[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 18:02:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 5 มาสก เป็นเงินเท่าไร?  (อ่าน 1373 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2562 15:47:39 »








5 มาสก เป็นเงินเท่าไร

วันนี้จะพูดเรื่องอาบัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ สักเล็กน้อย วันที่ไปซื้อทองคำไปหล่อยอดฉัตรเจดีย์องค์หลวงตา เราให้โยมหาเมล็ดข้าวเปลือก ๖๐ เมล็ด ไปด้วย พอไปถึงร้านทอง ซื้อทองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขอให้ทางร้านช่วยชั่งเมล็ดข้าวเปลือกให้ที โดยแบ่งเป็น ๓ ชุด ๆ ละ ๒๐ เมล็ด ผลการชั่งน้ำหนัก เป็นดังรูป คือ ๐.๕๕ กรัม, ๐.๕๔ กรัม, ๐.๕๒ กรัม หาค่าเฉลี่ยออกมา ได้เท่ากับ ๐.๕๓๖ กรัม ปัดเศษได้เป็น ๐.๕๔ กรัม

บางคนอาจมีปัญหาถามว่า บ้าหรือเปล่า ที่เอาเมล็ดข้าวเปลือกไปชั่ง

คำตอบ คือ ไม่ได้บ้า แค่อยากรู้ว่า เมล็ดข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด มีน้ำหนักเท่าไร ได้คำตอบออกมาแล้ว คือ น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ ๐.๕๔ กรัม

นี่ คือ น้ำหนักทองคำ ที่เทียบเท่าเงิน ๕ มาสก อันเป็นมูลค่าทรัพย์ที่เป็นเหตุให้พระต้องอาบัติปาราชิก หากมีเจตนาหยิบฉวยเอาทรัพย์ของเขาด้วยอาการแห่งขโมย คือรู้อยู่ว่า ทรัพย์นั้นมีเจ้าของ และเจ้าของเขาไม่ได้ให้ มีไถยจิตคิดที่จะเอาของเขามาเป็นของตัวเอง ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ทันทีที่ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่ ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิก หาสังวาสมิได้

พระวินัยกำหนดให้ ๕ มาสก เทียบเท่ากับมูลค่าทองคำน้ำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก คือ ๐.๕๔ กรัม มาคิดเป็นตัวเงินดู

ทองคำหนัก ๑ กิโล = ๖๕.๙๖ บาท
ทองคำหนัก ๑ บาท = ๑๕.๑๖ กรัม
ทองคำหนัก ๑ บาท ราคาตอนนี้อยู่ที่ ๑๘,๕๕๐ บาท ก็เอา ๑๕.๑๖ กรัม ไปหาร ผลลัพธ์จะได้ ๑,๒๒๓.๖๑ บาท แล้วเอา ๐.๕๔ กรัม ไปคูณ ได้เท่ากับ ๖๖๐.๗๕ บาท เป็นมูลค่าแห่งอาบัติปาราชิก เท่าราคาทองคำ ณ เวลาปัจจุบันตอนนี้

คิดง่าย ๆ เผื่อราคาทองคำขึ้น ๆ ลง ๆ ในทางปลอดภัยไว้ก่อน คือเท่ากับเงิน ๖๐๐ บาท พระองค์ไหนขโมยเงิน หรือทรัพย์ของใคร ตั้งแต่ ๖๐๐ บาท ขึ้นไป ก็มีสิทธิ์เป็นอาบัติปาราชิกได้ทันที เรียกว่า ความเป็นพระถูกตัดขาดทำลายได้ด้วยเงินเพียง ๖๐๐ บาท เท่านั้นเอง

ดังนั้น ภิกษุทั้งหลาย พึงระวังสังวรให้ดี ๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่า ขโมยแค่ไหนจึงเข้าข่ายเป็นอาบัติปาราชิก



ขอขอบคุณที่มา (ภาพ-ข้อมูล) : เว็บไซต์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2562 16:04:00 »



ค่าของ ๕ มาสก

วินัยพระ ที่ทุกรูปต้องฟังทบทวนทุกวันพระ ๑๕ ค่ำ เป็นแค่พระวินัยในปาฏิโมกข์ ยังมีวินัยนอกปาฏิโมกข์อีกมากมาย เท่าที่ผมพอจำได้ อย่างข้อ พระส่องกระจกดูเพื่อความสวยงาม เป็นอาบัติถุลลัจจัย

วินัยในพระไตรปิฎก เปรียบกฎหมายบ้านเมือง ก็คือกฎหมายแม่...รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ข้อบัญญัติ คำสั่ง...ที่สงฆ์ออกมาครั้งหลัง...เป็นกฎหมายลูก จะเอากฎหมายลูกหักล้างกฎหมายแม่คงไม่ได้

พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับผู้เริ่มศึกษา (อุทัย บุญเย็น ๒๕๔๘) เขียนถึง ทุติยปาราชิก-ลักทรัพย์ว่า พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติที่ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ราวพรรษาที่ ๑๗ หรือพรรษาที่ ๒๐  พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแคว้นมคธ เคยปวารณากับพระสงฆ์ว่า หญ้าไม้ และน้ำ ขอถวายแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ขอได้โปรดใช้สอย...พระธนิยะ บุตรช่างหม้อ ตั้งใจปลูกกุฏิไม้...อ้างพระดำรัสนี้ ไปขอไม้หลวง ปลูกกุฏิหลังหนึ่ง ต่อมาคนดูแลไม้หลวงก็เจอโทษถึงประหาร พระธนิยะ ขอเข้าไปเป็นพยานไว้ได้   พระเจ้าพิมพิสาร ระลึกได้เคยตรัสอนุญาต แต่ก็ทักว่า สมณะ ผู้ทรงศีล ควรสำรวมระวังแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ  ทรงหมายความว่า หญ้า ไม้และน้ำในป่า ที่ไม่มีใครหวงแหน ไม่ได้หมายถึงไม้หลวง ไม้หวงห้าม

พระพุทธองค์ทรงบัญญัติว่า ภิกษุใด เอาทรัพย์อันเจ้าของเขาไม่ได้ให้ เป็นอาการเดียวกับโจร ขโมย ภิกษุนั้น เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้  ตัวอย่างหนึ่ง...ภิกษุไปกล่าวตู่เอาที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาทันทีที่เขาปล่อยเป็นกรรมสิทธิ์ ปรับอาบัติเป็นปาราชิก และถ้าเจ้าของไม่ยอม มีการฟ้องร้องกันถึงศาล แม้ภิกษุเป็นฝ่ายชนะ ได้ที่ดินมา ก็เป็นปาราชิก  เรียกว่าชนะทางโลก แต่แพ้สิกขาบททางสงฆ์

มาถึงประเด็น ค่าของเงิน ๕ มาสก ขึ้นไป ที่พระวินัยบัญญัติ ว่าภิกษุลักของเขาไป เป็นปาราชิก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งสันนิษฐานตามมาตรารูปิยะที่ใช้ในแคว้นมคธสมัยนั้น

๕ มาสก เท่ากับ บาทหนึ่ง ๔ บาท เท่ากับกหาปณะหนึ่ง

สมัยพุทธกาล รูปิยะแต่ละแคว้นมีอัตราไม่เท่ากัน เหมือนสมัยนี้อัตราค่าแลกเปลี่ยนเงินตราไม่เท่ากัน

ค่าเงินบาทสมัยนั้น กับค่าเงินบาทของไทย เป็นคนละอย่าง

ในคัมภีร์ชั้นฎีกา แสดงไว้ว่า กหาปณะเป็นมาตราทองคำ ๑ กหาปณะ เท่ากับ ทองคำหนัก ๒๐ มาสก ๑ มาสก เท่ากับ ทองคำหนัก ๔ เมล็ดข้าวเปลือก

๑ บาท เท่ากับ ๑/๔ ของหนึ่งกหาปณะ นั่นคือ ๑ บาท เท่ากับ ๕ มาสก หรือ ๕ มาสก เท่ากับ ทองคำ ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก

ฉะนั้น ๑ บาท (สมัยนั้น) จึงเท่ากับ ทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงสรุปว่า ทรัพย์ราคาบาทหนึ่ง คือ ๕ มาสก เป็นเกณฑ์ปรับอาบัติปาราชิก ไม่ถึงบาทแต่สูงกว่า ๑ มาสก ปรับอาบัติถุลลัจจัย ตั้งแต่ ๑ มาสก ลงมา ปรับอาบัติทุกกฎ

ถือหลักสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ...ค่าของเงินที่พระจะเป็นอาบัติ ทุกกฎ ถุลลัจจัย ปาราชิก ในเมืองไทยสมัยปัจจุบัน ก็ต้องไปเอาเมล็ดข้าวเปลือก มาชั่งเทียบเคียงกับน้ำหนักทองคำ

อีกหลัก ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นี้ ภาษาชาววัดว่าเป็น “สจิตตกะ” คือ ต้องมีเจตนาลัก เช่น คิดว่าเป็นของตนจึงถือเอา คิดว่าเขาทิ้งแล้ว ถือเอาด้วยวิสาสะ ถือเป็นของยืม จึงเป็นอาบัติ

อ่านวินัยปิฎกถึงตอนนี้แล้ว คิดจะปรับอาบัติพระเป็นปาราชิก ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โอกาสที่พระไม่เป็นปาราชิก ยังมีอีก เช่น เป็นพระวิกลจริต พูดง่ายๆ พระบ้า  พระที่ห่มจีวรกาววาวเหวอหวา ไม่เหมือนพระอื่น มีพิธีกรรม ไม่เหมือนพิธีสงฆ์ทั่วไป บางเวลาก็ขอโอกาสญาติโยมไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แบบนี้ถ้าตีความว่า เป็นพระบ้า ก็ปรับปาราชิกท่านไม่ได้ ปล่อยให้ท่านบ้าของท่านไป.


ที่มา นสพ.ไทยรัฐ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องที่เราควรรู้ไว้{มาสก}
สุขใจ ห้องสมุด
時々๛कभी कभी๛ 0 1716 กระทู้ล่าสุด 21 พฤษภาคม 2554 16:21:03
โดย 時々๛कभी कभी๛
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.226 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 เมษายน 2567 02:09:07