[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 10:18:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “อาพาธพินาศ”พระราชพิธีโบราณ ใช้บรรเทาทุกข์ใจประชาชนยามเกิดโรคระบา  (อ่าน 1162 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 มีนาคม 2563 16:07:03 »



ภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ
(ซ้าย) พระสงฆ์กำลังขึ้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นัยว่าคงเตรียมขึ้นสวดอาฏานาฏิยปริตร
(บน) ตำหนักต่างๆ ภายในกำแพงพระบรมมหาราชวังฝ่ายใน จะเห็นนางในทำบุญตักบาตรพระสงฆ์
(ภาพจากหนังสือราชประดิษฐพิพิธทรรศนา)



“อาพาธพินาศ”พระราชพิธีโบราณ ที่ในสมัย ร.2 ใช้บรรเทาทุกข์ใจประชาชนยามเกิดโรคระบาด

ชื่อว่า “โรคระบาด” เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีผู้ป่วยจำนวน แพร่กระจายในหลายพื้นที่ เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สูง ในการบันทึกความเสียหายในที่เกิดจากโรคระบาดนั้น พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 ที่เรียบเรียงโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  เกี่ยวกับการระบาดของอหิวาตกโรคทำให้ “เห็นภาพ” ความรุนแรงของโรคระบาดได้ดีมากสถิติตัวเลขในปัจจุบันนัก เจ้าพระยาทิพากรวงศ์บันทึกไว้ดังนี้

“ณ วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำเดือน 7 ไปถึงวันเพ็ญคนตายทั้งชายหญิง ศพที่ป่าช้าแลศาลาดินในวัดสะเกษ วัดบางลำพู [วัดสังเวชวิศยาราม] วัดบพิตรพิมุข วัดประทุมคงคา และวัดอื่นๆ ก่ายกันเหมือนกองฟืน ที่เผาเสียก็มากกว่ามาก แลที่ลอยในแม่น้ำลำคลองเกลื่อนกลาดไปทุกแห่ง จนพะรสงฆ์ก็หนีออกจ่กวัด คฤหัสน์ก็หนีออกจาบ้าน น่าอเนจอนาถนัก ถนนหนทางก็ไม่มีคนเดิน ตลาดไม่ได้ออกซื้อขายกัน ต่างคนต่างรับประทานแต่ปลาแห้งกับเกลือเท่านั้น น้ำในแม่น้ำก็กินไม่ได้…”

ในครั้งนั้นรัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้จัด “พระราชพิธีอาพาธพินาศ” ขึ้น ซึ่งตามพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 บันทึกไว้ว่า

“วันจันทร์ เดือนเจ็ด ขึ้น 11 ค่ำ ยิงปืนใหญ่รอบพระนครคืนยันรุ่ง แล้วเชิญพระแก้วมรกตแลพระบรมธาตุทั้งพระราชาคณะออกแห่โปรยทรายประน้ำปริตทั้งทางบกทางเรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศีล ทั้งพระราชวงศนุวงศ์ที่มีกรมหากรมิได้ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่านใน ก็โปรดสั่งมิให้เฝ้า ให้งดกิจราชการสียมิให้ว่ามิให้ทำ ให้ตั้งใจทำบุญสมดสนต์ให้ทาน

บรรดาไพร่ซึ่งนอนเวรประจำซองรักษาพระราชวังชั้นในและชั้นนอก ก็ให้เลิกปล่อยไปบ้านเรือน โดนทรงพระเมตตาว่า ประเพณีสัตว์ทั่วกัน ภัยมาถึงก็ย่อมรักชีวิต บิดามารดาภรรยาแลบุตรญาติพี่น้องก็เป็นที่รักเหมือนกัน จะได้ไปรักษาพยาบาล…คนโทษที่ต้องเวรจำอยู่นั้นก็ปล่อยสิ้น เว้นแต่พม่าข้าศึก บรรดาประชาราษฎร์ทั้งปวง มีรับสั่งห้ามมิให้ไปเที่ยวฆ่าสัตว์ตัดชีวิต…”

พระราชพิธีอาพาธพินาศยังมีกล่าวใน “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้  ได้กล่าวถึงการจัดพระราชพิธีอาพาธพินาศในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อเกิดการเจ็บป่วยจำนวนมากอย่าง ไข้ทรพิษ หรืออหิวาตกโรคว่า

