[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 21:26:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๔ คันธารชาดก : พระคันธาระฤๅษี  (อ่าน 723 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2563 19:14:54 »



พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๔ คันธารชาดก
พระคันธาระฤๅษี

         พระราชโอรสในพระเจ้าคันธาระแห่งคันธารรัฐ เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติภายหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้ว ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้าคันธาระเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พระองค์ได้ใช้ธรรมะปกครอง จึงทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ส่งผลให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ประเทศชาติสงบร่มเย็น
          สมัยนั้นก็ปรากฏว่ามีกษัตริย์ผู้ทรงธรรมพระองค์หนึ่ง มีพระนามตามชื่อแว่นแคว้นว่า พระเจ้าวิเทหะ ครองราชสมบัติอยู่ในมิถิลานครแห่งวิเทหรัฐ กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระสหายกันโดยทางจดหมายหรือพระราชสาส์น ดังนั้นตลอดระยะสองพระองค์มิได้ทรงพบเห็นกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทรงทราบข่าวคราวความเป็นไปของกันและกันโดยทางจดหมายเท่านั้น แต่กระนั้นทั้งสองพระองค์ก็ทรงสนิทสนมกันดีดูเป็นที่แปลกใจยิ่งนัก
          อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าคันธาระทรงสมาทานศีลแล้ว (ตามปกติพระองค์สมาทานศีลเป็นครั้งคราว) ก็เสด็จไปประทับอยู่ในท้องพระโรง ท่ามกลางเหล่าอำมาตย์ ข้าราชการทั้งหลาย พระองค์ได้ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออกโดยผ่านช่องสีหบัญชร (หน้าต่าง) แล้วทรงเห็นพระราหูบดบังดวงจันทร์ไว้ทั้งดวง จนไม่อาจเห็นแสงจันทร์เลยแม้แต่น้อย
          เหล่าอำมาตย์ก็มองเห็นปรากฏการณ์เช่นนั้นเหมือนกัน แล้วได้ทูลให้ทรงทราบถึงปรากฏการณ์ดังกล่าว
          พระเจ้าคันธาระทรงสดับแล้วก็รู้สึกสลดพระทัยถึงกับทรงดำริว่า
           “ดวงจันทร์ยังลับแสงได้ เพราะมีสิ่งมาบดบัง พวกข้าราชบริพารเหล่านี้ก็เป็นครื่องเศร้าหมองของเราเหมือนกัน การที่เราจะหมดสิ้นรัศมีดุจดวงจันทร์นั้นช่างเป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่าเอาเสียเลย เราควรจะแสวงหาสิ่งที่ดีกว่านี้ สละราชสมบัติออกบวช ทำตัวให้เป็นดั่งดวงจันทร์เจิดจ้า ท่องเที่ยวไปในท้องฟ้าที่สดใสเพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะคอยให้คนอื่นมาตักเตือนเรา เราคอยเตือนตัวเองน่าจะดีกว่า”
          ทรงดำริดังนั้นก็ทรงสละราชสมบัติมอบให้เหล่าอำมาตย์แต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมเป็นพระราชาแทนพระองค์ แล้วเสด็จเข้าสู่ป่า ผนวชเป็นฤๅษี ดำรงชีวิตอยู่ ผลไม้ รากไม้ หัวเผือกหัวมันที่มีอยู่ในป่า มุ่งหน้าบำเพ็ญญาณและอภิญญาจนสำเร็จ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะเมื่อได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าคันธาระเพื่อนรักออกบวชเป็นฤๅษี ก็ทรงสละราชสมบัติออกผนวชเช่นกัน แต่ไม่อยู่ประจำที่เดียว หากแต่สัญจรเที่ยวไปยังที่ต่างๆ
          สองพระฤๅษีประพฤติวัตรของฤๅษีมีจรรยามารยาทเรียบร้อยน่าเลื่อมใส
          วันหนึ่งทั้งสองได้มาพบกันเข้า รู้สึกเลื่อมใสได้ศรัทธาในกันและกัน จึงสมัครใจปฏิบัติธรรมด้วยกัน
          ในคืนพระจันทร์เต็มดวงคืนหนึ่ง ขณะมีพระฤๅษีวิเทหะผู้บวชทีหลังอยู่ดูแลรับใช้พระฤๅษีคันธาระผู้บวชก่อนอยู่ ก็ได้มองเห็นราหูอมจันทร์ จึงถามว่า
           “ท่านอาจารย์! มีอะไรมาบดบังแสงจันทร์จนมืดมิดอย่างนี้”
          พระคันธาระฤๅษีตอบว่า
           “สิ่งที่บดบังดวงจันทร์ไว้ก็คือพระราหู พระราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของดวงจันทร์ พระราหู ทำให้ดวงจันทร์รับแสงได้ เราเองเห็นดวงจันทร์ถูกราหูอมมาแล้ว จึงเกิดความคิดว่าทำไมดวงจันทร์ต้องมาอับแสงเพียงเพราะสิ่งเศร้าหมองที่โคจรมาดังราชสมบัติก็เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับกษัตริย์ เพราะเหตุนี้เราจึงสละราชสมบัติออกมาหลบอยู่ในป่าอย่างนี้”
