[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 09:03:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว  (อ่าน 4389 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:14:02 »

ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว







ความเป็นมาของ พยัญชนะไทย อักษร ภาษาไทย

เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 400 ประเทศไทยได้ อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลานั้น
ส่วนในเรื่อง พยัญชนะไทย เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทย
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด

อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็น อักษร ที่รับและแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ
และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง
อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป

ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์ อักษร ภาษาไทยที่เรียกกันว่า “ลายสือไทย” ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรเขมรที่มีอยู่เดิม
ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:16:18 »



การพัฒนาปรับปรุง อักษร พยัญชนะไทย

อักษร ตัวอักษรภาษาไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ.1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย
โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัวอักษร ฎ และ ธ
ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึง
กับในปัจจุบันมากที่สุด

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป
และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะ
ประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ



บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:20:14 »



พยัญชนะไทย ยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

อักษร เสียงสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษร เสียงกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษร เสียงต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ



โดย ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์
ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทยเมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆแล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน
การจัดหมวดพยัญชนะทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้นการแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะ
น่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน

คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน
ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่า สามส่วน



การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์นั้น มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในหนังสือจินดามณี เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา
เข้าใจว่าเป็นผลงานของพระโหราธิบดีได้แต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้




บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:45:59 »

อักษรคู่

ในการจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ อักษรสูงและอักษรต่ำจำนวนหนึ่ง มีลักษณะเสียงอย่างเดียวกันแต่ในพื้นเสียงต่างกัน
นั่นคือ พวกหนึ่งมีพื้นเสียงสูง อีกพวกหนึ่งมีพื้นเสียงต่ำ สามารถจัดเป็นคู่ได้ 7 คู่ เรียกว่า "อักษรคู่"


          อักษรสูง                    อักษรต่ำ         
ข ฃ
ค ฅ ฆ
ช ฌ
ฐ ถ
ฑ ฒ ท ธ
พ ภ
ศ ษ ส




อักษรคู่เหล่านี้ สามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง เช่นเดียวกับอักษรกลาง เช่น

คา - ข่า - ข้า/ค่า - ค้า - ขา
ฮา - ห่า - ห้า/ฮ่า - ฮ้า - หา

สำหรับอักษรต่ำที่เหลือ คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ ซึ่งจะเรียกว่า อักษรเดี่ยว จะใช้ ห
เป็นอักษรนำเพื่อให้สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ เช่น


นา - หน่า - หน้า/น่า - น้า - หนา
วา - หว่า - หว้า/ว่า - ว้า - หวา

** หมายเหตุ ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์คำใดที่ใช้ หณ และ หฬ เป็นพยัญชนะต้น



บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:47:51 »



ท่อง อักษร จดจำ พยัญชนะไทย กับ เนื้อเพลง ก เอ๋ย ก ไก่ (แบบปัจจุบัน)


