระพุทธเจ้าบวชเป็นพระ หลังจากนั้นไม่นาน ได้ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้สิ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่คือการเป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า

๗.สัตถา เทวมนุสสานัง เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงสามารถสั่งสอนได้ทั้งมนุษย์และเทวดา เพราะพระพุทธองค์นอกจากจะมีหูตาธรรมดาแล้ว พระพุทธองค์ยังมีหูทิพย์ ตาทิพย์ สามารถติดต่อกับเทวดาพวกกายทิพย์ทั้งหลาย ได้ในพุทธกิจ ๕ กิจวัตรประจําวันของพระพุทธองค์ประกอบไปด้วย ๑.เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต ๒.ในเวลาเย็นจะทรงสั่งสอนศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย ๓.ในยามคํ่าจะทรงสอนพระภิกษุ ๔.ในยามดึกจะตอบปัญหาของเทวดา ๕.จวนสว่างจะทรงเล็งญาณดูว่าบุคคลใดสมควรแก่การสั่งสอนและการบรรลุธรรม ก็จะทรงเสด็จไปโปรดบุคคลนั้นต่อไป นี่คือความเป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่ง สําหรับพวกเราเองขนาดสอนมนุษย์ด้วยกันยังสอนไม่ได้เลย นับประสาอะไรกับการสอนเทวดา เลยทําให้คิดกันไปเองว่าเรื่องเทวดา เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเพื่อให้พระพุทธเจ้าดูเป็นผู้วิเศษเหนือมนุษย์ทั้งหลาย แต่เรื่องเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความจริงทั้งนั้น ไม่มีพระอรหันต์สาวกแม้แต่รูปเดียวที่จะปฏิเสธเรื่องราวเหล่านี้ ที่จะปฏิเสธว่าเทวดาไม่มีในโลกนี้นี่เป็นเรื่องของคนที่มีตาทิพย์หูทิพย์เท่านั้นจึงจะรู้ได้ คนที่ไม่มีตาทิพย์ หูทิพย์นั้นเปรียบเหมือนกับคนตาบอด คนตาบอดหรือคนหลับตาจะไปปฏิเสธสิ่งที่คนตาดีมองเห็นย่อมเป็นไปไม่ได้ทําอย่างไรก็ปฏิเสธไม่ได้ คนที่มีตาทิพย์ หูทิพย์เหมือนกับคนตาดีที่สามารถมองเห็นสิ่งที่คนตาบอดมองไม่เห็น คนตาบอดจะปฏิเสธว่าสิ่งที่คนตาดีเห็นนั้นไม่มี ย่อมไม่ใช่ฐานะ พูดไปก็ไร้ความหมาย คนตาดีย่อมเข้าใจ แล้วก็เกิดความสมเพชเวทนากับคนตาบอดนั้นที่ไปปฏิเสธสิ่งที่คนตาดีมองเห็น ฉันใดการที่ปุถุชนคนมีกิเลสอย่างเราอย่างท่านไปปฏิเสธในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นก็เท่ากับการอวดความโง่เขลาเบาปัญญาของเราเท่านั้นเอง จึงอย่าไปปฏิเสธในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นเป็นอันขาด ถ้ายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ อย่างน้อยที่สุดก็อยู่เฉยๆไว้จะดีกว่า แต่อย่าไปปฏิเสธ ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร อย่าไปลบหลู่ เพราะยังไม่รู้ไม่เห็น แต่อย่าไปปฏิเสธเป็นอันขาดเพราะจะปิดกั้นทางที่นําไปสู่ความเจริญ

๘.พุทโธ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตื่นจากอะไร ก็ตื่นจากความหลง ตื่นจากความมืดบอด ตื่นจากการเห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เช่นเห็นการโกหกกันเล็กๆน้อยๆ ว่าไม่เป็นไร การโกงกันเล็กๆน้อยๆ ก็ไม่เป็นไร การเสพสุรายาเมาก็ไม่เป็นไร การเล่นการพนันก็ไม่เป็นไร แล้วผลเป็นอย่างไร ก็มีแต่ความทุกข์ความเสื่อมเสียตามมา แต่ก็ทําสิ่งเหล่านี้กันเสมอมา ถ้าเป็นผู้ตื่นย่อมเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่ดีควรเลิกเสีย ย่อมตื่นจากความลุ่มหลง จากความเห็นผิดเป็นชอบ ย่อมเห็นกงจักรเป็นกงจักร เห็นดอกบัวเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นผิด เห็นชอบเป็นชอบ เห็นว่าการพูดปดมดเท็จ การเสพสุรายาเมา การเล่น การพนัน การเที่ยวเตร่กลางคํ่ากลางคืนไม่ดีควรละเว้น ถ้าต้องการความสุขที่แท้จริง

๙.ภควา ผู้มีโชค พระพุทธองค์เป็นผู้มีโชคเหมือนกับคนที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง ในสลากล้านฉบับจะมีฉบับเดียวที่จะถูกรางวัลที่หนึ่งได้ผู้ที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งจึง เป็นผู้มีโชคที่สุด ฉันใดผู้ที่สามารถปฏิบัติจนบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้ก็ฉันนั้น เป็นสิ่งที่ยากเย็นอย่างยิ่ง การปรากฎขึ้นของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์เป็นสิ่งที่ยากมาก ต้องใช้เวลายาวนานเป็นกัปเป็นกัลป์ในการบําเพ็ญบารมี ผู้ที่ได้สร้างบุญบารมีจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้จึงเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง

เช่นเดียวกับผู้ที่ได้พบพระพุทธเจ้า หรือพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นผู้มีโชคเช่นกัน เช่นพวกเราทั้งหลายถึงแม้พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วถึง ๒๕๐๐ กว่าปีก็ตาม แต่ศาสดาที่เป็นองค์แทนพระพุทธองค์นั้นยังมีอยู่ คือพระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว พระธรรมคําสอนที่ตรัสไว้ดีแล้วยังมีอยู่ ยังมีพระไตรปิฏก ยังมีพระธรรมคําสอน ยังมีพระอริยสงฆสาวกสั่งสอนพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ พวกเราจึงเป็นผู้ที่โชคดีเช่นกัน ที่ยังอยู่ในยุคที่มีคําสอนอยู่ ยังมีแสงสว่างอยู่ ยังสามารถพออาศัยแสงสว่างนี้พาเราไปสู่สุคติ ที่ดีที่งามได้ นี่คือพระคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ทุกครั้งที่กราบไหว้พระควรกราบพระด้วยอามิสบูชา คือจุดธูปเทียนและดอกไม้ถวายพระ แล้วก็ปฏิบัติบูชาคือเจริญ พุทธานุสติเจริญพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้คือ อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณะสัมปัน โน สุคโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภควา นี่คือพุทธคุณ ๙ ที่ควรระลึกในจิตใจ ควรเข้าใจความหมายด้วย จะทําให้มีความรัก มีความยินดีในพระพุทธองค์ ในการประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธองค์ เอาพระพุทธองค์เป็นเยี่ยงอย่าง จะคิดแต่สิ่งที่ดี จะพูดแต่สิ่งที่ดี และจะทําแต่สิ่งที่ดีถ้าคิดดี พูดดี ทําดีแล้ว ผลคือความสุขความเจริญย่อมตามมาอย่างแน่นอน ดังพระบาลีได้แสดงไว้ว่า ปูชา จ ปู ชนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง การได้บูชาบุคคลสมควรแก่การบูชา เป็นมงคลอย่างยิ่ง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.138 Chrome 81.0.4044.138


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2563 13:56:12 »




กัณฑ์ที่ ๔๕
บัณฑิต กับ คนพาล
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

มนุษย์ทุกๆคนที่เกิดมาในโลกนี้ ย่อมมีความปรารถนาที่คล้ายๆกัน คือปรารถนาที่จะประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง ไม่มีใครปรารถนาที่จะพบกับความทุกข์ ความ
ยาก ความลําบาก ความเสื่อมเสีย สิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายปรารถนานั้น ทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้ว่าเป็นผล เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทําของแต่ละบุคคล ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นมาจากความปรารถนาโดยถ่ายเดียว ถ้าปรารถนาอะไรแล้วนั่งอยู่เฉยๆ งอมืองอเท้ารอให้สิ่งที่ปรารถนาเกิดขึ้นเองย่อมไม่ใช่ฐานะ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งที่ปรารถนากันไม่ว่าจะเป็นความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นสิริมงคลนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นๆได้กระทําเหตุที่นํามาซึ่งความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นสิริมงคลเท่านั้น

ในมงคลสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุที่จะนํามาซึ่งความสุข ความเจริญ ความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เช่น อเสวนา จ พาลานัง ปัณฑิตานัญจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง การคบบัณฑิต การไม่คบคนพาล การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะคนนั้นมีอยู่สองประเภทด้วยกัน คือบัณฑิตและคนพาล บัณฑิตหมายถึงคนฉลาดคนดี ซื่อสัตย์สุจริต คนพาลหมายถึงคนโง่เขลาเบาปัญญา คนชั่ว

พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้รู้จักเลือกเฟ้นคบค้าสมาคมกับคนต่างๆ อยู่ในสังคม ต้องพบปะรู้จักมักคุ้นกับคนหลากหลายชนิดด้วยกัน มีทั้งคนในครอบครัว เช่นบิดามารดา พี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย มีทั้งคนภายนอกเช่นเพื่อนร่วมเรียน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนในสังคม บุคคลเหล่านี้มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน มีทั้งดี มีทั้งเลว เวลาที่จะคบค้าสมาคมกับใครจึงควรรู้จักเลือกเฟ้น รู้จักแยกแยะบัณฑิตและคนพาล แล้วเลือกคบกับบัณฑิต หลีกเลี่ยงการคบค้าสมาคมกับคนพาล บัณฑิตจะมีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ ความเห็นที่ถูกต้อง คนพาลจะมีมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว บัณฑิตจะมีหิริโอตตัปปะ คือความละอายและความกลัวในการกระทําความชั่ว คนพาลจะไม่มีหิริโอตตัปปะ คือปราศจากยางอาย ปราศจากความกลัวบาป นี่คือคุณลักษณะของบัณฑิตและคนพาล

สัมมาทิฏฐิคือการรู้จักผิดถูกดีชั่ว รู้ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก ดีเป็นดีชั่วเป็นชั่ว บาปเป็นบาป บุญเป็นบุญ เมื่อรู้ว่าอะไรไม่ดี ย่อมหลีกเลี่ยงจากสิ่งนั้น เช่นละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ละเว้นจากการลักทรัพย์ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณีละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ โกหกหลอก ลวง ละเว้นจากอบายมุขต่างๆ เช่นการเสพสุรายาเมา การเล่นการพนัน การเที่ยวเตร่ ความเกียจคร้าน สิ่งเหล่านี้เมื่อทําไปแล้วย่อมนํามาซึ่งความเสื่อมเสีย ไม่นําความสุขความเจริญมาให้บัณฑิตผู้มีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ย่อมเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นพิษเป็นภัย ย่อมเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนอสรพิษ เวลาเจองูพิษย่อมไม่กล้าเข้าใกล้ฉันใด การกระทําความชั่ว ทําบาปทั้งหลาย ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่น่าเข้าใกล้ฉันนั้น แต่คนพาลจะเห็นตรงข้ามกัน เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นว่าการกระทําบาปไม่มีผลตามมา ตายไปก็สูญ ตายไปก็จบ ไม่ต้องไปใช้เวรใช้กรรมต่อไปอีก ไม่มีภพหน้า ไม่มีชาติหน้า จะทําอะไรก็ได้ไม่ต้องคํานึงว่าถูกหรือผิด คนพาลมักจะฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักทรัพย์พูดปดมดเท็จโกหก หลอกลวง คอรัปชั่นต่างๆนานา ประพฤติผิดประเวณี มั่วสุมอยู่กับอบายมุข เสพสุรายาเมา เที่ยวเตร่ เล่นการพนัน เกียจคร้าน คบคนชั่วเป็นมิตร นี่เป็นลักษณะของคนพาล

ส่วนบัณฑิตย่อมรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว จึงมีหิริโอตตัปปะ หิริแปลว่าความอาย อายในการกระทําความชั่ว โอตตัปปะแปลว่าความกลัว กลัวการกระทําความชั่ว โดยปกติแล้วคนเราทุกคนชอบให้ผู้อื่นชื่นชมยินดี เคารพนับถือ แต่คนเราจะเป็นที่เคารพนับถือ จะเป็นที่ชื่นชมยินดีได้นั้น จะต้องเป็นคนดีไม่กระทําความชั่ว คนที่ทําความชั่ว ย่อมไม่มีใครนับถือ ชื่นชมยินดี คบค้าสมาคมด้วย เพราะคนชั่วอยู่ที่ไหนย่อมนํามาซึ่งความเสื่อมเสีย พิษภัยทั้งหลายย่อมเกิดจากคนประพฤติมิชอบ ถ้าอยากให้ผู้อื่นชื่นชมยินดีเคารพนับถือ ศรัทธาเลื่อมใส ควรมีความละอายในการทําบาป ในการกระทําความชั่ว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เวลาญาติโยมออกจากบ้าน ญาติโยมก็ต้องมองกระจกดูหน้าตาว่าสะอาดเรียบร้อยหรือเปล่า เสื้อผ้าเป็นอย่างไร ผมเผ้าเป็นอย่างไร พอไปวัดไปวาได้หรือเปล่า เพราะอายถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่เรียบร้อยฉันใด ความละอายบาปก็ฉันนั้น

การกระทําบาปทําให้คนไม่สวยงาม ความสวยงามที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่รูปร่างหน้าตา ไม่ได้อยู่ที่เสื้อผ้าอาภรณ์ความสวยงามเหล่านี้เป็นส่วนย่อยเป็นส่วนประกอบ ความสวยงามที่แท้จริงอยู่ที่คุณงามความดีของคน ไม่กระทําความชั่ว กระทําแต่ความดีนั้นแหละทําให้เป็นคนสวยงาม เปรียบเหมือนกับดอกไม้ดอกไม้ที่สวยงามมีกลิ่นหอมย่อมเป็นที่ชื่นชมยินดี เป็นที่ประทับใจของคนทุกคน คนดีก็ฉันนั้น ความดีของคนก็เปรียบเหมือนกับกลิ่นหอมของดอกไม้ แต่ดีกว่ากลิ่นหอมของดอกไม้ตรงที่ว่าเกียรติคุณของคนดีนั้นกระจายไปทุกทิศทุกทางทั้งตามลมและทวนลม แต่กลิ่นหอมของดอกไม้นั้นต้องลอยไปตามลมเท่านั้น ไม่สามารถลอยทวนกระแสลมได้

ถ้าอยากสวยอยากงามก็ต้องมีหิริ มีความอายบาป ไม่กระทําความชั่วทั้งหลาย ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง แล้วจะเป็นคนที่สวยงาม ถึงแม้คนอื่นจะรู้ว่าเราสวยงามหรือไม่ก็ตามแต่ตัวเราเองจะรู้ว่าเราสวยงามหรือไม่ เมื่อเรารู้ว่าเราสวยเรางามเราก็จะมีความสุข มีความชื่นชมยินดีกับตัวเราเอง มีความภูมิใจ ไม่ว่าคนอื่นจะรู้หรือไม่ก็ตาม จะสรรเสริญเยินยอหรือไม่ก็ตาม เราจะไม่กังวล เพราะเรารู้อยู่แก่ใจว่าเราเป็นคนดี นอกจากมีหิริความอายแล้ว ยังต้องมีโอตตัปปะมีความกลัวบาปด้วย พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่าเมื่อกระทําบาปไปแล้วย่อมมีผลตามมา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันจะไม่สบายใจ มีแต่ความทุกข์เวลาทําผิดศีลเช่น ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี โกหกหลอกลวง จะมีแต่ความไม่สบายใจ มีความกังวลใจ เพราะกลัวคนอื่นจะรู้ กลัวถูกตํารวจจับ ต้องไปใช้โทษในคุกในตะราง เมื่อตายไป ต้องไปเกิดในอบาย เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นสุรกาย เป็นสัตว์นรก เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่งที่จะต้องไปอยู่ในสภาพแบบนั้น ไม่มีใครอยากจะอยู่ในคุกในตะราง ไม่มีใครอยากเกิดเป็นเดรัจฉาน เป็นแมลง เป็นสุนัข เป็นนกเป็นกา เพราะสภาพอย่างนั้นไม่มีความสุขเท่าไหร่ สู้เป็นมนุษย์ไม่ได้

ควรคบบัณฑิต เพราะบัณฑิตจะชักจูงเราไปในทางที่ดีเช่นเข้าวัดทําบุญทําทาน รักษาศีลฟังเทศน์ฟังธรรม ไหว้พระสวดมนต์ ประพฤติปฏิบัติธรรม เมื่อได้ทําสิ่งเหล่านี้แล้วความสุขความเจริญรุ่งเรืองย่อมตามมา ไม่ควรคบคนพาล เพราะคนพาลจะชักจูงเราไปในทางที่ไม่ดีเช่นชวนไปเที่ยวเตร่ ไปกินเหล้า ไปเล่นการพนัน ไปลักทรัพย์ ไปกระทําสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เมื่อทําไปแล้วความเสียหาย ความเสื่อมเสียย่อมตามมา ดังในพระบาลีที่แสดงไว้ว่า อเสวนา จ พาลานัง ปัณฑิตานัญจ เสวนา เอตัมมังคลมุตตมัง การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต เป็นมงคลอย่างยิ่ง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่าน


80
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 พฤษภาคม 2563 13:59:14 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.97 Chrome 83.0.4103.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2563 11:07:02 »




กัณฑ์ที่ ๔๖
ธรรมคุณ
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

ถึงแม้พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไป ๒๕๐๐ กว่าปีแล้วก็ตาม แต่พระธรรมคําสั่งสอนซึ่งพระพุทธองค์ทรงมอบไว้เป็นศาสดาแทนพระองค์ก็ยังมีอยู่ จึงเหมือนกับว่าพระพุทธเจ้ายังอยู่กับเรา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยอาการ ๓๒ มีเนื้อหนังมังสาอยู่ก็ตาม แต่พระวรกายของพระองค์ไม่ได้เป็นองค์พระที่แท้จริง พระพุทธเจ้าที่แท้จริงคือพระธรรม ดังที่พระพุทธองค์เคยแสดงไว้เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ตอนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้มีผู้ถามพระพุทธองค์ว่า จะทรงมอบให้ใคร เป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงตอบไปว่า พระธรรมวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ชอบแล้ว จะเป็นศาสดาของ พวกเธอทั้งหลาย

