[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:21:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พญานาค  (อ่าน 4124 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2554 13:00:25 »


นักวิชาการชี้ พญานาคเล่นน้ำ บ่งชี้ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ เตือนคนไทยมีโอกาสพบปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแปลกๆ มากขึ้น และมีโอกาสเห็น หิมะตก ในเมืองไทย

จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติพายุหมุน หรือที่เรียกว่า "พญานาคเล่นน้ำ" ที่เกิดที่อ่าวพัทยา ห่างจากชายฝั่ง 2 กิโลเมตร ซึ่งพายุหมุนวัดระดับความสูงจากพื้นน้ำทะเลถึงท้องฟ้าเท่ากับตึก 30 ชั้น และกินเวลานานกว่า 30 นาที เมื่อเย็นวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมานั้น

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาภัยพิบัติและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปรากฏการณ์ลักษณะดังกล่าวหากเกิดบนบกเรียก "พายุงวงช้าง" แต่ถ้าเกิดในน้ำเรียก "พญานาคเล่นน้ำ" ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงนี้ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า

มี ความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น แต่มีข้อบ่งชี้ว่าเกิดจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ต้องการปรับสมดุล เช่นเดียวกับกรณีการเกิดลูกเห็บตกที่ทำเนียบ ปกติลูกเห็บจะตกในช่วงพายุฤดูร้อนซึ่งมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากๆ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม คงคล้ายๆ การเกิดปรากฏการณ์พญานาคเล่นน้ำ ที่ไม่น่าจะเกิดในช่วงเวลานี้

ผมเคยบอกไว้แล้วว่า ต่อจากนี้ไปเราจะเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติแปลกๆ บ่อยขึ้น และปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเห็นก็อาจมีโอกาสได้เห็น ต่อจากนี้ไปเมืองไทยอาจมีหิมะตกอย่างที่เวียดนาม ซึ่งมีละติจูดคล้ายๆ กับเมืองไทย ยังเกิดหิมะตกมาแล้ว ขณะเดียวกันใน จ.เชียงรายก็เคยมีหิมะตกแต่ไม่เป็นข่าว ซึ่งเป็นผลพวงจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศจากสภาวะโลกร้อน" รศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าว

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อมูลการเกิดพายุงวงช้างและพญานาคเล่นน้ำใน http://gotoknow.org/blog/weather ระบุว่า การเกิดพายุลักษณะนี้มีอยู่ 2 แบบ

คือ พายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นเหนือผืนน้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างที่ฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เรียกว่า พายุฝนฟ้าคะนองแบบซูเปอร์เซลล์ (supercell thunderstorm) และมีระบบอากาศหมุนวนที่เรียกว่า เมโซไซโคลน (mesocyclone) พายุนาคเล่นน้ำแบบนี้จึงเรียกว่า นาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์นาโด (tornadic waterspout)

และพายุที่เกิดจากการที่มวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่ อุ่นกว่าโดยไม่มีฝนฟ้าคะนอง ทำให้อากาศที่อยู่ติดกับผืนน้ำซึ่งอุ่นในบางบริเวณจะยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ทำให้อากาศโดยรอบไหลเข้ามาแทนที่

จากนั้นจึงพุ่งเป็นเกลียวขึ้นไปเรียกว่า นาคเล่นน้ำของแท้ (true waterspout) หรือนาคเล่นน้ำที่เกิดในช่วงอากาศดีพอสมควร (fair-weather waterspout)

ดร.บัญชาตั้งข้อสังเกตว่า หากพายุนี้เกิดขึ้นพร้อมกับพายุฤดูร้อน พายุนี้ควรเรียกว่า "พายุทอร์นาโด" เพราะเมฆที่ให้กำเนิดพายุจะต้องเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง

แต่จะต้องเป็นฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก และเกิดเมโซไซโคลน แต่หากไม่ใช่พายุทอร์นาโดก็ต้องดูพื้นผิวของบริเวณที่เกิดงวงช้าง ถ้าเป็นที่ผืนน้ำ พายุนี้ก็คือพายุนาคเล่นน้ำของแท้นั่นเอง




Sometime Home


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/03.%20TracK%203.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/03.%20TracK%203.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/03.%20TracK%203.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2554 13:12:45 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น: พญานาค 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พญานาค
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
時々๛कभी कभी๛ 0 2277 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2554 12:47:24
โดย 時々๛कभी कभी๛
บุพกรรม พญานาค สองผัวเมีย กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก 0 2134 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2559 04:23:58
โดย มดเอ๊ก
พญานาค ฉัพพยาปุต ที่น้ำตกไนแองการ่า : หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 0 1997 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2559 18:49:06
โดย มดเอ๊ก
พญานาคมีจริง! เรื่องเล่าจากศิษย์ใกล้ชิด หลวงปู่หมุน พญานาค เทวดา นางฟ้า มีจริง!
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 0 1579 กระทู้ล่าสุด 07 ตุลาคม 2559 23:36:43
โดย มดเอ๊ก
ตำนานพญาน้อน ? เหรา มอม พญานาค แมงสี่หูห้าตา พวกมันไปอยู่หน้าวิหารทำไม ?
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
มดเอ๊ก 0 197 กระทู้ล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2566 18:01:08
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.394 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 00:29:36