อักษร ตัวที่ 1 ก เอ๋ย ก ไก่
อักษร ตัวที่ 2 ข ไข่ ในเล้า
อักษร ตัวที่ 3 ฃ ฃวด ของเรา
อักษร ตัวที่ 4 ค ควาย เข้านา
อักษร ตัวที่ 5 ฅ ฅน ขึงขัง
อักษร ตัวที่ 6 ฆ ระฆัง ข้างฝา
อักษร ตัวที่ 7 ง งู ใจกล้า
อักษร ตัวที่ 8 จ จาน ใช้ดี
อักษร ตัวที่ 9 ฉ ฉิ่ง ตีดัง
อักษร ตัวที่ 10 ช ช้าง วิ่งหนี
อักษร ตัวที่ 11 ซ โซ่ ล่ามที
อักษร ตัวที่ 12 ฌ กะเฌอ คู่กัน
อักษร ตัวที่ 13 ญ ผู้หญิง โสภา
อักษร ตัวที่ 14 ฏ ชะฎา สวมพลัน
อักษร ตัวที่ 15 ฏ ปฏัก หุนหัน
อักษร ตัวที่ 16 ฐ ฐาน เข้ามารอง
อักษร ตัวที่ 17 ฑ มณโฑ หน้าขาว
อักษร ตัวที่ 18 ฒ ผู้เฒ่า เดินย่อง
อักษร ตัวที่ 19 ณ เณร ไม่มอง
อักษร ตัวที่ 20 ด เด็ก ต้องนิมนต์
อักษร ตัวที่ 21 ต เต่า หลังตุง
อักษร ตัวที่ 22 ถ ถุง แบกขน
อักษร ตัวที่ 23 ท ทหาร อดทน
อักษร ตัวที่ 24 ธ ธง คนนิยม
อักษร ตัวที่ 25 น หนู ขวักไขว่
อักษร ตัวที่ 26 บ ใบ ไม้ทับถม
อักษร ตัวที่ 27 ป ปลา ตากลม
อักษร ตัวที่ 28 ผ ผึ้ง ทำรัง
อักษร ตัวที่ 29 ฝ ฝา ทนทาน
อักษร ตัวที่ 30 พ พาน วางตั้ง
อักษร ตัวที่ 31 ฟ ฟัน สะอาดจัง
อักษร ตัวที่ 32 ภ สำเภา กางใบ
อักษร ตัวที่ 33 ม ม้า คึกคัก
อักษร ตัวที่ 34 ย ยักษ์ เขี้ยวใหญ่
อักษร ตัวที่ 35 ร เรือ พายไป
อักษร ตัวที่ 36 ล ลิง ไต่ราว
อักษร ตัวที่ 37 ว แหวน ลงยา
อักษร ตัวที่ 38 ศ ศาลา เงียบเหงา
อักษร ตัวที่ 39 ษ ฤาษี หนวดยาว
อักษร ตัวที่ 40 ส เสือ ดาวคะนอง
อักษร ตัวที่ 41 ห หีบ ใส่ผ้า
อักษร ตัวที่ 42 ฬ จุฬา ท่าผยอง
อักษร ตัวที่ 43 อ อ่าง เนืองนอง
อักษร ตัวที่ 44 ฮ นกฮูก ตาโต




บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:49:34 »


ทุกตัวอักษรล้วนมีที่มา !

   



บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2563 11:53:30 »



แต่เดิมเราเรียก "ก" เฉยๆไม่ใช่ ก ไก่ แต่ด้วยพยัญชนะที่พ้องเสียงในภาษาไทยมีหลายตัวมาก
ทำให้เด็กจำได้ยาก จึงได้มีผู้คิดชื่อหรือตัวอย่างในการใช้พยัญชนะแต่ละตัวขึ้นมา เพื่อจะได้ท่องจำได้ง่ายขึ้น
แล้วเราก็ท่องจนติดปากกันมาว่า ก ไก่ ข ไข่ แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดคนแรก
แต่ที่แน่ๆคือไม่ใช่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

ในอดีตมีการใช้คำกำกับพยัญชนะหลายแบบ อย่างใน วิธีสอนหนังสือไทย ที่เขียนโดย พระศรีสุนทรโวหาร
ได้มีการคิดคำกำกับพยัญชนะขึ้นใหม่ 27 ตัว เช่น ข ขัดข้อง, ฃ อังกุษ, ค คิด, ฅ กัณฐา เป็นต้น
หรือใน หนังสือมูลบทบรรพกิจ ที่มีการคิดชื่อกำกับพยัญชนะทั้ง 44 ตัว เช่น ก กบ, ข เขียด เป็นต้น






ตัวอย่างการใช้คำกำกับพยัญชนะจากหนังสือมูลบทบรรพกิจ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2458 และ พ.ศ. 2465

แบบเรียนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันยึดตาม หนังสือ แบบเรียน ก ไก่ ของ บริษัทประชาช่าง
ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นแบบเรียนที่มีกลอน คือ ก เอย ก ไก่ ข ไข่ ในเล้า