จึงควรมีความมั่นใจว่าพวกเราไม่ได้อยู่ไกลจากพระพุทธเจ้าเลย พระธรรมอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่นั่น ผู้จะบรรลุธรรมได้ต้องเป็นสุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือพระอริยสงฆ์ ซึ่งมาจากผู้ที่มีศรัทธา เชื่อคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิริยะ ความอุตสาหะหมั่นเพียร มีสติมีสมาธิ มีปัญญา ที่จะประพฤติปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธองค์ ด้วยขันติความอดทน จนกระทั่งบรรลุมรรคผลขึ้นมากลายเป็นพระอริยบุคคล ถึงพระรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเห็นธรรมแล้วย่อมเห็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่จะบรรลุเห็นธรรมได้ต้องเป็นสุปฏิปันโน คือพระอริยสงฆ์นั่นเอง พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นกุญแจสู่พระรัตนตรัย สรณะอันสูงสุด

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ตราบใดยังมีการประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ ตราบนั้นพระอรหันต์จะไม่สิ้นไปจากโลกนี้ ชาวพุทธจึงควรน้อมพระธรรมคําสอนเข้ามาปฏิบัติเพราะเป็นพระธรรมคําสอนที่มีอานุภาพมาก ดังในบทพระธรรมคุณที่แสดงไว้ว่า  

๑.สวากขาโต ภควตา ธัมโม ๒.สันทิฏฐิโก ๓.อกาลิโก ๔.เอหิปัสสิโก ๕.โอปนยิโก ๖.ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ นี่คือธรรมคุณอันประเสริฐ ๖ ประการที่พึงศึกษาทําความเข้าใจไว้ เพราะเมื่อได้ศึกษาทําความเข้าใจแล้ว เราจะได้ยึดเอาพระธรรมคําสอนมา เป็นเครื่องนําทาง พาชีวิตเราไปสู่ที่ดีงาม มีความสุข มีความเจริญอย่างแท้จริง

๑.สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมคําสอนพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชอบแล้ว ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสมมุติขึ้นมา แต่งขึ้นมาแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ เช่น นรกสวรรค์บาป บุญ กรรม วิบาก การเวียนว่ายตายเกิด ตายไปแล้วต้องไปเกิดใหม่ เช่นพวกเราที่ได้ตายมาแล้วในอดีตชาติ จึงได้มาเกิดใหม่ เป็นมนุษย์บ้าง เป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเทวดาบ้าง สุดแท้แต่บุญแต่กรรมจะพาไป นี่คือความเป็นจริงที่มีอยู่ในโลกธาตุทั้ง ๓ นี้

พวกเราปุถุชนคนธรรมดาเป็นเหมือนคนตาบอด ส่วนพระพุทธองค์ผู้ตรัสรู้ธรรม เป็นเหมือนคนตาดีสามารถมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้เห็นในสิ่งที่คนตาบอดไม่สามารถเห็นได้ คนตาบอดที่ฉลาดก็ต้องเชื่อคนตาดีเพราะคนตาดีสามารถนําพาคนตาบอดไปสู่ที่ดีที่ ปลอดภัยได้ ดีกว่าการคลําทางไปตามลําพัง ลองคิดดูซิว่าเวลาคนตาบอดคลําทางจะลําบากขนาดไหน ไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ต่างกับเวลาที่มีใครนําไปแม้จะเป็นสุนัขก็ยังดี ถ้าหาคนตาดีนําทางไม่ได้ มีสุนัขนําทางให้ก็ยังดี เพราะสุนัขมีตามองเห็นอะไรๆ ได้พระพุทธองค์ทรงรู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ เรื่องนรกสวรรค์ เรื่องการทําดีได้ดี เรื่องการทําชั่วได้ชั่ว แล้วก็นํามาสั่งสอนพวกเรา ถ้าปรารถนาความสุขความเจริญ ไม่ปรารถนาความทุกข์ความหายนะทั้งหลายก็ต้องเชื่อพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมคําสอนเป็น สวากขาโต ภควตา ธัมโม เป็นของจริง

๒.สันทิฏฐิโก หมายถึงผู้ปฏิบัติตามพระธรรมคําสอนเท่านั้นที่จะรู้จะเห็นอย่างประจักษ์แจ้งกับตนเอง คือเมื่อได้ยินได้ฟังพระธรรมคําสอนแล้ว ถ้าไม่ได้นําไปปฏิบัติก็จะไม่เห็นผล จะไม่เห็นในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงรู้ทรงเห็น เหมือนกับการได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่เรายังไม่เคยไป พอมีคนมาเล่าให้ฟังว่าสถานที่นั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เราก็ได้แต่จินตนาการไป จะเหมือนของจริงหรือไม่ก็ยังไม่รู้ จนกว่าไปเห็นกับตาตัวเองเท่านั้น จึงจะรู้ว่าสถานที่นั้นเป็นอย่างไร ดังสุภาษิตที่ว่า “สิบปากพูด ไม่เท่ากับหนึ่งตาเห็น” ต่อให้ได้ยินได้ฟังมากสักเท่าไรก็ไม่เหมือนกับการไปเห็นด้วยตนเอง

เรื่องต่างๆที่พระพุทธองค์ได้ทรงรู้ทรงเห็น เช่น นรกสวรรค์ก็ดีการเวียนว่ายตายเกิดก็ดี สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนไว้ คือ ให้ละการกระทําบาปทั้งหลาย ให้ทําความดีให้ถึงพร้อม ชําระจิตใจให้สะอาดหมดจด ละความโลภ ความโกรธ ความหลง เราจะไม่สามารถรู้เห็นได้เลย แต่ถ้าได้ปฏิบัติตามแล้ว สิ่งต่างๆ ที่พระพุทธองค์ทรงรู้ทรงเห็น เช่น นรกสวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด มรรคผลนิพพาน ก็จะเป็นสิ่งที่เราจะได้รู้ได้เห็นเหมือนกัน เพราะธรรมเป็น สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจะรู้จะเห็นได้

๓. อกาลิโก ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ขึ้นกับกาลกับเวลา คือไม่เสื่อมไปกับกาลกับเวลา ไม่เหมือนกับสิ่งของต่างๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต เช่นร่างกายของเรา หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่นวัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลายไปตามกาลตามเวลา แต่พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่เสื่อมไปกับกาลกับเวลา สมัยพุทธกาลเป็นอย่างไร สมัยนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่ สมัยพุทธกาลสามารถทําให้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ บรรลุถึงพระนิพพานได้ ฉันใด สมัยนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ ยังเป็นของใหม่ถอดด้าม ยังใหม่อยู่เสมอ เป็นของไม่เก่า ที่ว่าธรรมเป็นของเก่าของโบราณเพราะเห็นว่าธรรมอยู่มากับโลกเป็นเวลายาวนาน เลยกลายเป็นของเก่าล้าสมัยไป เสื่อมประสิทธิภาพไป ถึงกับคิดไปว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว ธรรมของพระพุทธองค์ย่อมไม่สามารถที่จะยังผลได้ เหมือนกับสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ปฏิบัติไปก็จะไม่ได้ผลอะไร นี่เป็นเพราะไม่เข้าใจถึงความเป็นอกาลิโกของธรรมนั่นเอง โดยความเป็นจริงแล้วธรรมไม่ขึ้นกับกาลกับเวลา แต่สถิตอยู่กับโลกนี้อยู่ตลอดเวลา เป็นธรรมที่ทันสมัย เพียงแต่ว่าจะมีใครสามารถนําธรรมนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่เท่านั้นเอง

พระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์นี้จะค่อยๆ เสื่อมหมดไปเพราะขาดการสืบทอด เสื่อมไปจากความสนใจของมนุษย์คนเราจะห่างจากธรรมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดจะไม่มีใครรู้จักพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นก็จะมีแต่ความมืดบอด ไม่รู้จักเรื่องศีลเรื่องธรรม เรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องคุณเรื่องโทษ เรื่องนรกเรื่องสวรรค์จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาค้นพบธรรมนี้มาตรัสรู้ธรรมนี้ แล้วเอามาสั่งสอน เอามาเผยแผ่ให้กับสัตว์โลก ธรรมไม่ได้สูญหายไปไหน ยังมีอยู่ เหมือนกับวัดที่ถูกปล่อยทิ้งให้ร้างไป ปล่อยให้ต้นไม้ต่างๆ มาปกคลุมไว้จนทําให้มองไม่เห็น แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่งก็มีคนไปพบไปเจอเข้า วัดนั้นก็ไม่ได้สูญหายไปไหนฉันใด พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ไม่ได้สูญหายไปไหน ยังมีอยู่ เป็น อกาลิโก อยู่คู่กับโลกตลอดไป ธรรมไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นนามธรรมที่ไม่สามารถถูกทําลายไปได้นี่เป็นหลักของความจริง เพียงแต่ว่าจะมีใครรู้ธรรมหรือไม่เท่านั้นเอง ผู้ที่รู้แจ้งด้วยตนเองเรียกว่าพระพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ยินได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วนําเอามาประพฤติปฏิบัติจนบรรลุธรรม เรียกว่าพระอรหันตสาวก จึงขอให้มีความมั่นใจว่าพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าไม่เสื่อมไปกับกาลกับเวลา สามารถทําให้ผู้ประพฤติปฏิบัติบรรลุธรรมได้อย่างแน่นอน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2563 11:11:43 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.97 Chrome 83.0.4103.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2563 11:12:53 »




