[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 15:32:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตะโพน บรมครูทางดุริยางคศิลป์ เสียงตีหรือ"หน้าทับ" กำกับทำนองเพลงร้องหรือดนตรี  (อ่าน 1007 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5443


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 มกราคม 2563 11:37:08 »



ตะโพน เครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ เป็นกลองที่พระคเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก
ใช้สำหรับประกอบจังหวะผสมร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ และทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆ ทั้งหมด
ผู้บรรเลงหน้าทับต้องตีกำกับจังหวะให้ถูกต้องกับประโยคเพลงและต้องตีให้กลมกลืนกับทำนองเพลงร้องหรือดนตรี


หน้าทับ

หน้าทับ คือเสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง เช่น ตะโพน กลองแขก ที่เลียนเสียงมาจากทับ (โทน)

หน้าทับมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่างๆ ใช้บอกสัดส่วนและประโยคของเพลงนั้นๆ เช่น หน้าทับปรบไก่

ส่วนเสียงตีเครื่องหนังซึ่งไม่ได้เลียนเสียงจากทับ เช่น กลองทัด กลองมะริกัน จะเรียกว่า ไม้กลอง ซึ่งเป็นวิธีการตีกลองทัดตามแบบแผนที่บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน

หน้าทับแบ่งออกเป็น
๑.หน้าทับสามัญ ใช้กับเพลงต่างๆ มี ๒ อย่างคือ หน้าทับสองไม้มีทำนองจังหวะหน้าทับค่อนข้างสั้นเพื่อสะดวกและเหมาะสมกับทำนองเพลงที่มีประโยคสั้นๆ มีทำนองพลิกแพลง หรือมีกำหนดความยาวไม่แน่นอน และหน้าทับปรบไก่ซึ่งมีทำนองจังหวะหน้าทับค่อนข้างยาว คือทุกอัตรามีความยาวเป็น ๒ เท่าของหน้าทับสองไม้ ใช้กับเพลงที่มีทำนองดำเนินประโยควรรคตอนเป็นระเบียบ

๒.หน้าทับภาษา ใช้กับเพลงภาษาต่างๆ เช่น หน้าทับเขมร หน้าทับแขก หน้าทับสดายง

๓.หน้าทับเฉพาะประเภท ใช้กำหนดว่าต้องบรรเลงเฉพาะประเภทเพลงนั้นๆ เช่น หน้าทับตระ หน้าทับสมิงทอง หน้าทับลงสรง

๔.หน้าทับเฉพาะเพลง ใช้บรรเลงเฉพาะกับเพลงนั้นๆ เท่านั้น เช่น หน้าทับเพลงสาธุการ

ผู้บรรเลงหน้าทับต้องตีกำกับจังหวะให้ถูกต้องกับประโยคเพลงและต้องตีให้กลมกลืนกับทำนองเพลงร้องหรือดนตรี  ในการขับร้องและบรรเลงดนตรี ผู้ขับร้องและผู้บรรเลงต้องยึดหน้าทับเป็นสำคัญ ถ้าขับร้องหรือบรรเลงไม่ตรงกับหน้าทับถือว่าเพลงนั้นผิด เพราะขาดหรือเกิน หน้าทับจึงเป็นเสมือนผู้กำกับสำคัญของการขับร้องและบรรเลงดนตรี




ตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง ๒ หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียง
เรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ ๒๕ ซม. เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้า
เพื่อถ่วงเสียง  อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ ๒๒ ซม. เรียกว่า หน้ามัด  ตัวกลองยาวประมาณ ๔๘ ซม.
รอบๆ ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน  แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วง
ของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอก
ทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มกราคม 2563 11:57:59 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5443


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566 20:07:13 »




