[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 02:01:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ช้างเผือกเกิดขึ้นในป่า” สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร  (อ่าน 2862 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2563 15:08:55 »




ช้างเผือกเกิดขึ้นในป่า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

เราท่านทั้งหลายย่อมเคยได้ยินสำนวนไทยที่ว่า “ช้างเผือกเกิดขึ้นในป่า” กันมาบ้างแล้ว สำนวนนี้มีความหมายว่า คนดีมีวิชาความรู้และมีเกียรติคุณรุ่งเรืองจำนวนไม่น้อย มิได้เป็นผู้ที่ถือกำเนิดขึ้นในพระนคร หากแต่มักจะมีชาติภูมิมาจากหัวบ้านหัวเมืองต่างๆ เปรียบได้กับช้างเผือกซึ่งเป็นช้างสำคัญคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์เจ้า ที่ไหนเลยจะพบพานได้ในพระมหานคร ช้างสำคัญเหล่านั้นล้วนแต่มีถิ่นกำเนิดในป่าดงพงไพรทั้งสิ้น ถ้อยคำสำนวนข้างต้นนี้ถ้านำมาพินิจพิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับชาติภูมิหรือถิ่นกำเนิดของพระมหาเถระที่เป็นหลักของคณะสงฆ์ไทยมาแต่ไหนแต่ไร เราจะพบว่ามิได้ผิดไปจากความเป็นจริงเท่าไรนัก ในบรรดาพระมหาเถระที่เป็นศรีของพระศาสนาและทรงพระเกียรติคุณยิ่งพระองค์หนึ่งที่เพิ่งเสด็จลับล่วงไป คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ก็ทรงอยู่ในฐานะที่ทรงเป็น “ช้างเผือก” จากต่างจังหวัดเช่นเดียวกัน จังหวัดที่ว่านั้นคือจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันตก ราว ๑๒๘ กิโลเมตร ในอดีตกาญจนบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทย เป็นเสมือนปราการด้านตะวันตกของราชอาณาจักร เป็นดินแดนที่กองทัพทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายพม่ายาตราผ่านไปและผ่านมาอยู่มิได้ขาด กาญจนบุรีจึงเป็นชัยภูมิที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทยที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จไปประทับ ทั้งในยามศึกและในยามสงบ นับแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เคยเสด็จพระราชดำเนินยกทัพหลวงไปตั้งค่ายที่ปากแพรก อันเป็นจุดที่แม่น้ำน้อย (แควน้อย) กับ แม่น้ำศรีสวัสดิ์ (แควใหญ่) ไหลมารวมกันเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำแม่กลอง ครั้นในรัชกาลที่ ๓ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปปราบจลาจลเมืองญวน ได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวายตามธรรมเนียมการศึกในครั้งนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พวกญวนที่นับถือพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๗๒ เพื่อรักษาป้อมเมือง เรียกว่า “ญวนครัว” ครั้นล่วงมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองกาญจนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไทรโยค” ก็เป็นทำเลท่องเที่ยวที่โปรดปรานยิ่งนัก ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังกาญจนบุรีหลายครั้งหลายคราวในรัชกาล



บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย กล่าวคือ มาจาก ๔ ทิศทาง

โยมบิดานั้นมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง มาจากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง โยมมารดามีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง

บรรพชนสายญวนนั้น ก็คือพวกญวนครัว พวกญวนที่ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างวัดญวนขึ้นที่เมืองกาญจนบุรีวัดหนึ่ง ชื่อวัดคั้นถ่อตื่อ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทาน นามวัดว่า “วัดถาวรวราราม” อยู่ติดกับวัดเทวสังฆาราม ส่วนบรรพชนสายจีนนั้น ตามที่เล่ากันมาว่า ได้โดยสารเรือสำเภามาจากเมืองจีน แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่ามาจากเมืองใด เรือที่โดยสารมาอับปางก่อนถึงฝั่งเมืองไทย แต่บรรพชนท่านนั้นก็รอดชีวิตมาขึ้นฝั่งเมืองไทยได้ และได้ไปตั้งหลักฐานทำการค้าอยู่เมืองกาญจนบุรี

ตามที่เล่ากันมานั้น หลวงพิพิธภักดีเป็นชาวกรุงเก่าเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาคราวหนึ่ง และเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบองคราวหนึ่ง หลวงพิพิธภักดีไปได้ภริยาชาวเมืองไชยาสองคน ชื่อทับคนหนึ่ง ชื่อนุ่นคนหนึ่ง และได้ภริยาเป็นชาวเมืองพุมเรียงซึ่งอยู่ใกล้กันกับเมืองไชยาอีกคนหนึ่ง ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อครั้งพวกแขกยกเข้าตี เมืองตรัง เมืองสงขลาของไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์(ทัด ต่อมาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติในรัชกาลที่ ๔) เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม หลวงพิพิธภักดีได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย และไปได้ภริยาชื่อจีน ซึ่งเป็นธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สน) เป็นหลานสาว พระตะกั่วทุ่ง หรือ พระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช) มีเรื่องราวดังปรากฏในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ซึ่งเป็นบันทึกของข้าราชการท่านหนึ่งในยุคสมัยนั้น จดไว้ทำนองจดหมายเหตุของราชการ หลวงพิพิธภักดีได้พาจีน ภริยาจากตะกั่วทุ่งมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพฯ และได้รับภริยาเดิม ชื่อแต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย (ส่วนภริยาชาวเมืองไชยาอีก ๒ คน ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว) เวลานั้น พี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่ พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์กาญจนบุรีและพระยาประสิทธิสงคราม (ขำ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีครั้งนั้นก็เป็นอาของหลวงพิพิธภักดีด้วย ต่อมาหลวงพิพิธภักดีพาภริยาทั้งสองไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เล่ากันมาว่า หลวงพิพิธภักดีเป็นคนดุ เมื่อรับราชการเป็นผู้ช่วยราชการเมืองไชยา เคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคา เป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีสลดใจลาออกจากราชการ แต่บางคนกล่าวว่า ต้องออกจากราชการเพราะเกิดความขึ้นเรื่องที่เกี่ยวกับจีน หลานสาวพระตะกั่วทุ่ง เมื่ออพยพมาอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีแล้ว พระพิชัยสงครามผู้พี่ชายจะให้เข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง แต่หลวงพิพิธภักดีปฏิเสธ และสมัครใจที่จะทำนาเลี้ยงชีพ และมีลูกหลาน สืบเชื้อวงศ์ต่อมาถึงนายน้อย คชวัตร ผู้เป็นโยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ




พระชนก
• นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่ หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีน เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๗ ได้เรียนหนังสือตลอดจนถึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ ๒ พรรษา ในสำนัก พระครูสิงคิบุรคณาจารย์ (สุด) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน พระครูสิงคิบุรคณาจารย์ เป็น บุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดีและนางจีน เป็นอาคนเล็ก ของนายน้อย คชวัตรเอง เมื่อนายน้อยลาสิกขาแล้วได้เข้ารับราชการ เริ่มแต่เป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรี และได้แต่งงานกับนางกิมน้อย เมื่อนายน้อยอายุ ได้ ๒๗ ปี

พระชนนี
• นางกิมน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น (เชื้อสายจีน) และ นางทองคำ (เชื้อสายญวน) เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๙ ที่ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีชื่อเรียกเมื่อเป็นเด็กว่า “กิมน้อย” แปลว่า เข็มน้อย คำว่า “กิม” เป็นคำญวน แปลว่าเข็ม นางกิมน้อยแต่งงานกับนายน้อย คชวัตร เมื่ออายุ ๒๕ ปี และใช้ชื่อเมื่อแต่งงานแล้ว ตามที่พบในสมุดบันทึกของนายน้อยว่า “แดงแก้ว” แต่ต่อมากลับมาใช้ชื่อว่า “กิมน้อย” หรือ “น้อย” ตามเดิม นางกิมน้อยพูดญวนได้และอ่านเขียนภาษาไทยได้เล็กน้อย

ป้าเฮ้ง
• กิมเฮ้ง พี่สาวคนเดียวของนางกิมน้อยซึ่งรักใคร่สนิทสนมกันมาก เมื่ออายุได้ราว ๑๓ - ๑๔ ปี กิมเฮ้งป่วยด้วยโรคอีสุกอีใส อันเป็นเหตุให้กิมเฮ้งตาบอดทั้ง ๒ ข้างมาแต่ครั้งนั้น กิมเฮ้ง ซึ่งญาติพี่น้องเรียกกันว่า “ป้าเฮ้ง” จึงดำรงชีวิตเป็นโสดมาตลอดอายุ เมื่อน้องสาวคือนางกิมน้อยแต่งงาน ป้าเฮ้งจึงได้ตกลงกับน้องสาวว่า ถ้ามีลูกคนแรกเป็นชาย จะขอเอาไปเลี้ยงเป็นลูก “ป้าเฮ้ง” ครั้นน้องสาวมีลูกคนแรกก็ปรากฏว่าเป็นลูกชายจริงๆ ป้าเฮ้งดีใจมากที่ได้หลานชายคนแรกมาเลี้ยงเป็นลูก และด้วยเหตุที่หลานคนแรกเกิดมาเป็นชายสมความปรารถนา ทำให้คิดว่าหลานชายคนนี้คงเกิดมาเพื่อความสุขความเจริญ ของพ่อแม่และครอบครัวเป็นแน่ ป้าเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานรักว่า “เจริญ” และได้เลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาแต่เยาว์วัย

ป้าเฮ้งแม้จะตาบอดทั้ง ๒ ข้าง แต่เป็นคนมีความสามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เติบโตขึ้น ป้าเฮ้งรู้สึกว่าลำพังตนคนเดียวซึ่งเป็นคนตาบอดคงจะเลี้ยงดูหลานรักได้ไม่เต็มที่ จึงได้ขอให้น้องชายคนหนึ่งชื่อ เสียม มาช่วยเลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะทรงพระเยาว์ด้วย
ชีวิตของครอบครัวของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความสุขน้อย เนื่องมาจากความเจ็บป่วยและความมีอายุสั้นของหัวหน้าครอบครัว ตามประวัติราชการ นายน้อย คชวัตร ได้เป็นเสมียนอำเภอเมือง กาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ ต่อมาได้ไปตรวจราชการท้องที่กลับมาป่วยเป็นไข้อย่างแรงต้องออกจากราชการคราวหนึ่ง หายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่ และได้ให้กำเนิดบุตรคนโต คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นปลัดขวา อำเภอวังขนาย ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้นเอง ในปีต่อมา ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ ในศกนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่ง และนครปฐม นายน้อยก็ได้มีโอกาสไปร่วมซ้อมรบด้วย







ใน พ.ศ.๒๔๕๘ นั้นเอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี ขณะประทับที่วัดเทวสังฆาราม ได้โปรดให้ข้าราชการและชาวบ้านนำบุตรหลานเล็กๆ เข้าเฝ้า นายน้อย คชวัตร ก็ได้นำบุตรคนโตอายุ ๒ ขวบ คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ หรือเด็กชายเจริญ เข้าเฝ้าด้วย

แต่ในเวลานั้นยังไม่มีผู้ใดเฉลียวใจว่า เหตุการณ์วันนั้นมีความหมายยิ่งสำหรับวงการคณะสงฆ์ไทยเพราะเป็นโอกาสเดียวที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างเป็นสกลมหาสังฆปริณายกทั้งคู่ทรงได้พบกัน

ต่อมานายน้อย คชวัตร ได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกขึ้น เมื่ออาการมากได้กลับมารักษาตัวที่บ้านกาญจนบุรีและถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ ขณะมีอายุเพียง ๓๘ ปี ทิ้งบุตร ๓ คนซึ่งยังมีอายุน้อยๆ ให้อยู่ในอุปการะของภริยา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ซึ่งโยมป้าเฮ้งได้ขอไปเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ๆ และได้อยู่กับโยมป้าเรื่อยมา แม้เมื่อโยมมารดาย้ายไปอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม ก็หาได้นำเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปด้วยไม่ เพราะเกรงใจโยมป้าซึ่งรักเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาก โยมป้าเลี้ยงเอาใจเด็กชายเจริญมากเสียจนใคร ๆ พากันว่าเลี้ยงตามใจเกินไปจะทำให้เสียเด็กภายหลัง แต่โยมป้าก็เถียงว่า “ไม่เสีย” ซึ่งบัดนี้กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ถ้อยคำของโยมป้า เป็นจริงทุกประการ

ชีวิตเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อทรงพระเยาว์ก่อนบวช นั้นมีทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งทางดีและทางเสีย คนภายนอกมักจะเห็นว่าทรงเป็นเด็กอ่อนแอขี้อาย สุขก็คือมีโยมป้าที่คอยพะนอเอาใจ ทุกข์ก็คือความพลัดพรากขัดข้องที่ต้องพบมาตั้งแต่เล็กๆ และร่างกายอ่อนแอจริง เจ็บป่วยอยู่เสมอ

คราวหนึ่งเจ็บมากถึงกับผู้ใหญ่คิดว่าไม่หาย และบนว่าถ้าหายจะให้บวชแก้บน ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ บวชเณรในเวลาต่อมา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าโรงเรียนประถมศึกษา เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม เรียนในศาลาวัด จบประถม ๓ เท่ากับจบประถมศึกษาเมื่อครั้งกระนั้น ถ้าจะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาก็ต้องย้ายไปเข้าโรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด แต่ครูโรงเรียนวัดเทวสังฆาราม ชวนให้เรียนชั้นประถม ๔ ซึ่งจะเปิดสอนต่อไป เท่ากับชั้นมัธยมปีที่ ๑ และจะเปิดชั้นประถม ๕ เท่ากับชั้นมัธยมปีที่ ๒ ต่อไปอีก เพียงแต่ไม่มีการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงตกลงเรียนที่วัดเทวสังฆารามต่อไป ขณะที่มีเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันหลายคนไปเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดชัยชุมพลฯ แล้วไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ





เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีพระอุปนิสัยใฝ่พระทัยทางพระศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์กล่าวคือ ทรงชอบเล่นเป็นพระ ทำคัมภีร์สำหรับเทศน์ขนาดเล็ก ทรงประดิษฐ์พัดยศขนาดเล็กจำลองตามแบบที่ทอดพระเนตรเห็น คือพัดยศของพระครูอดุลยสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งอยู่ในละแวกบ้านของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเก็บหินมาทำภูเขา มีถ้ำ ทำเจดีย์เล็กบนยอดเขา เล่นทอดกฐินผ้าป่า เล่นทิ้งกระจาดและทำรูปยมบาลขนาดเล็กด้วยกระดาษแบบพิธีทิ้งกระจาดที่วัดญวน จนเกิดป่วยไข้ขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ใหญ่ต้องนำรูปยมบาลนั้นไปเผาทิ้งเสีย บางคราวที่โยมป้าต้องตื่นแต่เช้ามืดออกไปทำงาน โยมป้าก็ต้องให้เทียนไว้สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งไม่ยอมนอน จะได้จุดเทียนนั้นและนั่งดูเล่น

ลูกเสือเอก เจริญ คชวัตร
ในระหว่างเป็นนักเรียน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สมัครเป็นลูกเสือ ได้เรียนวิชาลูกเสือจนสอบได้เป็นลูกเสือเอก มีเอกสารที่เป็นลายพระหัตถ์เก่าแก่ชิ้นหนึ่ง ที่ทรงจดไว้ เมื่อทรงเป็น “ลูกเสือเอก เจริญ” ขณะทรงมีอายุ ราวสิบปีเศษ มีเนื้อความเล่ารายละเอียดของงานพิธี ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา น่าสังเกตว่าทรงจดรายละเอียด ของพิธีการรวมตลอดถึงถ้อยคำสาบานในพิธีได้ครบถ้วน เอกสารชิ้นนี้ฉายให้เห็นแววพระปรีชาสามารถ และพระอัธยาศัยที่ทรงช่างจดช่างจำมาตั้งแต่พระชันษายังน้อย และได้ทรงปฏิบัติต่อเนื่องมาตลอดพระชนมชีพ



ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ลูกเสือทุกคนของจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เตรียมการฝึกซ้อมอย่างหนัก โดยใช้พลองแทนอาวุธปืนของทหารเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะของลูกเสือ เพราะมีแผนการว่าจะได้เข้าร่วมสมทบในการซ้อมรบเสือป่าตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีกำหนดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐม บ้านโป่ง และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลูกเสือจากกาญจนบุรี เข้าร่วมการซ้อมรบด้วย แต่ก็ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนในเดือนพฤศจิกายน ศกนั้นเอง เรื่องการซ้อมรบเสือป่าและลูกเสือจึงเป็นอันถูกยกเลิกไป

อนึ่ง สมควรกล่าวด้วยว่า ขณะเป็นนักเรียนอยู่นั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เคยรับเสด็จเจ้านายหลายครั้ง เช่น ครั้งหนึ่งสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระปิตุลา (อา) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองกาญจนบุรี และได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งทรงเป็นนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าวก็ได้ร่วมรับเสด็จด้วย

ย้อนกลับมากล่าวถึงเรื่องการศึกษา เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเรียนถึงชั้นประถม ๕ ก็ทรงเริ่มรู้สึกว่ามาถึงทางตัน เพราะเมื่อจบชั้นประถม ๕ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนวัดเทวสังฆารามแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปเรียนต่อได้ที่ไหน เพราะในขณะนั้นไม่ทรงมีโยมบิดาที่จะเป็นผู้นำและชี้แนะ ข้างฝ่ายโยมมารดาและป้าเฮ้งก็ไม่มีความสันทัดในเรื่องเช่นนี้ อีกทั้งขณะทรงพระเยาว์ก็รู้สึกพระองค์เองว่าขลาด กลัวที่จะต้องสมาคมกับหมู่คนที่ไม่คุ้นเคยหรือเพิ่งเริ่มรู้จัก ทำให้ไม่ทรงกล้าตัดสินใจไปเรียนต่อที่อื่น



ที่กล่าวมาแล้วว่าเมื่อใกล้จะสำเร็จการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงรู้สึก ว่าเดินมาถึงทางตันและจะต้องตัดสินใจเลือกทางเดินสำหรับชีวิตในวันข้างหน้า “ทางตัน” ทางโลกที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพบในวันนั้น ทำให้คนไทยทั้งชาติมีวาสนาที่จะได้ชมบุญเจ้าพระคุณสมเด็จฯ บนเส้นทางเดินสายใหม่คือการดำเนินตามรอยสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้ทรงประกาศเส้นทางอันนำไปสู่ความสุขสงบที่แท้จริงมาช้านานกว่าสองพันปีแล้ว ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่เคยอยู่วัด และไม่คุ้นเคยกับหลวงพ่อหรือพระภิกษุรูปใดเป็นพิเศษ ที่ทรงเข้าออกนอกในกับวัดเทวสังฆาราม ก็เป็นแต่เพียงไปเรียนหนังสือในวัด และไปบำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่างๆ ในวัด บางคราวเคยตามโยมป้าไปฟังเทศน์ตอนค่ำ มีอยู่พรรษาหนึ่ง ทางวัดจัดให้มีเทศน์ชาดกติดต่อกันทุกคืนตลอดพรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ติดใจเร่งโยมป้าให้พาไปฟังนิทานทุกคืน แต่ถ้าถึงตอนที่เป็นเทศน์ธรรมะ ฟังไม่เข้าใจก็เร่งให้กลับบ้าน

ในต้นพรรษา พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งเป็นปีแรกในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว มีน้าของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะออกบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามสองคน คือน้าแถมกับน้าทองดี ก่อนหน้านั้นไม่นานเจ้าพระคุณสมเด็จฯมีพลานามัยไม่สมบูรณ์ล้มป่วยอยู่บ่อยๆ ดังที่เล่ามาแล้วว่า ท่านผู้ใหญ่ในครอบครัวจึงบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้หายป่วย หากหายป่วยจริงก็จะให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ บวชเป็นสามเณร การบนบาน เรื่องนี้ได้ผลดี โยมมารดาและโยมป้าเฮ้งจึงชักชวนให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ บวชเป็นสามเณรเพื่อแก้บนตามที่ได้สัญญาไว้เสียในคราวเดียวกัน

การบรรพชาเป็นสามเณรครั้งนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีพระชนมายุเข้า ๑๔ พรรษา พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามที่เรียกกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็น พระอาจารย์ให้สรณะและศีล บวชแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ซึ่งเป็นพระอารามฝ่ายมหานิกาย






มีเรื่องเล่ากันสืบมาว่า เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่กับโยมป้าเฮ้งไม่เคยแยกจากกัน นอกจากเวลาไปแรมคืนเมื่อเป็นลูกเสือบางครั้งเท่านั้น คืนวันสุดท้ายก่อนบรรพชาเป็นสามเณร โยมป้าเฮ้งพูดว่า “คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน” ซึ่งวันเวลาต่อมาก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริง เพราะทั้งสองได้แยกจากกันตั้งแต่วันนั้นมา จนอวสานแห่งชีวิตของโยมป้า เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗

พระประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แสดงให้เห็นว่า ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษามาตั้งแต่ต้น แม้เมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ทรงใคร่ครวญถึงการศึกษา ซึ่งยังผลให้ทรงรู้สึกว่าพระองค์มาถึงทางตัน คือไม่รู้จะไปเรียนต่อที่ไหน แต่ก็มีแรงผลักดันบางอย่างมาทำให้พระองค์ทรงพบทางออกที่จะทำให้พระองค์มีโอกาสศึกษาต่อไปได้ นั่นคือ การบรรพชาเป็นสามเณรนั่นเอง

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อพระชนมายุย่างเข้าปีที่ ๑๔ ดังกล่าวมาแล้ว อันที่จริงการบวชเณรของพระองค์ ก็เป็นเพียงการบวชแก้บนโดยทั่วไป การบวชแก้บนก็บวชกันไม่กี่วันก็สึก แต่การบวชเณรของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นมีเรื่องสำคัญที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ลืมความรู้สึกว่า ทรงบวชแก้บน สิ่งนั้นก็คือการเรียนนั่นเอง ทรงเล่าในภายหลังว่าในพรรษาแรกนั้น “หลวงพ่อวัดเหนือ” หรือหลวงพ่อดี ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ให้พระองค์ท่องสามเณรสิกขา (คือวัตรปฏิบัติที่สามเณรจะต้องศึกษา) ท่องทำวัตรสวดมนต์ต่างๆ ที่สำคัญคือ ท่องจำเทศน์ทั้งกัณฑ์ตามคำบอกของหลวงพ่อดี จนท่องจำได้ทั้งกัณฑ์ กล่าวคือเมื่อเข้าไปทำอุปัชฌายวัตรทุกคืน ท่านอ่านนำให้ฟังเป็นตอนๆ แล้วให้ท่องตามทีละวรรค คืนละตอนจนจำได้ทั้งกัณฑ์ แล้วให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่าแก่พุทธบริษัทในคืนวันพระคืนหนึ่ง กัณฑ์เทศน์ที่ทรงจำได้เป็นประเดิมนี้ คือเทศน์เรื่องอริยทรัพย์ ๗ ประการ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า อริยทรัพย์เจ็ดประการ ได้แก่ สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญา ทรัพย์เหล่านี้มีอยู่แก่บุคคลผู้ใด บัณฑิตกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้ไม่จนและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นไม่เสียเปล่า