กัณฑ์ที่ ๔๖
ธรรมคุณ (จบ)
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

๔. เอหิปัสสิโก หมายถึงพระธรรมเป็นสิ่งที่วิเศษอัศจรรย์ เป็นสิ่งที่ใครพบเห็นแล้วย่อมเกิดความชื่นชมยินดี ถ้าเป็นบุคคลก็เหมือนกับดาราภาพยนตร์ หรือนางงามจักรวาล เวลาบุคคลเหล่านี้ไปที่ไหนจะมีคนอยากจะเข้าใกล้ อยากจะดูอยากจะมองฉันใด พระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์ก็ฉันนั้น เพราะพระธรรมคําสอนคือ รสของธรรม ชนะรสทั้งปวง ผู้ใดได้สัมผัสรสของธรรมแล้วจะติดอกติดใจชื่นชมยินดี เพราะว่าธรรมนําความสุขที่แท้จริงให้กับจิตใจ เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบนั่นเอง ผู้ที่ไม่เคยพบกับความสุขที่เกิดจากความสงบของจิตใจจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าได้พบกับความสงบของจิตใจที่เกิดจากการปฏิบัติแล้ว จะรู้ทันทีว่านี่แหละคือสิ่งที่เลิศที่สุดในโลกนี้ เป็นสิ่งที่อยากจะมีอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนยาเสพติด แต่เป็นยาเสพติดที่ไม่มีโทษ มีแต่คุณอย่างเดียว นี่คือความหมายของเอหิปัสสิโก รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง ท้าทายต่อการพิสูจน์เพราะ เป็นของจริงที่ดีเลิศ

๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามาสู่ตัว เพราะพระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่ง มีคุณค่ายิ่งกว่าเพชรนิลจินดาเงินทองทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ เป็นอริยทรัพย์ที่จะนําความสุขความเจริญที่แท้จริง เป็นแสงสว่างแห่งปัญญาที่นําไปสู่การสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิดและความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง พึงน้อมเข้ามาด้วยการศึกษาพระธรรมคําสอน แล้วก็นํามาปฏิบัติเพื่อจะนําไปสู่ปฏิเวธคือการบรรลุธรรม เรียกว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติหมายถึงการศึกษาพระธรรมคําสอน ด้วยการฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อจะได้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็นําไปประพฤติปฏิบัติ เช่นวันนี้หลังจากที่ได้รับศีลแล้ว กลับไปบ้านก็รักษาศีลกัน ด้วยการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ละเว้นจากการจากการพูดปดมดเท็จ ละเว้นจากการเสพสุรายาเมา ละเว้นจากการเล่นการพนัน ละเว้นจากการเที่ยวเตร่ ละเว้นจากความเกียจคร้าน นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนให้ละ เพราะเมื่อทําไปแล้วจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสีย ความหายนะ ละเว้นจากสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อน มีแต่ความสงบสุข เมื่อปฏิบัติแล้วจะเห็นผลขึ้นมาทันที

จึงควรน้อมเอาพระธรรมคําสอนเข้ามาสู่ตน ด้วยการศึกษาประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งบรรลุผล ถ้าไม่ได้มาฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัด ฟังที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ เพราะเดี๋ยวนี้มีการเทศน์ผ่านทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ผ่านทางสื่อต่างๆ มากมาย สามารถเปิดฟัง เปิดดูได้ หนังสือธรรมะที่แจกเป็นธรรมทานก็มีอยู่มากมายก่ายกองเช่นกัน ขอให้มีความยินดีในธรรมเถิด เพราะการยินดีในธรรม ชนะการยินดีทั้งปวง อย่าให้เป็นในลักษณะที่เวลาหมุนคลื่นไปเจอพระกําลังเทศน์ กําลังแสดงธรรมในจอโทรทัศน์หรือในวิทยุอยู่ ก็ไปเปลี่ยนเป็นช่องอื่น ไปสถานีอื่นเสีย นั่นเป็นเพราะไม่น้อมธรรมเข้ามา กลับผลักธรรมออกไป ตัดธรรมทิ้งไปเหมือนกับตัดสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทองทิ้งไป เป็นสิ่งที่คนโง่เท่านั้นที่จะกระทํากัน ถ้าเป็นคนฉลาดแล้วย่อมรู้จักแยกแยะ ถ้าสิ่งที่ดีที่งาม ที่เป็นประโยชน์ก็จะน้อมเข้ามาเพื่อความสุขความเจริญของตนต่อไป

๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญููหิ เป็นธรรมที่วิญญููชนพึงรู้เฉพาะตน ปุถุชนคนธรรมดาสามัญอย่างพวกเรานี้ยังถือได้ว่าเป็นวิญญููชนคนฉลาด ถ้าไม่ฉลาดย่อมไม่เห็นคุณค่าของการทําบุญให้ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนา การฟังเทศน์ฟังธรรม จึงเป็นบุคคลที่คู่ควรกับพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า สามารถรู้เห็นธรรมของพระพุทธองค์ได้ พระพุทธองค์ทรงแยกบุคคลไว้ ๔ จําพวกด้วยกัน เปรียบเหมือนบัว ๔ เหล่า คือ ๑. อุคฆฏิตัญญูู ๒. วิปจิตัญญูู ๓. เนยยะ ๔. ปทปรมะ

๑. อุคฆฏิตัญญู เป็นบุคคลที่ฉลาดมาก รู้เข้าใจอะไรได้โดยฉับพลัน เพียงได้ยินหัวข้อที่แสดงเท่านั้น พอได้ยินคําว่าบาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์เท่านั้น ก็จะรู้จะเข้าใจได้อย่างฉับพลัน บุคคลประเภทนี้เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่พ้นนํ้า เพียงแต่รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานขึ้นในวันนี้

๒. วิปจิตัญญูู เป็นบุคคลที่ต้องขยายความถึงจะรู้ ถึงจะเข้าใจ คือเมื่อได้ฟังหัวข้อธรรมแล้วยังไม่เข้าใจ ต้องอธิบาย ต้องขยายความ เช่นบุญคืออะไร บาปคืออะไร นรกคืออะไร สวรรค์คืออะไร เมื่อได้ฟังคําอธิบายแล้วถึงจะรู้ ถึงจะเข้าใจ บุคคลประเภทนี้เปรียบเหมือนกับดอกบัวที่อยู่เสมอนํ้าที่จะบานในวันพรุ่งนี้

๓. เนยยะ เป็นบุคคลที่พอจะสั่งสอนได้คือต้องสั่งสอนอยู่เรื่อยๆ ต้องพูดอยู่เรื่อยๆ ต้องบอกอยู่เรื่อยๆ พูดครั้งเดียวยังไม่เข้าใจ ต้องพูด ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ถึง จะรู้ ถึงจะเข้าใจ ต้องพูดไปเรื่อยๆ สอนไปเรื่อยๆ อธิบายไปเรื่อยๆ ถึงจะรู้ถึงจะเข้าใจ บุคคลประเภทนี้เปรียบเหมือนกับดอกบัวที่ยังอยู่ในนํ้า ยังไม่โผล่พ้นนํ้า จะบานในวันต่อๆ ไป

๔. ปทปรมะ เป็นบุคคลที่ได้แต่ตัวบทคือถ้อยคําเท่านั้น ไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ เหมือนนกแก้วที่ร้อง แก้วจ๋าๆๆ แต่ไม่รู้จักตัวแก้วว่าเป็นอย่างไร พอยื่นแก้วให้กลับไม่รับ จะรับแต่กล้วยแต่พริกเท่านั้น เป็นพวกหูหนวกตาบอด พูดไปก็ไม่ได้ยิน พูดไปก็ไม่เข้าใจ พูดเรื่องนรกเรื่องสวรรค์ เรื่องบาปบุญคุณโทษ ก็คิดว่าเป็นเรื่องโกหกหลอกลวง พวกนี้มีแต่ความมืดบอด ไม่มีโอกาสจะเข้าถึงพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้เลย เปรียบเหมือนบัวที่จมอยู่ในนํ้า ที่กลายเป็นอาหารของปลาและเต่า ไม่มีโอกาสที่จะโผล่พ้นนํ้าขึ้นมา บุคคลทั้ง ๔ ประเภทนี้ มี ๓ ประเภทแรกที่จัดอยู่ในวิญญููชน พอจะรับประโยชน์จากพระธรรมคําสอนได้ ต่างกันที่รู้ช้ารู้เร็วเท่านั้น ถ้ามีความพยายาม มีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทนที่จะศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติ ไม่ช้าก็เร็วก็จะบรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าได้แต่จะรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่สามารถรู้แทนผู้อื่นได้ทําได้แต่เพียงสั่งสอนแนะนําอธิบายให้รู้ให้เข้าใจ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงกระทํา ถ้าผู้ฟังนําไปประพฤติปฏิบัติก็จะรู้ได้เพราะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้ จากใจหนึ่งสู่อีกใจหนึ่ง จากพระพุทธเจ้าสู่พระอรหันตสาวก จากอาจารย์สู่ลูกศิษย์ นี่คือพระธรรมคุณ ๖ ประการ คือ ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม ๒. สันทิฏฐิโก ๓. อกาลิโก ๔. เอหิปัสสิโก ๕. โอปนยิโก ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญููหิ ที่พุทธศาสนิกชน ควรเจริญอยู่เนืองๆ เพื่อปลูกฝัง ศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส วิริยะความ ขยันหมั่นเพียร ฉันทะความยินดีในการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคําสอน ให้หยั่งลึกลงไปในจิตใจ เพื่อความสุขความเจริญรุ่งเรืองที่จะตามมาต่อไป การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2563 11:16:42 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2563 09:53:42 »