Credits:
Pantip.com ความเห็นของ คุซาจิ , Nong MiM
Wikipedia
educatepark.com
บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2563 13:38:57 »


สำหรับการวางรูปสระและวรรณยุกต์ภาษาไทย

จะมีโครงสร้างที่ถูกต้องดังนี้



https://f.ptcdn.info/161/047/000/ogh1fxmp6xuS2flvxze-o.jpg
ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว



อภิธานอักษรย่อ

เส้น ร ๑ หมายถึง เส้นระนาบหรือเส้นระดับที่ ๑ (เส้นตารางแนวนอน)
ช่วง ร ๓ หมายถึง ระยะตั้งแต่เส้นระนาบหรือเส้นระดับที่ ๒ ถึงเส้นระนาบหรือเส้นระดับที่ ๓
เส้น ด ๑ หมายถึง เส้นดิ่งที่ ๑ (เส้นตารางแนวตั้ง)
ช่วง ด ๑ หมายถึง ระยะตั้งแต่เส้นชานหน้าจนถึงเส้นดิ่งที่ ๑




https://f.ptcdn.info/161/047/000/ogh1ihmp4QyVAhn8uW1-o.jpg
ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว


https://f.ptcdn.info/161/047/000/ogh1iylqnD41uqaYMK-o.jpg
ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว


https://f.ptcdn.info/161/047/000/ogh1jit7kkvyw4kZuIM-o.jpg
ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว


https://f.ptcdn.info/161/047/000/ogh1jwt9hZw8uzdrVwk-o.jpg
ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว


ภาพมาตรฐานโครงสร้างอักษรไทย

https://f.ptcdn.info/190/047/000/ogjeqxl4m52YrTaZPhk-o.png
ความรู้เกี่ยวกับ พยัญชนะไทย - ความเป็นมาของพยัญชนะไทย 44 ตัว


ที่มา : ราชบัณฑิตยสภา, มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (Thai Alphabets Structural Standard)





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2563 14:01:19 โดย เฮียสี่บะหมี่เน่า » บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2563 13:56:28 »



สระ
สระ หมายถึงเครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมาในภาษา ตามหลักภาษา พยัญชนะจะต้องประกอบร่วมหรืออาศัยสระด้วยจึงจะออกเสียงได้