กล่าวได้ว่าผู้ที่มาทะลุทางตันของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปสู่ทางสว่างของชีวิต ก็คือ หลวงพ่อดี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดเหนือนั่นเอง

และหลวงพ่อเองก็น่าจะมองเห็นแววในทางการศึกษาในตัวเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะเมื่อทรงเป็นสามเณร จากการทดลองให้ท่องจำสามเณรสิกขา ท่องจำทำวัตรสวดมนต์ และท่องจำเทศน์ทั้งกัณฑ์ได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะนี่คือกระบวนการเรียนขั้นต้นในพระพุทธศาสนา และคงจะเป็นที่ถูกกับพื้นพระอัธยาศัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งมีความโน้มเอียงมาทางพระศาสนาอยู่แล้ว จึงทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อยังทรงพระเยาว์นั้นลืมการบวชแก้บน ฉะนั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว สามเณรเจริญที่บวชแก้บนก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสึกหรือลาสิกขาแต่อย่างใด

หลวงพ่อดีคงเห็นแววในทางการศึกษาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อยังเป็นสามเณร ดังกล่าวมาแล้ว หลวงพ่อจึงได้ชักชวนสามเณรให้ไปเรียนบาลีที่วัดเสนหา นครปฐม ซึ่ง มีพระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นสำนักเรียนบาลีที่มีชื่อเสียง เป็นการทดสอบดูก่อน พร้อมทั้งได้วาดฝันให้แก่สามเณรในขณะนั้นว่า
“ต่อไปจะได้กลับ มาสอนที่วัดเหนือ แล้วจะสร้างโรงเรียนไว้ให้”

สมควรกล่าวด้วยว่าในช่วงเวลาที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงศึกษาภาษาบาลีอยู่ ที่วัดเสนหานั้น พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) ได้อาพาธเป็นวัณโรคถึงมรณภาพ พระปลัดห้อย (ต่อมาเป็นพระครูสังวรวินัย) เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเสนหาเรียนแปลธรรมบทต่อไปใน พ.ศ.๒๔๗๒ อีกหนึ่งพรรษา

ความก้าวหน้าในการเรียนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ดังกล่าวย่อมเป็นที่พอใจของหลวงพ่อดีซึ่งคอยติดตามดูแลเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่ตลอดเวลา แม้ครูผู้สอนเองก็มีความพอใจในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มากถึงกับชักชวนเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้ไปเรียนต่อที่วัดมกุฏกษัตริยาราม อันเป็นสำนักเดิมของครูผู้สอน (คือ พระมหาภักดิ์ ศักดิ์เฉลิม) พร้อมทั้งได้ติดต่อกับทางวัดมกุฏกษัตริย์ฯ ไว้ให้เรียบร้อยด้วย เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นำเรื่องนี้ไปแจ้งให้หลวงพ่อทราบ หลวงพ่อท่านไม่เห็นชอบด้วย เพราะหลวงพ่อท่านตั้งใจไว้แล้วว่าจะพาไปฝากให้เรียนต่อที่วัดบวรนิเวศวิหาร




หลวงพ่อดีเองเมื่อบวชพรรษาแรกๆ ก็เคยคิดที่จะมาอยู่เรียนบาลีที่กรุงเทพฯ จึงได้มาอยู่ที่วัดรังษีสุทธาวาส ซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศวิหาร (ภายหลังเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ รวม เข้ากับวัดบวรนิเวศวิหารและเรียกว่าคณะรังษี) แต่มีเหตุขัดข้องบางประการ ท่านจึงไม่ได้เรียนบาลีตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิม แต่ถึงกระนั้นท่านก็พำนักอยู่วัดรังษีสุทธาวาสหลายพรรษา จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อรู้จักคุ้นเคยกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระนามเดิม ม.ร.ว. ชื่น นพวงศ์) มาตั้งแต่ทรงเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์ หลวงพ่อจึงได้ตัดสินใจที่จะพาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เพื่อศึกษาบาลีต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

เมื่อตกลงที่จะมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้กลับจากวัดเสนหามาอยู่วัดเทวสังฆารามชั่วคราว เพื่อเตรียมตัวเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่มีใครเลยสักคนในเวลานั้นที่หยั่งรู้ว่า การเดินทางเข้ามาศึกษาหาความรู้ในสำนักวัดบวรนิเวศวิหารของสามเณรเจริญ คชวัตร คราวนั้น เมื่อมองย้อนกลับไปแล้วสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเป็นวาระสำคัญที่ช้างเผือกเข้ากรุงโดยแท้

เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่อง ประกอบกับเพื่อที่จะได้เข้าใจได้ถ่องแท้ว่า เพราะเหตุใดพระครูอดุลยสมณกิจหรือหลวงพ่อดี จึงตัดสินใจที่จะพาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกเหนือจากความสนิทสนมคุ้นเคยที่หลวงพ่อดีใกล้ชิดกับพระเถรานุเถระในวัดบวรนิเวศวิหาร มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มาแต่เดิมแล้ว วัดบวรนิเวศวิหารนี้เองก็ยังเป็นพระอารามคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญมาแต่โบราณกาล กล่าวได้เต็มปากว่าเป็นพระอารามหลวงที่มีเกียรติคุณ และเป็นสำนักเรียนภาษาบาลี ที่เรืองนามมาแต่ไหนแต่ไร จึงน่าจะได้ย้อนกล่าวถึงประวัติของวัดบวรนิเวศวิหาร ไว้พอสังเขป


ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : f พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2563 14:36:37 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2563 15:27:56 »



ตามตำนานมีหลักฐานว่าวัดบวรนิเวศวิหารนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาล ที่ ๓ ทรงสร้างขึ้นในปีใดปีหนึ่งระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗ ถึง พ.ศ.๒๓๗๕ แรกทีเดียวยังมิได้ปรากฏนามพระอารามชัดเจน หากแต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันโดยลำลองว่า “วัดใหม่” บ้าง “วัดบน” บ้าง สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้นได้ทรงเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ปรากฏนามในบัดนี้ว่า พระพุทธสุวรรณเขต มาจากวัดสระตพาน เมืองเพชรบุรี มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และต่อมาอีกไม่นานก็ได้ทรงเชิญพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญ องค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ และมีพุทธลักษณะงามวิเศษจากพระวิหารที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารด้วยอีกองค์หนึ่ง ต่อมาในยุคที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองวัดได้อัญเชิญย้ายมาประดิษฐานที่มุขหน้าของพระอุโบสถเบื้องหน้าพระพุทธสุวรรณเขต ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้นทรงสถาปนาวัดบวรนิเวศวิหารขึ้นแล้ว ท่านผู้ใดเป็นอธิบดีสงฆ์พระอารามนี้ และมีพระสงฆ์จำนวนมากน้อยเท่าไรก็ไม่ปรากฏ มีหลักฐานแต่เพียงว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพสวรรคตใน พ.ศ.๒๓๗๕ แล้ว ก่อน พ.ศ.๒๓๗๙ ไม่นาน พระอารามนี้มีพระเทพโมลี “สิน” เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ลูกวัดเพียง ๕ รูป ต่อมาพระเทพโมลี (สิน) ลาสิกขา เป็นอันว่าวัดบวรนิเวศวิหารนี้ไม่มีพระราชาคณะผู้ใหญ่ปกครองดูแล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้อาราธนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏสมมุติเทวาวงศ์ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดสมอรายหรือวัดราชาธิวาส ให้เสด็จมาอยู่และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๔๗ ในรัชกาลที่ ๑ ครั้นพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษาก็ทรงผนวชเป็นพระภิกษุตามโบราณราชประเพณี มีพระราชสมณฉายา ว่า “วชิรญาโณ” เมื่อทรงพระผนวชได้เพียงไม่กี่วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถก็เสด็จสวรรคต โดยยังมิทันได้ทรงมอบหมายราชสมบัติให้แก่ผู้หนึ่งพระองค์ใดเป็นการเฉพาะ เมื่อเจ้านายและข้าราชการทั้งหลายกราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์







พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยที่จะเสด็จอยู่ในภิกขุภาวะต่อไปเพื่อทรงศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งด้านคันถธุระ คือการเรียนคัมภีร์ปริยัติ และด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระภิกษุมาได้ระยะหนึ่งได้ทรงศึกษาภาษาบาลีจนเชี่ยวชาญแล้ว เป็นเหตุให้ทรงพิจารณาพระไตรปิฎกโดยถ่องแท้แล้วทรงเห็นว่าวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในเวลานั้นย่อหย่อนนัก ทรงรู้สึกสลดสังเวชพระราชหฤทัย ถึงกับทรงเห็นว่ารากเหง้าเค้ามูลแห่งการบรรพชาอุปสมบทจะเสื่อมสูญเสียแล้ว

ขณะที่ทรงพระปริวิตกดังนั้น พอดีได้ทรงพบกับพระเถระชาวรามัญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย “พุทฺธวงฺโส” เวลานั้นอยู่ที่วัดบวรมงคลและเป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี ได้ทรงสอบทานวัตรปฏิบัติของพระเถระรูปดังกล่าวและคณะสงฆ์รามัญทั้งปวง แล้วทรงเห็นว่าสอดคล้องต้องกันกับพระพุทธพจน์ตามพระบาลี จึงทรงเลื่อมใสและทรงขออุปสมบทซ้ำที่เรียกว่า การทำทัฬหีกรรม ในคณะสงฆ์รามัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ และได้ทรงเริ่มต้นปรับปรุงวัตรปฏิบัติของตนเองตลอดจนพระภิกษุผู้เป็นศิษย์ที่มาถวายตัวด้วยความเคารพเลื่อมใสและมีจำนวนมากขึ้นทุกที จนเกิดเป็นคณะสงฆ์ที่เรียกว่า “คณะธรรมยุติกนิกาย” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ธรรมยุติกา ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ โดยแรกทีเดียวทรงมีสำนัก อยู่ที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส แต่สมควรกล่าวไว้ด้วยว่าในเวลาที่ประทับอยู่ที่วัดสมอรายนั้น มีทั้งพระภิกษุที่เป็นธรรมยุติกา และที่มิได้เป็นธรรมยุติกาอยู่รวมกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร และน่าจะเป็นโอกาสนี้เองที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อพระอาราม วัดบวรนิเวศวิหาร ให้ใกล้เคียงกันกับนามพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็น “วังหน้า” หรือเป็นวังสำหรับตำแหน่งพระมหาอุปราช เข้าใจว่าเป็นวิธีทรงดำเนินพระบรมราโชบายเหมือนอยากจะประกาศให้ได้รู้ทั่วกันว่าทรงเทียบพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงพระกรุณาพระราชทานเกียรติยศเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้เสด็จเข้าไปเลือกของในพระราชวังบวรสถานมงคล หากมีพระราชประสงค์สิ่งใด พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำมาได้ อาทิ พระไตรปิฎกฉบับวังหน้าที่มี กรอบเป็นทองคำลงยาก็มี เป็นถมตะทองก็มี เป็นงาสลักก็มี อันเป็น ของปราณีตเกินกว่าที่จะสร้างขึ้นสำหรับวัดทั่วไป




การที่ทรงย้ายมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารเช่นนี้ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางระเบียบวัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นพระอารามฝ่ายธรรมยุติกาทั้งพระอารามเป็นวัดแรก ครั้นต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ เจ้านายและข้าราชการทั้งปวงเห็นพร้อมกันให้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงลาผนวช เพื่อมาเถลิงถวัลย์ในราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ เป็นพระมหากษัตริย์ในลำดับที่ ๔ ของพระมหาจักรีบรมราชวงศ์

ในยุคที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่นานถึงสิบกว่าปีนั้น ได้ทรงทำนุบำรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในพระอารามให้เจริญขึ้นจนมีผู้เลื่อมใสและสรรเสริญว่าพระสงฆ์สำนักวัดบวรนิเวศวิหารของพระองค์ปฏิบัติเคร่งครัดดี เป็นเหตุให้มีคนเข้ามาบวชมากขึ้น ในตอนปลายสมัยที่ทรงครองวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวน ๑๓๐ รูปขึ้นไป บางปีมีจำนวนมากถึง ๑๕๐ รูปก็มี ทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง ทรงบอกปริยัติธรรมเอง ภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์เข้าแปลในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดก็มีหลายรูป พระภิกษุที่อยู่วัดหรือสำนักอื่นมาขอเรียนสมทบบ้างก็มี ทรงเป็นหลักอยู่ในการไล่หนังสือพระองค์หนึ่งของคณะสงฆ์ไทย

ในวัดบวรนิเวศวิหารมีพระเปรียญที่พูดภาษามคธได้คล่อง มีพระภิกษุจากลังกาเข้ามาติดต่อเรื่องการพระศาสนาอยู่เสมอ จนต้องมีคณะหรือที่พักที่จัดไว้เฉพาะพระภิกษุจากลังกา ที่วัดบวรนิเวศวิหารเรียกว่า คณะลังกา บางคราวก็ทรงแต่งสมณทูตไปลังกา พร้อมกันนั้นในส่วนพระองค์เองก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากมิชชันนารีผู้เข้ามาสอนศาสนา ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ที่เป็นของคนไทยขึ้นเป็นแห่งแรกภายในวัดบวรนิเวศวิหารแทนการจารลงในใบลานอย่างแต่ก่อน โรงพิมพ์นี้ได้พิมพ์หนังสือสวดมนต์บ้าง พิมพ์พระปาฏิโมกข์บ้าง พระราชกรณียกิจเหล่านี้เป็นเหตุให้วัดบวรนิเวศวิหารมีชื่อเสียงและเกียรติคุณวิเศษ เป็นที่พอใจของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก

ตามประวัติที่ได้เล่ามาเช่นนี้ย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นว่าวัดบวรนิเวศวิหารมีความสำคัญมาช้านานในประวัติศาสตร์ และกล่าวเฉพาะข้างฝ่ายการของคณะสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารก็เป็นพระอารามของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกาเป็นพระอารามแรก แม้พ้นยุคสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองวัดไปแล้ว วัดบวรนิเวศวิหารก็ยังคงเป็นพระอารามที่ขึ้นชื่อในเรื่องแบบแผนการปฏิบัติที่เคร่งครัดและเป็นสำนักเรียนภาษาบาลีที่ขึ้นหน้าขึ้นตา เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปว่าในแต่ละปีมีพระภิกษุและสามเณรจากสำนักบวรนิเวศวิหารสอบไล่ในสนามหลวงได้ในจำนวนที่น่าพึงพอใจ



ในวันเวลาที่หลวงพ่อดีนำเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีที่สำนักวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสมัยที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัด แม้เวลานั้นยังไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงมีสมณศักดิ์เป็นแต่เพียงสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ แต่ก็ทรงมีพระเกียรติคุณเป็นที่ร่ำลือและเป็นเหตุจูงใจให้หลวงพ่อดีนำเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้ามาพึ่งพระบารมีและเป็นการพลิกโฉมวิถีชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปสู่ความเจริญสมดังพระนามเดิมอย่างน่าอัศจรรย์

ครั้นวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ หลวงพ่อได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เดินทางจากวัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี เข้าสู่กรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งทรงมีพระอุปนิสัยชอบจดบันทึก ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์การเดินทางเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ครั้งนั้นไว้อย่างละเอียดแม้จะยาวความอยู่สักหน่อย แต่ก็เป็นเรื่องน่ารู้น่าสนใจ เพราะแสดงรายละเอียดของการเดินทางไว้ครบถ้วน ตั้งแต่เริ่มออกเดินทางจากวัดเทวสังฆารามจนถึงวัดบวรนิเวศวิหาร ดังนี้

วันที่ ๘ ตอนเพนไปฉันที่บ้าน วันนี้ที่วัดมีการอุปสมบทด้วย เวลาเย็นเยี่ยมคุณย่าเพียร ผู้มีบุญคุณมาก

วันที่ ๙ ทีต้นว่าจะไปเช้า แต่ไม่ทัน เพราะต้องการให้ทันรถ ๑๑ กท.บ้านโป่ง ตกลงไปเพนแล้ว น้าทิตย์เติมไปหารถที่ตลาด เวลา ๑๒.๐๓ นาฬิกา ออกจากวัดเทวสังฆาราม มีท่านอาจารย์หังและพระบางรูปส่งที่ในวัด เพราะรถไปรับถึงบรรไดกุฏิ (เกือบๆ ถึง) ทางบ้านมีแม่ใหญ่ (คือ ยายทองคำ) แลย่าเพียร แลโยมกับน้องชาย ๒ คนมาส่งที่วัด แลดูรู้สึกคิดถึงวัด คือพวกพ้องมาก ครั้นท่านพระครูท่านให้ไปไหว้พระพุทธรูปในห้องท่าน จึงค่อยคลาย ไปทางหน้าบ้านผ่านป้าไป รู้สึกคิดถึงมาก ถึงบ้านโป่งเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกาได้ ต้องรอรถจนถึงเวลา ๑๔.๕๘ นาฬิกา จึงได้ขึ้นรถถึงนครปฐมเวลา ๑๕.๕๕ นาฬิกา ตอนผ่านวัดเสนหาทำให้หวนนึกถึงเรื่องอันเปนไปแล้วในอดีต ให้รู้สึกสลดใจมาก ผ่านโรงเรียนไป เวลานั้นเขากำลังเรียนกัน เมื่อก่อนเราเคยอยู่วัดเสนหา เวลาโน้นต้องพลัดพรากกลับบ้าน เวลานี้กลับพลัดบ้านเข้ากรุงเทพฯ อีก เปนของอนิจฺจํแท้ทีเดียว เวลา ๑๗.๕๗ นาฬิกา ถึงกรุงเทพฯ ลงที่บางกอกน้อย ข้ามเรือจ้างที่ท่าพระจันทร์ ถึงวัดบวรราว ๖ โมงเศษ มาที่กุฏิพระครูพุทธมนต์ ไม่พบท่าน เลยไปหาสมเด็จวชิรญาณทีเดียว เดชบุญท่านก็รับโดยดี มิได้มีซักไซ้ถามถึงเรื่องที่ขาดไปคราวนี้มีท่านพระครูอุปัชฌาย์ และน้าทิตย์เติมไปส่ง นายเล็กเปนลูกศิษย์ ท่านพระครูนำไปฝาก คืนนี้ตกลงพักที่คณะเขียววัดบวรซึ่งอยู่ในความปกครองของพระครูพุทธมนต์ ท่านพระครูพักที่กุฏิท่านมหาอุ่น ๕ ประโยค ซึ่งภายหลังเปนครูของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพักที่กุฏิท่านแนบ รู้สึกว่าท่านมีอัชฌาสัยดีผู้หนึ่ง


   เป็นอันว่า เวลาเย็นของวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้กราบสักการะสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะเมื่อยังทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามเก่าแก่ของธรรมยุติกนิกาย มาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ในสำนัก เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าอยู่ในสำนักวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว โปรดให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่ในความปกครองของพระครูพุทธมนต์ปรีชา (ปญฺญาวุโธ เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ.๓) และได้จัดให้อยู่ที่คณะเขียวบวร อันเป็นธรรมเนียมประเพณีในวัดนี้ที่จะแบ่งเสนาสนะออกเป็นคณะต่างๆ มีชื่อเรียกต่างกันออกไป แต่ละคณะมีพระเถระรูปหนึ่งรับธุระเป็นเจ้าคณะปกครอง รวมทั้งสิ้นในปัจจุบัน ๑๐ คณะ ได้แก่ คณะเหลืองรังษี คณะแดงรังษี คณะเขียวรังษี (สามคณะนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาส ซึ่งบัดนี้รวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว) คณะแดงบวร คณะขาบบวร คณะเขียวบวร คณะบัญจบเบญจมา คณะสูง คณะตำหนัก และคณะกุฏิ

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงบันทึกเกี่ยวกับพระครูพุทธมนต์ปรีชาไว้ว่า “พระครูพุทธมนต์ฯ เป็นคนมีวาจาอ่อนหวาน ใจแข็ง รู้จักกาละเทศะ ควรไม่ควร มีเชาวน์ในสัปปุริสธรรม แม้จะสนิทสนมกับสมเด็จฯ สมเด็จเชื่อฟังจริงๆ ก็ตาม แต่เมื่อเข้าหาท่านคราวไร แสดงอาการกายวาจาอ่อนน้อมเต็มที่ ไม่มีอาการกำเริบ แสดงว่ากลัวเกรง เข้าใจกราบเรียนให้สมเด็จฯ เชื่อฟัง เมื่อถึงคราวต้องเป็นหัวหน้าจัดการงาน วางตนเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ทั้งอาการกายวาจา สมเป็นหัวหน้า รู้การงานว่าควรจะจัดทำให้ดีโดยประการใด ฉลาดในการปฏิสันฐาน เมื่อเวลาทำงานออกหน้า ศิษย์ที่ท่านไม่ไว้ใจว่าจะทำได้ดีท่านไม่ใช้ เพราะเกรงความเสียหายจะเกิดแก่ศิษย์ พูดถึงพวกแล้วช่วยเต็มที่ แต่คนอื่นปัดเต็มที่เหมือนกัน เข้าใจพูดแก้ตัว

วันหนึ่ง เห็นข้าพเจ้าเดินเคียงกับ ม.ร.ว.พระจเร ท่านจึงสอนภายหลังว่าไม่ควร พระในกรุงเทพฯ มีหลายชั้น ควรแสดงความนับถือและกายวาจาให้พอเหมาะ อย่าตีเสมอ ท่านมีอาจารยฐานที่เด่นประการหนึ่งคือยกย่องศิษย์ให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ถึงคราวเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ ถึงคราวเป็นเด็ก เป็นเด็ก ถึงคราวแสดงอย่างกันเองก็เป็นกันเอง ถึงคราวแสดงอย่างเอาการเอางาน ก็แสดงอย่างเอาการเอางาน ถึงคราวดุก็ดุ ด้วยการที่ท่านมีใจและเชาวน์เฉียบอยู่เช่นนี้ จึงทำให้เป็นคนมีอำนาจโตอยู่ในวัดบวรนิเวศ..........ควรเอาเยี่ยงในการรักษาตัว ในวิธีทำให้ผู้ใหญ่โปรดไว้วางใจ”  






สำหรับการศึกษาพระปริยัติธรรมของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ปรากฏว่าในปีแรก ที่มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.๒๔๗๒) นั้น ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี ดูเหมือนความก้าวหน้าในการศึกษาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ทำให้หลวงพ่อดียิ่งมีความมั่นใจในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มากยิ่งขึ้น ตามที่เคยให้คำมั่นกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไว้ เมื่อครั้งชักชวนให้ไปเรียนบาลีที่วัดเสนหาว่า “จะสร้างโรงเรียนไว้ให้” ฉะนั้น

หลังจากหลวงพ่อพาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้ ๑ ปี หลวงพ่อก็ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขึ้นที่วัดเทวสังฆาราม ใน พ.ศ.๒๔๗๓ เรียกว่า โรงเรียนเทวานุกูล เพื่อรอให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กลับไปสอนบาลีตามความคาดหวังของหลวงพ่อและใน พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็สอบได้นักธรรมโทและเปรียญธรรม ๓ ประโยค เมื่อพระชนมายุ ๑๗ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงบันทึกความรู้สึกของ พระองค์เมื่อสอบเปรียญธรรม ๓ ประโยคได้ไว้ว่า “รู้สึกว่าเป็นสุขใจสุขกายมาก ไม่มีปีใดในระวางปีที่ก่อนอุปสมบท หรืออุปสมบทแล้วได้ ๒ พรรษา หรือจนถึงเขียน จ.ม.เหตุนี้ ส่งความสุขกายใจให้แก่ข้าพเจ้ามากเหมือนในระยะที่สอบ ป.ธ. ๓ ได้”