กัณฑ์ที่ ๔๗
เบญจธรรม
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

เวลารับประทานอาหารต้องมีภาชนะต่างๆ เช่นจาน ชาม ช้อน ส้อม ถ้วย เพื่ออํานวย ความสะดวกในการรับประทานอาหารให้เป็นไปอย่างง่ายดายและเรียบร้อย ศีลธรรมคือ อาหารของจิตใจ การจะรักษาศีล ๕ ได้อย่างสะดวกง่ายดายจําเป็นต้องมีเบญจธรรม เป็นเครื่องมือช่วย ประกอบไปด้วย ๑.เมตตา ๒.สัมมาอาชีพ ๓.สํารวมในกาม ๔.สัจจะ ๕.สติ

ศีลข้อที่ ๑ การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ต้องใช้เมตตาธรรมเป็นเครื่องมือ ความเมตตาคือการไม่เบียดเบียนกัน ดังในบทแผ่เมตตาที่ว่า สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรกันเถิด สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันเถิด สัพเพ สัตตา อนีฆา โหนตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจเถิด สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงเป็นผู้มีความสุขรักษาตนเถิด นี่คือสิ่งที่ควรเจริญในจิตใจอยู่เสมอๆ คืออย่ามีเวรมีกรรมกัน อย่าเบียดเบียนกัน มีแต่ความปรารถนาดีให้แก่กันและกัน ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ให้มองว่าจิตใจของคนเรานั้นเหมือนกัน มีความปรารถนาความสุข ไม่ปรารถนาความทุกข์ด้วยกันทุกคน จึงไม่ควรเบียดเบียนกัน อาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมกัน ควรให้อภัยกัน

อยู่ร่วมกันอาจจะล่วงเกินกันบ้างด้วยการกระทําทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ให้ถือเสียว่าเหมือนลิ้นกับฟัน อยู่ด้วยกันในสังคมเป็นธรรมดาที่ต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่จะไม่มีปัญหาถ้ามีการให้อภัยกัน เรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปแล้ว ไม่จําเป็นจะต้องไปต่อความยาวสาวความยืดด้วยความเคียดแค้นอาฆาตพยาบาท ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้ง ๒ ฝ่าย ผู้จองเวรก็ทุกข์เพราะความร้อนที่เกิดจากความเกลียดชังอาฆาตพยาบาทเผาไหม้จิตใจ ผู้ถูกจองเวรก็ทุกข์จากการถูกทําร้ายร่างกายและจิตใจ พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เจริญเมตตาธรรมด้วยการไม่จองเวรกัน ด้วยการให้อภัยกัน ให้ชนะตนอย่าไปชนะผู้อื่น ชนะผู้อื่นกี่ร้อยกี่พันกี่แสนครั้งก็ไม่สู้ชนะตนเพียงครั้งเดียว เพราะเมื่อชนะตนแล้วปัญหาทั้งหลายก็หมดไป ยุติไป เมื่อไม่เอาเรื่องเอาราวแล้วใจก็สบาย ผู้อื่นก็สบายไปด้วย แต่ถ้ามีการจองเวรจองกรรมกัน ด่าว่ากัน ทุบตีกัน ก็ต้องตอบโต้กันไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเราชนะก็สร้างความเคียดแค้น ความอาฆาตพยาบาทให้กับเขา เราเองก็มีความหวาดระแวงว่าเขาจะต้องมาชําระแค้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงควรระงับความโกรธในตัวเองเสียด้วยการให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง เรื่องจะได้จบ ใจจะได้เย็น ได้สงบได้สบาย การรักษาศีลข้อ ๑ คือการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงต้องอาศัยการเจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอๆ ผู้มีความเมตตาย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ศีลข้อที่ ๒ การละเว้นจากการลักทรัพย์ต้องอาศัยการมีสัมมาอาชีพ เป็นเครื่องมือรักษา ด้วยการทํามาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดไม่โกง ไม่ลักไม่ขโมย ไม่ทําในสิ่งที่ผิดกฎหมาย หารายได้ด้วยลําแข้งลําขา ด้วยสติปัญญาของตน มีความมักน้อยสันโดษ ยินดีกับสิ่งที่ได้มา พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ อย่าโลภมาก อย่าอยากมีมาก ให้ใช้เท่าที่มีความจําเป็นเท่านั้น สิ่งจําเป็นต่อการดํารงชีพ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ก็ไม่จําเป็นต้องมีมากมายเกินความจําเป็น ไม่จําเป็นต้องเป็นของแพงๆ ของฟุ่มเฟือย แต่สําหรับผู้ที่มีเงินมาก มีเงินเหลือเฟือ จะกินจะใช้ของแพงๆ จะมีเสื้อผ้าอาภรณ์มากๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร สําหรับผู้ไม่มีฐานะอย่างนั้น รายได้ไม่มาก ก็ควรใช้จ่ายเงินทองตามฐานะของตนให้อยู่ในกรอบของรายได้อย่าใช้มากกว่าที่หามาได้ ปัญหาการขาดเงินขาดทองก็จะไม่เกิดขึ้น ทําให้ไม่ต้องไปหามาเพิ่มในทางทุจริต ด้วยการลักขโมยก็ดี การฉ้อโกงก็ดี การฉ้อราษฎร์บังหลวงก็ดีความสุขของคนเราอยู่ที่จิตใจ ถึงแม้จะยากจนก็มีความสุขได้ถ้ามีความเจียมเนื้อเจียมตัว มีความมักน้อยสันโดษ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่คด ไม่โกง เพราะมีความภูมิใจในความดีของตน ศีล ข้อที่ ๒ การละเว้นจากการลักทรัพย์จึงต้องอาศัยการมีสัมมาอาชีพเป็นเครื่องมือรักษา

ศีลข้อที่ ๓ การละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ต้องอาศัยการสํารวมในกามเป็นเครื่องมือรักษา มีการควบคุมอารมณ์ความอยากในกามให้อยู่ในขอบเขตของความพอดี ไม่มักมาก ไม่อยากมาก เวลามีอารมณ์ก็พยายามควบคุมด้วยสติด้วยธรรมะ อย่าคิดหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเสพกามให้มากจนเกินไป ควรเจริญอสุภกรรมฐาน พิจารณาความไม่สวยไม่งาม ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย เพื่อบั่นทอนความอยากในกามให้เบาบางลงไป ถ้าจําเป็นต้องเสพก็ให้อยู่ในกรอบของประเพณีที่ดีงาม คือกับสามีของเรา ภรรยาของเรา อย่าไปร่วมประเวณีกับสามีภรรยาของผู้อื่น เพราะจะเกิดปัญหาตามมา ควรมีรักเดียวใจเดียว มีสามีคนเดียว มีภรรยาคนเดียว มีความมักน้อยสันโดษ ไม่จําเป็นต้องมีมาก ไม่ต้องมีสามีหลายคน ภรรยาหลายคน มีคนเดียวก็พอ มีคนเดียวก็มีความสุขแล้ว มีความสุขมากกว่าคนที่มีภรรยามีสามีหลายคนเสียอีก เพราะไม่มีปัญหาบ้านน้อยบ้านใหญ่ ศีลข้อ ๓ การละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี จึงต้องอาศัยการสํารวมในกามเป็นเครื่องมือรักษา

ศีลข้อที่ ๔ การละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ ต้องใช้สัจจะเป็นเครื่องมือรักษา มีความซื่อตรงต่อความสัตย์ความจริง จะพูดอะไรก็ให้พูดตามความเป็นจริง ถ้าไม่สามารถพูดความจริงได้ก็ให้นิ่งเสีย อย่าไปพูดอะไร อย่าไปคิดว่าการมีสัจจะเป็นสิ่งที่ไม่สําคัญ เพราะสัจจะเป็นเครื่องรับประกันคุณงามความดีของคน คุณค่าของคนอยู่ที่สัจจะ คงเคยได้ยินนิทานอีสปเรื่องเด็กเลี้ยงแกะมาแล้ว คงไม่ต้องขยายความว่าการมีสัจจะมีความสําคัญแค่ไหน คุณค่าของคนนั้นอยู่ที่คําพูด ถ้าคําพูดไม่น่าเชื่อถือแล้ว ต่อไปจะไม่มีใครเชื่อถือ เวลาจะพูดอะไรใคร่ครวญให้ดีเสียก่อนเวลาที่ยังไม่ได้พูด เราเป็นนายของคําพูดเรา แต่หลังจากที่พูดไปแล้ว คําพูดจะเป็นนายของเรา เพราะเมื่อพูดอะไรไปแล้ว คําพูดนั้นๆ จะผูกมัดเรา จะบังคับให้เราต้องทําตามที่เราพูดไว้ เป็นเหมือนนายเรา

