[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 15:46:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฐานันดรของพระ  (อ่าน 978 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2563 19:54:48 »


“ลักษณะพระที่ดีจริง ย่อมไม่อยากร่านเป็นนั่นเป็นนี่ เมื่อถึงคราวจะต้องเป็นเข้าจริง
ไม่แสดงพยศและเบี่ยงบ่าย พระผิดจากลักษณะนี้ เราก็ไม่เลื่อมใส”

..สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส..

ฐานันดรของพระ
.
“ฐานันดร” นั้นหมายความว่า “ยศพระ” ที่เรียกว่า “สมณศักดิ์” แปลว่า ที่หรือชั้นอันเป็นโดยลําดับกัน ตําแหน่งนั้น หมายเอา กรณียะ คือ หน้าที่อันจะพึงกระทําสองอย่างนี้

แต่เดิมมารวมกัน คือพระผู้มีฐานันดร ย่อมมีหน้าที่จะพึงทําด้วย เทียบกันได้ตามชั้น เช่น เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ก็เป็นเจ้าคณะใหญ่ด้วย แต่ท่านผู้จะได้รับฐานันดรเป็นสมเด็จพระราชาคณะนั้น โดยมากก็แก่เฒ่าแล้ว จึงไม่ได้ว่าการคณะจริงจัง และยังมีเหตุอื่นอีกที่ฐานันดรกับตําแหน่งไม่กลมเกลียวกันไปได้

“ฐานันดร” นั้นสมควรแก่พระผู้ใหญ่  ส่วน “ตําแหน่ง” นั้นสมควรแก่พระผู้สามารถ

การที่มีการตั้งพิธีใหญ่โต ถวายหิรัณยบัฏ สุพรรณบัฏ ขนานนามว่าอย่างนั้น ว่าอย่างนี้ สันนิษฐานว่า ไม่มีใครเป็นธุระ ราษฎรจึงทํากันเอง เช่นในลังกาว่างจากพระเจ้าแผ่นดินมาช้านานแล้ว ก็ยังมีใครสมมติชื่อพระเถระออกยาว เช่น พระปวรเนรุตติกาจริยมหาวิภาวิสุภูเถระ เป็นตัวอย่าง แต่นั้น ราษฎรหมู่อื่นก็เอาอย่าง ในบัดนี้สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นพระราชธุระตั้งแต่งพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรมให้มีสมณศักดิ์ฐานันดร และมีหน้าที่ปกครองสงฆ์ที่เป็นผู้น้อยก็ได้รับตั้งแต่งสืบกันมาโดยลําดับ

เราบวชไม่ได้หวังยศศักดิ์ก็จริง เมื่อจะโปรดให้เป็นหาได้คิดเบี่ยงบ่ายไม่ เราได้เคยปรารภว่า ผู้ตั้งใจบวชจริงๆ ดูไม่น่าจะรับยศศักดิ์ แต่น่าประหลาดใจว่าพระผู้ไม่ได้อยู่ในยศศักดิ์ หรือยิ่งพูดว่าไม่ใยดีในยศศักดิ์ เรายังไม่แลเห็นเป็นหลักพระศาสนาจนรูปเดียว จะหาเพียงปฏิบัตินําให้เกิดเลื่อมใส เช่นเจ้าคุณอาจารย์ (พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม) ของเรา (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ให้ได้ก่อนเถิด พระผู้ที่เราเลื่อมใสนับถือว่าเป็นหลักในพระศาสนาเป็นเครื่องอุ่นใจได้ เป็นผู้รับยศศักดิ์ทั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร ที่แลเห็นว่าไม่มุ่งในทางโลกีย์แล้ว ยังยอมอยู่ในยศศักดิ์ เหตุให้เป็นอย่างนี้ น่าจะมีภายหลังเป็นผู้ใหญ่ขึ้นเอง แล้วจึงรู้ว่ พระที่เราเลื่อมใสและนับถือว่าเป็นหลักในพระศาสนานั้นย่อมจะเอาภารธุระพระพุทธศาสนา เว้นจากความเห็นแก่ตัวเกินส่วนอันจะทํานุบํารุงพระศาสนาที่สุดเพียงครองวัดหนึ่ง ไม่ได้กำลังแผ่นดินอุดหนน ทําไปไม่สะดวก ฝ่ายแผ่นดินเล่า ย่อมคอยสอดส่องอยู่เสมอ มีพระดีเป็นที่เลื่อมใสและนับถือของมหาชนปรากฏขึ้น ณ ที่ไหนย่อมเอามาตั้งไว้ในยศศักดิ์ให้กําลังทําการพระศาสนา 

ลักษณะพระที่ดีจริง ย่อมไม่อยากร่านเป็นนั่นเป็นนี่ เมื่อถึงคราวจะต้องเป็นเข้าจริง ไม่แสดงพยศและเบี่ยงบ่าย พระผิดจากลักษณะนี้ เราก็ไม่เลื่อมใส และไม่เห็นเป็นหลักในพระศาสนา จึงหาพระประกอบด้วยลักษณะนั้นนอกยศศักดิ์ไม่ได้

แต่การขอฐานันดร ควรจะบอกว่าได้รับหน้าที่มากี่ปีแล้ว และรักษาการเป็นอย่างไร ทางที่จะยกย่องนั้นได้รับหน้าที่มานาน รักษาการเรียบร้อย หรือรับไม่ช้านัก แต่มีคุณวุฒิเป็นพิเศษหรือมีความชอบ ในทางไร จงเลือกให้ถูกเกณฑ์นี้ ไม่ใช่ว่าพอที่ว่าแล้วจะขอได้ ควรจะสอดดูก่อนว่าอาจรักษาหน้าที่นั้นไว้อยู่ และมีแก่ใจที่จะทําการพระศาสนาโดยแท้ ไม่เช่นนั้นพระสัญญาบัตรจักมีจนเกลื่อน แต่ไม่ได้งานได้การ เมื่อจะขอ ต้องค่อยขอเป็นบางรูป “ไม่ควรขอตั้งโหล ถ้าขอจนเฝือ ผู้ได้รับฐานันดรจักไม่รู้สึกว่าได้เพราะความดีความชอบทั้งจะพาให้จืด เพราะเป็นกันหลายรูปไม่อัศจรรย์อะไร ราคาของเธอคงตกลงไป ไม่ใช่เพราะความเสียของเธอ แต่เพราะมีผู้ไม่สมควรได้รับยศเช่นนั้นเป็นออกตื่นต่างหาก” ยศต้องให้ได้รับในทางที่ชอบ จึงจะสําเร็จประโยชน์ ไม่เช่นนั้น ก็ไม่มีผล อย่าว่าแต่ยศเลย แม้ทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่ควรรับ ยังกลับให้โทษได้เหมือนกัน

.
(ที่มา: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, “ฐานันดรของพระ”, พระมหาสมณานุศาสน์.)

ขอขอบคุณที่มา f.เรื่องเล่าวัดบวรฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.281 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มกราคม 2567 08:15:27