รูปสระ
รูปสระในภาษาไทยมีทั้งหมด ๒๑ รูป ดังนี้
๑) ะ (วิสรรชนีย์) ใช้เป็นสระอะเมื่ออยู่หลังพยัญชนะ เช่น ปะ กะ และใช้ประสมกับสระรูปอื่น ให้เป็นสระอื่น เช่น เตะ แตะ โต๊ะ เอียะ อัวะ
๒) -ั (ไม้ผัด, ไม้หันอากาศ) ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนเสียงสระอะเมื่อมีตัวสะกด เช่น มัด และประสมกับสระรูปอื่น เช่น ตัว ผัวะ
๓) -็ (ไม้ไต่คู้) ใช้ เขียนไว้บนพยัญชนะที่ประสมกับรัสสระที่มีวิสรรชนีย์ เพื่อแทนวิสรรชนีย์เมื่อมีตัวสะกด เช่น เจ็ด (เจะ+ด) และใช้แทนสระเอาะที่มีวรรณยุกต์โท ที่มีคำเดียวคือคำว่า ก็ (เก้าะ)
๔) า (ลากข้าง) ใช้เป็นสระอา สำหรับเขียนหลังพยัญชนะและใช้ประสมกับรูปสระรูปอื่นเป็นสระ เอาะ อำ เอา เช่น เกาะ ลำเพา
๕)  -ิ (พินทุ์อิ) ใช้เป็นสระอิ สำหรับเขียนไว้บนพยัญชนะ เช่น ซิ ผลิ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระ อี อือ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เช่น ผี คือ เกี๊ยะ เสีย เสือ
๖) -่ (ฝนทอง) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิ ทำให้เป็นสระอี เช่น ผี มี ปี
๗) " (ฟันหนู) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิเป็นสระอือ เอือะ เอือ เช่น มือ เสือ
๘) -ํ (หยาดน้ำค้าง, นฤคหิต, นิคหิต) ใช้เขียนไว้ข้างบนลากข้าง ทำให้เป็นสระอำ ( ำ) และเขียนบนพินทุ์อิเป็นสระอึ เช่น จำนำ ปรึกษา ศึกษา
๙) -ุ (ตีนเหยียด) ใช้เป็นสระอุ เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะ เช่น ดุ
๑๐) -ู (ตีนคู้) ใช้เป็นสระอู เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะต้น เช่น ปู งู ดู
๑๑) เ- (ไม้หน้า) ใช้เป็นสระเอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น เกเร ถ้าใช้สองรูปด้วยกันจะเป็นสระแอ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระอื่น เช่น เอือ เอา เออะ เอียะ เอีย เอาะ แอะ
๑๒) ใ- (ไม้ม้วน) ใช้เป็นสระใอ สำหรับเขียนไว้หน้าพยัญชนะ เช่น ใคร ใต้ ฯลฯ
๑๓) ไ- (ไม้มลาย) ใช้เป็นสระไอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไฟไหม้ ฯลฯ
๑๔) โ- (ไม้โอ) ใช้เป็นสระโอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น โมโห ใช้ประสมกับวิสรรชนีย์ทำให้เป็นสระ โอะ เช่น โละ โปะ
๑๕) ฤ (ตัวรึ) ใช้ เป็นสระ ฤ จะใช้โดด ๆ เช่น ฤดี หรือจะใช้ประสมกับพยัญชนะ (ต้องเขียนไว้หลังพยัญชนะ) และออกเสียงสระได้หลายเสียง ออกเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณา ออกเสียงเป็น รึ เช่น ฤดู ฤทัย พฤกษ์ ออกเสียงเป็น เรอ เช่น ฤกษ์
๑๖) ฤๅ (ตัวรือ) ใช้เป็นสระ ฤๅ ใช้โดด ๆ เช่น ฤๅไม่ หรือใช้เป็นพยางค์หน้าของคำ เช่น ฤๅดี
๑๗) ฦ (ตัวลึ) ใช้เป็นสระ ฦ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๘) ฦๅ (ตัวลือ) ใช้เป็นสระ ฦๅ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๙) ย (ตัวยอ) ใช้ประสมกับสูปสระรูปอื่น ทำให้เป็นสระอื่น เช่น สระเอีย เอียะ
๒๐) ว (ตัววอ) ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เป็นสระ อัวะ อัว
๒๑) อ (ตัวออ) ใช้เขียนหลังพยัญชนะเป็นสระ ออ และประสมกับรูปสระรูปอื่น เป็นสระ อือ เออะ เอือะ เอือ

เสียงสระ
เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้
    อะ    
    อา    
    อิ    
    อี    
    อึ    
    อื    
    อุ    
    อู    
เอะ
เอ
เเอะ
เเอ
เอียะ
เอีย
เอือะ
เอือ
อัวะ
อัว
โอะ
โอ
เอาะ
ออ
เออะ
เออ
อำ
ใอ
ไอ
เอา
ฤๅ
ฦๅ



เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน
บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น
จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ ๕ พวกด้วยกัน คือ


• สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
• สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
• สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี ๑๘ ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
• สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว ๒ ตัวประสมกัน มี ๖ ตัวได้แก่
เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
• สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี ๘ ตัว ได้แก่
ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด

บางตำราถือว่าภาษาไทยมี ๒๑ เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2563 14:00:51 โดย เฮียสี่บะหมี่เน่า » บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2563 14:00:29 »