และผู้ที่น่าจะมีความสุขไม่น้อยไปกว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อีกคนหนึ่งก็คือ หลวงพ่อดีนั่นเอง เพราะความสำเร็จขั้นต้นในการเรียนบาลีของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ดังกล่าวนี้ คงทำให้หลวงพ่อรู้สึกว่าความมุ่งมั่นในอันที่จะสร้างการศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้นที่วัดเทวสังฆาราม ถึงกับเตรียมสร้างโรงเรียนไว้รอเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กลับมาสอนนั้น คงจะเป็นจริงขึ้นในไม่ช้า เรื่องการสร้างการศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามนั้น ดูเหมือนหลวงพ่อดีมีความมุ่งมั่นมากและได้ฝากความหวังไว้ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ อย่างเต็มที่ ดังที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงเล่าว่า เมื่อมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น มิได้บวชแปลงเป็นสามเณรธรรมยุต เพราะหลวงพ่อดีมีความประสงค์จะให้กลับไปอุปสมบทอยู่ช่วยท่านสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆาราม และเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ทำให้ความมุ่งมั่นของหลวงพ่อสมประสงค์





เมื่อแรกเข้ามาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอายุเพียง ๑๖ พรรษา การเป็นสามเณรน้อยจากวัดต่างจังหวัดแล้วเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของพระอารามหลวงที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ภายในพระนคร ต้องถือว่าเป็นโอกาสสำคัญในวิถีชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ภาระหน้าที่ของท่านในเวลานั้นยังไม่มีการคณะสงฆ์หรือการวัดเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะว่าท่านเป็นแต่เพียงสามเณรน้อย ท่านจึงมีเวลาให้กับการศึกษาได้เต็มที่ ดังจะเห็นผลสำเร็จเบื้องต้นได้ จากการที่ท่านสอบได้นักธรรมโทและเป็นสามเณรเปรียญสามประโยคดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อทรงสอบไล่ได้เปรียญสามประโยคเช่นนั้นแล้ว ตามปกติก็ต้องเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสอบไล่ในประโยค ๔ ตามลำดับชั้นต่อไป

การสอบไล่ประโยค ๔ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ ปรากฏผลเป็นที่น่าประหลาดใจและเป็นบทเรียนสอนพระทัยเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งสำคัญ เพราะทรงสอบตกเปรียญ ๔ ด้วยความประมาท ทั้งๆ ที่ในเวลาเข้าสอบ ทรงมั่นใจเต็มที่ว่าจะทรงสอบได้ เพราะรู้สึกว่าข้อสอบง่าย แต่ผลสอบปรากฏออกมาตรงกันข้าม เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงบันทึกถึงความประมาทครั้งนั้นว่า

ใครๆ เก็งกันว่า ข้าพเจ้าไม่สอบตก เป็นเยี่ยมในพวกนักเรียนด้วยกัน ใจเกิดกำเริบ ไว้ใจเสาะหาประโยคเก็งไว้มากมาย ถึงคราวสอบหาออกประโยคเก็งไม่ ออกประโยค อิมินา ทฺวาทสวิเธน ฯเปฯ สัณโดศ ประโยคนี้เคยผ่านมาสักเดือนเศษ เวลาประชุมพลิกผ่านไปหมด เพราะเห็นว่าง่าย ไม่ค่อยมีสาระ ไม่ออกแน่ ใครๆ ก็ว่าอย่างนี้ ครั้นออกมาแล้วยังนึกเสียใจว่า ออกประโยคไม่สมภูมิเราเลย ประโยคเช่นนี้ถึงได้ก็ไม่มีชื่อเสียงอะไรเพราะง่ายมาก เขียนอย่างยิ้มเย้ยประโยค ๔ อยู่ตลอดเวลา เสร็จ ชุ่มหัวใจมาก โปร่งมาก แต่อนิจจา ข้าพเจ้าตกอย่างไม่มีคะแนนติดอยู่เลย ได้สูญ นี้แลเป็นผลของความประมาท

และได้ทรงบันทึกไว้ต่อไปความว่า จากบทเรียนครั้งนั้นทำให้พระองค์ทรงเลิกเตรียมตัวสอบแบบเก็งข้อสอบ คือสันนิษฐานว่าข้อสอบจะออกเรื่องใด ให้แปลประโยคใด นอกจากที่ทรงเก็งว่าจะออกสอบแล้วก็ทรงศึกษาแต่เพียงข้ามๆ ไป แต่ทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบทำความรู้ความเข้าใจให้ชัดเจนในเนื้อหาของวิชาที่เรียนตลอดทุกเรื่อง ทุกประเด็นด้วยความไม่ประมาท ก็ปรากฏว่าในปี ต่อมาคือ พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค

และในการเตรียมตัวสอบนักธรรมเอกนั้นเอง มีวิชาเกี่ยวกับพระปาติโมกข์คือพระวินัยที่พระภิกษุสงฆ์ ต้องฟังสวดเพื่อทรงจำให้แม่นยำทุกวันอุโบสถ คือ วันพระใหญ่ที่มีกำหนดเดือนละสองครั้ง กำหนดว่าจะต้องออกสอบด้วย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงทรงท่องจำพระปาติโมกข์ตั้งแต่ต้นจนจบเสียเลยทีเดียว การท่องจำพระปาติโมกข์ซึ่งมีความยาวและต้องใช้เวลาสวดติดต่อกันโดยไม่หยุดพักนานถึงประมาณ ๔๐ นาที เจ้าพระคุณสมด็จฯ ทรงใช้เวลาทรงจำเพียง ๙ วันเท่านั้น จึงเป็นอันว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงจำพระปาติโมกข์ได้ตั้งแต่ทรงเป็นสามเณร และทรงจำได้คล่องแคล่วจนตลอด พระชนมชีพของพระองค์  





ในปีต่อมาคือ พ.ศ.๒๔๗๖ ทรงมีพระชนมายุครบอุปสมบท เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทำให้ความตั้งใจของหลวงพ่อดีผู้มีพระคุณยิ่งของท่านสัมฤทธิ์ผล กล่าวคือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เดินทางกลับไปอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ โดยหลวงพ่อ คือ พระครูอดุลยสมณกิจ (ภายหลังได้เป็นที่พระเทพมงคลรังษี) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อวัดหนองบัวคือพระครูนิวิฐสมาจาร (ภายหลังได้เป็นที่พระโสภณสมาจาร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วทรงจำพรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา เพื่อสอนพระปริยัติธรรม ณ โรงเรียนเทวานุกูลที่หลวงพ่อสร้างรอไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ สมความประสงค์ของหลวงพ่อดีผู้เป็นพระอุปัชฌาย์

การอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามคราวนั้น เป็นการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย ต่างนิกายกันกับคณะสงฆ์ของวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นธรรมยุติกนิกาย และเป็นพระอารามที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตั้งพระทัยจะทรงพำนักเพื่อศึกษาเล่าเรียนและบำเพ็ญสมณธรรม ดังนั้น เมื่อออกพรรษาแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้กลับมาทำทัฬหีกรรม คืออุปสมบทซ้ำที่วัดบวรนิเวศวิหารอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ศกเดียวกัน (ขณะยังนับเดือนเมษายนเป็นต้นปี) โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ) ขณะเป็นที่พระเทพเมธี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ แม้กลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยังเทียวไปเทียวมาเพื่อช่วยหลวงพ่อดีสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีกสองปี


จากนั้น พระองค์ก็ทรงเรียนต่อไปด้วยตนเอง สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น หลังจากเลิกเรียนภาษาอังกฤษ กับสวามี สัตยานันทปุรี แล้ว พระองค์ก็ทรงฝึกฝนภาษาอังกฤษด้วยตนเองต่อไป โดยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ฟังรายการภาษาอังกฤษทางวิทยุบีบีซีบ้าง เสียงอเมริกาบ้างในเวลากลางคืน และฟังแผ่นเสียงชุดลิงกัวโฟนบ้าง จนทำให้พระองค์สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ทั้งพูด อ่าน เขียน

คู่มือการศึกษาค้นคว้าภาษาอังกฤษที่ทรงใช้เป็นประจำสม่ำเสมอ คือพระไตรปิฎกแปลเป็นภาษาอังกฤษ ฉบับของสมาคมบาลี ปกรณ์ (The Pali Text Society) พร้อมตำราภาษาอังกฤษที่ทรงมีไว้ใกล้พระองค์เสมออีกเล่มหนึ่งคือพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับ Oxford Advance Learner’s Dictionary of Current English นอกจากนั้นหากทรงอ่านหนังสือเล่มใดแล้ว ทรงพบถ้อยคำสำนวนที่ไพเราะหรือข้อความภาษาอังกฤษที่มีความหมายงดงามลึกซึ้งก็จะทรงจดจำไว้ใช้เป็นแบบอย่าง ทรง ใช้ทั้งวิธีบันทึกลงสมุดและด้วยการทรงจำ เมื่อทรงพบถ้อยคำ สำนวนดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ หรือคำแปลบาลีเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะทรงท่องจำไว้ใช้ประกอบการพูดหรือการเขียนของพระองค์ เช่น เคยรับสั่งแก่ผู้ใกล้ชิดว่า “เล่มนี้สำนวนธรรมของเขาดีมาก ที่นี่ยังเคยจำเอาไปใช้” (คำว่า “ที่นี่” เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ เมื่อรับสั่งถึงพระองค์เอง)

อนึ่ง นอกจากจะได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากท่านสวามีในชั้นต้นและได้ทรงศึกษาต่อเนื่องมาด้วยพระองค์เองในภายหลังแล้ว สมควรกล่าวด้วยว่าใน พ.ศ.๒๕๑๒ ขณะเมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ นางโยเซฟีน สแตนตัน ภริยาของนายเอดวิน เอฟ สแตนตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนแรกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาศึกษาพระพุทธศาสนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และช่วยฟื้นฟูภาษาอังกฤษของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปพร้อมกันด้วย

นางสแตนตันมาสนทนากับเจ้าพระคุณ สมเด็จฯ ด้วยภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ ๒ - ๓ วัน ในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและเคยเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษมาก่อนมาทำหน้าที่ล่ามเพื่อช่วยการสื่อสาร แต่ต่อมาไม่นานก็ทรงสามารถสนทนากับนางสแตนตันได้ด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งพระทัยฝึกฝนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง ข้างฝ่ายนางสแตนตันก็ทำหน้าที่ครูที่ดีได้ช่วยแนะนำความรู้ภาษาอังกฤษแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ อย่างแข็งขัน ประจวบกับในระยะนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เปิดชั้นเรียนเรียกว่า Dhamma Class เพื่อสอนพระพุทธศาสนาและสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ที่ตำหนักที่ประทับของพระองค์ด้วย

การสอนเช่นนี้ทำให้ต้องทรงเตรียมคำสอนเป็นภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ เว้นก็แต่บางคราวที่ทรงขอให้พระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารช่วยบรรยายแทนบ้าง ในส่วนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อทรงเตรียมคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ทรงนำมาอ่านให้นางสแตนตันฟังก่อนรอบหนึ่ง เพื่อฝึกฝนการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง นางสแตนตันจึงได้ชื่อว่าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อีกผู้หนึ่งด้วย

นอกจากภาษาสันสกฤตและภาษาอังกฤษแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังสนพระทัยศึกษาภาษาอื่นๆ เช่น
• ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสกับนายแพทย์หลวงสุริยพงศ์พิสุทธิแพทย์ (กระจ่าง บุนนาค) ซึ่งมีความชำนาญหลายภาษา
• ทรงเรียนภาษาเยอรมันกับคุณเกษมจิต อัศวจินดา ผู้เคยบวชเป็นพระนวกะที่วัดบวรนิเวศวิหาร
• ทรงเรียนภาษาจีนกับคุณสิริ ศรสงคราม ระหว่างที่บวชเป็นพระนวกะที่วัดบวรนิเวศวิหาร
• สำหรับภาษาอื่นๆ เนื่องจากไม่ได้ทรงฝึกฝนต่อเนื่อง มาในระยะหลังจึงได้ทิ้งไป  


ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : f พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2563 15:30:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2563 13:17:19 »



สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์


ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่าการศึกษาที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วยสองส่วนที่เกื้อกูลกัน มักเรียกกันโดยย่อว่า ปริยัติ และ ปฏิบัติ โดยมีจุดหมายปลายทางที่เรียกว่า ปฏิเวธ คือความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ อันได้แก่การเวียนว่ายตายเกิด การศึกษาฝ่ายปริยัตินั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงศึกษามาโดยลำดับชั้นทั้งฝ่ายนักธรรมและฝ่ายเปรียญธรรม ซึ่งเป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาตามคติจารีตนิยมของไทย จนทรงสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด คือเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะเดียวกันก็ทรงใฝ่พระทัยศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย

ในช่วงเวลาที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เริ่มสนพระทัยในการเรียนภาษาต่างๆ นั้นเอง วันหนึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ โปรดให้หาและรับสั่งว่า “กำลังเรียนใหญ่หรือ อย่าบ้าเรียนให้มากนัก หัดทำกรรมฐานเสียบ้าง”

รับสั่งของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ดังกล่าวเช่นนี้เอง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงถือว่าเป็นเสมือนพระบัญชาและเป็นเหตุให้พระองค์ทรงสนพระทัยในการปฏิบัติกรรมฐานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และทรงถือว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นครูกรรมฐานพระองค์แรกของพระองค์

การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นคตินิยมในพระสงฆ์คณะธรรมยุติกาที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ คือ เก่งปริยัติ เคร่งครัดวินัย ใส่ใจกรรมฐาน

ขณะเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ได้ทรงรื้อฟื้นคตินิยมนี้ขึ้น ด้วยการเอาพระราชหฤทัยใส่ในการศึกษาพระปริยัติธรรมโดยเฉพาะ คือ พระไตรปิฎก ทรงเน้นการปฏิบัติสมณวัตรให้เคร่งครัดตามพระธรรมวินัย และเอาพระราชหฤทัยใส่ในการศึกษาวิปัสสนาธุระ คือ การฝึกปฏิบัติ อบรมจิตใจ และทรงแนะนำศิษยานุศิษย์ให้เอาใจใส่ศึกษาปฏิบัติเช่นกัน ทั้งนี้เพราะทรงถือปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า พระภิกษุสามเณรมีธุระคือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ๒ อย่าง คือ

คันถธุระ คือการศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ เพื่อให้มีความรู้ พระธรรมวินัยคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติและสำหรับแนะนำสั่งสอนผู้อื่นต่อไป

วิปัสสนาธุระ คือการศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะ และวิปัสสนา เพื่อให้รู้แจ้งในธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ

นอกจากจะทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างให้พระภิกษุสงฆ์ในคณะธรรมยุติกาได้เห็นเป็นแนวทางแล้ว บรรดาศิษย์หลวงเดิมที่เป็นต้นวงศ์ของคณะธรรมยุติกาก็โดยเสด็จตามพระราชนิยมด้วย ตัวอย่างเช่น สมเด็จพระวันรัตน (พุทฺธสิริ ทับ) ซึ่งภายหลังโปรดให้ไปครองวัดโสมนัสวิหารเป็นปฐมเจ้าอาวาส ก็เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณเด่นชัดในการปฏิบัติกรรมฐาน












ฉะนั้น พระสงฆ์ธรรมยุติกาจึงถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาแต่ครั้งนั้นว่าต้องศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ กล่าวคือ
       • ในเวลาเข้าพรรษาก็อยู่ศึกษาคันถธุระในสำนักของตนด้วยความหมั่นเพียร
       • เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็จาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อหาที่วิเวกสำหรับจะได้ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนาธุระ

แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ขณะเมื่อยังทรงผนวชอยู่ก็ทรงถือปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอด ดังปรากฏในพระราชประวัติว่าได้เสด็จจาริกไปตามหัวเมืองต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

ประเพณีปฏิบัติดังกล่าวนี้ได้เจริญแพร่หลายในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุติกาสืบมาจวบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน ความนิยมในการศึกษาปฏิบัติกรรมฐานมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุติกาเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปในหมู่พระภิกษุสามเณรทั่วไปตลอดถึงพุทธศาสนิกชนทั้งหญิงชาย เป็นที่ทราบกันว่ามีสำนักกรรมฐานเกิดขึ้นในภาคอีสานทั่วไปและมีบูรพาจารย์ทางกรรมฐานเกิดขึ้นมากมายสืบเนื่องกันมาไม่ขาดสาย ที่ปรากฏเกียรติคุณเป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ดุลย์ อตุโล พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ชา สุภทฺโท เป็นต้น พระบูรพาจารย์ดังกล่าวนี้ล้วนสืบสายมาจากสัทธิวิหาริกคือศิษย์หลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเมื่อยังทรงผนวชอยู่ทั้งนั้น

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แม้เป็นพระภิกษุที่อยู่ในเมือง คือ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่ก็ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักดังกล่าวนี้ โดยทรงปฏิบัติพระองค์เสมือนหนึ่งเป็นพระกรรมฐานในเมือง กล่าวคือทรงตื่นบรรทมตีสาม แล้วทรงไหว้พระสวดมนต์ ทรงทบทวนพระปาติโมกข์วันละตอนๆ แล้วทรงทำสมาธิ จนถึงเวลารุ่งอรุณก็เสด็จออกบิณฑบาต และเสวยมื้อเดียวราว ๘ โมงเช้า เสวยในบาตร และเมื่อทรงมีโอกาสก็เสด็จจาริกไปประทับตามสำนักวัดป่าในภาคอีสานชั่วระยะเวลาหนึ่งเสมอมา

สำหรับพระภิกษุสามเณรผู้สนใจในการปฏิบัติกรรมฐานแต่ไม่มีโอกาสที่จะอยู่ในสำนักวัดป่า ก็สามารถปฏิบัติได้โดยปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “แม้จะอยู่ในบ้านในเมือง ก็ให้ทำสัญญาคือทำความรู้สึก กำหนดหมายในใจว่าอยู่ในป่า อยู่ในที่ว่าง อยู่ในที่สงบ ก็สามารถทำจิตใจให้ว่างให้สงบได้”








พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว ได้เล่าถึงการศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไว้ว่า “...ท่านเคยมาภาวนาที่นี่ (วัดป่าบ้านตาด) แต่ก่อนที่ท่านยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชท่านยังทรงพระชนม์อยู่ กรมหลวงวชิรญาณวงศ์น่ะ ท่านก็มีโอกาสมาล่ะซิ มาพักอยู่กับเราทีละไม่น้อยกว่าสิบแหละ ท่านมาแต่ละครั้งๆ เป็นอาทิตย์ๆ ท่านมาเสมอ มาที่นี่มาบ่อยแหละ แต่ก่อน

ท่านไปอยู่ทางกุฏิท่านสุดใจ แต่ก่อนหลังเล็กกว่านั้น ท่านไปพักอยู่คนเดียวตลอด เอาจริงเอาจัง

เวลาภาวนา เราก็ไม่ไปกวน จะคุยกันเวลาที่ควรคุยเท่านั้น นอกนั้นก็เปิดโอกาสให้ท่านภาวนาของท่าน เวลามีโอกาสอันดีท่านก็สนทนาธรรมกันกับเราเฉพาะสองต่อสอง ท่านคุยธรรมดา ไม่ได้ว่าพูดน้อย ท่านพูดธรรมดา สงสัยข้อไหนๆ ซักถามหรือมีข้อเคล็ดลับอะไรที่สงสัยอะไร ออกจากนี้ไปภายนอกท่านก็ถามเฉพาะๆ ไม่มีใครทราบแหละ มีท่านกับเราถามกันเฉพาะ โห เวลาคุยธรรมนี้ท่านเอาจริงเอาจังมาก เฉพาะกับเราคุยกันสองต่อสอง ท่านชอบซักนั้นซักนี่เรื่องจิตตภาวนา เราเป็นผู้เล่าถวายท่าน หรือจะว่าแนะก็ไม่ผิด เพราะท่านตั้งใจศึกษากับเราจริงๆ ทางด้านจิตตภาวนา เราก็ถวายอุบายต่างๆ ให้ท่านฟังตลอด
 
ท่านหนักในทางจิตตภาวนาอานาปานสติ ท่านมาอยู่นี้ ท่านภาวนาไม่เกี่ยวกับใครเลย เราก็ไม่ไปกวนท่านอยู่เงียบๆ นะ ท่านจะมาแต่ตอนเช้ามาบิณฑบาต มาพบกันตอนเช้านี่เท่านั้น ท่านบิณฑบาตหน้าศาลานี้ แล้วก็มาฉันที่นี่แล้วไปเงียบเลย เช้าวันหลังจะมาพบกันใหม่ๆ ท่านภาวนาเต็มที่ของท่าน แต่ก่อนพระก็ไม่มีมาก เราไม่ได้รับพระมาก ๑๘ องค์เป็นอย่างมากวัดนี้..

ท่านนิ่งๆ ท่านไม่ค่อยชอบพูด ธรรมดาๆ ทั่วๆ ไป ท่านไม่ค่อยชอบพูด สมเด็จสังฆราช เฉพาะสองต่อสองกับเรานี่ โถ เป็นคนใหม่ขึ้นมา ซักเรื่องอรรถเรื่องธรรม เรื่องจิตตภาวนา เปิดเต็มที่ให้ท่านฟัง ท่านสนใจมาก เพราะแต่ก่อน เราไปพักอยู่วัดบวรฯ เป็นประจำ จากนั้นท่านออกไปพักที่วัดป่าบ้านตาดทีละอาทิตย์ๆ ท่านไป. เวลาอยู่ธรรมดาท่านไม่ค่อยคุย ทั่วๆ ไปนี่ ท่านเฉย นิ่ม บทเวลาขึ้นเวทีสองต่อสองกับเรานี่ โถ ซัก สงสัย ข้อไหนท่านถามมาเลยๆ เราก็เปิดเลยเชียวนะ ให้ท่านได้เห็นเรื่องภาคปฏิบัติว่าอย่างนั้น ฟัดกันจนถึงที่สุดเลยกับสมเด็จพระสังฆราชฯ สองต่อสอง

ท่านหาความจริงเราก็เอาความจริงออกเต็มเหนี่ยวๆ เลย ถ้าอยู่ธรรมดาท่านไม่ค่อยคุยละ เฉยๆ ธรรมดา เวลาเข้ากันสองต่อสอง โห เป็นคนใหม่ขึ้นมานะ ซักละเอียดละออเรื่องจิตตภาวนา เราก็ได้เปิดหัวอกออกให้ท่านฟังอย่างเต็มเหนี่ยวเหมือนกัน ท่านรู้สึกว่าสนใจมากจริงๆ ต่อธรรมที่เราถอดออกจากหัวใจพูดให้ท่านฟัง เพราะไม่มีใครต่อใคร สองต่อสองเท่านั้น เปิดเต็มเหนี่ยวใส่กันเลย เอาจนถึงเหตุถึงผล ว่าอย่างนั้นเถอะ ท่านพอใจมาก

ปรกติท่านไม่ค่อยคุย เฉยนะ อยู่กับเราก็ตาม ถ้ามีแขกมีคน ท่านก็ไม่คุย แต่เวลาเอาจริงเอาจัง ท่านจะหาเหตุหาผลกับภาคปฏิบัติจริงๆ ท่านก็ซัก จริงๆ นั่นหล่ะภาคปฏิบัติ เราก็เปิดเลยเชียว ให้ท่านได้ฟังสักทีเถอะ ภาคปฏิบัตินี่น่ะ ภาคเป็นสมบัติของตนโดยแท้ คือการศึกษาเล่าเรียนนั้น มันเป็นความจำ จำมาได้เท่าไร มันก็หลงๆ ลืมๆ ไป สำหรับความจริงไม่เป็น ตรงแน่ว ตลอดเวลา.”





กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสนพระทัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนทั้งในด้านปริยัติและในด้านปฏิบัติ หรือเรียกตามสำนวนพระว่า ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ และทั้งความรู้ทางธรรมและความรู้ทางโลก

นอกจากความเอาพระทัยใส่ในการศึกษาส่วนพระองค์แล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังเอาพระทัยใส่เรื่องการศึกษาของพระภิกษุสามเณรและเยาวชน รวมถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาของประชาชนทั่วไปด้วย

เรื่องการศึกษาของพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนนั้นถือว่าเป็นเรื่องใกล้พระองค์ ผู้ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเอาพระทัยใส่เป็นอันดับแรก นั่นคือพระภิกษุสามเณรในวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ เป็นต้นมา ก็ทรงมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ การอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรในฐานะทรงเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และทรงอบรมสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกาในฐานะที่ทรงเป็นเจ้าอาวาสหรืออธิบดีสงฆ์แห่งพระอาราม

การอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรในฐานะที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์นั้น เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบกันมาในวัดบวรนิเวศวิหาร แต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชอยู่ และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวคือพระอุปัชฌาย์อาจารย์มีหน้าที่ต้องอบรมสั่งสอนศิษย์ของตน ไม่ว่าจะเป็น “สัทธิวิหาริก” คือพระภิกษุที่เป็นศิษย์เพราะได้อุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์นั้น หรือแม้เป็น “อันเตวาสิก” คือศิษย์ที่อยู่ในความปกครองแต่มิใช่เพราะตน เป็นพระอุปัชฌาย์โดยตรง ให้มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัย ทั้งในด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ ในด้านปริยัติ คืออบรมสั่งสอนให้มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ในด้านปฏิบัติ คือแนะนำและฝึกหัดให้รู้จักปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน เพื่อรักษาและขัดเกลาจิตใจจากกิเลส

ในยุคที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นเจ้าอาวาสก็ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่นี้ต่อเนื่องมาโดยตลอด กล่าวคือในช่วงเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีภิกษุสามเณรบวชใหม่จำนวนมาก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรใหม่ในเวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นประจำทุกวัน วันละประมาณหนึ่งชั่วโมง เป็นการให้การศึกษาด้านปริยัติ

สำหรับการอบรมสั่งสอนเรื่องการฝึกปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น มีสอนตลอดทั้งปีไม่ได้จำกัดเฉพาะในเวลาเข้าพรรษาเท่านั้น และเปิดโอกาสให้อุบาสกอุบาสิกาผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมฟังและร่วมฝึกปฏิบัติพร้อมกับพระภิกษุสามเณรด้วย จึงมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาแต่ละครั้งจำนวนนับร้อย โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษา โดยมีกำหนดสอนในตอนค่ำของวันธรรมสวนะและวันหลังวันธรรมสวนะ (สัปดาห์ละ ๒ วัน) ตลอดมาไม่ขาดสาย เป็นเหตุให้การศึกษาปฏิบัติกรรมฐานเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วไปทางหนึ่ง

การสอนกรรมฐานที่วัดบวรนิเวศวิหารได้กำหนดเป็นรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นในสมัยที่พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ครั้นพระพรหมมุนีมรณภาพ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมาก็ทรงรับภาระการสอนกรรมฐานตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ โดยทรงสืบทอดรูปแบบการสอนต่อมาด้วย คือ
       • การสอนเริ่มเวลา ๑๙.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทำวัตรสวดมนต์
       • พระอาจารย์กล่าวอบรมธรรมปฏิบัติ
       • พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระสูตรที่แสดงหลักปฏิบัติทางสมถะและวิปัสสนา ทั้งภาคบาลีและแปลเป็นไทย เพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติคราวละตอนๆ
       • นั่งสงบ ฝึกปฏิบัติจิตใจตามเวลาที่กำหนด
       • สวดบทที่พึงพิจารณาเนืองๆ (อภิณหปัจจเวกขณ์) และแผ่ส่วนกุศล เป็นจบการสอนในวันนั้น







หลักการสอนสมาธิหรือการสอนกรรมฐานนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงดำเนินตามหลักสติปัฏฐาน คือ การกำหนดจิตพิจารณาอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม อันเป็นหลักสำคัญในการฝึกอบรมจิตหรือฝึกปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน ที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแนวทางไว้

วิธีปฏิบัติหรือฝึกทำสมาธิมีมากมายหลายวิธี สุดแต่ความสะดวกหรือความชอบที่เรียกว่าเหมาะกับจริตของผู้ปฏิบัติ ฝ่ายอาจารย์ผู้สอนก็สอนในวิธีที่แตกต่างกันไปตามความถนัดหรือประสบการณ์ของอาจารย์นั้นๆ แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสรุปตามหลักสติปัฏฐานว่า โดยสรุปแล้วการทำสมาธิมี ๒ วิธี คือ

วิธีที่ ๑ คือ การหยุดจิตให้อยู่ในตำแหน่งอันเดียว ไม่ให้คิดไปในเรื่องอื่น เช่น การกำหนดจิตให้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกที่เรียกว่าวิธีอานาปานสติ
วิธีที่ ๒ คือ การพิจารณาไปในกายอันนี้ กำหนดพิจารณาดูกาย แยกให้เห็นเป็นอาการหรือเป็นส่วนต่างๆ เช่น แยกให้เห็น เป็นอาการ ๓๒ เป็นต้น

นอกจากการสอน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้ทรงนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน เพื่อเป็นหลักประกอบการศึกษาปฏิบัติสมาธิกรรมฐานไว้อีกจำนวนมาก ทั้งหลักปฏิบัติเบื้องต้นและหลักปฏิบัติชั้นสูง เช่น
       • หลักการทำสมาธิเบื้องต้น
       • แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน
       • การปฏิบัติทางจิต
       • อนุสสติและสติปัฏฐาน
       • หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมจิต เป็นต้น

ในเรื่องการศึกษาทางพระพุทธศาสนานั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงย้ำเรื่องการศึกษาภาคปฏิบัติ คือ การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเสมอ ไม่ว่าจะทรงสอนพระภิกษุสามเณรหรือชาวบ้านทั่วไป ทรงย้ำว่า “ข้อสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติทางจิตใจ เมื่อจิตใจมีความสงบ มีความบริสุทธิ์ ก็ทำให้ความประพฤติทางกายทางวาจาบริสุทธิ์ไปด้วย ฉะนั้น การปฏิบัติทางกรรมฐาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บรรดาผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตคือผู้บวช ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส สมควรจะประพฤติปฏิบัติกัน”

โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงย้ำเตือนเสมอว่า “การงานของพระคือกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ทำสมาธิ หัดนั่งสมาธิ โดยปฏิบัติในบทกรรมฐาน เมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ต้องมีงานทำ  การงานที่ขาดไม่ได้ ก็คืองานกรรมฐาน ควรจะต้องทำอยู่เสมอ ถ้ายิ่งว่างจากการงาน ว่างจากการเรียน ต้องทำกรรมฐาน ถ้าทิ้งกรรมฐานเสียแล้ว ใจเต็มไปด้วยกามตัณหาแล้วก็ร้อน แล้วก็อยู่ไม่ได้”






การเทศน์ในพระอุโบสถ

การปฏิบัติภารกิจที่นับว่าเป็นการให้การศึกษาพระพุทธศาสนาแก่คนทั่วไปอีกอย่างหนึ่งก็ คือ การเทศน์ในพระอุโบสถ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปฏิบัติเป็นกิจวัตรคือการเทศน์ในพระอุโบสถทุกวันพระ ขึ้น/แรม ๑๕ ค่ำ คือเดือนละ ๒ ครั้ง ในการเทศน์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่ละครั้ง ทรงมีการเตรียมเป็นอย่างดี ซึ่งวิธีการนี้ก็ทรงได้แบบอย่างมาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ผู้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ กล่าวคือ ก่อนวันที่จะทรงเทศน์ ทรงพิจารณาเลือกหัวข้อธรรมจากพระไตรปิฎกว่าจะทรงเทศน์เรื่องอะไร แล้วทรงจดบันทึกหัวข้อธรรมหรือพุทธภาษิตบทนั้นมา ทบทวนจนขึ้นใจ หลังทำวัตรสวดมนต์ก่อนที่จะเข้าที่บรรทมในคืนวันนั้น ก็จะทรงนำเอาหัวข้อธรรมที่ทรงเตรียมไว้นั้นมาไตร่ตรอง ว่าธรรมแต่ละข้อมีความหมายว่าอย่างไร มีกระบวนธรรมอย่างไร มีความเกี่ยวโยงกันอย่างไร จนเข้าใจแจ่มแจ้งในพระทัยตั้งแต่ต้นจนจบ เท่ากับทรงลองเทศน์ให้พระองค์เองฟังก่อน แล้วจึงทรงนำไปเทศน์ให้คนอื่นฟังต่อ ดังนั้น การเทศน์หรือการแสดงธรรมของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่ละครั้งจึงมีความแจ่มแจ้งชัดเจน มีความกระชับทั้งในภาษาและเนื้อความ คนที่เคยฟังเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เทศน์ มักกล่าวตรงกันว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นพูดเหมือนเขียน

และเนื่องจากทรงเทศน์จากความคิด ลีลาการเทศน์ของพระองค์ จึงต่างจากพระเถระอื่นๆ คือ พูดช้าๆ เป็นวรรคเป็นตอน เหมือนทรงทิ้งช่วงให้คนฟังคิดตามกระแสธรรมที่ทรงแสดง คนฟังอาจรู้สึกไม่สนุกเพลิดเพลิน แต่รู้สึกว่าได้คิด พร้อมทั้งอาจจะได้ฟัง “สิ่งที่แปลกใหม่จากที่เคยฟังมา”


ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : fb พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2563 16:18:54 »



เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสนพระทัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ หรือเรียกตามสำนวนพระว่า ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ และทั้งความรู้ทางธรรมและความรู้ทางโลก ไม่เพียงแต่สนพระทัยใฝ่รู้วิชาการสมัยใหม่เท่านั้น แต่ยังสนพระทัยในเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย

ปัจจุบันนี้คนที่ไม่รู้จักคอมพิวเตอร์คงหายาก คอมพิวเตอร์เป็นเสมือนปัจจัยที่ห้าของคนในสังคมปัจจุบันไปแล้วโดยเฉพาะในสังคมเมือง ชีวิตของเราถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เช้าจรดเข้านอน เข้านอนแล้วก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม สิ่งอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันล้วนถูกผลิตด้วยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ก็ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อระบบคอมพิวเตอร์เกิดผิดพลาด ผู้คนในสังคมก็เดือดร้อนไปตามๆ กัน ดูเสมือนว่าพวกเราได้กลายเป็นทาสของเทคโนโลยีอันทันสมัยของระบบคอมพิวเตอร์ไปเสียแล้ว

เมื่อกว่า ๓๐ ปีที่แล้ว การใช้คอมพิวเตอร์ตามสำนักงานหรือตามอาคารบ้านเรือนถือว่าเป็นสิ่งใหม่และยังไม่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในวัดต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะถือว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยและทันสมัยเกินไปสำหรับชีวิตอันสงบเรียบในวัด เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงานในวัดอย่างดีที่สุดก็มีเพียงเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ซึ่งก็นับว่าทันสมัยมากพอสมควรแล้ว ในช่วงนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการสนองงานเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (ขณะที่ยังทรงดำรงสมณศักดิ์ ที่ สมเด็จพระญาณสังวร) แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในวัดเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่นิยมกัน

เย็นวันหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสกราบทูลอธิบายเกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ผู้ซึ่งมีพระชนมายุกว่า ๗๐ พรรษา เพื่อขอประทานอนุญาตนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักเลขานุการของพระองค์

หลังจากที่ได้กราบทูลอธิบายระบบกลไกการทำงานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย ฮารด์ดิสก์ (Hard disk) คีย์บอร์ด (Keyboard) สำหรับป้อนข้อมูล จอแสดงผลลัพธ์ (Monitor) ระบบปฏิบัติการ (OS) และซอฟ์ตแวร์ (Software) สำหรับการใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น พระองค์ทรงสละเวลารับฟังคำอธิบายของผู้เขียนกว่า ๑ ชั่วโมง อย่างสนพระทัยยิ่ง

หลังจากกราบทูลจบแล้ว ทรงรับสั่งถามว่า “จบแล้วหรือ” ผู้เขียนได้กราบทูลว่า “จบแล้วและขอประทานอนุญาตนำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใชัในสำนักเลขานุการ” พระองค์รับสั่งโดยพระพักตร์ที่จริงจังว่าคุณควรจะฝึกปฏิบัติกรรมฐานมากกว่าที่จะคิดเรื่องคอมพิวเตอร์




ทำให้ผู้เขียนทั้งงง รู้สึกผิดหวัง และรู้สึกผิดที่กราบทูลเรื่องคอมพิวเตอร์ไปตั้งหนึ่งชั่วโมงกว่า โดยคิดในใจของตนเองว่า พระองค์ผู้มีพระชนมายุขนาดนั้น คงไม่สามารถจะเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์ได้

สักพักหนึ่งพระองค์ก็รับสั่งอธิบายต่อไปอีกว่า “การฝึกปฏิบัติกรรมฐานและการทำงานของจิตไม่แตกต่างอะไรจากระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าหลายเท่า อายตนะทั้งหก คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เสมือนคีย์บอร์ดที่คอยป้อนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ภาพ เสียง กลิ่น รส สัมผัส และเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านอายตนะทั้งหก ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจถูกป้อนเข้าไปสู่ฮาร์ดดิสก์ คือจิตอยู่ตลอดเวลา ต่างกันก็เพียงว่าฮาร์ดดิสก์ที่เป็นจิตนั้น ไม่มีจำกัดกีกาไบต์เหมือนเครื่อง คอมพิวเตอร์”

“ส่วนที่สำคัญคือ การพัฒนาระบบปฏิบัติการและซอฟ์ตแวร์ การฝึกกรรมฐานวิธีต่างๆ ก็เสมือนการพัฒนาระบบปฏิบัติการและซอฟ์ตแวร์นั้นเอง จะเป็นวินโดว์ ไตเกอร์ ลีนูกส์ วอร์ด โฟโต้ซอฟ หรืออะไรก็ตาม ก็คือเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถเลือกเฟ้นข้อมูลดิบต่างๆ ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ออก มาใช้งานหรือแสดงผลลัพธ์ได้ตามที่ตนต้องการ ส่วนข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องก็ทิ้งไว้ในฮาร์ดดิสก์นั้นเอง โดยไม่มีการลบเลือนข้อมูลใดๆ”

“เพราะฉะนั้น การฝึกกรรมฐาน ที่เป็นสมถะหรือวิปัสสนากรรมฐาน ก็คือการสร้างระบบปฏิบัติการ ส่วนวิธีอบรมกรรมฐานต่างๆ ไม่ว่า อานาปานสติ หรือวิปัสสนาวิธี ก็เสมือนกับการพัฒนาซอฟ์ตแวร์ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ กันนั้นเอง เมื่อฝึกจิตโดยปฏิบัติกรรมฐานได้แล้ว เราก็สามารถจะใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์คือจิตได้ตามที่ตนต้องการ ความทรงจำหรือความรู้ต่างๆ ที่ถูกเก็บไว้ในจิต โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ก็สามารถนำออกมาประยุกต์ใช้ได้ตามประโยชน์และโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพ การที่เราไม่สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์คือจิตมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ก็เพราะเราขาดซอฟ์ตแวร์หรือกรรมฐานในการใช้ข้อมูลนั้นๆ นั่นเอง”

แล้วทรงสรุปและรับสั่งว่า “คุณควรฝึกกรรมฐานเสีย จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาวัตถุภายนอกที่มีประสิทธิภาพน้อยอย่างเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณสามารถพัฒนาระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ในใจคุณเอง โดยไม่ต้องไปลงทุนอะไร และยังมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นวัตถุหลายสิบเท่า”

หลังจากที่ทรงเน้นให้ผู้เขียนฝึกกรรมฐานแล้ว ท้ายสุดพระองค์ก็ทรงพระเมตตาอนุญาตให้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้ในสำนักเลขานุการของพระองค์ได้
ต่อมา พระองค์เองก็ทรงมีพระวิริยอุตสาหะ ในการศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์จนทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้นพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ในระบบดอส (DOS) ได้ แม้ว่าพระองค์จะทรงเจริญพระชนมายุกว่า ๗๐ พรรษาแล้วก็ตาม

กรรมฐานยุคคอมพิวเตอร์ จึงเป็นบทเรียนที่ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงการฝึกกรรมฐานทุกครั้งที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ และให้เห็นถึงคุณค่าของการฝึกกรรมฐาน ในท่ามกลางความวุ่นวายและซับซ้อนของสังคมปัจจุบัน เมื่อฝึกจิตดีแล้ว ไม่เฉพาะแต่ทำให้การงานทั้งปวงสำเร็จไปด้วยดี ซึ่งเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของผลสำเร็จของคอมพิวเตอร์ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือผู้ที่ฝึกจิตของตนได้ดีแล้วสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความผาสุกไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ เป็นความสุขอันยวดยิ่ง ที่หาไม่ได้จากวัตถุต่างๆ อย่าง เจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์

การวัด
มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งของสังคมไทยมาแต่ไหนแต่ไรกล่าวคือการปกครองคณะสงฆ์นั้น มิได้เป็นอิสระแยกขาดจากกันจากการฝ่ายอาณาจักร เหมือนอย่างที่ในบางประเทศแยกศาสนจักร (Church) และอาณาจักร (State) ออกจากกันโดยเด็ดขาด

หากแต่ในบ้านเรานั้นทางฝ่ายผู้ปกครอง ตั้งแต่พระราชาตลอดไปจนถึงราชการทั้งปวง ย่อมถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ดังนั้นการวางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์เพื่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่น มีความเจริญก้าวหน้า และสามารถแก้ไขข้อขัดข้องหากเกิดมีขึ้น จึงมีความสำคัญ เพื่อการนี้ตามประเพณีปฏิบัติของคณะสงฆ์เองจึงพิจารณาเลือกสรรพระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถ ฉลาดรอบรู้ในพระธรรมวินัย และมีวัตรปฏิบัติเป็นที่เคารพเลื่อมใสให้เข้ามาช่วยเหลือดูแลกิจการของพระศาสนา ตั้งแต่หน่วยเล็กที่สุด คือการปกครองดูแลพระอารามหรือวัดวาอารามต่างๆ จนถึงชั้นสูงขึ้นมาคือการหมู่คณะ เช่น คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติกา ไปจนถึงภาพรวมคือกิจการของคณะสงฆ์ไทย

ในภารกิจของพระศาสนาทั้งสามส่วนนี้ทุกชั้นทุกส่วนดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงมีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่ตำแหน่งชั้นผู้น้อย ไปจนถึงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นปธานาธิบดีของคณะสงฆ์ไทยทั่วราชอาณาจักร การได้ย้อนรอยกลับไปศึกษาพิจารณาดูว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใดมาบ้าง ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถที่โดดเด่น และประสบการณ์ที่เลิศล้ำ การคณะสงฆ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ดังจะได้กล่าวต่อไป




ในส่วนที่เกี่ยวกับการของวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ดังที่ได้เล่ามาแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เข้ามาพำนักอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่พระชนมายุเพียง ๑๖ พรรษา เมื่อพระชนมายุถึงคราวที่จะอุปสมบท แม้จะทรงกลับไปอุปสมบทในฝ่ายมหานิกายที่วัดเทวสังฆาราม ซึ่งเป็นชาติภูมิเดิมของพระองค์ แต่เจ้าพระคุณสมเด็จก็ได้ทรงกระทำทัฬหีกรรมคืออุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในคณะธรรมยุติกาที่วัดบวรนิเวศวิหาร และจากนั้นก็ได้ทรงพำนักอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารแห่งนี้มาจนตลอดพระชนมชีพ

ในเวลาที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แรกเข้ามาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงถวายตัวเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ และเมื่อถึงคราวที่ทรงอุปสมบทในคณะธรรมยุติกา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย ด้วยเหตุดังนี้กล่าวอย่างสามัญก็จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็น “ครู” พระองค์สำคัญของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาแต่ไหนแต่ไร

การได้เป็นสัทธิวิหาริกในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นโอกาสวิเศษสุดที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ช่องที่จะสังเกตจดจำ และทรงซึมซับแบบอย่างที่ดีจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ พระองค์นั้น มีหลายวาระหลายโอกาสที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ โปรดเมตตาเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเรื่องน่ารู้ให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทราบ
เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเห็นทรงได้ยินเรื่องใดสิ่งใด ก็ทรงจดบันทึกไว้ตามพระอัธยาศัยที่โปรดการจดบันทึกตัวอย่างเช่น เป็นประเพณีของวัดบวรนิเวศวิหารที่เจ้าอาวาสต้องรับภาระแสดงพระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันธรรมสวนะหรือวันพระกลางเดือนและสิ้นเดือน ที่เรียกอย่างชาวบ้านว่า “วันพระใหญ่” ซึ่งเป็นประเพณีที่ถือ ปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่ยังเป็นพระภิกษุเปรียญ เมื่อเวลาลงพระอุโบสถฟังพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ แต่ละครั้งได้ทรงบันทึกพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ แต่ละกัณฑ์ไว้ โดยใช้วิธีบันทึกจากความทรงจำ คือทรงฟังพระธรรมเทศนานั้นในพระอุโบสถ แล้วทรงกลับมาบันทึกใจความสำคัญของพระธรรมเทศนาแต่ละกัณฑ์ ในโอกาสแรกที่ทรงทำได้ นอกจากนั้นยังทรงสังเกตด้วยว่า ก่อนที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าจะทรงเทศน์ ได้ทรงเตรียมการที่จะเทศน์ด้วยความรอบคอบ กล่าวคือ ทรงกำหนดเบื้องต้นว่าจะแสดงข้อธรรมเรื่องอะไร จากนั้นก็ทรงพิจารณาแนวธรรมะของข้อธรรมนั้นว่าควรอธิบายขยายความอย่างไร ตลอดจนแสดงความเชื่อมโยงของธรรมแต่ละข้อว่าอย่างไร เมื่อทรงไตร่ตรองดูโดยรอบคอบแล้วก็ทรงลองคิดว่าจะอธิบายให้ผู้ฟังเทศน์ได้เข้าใจด้วยแนวทางอย่างไร เสมือนการลองเทศน์ให้พระองค์เองได้ทรงพิจารณาดูก่อนรอบหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ทรงปฏิบัติพระองค์เช่นนี้ จึงทำให้พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงนั้น ดำเนินเนื้อความไปราบรื่นสละสลวย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงดำเนินการตามแนวทางของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ วิธีเช่นนี้เป็นเหตุให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเทศนาข้อธรรมได้สละสลวย กระจ่างแจ้ง และครบถ้วนตามกระบวนความเข้าหลักของพระพุทธศาสนาว่า “พึงแสดงธรรม ด้วยความเคารพ” คือแสดงธรรมด้วยความตั้งใจไม่ว่าจะแสดงธรรมแก่บุคคลใด