          วิเทหะฤๅษีได้ฟังเช่นนั้นก็รู้ได้ทันทีว่า นี่คงเป็นพระเจ้าคันธาระเพื่อนของเราแน่แล้ว เมื่อได้ตรัสถามก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ จึงได้แสดงพระองค์เองว่าพระองค์ก็คือพระเจ้าวิเทหะที่ออกผนวชเช่นกัน
          จากนั้นทั้งสองต่างก็ชื่นชมซึ่งกันและกัน และคบหาสมาคมสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งขึ้น
อยู่มาวันหนึ่ง ทั้งสองท่องเที่ยวไปตามชายแดน แล้วผู้คนในถิ่นนั้นเขาเลื่อมใสศรัทธาถึงกับช่วยกันสร้างอาศรมให้อยู่อาศัยและนำอาหารมาถวายอยู่เนืองๆ
          คราวหนึ่งชาวบ้านนำเกลือมาถวายพระฤๅษีทั้งสอง
          วิเทหะฤๅษีรับเอามาฉันแต่พอดี ส่วนที่เหลือก็เก็บไว้ที่ต้นหญ้าแห้ง
          ภายหลังทั้งสองฉันอาหารจืดไปหน่อย วิเทหะฤๅษีจึงนำเกลือที่เก็บไว้ส่งให้ฤๅษีคันธาระ
          ฤๅษีคันธาระถามถึงที่มาของเกลือพอทราบว่าฤๅษีวิเทหะเก็บไว้แต่วันก่อน จึงตำหนิว่าท่านอุตส่าห์สละราชสมบัติยิ่งใหญ่มาแล้ว ยังจะมาสะสมเกลือไว้อีกมันจะเหมาะกับความเป็นนักบวชหรือ
          ฤๅษีวิเทหะถูกตำหนิเช่นนั้นก็ไม่พอใจ จึงโต้เถียงว่า ท่านเองก็ดีแต่ตำหนิเรา ไม่ดูตัวเองเสียบ้างท่านไม่ต้องการให้คนอื่นมาคอยตักเตือน แต่ทำไมต้องมาตักเตือนเรา ท่านสละการปกครองแว่นแคว้นมาแล้วยังจะมาปกครองเราอีก มันใช้ได้ที่ไหน
          คันธาระฤๅษีได้ฟังดังนี้ก็ไม่โกรธ แต่ได้กล่าวขึ้นอย่างใจเย็นว่า
           “เรากล่าวแต่คำที่เป็นธรรม ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปจะไม่เปื้อนเรา”
          หยุดคิดนิดหนึ่งแล้วกล่าวต่อไปว่า
           “ผู้มีปัญญาคนใด มักชี้โทษ มักพูดกำราบควรมองเขาผู้นั้นเป็นเมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
          ควรควบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น จะมีแต่ความดีอย่างดี ไม่มีความชั่วเลย
          บุคคลควรตักเตือน พร่ำสอน ห้ามปรามผู้อื่นให้พ้นจากความเห็นผิด บุคคลเช่นนั้นจะเป็นที่รักของสัตบุรุษ แต่จะไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ”
          ฤๅษีวิเทหะโต้กลับว่า
           “แต่ท่านก็ไม่พูดกระทบกระเทียบคนอื่นให้เขาไม่พอใจ เหมือนโกนผมด้วยมีดโกทื่อๆ คำพูดบางอย่างแม้จะมีประโยชน์มาก บางทีก็ไม่ควรพูด”
          ฤๅษีคันธาระยังกล่าวหนักแน่นเหมือนเดิมว่า
          ถึงอย่างไรท่านก็ยังทำไม่ถูก เมื่อท่านถูกเราตักเตือนพอใจหรือไม่พอใจ ถ้าเรากล่าวคำเป็นธรรมะ เราก็ไม่มีบาปอย่างแน่นอน”
          เหตุที่พระฤๅษีคันธาระกล่าวเช่นนั้นเพราะยึดถือหลักว่า เราจะไม่ทะนุถนอมใครๆ แต่จะทำอย่างช่างปั้นหม้อที่ปั้นดินเหนียวที่ยังเปียกยังดับอยู่ โดยจะปั้นราวกับจะกำราบจะข่มผู้ที่หวังมรรคผล ก็จะอดทนอยู่ได้ จึงกล่าวอีกว่า
          “ผู้ไม่มีปัญญา หรือไม่ได้ศึกษาวินัยให้ดี จะท่องเที่ยวไปเหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า แต่ผู้ที่ศึกษาวินัยมาอย่างดีในสำนักของอาจารย์ เขาจะเป็นผู้มีวินัยดีเพราะได้อาจารย์สอนไว้ดี จะเป็นปราชญ์มีจิตมั่นดังบรรพชิตที่ศึกษาวัตรปฏิบัติดีแล้วก็เจริญก้าวหน้าในศีล สมาธิ ปัญญา
          วิเทหะฤๅษีฟังมาถึงตรงนี้ ก็เริ่มรู้สึกสลดใจมองเห็นข้อผิดพลาดของตนเองที่ถือทิฐิมานะไม่เข้าเรื่อง จึงเข้าไปขอขมาคันธาระฤๅษีว่า “ท่านอาจารย์! ผมขอโทษ นับแต่บัดนี้ไปขอให้ท่านตักเตือนพร่ำสอนผมเถิด คำใดที่ผมกล่าวล่วงเกินท่าน ขอให้ท่านยกโทษให้กระผมด้วย”
          ฤๅษีคันธาระยกโทษให้ เพราะไม่ได้รู้สึกโกรธเคืองแม้แต่น้อย
          แล้วสองพระฤๅษีก็รักใคร่กลมเกลียวกันเหมือนเดิม พากันเข้าไปอยู่ในป่าหิมพานต์
          คันธาระฤๅษีสอนการบริกรรมกสิณแก่วิเทหะฤๅษีอย่างละเอียดลออ พระฤๅษีวิเทหะได้ปฏิบัติตามนั้นไม่นานก็สำเร็จอภิญญาและสมาบัติ
          สองพระฤๅษีเจริญอยู่ในฌาน มีพรหมโลกเป็นที่ใปในเบื้องหน้าแน่แท้แล้ว


ธรรมนิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“อย่ารังเกียจผู้แนะนำพร่ำสอน จงหมั่นทำตามคำตักเตือนของเขา แล้วเราจะได้ดี”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
นิธีนํ ว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานฺสส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

คนเราควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษและกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
ว่าผู้นั้นแหละคือผู้ขุมทรัพย์และควรคบหาบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น
เพราะเมื่อคบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่
ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียวไม่มีเสื่อมเสีย (๒๕/๒๑)


ขอขอบคุณภาพ จากเว็บไซต์ buddha.dmc.tv

คัดจาก : หนังสือ พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ / จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย สถาบันบันลือธรรม ... สาธุ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พฤษภาคม 2563 16:50:16 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๑๙ เภริวาสชาดก : ช่างตีกลองกับบุตรชาย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 717 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:06:56
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๒๐ วัณณุปถชาดก : ความเพียรของพ่อค้า
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 1508 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:09:53
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๓๙ เจติยราชชาดก : พระเจ้าเจติยราช
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 708 กระทู้ล่าสุด 05 พฤศจิกายน 2563 20:50:13
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๐ กายนิพพินทชาดก : ชายขี้โรคบวชไม่สึก
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 567 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 19:55:41
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๑ กัสสปมันติยชาดก : บิดาชรากับบุตรน้อย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 636 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 19:58:21
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.364 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มีนาคม 2567 03:48:17