ต้องมีสัจจะถ้าอยากจะเป็นคนที่มีคุณค่า เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถืออย่างพระพุทธเจ้า ถึงแม้พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปถึง ๒๕๐๐ กว่าปีแล้ว แต่พระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์ ทุกบททุกบาทที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎก เป็นความจริงทั้งนั้น พระพุทธองค์จึงเป็นผู้น่าเคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธามาตลอด เพราะคําพูดของพระองค์นั้นสามารถพิสูจน์ได้ ดังในบทพระธรรมคุณที่ว่าสันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นได้ ประจักษ์แจ้งกับตน ศีลข้อที่ ๔ การละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ จึงต้องอาศัยสัจจะเป็นเครื่องมือรักษา

ศีลข้อที่ ๕ การละเว้นจากการเสพสุรายาเมา จะต้องรักษาด้วยสติคือต้องมีสติระลึกอยู่เสมอว่ากําลังคิดอะไรอยู่ กําลังทําอะไรอยู่ กําลังพูดอะไรอยู่ ถ้าเป็นคุณเป็นประโยชน์ ก็คิดไปได้ ทําไปได้ พูดไปได้ ถ้าเป็นโทษก็ให้ระงับความคิด การกระทํา การพูดนั้นเสีย เช่นการเสพสุรายาเมาเป็นโทษเพราะทําให้เกิดความประมาทขาดสติ ก็ควรละเว้นเสีย เพราะเมื่อดื่มสุราเข้าไปแล้วจะทําให้ไม่มีสติประคับประคองกาย วาจา ใจ เวลาไม่ดื่มสุรา กับเวลาดื่มสุราคนๆ เดียวกันจะต่างกันราวฟ้ากับดิน เวลาไม่เสพสุราจะเป็นคนเรียบร้อย สุภาพ แต่พอดื่มสุราเข้าไปแล้ว กิริยาอาการไม่น่าดู พูดจาเลอะเทอะ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ศีลข้อ ๕ จึงต้องอาศัยสติเป็นเครื่องมือรักษา

ผู้ปรารถนาจะมีศีล ๕ เป็นสมบัติประจําใจจึงควรเจริญเบญจธรรม ทั้ง ๕ ประการ คือ ๑.เมตตา ๒.สัมมาอาชีพ ๓.สํารวมในกาม ๔.สัจจะ ๕.สติเป็นเครื่องมือ แล้วอานิสงส์ของการรักษาศีล คือการไปสู่สุคติ การเป็นผู้พร้อมด้วยโภคทรัพย์ และการเป็นผู้ไม่มีความทุกข์ ย่อมเป็นของท่านอย่างแน่นอน การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 85.0.4183.102 Chrome 85.0.4183.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 12 กันยายน 2563 11:03:08 »




กัณฑ์ที่ ๔๘
สรณะ
๓ มีนาคม ๒๕๔๔

ที่พึ่งในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๒ ลักษณะด้วยกัน ประกอบด้วย ๑. ที่พึ่งที่เป็นสรณะอันสูงสุด ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งของจิตใจ ๒.อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ที่พึ่งทั้ง ๒ นี้ เป็นที่พึ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรน้อมเข้ามาสู่ตัว เพราะถ้ามีที่พึ่งทั้ง ๒ แบบนี้แล้ว ชีวิตย่อมเป็นไปด้วยความเจริญรุ่งเรือง มีแต่ความสุข ความเป็นสิริมงคล ที่พึ่งอย่างแรกคือการมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจ เหตุใดจึงต้องมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เพราะจิตใจของเรากับจิตใจของพระพุทธเจ้า ของพระอริยสงฆ์สาวก มีความแตกต่างกัน จิตใจของพวกเรา ยังมี กิเลส ตัณหา อวิชชา ความหลง ความมืดบอดครอบงำจิตใจอยู่ เหมือนคนตาบอดที่พึ่งตัวเองไม่ได้ ส่วนจิตใจของพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวกนั้น เป็นจิตใจที่ไม่มี กิเลส ตัณหา อวิชชา ความหลงปกปิดหุ้มห่อ ไม่มีความมืดบอดครอบงำ เป็นจิตใจที่มีแสงสว่างแห่งธรรม ที่รู้ทั้งเหตุและรู้ทั้งผล รู้ว่าการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ เป็นเหตุให้มีผลเกิดขึ้นมา การกระทำมีทั้งดีและชั่ว บาปและบุญ เมื่อทำไปแล้วจะมีผลตามมา ถ้าทำบุญ ทำความดี ก็มีความสุข ความเจริญตามมา ถ้าตายไปก็ได้ไปสู่สวรรค์ ถ้าทำความชั่ว ทำบาป ทำกรรม ก็จะมีแต่ความทุกข์ ความหายนะ ความเสื่อมเสียตามมา ถ้าตายไปก็ต้องไปสู่นรก ไปสู่อบาย

นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์และพระอริยสงฆ์สาวก เห็นแจ้งชัดเหมือนกับคนที่มีตามองเห็นสิ่งต่างๆในโลกนี้ พวกเราที่อยู่ในห้องนี้เวลาลืมตา เราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในห้องนี้ว่ามีอะไรบ้าง แต่ถ้าปิดตาเราจะไม่เห็นอะไรเลย จะเห็นแต่ความมืด ไม่สามารถเห็นสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในห้องได้ จิตใจของปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราอย่างท่าน ก็เหมือนกับคนที่ปิดตาไว้ เหมือนกับคนตาบอด ย่อมไม่สามารถเห็นสิ่งต่างๆที่คนตาดีเห็นได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งต่างๆที่คนตาดีเห็น ย่อมเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อเหลือวิสัยของคนตาบอดที่จะรู้เห็นตามได้ จะทำได้อย่างเดียวก็คือจะเชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น เช่น นรก สวรรค์ กรรม การเวียนว่ายตายเกิด สิ่งเหล่านี้พระพุทธองค์ และพระอริยสงฆ์สาวก ทรงรู้ทรงเห็นอย่างแจ้งชัด เพราะมีตามองเห็น แล้วก็เอามาแสดงให้พวกเราฟัง แต่พวกเราตาบอดก็เลยไม่ทราบว่าสิ่งเหล่านี้เท็จจริงอย่างไร

สิ่งแรกที่พุทธศาสนิกชนควรจะมีคือศรัทธาความเชื่อใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หมายถึงให้เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นผู้นำทาง คนตาบอดต้องอาศัยคนตาดีนำทาง ถ้าไม่มีคนตาดีนำทางก็ต้องเดินแบบสะเปะสะปะ เตะสิ่งนั้นบ้าง สะดุดสิ่งนี้บ้าง ตกหลุมตกบ่อบ้าง เพราะไม่มีตาเห็นสิ่งต่างๆ แต่ถ้ามีคนตาดีนำการเดินทางย่อมเป็นไปด้วยความราบรื่นดีงามมีแต่ผลดีโดยถ่ายเดียว เพราะว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งไม่ดี ก็หลบหลีกได้ หลีกเลี่ยงได้ เมื่อทำแต่สิ่งที่ดีที่งามแล้ว ผลที่ดีก็จะตามมา เราจึงต้องยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นผู้ชี้ทางให้กับเรา แต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติให้กับเราได้ เราต้องประพฤติปฏิบัติเอง เราจึงต้องมีที่พึ่งในตัวของเราเอง คือ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน จะทำกรรมอันใดไว้ ดี หรือชั่ว เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น พระพุทธองค์ไม่สามารถเสกความสุขความเจริญให้กับเราได้ เราต้องประพฤติปฏิบัติด้วย กาย วาจา ใจ ของเรา ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติแล้ว ผลดีทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นมา ตนต้องเป็นที่พึ่งของตน พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวก ครูบาอาจารย์ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย มีเพียงหน้าที่สั่งสอนอบรมให้รู้จัก ผิด ถูก ดี ชั่ว เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วเราควรน้อมมาประพฤติปฏิบัติ คือ ทำแต่สิ่งที่ดี ละเว้นสิ่งที่ไม่ดี ผลดีย่อมเกิดขึ้นตามมา
ถ้าปรารถนาให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง มีแต่ความเป็นสิริมงคล เราต้องน้อมเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้าสู่จิตใจ ให้เป็นแสงสว่างนำทาง พาเราไปสู่ที่ดีที่งาม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่ ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่อยู่ภายนอก และ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่อยู่ภายใน พระพุทธที่อยู่ภายนอก หมายถึงพระพุทธเจ้าที่ได้มาประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายต่างๆที่มีอยู่ในพระทัยของพระพุทธองค์ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยความอุตสาหะ วิริยะ ขันติ ความอดทน จนจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ เป็น พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ของโลกขึ้นมา พระธรรมภายนอก คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่สอน ให้ทำแต่ความดี ละความชั่ว และชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็น ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ พระสงฆ์ภายนอก คือ ผู้ที่มีศรัทธาน้อมเอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มาประพฤติปฏิบัติ ด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด ปราศจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง กลายเป็น สังฆัง สรณัง คัจฉามิ สรณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสรณะภายนอก ยังไม่ใช่สรณะที่แท้จริง เพราะยังไม่ได้เข้ามาอยู่ภายในจิตใจ ยังไม่ได้ดับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ในใจของเรา