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงบันทึกลักษณะวิธีการแสดงพระธรรมเทศนาของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ มีประเด็นสำคัญคือ
• ทรงกำหนดเบื้องต้นว่าจะแสดงข้อธรรมเรื่องอะไร
• ทรงพิจารณาแนวข้อธรรมนั้นว่า ควรอธิบายขยายความอย่างไร
• ทรงแสดงความเชื่อมโยงของธรรมแต่ละข้อว่าอย่างไร
• ทรงลองคิดว่าจะอธิบายให้ผู้ฟังเทศน์ได้เข้าใจด้วยแนวทางอย่างไร เสมือนการลองเทศน์ให้พระองค์เองได้ทรงพิจารณาดูก่อนรอบหนึ่ง

ข้อความที่คัดลอกจากสมุดบันทึก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ได้ทรงบันทึก เทศน์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กัณฑ์เช้าวันมหาปวารณา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๗ ตอนหนึ่งว่า
“ท่านยกคาถา สีลํ สมาธิ ปญญฺา จ วิมุตฺติ จ อนุตฺตรา อนุพุทฺธา อิเม ธมฺมา โคตเมน ยสสฺสินา ตอนต้นท่านแสดงพระพุทธคุณบทว่า ภควา อธิบายเป็น ๓ คือ พระผู้หักวัฏฏะ ๑ พระผู้มีบุญควรคบ ๑ พระผู้จำแนกแจกบุญ ๑ ท่านแสดงถึงความรู้ว่า ความรู้กายเป็นความรู้ทางโลก ความรู้จิตเป็นความรู้ทางธรรม ท่านเข้าคาถา แปลว่า ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม ธรรมเหล่านั้น พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว ท่านอ้างว่า ผู้ฟังได้ยินได้ฟังเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา มาช่ำชองแล้ว จึงแสดงธรรมทั้ง ๓ นี้ แต่เพียงยกหัวข้อขึ้น แล้วแสดงวิมุตติว่า เมื่อมีศีลก็พ้นจากกิเลสอย่างหยาบด้วยศีล เมื่อมีสมาธิก็พ้นจากกิเลสอย่างกลางด้วยสมาธิ เมื่อมีปัญญาก็พ้นจากกิเลสอย่างละเอียดด้วยปัญญา ความพ้นจากกิเลส อย่างหยาบ กลาง และละเอียด เป็นวิมุตติโดยลำดับ

แต่นั้นท่านปรารภถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้นวงศ์ธรรมยุต แสดงประวัติพระศาสนา ชี้เหตุให้เกิดธรรมยุต พร้อมทั้งผลดีที่มีแก่การพระศาสนาในเมื่อธรรมยุตเกิดขึ้นแล้ว เช่น ทำให้พระสงฆ์ฝ่ายเดิมดีตามขึ้น และแสดงถึงการคณะสงฆ์อันเนื่องด้วย พ.ร.บ.ปัจจุบัน (พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔) ในที่สุด ขอให้พร้อมกันถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”




หลังจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ แล้ว เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ก็ยิ่งเพิ่มพูนความไว้วางพระทัยและทรงมอบหมายและสนับสนุนให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงปฏิบัติศาสนกิจเพิ่มพูนขึ้นกว่าแต่ก่อน กล่าวเฉพาะส่วนของวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงมอบหมายให้ทรงเป็นผู้อำนวยการการศึกษา สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร คือรับผิดชอบดูแลการศึกษาของพระภิกษุสามเณรที่พำนักในวัดบวรนิเวศวิหารโดยตลอด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ คือปีที่ทรงได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคนั้นเลยทีเดียว พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงสนับสนุนให้ทรงรับภาระทางคณะสงฆ์ทั้งของคณะธรรมยุติกา และของคณะสงฆ์ไทยเพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ

ถึง พ.ศ.๒๔๘๙ ภายหลังจากที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๘ ไม่นาน ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นเลขานุการในพระองค์ ในตำแหน่งหน้าที่เช่นนี้ ยิ่งทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สบช่องโอกาสที่จะได้ทรงพบเห็นเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารคณะสงฆ์ และได้ทรงใช้ความรู้เหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อมาในภายหลัง
 
ยิ่งวันเวลาผ่านไป เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยิ่งมีบทบาทในการดูแลศาสนกิจของวัดบวรนิเวศวิหารมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เพิ่มพูนขึ้นตามลำดับเวลาด้วย กล่าวคือ พ.ศ.๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภนคณาภรณ์ อีกห้าปีต่อมา ใน พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม ถัดมาไม่นานใน พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม

ใน พ.ศ.๒๔๙๙ มีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เกิดขึ้น คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน โอกาสนี้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงเลือกเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้เป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวชได้เพียงไม่กี่วัน ในอภิลักขิตสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงอยู่ในฐานะเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่รูปหนึ่งในวัดบวรนิเวศวิหารเวลานั้น

ถัดมาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นอีกราวปีเศษ จะด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ โปรดให้หาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปเฝ้า มีรายละเอียดตามบันทึกของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เองว่า

“ณ วันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ค่ำ ปีจอ วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๑ เวลา ๒๑.๐๐ น. เศษ เสด็จฯ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ โปรดให้พระครูอเนกสาวัน (สด) มาเรียกให้ไปเฝ้าฯ จึงขึ้นไปเฝ้าฯ บนตำหนักบรรจบเบญจมา เสด็จฯ ได้ประทานนาฬิกา ๑ เรือน พร้อมด้วยรับสั่งว่า ให้คุณเป็นมรดก นาฬิกานี้รัชกาลที่ ๕ พระราชทาน แด่เจ้าคุณพระพรหมมุนี (แฟง) เมื่อเสด็จฯ กลับจากยุโรป ร.ศ.๑๑๖ เพื่อเป็นที่ระลึกที่ท่านได้ช่วยชำระพระไตรปิฎก เมื่อเจ้าคุณพระพรหมมุนีถึงมรณภาพ นาฬิกานี้ก็ตกแก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ แล้วก็ตกแก่เรา บัดนี้ เราก็ไม่ได้ใช้แล้ว จึงให้เป็นมรดกแก่คุณ ได้ยินว่าราคา ๒ ชั่ง ในครั้งนั้น”

นาฬิกานี้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ประทานแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก่อนที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จะสิ้นพระชนม์เป็นเวลา ๕ เดือน กับ ๖ วัน โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๑

เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สิ้นพระชนม์แล้ว ผู้ที่ได้เป็นเจ้าอาวาสครองวัดบวรนิเวศวิหารในลำดับต่อมา นับว่าเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ได้แก่ พระพรหมมุนี (สุวโจ ผิน) แต่ท่านได้ครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่เพียง ๒ ปีเศษ ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๔

ครั้นเจ้าคุณพระพรหมมุนีมรณภาพแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะเมื่อทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวราภรณ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในเวลาใกล้เคียงกันก็ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ในอภิลักขิตสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ก็ได้ทรงรับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระสาสนโสภณ นับว่าเป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ ๖

ตลอดเวลาที่ทรงครองวัดได้ทรงปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสด้วยความเรียบร้อย ทรงเอาพระทัยใส่ในการดูแลซ่อมแซมเสนาสนะและอาคารสถานที่ต่างๆ ภายในบริเวณวัดให้มีสภาพที่ดีเหมาะสมแก่การใช้งาน ทรงทำนุบำรุงและส่งเสริมการศึกษาและการปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรตลอดถึงอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป เป็นเหตุให้เกียรติคุณของวัดบวรนิเวศวิหารมีความรุ่งเรืองและเป็นที่รู้จักยกย่องเป็นการทั่วไป

ในส่วนของพระภิกษุสามเณรก็ทรงเอาพระทัยใส่เป็นอย่างยิ่ง เมื่อทรงพบเห็นสิ่งใดที่ไม่เหมาะไม่ควร ก็จะทรงนำไปว่ากล่าวตักเตือนในที่ประชุมสงฆ์ คือหลังการฟังพระปาติโมกข์ด้วยพระเมตตา หรือหากมีเรื่องราวหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่พระภิกษุสามเณรควรรู้ควรทราบ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัย ก็จะทรงนำมาเล่ามาบอกในท่ามกลางสงฆ์ คือหลังการฟังพระปาติโมกข์เช่นกัน พระจริยวัตรดังนี้ย่อมส่องแสดงถึงพระเมตตาความห่วงใยที่ทรงมีต่อพระภิกษุสามเณร มิได้ทรงปล่อยปละละเลยในสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขและไม่ทรงทอดทิ้งในสิ่งที่ควรส่งเสริมพัฒนา

ในส่วนศิษย์วัดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็มิได้ทรงละเว้นเพิกเฉย ทรงใส่พระทัยด้วยพระเมตตา ด้วยทรงถือว่าศิษย์วัดก็คือผู้รับใช้ช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรและมาอยู่อาศัยเพื่อรับการฝึกอบรมให้เป็นคนดี ศิษย์วัด จึงมีส่วนที่จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือดีงามแก่วัดได้อีกส่วนหนึ่ง ฉะนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้ตราระเบียบปกครองศิษย์วัด วัดบวรนิเวศวิหารขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่นานถึง ๕๒ ปี ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๔๐ เป็นพระภิกษุจำนวน ๗,๙๐๙ รูป สามเณรจำนวน ๘,๒๕๖ รูป จึงสิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๖ คงละไว้เบื้องหลังแต่พระเกียรติคุณที่จะสถิตอยู่คู่กับนามวัดบวรนิเวศวิหารไปอีกนานแสนนาน




ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : fb พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 มีนาคม 2564 18:36:32 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 กันยายน 2563 15:30:46 »

.




พระสงฆ์นานาชาติ ในวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ.๒๕๐๖ วัดบวรนิเวศวิหารได้มีพระภิกษุชาวยุโรปเข้ามาพำนักเป็นครั้งแรก คือ พระขันติปาโล ชื่อเดิม ลอเรนซ์ ชาร์ล มิลล์ เป็นชาวอังกฤษ เข้ามาพำนักเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๖ พระขันติปาโล บวชเป็นสามเณรที่ประเทศอังกฤษ มีชื่อว่า สุชีวะ แล้ว เดินทางไปอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย ในสมัยพระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ สมาคมมหาโพธิ (หรือวัดลังกา) เมืองแบงกะลอร์ รัฐกานาตกะ (เดิมชื่อ ไมซอร์) อินเดียใต้ โดยพระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเดินทางเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มาพำนักและอุปสมบทซ้ำเป็นพระภิกษุ ในสังกัดของสำนักนี้

พระขันติปาโล ได้อยู่จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลานาน ต่อมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงส่งไปเป็นพระธรรมทูตปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประจำอยู่ที่วัดพุทธรังษี นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ร่วมกับพระธรรมทูตไทยอีก ๑ รูป นับเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรกที่นำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลีย ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นที่นับถือและประดิษฐานมั่นคงลงในทวีปนั้นสืบมาจนทุกวันนี้ ภายหลังพระขันติปาโลลาสิกขา แต่ก็ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียในฐานะเป็นอุบาสกคนหนึ่ง

พระชาวต่างชาติอีกรูปหนึ่งที่เคยพำนักและศึกษาพระพุทธศาสนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในวัดบวรนิเวศวิหารก่อนที่จะอุปสมบท ยุคเดียวกับพระขันติปาโล คือ พระราชสุเมธาจารย์ หรือที่รู้จักกันทั่วไป ในนามว่า พระอาจารย์สุเมโธ ในหนังสือธรรมปรากฏชีวประวัติพระราชสุเมธาจารย์ได้เล่าไว้ ความว่า...เพื่อนคนหนึ่งที่วัดมหาธาตุแนะนำให้ไปบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพราะมีพระชาวต่างชาติจำพรรษาอยู่ อาจช่วยให้บวชได้ง่ายขึ้น ท่านจึงมุ่งไปวัดบวรฯ เพื่อกราบเรียนขอคำชี้แนะวิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในประเทศไทย และได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี ทั้งมีโอกาสได้พบพระชาวอังกฤษรูปหนึ่งนามว่า พระขันติปาโล ซึ่งได้ชักชวนท่านให้มาพักปฏิบัติที่คณะสูงภายในวัดบวรฯ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนบวช…

...ท่านสมเด็จพระญาณสังวร มีความสามารถที่จะอธิบายให้ชาวต่างประเทศเข้าใจคำสอนของพุทธศาสนาได้อย่างลึกซึ้ง เรามีศรัทธาในวิธีการสอนของท่านสมเด็จฯ เพราะตรงและถูกกับจริตของเรา…





ระหว่างพำนักที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระอาจารย์สุเมโธมีโอกาสได้เรียนการภาวนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณ พระองค์ทรงเมตตาจัดโครงการฝึกอบรมกรรมฐานทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์โดยทรงเป็นพระอาจารย์อบรมธรรมและนำเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยพระองค์เอง เนื่องด้วยพระองค์ทรงตรัสภาษาอังกฤษและภาษาอื่นได้หลายภาษา จึงมีศิษย์ต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ได้รับประโยชน์จากโครงการอบรมนี้

ต่อมา พระอาจารย์สุเมโธได้อุปสมบทและไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมในสำนักวัดหนองป่าพงของพระโพธิญาณเถรหรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท และได้ออกไปสั่งสอนพระพุทธศาสนา ณ ประเทศอังกฤษ ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทสายวัดป่าแบบไทยเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยมนับถือไปทั่วยุโรป

หลังจากที่มีพระภิกษุชาวยุโรปรูปแรกที่เข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว เป็นเหตุให้ชาวยุโรปชาติอื่นๆ ได้ติดตามมาบรรพชาอุปสมบทบ้าง มาพำนักอยู่ชั่วคราว เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาบ้างต่อเนื่องมาอีกมากและมากขึ้นตามลำดับ กระทั่งทางวัดต้องจัดคณะสูงเป็นเสนาสนะสำหรับพำนักของพระภิกษุชาวต่างประเทศ และเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวของชาวต่างประเทศ (ทั้งเอเชียและยุโรป) ที่เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะสูงนานาชาติ

ทางวัดยังจัดให้มีการสอนพระพุทธศาสนาโดยเน้นพิเศษในเรื่องสมาธิกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ ทั้งพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป ทำการสอนที่ภายในบริเวณกุฏิเจ้าอาวาส เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะเป็นผู้สอนเองโดยส่วนมากและมีภิกษุอื่นเป็นผู้สอนบ้าง จน พ.ศ.๒๕๒๗ ทรงเลิกไปเพราะทรงมีพระภาระอื่นมาก

นับแต่นั้นมา วัดบวรนิเวศวิหารก็มีพระภิกษุชาวตะวันตก ทั้งยุโรป อเมริกา รวมทั้งเอเชีย หลายเชื้อชาติมาอยู่จำพรรษา พรรษาละหลายรูปตลอดมามิได้ขาดจนปัจจุบัน บางรูปบวชชั่วคราวแล้วก็ลาสิกขา บางรูปบวชอยู่นานปีแล้วจึงกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศของตน ท่านเหล่านี้ ได้ทำให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยและพระพุทธศาสนาในประเทศไทยไปพร้อมกัน นับว่าพระภิกษุสามเณรต่างชาติเหล่านี้ได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

วัดบวรนิเวศวิหารในยุคของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศมาจำพรรษาและศึกษาพระพุทธศาสนามากที่สุด รวมทั้งคฤหัสถ์ชาวต่างประเทศด้วย เฉพาะพระภิกษุสามเณรจากเอเชีย ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นอุปัชฌาย์บวชให้นับแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ อันเป็นปีแรกที่ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร จนถึง พ.ศ.๒๕๔๒ มีจำนวนถึง ๑๗๖ รูป


การศึกษาของคณะสงฆ์
นอกจากพระกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติในส่วนของการวัดบวรนิเวศวิหารเป็นการสนองพระคุณพระอารามซึ่งได้ทรงพำนักมาตั้งแต่พรรษาต้นๆ มาจนสิ้นพระชนม์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในส่วนกลางของคณะสงฆ์โดยรวมมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เริ่มต้นตั้งแต่ทรงอยู่ในฐานะเป็นเลขานุการของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นเหตุให้ทรงได้สังเกตและได้ทรงผ่านพบประสบการณ์บริหารงานคณะสงฆ์โดยตรงจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น ยิ่งทรงเจริญพรรษายุกาลมากขึ้น ทรงเพิ่มพูนด้วยสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยิ่งมีงานที่ต้องทรงปฏิบัติรับผิดชอบเพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย เพื่อง่ายแก่ความเข้าใจจะได้เล่าถึงพระกรณียกิจที่เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาเสียก่อนเป็นส่วนแรก จากนั้นจึงจะค่อยกล่าวเรื่องการบริหารคณะสงฆ์โดยทั่วไปในภายหลัง

กล่าวถึงเรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์ การเข้ามาบวชเรียนในพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียมของไทยเรานั้น มิใช่บวชเข้ามาเป็นพระภิกษุเพื่ออยู่เปล่า หากแต่หน้าที่สำคัญที่สุดของพระภิกษุคือการศึกษาเล่าเรียน และเป็นการศึกษาเล่าเรียนแม้จนตลอดเวลาที่ครองภิกขุภาวะ ต่อเมื่อ “ลาสิกขา” (สิกขาหมายความถึงการศึกษา) นั่นแหละ การศึกษาในฐานะเป็นพระภิกษุจึงสิ้นสุดลง

การศึกษาของคณะสงฆ์แต่ดั้งเดิมมา นอกจากการจัดหลักสูตรการศึกษาเบื้องต้นที่เรียกว่า นักธรรมตรี โท เอก แล้วก็เน้นการศึกษาภาษาบาลี เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจพระคัมภีร์ และถ่ายทอดพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาจากภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาต้นฉบับมาเป็นภาษาไทยได้โดยถูกต้อง สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินหรือทางราชการเอง ก็ถือเป็นราชการสำคัญที่จะส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนตามแนวทางนี้ จึงจัดให้มีการสอบสนามหลวง จัดความรู้เป็นลำดับชั้น เรียกว่า “ประโยค”

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคซึ่งเป็นชั้นสูงสุด และได้ทรงเป็นครูสอนความรู้เพื่อเตรียมการสอบเปรียญธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์มาแต่ไหนแต่ไร แต่นอกจากนั้นในช่วงเวลาแห่งพระชนมชีพของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอง การศึกษาของคณะสงฆ์ในรูปแบบแผนใหม่ก็ได้เกิดขึ้น

เมื่อปลาย พ.ศ.๒๔๘๘ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรเดิมที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น เพื่ออุดหนุนส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์ ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยเน้นการเตรียมความรู้เพื่อเข้าสอบเปรียญธรรม ได้ทรงตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยอาศัยนามมหามกุฏราชวิทยาลัยอันเป็นมงคลนาม และมีเกียรติประวัติมาเก่าก่อนเป็นรากฐาน มหาวิทยาลัยที่ทรงตั้งใหม่นี้ ในชั้นแรกเรียกว่า “สภาการศึกษาของมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เวลานั้นยังเป็นแต่เพียงพระเปรียญได้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งด้วยรูปหนึ่ง ร่วมกับพระเถระธรรมยุติกาอีกหลายรูป ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยชุดแรก ต่อมาไม่นานก็ได้ทรงเป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระสูตรหรือพระสุตตันตปิฎกด้วย

พ.ศ.๒๕๐๔ เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ได้ทรงรับตำแหน่งประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยด้วย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยิ่งมีความรับผิดชอบเต็มที่ในการพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้า ในเวลาไล่เลี่ยกันคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายก็ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีนามว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ขณะที่ฝ่ายมหามกุฏราชวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในชั้นแรกทีเดียวฐานะของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งยังไม่ชัดเจน เนื่องจากทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติกาต่างรับผิดชอบในการจัดตั้ง พ.ศ.๒๕๐๔ และดำเนินการ โดยคณะสงฆ์ไทยซึ่งเป็นภาพรวมยังมิได้ให้การรับรอง





พ.ศ.๒๕๐๙ ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นสถาบันฝึกอบรมวิชาการชั้นสูงสำหรับพระสงฆ์ที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ กรมการศาสนาจัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาชั้นสูงให้แก่พระสงฆ์ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ จึงทรงเสนอแนวพระดำริต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยบรรจุหลักสูตรพระธรรมทูตไปต่างประเทศไว้เป็นส่วนหนึ่งของปริญญาโท

พระดำริดังกล่าวได้รับการพิจารณาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี และได้มีการร่างโครงการศึกษาขั้นปริญญาโทของคณะสงฆ์ขึ้น แต่โครงการนี้ก็หยุดชะงักไปเพราะความไม่พร้อมในหลายๆ ด้าน (กระทั่ง ๒๐ ปีต่อมาพระดำริดังกล่าวนั้นจึงได้รับการสานต่อโดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐)

ในระหว่างนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังทรงเสนอมหาเถรสมาคมให้รับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ เพราะก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีสถานะเสมือนสถาบันการศึกษาที่ดำเนินการโดยเอกชน ทางคณะสงฆ์ไม่ได้รับรอง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นอันมาก

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒ มหาเถรสมาคมได้พิจารณาและรับรองการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งว่าเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ และได้มีการก่อตั้งสภาการศึกษาของคณะสงฆ์ขึ้นในศกเดียวกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับส่งเสริมและกำกับนโยบายทั้งปวงในสังฆมณฑล พร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่ประสานงานระบบการศึกษาทุกสาขาของคณะสงฆ์

ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งได้มีพัฒนาการและปรับเปลี่ยนฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ทำหน้าที่เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับสูง เรียกนามว่า “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” และ “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งรับผู้เข้าศึกษาทั้งที่เป็นพระภิกษุและคฤหัสถ์





นอกจากมหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกาดังกล่าวมาแล้ว ยังมีนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งที่ทำงานควบคู่กันกับมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นกำลังสำคัญเสริมความเข้มแข็งให้กับงานของมหามกุฏราชวิทยาลัยเสมอมา นิติบุคคลนี้คือ “มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นนายกกรรมการของมูลนิธิดังกล่าวอยู่หลายสิบปี ได้ทรงอำนวยการให้มูลนิธิสนับสนุนงานวิชาการที่สำคัญๆ หลายเรื่อง อาทิ

จริงอยู่ว่าพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทยนั้นได้มีการแปลมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้พิมพ์ขึ้นคราวแรกในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่การแปลพระไตรปิฎกครั้งนั้นยังมิได้แปลไปตลอดจนถึงอรรถกถาหรือคำอธิบาย