การใช้สระ

สระอะ (-ะ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอะ เช่น กะ จะ ปะ
สระอา (-า) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอา เช่น มา กา ตา
สระอิ (-ิ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอิ เช่น บิ สิ มิ
สระอี (-ี) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอี เช่น ปี ดี มี
สระอึ (-ึ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอึ เช่น หึ สึ
สระอื (-ื) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอื แต่การใช้สระอื ต้องมี อ มาประกอบด้วย เช่น มือ ถือ ลือ
สระอุ (-ุ) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอุ เช่น ผุ มุ ยุ
สระอู (-ู) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอู เช่น ดู รู งู
สระเอะ (เ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอะ เช่น เละ เตะ เกะ
สระเอ (เ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอ เช่น เก เซ เข
สระแอะ (แ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอะ เช่น และ แพะ แกะ
สระแอ (แ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอ เช่น แล แพ แก
สระเอียะ (เ-ียะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอียะ เช่น เผียะ เพียะ เกียะ
สระเอีย (เ-ีย) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอีย เช่น เสีย เลีย เปีย
สระเอือะ (เ-ือะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ
สระเอือ (เ-ือ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอือ เช่น เสือ เรือ เจือ
สระอัวะ (-ัวะ) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัวะ เช่น ผัวะ ยัวะ
สระอัว (-ัว) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัว เช่น ตัว รัว หัว
สระโอะ (โ-ะ) เขียนไว้หน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอะ เช่น โปะ โละ แต่ถ้ามีตัวสะกด จะตัดสระโอะออกเหลือแต่พยัญชนะต้นกับตัวสะกด เรียกว่า สระโอะลดรูป เช่น คน รก จง
สระโอ (โ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอ เช่น โต โพ โท
สระเอาะ (เ-าะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอาะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
สระออ (-อ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระออ เช่น ขอ รอ พอ
สระเออะ (เ-อะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
สระเออ (เ-อ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออ เช่น เจอ เธอ เรอ ถ้ามี ย สะกด จะตัด อ ออกแล้วตามด้วย ย เลย เช่น เขย เกย เฉย เรียกว่า สระเออลดรูป ถ้ามีตัวสะกดอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ ย จะเปลี่ยน อ เป็นพินทุ์อิ เช่น เกิด เลิก เงิน เรียกว่า สระเออเปลี่ยนรูป
สระอำ (-ำ) เขียนไว้บนและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอำ เช่น รำ ทำ จำ
สระใอ (ใ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระใอ มีทั้งหมด ๒๐ คำ ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหญ่ ใหล (หลงใหล หลับใหล ใหลตาย)
สระไอ (ไ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระไอ เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์ ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี - ไตร ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ
สระเอา (เ-า) เขียนไว้หน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอา เช่น เกา เผา เรา




วิธีใช้สระ

เมื่อพยัญชนะประสมกับสระและมีตัวสะกด จะมีวิธีใช้สระหลายวิธี ดังนี้
๑. คงรูป คือเขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -ิ, -ี, -ึ, -ุ, -ู , เ- , แ- , โ- , -อ , เ -ีย , เ -อ
ก + -า + ง = กาง
ด + - ิ + น = ดิน
ห + -อ + ม = หอม
ม + แ- + ว = แมว

๒. แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ , เ-ะ , แ-ะ , เ-อ
ร + -ะ + บ = รับ (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ)
ล + เ-ะ + ก = เล็ก (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)
ข + แ-ะ + ง = แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)
ด + เ-อ + น = เดิน (แปลงตัวออเป็นพินทุ์อิ)

๓. ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น การลดรูปมี ๒ วิธีคือ
      ๓.๑ ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ เช่น
                  บ + โ-ะ + ก = บก
                  ก + -อ + ร = กร (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)
      ๓.๒ ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น
                  ค + เ-อ + ย = เคย (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า เช่น เชย เชย เลย เกย เอย เนย เงย )
                  ส + - ั ว + น = สวน (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว เช่น กวน ลวน นวล ชวน ควร มวน อวน หวน)





