[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 ธันวาคม 2567 02:12:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา ต.สวนพูล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา  (อ่าน 1512 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5788


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 มกราคม 2563 16:26:22 »



บ้านฮอลันดา เป็นแหล่งเรียนรู้การใช้พื้นที่ที่เคยเป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก ของชาวฮอลันดาในสมัยกรุงศรีอยุธยา


ซึ่งหลงเหลือเพียงฐานรากโบราณสถานอาคารคลังสินค้าเดิม  โดย กรมศิลปากรได้เข้ามาขุดแต่งในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๘ และในปี
พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ ขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องกระเบื้องจีน เครื่องปั้นดินเผา กล้องสูบยาของดัตช์ และเหรียญเงินตราดัตช์ ฯลฯ





พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา
ตำบลสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ราชอาณาจักรของไทยในสมัยโบราณเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อน ทำมาค้าขายระหว่างประเทศทางทะเลมากกว่าทางบก การค้าทางทะเลนี้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งสู่ราชธานี พ่อค้าวานิชนักเดินเรือ ออกเดินทางด้วยกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เดินทางตามลมมรสุม สำรวจพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อทำการค้าหรือแสวงหาอาณานิคม  

โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกจากยุโรปชาติแรกที่เข้ามาสัมพันธ์กับอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ – ๒๐๗๒ ) เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙ เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้าและตั้งคลังสินค้า ซึ่งก็ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งที่พำนักอาศัยอยู่ในพระนครได้

ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาเป็นชาติที่สอง รองจากชาติโปรตุเกส คือเนเธอแลนด์ หรือฮอลันดา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความเชี่ยวชาญทางการค้ามาแต่อดีต

ชาวฮอลันดาติดต่อกับกับชาวไทยครั้งแรก เกิดขึ้นในปี ค.ศ.๑๖๐๑ เมื่อเรือของชาวฮอลันดาเดินทางมาถึงปัตตานีที่อยู่ทางใต้ของไทย และตั้งสถานีการค้าขึ้นหลายแห่งที่นั่น

ต่อมาในปี ค.ศ.๑๖๐๔ บริษัท VOC อาศัยข้อมูลจากพ่อค้าปัตตานีว่าอยุธยามีสินค้าจากเมืองจีนมาขายในพระนครเช่นเดียวกับปัตตานี จึงได้ส่งแลมเบิร์ต จาคอบซ์ เฮอิน (Lambert Jacobsz Heijn) และคอร์เนลีส สเปกซ์ (Cornelis Specx) มายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสำรวจตลาด

นับเป็นปีแรกที่เริ่มความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดา ซึ่งทำให้เกิดการตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่อยุธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในปี พ.ศ.๒๑๕๑ (ค.ศ.๑๖๐๘) ซึ่งเชื่อว่าอยู่ทางใต้ภายในเกาะเมืองอยุธยา แต่มีพื้นที่จำกัด  เมื่อมีการก่อตั้งบริษัท Vereigde Oostindische Compangnie (VOC) หรือบริษัท Dutch East India ขึ้นในเนเธอร์แลนด์ สถานีการค้าเหล่านั้น จึงได้รวมเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการค้า VOC


ใน พ.ศ.๒๑๗๗ (ค.ศ.๑๖๓๔) สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงตอบแทนการที่ VOC ให้ความช่วยเหลือทางการทหารด้วยการส่งเรือไปช่วยกองทัพสยามในกรณีพิพาทกับเมืองปัตตานี โดยพระราชทานที่ดินผืนใหญ่สำหรับก่อตั้งสถานีการค้า ซึ่งติดแม่น้ำเจ้าพระยาและอยู่นอกเกาะเมือง สะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าลงเรือเป็นอย่างมาก