สิ่งที่จะชำระ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ในจิตใจได้นั้น ต้องเป็นสรณะภายใน คือ ต้องเป็น พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ภายในใจ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ทาน ศีล ภาวนา ทำจิตให้เป็นสมาธิ มีความสงบ และเจริญวิปัสสนา เจริญปัญญาให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวมีตน เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยอาศัยหลัก อัตตาหิ อัตตโน นาโถ คือ เป็นผู้ที่ปฏิบัติเอง ไม่มีใครปฏิบัติให้เราได้ จิตใจไม่เหมือนกับเสื้อผ้า เวลาสกปรกถ้าไม่มีเวลาซักเองก็ยังพอจะจ้างให้คนอื่นซักให้ เช่น ส่งเสื้อผ้าไปร้านซักรีด ให้เขาซักฟอกให้สะอาด กับเสื้อผ้าก็พอจะทำได้ แต่กับจิตใจที่สกปรกไปด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ไม่มีใครจะซักฟอกชำระจิตใจให้สะอาดหมดจดแทนกันได้ ต้องเป็นตัวของเราเองเท่านั้นที่จะเป็นผู้ซักฟอกให้สะอาดหมดจด จึงต้องอาศัย อัตตาหิ อัตตโน นาโถ คือ ตนเป็นที่พึ่งของตนเราจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติเอง พระพุทธเจ้าไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้เราได้ พระสงฆ์สาวกก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้กับเราได้ เราต้องเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ ด้วยศรัทธา ความเชื่อ คือ เชื่อสิ่งต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ว่าเป็นของจริงไม่ใช่เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงเสกขึ้นมา แต่งขึ้นมา เพื่อหลอกให้พวกเราทำตามโดยไม่มีผลดีตามมา ด้วยวิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ด้วยความอดทน ด้วยสติ ด้วยปัญญา ไม่ช้าก็เร็ว จิตใจก็จะค่อยๆสะอาดขึ้นมา ตามลำดับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงภายในจิตก็จะค่อยๆหมดไปๆ จนกระทั่งในที่สุดจิตก็จะเป็นจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ เพราะจิตมีธรรมเข้าไปชำระซักฟอก เป็นจิตที่เป็นธรรมล้วนๆ

นี่คือการเข้าสู่ที่พึ่งที่แท้จริง สรณะที่แท้จริงไม่ได้อยู่ภายนอก แต่อยู่ภายในจิตใจของเรา เพียงแต่เราต้องพยายามขุดขึ้นมา ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนบรรลุธรรม ผู้นั้นจะเห็นพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าที่แท้จริงก็คือความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตใจนั่นเอง จิตใจของพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลงอย่างไร จิตใจของผู้ปฏิบัติที่ได้ชำระจิตใจจนสะอาดบริสุทธิ์ หมดสิ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นจิตแบบเดียวกัน เหมือนกับเสื้อผ้าที่ส่งไปซักที่ร้านซักรีด เมื่อได้ซักทำความสะอาดแล้ว ก็เป็นเสื้อผ้าที่สะอาดเหมือนกันหมด เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติ จนจิตใจสะอาดหมดจดแล้ว จิตใจของบุคคลคนนั้นก็เหมือนกับจิตใจของพระพุทธเจ้า เป็นจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน ผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์แล้วย่อมรู้ว่าจิตใจของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ที่จะเห็นธรรมได้ เห็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สุปฏิปันโน ก็คือพระอริยสงฆ์สาวกนั่นเอง ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็คือพวกเราทั้งหลายที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน จนกระทั่งจิตใจสะอาดหมดจด ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะบรรลุธรรมได้ กลายเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา กลายเป็นผู้มีพระรัตนตรัยครบถ้วนบริบูรณ์อยู่ภายในจิตใจ คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สรณะที่สูงสุดอยู่ภายในจิตใจ

พระรัตนตรัยที่อยู่ในจิตใจไม่มีใครสามารถทำลายล้างได้ ไม่เหมือนกับพระรัตนตรัยที่อยู่ภายนอก เช่น พระพุทธรูปก็ต้องเสื่อมไปตามกาลตามเวลา ผุกร่อนไป ถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำลายไป ทุบทิ้งไปก็ได้ ดังที่เราได้ยินได้ฟังข่าวว่ามีประเทศหนึ่งไม่ปรารถนาที่จะให้มีพระพุทธรูปอยู่ในประเทศของเขา เรื่องอย่างนี้เราไปห้ามไม่ได้ เพราะอยู่ภายใต้กฎของอนิจจัง ของอนัตตา อนิจจังคือความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต้องแปรปรวนไป หมดสิ้นไปในที่สุด อนัตตาคือความไม่เป็นสมบัติที่แท้จริงของผู้หนึ่งผู้ใด ธรรมชาติที่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย มีเหตุปัจจัยให้ตั้งอยู่ ก็จะตั้งอยู่ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้อยู่ต่อไป ก็ไม่ได้อยู่ต่อไป ชาวพุทธเราที่มีปัญญา จะไม่โกรธ จะไม่วิตก จะไม่เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับเรื่องเหล่านี้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารทั้งหลายที่จะต้องเสื่อมสลายหมดไป ถึงแม้พระพุทธรูปจะมีความสำคัญต่อจิตใจของชาวพุทธทั้งหลาย แต่พระพุทธรูปไม่ใช่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้น อยู่ภายในจิตใจ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมนั่นเอง

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่อยู่ภายนอกเป็นเพียงเครื่องเตือนสติ ให้ระลึกถึงการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติ พระคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนเป็นธัมมานุสสติ พระคุณอันประเสริฐของพระธรรมคำสอน พระอริยสงฆ์สาวก พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นสังฆานุสสติ พระคุณอันประเสริฐของพระอริยสงฆ์สาวก สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนสติ ให้รู้ว่าจะต้องทำอะไร เตือนให้ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์นั่นเอง ถ้ามีสิ่งเหล่านี้ไว้เตือนสติแล้ว จะไม่ลุ่มหลงไปกับความโลภ ความโกรธ ความหลง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีความจำเป็นที่พุทธศาสนิกชนจะต้องมีไว้เป็นเครื่องเตือนสติ เช่น มีพระพุทธรูป มีหนังสือธรรมะ มีการแสดงและการฟังพระธรรมเทศนา มีพระอริยสงฆ์ เป็นเครื่องเตือนใจ เป็นเครื่องปลุกใจให้เกิด ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ที่จะประพฤติปฏิบัติ ประกอบคุณงามความดี ละเว้นความชั่ว ชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ไม่ต้องเสียใจ ถ้าสรณะที่อยู่ภายนอกถูกทำลายไป เพราะหามาทดแทนกันได้ หาใหม่ได้ สร้างขึ้นมาใหม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะได้ไม่ต้องกลัวว่าศาสนาจะสูญหายไป เพราะเป็นศาสนาภายในใจที่ไม่มีใครทำลายได้ ศาสนวัตถุไม่ใช่ศาสนาที่แท้จริง ศาสนธรรมที่อยู่ในจิตใจต่างหากที่เป็นศาสนาที่แท้จริง ที่จะเป็นผู้สืบทอดพระศาสนาได้อย่างแท้จริง

พุทธศาสนิกชนจึงควรยึดมั่นในพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็นสรณะอยู่ภายนอก แล้วน้อมเข้ามาด้วยการประพฤติปฏิบัติ จนเกิดเป็นพระรัตนตรัยขึ้นมาภายในใจ ด้วย อัตตาหิ อัตตโน นาโถ คือ ด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุธรรมขึ้นมา กลายเป็นผู้ที่มีสรณะพร้อมสมบูรณ์ในตัวของเรา เป็นพระรัตนตรัยที่ไม่มีใครทำลายได้ หรือพรากไปจากตัวเราได้ เป็นสมบัติที่แท้จริงของเรา เป็นสมบัติที่ทำให้เราอยู่ได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ 

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.111 Chrome 86.0.4240.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2563 11:06:37 »



กัณฑ์ที่ ๔๙
พระอริยสัจ ๔
๔ มีนาคม ๒๕๔๔

หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงอุทิศเวลาทั้งหมดที่เหลืออยู่ ตลอดเวลา ๔๕ พรรษา เพื่อการเผยแผ่พระธรรมคําสอน พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ มีทั้ง มนุษย์และเทวดา พระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนมีจํานวนมากมาย เท่าที่ สามารถรวบรวมและบรรจุไว้ในพระไตรปิฏกก็มีอยู่ถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ด้วยกัน ถึงแม้พระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์จะมีมากมายขนาดไหนก็ตาม พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าธรรมของพระพุทธองค์นั้น มีรสชาติ มีเนื้อหาสาระเหมือนๆกัน เปรียบเหมือนกับนํ้าในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาลที่มีอยู่มากมายทั่วโลก แต่ก็มีรสชาติเหมือนๆกัน คือรสเค็ม ฉันใดพระธรรมคําสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ทรงประกาศสั่งสอนให้แก่สัตว์โลกก็มีเนื้อหาสาระเหมือนๆกัน คือ เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ทุกๆบท ทุกๆบาทจะเกี่ยวกับเรื่องทุกข์และการดับทุกข์

