[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 13:57:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน วัดป่ากลางโนนกู่ อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร  (อ่าน 475 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 มกราคม 2563 11:58:57 »




หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน
วัดป่ากลางโนนกู่ อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร

หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน วัดป่ากลางโนนกู่ อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร พระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

มีนามเดิม กู่ สุวรรณรงค์ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นับเป็นญาติที่ใกล้ชิดกัน บิดา คือ หลวงพรหม (เมฆ สุวรรณรงค์) มารดา ชื่อ หล้า สุวรรณรงค์

เกิดวันเสาร์ เดือน 5 ปีชวด พ.ศ.2443 ท่านมีน้องชาย คือ พระอาจารย์กว่า สุมโน แห่งวัดกลางโนนกู่ อ.พรรณานิคม ซึ่งเกิดในปี พ.ศ.2447 อ่อนกว่าท่าน 3 ปี และอ่อนกว่าพระอาจารย์ฝั้นผู้เป็นญาติสนิท 8 เดือน (พระอาจารย์ฝั้นเกิด พ.ศ.2442)

เมื่อเจริญวัยขึ้นมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว นิสัยใจคอเยือกเย็น สุขุม สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีกิริยาสงบเรียบร้อย พูดน้อย มีคติ จิตใจชอบทางสมณวิสัยมาแต่เด็ก ครั้นเมื่อเติบใหญ่ได้พอสมควรแล้ว บิดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือในสำนักของพระอาจารย์ต้น วุฒิสาร จนอ่านออกเขียนได้ และเคยสมัครเข้ารับราชการเป็นเสมียนช่วยกิจการบ้านเมือง

พ.ศ.2463 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทฝ่ายมหานิกาย ที่สำนักวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระครูสกลสมณกิจ (ท่านอาญาครูธรรม) เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาเล่าเรียนอักษรบาลีและขอมในสำนักพระอาจารย์จนชำนาญ สามารถอ่านคัมภีร์ใบลานที่วัดซึ่งมีอยู่หลายผูก ตลอดเวลาที่บวชอยู่เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบสงัด ยินดีในเสนาสนะป่า

กระทั่ง พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบูรพาจารย์สายพระป่า ปวารณาถวายตัวขอเป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พ.ศ.2466 ญัตติเป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย โดยมีพระอดิศัยคุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์มั่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ที่วัดมหาชัย ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

พ.ศ.2468 พระอาจารย์กว่า สุมโน ผู้เป็นน้องชาย อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธโล) เมื่อยังเป็นพระครูสังฆวุฒิกร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรักและพระบุญเย็น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ร่วมจำพรรษากับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พระอาจารย์ต่างๆ ที่จำพรรษาในปีเดียวกันนั้น ได้แก่ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์สาร, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน และยังมีพระภิกษุสามเณรอีกรวมถึง 16 รูป

เมื่อใกล้จะออกพรรษา พระอาจารย์มั่น ประชุมหมู่ศิษย์เพื่อเตรียมออกเที่ยวธุดงค์ หาที่วิเวก และจัดหมู่ศิษย์ออกไปเป็นพวก โดยจัดพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้น ให้ไปเป็นชุดเดียวกัน เพราะเห็นว่ามีนิสัยต้องกันมาก

การเดินธุดงค์แบบนี้ ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และเป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนเกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานเป็นอย่างดีและต่างรู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้นได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมพากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุ-สามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน

ในช่วงปลายชีวิต ริเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ต่อจากพระอาจารย์บุตร สร้างกุฏิและหอฉันไว้ในถ้ำ

จนเมื่อปี พ.ศ.2495 อาพาธด้วยโรคฝีฝักบัวที่ต้นคอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัวท่าน ซึ่งเคยเป็นแล้วก็หายไป

หลวงปู่กู่เคยแสดงธรรมเทศนาให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายฟังว่า "ถ้าเราทำความดีถึงที่แล้ว เรื่องของการตายเราไม่ต้องหวาดหวั่นเลย" ท่านตักเตือนพระเณรอย่างนี้เสมอ สอนให้รีบร้อนเด็ดเดี่ยวในการทำความเพียร ศึกษาในสมาธิภาวนาให้มาก ตลอดพรรษา ท่านมิได้ลดละในการปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา

เมื่อออกพรรษารับกฐินเสร็จ ท่านลาญาติโยมขึ้นไปปฏิบัติสมณกิจที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า คณะญาติโยมจึงพร้อมใจกันไปทำเสนาสนะถวาย จนกาลล่วงมาได้ 3 เดือนเศษ อาการอาพาธกลับกำเริบขึ้นอีก ญาติโยมอาราธนาให้ท่านกลับวัด เพื่อจัดแพทย์ทำการรักษาพยาบาล แต่ท่านไม่ยอมกลับ

ครั้นถึงวันที่ 23 ม.ค.2496 มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุ 53 ปี พรรษา 33
  ข่าวสดออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชาว สกลนคร ฮือฮา คลื่นพญานาคโผล่หนองหาน
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
That's way 3 4063 กระทู้ล่าสุด 05 พฤษภาคม 2555 22:47:11
โดย Compatable
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 6719 กระทู้ล่าสุด 25 กันยายน 2556 19:38:50
โดย ใบบุญ
เยือน วัดหลวงปู่แบน ธนากโร : วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 5171 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2560 19:54:44
โดย Kimleng
หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน วัดป่ากลางโนนกู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 519 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2562 17:30:22
โดย ใบบุญ
หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 638 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2562 18:40:36
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.34 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 05:03:54