ชาวฮอลันดา จะแตกต่างกับโปรตุเกส คือ ฮอลันดานั้นสนใจเฉพาะด้านการค้าโดยไม่ได้สนใจในเรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  สำหรับสินค้าที่ชาวฮอลันดาต้องการจากอยุธยามาก ได้แก่ เครื่องเทศ พริกไทย หนังกวาง และข้าว ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเป็นไปด้วยดี จะกระทั่งใน พ.ศ. ๒๑๗๖ ฮอลันดาได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไทยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าฮอลันดาในการผูกขาดการค้าหนังสัตว์จากไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพ่อค้าชาวฮอลันดาเสื่อมทรามลงในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  เมื่อชาวฮอลันดาพยายามจะติดต่อทางการค้าโดยตรงกับญี่ปุ่นโดยไม่ผ่านทางไทย และเมื่อไทยขอร้องให้ฮอลันดาช่วยปราบจลาจลที่ปัตตานีก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ทำให้เรือไทยถูกปล้นไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาจึงอยู่ในภาวะตึงเครียดตอนปลายรัชกาลนี้ ไทยไม่ยอมขายข้าวให้ฮอลันดา และยังมีข้อพิพาทกันเรื่องเมืองสงขลาและตะนาวศรีอีกด้วย
 
ความบาดหมางใจกันระหว่างไทยกับฮอลันดารุนแรงขึ้น ฮอลันดาได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย และเรียกร้องสิทธิพิเศษต่างๆ จากไทยมากมาย เช่น ฮอลันดามีสิทธิในการค้าขายที่นครศรีธรรมราช ถลาง และหัวเมืองอื่นๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษในการพิจารณาพิพากษาคดีคือ ชาวฮอลันดากระทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นต้น

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฮอลันดาทำให้ไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมากแต่ก็ทำให้เราสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้  

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ฮอลันดาเกิดมีปัญหากับอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องการค้า จนทำให้ทั้งสองประเทศได้มีการรบพุ่งกันขึ้นทางเรือ ผลปรากฏว่าฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และได้เลิกติดต่อค้าขายกับอยุธยา แต่อิทธิพลของฮอลันดาก็เริ่มเสื่อมลงในตอนกลางสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะทางกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเป็นการคานอำนาจฮอลันดา จนกระทั่งสมัยพระเพทราชาได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไป ฮอลันดายังมีการติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์กับอยุธยาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.๒๓๑๐ ชาวฮอลันดาไม่ได้หวนกลับมาทำการค้ากับสยามโดยตรงอีกเลยเป็นเวลานานกว่าครึ่งศตวรรษ จนประมาณกลางปี พ.ศ. ๒๓๖๐ และ ๒๓๗๐ เรือสินค้าของฮอลันดาเริ่มเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่นับว่าเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๐๓ มีการลงนามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม พ.ศ.๒๓๙๘ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนำสยามเข้าสู่ระบบการค้าเสรีและเศรษฐกิจโลก



ชาวดัตช์ พลเมืองของเนเธอร์แลนด์ หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา .
เป็นคนขยันขันแข็ง เชี่ยวชาญในการค้า ในสมัยโบราณชอบเดินเรือไปค้าขายรอบโลก



เรือสำเภาโบราณจำลอง สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการเดินทางไปค้าขายกับต่างประเทศในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการเดินเรือ
ไปพร้อมๆ กันหลายลำซึ่งจะช่วยป้องกันภัยจากโจรสลัดได้ดี หรือหากเรือลำใดอับปางก็ยังมีเรือในกลุ่มช่วยเหลือกันได้


ชาวดัตซ์โบราณ มีสุภาษิตบทหนึ่ง ว่า “สิ่งที่นำมาจากแดนไกลที่สุด ย่อมดีที่สุด”
ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ ชาวฮอลันดาที่มีฐานะร่ำรวย ใช้ชีวิตหรูหราด้วยข้าวของจากแดนไกล พวกเขาใส่
เครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บจากผ้าตะวันออก รับประทานอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศเมืองร้อนนานาชนิด ดื่มชา และใช้
เครื่องเรือนที่ทำจากไม้มะเกลือ ฝ่ายสตรีมีงานอดิเรกคือการแต่งบ้านตุ๊กตาหลังงามด้วยวัสดุจากจีนและอินเดีย


