[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 06:59:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "น้ำชายาเสียง" ความรู้ทางจารีตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา  (อ่าน 605 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2563 16:05:35 »



พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม
ภาพจาก : YouTube

น้ำชายาเสียง

น้ำชายาเสียง หมายถึง น้ำร้อนน้ำชาสำหรับถวายพระภิกษุดื่มแก้เสียงแห้ง มีที่มาจากการที่พระพิธีธรรมต้องสวดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการเสียงแหบแห้ง   

การสวดพระพิธีธรรมจะสวดตามเวลาประจำในกำหนด ๑๐๐ วัน พร้อมกับมีการประโคมย่ำยาม ดังนี้

เวลา ๐๖.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม

เวลา ๐๗.๐๐ น. พระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเช้า

เวลา ๐๙.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม

เวลา ๑๑.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และรับพระราชทานฉันเพล

เวลา ๑๒.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม

เวลา ๑๕.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม

เวลา ๑๖.๐๐ น. ประโคมย่ำยาม

เวลา ๑๙.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม

เวลา ๒๑.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม

ในอดีต เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายสังฆการี จึงต้องจัดเตรียมน้ำถวาย ทั้งนี้อาจเป็นลักษณะน้ำผลไม้คั้น ๘ ชนิดที่พระสงฆ์ฉันได้ตามพระธรรมวินัย ที่เรียกว่า น้ำอัฏฐบาน หรือ อัฐบาน มีที่มาจากคำว่า อฏฺฐ (อัด – ถะ) แปลว่า แปด สมาสกับ คำว่า ปาน (ปา – นะ) แปลว่า น้ำ หรือเครื่องดื่ม หรือน้ำชุบาน หรือน้ำปานะ ถือเป็น ยามกาลิก คือ ของที่บริโภคได้ชั่วคราว คือพระภิกษุจะเก็บไว้ฉันได้เพียงภายในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ น้ำมะม่วง (อมฺพปานํ) น้ำชมพู่ หรือน้ำผลหว้า (ชมฺพุปานํ) น้ำกล้วยมีเมล็ด (โจจปานํ) น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (โมจปานํ) น้ำผลมะซาง (มธุกปานํ) น้ำผลจันทน์ (มุทฺทิกาปานํ) หรือบางตำราว่าเป็นน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล (สาลุกปานํ) คือ น้ำเหง้าบัว น้ำผลมะปราง หรือลิ้นจี่ (ผารุสกปานํ) นอกจากนี้ยังมีเอกสารบางแหล่งระบุถึงน้ำปานะที่แตกต่างออกไปอีก กลุ่มหนึ่ง คือ น้ำผลเล็บเหยี่ยว น้ำพุทราเล็ก น้ำพุทราใหญ่ น้ำเปรียง น้ำมัน (งา) น้ำนม น้ำยาคู และน้ำรส (ผักดอง)

เมื่อพิจารณาดูน้ำปานะทั้งหลายจะเห็นว่ามีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น เช่น ผลเล็บเหยี่ยว มีรสเปรี้ยวหวานฝาดเย็น แก้เสมหะ แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอและเป็นยาระบาย ส่วนน้ำรส (ผักดอง) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการขับถ่าย ซึ่งเมื่อขับถ่ายได้ตามปกติก็จะทำให้เจ็บป่วยน้อยลง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.188 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 เมษายน 2567 02:01:48