บันทึกการเข้า
เฮียสี่บะหมี่เน่า
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 49


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.129 Chrome 81.0.4044.129


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2563 14:07:16 »



ว่าด้วยเรื่องตัวอักษรไทยกับสระต่าง ๆ ในฟอนต์คอมพิวเตอร์

สำหรับฟอนต์ภาษาไทยในคอมพิวเตอร์ซึ่งตอนนี้กลายเป็นมาตรฐานโดยปริยายไปแล้ว (de factor)

ในฟอนต์จะต้องมีรูปสำหรับวรรณยุกต์ 4 ตำแหน่ง คือ

1. บ่อ เฒ่า < ตรงกับด้านขวาสุดของตัวอักษร และใกล้กับตัวอักษร
2. ป่อ ฝ่า < หลบหางตัวอักษรไปทางด้านซ้าย แต่ยังใกล้กับตัวอักษร
3. บิ่น ก่ำ < ตรงกับด้านขวาสุดของตัวอักษร แต่หลบสระด้านบนขึ้นไปด้านบน
4. ปิ่น ฝิ่น < หลบหางตัวอักษรไปทางด้านซ้าย และหลบสระด้านบนขึ้นไปด้านบน

โดยตำแหน่งปกติจะเป็นตามข้อ 3. ซึ่งถ้าโปรแกรม และ/หรือ ฟอนต์ ไม่ได้ออกแบบเผื่อไว้
ตำแหน่งของวรรณยุกต์ทุกแห่งก็จะเป็นแบบข้อ 3. และเป็นที่มาของคำว่า สระลอย (ซึ่งผิด
เพราะจริงๆ แล้วที่ลอยคือวรรณยุกต์)

นอกจากวรรณยุกต์แล้ว การออกแบบฟอนต์ภาษาไทยก็จะต้องเผื่อกรณีอื่นๆ อีกหลายกรณี เช่น
1. สระบนหลบหางตัวอักษรไปทางด้านซ้าย เช่น ปี, ฝี
2. สระล่างหลบหางตัวอักษรลงไปด้านล่าง ซึ่งคำเดียวในภาษาไทยที่เคยเห็นคือชื่อสี่แยกอุภัยเจษฎุทิศ มีสระอุอยู่ใต้ตัว ฎ.ชฎา
3. ตัดหาง ญ.หญิง และ ฐ.ฐาน เมื่อมีสระล่าง เช่น กตัญญู
4. นิคหิตในสระอำจะต้องหลบหางตัวอักษร เช่น ใจป้ำ








Credits: Pantip.com หัวข้อ > เจอลูก 7 ขวบ ถามเรื่องการวางวรรณยุกต์บนตัวอักษร วางตรงไหน คิดว่าไม่ยาก แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น
รวบรวมจากความคิดเห็นของคุณ สมาชิกหมายเลข 1392283, meam,
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความรู้เกี่ยวกับ อุปรากรจีน chinese opera
สุขใจ ห้องสมุด
時々๛कभी कभी๛ 3 3044 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2553 12:57:46
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความรู้เกี่ยวกับ วัดประจำรัชกาล
สุขใจ ห้องสมุด
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 6 4669 กระทู้ล่าสุด 01 กุมภาพันธ์ 2554 11:14:44
โดย ▄︻┻┳═一
ความรู้เกี่ยวกับ โรคภูมิแพ้
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 0 1905 กระทู้ล่าสุด 19 มิถุนายน 2554 03:17:56
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความรู้เกี่ยวกับ โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 0 1924 กระทู้ล่าสุด 19 มิถุนายน 2554 12:51:24
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความรู้เกี่ยวกับ พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว และพายุหมุนเขตร้อน
สุขใจ ห้องสมุด
That's way 0 10495 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2555 12:00:36
โดย That's way
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 15:01:14