ฝ่ายบุรุษนิยมเก็บสะสมของแปลกหายาก เช่น ขนนกเขตร้อนหรือเปลือกหอยทะเลใต้  งานอดิเรกเหล่านี้สะท้อนให้เห็น
ความก้าวหน้าของฮอลันดาในการสำรวจดินแดนใหม่ การเดินเรือ และการทำแผนที่ นอกจากนี้ตู้เก็บสะสมข้าวของ
น่าพิศวงต่างๆ ที่เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ในบ้าน แสดงถึงการสั่งสมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พฤกษศาสตร์
และสัตววิทยา ของชาวยุโรป

โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 มกราคม 2563 16:29:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5788


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 มกราคม 2563 16:15:49 »














ชาวฮอลันดาเป็นผู้นำเข้าความแปลกใหม่เข้ามาสู่สยาม ได้นำเอาวัตถุ เทคโนโลยี และแบบแผนการปฏิบัติที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหลายอย่างเข้ามาในสยาม อาทิ เครื่องแก้ว ขวดแก้วบรรจุไวน์ซึ่งเป็นเครื่องดื่มไว้รับรองเพื่อนร่วมงานและแขกผู้มีเกียรติอย่างขุนนางสยาม เครื่องเขียน แว่นสายตา หมวกทรงฝรั่ง กล้องส่องทางไกล กล้องสูบยาเซรามิก พวกเขาเล่นบิลเลียดและเป่าทรัมเป็ต ช่างไม้ ช่างเคลือบ ช่างทำหมวกขนสัตว์ และช่างทองจากปัตตาเวียถูกส่งมารับใช้กษัตริย์สยาม ราชสำนักสั่งของทันสมัยอย่างหมวกและแว่นสายตาผ่านสำนักงานการค้า VOC รวมถึงผลผลิตของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในโลกตะวันตกอย่างกล้องส่องทางไกล

Voc รายงานว่า โกษาปาน อดีตราชทูตสยามผู้เดินทางไปเยือนราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในขณะดำรงตำแหน่งออกญาพระคลังได้ขอยืมกล้องส่องทางไกลของบริษัทฯ ไปใช้วัดระยะเพื่อสร้างเจดีย์ นอกจากนี้ มีข้อสันนิษฐานว่า ถนน “ฝรั่งส่องกล้อง” ซึ่งทอดยาวจากท่าเรือไปยังพระพุทธบาทอาจสร้างโดยชาวฮอลันดานั่นเอง



นอกเหนือจากสินค้าฟุ่มเฟือยจากจีน คือ ผ้าไหม เครื่องเคลือบ สิ่งที่วีโอซีต้องการจากเอเชียมากที่สุดคือการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ ที่สำคัญคือ กานพลู ลูกจันทน์เทศ ดอกจันทน์เทศ ซึ่งมีให้ซื้อหาได้เพียงที่หมู่เกาะเครื่องเทศ (ทางตะวันออกของอินโดนีเซียในปัจจุบัน) รวมถึงอบเชยซึ่งมีแหล่งผลิตหลักที่ศรีลังกา ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างยิ่งในเครือข่ายการค้าโลก นอกจากนี้ชาวฮอลันดายังต้องการพริกไทยซึ่งพบมากในอินเดียใต้ สุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์











ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ “บ้านฮอลันดา” ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งฐานของชาวฮอลันดาในอยุธยา และความสัมพันธ์ไทย-เนเธอร์แลนด์
สร้างขึ้นด้วยเงินทุน จากพระราชทรัพย์สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และ
งบประมาณจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์เพื่อการก่อตั้งศูนย์ข้อมูลและจัดแสดงนิทรรศการ เป็นอนุสรณ์แสดงสัมพันธภาพอันยั่งยืนระหว่างสอง
ประเทศ  บ้านฮอลันดา บอกเล่าความเป็นมาเมื่อครั้งอดีตของการเข้ามาตั้งถิ่นฐานการทำการค้าของพ่อค้าดัตช์ และวิถีความเป็นอยู่ใน
ประเทศไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มกราคม 2563 16:21:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.327 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 05:51:58