“เมื่อจะคิดเสาะแสวงหาเหตุผลว่าเกิดขึ้น ด้วยอันใด ก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ใยเวลานั้น ด้วยมิได้เคยทดลองสังเกตสังกามาแต่ก่อน ยาที่จะกินนั้นเล่าก็ต้องเปนยาเดาขึ้นใหม่ทั้งสิ้น กินยาก็ต้องเปนการลองไปในตัว คนจึงได้ตายมาก จนลงเห็นกันว่าเปนไม่มียาอันใดจะแก้ไขได้ ความคิดที่เชื่อพระผู้สร้างโลก เชื่อผีผู้ดีคือเทวดา เชื่อผีพี่คือปิศาจ ก็เข้าครอบงำความคิดคนทั้งปวงในเวลานั้นตามแต่ใครจะถนัดทางใด”

“อาพาธพินาศ” ซึ่งพระราชพิธีที่เคยมีมาแต่โบราณ และคนส่วนใหญ่เชื่อถือ อาจไม่มีผลทางการแพทย์ แต่ก็จึงช่วยระงับความกังวลใจให้แก่ประชาชนในยามทุกข์ได้บ้าง

พระราชพิธีสิบสองเดือน ยังอธิบายถึง “อาฏานาฏิยสูตร” ที่ใช้ในพระราชพิธีอาพาธพินาศว่า

“เมื่อภัยเกิดขึ้นเช่นนี้..ก็ไม่มีอะไรเหมาะยิ่งกว่าอาฏานาฏิยสูตร ซึ่งกล่าวมาว่าสำหรับปราบปรามพวกภูตปิศาจไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ จึ่งได้คิดตั้งพระราชพิธีให้มีการสวดอาฏานาฏิยปริต แต่ตั้งชื่อว่าอาพาธพินาศตามความต้องการ ให้เปนการที่เย็นใจของชนทั้งปวงซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา

แต่การพระราชพิธีนั้นเปนการคาดคเนทำขึ้น มิใช่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนไว้ให้ทำสำหรับแก้ไขโรคภันเช่นนี้ จึ่งได้คิดขับไล่ผีเปนการผิดอิกขั้นหนึ่งด้วย เพราะโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยผี เกิดขึ้นด้วยดินฟ้าอากาศ แลความประพฤติที่อยู่กินของมนุษย์ ซึ่งเปนสิ่งที่ไม่มีวิญญาจะขับไล่ได้…”

การพระราชพิธีอาพาธพินาศพอจะสรุปได้ดังนี้  การเชิญพระแก้วมรกตมาตั้งที่พระมณฑลพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในวันแรม 15 ค่ำ เวลาเช้า มีสรงพระมรุธาภิเศกที่ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแบ่งพระสงฆ์เป็นกลุ่ม มีกระบวนแห่พระพุทธรูปในฝั่งตะวันออก 3 กระบวนด้วยกัน คือ กระบวนพระแก้ว, กระบวนพระไชย, กระบวนพระห้ามสมุท ข้ามไปฝั่งตะวันตก ให้กรมพระราชวังหลังเป็นผู้จัดกระบวน แต่ละกระบวนมีแห่คล้ายๆ และพระราชาคณะประน้ำมนต์โปรยทราย รวมทั้งกระบวนใช้คน 1,143 คน, พระสงฆ์ 64 รูป

รัชกาลที่ 5 ทรงบันทึกถึงคำบอกเล่าในการพระราชพิธีทีทำนี้ว่า “มีเรื่องราวอันเปนที่พฤกพึงกลัวเปนอันมาก เปนต้นว่าคนที่เข้ากระบวนแห่แลหามพระพุมทธรูป และพระสงฆ์เดินไปกลางทางก็ล้มลงขาดใจตาย ที่กลับมาถึงบ้านแล้วจึ่งตายก็มีมาก แลตั้งแต่ตั้งพิธีแล้วโรคนั้นก็ยิ่งกำเริบร้ายแรงหนักขึ้น…คนทั้งปวงก็พากันลงว่าเพราะการพิธีนั้นสู้ผีไม่ได่ ผีมีกำลังกล้ากว่า  ตั้งแต่ทำพิธีอาพาธพนินาศในปีมะโรงโทศกนั้น ไม่ระงับโรคประจุบันได้ ก็เปนอันเลิกกันไม่ได้ทำอิกต่อไป”


ข้อมูลจาก
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 , คุรุสภา 2504
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชพิธีสิบสองเดือน, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6 ทรงพระกรุณาโปดรเกล้าฯ ให้พิมพ์เปนของพระราชทานในงานพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ ปีวอก พ.ศ. 2463


ที่มา ศิลปวัฒนธรรม


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.25 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 02:51:37