เพื่อประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมคำสอน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงโปรดให้แปลพระคัมภีร์อรรถกถาเพิ่มเติมขึ้นและโปรดให้มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดพิมพ์หนังสือชุดสำคัญนี้ขึ้น เรียกว่า “พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย” เป็นจำนวนหนังสือถึง ๙๑ เล่ม ประกอบเป็นหนึ่งชุด จำแนกเป็นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม และอรรถกถาอีก ๔๖ เล่ม หนังสือชุดนี้มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดพิมพ์ขึ้นในโอกาส ฉลอง ๒๐๐ ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นครั้งแรก

โปรดให้จัดตั้งแผนกหนังสือพระพุทธศาสนาภาษาต่างประเทศในมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเป็นศูนย์รวมตำรับตำราและหนังสือทางพระพุทธศาสนาที่พิมพ์ขึ้นในภาษาต่างประเทศทุกภาษาไม่จำกัดแต่เฉพาะเพียงภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์และความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนานั่นเอง

โปรดให้มีการแปลตำรานักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ เป็นประโยชน์ยิ่งสำหรับพระภิกษุสามเณรต่างประเทศและชาวต่างประเทศทั่วไปที่สนใจพระพุทธศาสนา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เคยแสดงพระทัศนะที่สำคัญไว้เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์และสมดุลระหว่างการศึกษาทางโลกและทางธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยว่า

ในภาวะปัจจุบันนี้ เป็นภาวะที่ตรึงกันอยู่ระหว่างโลกกับธรรม เราทั้งหลายซึ่งเป็นผู้บริหารพระศาสนาก็จำเป็นที่จะต้องรักษาธรรมะไว้เป็นหลัก และก็ต้องอย่าหลงไปทางโลก หมายความว่า ให้การศึกษาทางโลกตามสมควร เพราะว่าเป็นสมัยที่จะ ยืนยันไปทางเดียวไม่ได้”

“ก็ขอให้ดำเนินการจัดการศึกษาพระธรรมวินัยให้ดีพอสมควร แต่การที่จะกีดกันในทางโลกนั้น บัดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรก็ต้องสนับสนุน เพราะเป็นการให้แสงสว่าง แต่ว่าต้องรักษาในทางธรรม อันเป็นส่วนปริยัติศาสนานี้ให้เข้มแข็งด้วย กับควบคุมดูแลความประพฤติพระธรรมวินัย อย่าให้หละหลวม”

“เป็นความจำเป็นที่จะได้ให้ความรู้ทั้ง ๒ ด้านนี้เดินขนานกันไป คือทั้งทางโลกและทางธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ โลกกับธรรม อาณาจักรกับพุทธจักรก็มีอยู่ใกล้กัน ขนานกัน พบกัน เป็นความประสานกันในทางปัญญา เมื่อเป็นความประสานกันในทางปัญญาดังกล่าวแล้ว ความเคารพนับถือกัน ความใกล้ชิดต่างๆ ความเข้าใจกันต่างๆ ก็จะเป็นและเกิดขึ้น ต่างก็สนับสนุนซึ่งกันและกันให้ดำเนินไปสู่ความเจริญ”

“อันที่จริง ปัญญาทางธรรมกับทางโลกนั้นต้องควบคู่กันไป การที่ได้มีสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย และ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น ก็เพื่อที่จะประสานปัญญาทางธรรมกับปัญญาทางโลกคู่กัน ก็จะเป็นประโยชน์มาก พระภิกษุสามเณรปัจจุบันนี้ก็สนใจในการศึกษาแสวงหาปัญญาทางโลกด้วย เพื่อจะได้พูดกับชาวโลกเขารู้เรื่อง แต่ว่าต้องการวิธีการดำเนินการให้เหมาะสม และก็ต้องไม่ละทิ้งการศึกษาพระธรรมวินัยอันเป็นหลักของพระศาสนา”


ทรงสอนในมหาวิทยาลัยฝ่ายโลก
นอกจากการศึกษาของคณะสงฆ์แล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังเป็นพระเถระรูปแรกที่ได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กล่าวคือ พ.ศ.๒๕๑๔ ทรงได้รับอาราธนาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ทรงเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทยร่วมกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยทรงบรรยายเรื่องพระพุทธศาสนากับสังคมไทย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงทรงเป็นพระเถระรูปแรกที่ได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งในขณะนั้นการเรียนการสอนวิชาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

พ.ศ.๒๕๒๐ ทรงได้รับอาราธนาจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาสมถะและวิปัสสนา (ต่อมาเรียกว่าวิชาฝึกสมาธิตามแนวพุทธศาสนา) แก่นิสิตภาควิชาปรัชญาและศาสนา ซึ่งเป็นวิชาบังคับสำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๔ วัตถุประสงค์สำคัญของวิชานี้คือ มุ่งให้นิสิตได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ทั้งภาคปริยัติ (ภาคทฤษฎี) และภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้นิสิตได้รับการฝึกปฏิบัติสมาธิ อันจะเป็นผลดีต่อการปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่บรรจุวิชาสมถะและวิปัสสนาไว้ในหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งวิชาทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ อีกหลายรายวิชา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเป็นพระมหาเถระรูปแรกที่เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาสมถะและวิปัสสนาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทรงสอนต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีจึงมีพระเถระรูปอื่นมาสอนแทน

ในชั้นแรก ได้พานิสิตที่ลงเรียนวิชานี้ ไปเรียนที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงพระเมตตามาบรรยายให้นิสิตฟัง พร้อมทรงนำการฝึกหัดทำสมาธิด้วยพระองค์เองตลอดมา กระทั่งทรงมอบหมายให้พระเถระรูปอื่นสอนแทน จึงได้ย้ายสถานที่เรียนมาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และต่อมาได้ย้ายสถานที่ไปที่วัดโสมนัสวิหาร ซึ่งสะดวก เงียบสงบ และเหมาะสมยิ่งกว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในระยะแรกที่เปิดสอนวิชาการฝึกทำสมาธิ มีนิสิตที่สนใจลงทะเบียนไม่กี่คน และก็ค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งในปัจจุบันมีนิสิตที่สนใจลงทะเบียนเรียนวิชานี้นับจำนวนเป็นร้อย ต่อมาได้มีสถาบันการศึกษาอื่นๆ ตั้งแต่ระดับอุดมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา และประถมศึกษาให้ความสนใจในการสอนการฝึกหัดทำสมาธิตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนากันมากขึ้น บางสถาบันก็ได้บรรจุวิชาการฝึกหัดทำสมาธิไว้ในหลักสูตรด้วย

พระองค์ยังทรงได้รับอาราธนาให้บรรยายเกี่ยวกับการฝึกทำสมาธิแก่นิสิตนักศึกษาสถาบันอื่นๆ ตลอดถึงแก่ข้าราชการและบุคลากรในหน่วยราชการและองค์กรอื่นๆ อีกอย่างกว้างขวาง นับได้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงเป็นผู้จุดประกายในการศึกษาปฏิบัติสมาธิกรรมฐานในหมู่พุทธศาสนิกชนทุกระดับ

พระเกียรติคุณของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหาเถระฝ่ายคันถธุระและทรงเชี่ยวชาญในฝ่ายวิปัสสนาธุระด้วยได้มีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมในการศึกษาปฏิบัติสมาธิกรรมฐานขึ้นในหมู่พุทธศาสนิกชนทุกระดับอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะแต่ในด้านวิปัสสนาธุระคือการสอนฝึกทำสมาธิกรรมฐานเท่านั้น แม้ในด้านปริยัติคือการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงได้รับอาราธนาจากสถาบันการศึกษาและหน่วยราชการ องค์กรต่างๆ ไปทรงบรรยายหรือแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา


การบริหารคณะสงฆ์
ลักษณะพิเศษประการหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยคือ พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภารธุระสำคัญที่จะทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้สถาพรยั่งยืน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดน่าจะได้แก่กลอนเพลงยาวพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อร่วม ๒๐๐ ปีมาแล้วว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี”

เพียงนี้ก็เห็นได้แล้วว่าทรงเรียงลำดับเรื่องการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาว่ามีความสำคัญก่อนเรื่องอื่นใดทั้งสิ้น หรือแม้จนตัวอย่างเรื่องที่เล็กน้อยที่สุดก็คือ นามพระราชทานสำหรับปืนใหญ่ประจำพระนครกระบอกหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงเช่นเดียวกัน มีนามปรากฏอยู่ในทำเนียบว่า “ปืนรักษาพระศาสนา” ดังนี้เป็นต้น

ที่ว่าทรงอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนานอกจากทรงดูแลป้องกันภยันตรายทั้งจากภายนอกภายในที่จะมาเบียนบ่อนพระพุทธศาสนาแล้ว ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรผู้รู้ธรรม คือสอบไล่ได้เป็นเปรียญ และพระภิกษุผู้มีตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการและพระราชาคณะทั้งปวง ด้วยการพระราชทานนิตยภัต คือปัจจัยสำหรับบำรุงสมณบริโภคที่ทรงปวารณาถวายไว้เป็นประจำ (แต่จะเทียบว่าเป็นเงินเดือนนั้นหามิได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงบังคับบัญชาหรือใช้สอยให้พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นทำคุณทำประโยชน์แก่บ้านเมือง หากแต่ทรงถวายนิตยภัตเพราะทรงพระราชศรัทธาและต้องพระราชประสงค์จะบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการสม่ำเสมอ) ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรโดยการจัดสอบสนามหลวงดังได้กล่าวมาแล้ว

พระราชกิจสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการคณะสงฆ์คือทรงปกครองดูแล เป็นธรรมเนียมสืบมาหลายร้อยปีที่จะพระราชทานสมณฐานันดรศักดิ์ให้พระสงฆ์มีอิสริยยศและตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครอง ดังความที่ปรากฏในตอนท้ายของสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ว่า “ขอพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ อนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในพระอารามโดยควร”

แต่เดิมมาในยุคเก่า การปกครองคณะสงฆ์มิได้รวมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งพระราชอาณาจักรดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงอธิบายว่า “คณะใหญ่ทั้งสี่ (คือคณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง คณะอรัญวาสี) นั้น ต่างไม่ได้ขึ้นแก่กัน เมื่อมีกิจอันพึงจะทำร่วมกัน เสนาบดีกระทรวงธรรมการรับพระบรมราชโองการสั่งฯ เจ้าคณะรูปใดมีสมณศักดิ์สูง เสนาบดีก็พูดทางเจ้าคณะรูปนั้นๆ แต่ก่อนคณะแยกกันครอง หรือบางสมัยมีสังฆราชก็เจริญอายุพรรษามีอยู่ก็เป็นแต่เพียงกิตติมศักดิ์ กระทรวงธรรมการจำต้องทำหน้าที่สังฆราช”

ดังนั้นจึงกล่าวได้โดยย่อว่า ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๕ ในรัชกาลที่ ๕) การปกครองคณะสงฆ์ดำเนินการโดยคฤหัสถ์ คฤหัสถ์เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ตลอดไปจนถึงเป็นผู้ชำระวินิจฉัยอธิกรณ์มีเจ้าพนักงานในกรมสังฆการี มีบรรดาศักดิ์หรือราชทินนามว่า ขุนวินิจฉัยชาญคดีและขุนเมธาวินิจฉัย เป็นต้น





เรื่องราวเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ในช่วงนั้นเป็นเรื่องเก่าที่คนทั่วไปมักจะไม่ทราบความเสียแล้ว แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงมีโอกาสได้รับประทานพระเมตตา จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงเล่าเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่กรมธรรมการทำหน้าที่ดูแลการคณะสงฆ์ต่างพระเนตรพระกรรณ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้เสด็จมาที่กุฏิของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงบันทึกเรื่องที่รับสั่งเล่าไว้ว่า “ในสมัยสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ (ในรัชกาลที่ ๕) มีเสด็จออกพระก่อน ๑ ยามเป็นกำหนดเสด็จออกพระ ประทับนั่งบนเตียง พระหมอบเฝ้าที่พื้น เวลา ๑ ยาม กำหนดเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวง จึงเสด็จออกพระก่อน ๑ ยาม กรมหมื่นปราบปรปักษ์โอรส ของเสด็จในกรมเคยรับสั่งว่า ไม่นับถือพระ เห็นจะเป็นเพราะเห็นอาการเข้าเฝ้าของพระ”

เหตุการณ์ดำเนินมาในลักษณะนี้จนถึง พ.ศ.๒๔๔๕ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ ได้วางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์แบบใหม่ตามแนวพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ถึงกระนั้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองคณะสงฆ์ก็ยังมีอยู่คล้ายเดิม (หากแต่เกิดมหาเถรสมาคมขึ้น) ประกอบด้วยเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่รวมแปดรูปเพื่อทรงปรึกษาเกี่ยวกับกิจการพระศาสนาประกอบพระบรมราชวินิจฉัย พอดีกับที่เหตุการณ์ช่วงนั้นเป็นเวลาว่างสมเด็จพระสังฆราช

หลังจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุสฺสเทโว สา) สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ แล้ว มิได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่อยู่นานปี หากแต่ทรงพระกรุณาโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส (พระยศในขณะนั้น) ทรงเป็นประธานในที่ประชุมมหาเถรสมาคมจนตลอดรัชกาล

หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ.๒๔๗๕ ต่อมาอีกราวเกือบ ๓๐ ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขทางฝ่ายบ้านเมืองมีการแบ่งแยกอธิปไตยออกเป็นสามส่วน มีรัฐสภา คณะ รัฐมนตรี และศาลยุติธรรมใช้อำนาจอธิปไตย ด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการตามลำดับ

รัฐบาลในยุคนั้นมีความประสงค์ที่จะจัดการปกครองของคณะสงฆ์ใหม่ให้อนุวัติหรือคล้อยตามทำนองเดียวกันกับประเพณีการปกครองของฝ่ายอาณาจักร จึงมีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ขึ้นตามกฎหมายใหม่นี้ สมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติสังฆาณัติโดยคำแนะนำของสังฆสภา ทรงบริหารคณะสงฆ์ทางสังฆมนตรี ทรงวินิจฉัยอธิกรณ์ทางคณะวินัยธร

กล่าวเฉพาะฝ่ายบริหาร การบริหารคณะสงฆ์แบ่งเป็นสี่องค์การ คือองค์การปกครอง องค์การศึกษา องค์การเผยแผ่ และองค์การสาธารณูปการ มีพระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งสังฆนายกรับผิดชอบการบริหารคณะสงฆ์ แต่ละองค์การมีสังฆมนตรีว่าการและสังฆมนตรีช่วยว่าการ ร่วมกันรับผิดชอบสองรูป ประกอบกันเป็นคณะสังฆมนตรี ทำนองเดียวกันกับคณะรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่ด้านบริหารประเทศ



ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : fb พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กันยายน 2563 15:33:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 กันยายน 2563 15:36:10 »



ประธานาธิบดีแห่งสงฆ์
และเมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับ พ.ศ.๒๔๘๔ นี้มีผลบังคับใช้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ทรงเข้ามาปฏิบัติพระภารกิจทางการคณะสงฆ์ที่สำคัญๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ดังนี้

พ.ศ.๒๔๘๔ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา ทรงได้เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง ในฐานะเป็นพระเปรียญธรรม ๙ ประโยค

พ.ศ.๒๔๘๘ พระชนมายุ ๓๒ พรรษา เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์

พ.ศ.๒๔๙๐ พระชนมายุ ๓๔ พรรษา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระโศภนคณาภรณ์

พ.ศ.๒๔๙๕ พระชนมายุ ๓๙ พรรษา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๘ พระชนมายุ ๔๒ พรรษา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๙ พระชนมายุ ๔๓ พรรษา เป็นพระวินัยธรชั้นฎีกา และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนาม ที่ พระธรรมวราภรณ์

พ.ศ.๒๕๐๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สิ้นพระชนม์ พระศพประดิษฐานอยู่ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลาถึง ๓ ปี จึงพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ หลังจากพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายก จึงมีการตั้งคณะสังฆมนตรีชุดใหม่

พ.ศ.๒๕๐๓ พระชนมายุ ๔๗ พรรษา ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ สั่งการองค์การ ปกครองคณะธรรมยุตในคราวนั้น เป็นผลให้ทรงมีหน้าที่สั่งการ ดูแลรับผิดชอบการปกครองคณะธรรมยุต พร้อมกันกับทรงรักษาการเจ้าคณะภาคธรรมยุตทุกภาคด้วย เท่ากับทรงปกครองดูแลวัดและพระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุติกาทั่วราชอาณาจักร

พ.ศ.๒๕๐๔ พระชนมายุ ๔๘ พรรษา ได้ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ และรับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่ พระสาสนโสภณ

พ.ศ. ๕๐๕ เรื่องการใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ปรากฏว่าเกิดความขัดข้องและขัดแย้งขึ้นในการปกครองคณะสงฆ์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าไปสังเกตการประชุมสังฆสภาแล้วพิจารณาเห็นว่ารูปแบบการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ไม่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ จึงได้มีการยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าวและประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๕ โดยกำหนดให้สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทางมหาเถรสมาคม ทรงมีอำนาจทางกฎหมายและพระธรรมวินัย

พ.ศ.๒๕๐๖ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรกด้วยรูปหนึ่ง และได้ทรงอยู่ในมหาเถรสมาคมมาจนถึงที่สุดแห่งพระชนมชีพ

พ.ศ.๒๕๑๕ พระชนมายุ ๕๙ พรรษา ได้ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ (ธรรมยุต) และทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระญาณสังวร

พ.ศ.๒๕๑๗ พระชนมายุ ๖๑ พรรษา ได้ทรงเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต

พ.ศ.๒๕๓๒ พระชนมายุ ๗๖ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงได้เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต





หลักการบริหารการพระศาสนา
จากที่เล่าสู่กันฟังมานี้เราจะเห็นได้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงปฏิบัติพระภารกิจของคณะสงฆ์ในตำแหน่งสำคัญต่างๆ มาตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย และน่าจะเป็นเพราะพระปรีชาในการบริหารงานคณะสงฆ์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้ทรงทำหน้าที่สำคัญเหล่านั้นตั้งแต่พระชนมายุยังน้อยและทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับตลอดจนพระชนมชีพ ในการทำหน้าที่บริหารการพระศาสนาในตำแหน่งใดก็ตามทรงถือหลักสำคัญสามประการ กล่าวคือ

หลักข้อที่ ๑ ฐาตุ จิรำ สตํ ธมฺโม
คือการบริหารพระศาสนานั้น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรม คือ ธรรมวินัยหรือพระพุทธศาสนา ซึ่งหมายถึงการจัดการศึกษาให้พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หน้าที่ของผู้บริหารพระศาสนาจำเป็นจะต้องรักษาพระธรรมวินัยไว้เป็นหลัก แต่ก็ต้องผ่อนไปในทางโลก คือให้การศึกษาทางโลกตามสมควร เพราะเป็นสมัยที่จะยืนยันไปในทางเดียวไม่ได้

หลักข้อที่ ๒ ธมฺมธรา จ ปุคฺคลา
คือการบริหารพระศาสนานั้นต้องให้มีผู้ทรงธรรมทรงวินัย ซึ่งหมายถึงตั้งแต่ทรงจำและทรงไว้ด้วยการปฏิบัติ คือให้มีผู้ปฏิบัติพระธรรมวินัย ให้มีพระธรรมวินัยขึ้นในตน

หลักข้อที่ ๓ สงฺโฆ โหตุ สมคฺโค ว
คือผู้บริหารพระศาสนาจะต้องบริหารให้พระสงฆ์มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันโดยธรรมวินัย และหลักของความพร้อมเพรียงกันนั้นก็คือ หลักสาราณียธรรม ๖ นั้นเอง

หลักทั้งสามประการนี้ ถ้าว่าโดยย่อก็คือ การสร้างโรงเรียน สร้างคน และสร้างสามัคคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความสามัคคีนั้นทรงย้ำอยู่เสมอว่า  “ต้องพยายามรักษาความสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันในระหว่างนิกาย อย่าให้เป็นศัตรูกัน แต่ให้เป็นมิตรกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยกันรักษาพระศาสนา”

หลักสาราณียธรรม ๖ หมายถึงหลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันหรือหลักธรรมที่เป็นพลังสร้างความสามัคคีหกประการ ได้แก่
       กายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
       วจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
       มโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
       สาธารณโภคี คือการรู้จักแบ่งปันสิ่งของให้แก่กันตามควร
       สีลสามัญญตา คือความรักใคร่ สามัคคีรักษาศีลอย่างเคร่งครัดและประพฤติสุจริตตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ

และข้อสุดท้าย ทิฏฐิสามัญญตา คือการมีความเห็นร่วมกัน รู้จักเคารพและรับฟังความเห็นผู้อื่น

ขณะเดียวกันยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ทรงย้ำอยู่เสมอคือ เป็นพระต้องมีงานทำ ถ้าไม่มีงานทำอยู่ว่างๆ ก็เป็นที่รำคาญ ฟุ้งซ่าน อยู่ไม่ได้ และงานโดยตรงของพระก็คือกรรมฐาน เป็นงานที่ขาดไม่ได้ ควรทำอยู่เสมอ ยิ่งว่างจากงานอื่น ๆ ยิ่งต้องทำกรรมฐาน ถ้าทิ้งกรรมฐานเสียแล้ว ใจก็มากไปด้วยกามตัณหาแล้วก็ร้อน แล้วอยู่ไม่ได้

ท้ายที่สุดทรงสรุปว่าทุกคนมีหน้าที่ปกครองอยู่ด้วยกันทั้งนั้น คือการปกครองตนเอง ไม่ว่าจะเป็นพระหรือเป็นฆราวาสจะต้องปกครองตัวเอง โดยจะต้องมีธรรมสำหรับปกครองตัวเองให้ดำเนินไปในทางที่ดีที่ชอบ และในการปกครองตนเองนั้น ถ้าทำกรรมฐานแล้ว จะปกครองตนเองได้ง่ายขึ้น


กรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลก็ได้ทรงดำเนินตามรอยแบบแผนที่มีมาแต่ก่อน โดยทรงสถาปนาพระมหาเถรผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพสักการะของมหาชนทั่วไป และบางองค์ก็มีคุณูปการเป็นการส่วนพระองค์ด้วย เช่น เป็น พระราชอุปัธยาจารย์บ้าง พระราชกรรมวาจาจารย์บ้าง ในสมัยที่ทรงพระผนวชหรือได้ถวายศาสโนวาทอยู่เป็นนิจบ้าง ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช

บางพระองค์ก็ไม่ปรากฏราชทินนาม เช่น สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) และ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งสามพระองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานพระนามที่ทรงสถาปนา

บางพระองค์ก็ปรากฏราชทินนามคล้ายคลึงกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่ยังพอเห็นเค้าแบบธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยอยุธยา เช่น สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัตวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมปรินายก พระนามนี้ได้ใช้สำหรับสมเด็จพระสังฆราชหลายองค์ ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๓ องค์ที่ ๔ และองค์ที่ ๖ อีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏพบบ่อยได้แก่พระนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามนี้ได้ใช้สำหรับสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ องค์ที่ ๑๒ และองค์ที่ ๑๔ จนถึงองค์ที่ ๑๘

มีข้อยกเว้นอยู่ว่า หากเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์จะทรงได้รับพระราชทานเกียรติยศในทางพระราชวงศ์เป็นหลัก เช่น

ได้ทรงกรมเป็นกรมพระยา ในกรณีของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐

ทรงกรมเป็นกรมพระ ในกรณีของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๗

ทรงกรมเป็นกรมหลวง ในกรณีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๑ และองค์ที่ ๑๓ ตามลำดับ

การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
ข้อที่ควรกล่าวอีกเรื่องหนึ่งคือ หากมิใช่สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์ซึ่งจะทรงจัดพระราชพิธีสถาปนาขึ้น ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นการพิเศษ เช่น การพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษกที่จัดพระราชทาน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสแล้ว การสถาปนาพระมหาเถระที่ไม่ได้เป็นพระราชวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่ได้มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัวแต่อย่างใด

เมื่อครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฏร่องรอยแต่เพียงว่าเมื่อพระมหาเถร องค์ใดได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ อันเป็นวัดสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาในชั้นหลัง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ ในรัชกาลปัจจุบันในช่วงต้นรัชกาล พิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชมิได้แยกเป็นการพระราชพิธีต่างหาก แต่มักกระทำต่อเนื่องหรือรวมกันไปกับพระราชพิธีประจำปีที่มีความสำคัญ เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา หรือพระราชพิธีฉัตรมงคล เพิ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งพิธีสถาปนาขึ้นเป็นพระราชพิธีเฉพาะท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาต พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เมื่อคราวทรงสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อุฏฐายี จวน) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นคราวแรก และได้ถือเป็นแบบพระราชประเพณีสำหรับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อๆ มา ตราบกระทั่งปัจจุบัน

ย้อนกลับไปกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสโน วาสน์) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑ และได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ แล้ว เป็นเวลาสมควรที่จะได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อโปรดสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรููปหนึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๗ กำหนดให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตามโบราณราชประเพณี จะทรงสถาปนาจากสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง

ในเวลานั้น พลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ จึงได้นำรายนามสมเด็จพระราชาคณะและข้อมูลที่เกี่ยวข้องขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

อนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มีสังฆทัศนะเกี่ยวกับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชว่า ควรจะเป็นสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร และสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้มีลิขิตขอถอนชื่อหากจะพึงมีเกี่ยวกับการเสนอรายนามเพื่อพิจารณาสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในครั้งนี้

พลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอรายนามพระราชาคณะทั้ง ๖ รูป พร้อมสังฆทัศนะข้างต้นต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ลงมติเห็นควรนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายความเห็นว่า สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงทางสมณศักดิ์เป็นผู้เหมาะสม ได้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้มีหนังสือถึงราชเลขาธิการ ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา การจะควรประการใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสมเด็จพระสังฆราช

อนึ่ง สำหรับราชทินนามที่จะได้รับพระราชทานสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชคราวนี้นั้น ตามแบบธรรมเนียมที่ได้เล่าสู่กันฟังมาแล้วข้างต้น เราจะพบว่าสมเด็จพระสังฆราชที่ไม่ใช่พระราชวงศ์และได้รับสถาปนาในรัชกาลปัจจุบันจะมีพระนามว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” ด้วยกันทั้งสิ้น

แต่สำหรับครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเป็นพิเศษให้ใช้ราชทินนาม “ญาณสังวร” เช่นเดียวกันกับที่ได้ทรงใช้เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ เพียงแต่เมื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ก็มีสร้อยพระราชทานนาม เพิ่มเข้าไปตามตำแหน่งว่า สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เท่านั้น

แต่สำหรับครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเป็นพิเศษให้ใช้ราชทินนาม “ญาณสังวร” เช่นเดียวกันกับที่ได้ทรงใช้เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ เพียงแต่เมื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ก็มีสร้อยราชทินนาม เพิ่มเข้าไปตามตำแหน่งว่า สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เท่านั้น

พระนาม “ญาณสังวร” นี้ นอกจากจะเป็นราชทินนามของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้แล้ว ในอดีตได้เคยใช้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นเพียงรูปเดียวในประวัติศาสตร์ ได้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) แห่งวัดราชสิทธารามหรือวัดพลับทางฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ครั้งทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระญาณสังวรเถร และได้เลื่อนเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวรในภายหลัง





เป็นที่เล่าขานกันมาจนทุกวันนี้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้นทรงสังวรในญาณเป็นอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้พระกรุณาคุณและพระเมตตาคุณเด่นชัด ทรงมีฉายาที่เรียกกันทั่วไปในเวลานั้นว่า “สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน” อันมีความหมายว่า แม้ไก่ป่าที่ไม่คุ้นเคยกับคน ก็ยอมสงบนิ่งเมื่อเข้าใกล้สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น

อย่างไรก็ดี สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เมื่อถึงคราวที่ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๓ ในรัชกาลที่ ๒ ก็ทรงได้รับพระราชทานราชทินนามใหม่ว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัติวราสงฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมปริณายก ตามแบบธรรมเนียม หาได้ใช้ราชทินนาม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) “ญาณสังวร” เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระสังฆราชไม่

คราวนี้จึงเป็นครั้งแรกที่ราชทินนาม “ญาณสังวร” ได้เป็นทั้งราชทินนามสำหรับพระมหาเถรรูปเดียวกัน ทั้งเมื่อทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ และทั้งเมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่เป็นดังนี้น่าจะเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริว่า ราชทินนามดังกล่าวเหมาะแก่พระคุณธรรมของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่งนั่นเอง

ดูก่อนอชิตะ กระแส (ตัณหา) เหล่าใดในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่า เป็นเครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบุคคล ย่อมละด้วยปัญญานี้เรียกว่า “ญาณสังวร”
อ.มูลปริยายสูตร ม.มู. ๑๗/๕๘



ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : fb พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 มีนาคม 2564 18:37:59 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 16 กันยายน 2563 18:27:20 »




พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

ด้วยเหตุที่พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นเวลากว่าเสี้ยวศตวรรษแล้ว การเล่าความย้อนหลังเกี่ยวกับพระราชพิธีดังกล่าวโดยสังเขปน่าจะเป็นประโยชน์ และทำให้เราสามารถนึกย้อนเหตุการณ์สำคัญ ในครั้งนั้นได้โดยชัดเจน
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยที่จะทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จพระญาณสังวร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก็ได้ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการพระราชพิธีดังกล่าวตามราชประเพณี เรื่องแรกที่ต้องเตรียมการ คือ การจัดสร้างพัดยศสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ กรมการศาสนาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องนี้ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่าพัดยศสมเด็จพระสังฆราชเล่มที่ใช้ในราชการอยู่ในเวลานั้นได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว จึงมีลักษณะค่อนข้างเก่าประกอบกับใน พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นปีแห่งการพระราชพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์มานานกว่าพระมหากษัตริย์องค์อื่น ๆ ในราชวงศ์จักรี (มีการพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) กรมการศาสนาจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพัดยศสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดสร้างพัดยศสมเด็จพระสังฆราชเล่มใหม่ได้

ลักษณะพัดยศสมณศักดิ์ที่สร้างใหม่คราวนี้ เป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ พื้นบุผ้าตาดเงินสลับลูกคั่นผ้าตาดทอง ปักดิ้นเลื่อมเงินและทองแล่ง ขอบพัดที่เป็นแฉกปักเป็นลายช่อใบเทศ ถัดเข้ามาปักลายน่องสิงห์อย่างลายเนื่อง ต่อเข้ามาปักเป็นลายเกลียวใบเทศกระหนาบแม่ลายซึ่งปักเป็นลายเกลียวกนก ชั้นที่ล้อมใจกลางพัดปักเป็นลายน่องสิงห์เนื่องกันทั้งสองข้าง ใจกลางเป็นรูปโคมทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ปักเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙ ประกอบด้วย รูปพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร ตรงกลางมีพระมหาอุณาโลมอยู่ในวงพระแสงจักรมีพระรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เป็นลักษณะพิเศษแตกต่างจากพัดสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชที่มีมาแต่ก่อน เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระบรมเดชานุภาพและการศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนา และเป็นพระเกียรติยศแก่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ ด้ามพัดเป็นงาตัน ต้นด้ามเป็นเม็ดทรงมัณฑ์แกะลาย คอแกะลายเทพพนม ยอดพัดเป็นงาแกะเป็นรูปฉัตรสามชั้น



เมื่อใกล้ถึงวันพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช โหรหลวงคำนวณพระฤกษ์ถวายแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏในเช้าวันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ และในภาคบ่ายวันเดียวกันเป็นการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

พ ร ะ น า ม จ า รึ ก ใ น พ ร ะ สุ พ ร ร ณ บั ฏ  สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศร มหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติวิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ


ส่วนการพระราชพิธี ในภาคเช้า  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กำหนดเวลา ๐๖.๔๙ น. เป็นประถมพระฤกษ์ สุดพระฤกษ์เวลา ๐๗.๑๙ น. เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จถึงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป มี สมเด็จพระวันรัต ( ธมฺโม จับ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นประธานสงฆ์ ขึ้นนั่งยังอาสน์สงฆ์ ผู้แทนพระองค์ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สมเด็จพระวันรัตถวายศีล ครั้นได้เวลาพระฤกษ์ นายอำพัน ชอบใช้ เจ้าหน้าที่ลิขิต ๔ กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่อาลักษณ์ เริ่มจารึกพระสุพรรณบัฏตามพระนาม

เมื่อจารึกพระสุพรรณบัฏเสร็จแล้ว พระราชครูอัษฎาจารย์ (ละเอียด รัตนพราหมณ์) ประธานคณะพราหมณ์หลั่งน้ำเทพมนต์ที่พระสุพรรณบัฏ เจิมแล้ววางใบมะตูมที่พระสุพรรณบัฏ เจ้าพนักงานเชิญพระสุพรรณบัฏบรรจุถุงผ้าตาดทองวางไว้บนพาน จากนั้นเชิญพานพระสุพรรณบัฏไปยังธรรมาสน์ศิลา เชิญพระสุพรรณบัฏขึ้นวางบนพานแว่นฟ้ากลีบบัวประดับมุกครอบด้วยคลุมปักดิ้นทอง เมื่อเสร็จการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏแล้วเจ้าหน้าที่กองประกาศิตเชิญพระสุพรรณบัฏไปยังสำนักราชเลขาธิการ มอบราชเลขาธิการ (หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์) เชิญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงเจิม เมื่อทรงเจิมแล้วเชิญกลับมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับการพระราชพิธีในช่วงบ่าย

การพระราชพิธี ในภาคบ่าย
เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มายังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเสด็จฯ เข้าในพระอุโบสถแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงกราบ แล้วประทับพระราชอาสน์ สมเด็จพระญาณสังวร ถวายศีล ทรงศีล จบแล้ว

เวลา ๑๗ นาฬิกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอาลักษณ์อ่านกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง ณ ที่นั้น ยืนขึ้นเคารพพระบรมราชโองการพร้อมกัน เมื่อจบประกาศพระบรมราชโองการแล้ว สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเลื่อนพระองค์จากที่ประทับเดิมไปประทับเหนืออาสนะ ซึ่งปูลาดด้วยพระสุจหนี่สีเหลืองสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) นั่งกระโหย่งเท้าและสวด “สงฺฆราชฏ ปนานุโมทนา” จบแล้ว พระสงฆ์ในพิธีมณฑลพนมมือถวายอนุโมทนาและเปล่งวาจาสาธุขึ้นพร้อมกัน จากนั้นสมเด็จพระวันรัตนำสวด โส อตฺถลทฺโธ สุขิโต วิรุฬฺโห พุทธสาสเน อโรโค สุขิโต โหหิ สห สพฺเพหิ ญาติภิ. พระสงฆ์ทั้งปวงในพิธีมณฑลพนมมือสวดรับพร้อมกันสามจบ

จากนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปประทับที่อาสนะ ซึ่งปูลาดไว้ข้างพระแท่นเศวตฉัตรที่ต้นอาสน์สงฆ์สังฆมณฑล ส่วนสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ กรรมการมหาเถรสมาคมตามไปนั่งที่อาสน์สงฆ์ลำดับถัดจากสมเด็จพระสังฆราช




เวลา ๑๗ นาฬิกา ๒๔ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏแด่สมเด็จพระสังฆราช ขณะนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พร้อมกันกับที่พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเจริญชัยมงคลคาถา และย่ำระฆังพร้อมกับระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าพนักงานประโคมสังข์ แตรดุริยางค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระสุพรรณบัฏ พระตราตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พัดยศ ไตรแพร และเครื่องสมณศักดิ์รวม ๑๙ รายการ

ภายหลังเมื่อเสร็จพระราชพิธีในช่วงสำคัญข้างต้นแล้ว สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายมหานิกาย และสมเด็จพระวันรัต พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายธรรมยุตถวายเครื่องสักการะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ไปถวายเครื่องสักการะตามลำดับ

ลำดับจากนั้น นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา นายจำรัส เขมะจารุ ประธานศาลฎีกา เข้าถวายเครื่องสักการะตามลำดับ เสร็จแล้ว

สมเด็จพระสังฆราชทรงกราบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เสด็จลงที่ระเบียงหน้าพระอุโบสถ ทรงรับเครื่องสักการะของบรรพชิตญวน และบรรพชิตจีน จากนั้นจึงเสด็จออกจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระประเทียบ ที่ประตูเกยหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามทางฝั่งด้านกระทรวงกลาโหม เสด็จไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร



อนึ่ง สมควรเล่าเพิ่มเติมด้วยว่าพระตราสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น แรกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้เคยเล่ามาแล้ว ว่าเป็นคราวแรกที่พระสงฆ์ในตำแหน่งพระสังฆราชได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ด้วยพระองค์เอง พระตรานี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้อย่างพระตรามีลักษณะเป็นดวงกลม ทำด้วยงากลึง กว้าง ๘ เซนติเมตร กลางดวงตราเป็นจักร (หมายถึงธรรมจักร) มีกำใหญ่ ๔ ซี่ ในระหว่างนั้นมีกำเล็กช่องละ ๒ ซี่ เป็น ๘ ซี่ รวมกันทั้งหมดเป็น ๑๒ ซี่ ที่ดุมมีอักษร ธ ตัวขอม ข้างบนมีอุณาโลม ทั้งหมดนี้อยู่ในบุษบกซึ่งตั้งบนบัลลังก์ปลายเรียวรูปเหมือนพระที่นั่งบุษบกมาลา มีฉัตร ๕ ชั้นหนึ่งคู่ ตาลปัตรแฉกหนึ่งคู่อยู่ข้างทั้งซ้ายและขวา พื้นตราผูกลาย กระหนกนกคาบ หมายความว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรปฐมเทศนา ด้วยกำลังพระปัญญา มีอักษรที่ขอบว่า “สกลคณาธิเบศร์ มหาสังฆปริณายก” ดวงตราทั้งดวงมีเส้นวงกลมล้อมรอบ ๓ ชั้น พระตรานี้สร้างขึ้นตั้งแต่คราวนั้นแล้ว ก็ได้ใช้ในราชการเสมอมา จนทุกวันนี้ยังมิได้มีการสร้างใหม่แต่ประการใด

เป็นอันว่านับตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ก็ได้ทรงรับพระภารกิจในหน้าที่ประธานในสังฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร “ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในสงฆมณฑลทั่วไปโดยสมควรแก่พระอิสริยยศ” ที่ทรงได้รับพระราชทาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2563 18:30:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12 มีนาคม 2564 19:06:07 »



พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ใน พ.ศ.๒๔๙๙ เสด็จฯ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ ๖ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๑ รวมเวลา ๑๕ วัน

ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องอื่นต่อไป สมควรจะได้กล่าวถึงเรื่องราวพิเศษที่อยู่ในความสนใจและความทรงจำของประชาชนคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน และยังเล่าขานกันสืบมา แม้จนปัจจุบันและอนาคต นั่นคือเรื่องราวต่างๆ ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับพระราชวงศ์ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดไปจนถึงเจ้านายอีกหลายพระองค์

ความที่ทรงรู้จักคุ้นเคยกันเช่นนี้เป็นกุศลและเป็นบุญแก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะสำหรับประเทศไทยแล้ว สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญยิ่งนักต่อการดำรงอยู่ของชาติ ความเป็นไปที่เกื้อกูลกันระหว่างสถาบันทั้งสอง จึงไม่มีผลเป็นอย่างอื่น นอกจากความผาสุกร่มเย็นและประโยชน์ที่ยั่งยืนสำหรับประชาชนคนไทย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีโอกาสได้เป็นที่รู้จักคุ้นเคยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ เวลานั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชประสงค์ที่จะได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว ต้นปีนั้นสมเด็จพระสังฆราช ผู้ที่ทรงนิยมนับถือด้วยวิสาสะอันสนิท และทรงถือว่ามีคุณูปการส่วนพระองค์มามากได้ประชวรลง พระอาการเป็นที่วิตกทั่วไปจนแทบไม่มีหวัง

แต่ด้วยเดชะพระบารมีก็ได้หายประชวรไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมฟังพระอาการหลายครั้ง ทรงพระดำริว่า ถ้าได้ทรงผนวชด้วยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นพระอุปัชฌายะแล้ว จะเป็นที่สมพระราชประสงค์ในอันที่จะได้ทรงแสดงพระราชคารวะและศรัทธาในองค์สมเด็จพระสังฆราชจึงทรงตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงผนวช

การนี้เป็นที่ตกลงกันว่าสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช จะทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงผนวชในท่ามกลางสังฆสมาคมที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ทรงประกอบการพระราชพิธีทัฬหีกรรมตามขัตติยราชประเพณี ในสังฆสมาคมฝ่ายธรรมยุต มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัธยาจารย์เป็นประธาน

เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถพระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราชสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างทรงผนวช ประทับที่พระปั้นหย่าตามแบบธรรมเนียมในพระราชวงศ์ จนกระทั่งทรงลาผนวช เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ ทรงอยู่ในภิกขุภาวะ ๑๕ วันตามกำหนด

ในการทรงผนวชคราวนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระโศภนคณาภรณ์ได้ทรงนั่งอยู่ในหัตถบาส ในพระราชพิธีทรงผนวช ทั้งที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และที่พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ยิ่งไปกว่านั้น ทรงได้รับความวางพระทัยจากสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ให้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลาที่ทรงผนวชด้วย




เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เคยประทานสัมภาษณ์ไว้ในหนังสือเรื่อง “สองธรรมราชา” ว่า “ได้มีความรู้สึกว่าพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงพระผนวชตามพระราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ แต่ทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า “หัวใหม่” ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น เมื่อเสด็จฯ ไปทั้งในและนอกวัด ไม่ทรงสวมฉลองพระบาท เสด็จฯ ไปด้วยพระบาทเปล่าทุกหนแห่ง ทรงปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ อย่างสมบูรณ์ ทรงรักษาเวลา เมื่อตีระฆังลงโบสถ์ทุกเช้าเย็น เวลา ๘ นาฬิกาและเวลา ๑๗ นาฬิกา ก็จะเสด็จลงโบสถ์ทันที”

ด้วยฐานะที่ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ครั้งที่ทรงผนวชนั้นเองทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นที่เคารพนับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการที่ได้ทรงรับหน้าที่ถวายพระธรรมเทศนาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ต่างๆ อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระธรรมเทศนาที่เรียกว่า “พระมงคลวิเสสกถา” ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาพิเศษที่พระมหาเถระจะได้ถวายในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา โดยพรรณนาถึงพระราชจรรยาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินว่าได้ทรงปฏิบัติสอดคล้องต้องตามพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างไร เพื่อจะได้ทรงพิจารณาและบังเกิดพระปีติปราโมทย์แล้วทรงบำเพ็ญราชธรรมนั้นยิ่งๆ ขึ้น เป็นการอุปถัมภ์พระราชจรรยาให้ถาวรไพบูลย์

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงเป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนานี้ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.๒๕๑๗ คราวหนึ่ง และต่อมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ ก็ได้ทรงเป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถานี้สืบเนื่องจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสโน วาสน์) มาจนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๔๓ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ พระชนมายุมากขึ้น พระพลานามัยไม่เอื้อให้ทรงปฏิบัติหน้าที่สำคัญอันนี้ได้ จึงทรงผ่อนพระภาระในเรื่องนี้ให้แก่พระมหาเถระรูปอื่นแทน

ไม่เพียงแต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยในการปฏิบัติหน้าที่ในพระราชพิธีสำคัญๆ เท่านั้น หากแต่โดยส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงมีความผูกพันใกล้ชิด และเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

ดังสังเกตเห็นได้จากบ่อยครั้งที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล หรือเสด็จมาทรงบำเพ็ญพระกุศลในวาระสำคัญต่างๆ ที่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธาในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยิ่งนัก ในเวลาที่ทรงปลีกพระองค์ได้จากพระราชกิจที่มีมากมายมหาศาล มักจะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาทรงสนทนาธรรมและบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์อยู่เสมอ

นอกจากนี้ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมในต่างจังหวัดไม่ว่าจังหวัดใดก็จะทรงอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้เดินทางไปด้วย เช่น เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ในเดือนมกราคมของทุกปี ก็จะทรงอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปประทับที่สำนักสงฆ์ดอยปุยซึ่งอยู่ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ไม่ไกลนัก เพื่อจะได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และสนทนาธรรมกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อโอกาสอำนวย

แรกเริ่มสำนักสงฆ์ดอยปุยมีเพียงกุฏิไม้สูงสองชั้นหลังเดียว มีบันไดอยู่ด้านนอก เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปทรงสนทนาธรรมกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทั้งสองพระองค์จะทรงถอดฉลองพระบาทไว้ข้างล่าง และทรงมีพระราชปุจฉาวิสัชนาข้อธรรมกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์เป็นเวลานาน

ความสงบสงัดและธรรมชาติอันสดชื่น คงช่วยให้คนทั่วไปได้พักผ่อนคลายความตึงเครียดจากการงาน หรือความวุ่นวายในเมืองได้ไม่มากก็น้อย แต่สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แล้ว แม้ไปประทับอยู่ในที่สงบสงัดเช่นนั้นแล้ว แต่หน้าที่ของพระก็ไม่มีวันหยุด พระองค์ยังเสด็จตามขั้นบันไดทางเดินที่ลาดลงจากสำนักสงฆ์ดอยปุยมาที่หมู่บ้านแม้วเป็นระยะทางพอสมควร เพื่อทรงรับบาตร และในบางโอกาสก็ได้เสด็จเยี่ยมเยียนสำนักสงฆ์และวัดในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งสนทนากับชาวบ้านกลุ่มต่างๆ เป็นความชุ่มชื่นใจของผู้ที่ได้เฝ้ารับประทานพระเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะทรงรับอาราธนาไปประทับชั่วครั้งคราวตามพระตำหนักต่าง ๆ หรือเสด็จไปทรงเข้างานบำเพ็ญพระราชกุศลของหลวงแล้ว ในส่วนพระองค์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอง ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะทรงกำหนดเป็นกิจวัตรประจำทุกปี และเสด็จไปวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี เพื่อบำเพ็ญพระกุศลวันแผ่นดินไทย อันมีความหมายว่า เป็นการบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายแด่สมเด็จพระบุรพกษัตริย์ และบรรพชนไทยทุกท่านทุกคน



เรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยมีผู้ใดได้ทราบนักคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฟังแถบบันทึกเสียงการบรรยายธรรมต่างๆ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่เสมอ และหากทรงทราบว่าผู้ใดกำลังศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่ก็จะพระราชทานสำเนาแถบบันทึกเสียงเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แก่ผู้นั้น พร้อมทั้งทรงแนะวิธีการฟังด้วย เช่น มีผู้ได้รับพระราชทานสำเนาแถบบันทึกเสียงดังกล่าวคนหนึ่งกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ รับสั่งเป็นช่วงๆ ฟังไม่สนุก
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสว่า อย่าคิดไปก่อนว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร ถ้าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ หยุดก็ให้หยุดด้วย เมื่อผู้นั้นนำไปปฏิบัติตามก็พบว่า สำเนาแถบบันทึกเสียงนั้นเป็นธรรมบรรยายที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ

ธรรมบรรยายของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ บางเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสดับศึกษาแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าหน้าที่ถอดความออกมาเป็นหนังสือ พร้อมทั้งทรงตรวจทานต้นฉบับด้วยพระองค์เอง แล้วพระราชทานต้นฉบับมายังเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เพื่อให้จัดพิมพ์เผยแพร่ คือเรื่องสัมมาทิฏฐิตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ พร้อมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับการจัดพิมพ์ ด้วยทรงเห็นว่าธรรมบรรยายเรื่องสัมมาทิฏฐินี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาของประชาชนทั่วไป จึงสมควรที่จะได้เผยแพร่ให้กว้างขวาง

เรื่องหนังสือสอนพระพุทธศาสนา
ความที่รับสั่ง : หนังสือสอนพระพุทธศาสนายากเกินไปแก่สมองเด็ก ให้เด็กเล็กๆ จำประวัติมากเกินไป
ทูลว่า : กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดหลักสูตร
รับสั่ง : อย่างสอนอริยสัจจ์แก่เด็กเล็กๆ เหมือนอย่างจะให้เด็กเป็นพระอรหันต์จะให้เด็กเข้าใจได้อย่างไร น่าจะสอนบทธรรมง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์ในการอบรมเด็กด้วย เช่น ความเพียร และน่าจะจัดเป็นหลักสูตรสูงขึ้นไปโดยลำดับแทรกพุทธประวัตินิทานชาดก บทสอนคฤหัสถ์ศาสนาได้มีจัดทำไว้ ทำนองนี้น่าจะทำแจกหรือจำหน่ายถูกๆ ของกระทรวงก็ปล่อยไปเป็นส่วนของกระทรวง
ทูลว่า : จะนำกระแสพระราชดำรินี้ไปจัดทำ แต่การเขียนเรื่องให้เด็กอ่านนั้น เขียนแล้วคิดว่าง่ายเด็กเข้าใจ ครั้นไปลองสอนให้กับเด็ก คือให้เด็กอ่าน เด็กก็ไม่สนใจ
รับสั่ง : ถ้าประสงค์จะทดสอบก็ได้เขียนส่งไปให้ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ อ่าน ถ้าจะทดสอบอายุน้อยกว่านั้นก็ได้

การปฏิบัติพระองค์
ความที่รับสั่ง : การปฏิบัติพระองค์ให้เหมาะเป็นการยากต้องทำ ๒ อย่างพร้อมๆ กันอย่างหนึ่งต้องให้มีภาคภูมิ อีกอย่างหนึ่งต้องให้สุภาพ มิให้เป็นหยิ่ง หรือที่เรียกกันว่าเบ่ง และในสมัยประชาธิปไตย ก็ต้องให้เหมาะสมเข้ากันได้กับประชาชน
ทูล: ตามที่ได้ฟัง ได้ยินแต่เสียงชื่นชมในพระบารมี
รับสั่ง : ต้องคอยสังเกตเป็นบทเรียนและแก้ไขเรื่อยมา เมื่อคราวเสด็จภาคอีสาน วันหนึ่งเหนื่อยมาก หน้าบึ้ง กลับที่พักแล้วนึกขึ้นได้ว่าราษฎรได้มีโอกาสเห็นเราเพียงครั้งเดียวให้เขาเห็นหน้าบึ้งไม่ดี ต่อจากนั้น ถึงจะเหนื่อยมาก ก็ต้องพยายามไม่ทำหน้าบึ้ง ต้องทำชื่นบาน

กำลังใจ
รับสั่ง : เมื่อคราวเสด็จทางใต้วันหนึ่งไม่สบาย แต่ถ้างดไม่ไป ก็จะเกิดเสียหาย ต้องไปครั้นไปแล้วกลับมาก็สบายดีจะเป็นเพราะกำลังใจใช่ไหม
ทูล ทูลรับ และทูลว่า : ฝึกบ่อยๆ กำลังใจก็จะยิ่งมากขึ้น

อิทธิ
ความที่รับสั่ง : หายตัว เป็นจริงหรือเป็นการสะกดจิตไม่ให้เห็น
ทูล: อาจเป็นการสะกดจิต แต่การล่องหนทะลุกำแพงออกไป ถ้าเป็นจริง ก็จะต้องทำตัวอย่างไรให้เล็ดลอดออกไปได้
รับสั่ง : มีในพระพุทธศาสนาหรือเปล่า
ทูล: มีแสดงไว้ แต่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาโดยตรง มีแสดงไว้ก่อนในตำรับทางพราหมณ์
รับสั่ง : แต่มีแสดงไว้ในพระพุทธศาสนาด้วย
ทูล: ทูลรับพระราชดำรัส
รับสั่ง : อยู่ในที่นี้แล้วคิดสะกดจิตคนที่อยู่ในที่อื่นได้ไหม
ทูล: เคยพบแต่ที่แสดงไว้ว่า อยู่ในที่เดียวกัน

พระเครื่อง
ความที่รับสั่ง : พระเครื่องคุ้มกันได้จริงไหม คุ้มกันได้เพราะใจเชื่อมั่นว่ามีพระเครื่องอยู่กับตัวหรืออย่างไร
ทูล : เป็นเครื่องทำให้ใจเชื่อมั่น
รับสั่ง : ถ้าใจเชื่อมั่นแล้ว ก็ไม่จำเป็นหรือ
ทูล : ไม่จำเป็น แต่ก็มีเชื่อกันว่า พระเครื่องให้อยู่คงจริงก็มีคือผู้ที่มีอยู่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม หรือมิได้คำนึงถึงแต่พระเครื่องก็คงคุ้มกัน คนที่ไม่เชื่อก็มี
รับสั่ง : ก็เชื่อ มีคนให้รับมาไว้ที่พระองค์ เขาก็ยินดี แต่วันนี้ไม่ได้ติดมา

เวลาจะเสด็จฯ กลับ
รับสั่ง : จะกลับ
ทูล: จะถวายอดิเรกก่อน




วัดญาณสังวรารามนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงดำริที่จะสร้างถวายสมเด็จพระมหาบุรพกษัตริยาธิราชเจ้าและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ คณะผู้สร้างวัดญาณสังวราราม ในความอุปถัมภ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงร่วมกับประชาชนชาวไทยสร้างสิ่งอันเป็นปูชนียวัตถุสถานสำคัญขึ้นหลายประการ
ระหว่างการก่อสร้างก็ดี หรือเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ก็ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์ ทรงพระมหากรุณารับคำกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีต่างๆ สำหรับวัดญาณสังวรารามอยู่โดยตลอดไม่ว่าจะเป็นการวางศิลาฤกษ์ หรือการฝังลูกนิมิตสำหรับพระอุโบสถ เป็นต้น

สถานที่แห่งนี้ จึงเป็นอนุสรณ์แห่งความกตัญญูกตเวทีของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ทรงมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ยิ่งไปกว่านั้นทุกครั้งคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงพระดำริในงานพระกุศลของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่ว่าจะเป็นการบรรพชากุลบุตรศากยะที่เนปาล หรือการก่อสร้างซ่อมแซมวัดวาอารามต่างๆ ก็จะทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ทุกครั้งไป


กราบขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯ
26/10
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 มีนาคม 2564 19:08:32 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 31 มีนาคม 2564 19:23:58 »



เหตุการณ์เล็กๆ แต่สำคัญยิ่งใหญ่

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺโนมหาเถระ) เมื่อครั้งที่ยังเป็นพระมหาเจริญ เปรียญเจ็ดประโยค อายุ ๒๔ ปี

พระองค์ท่านทรงตั้งใจจะลาสิกขา จึงได้กราบทูลลาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับสั่งว่า “คุณเจริญไปคิดใหม่อีกที บวชเป็นพระนั้นยาก สึกสิง่าย กันก็เคยคิดจะสึกมาเหมือนกัน”

อย่างไรก็ตามดูหมือนพระองค์ท่านจะทรงไม่เปลี่ยนพระทัย ทรงทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาสิกขา ผ่านกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ) ตามแบบแผนประเพณีในฐานะที่เป็นพระมหาเปรียญ

แต่ระหว่างที่เดินเรื่องอยู่นั้น โยมมารดาของท่านทราบข่าวว่าพระลูกชายจะสึก จึงได้รีบเดินทางจากเมืองกาญจน์มาหาที่วัดบวรนิเวศทันที ครั้นมาถึงก็ได้บอกกับพระลูกชายด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า  “ถ้าคุณมหาจะสึก ดิฉันก็จะผูกคอตาย”

เพียงเท่านี้พระมหาเจริญ (ในขณะนั้น)​ ก็รีบทำเรื่องถอนหนังสือขอลาสิกขาและเลิกล้มความตั้งใจที่จะสึก

นับแต่นั้นพระองค์ท่านก็ทรงพากเพียรในการศึกษาและปฏิบัติจนสำเร็จเป็นมหาเปรียญ ๙ ประโยค อีกทั้งเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ จนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ ๑๐๐ พรรษา

เหตุการณ์ที่กล่าวมา ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่กินเวลาไม่กี่นาที มีคำพูดแค่ไม่กี่คำ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺโนมหาเถระ)
เนื้อหาบางส่วนจากหนังสือลำธารริมลานธรรม เล่ม ๓ หน้า ๑๕๙ – ๑๖๐
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 12 เมษายน 2564 13:07:42 »


ใช่แต่เพียงเท่านั้น เมื่อพระชนนีเจริญอายุถึงวัยชรา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อครั้งยังเป็นพระโศภนคณาภรณ์ ก็ไม่ปล่อยให้พระชนนีอยู่ห่างไกลและเดียวดาย ได้ขอพระอนุญาตสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ในขณะนั้น นำพระชนนีมาพำนักอยู่ใกล้ๆ ที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยขออนุญาตปลูกเรือนหลังเล็กๆ ไว้ข้างๆ ตำหนักคอยท่า ปราโมช สำหรับให้พระชนนีอยู่อาศัย เพื่อจะได้อุปัฏฐากดูแลได้สะดวกและใกล้ชิด ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖

เมื่อพระชนนีได้มาพำนักอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารก็เป็นการสะดวกที่พระชนนีจะรักษาศีลฟังธรรม และทำบุญทำทานในโอกาสต่างๆ กิจวัตรที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปฏิบัติต่อพระชนนีคือ การไปเยี่ยมถามสารทุกข์สุขดิบกับพระชนนีทุกวัน เวลาเช้าบ้าง เวลาเย็นบ้าง สุดแต่จะสะดวก

บางครั้งเมื่อทรงทราบหรือได้ยินเสียงพระชนนีที่แสดงถึงความวุ่นวายใจ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็จะทรงเดินไปไต่ถามและปลอบโยนด้วยข้อธรรมง่ายๆ สั้นๆ ทำนองจะไม่ให้รู้สึกว่าทรงสอน คำที่มักจะตรัสกับพระชนนีเสมอก็คือ “โยม! เป็นไงบ้างวันนี้ พักบ้างหรือเปล่า? หลับดีไหม? ทำภาวนาบ้างจะได้หลับสบาย!” หรือหากวันใดทราบว่าพระชนนีหงุดหงิด เพราะการออกลิงออกค่างของบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย เจ้าพระคุณสมเด็จฯก็มักจะตรัสว่า “ช่างเถอะ! เรื่องของเด็กๆ มัน” หรือหากบางครั้งทรงเห็นว่าพระชนนีหงุดหงิดวุ่นวายมาก ก็จะตรัสว่า “โยม! เป็นไงบ้างวันนี้ ปล่อยวางเสียบ้าง”

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงอุปัฏฐากดูแลพระชนนีที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลาสิบปีถึง พ.ศ.๒๕๐๕ ทรงเห็นว่าสุขภาพของพระชนนีทรุดโทรมลง จึงได้ทรงตั้งกองทุนไว้จำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลพระชนนีสืบไปในอนาคต เรียกว่า นิธิน้อย คชวัตร กระทั่งพ.ศ.๒๕๐๗ พระชนนีได้กลับไปงานศพของป้าเฮ้ง ณ บ้านเมืองกาญจน์ และเมื่อเสร็จงานศพป้าเฮ้งแล้วพวกลูกหลานได้ขอร้องให้พักอยู่ที่เมืองกาญจน์สักระยะหนึ่งค่อยกลับกรุงเทพฯ เพราะได้จากลูกหลานทางเมืองกาญจน์มาหลายปี ระหว่างที่พักอยู่ที่กาญจนบุรีนั้นพระชนนีได้เกิดล้มป่วยลงและถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาไม่นาน คือเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ สิริอายุได้ ๗๙ ปี




เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มักทรงปรารภถึงผู้มีพระคุณต่อพระองค์อยู่เสมอ โดยมักจะทรงปรารภให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ท่านใดได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่พระองค์บ้าง และผู้มีพระคุณท่านใดที่พระองค์ยังไม่มีโอกาสทำอะไรตอบแทนบ้าง อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าทรงรำลึกถึงพระคุณของท่านเหล่านั้นอยู่ในพระทัยเสมอ ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสเหมาะจึงทรงปรารภออกมาทางวาจาให้ผู้อื่นฟังบ่อยๆ

เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวราภรณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระสังฆราช (ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ทรงปรารภกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในวันหนึ่งว่า “เจ้าคุณ! จะเอาวัดบวรไว้อยู่หรือ?” แสดงว่าสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้นทรงเป็นห่วงเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่าจะทรงปกครองวัดบวรนิเวศวิหารไม่ไหว เพราะขณะนั้นวัดบวรนิเวศวิหารมีพระเถระผู้มีอายุพรรษาสูงกว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นจำนวนมาก

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงทรงปรารภถึงสมเด็จพระสังฆราช (ญาโณทยมหาเถร) ว่าทรงมีพระเมตตาต่อพระองค์มากองค์หนึ่ง และทรงรำลึกถึงพระเมตตาของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้นอยู่เสมอ ฉะนั้น เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา จึงทรงไปถวายสักการะสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้นตลอดมา แม้เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็เสด็จไปถวายสักการะพระอัฐิเสมอมามิได้ขาด

ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๑๕ เมื่อทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงรำลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) โดยทรงปรารภว่า “ถ้าไม่มีสมเด็จพระญาณสังวร รูปที่ ๑ ก็คงไม่มีสมเด็จพระญาณสังวร รูปที่ ๒ พระองค์จึงนับว่าเป็นผู้มีพระคุณท่านหนึ่ง” ฉะนั้น เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงเสด็จไปถวายสักการะพระรูปและพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ทั้งที่วัดราชสิทธารามและที่วัดมหาธาตุตลอดมาทุกปี

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นอีกพระองค์หนึ่งที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปรารภถึงบ่อยๆ ว่าเป็นผู้มีพระคุณใหญ่หลวงต่อพระองค์ เพราะทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และทรงถือว่าทรงเป็นพระอาจารย์กรรมฐานพระองค์แรกของพระองค์ด้วย ทั้งทรงเป็นผู้มอบหมายภาระหน้าที่สำคัญๆ ให้พระองค์ได้ทรงปฏิบัติและเรียนรู้หลายอย่าง เท่ากับทรงเป็นครูในทางการคณะสงฆ์ของพระองค์ด้วย เป็นต้นว่าทรงมอบหมายให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่เมื่อยังเป็นพระเปรียญ ๙ ประโยค เป็นเลขานุการในพระองค์

และทรงมอบให้พระองค์แต่เมื่อยังเป็นที่ พระโศภนคณาภรณ์ เป็นพระอภิบาลในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) เมื่อเสด็จออกทรงผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ฉะนั้น จึงมักทรงปรารภกับผู้ใกล้ชิดบ่อยๆ ว่า “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงมีพระเมตตาต่อที่นี่มาก แต่ที่นี่ยังไม่ได้ทำอะไรถวายท่านเลย

พ.ศ.๒๕๑๖ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้ทรงดำเนินการสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ โดยรื้ออาคารเรียนเก่า ๒ หลังของโรงเรียนวัดบวรนิเวศลงคือ ตึกอรพินทุ์ กับตึกดำรงธรรมี แล้วสร้างตึกใหม่ เป็นอาคาร ๔ ชั้นขึ้นแทน

ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๕ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ดำเนินการให้สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ขึ้นอีกหลังหนึ่ง เป็นตึกสงฆ์อาพาธ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ด้วยเช่นกัน

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระมหาเถระอีก พระองค์หนึ่งที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปรารภว่า “ถือว่าพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์กรรมฐานของที่นี่ท่านหนึ่ง แต่เป็นในทางตำรา” ฉะนั้น ใน พ.ศ.๒๕๒๖ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้ดำเนินการให้สร้างตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบารขึ้น แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรม ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระองค์นั้น และเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ คู่กันในอาคารหลังเดียวกัน

พ.ศ.๒๕๒๙ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ในการสร้างตึก ภปร. ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั้งนี้ก็ด้วยทรงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในด้านต่างๆ เป็นอันมาก



พระคุณธรรมประการที่ ๔ คือ เมตตา พระเมตตาในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นปกแผ่ไปในทุกชีวิต ทั้งในคน และสัตว์

ดังเช่นเมื่อเสด็จออกบิณฑบาต หากทรงพบสามเณรกำลังออกบิณฑบาตสวนทางกับพระองค์ ก็จะทรงนำอาหารที่ทรงบิณฑบาตได้มานั้นใส่บาตรสามเณร ทั้งนี้ก็ด้วยพระปรารภที่ว่า “สงสารเณร! เกรงว่าจะบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน” และการถวายสิ่งของแก่สามเณรก็มักจะทรงปรารภว่า“สามเณร ไม่มีกิจนิมนต์ ไม่มีรายได้ พระก็ต้องช่วยกันดูแล”

คราวหนึ่ง เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงเห็นเด็กผู้ชายคนหนึ่งนอนคุดคู้อยู่ที่ข้างกำแพงพระวิหารพระศาสดา เมื่อถึงที่ประทับ จึงโปรดให้ศิษย์รีบไปดูและนำตัวมาที่ตำหนักที่ประทับ เพื่อสอบถามถึงความเป็นมาของเด็กคนนั้น ได้ความว่าเป็นเด็กหนีออกจากบ้าน จึงโปรดประทานความช่วยเหลือ และให้พาไปมอบเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

กิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือการเดินตรวจวัดในตอนเย็น โดยเสด็จไปทั่วบริเวณวัด สิ่งที่ได้ทรงพบเห็นเป็นประจำก็คือ สุนัข ซึ่งมีอยู่มากมายจนเป็นที่กล่าวกันทั่วไปว่าวัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดที่มีสุนัขมากวัดหนึ่ง หากวันใดทรงพบสุนัขขี้เรื้อนซึ่งก็มักมีมาไม่ขาด ก็จะตรัสว่า “เจ้านี่ของใคร” ซึ่งหมายความว่า สุนัขขี้เรื้อนตัวนั้นอยู่ในคณะหรือในบริเวณของใคร ก็จะโปรดให้บอกแก่ภิกษุสามเณรในที่นั้นให้ช่วยดูแล โดยจะตรัสแบบขำขันว่า “คนตั้งเยอะแยะยังดูแลได้ สุนัขตัวเดียวทำไมดูแลไม่ได้”

ในการเดินตรวจวัดคราวหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสังเกตว่าทำไมไม่ค่อยเห็นสุนัข จึงตรัสถามบรรดาศิษย์ที่ตามเสด็จว่าสุนัขไปไหนหมด บรรดาศิษย์จึงต้องกราบทูลความจริงว่า ทางวัดให้เทศบาลมาเก็บเอาไปเลี้ยง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงรับสั่งว่า “เออ! ก็บ้านเขาอยู่ที่นี่ จะให้เขาไปอยู่ที่ไหน ไปเอาคืนมา”

ปรากฏว่า ทางวัดต้องให้เทศบาลนำสุนัขทั้งหมดที่จับไปจากวัดมาคืน และปรากฏว่าเทศบาลเอามาคืนมากกว่าจำนวนที่จับไปเสียอีก

เมื่อเสด็จไปประทับในต่างวัดคราวหนึ่ง หลังจากเสวยภัตตาหารซึ่งเสวยในบาตรตามปกติแล้ว ศิษย์คนหนึ่งก็นำบาตรไปล้าง โดยล้างแล้วก็เทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเศษอาหารเหลืออยู่เยอะลงในโถส้วม เจ้าพระคุณสมเด็จฯ คงสังเกต เห็นความผิดปกติจากที่เคยทำในวันก่อนๆ จึงตรัสถามว่า “เอาน้ำล้างบาตรไปเทที่ไหน?” ศิษย์ก็ทูลว่าเทลงโถส้วม

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงตำหนิอย่างรุนแรง “...ทีหลัง อย่าทำอย่างนี้ มันไม่ควรและสกปรก ควรเอาไปเทที่ที่สะอาด เผื่อว่าพวกมดแมงเขาจะได้กินเศษอาหาร ... ทีหลังอย่าทำ”

พระคุณธรรมข้อเมตตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นก็ย่อมรวมไปถึง กรุณา มุทิตา อุเบกขาด้วย เพราะเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงถือคติว่า “เวลาที่ควรนิ่งก็นิ่ง เวลาที่ควรพูดก็พูด หรือเวลาที่ควรอุเบกขาก็ควรอุเบกขา” เพราะฉะนั้น พระคุณธรรมข้อเมตตานี้ จึงมีความหมายโดยรวมว่า ทรงมีพรหมวิหารธรรมนั่นเอง

พระคุณธรรมที่ชัดเจนอีกข้อหนึ่ง คือ ความถ่อมพระองค์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปทั้งฝ่ายพระและฝ่ายชาวบ้าน หากมองในภาพรวมก็คือเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่ว่าจะทรงอยู่ในกาละและเทศะใด ไม่ทรงแสดงพระกิริยาอาการว่าทรงสูงส่งยิ่งใหญ่ อย่างที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ไม่แสดงพระอาการเจ้ายศเจ้าอย่าง

ด้วยพระคุณธรรมข้อนี้ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นพระมหาเถระที่สงบเสงี่ยม สำรวมระมัดระวัง ตรัสน้อย และไม่ชอบแสดงพระองค์



ขอขอบคุณที่มา : พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระโอวาทพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
เอกสารธรรม
Kimleng 0 1901 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2555 16:18:03
โดย Kimleng
พระธรรมเทศนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
Kimleng 6 3729 กระทู้ล่าสุด 28 กันยายน 2563 15:21:35
โดย Kimleng
เรื่องเล่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เกร็ดศาสนา
Kimleng 2 2267 กระทู้ล่าสุด 06 เมษายน 2566 19:31:53
โดย Kimleng
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 728 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2564 18:22:24
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีทั้งหมด ๔ พระองค์
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 567 กระทู้ล่าสุด 17 กรกฎาคม 2564 18:37:09
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.221 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้