เวลาพูดถึงทุกข์และการดับทุกข์ ต้องไม่มองข้ามพระอริยสัจ ๔ เพราะพระอริยสัจ ๔ คือ ที่รวมเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ เป็นธรรมของพระพุทธเจ้าโดยตรง เป็นธรรมที่ไม่มีใครสามารถรู้เห็นได้นอกจากผู้ที่ได้สะสมบุญบารมีมามากมายอย่างพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะสามารถค้นพบพระธรรม คือ พระอริยสัจ ๔ ได้ถ้าผู้ใดสามารถบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ ได้โดยที่ไม่ได้เรียนรู้จากใครมาก่อน บุคคลนั้นก็จะเรียกตนเองว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ จะมีผู้มารู้พระอริยสัจ ๔ อยู่เรื่อยๆ หลังจากที่พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าองค์ ปัจจุบันนี้หมดสิ้นไปแล้ว ต่อไปก็จะมีบุคคลที่ เรียกว่า พระโพธิสัตว์ ที่ได้สะสมบุญบารมีมาศึกษาค้นคว้าหาจนบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ ด้วยตนเองโดยไม่มีใครสั่งสอน เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา ถ้าหลังจากได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว แต่ไม่ได้สั่งสอนใคร ก็จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า รู้เฉพาะตน ถ้าประกาศพระธรรมคําสอนให้แก่สัตว์โลก ก็จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ที่พวกเราให้ความเคารพนับถือเลื่อมใส

หลังจากได้ตรัสรู้ในพระอริยสัจ ๔ แล้ว พระพุทธองค์ก็ได้สละเวลาที่เหลือในชีวิตของพระพุทธองค์ ประกาศพระศาสนาให้แก่สัตว์โลกด้วยพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ เพื่อให้ผู้อื่นได้รู้ได้เข้าถึงพระอริยสัจ ๔ เพราะว่าผู้ใดก็ตามที่ สามารถบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ ได้แล้ว จะเป็นผู้ที่อยู่เหนือความทุกข์ทั้งหลาย อยู่เหนือการเวียนว่ายตายเกิด อยู่เหนือภัยทั้งหลายที่จะมาทําร้ายจิตใจ จะมีแต่บรมสุข ปรมังสุขัง เท่านั้น หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยพระคุณทั้ง ๓ พระพุทธองค์จึงได้ประกาศพระศาสนาสั่งสอนแก่สัตว์โลกทั้งหลายที่ยังตกอยู่ภายใต้อํานาจของอวิชชา ความมืดบอด โมหะ ความหลง ยังไม่รู้จักวิธีปลดเปลื้องตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายด้วยตนเอง ถ้าไม่มีผู้แนะนําสั่งสอนวิธีการดับทุกข์แล้ว ก็จะไม่มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์ไปได้เพราะขาดบุญบารมีที่จะบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ ได้ด้วยตนเอง

ผู้ใดก็ตามที่ได้เข้าถึงพระอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิง เข้าถึงพระนิพพาน สิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่าตราบใดยังมีการเกิดอยู่ ตราบนั้นก็ยังต้องมีการแก่ การเจ็บ การตาย เป็นธรรมดา ผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์จะต้องยับยั้งการเกิดให้ได้ นี่เป็นสัจธรรม เป็นความจริง ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ต้องหยุดการเกิดให้ได้เพราะทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิด ถ้าเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวงเป็นธรรมดา นี่คือทุกขสัจ เป็นพระอริยสัจข้อที่ ๑

พระอริยสัจข้อที่ ๒ คือ สมุทัย ต้นเหตุของความทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความอยากทั้ง ๓ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความอยากในกาม ความอยากมีอยากเป็น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น คือความเกลียดชัง ความกลัวต่างๆ ไม่อยากจะพบ ไม่อยากจะเจอ ตัณหาทั้ง ๓ นี้ เป็นเหตุที่สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นมาในจิตใจ ถ้าไม่มีตัณหาก็จะไม่มีความทุกข์  พระอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ ความดับทุกข์ทุกข์นี้เราสามารถดับได้ความดับทุกข์เป็น สัจจะ เป็นความจริง ไม่จําเป็นต้องทนกับความทุกข์ไปตลอดอนันตกาล เพราะเรา สามารถดับทุกข์ได้

พระอริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทําชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ ๗. สัมมาสติ การระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ การตั้งจิตมั่นโดยชอบ นี่คือมรรค ๘ ย่อลงมาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา ดังที่ญาติโยมได้มาปฏิบัติธรรมกันในวันนี้ เป็นการเจริญมรรคด้วยการให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม เวลากลับไปบ้าน ก็ต่อด้วยการไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญ วิปัสสนา

ในพระอริยสัจ ๔ พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงกิจที่ผู้จะบรรลุถึงพระอริยสัจ ๔ ต้องปฏิบัติ คือ ๑. ทุกข์ จะต้องกําหนดรู้ ๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์จะต้องละ ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ จะต้องทําให้แจ้ง ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์จะต้องเจริญให้มาก นี่ คือกิจทั้ง ๔ ในพระอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงบําเพ็ญมาจนได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าทุกข์ที่ให้กําหนดรู้ เราได้กําหนดรู้แล้ว สมุทัยที่จะต้องละเราได้ละแล้ว นิโรธความดับทุกข์ที่จะต้องทําให้แจ้ง เราได้ทําให้แจ้งแล้ว มรรคที่จะต้องเจริญให้บริบูรณ์ เราได้เจริญเต็มที่แล้ว ผู้มีความปรารถนาความพ้น ทุกข์จะต้องดําเนินจะต้องปฏิบัติกิจทั้ง ๔ นี้ให้ครบบริบูรณ์ถึงจะบรรลุธรรมได้

ท่านที่มีความปรารถนาความพ้นทุกข์จึงขอให้น้อมเอาพระอริยสัจ ๔ เข้ามาปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ โดยการกําหนดดูด้วยปัญญาให้รู้ว่า การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบทั้งหลาย การพลัดพรากจากของรักทั้งปวง อุปาทานความยึด มั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สมุทัยต้นเหตุของทุกข์ก็คือตัณหา เช่น วิภวตัณหา ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย อยากจะไม่ประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ อยากจะไม่พลัดพรากจากของรัก เหล่านี้เรียกว่าวิภวตัณหา คือ ความเกลียด  ความกลัวนั่นเอง คนเราทุกคนเวลาพูดถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะมีความรู้สึก ว่าไม่ชอบ เกลียด กลัว ความไม่ชอบ ความเกลียด ความกลัวนี่แหละ คือ วิภวตัณหา ทําให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา ถ้าไม่อยากจะทุกข์ ก็ต้องละวิภวตัณหาให้ได้ คือ ต้องละความไม่ชอบ ความเกลียด ความกลัว ด้วยการทําความเข้าใจว่า เมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อยอมรับความจริงข้อนี้แล้วก็จะหายกลัว ก็จะละสมุทัย คือวิภวตัณหาได้ เมื่อละสมุทัย คือ วิภวตัณหาได้แล้ว นิโรธ ความดับทุกข์ก็จะปรากฎขึ้นมา คือได้ทํานิโรธให้แจ้งแล้ว ด้วยการใช้เหตุผล คือสติปัญญา ความเห็นชอบ ความดําริชอบ ความระลึกชอบ ซึ่งเป็นการเจริญมรรคนั่นเอง การเจริญมรรคคือการใช้สติปัญญาใคร่ครวญอย่างต่อเนื่องให้เห็นว่า เมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบทั้งหลาย ต้องพลัดพรากจากของรักทั้งปวง เมื่อได้พิจารณาอยู่เรื่อยๆ โดยโยนิโสมนสิการ นิโรธ ความดับทุกข์ ก็จะปรากฎขึ้นมาตามลําดับๆ จนเป็นนิโรธ ความดับทุกข์ที่สมบูรณ์ในที่สุด เป็นการปฏิบัติกิจในพระอริยสัจ ๔ ได้อย่างสมบูรณ์ คือได้กําหนดรู้ทุกข์แล้ว ได้ละสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ คือตัณหาทั้งหลายแล้ว ได้ทํานิโรธ ความดับทุกข์ให้แจ้งแล้ว ได้เจริญมรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้สมบูรณ์แล้ว เมื่อได้ปฏิบัติกิจทั้ง ๔ นี้อย่างสมบูรณ์แล้ว ก็จะบรรลุถึงพระนิพพาน สิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
การให้ธรรมะเป็นการให้ที่ดีที่สุด พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 865 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2562 13:51:09
โดย Maintenence
อย่าไปยึดอย่างอื่นเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 803 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2563 13:53:44
โดย Maintenence
วันพระ วันธัมมัสสวนะ พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 751 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2563 10:27:17
โดย Maintenence
สัจธรรมความจริงของชีวิต โดย พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 1071 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2563 18:00:26
โดย Maintenence
นั่งเฉยๆสัก ๖ หรือ ๘ ชั่วโมง โดย พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 47 กระทู้ล่าสุด 13 มกราคม 2567 15:24:49
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.519 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 08:11:25