ปืด เครื่องดนตรีชาวปักษ์ใต้

ปืด หรือ โพนปืด เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ มีรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพน รูปทรงยาว มี ๒ หน้า ขนาดหน้าไม่เท่ากัน หุ้มด้วยหนัง ร้อยด้วยสายหนังดิบหรือตอกหวาย ภายในเจาะตัวปืดเป็นรูปกรวย ขนาดที่เจาะแต่ละข้างไม่เท่ากันเพื่อให้เกิดความต่างของเสียง ข้างหนึ่งจะมีเสียง “ปืด” หรือ “ปื้ด” อีกข้างหนึ่งจะมีเสียง “เทิ่ง” เมื่อตีติดต่อกันทั้งซ้ายและขวาจะมีเสียง “ปื้ด เทิ่ง ปื้ด เทิ่ง”

ปืดมี ๓ ขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก

ชาวใต้บริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและพัทลุงตลอดจนถึงจังหวัดใกล้เคียง ใช้ปืดเป็นดนตรีกล่อมอารมณ์ ปืดจึงเป็น “คีตกรรม” ที่มีการสืบทอดกันยาวนานหลายชั่วอายุคน เชื่อกันว่าปืดมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย แต่จะแพร่หลายหรือรับเข้ามายังเมืองนครศรีธรรมในสมัยใดนั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด        

จากจดหมายเหตุของอีจิง (หงีจิง) ภิกษุชาวจีนซึ่งจารึกผ่านเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อไปยังประเทศอินเดียใน พ.ศ.๑๒๗๒ ได้บันทึกเล่าเรื่องการแห่พระของเมืองนครไว้ว่า “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งมีคนแห่แหนออกจากวัด โดยประดิษฐานบนรถ มีพระสงฆ์และฆราวาสหมู่ใหญ่แวดล้อมมา มีการตีกลองและบรรเลงดนตรีต่างๆ มีการถวายของหอม ดอกไม้ และถือธงชนิดต่างๆ ที่ทอแสงในกลางแดด” จากข้อความที่ปรากฏในจดหมายเหตุดังกล่าว ถ้าการตีกลองที่กล่าวถึงหมายถึงการตีปืด หรือโพนปืด ปืดก็คงจะมีมาก่อนสมัยนั้นแล้ว
 
การตีปืดและการประชันปืด เป็นวัฒนธรรมด้านดนตรี หรือคีตศิลป์ที่สืบทอดกันมาในภาคใต้ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุงหลายอำเภอ  

การเล่นตีปืด เป็นประเพณีการเล่นหลังจากงานบุญยกหมฺรับ คือบุญสารทเดือนสิบ จนไปถึงวันหลังออกพรรษา ลากพระเดือน ๑๑ เพราะใช้ปืดเป็นเครื่องตีประโคมอย่างหนึ่งในการลากพระเรือพระ  จากการใช้กลอง ระฆัง ฆ้อง จะใช้เสียงปืดเป็นเสียงนำจังหวะในการประโคม แต่ปืดที่นำมาประโคมในวันลากพระเรือพระนั้น จะไม่เน้นเสียงไพเราะ การประชันปืดจะมีขึ้นหลังจากงานบุญยกหมฺรับ แต่มีไม่มากนัก เพราะสภาพแวดล้อมในสมัยนั้นไม่เอื้ออำนวย

การประชันปืดจะทำกันครั้งละคู่ โดยนั่งหันหลังตามลม กรรมการจะนั่งฟังอยู่ใต้ทิศทางลม ปืดที่วางอยู่หน้าเรียก “ปืดหลัก” ที่วางอยู่ข้างหลังเรียกว่า “ปืดยืน” เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ปืดยืนประโคมก่อนแล้ว  ปืดหลักตีตามสลับกันไป ปืดใบใดดังไปไกลเสียงใหญ่เสียงหวานกลมแน่นเป็นใยยืดไม่ขาดห้วน ถือว่าดีกว่าก็ชนะ

การประโคมปืด นิยมใช้ประโคมในวันสำคัญของทางราชการ งานที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา และเพื่อความบันเทิง ในปัจจุบันความนิยมในการตีปืดและประชันปืดลดน้อยลงไป คนไทยภาคใต้ควรช่วยกันอนุรักษ์การตีปืดและการประชันปืดไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า "ปืด" เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคใต้ด้วยความภาคภูมิใจ





ที่มา : "องค์ความรู้เรื่อง "ปืด เครื่องดนตรีชาวปักษ์ใต้" หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.307 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 09:32:37